บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

ntc2014 : lampang 2020
ntc2014 : lampang 2020

Lampang 2020
บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมระดมสมองเพื่อขับเคลื่อน
เมืองลำปางสู่อนาคตใหม่
ในงานประชุมวิชาการ
อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ
ประจำปีการศึกษา 2556
24 – 26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
NTC2014

Proceeding
http://it.nation.ac.th/studentresearch/files/351003.pdf

กำหนดการสัมมนา LAMPANG 2020 : บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่
วันที่ 24-26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
08.00-08.50 น.    ผู้เข้าประกวดรายงานตัว
08.50-09.00 น.    กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย คุณสุทธิชัย หยุ่น
09.00-10.00 น.    ประกวดทีมที่ 1-2
10.00-11.00 น.    ประกวดทีมที่ 3-4
11.00-12.00 น.    ประกวดทีมที่ 5-6
12.30-13.00 น.    ประกวดทีมที่ 7
13.00-14.00 น.    ประกวดทีมที่ 8-9
14.00-15.00 น.    ประกวดทีมที่ 10-11
15.00-16.00 น.    ประกาศผลการแข่งขัน
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร โดย สภาวัฒนธรรมจังหวัด
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบรางวัลชนะเลิศ พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบของที่ระลึกให้กับกรรมการตัดสิน / ถ่ายรูปหมู่

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2557
07.00-08.30 น.    พิธีทำบุญเนื่องจากคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเนชั่น
08.00-08.45 น.    ลงทะเบียน/ชมวิดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย
08.45-9.00 น. กล่าวรายงาน โดย ดร.วันชาติ  นภาศรี รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบัณฑิตศึกษา
พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น
09.00-12.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-17.30 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
08.30-09.00 น.    ลงทะเบียน
09.00-09.15 น.    กล่าวต้อนรับ โดย สุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริหารบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
09.15-09.45 น.     ปาฐกถาเปิดงาน “มิติใหม่เมืองลำปาง”
โดย ศุภชัย  เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
09.45-10.45 น.    Keynote Speech by Dr.Yotaro Morishima, President, Professor,
Fukui University of Technology “Challenges of Japanese
Universities in the Borderless Era”
10.45-11.15 น.    Thailand Investment in Myanmar by Kin Myoe Nyunt
11.15-11.45 น.     การเตรียมความพร้อมของนักเรียนนักศึกษาไทยสำหรับประชาคมอาเซียน:
กรณีศึกษาโรงเรียนลำปางกัลยาณีและมหาวิทยาลัยเนชั่น  โดย ดร.สุจิรา  หาผล
“Readiness of Thai Students in English Competency for ASEAN Community:
A Case Study in Lampang Kanlayanee School and Nation University”
11.45-12.00 น.    พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเนชั่น และ
Fukui University of Technology
12.00-12.15 น.    ชมนิทรรศการผลงานวิชาการ (Poster Session)
12.15-13.15 น    รับประทานอาหารกลางวัน/บรรเลงดนตรีพื้นเมือง ซะล้อ ซอ ซึง/แฟชั่นโชว์
13.15-15.00 น.    เสวนา เรื่อง วางยุทธศาสตร์เมืองลำปางรับ AEC
วิลาวัลย์  ตันรัตนกุล ผู้อำนวยการสำนัก สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ
พลฤทธิ์  เศรษฐกำเหนิด  ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พิชัย  รักตะสิงห์   ผอ. ภูมิภาคเอเชียใต้และแปซิฟิกใต้  กองการตลาดเอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้
อธิภูมิ  กำธรวรรินทร์  ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง
15.00-17.00 น.    เสวนา “บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่”  โดย
อนุชา  จิตะพันธ์กุล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมการตลาด สาขาเขต 1
บริษัท เซนทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน)
ชนินทร์  พรหมเพ็ชร  ผู้จัดการส่วนการบุคคล บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง)จำกัด
พนาสิน  ธนบดีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบดีอาร์ต เซรามิค จำกัด
อนุวัตร  ภูวเศรษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์  รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.nation.ac.th/ntc2014/

conference
conference

Facebook album
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.779721072042026.1073741916.506818005999002

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง
ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ (2553) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยปัจจุบัยด้านเพศ อายุ และภูมิลำเนาส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

โดยมีคำถามในแบบสอบถามถึงแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ดังนี้
– ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
– ข้าพเจ้าความตั้งใจแน่วแน่ เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเรียนแต่ละวิชา
– ข้าพเจ้าตัดสินใจสมัครเข้าเรียนคณะบัญชีมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยตนเอง
– ข้าพเจ้าจะฝ่าฟันปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนบรรลุเป้าหมาย
– เมื่อข้าพเจ้าทำคะแนนสอบได้น้อย ข้าพเจ้าจะอ่านและทบทวนวิชานั้นให้มากขึ้น
– แม้งานที่ได้รับมอบหมายจะได้คะแนนน้อย ข้าพเจ้าก็จะพยายามอย่างเต็มที่
– ถึงแม้ว่าวิชาที่เรียนจะยาก ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนให้เต็มที่
– ขณะที่เรียนข้าพเจ้าตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนตลอดเวลา
– ข้าพเจ้าตั้งใจทำงานทุกอย่างที่อาจารย์มอบหมาย
– แม้การเรียนจะลำบากเพียงไร ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– เมื่อพบข้อบกพร่องในการเรียน ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– ข้าพเจ้ารู้สึกกระตือรือร้น เมื่อถึงวันและเวลาที่เรียน
–  ข้าพเจ้าจะคอยประเมินผลการเรียนของทุกวิชาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข
– ไม่เพียงแต่จะเรียนให้สำเร็จเท่านั้น ข้าพเจ้าคอยตรวจสอบข้อบกพร่องในการเรียนด้วย
– สิ่งแวดล้อมการเรียนจะเป็นอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังมีสมาธิแน่วแน่ในการเรียนอย่างเต็มที่
– ข้าพเจ้าสนใจเรียนทุกวิชาเท่า ๆ กัน
– ข้าพเจ้าจะพยายามเอาชนะความง่วงและอ่อนเพลีย เมื่ออ่านหนังสือ หรือทำการบ้าน
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– เมื่อเกิดอาการง่วงนอนขณะอ่านหนังสือ ข้าพเจ้าจะหาวิธีแก้ไข เพื่อให้อ่านหนังสือต่อได้
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
– ข้าพเจ้าใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนสำหรับการทบทวนบทเรียนเสมอ

http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/special_may2010/pdf/Page_153.pdf

การรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 5 ปีก็ต่อใหม่

university license for 5 years
university license for 5 years
ประชุม ครม. 4 มิ.ย.56 อนุมัติเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา 2 เรื่องที่น่าสนใจ
1. อนุมัติร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ฯ การรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
4 มิ.ย.56 ครม. มีมติอนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามที่ ศธ.เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ข้อเท็จจริง จากการที่กฎกระทรวงว่าด้วยการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2551 มีสาระสำคัญคือ กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ไม่ครอบคลุมถึงการกำหนดวิธีการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน นอกจากนี้ในแบบคำขอให้รับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (รกอ.05) และแบบใบรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (รกอ.06) ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าว มิได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนประสงค์จะขอให้รับรองวิทยฐานะเพื่อทำการสอนเพื่อให้ปริญญาชั้นใด ในสาขาวิชาใด และรัฐมนตรีได้ให้การรับรองวิทยฐานะเพื่อทำการสอนเพื่อให้ปริญญาชั้นใด และในสาขาวิชาใด
จึงสมควรปรับปรุงกฎกระทรวงและแบบแนบท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวเสียใหม่ โดยเพิ่มเติมการกำหนดวิธีการในการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และรายละเอียดแบบแนบท้ายการรับรองและการให้การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ทั้งนี้ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556 ให้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2551
2. กำหนดให้การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อทำการสอนเพื่อให้ปริญญาชั้นใด และสาขาวิชาใด ให้เป็นไปตามมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาที่ ศธ.กำหนด และให้ใบรับรองวิทยฐานะมีอายุ 5 ปี
3. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการการยื่นคำขอให้รับรองวิทยฐานะ การตรวจสอบคำขอ การพิจารณาคำขอ และการแจ้งผลการพิจารณาคำขอ
4. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจในการเพิกถอนการรับรองวิทยฐานะกรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา
5. กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการรับรองวิทยฐานะที่มีอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และให้คำขอรับรองวิทยฐานะและคำขอต่ออายุใบรับรองวิทยฐานะที่ยื่นก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับตกไป โดยให้ยื่นคำขอใหม่ตามกฎกระทรวงนี้
บัลลังก์ โรหิตเสถียร สรุป/รายงาน

บุกบ่อนไฮโลหน้า มหาวิทยาลัยดัง ได้นักศึกษาอื้อ

ลูกไฮโล
ลูกไฮโล

6 มี.ค.56 นายอำเภอคลองหลวง พร้อม ผอ.สสน.นำ อส.กว่า 50 บุกจับบ่อนไฮโล หน้า หน้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง 3 จุด ได้เซียนพนัน 118 คน เงินสด 1.5 แสนบาท ขณะที่ ผบช.ภ.1 เต้น สั่งตรวจสอบด่วน ก่อนพิจารณาความผิดท้องที่อีกครั้ง

นายสุวิทย์ คำดี นายอำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ทาง อ.คลองหลวง และ นายมานะ สิมมา ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมการปกครอง นำกำลัง อส.ของจังหวัด กว่า 55 นาย บุกจับกุมบ่อนไฮโล 3 จุด ที่อยู่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง ภายในซอยพรธิสาร หมู่ที่ 1 ต.คลองหก ซึ่งบ่อนทั้งหมดเปิดเป็นร้านเกมและร้านคาราโอเกะบังหน้า โดยสามารถจับกุมเซียนพนันได้ทั้งหมด 118 ราย และมี น.ศ.สถาบันดังกล่าวรวมอยู่ด้วยจำนวนมาก และเงินสดของกลางอีก 150,000 บาท นอกนั้นก็มีอุปกรณ์ในการเล่นไฮโลครบเซ็ท ซึ่งขณะนี้ นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดลงบันทึกประจำวันไว้ที่ อบต.คลองหก โดยการจับกุทมครั้งนี้ ได้รายงานให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี รับทราบทุกขั้นตอน

ซึ่งการจับกุมครั้งนี้ ไม่มีตำรวจท้องที่ คือ สภ.คลองห้า เข้าร่วมในบันทึกจับกุมด้วยแต่อย่างใด ซึ่งทาง สภ.คลองห้า นั้นจะมี พ.ต.อ.มนตรี เจียมบุรเศรษฐ์ เป็น ผกก.หัวหน้าสถานี อยู่

ผบช.ภ.1 เต้นสั่งตรวจสอบ นอภ.คลองหลวง จับบ่อนไฮโลแล้ว

พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ ผบช.ภ.1 เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า กรณีที่ นายอำเภอคลองหลวง และ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมการปกครอง นำกำลัง อส. กว่า 50 นาย บุกจับกุมบ่อนไฮโลขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งอยู่ในท้องที่รับผิดชอบของ สภ.คลองห้า และจับกุมนักพนันได้มากถึง 118 ราย เมื่อเย็นวันนี้นั้น ตนยังไม่ได้รับรายงานข่าวดังกล่าว ซึ่งจะตรวจสอบรายละเอียดอย่างเร่งด่วนว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ก่อนที่จะพิจารณาโทษทางวินัยท้องที่อีกครั้ง

ผบช.ภ.1 สั่งผู้การฯ ปทุมธานี รายงานด่วน

พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ ผบช.ภ.1 เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ถึงความคืบหน้ากรณี นอภ.คลองหลวง นำกำลัง อส. 50 นาย บุกทลายบ่อนไฮโล ในท้องที่ สภ.คลองห้า ว่าได้สั่งการให้ พล.ต.ต.สมิทธิ มุกดาสนิท ผบก.ภ.จว.ปทุมธานี ทำรายงานด่วนถึงกรณีดังกล่าวให้ตนเองรับทราบโดยด่วนที่สุดแล้ว ซึ่งเบื้องต้นทางผู้การได้รายงานว่า การจับกุมครั้งนี้ ทาง สภ.คลองห้า ยืนยันว่าได้มีบันทึกการจับกุมร่วมกับทีมเฉพาะกิจของนายอำเภอคลองหลวงด้วย แต่อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาจากเหตุผลและข้อเท็จจริงว่า เป็นอย่างไรกันแน่อีกครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาพิจารณาไม่นาน

นอภ.คลองหลวงชี้จับบ่อนแจ้งตร.แล้วแต่เงียบ

นายสุวิทย์ คำดี นายอำเภอคลองหลวง กล่าวถึงกรณีบุกไปจับบ่อนการพนันในหมู่บ้านพรธิสาร 3 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยไม่มีกำลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า การจับกุมครั้งนี้ ทางฝ่ายปกครองไม่ได้เชิญตำรวจท้องที่เข้าร่วมจับกุม เนื่องจากที่ผ่านมา เคยแจ้งเตือนไปยัง สภ. แล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่มีการดำเนินการ จนทำให้ฝ่ายปกครอง ได้รับการร้องเรียนมาหลายครั้งจนทนไม่ได้ จึงนำไปการบุกจับบ่อน 3 แห่ง พร้อมกันในครั้งนี้

http://news.sanook.com/1190055/%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A0.%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1.%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87/

6 มิ.ย.56 นายอำเภอคลองหลวงนำอาสาฝ่ายปกครองปทุมธานีบุกจับ 3 บ่อนไฮโลใกล้สถานศึกษา ห่างป้อมตำรวจแค่ 200 เมตร พบนักพนันกว่า 100 คนเป็นนักศึกษาอื้อ

เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 6 มิ.ย.2556 นายสุวิทย์   คำดี นายอำเภอคลองหลวง พร้อมกำลังอาสาฝ่ายปกครอง บุกจับ 3 บ่อน ใกล้กับ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งย่าน คลองหก ภายในหมู่บ้านพรพิสาร 3 ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ที่บ่อนน้องเล็ก ,บ่อนอีเกิ้ล ,และบ่อนตาเขียว สามารถจับกุมนักพนันได้จำนวน 110 คน พร้อมด้วยของกลางเป็นเสื่อแทงไฮโล ,อุปกรณ์การเล่นพนันไพ่ ,โพยบอล  และเงินสดกว่า 200,000 บาท

จากการตรวจสอบพบว่านักพนันส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา และพ่อค้าแม่ค้าอาชีพค้าขายในย่านใกล้เคียง เจ้าหน้าที่จึงตรวจยึดของกลาง พร้อมควบคุมตัวนักพนันส่งพนักงานสอบสวน สภ.คลองห้า จ.ปทุมธานี ดำเนินคดีตามกฎหมาย

ทั้งนี้บ่อนภายในหมู่บ้านดังกล่าวอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยและมีกลุ่มนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ตามหอพักเอกชน และภายในหมู่บ้านหมุนเวียนมาเล่นพนันกันจำนวนมาก ขณะเข้าจับกุมมีนักศึกษาบางรายใส่ชุดนักศึกษามาเล่นพนัน และพบว่าบ่อนดังกล่าวอยู่ห่างจากป้อมตำรวจ หมู่บ้านพรพิสาร 3 ไม่ถึง 200 เมตร

http://www.posttoday.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/226765/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A3%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000068335

สังคมออนไลน์ดันยอดพนันพุ่ง
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2556 เวลา 16:56 น.

http://www.dailynews.co.th/businesss/207953
นักวิชาการเผยผีพนันเข้าสิงคนไทย เงินสะพัดบ่อนออนไลน์เพิ่ม 32,481 ล้านบาท หวยใต้ดินครองแชมป์สุดฮิต ตะลึงบ่อนพนันเถื่อนเงินหมุนเวียน 800,000 ล้าน ห่วงเยาวชนหมกมุ่นพนันฟุตบอล เร่งรัฐหามาตรการแก้ไขด่วน

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยในงามสัมมนาเหลียวหลัง แลหน้าการพนันไทย 10 ปีการพนันไทยกับธุรกิจการเสี่ยงโชคในสังคมไทย ว่า ผลการวิจัยพบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือปี 53 มีวงเงินที่เล่นการพนันในประเทศเพิ่มขึ้น จาก 324,795 ล้านบาท เป็น 357,276 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารและโครงสร้างพื้นฐานของสังคม ทำให้คนไทยสามารถเล่นการพนันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือได้ง่ายกว่า

ทั้งนี้ แม้ว่าการพนันผิดกฎหมายที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมเล่นมากที่สุด จะเป็นหวยใต้ดิน สลากกินแบ่งรัฐบาล และไพ่ แต่ปัจจุบันที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสังคมไทยมากที่สุด คือการพนันฟุตบอล เนื่องจากผู้เล่นมีอายุน้อยที่เป็นเด็กนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งไม่สามารถพึ่งพาตัวเองทางเศรษฐกิจได้ โดยพบว่ามีวงเงินในการพนันดังกล่าวไม่น้อยกว่าปีละ 20,000-30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและต้องรีบหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ขณะเดียวกัน ทัศนคติคนไทยต่อการพนันเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านเกือบทุกประเทศ ทั้ง พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ต่างมีนโยบายการทำคาสิโนที่ถูกกฎหมาย จึงทำให้คนไทยจำนวนมากเดินทางไปเล่นการพนันในสถานที่แห่งนี้อยู่เป็นประจำ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในวันหยุดยาว รวมทั้ง มีการบริการจากคาสิโนบางแห่งที่อำนวยความสะดวกในการเดินทาง ทำให้เชื่อว่าในอนาคตจะมีผู้ที่สนใจเดินทางเข้าไปเล่นกาสิโนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่าประเทศไทยยังมีบ่อนการพนันเถื่อนทั่วประเทศกว่า 1,500 แห่ง มีผู้เล่นประมาณปีละ 4-5 ล้านราย โดยมีขนาดเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจการพนันกว่าปีละ600,000-800,000 ล้านบาท แบ่งเป็นบ่อนการพนันในพื้นที่ กทม.ประมาณ 15-20 แห่ง มีขนาดเงินหมุนเวียนปีละ 180,000-200,000 ล้านบาท ที่ลักลอบเล่นการพนัน ทำให้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐขาดคความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกกฎหมายอย่างแท้จริงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

“รัฐบาลและคนไทยบางส่วนมีความเชื่อว่าการพนันเป็นปัญหาที่ต้องควบคุม และไม่ควรให้ประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ในโลกความเป็นจริงแล้ว มีคนไทยที่อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปเข้ามาเกี่ยวข้องกับการพนันในปัจจุบันกว่า 30 ล้านบาท เนื่องจากประเทศไทยมีการพนันที่ผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นหลายช่องทาง ทั้ง หวยใต้ดิน พนันฟุตบอล และการพนันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งสร้างรายได้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากในแต่ละปี เช่น พ่อค้า นักธุรกิจ ตำรวจ และนักการเมือง”

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรแก้ไข พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ที่ใช้ควบคุมการเล่นพนันให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะกฎหมายที่ใช้อยู่ได้นับรวมกิจกรรมการเล่นเกมเกือบทุกเงื่อนไขที่เกี่ยวกับผลได้และเสีย ไม่ว่าจะเล่นสนุกหรือผ่อนคลาย มีประโยชน์เป็นเงินมากหรือน้อย ถือเป็นการพนันในกฎหมายดังกล่าวทั้งสิ้น โดยไม่มีการจำแนกแยกแยะกิจกรรมที่มีประโยชน์หรือโทษออกจากกันให้ชัดเจน ส่งผลให้ประชาชนในสังคมไทยถูกครอบงำความคิด และอาจเป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐจากการบังคับใช้กฎหมาย

นายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า การพนันในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการพนันออนไลน์ การพนันฟุตบอลเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐควรจะแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง ควรแยกแยะระหว่างการพนันกับการเล่นเพื่อความบันเทิงให้ชัดเจน เพื่อเป็นการป้องกันให้ประชาชนไม่เข้าไปหมกหมุนกับการพนันเพิ่มขึ้น

คลังข้อมูลอุดมศึกษา สู่สารสนเทศอุดมศึกษา

information
information

30 พ.ค.56 เล่าสู่กันฟังว่า บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการส่งข้อมูลคลังข้อมูลอุดมศึกษา มีหน่วยงานที่พัฒนาระบบคือ กลุ่มสารนิเทศ สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่ามีข้อมูลที่ สกอ. นำไปเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป หลายระบบ ดังนี้

1. ระบบการวางแผนเพื่อการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
– ประโยชน์ต่อที่นักเรียน คือ สืบค้นหลักสูตรที่รับรองรับทราบแล้ว และค่าเล่าเรียน
และยังเปิดดูเนื้อหาในเล่มหลักสูตร และใช้เปรียบเทียบกันได้ ว่าหลักสูตรใดสอนอะไร
– หน่วยงาน กยศ. และกรอ. ใช้เป็นฐานข้อมูลการอนุมัติเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และเพดานกู้ยืม
หากหลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรู้รับทราบจากคณะกรรมการ ทางกองทุนกู้ยืมก็ถือว่ายังไม่ผ่าน จะต้องรอก่อน
และ สกอ.ถือว่าฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลหลักสูตรที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว
– ข้างในมีรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับเงินกู้ยืม และหลักสูตรมากกว่า 10 รายงาน
http://www.gotouni.mua.go.th

2. ระบบนำส่งข้อมูลเข้าคลังข้อมูลอุดมศึกษา
ที่หน้าแรก แม้ไม่ login ก็สามารถเห็นสถิติการส่งข้อมูลของแต่ละสถาบันแล้ว
สถาบันใดส่งข้อมูลครบ 100% ก็จะได้เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงตามลำดับ
เข้าไปดูได้ครับว่าสถาบันใดได้เหรียญรางวัลในความสมบูรณ์
สถาบันใดไม่ได้เหรียญ และสถาบันใดไม่ได้ส่งข้อมูล
http://www.data3.mua.go.th/dataS/

3. สารสนเทศอุดมศึกษา
เมื่อสถาบันการศึกษาส่งข้อมูลเข้าระบบในข้อ 2 ครบถ้วนแล้ว
ก็จะนำไปจัดทำสารสนเทศเพื่อรายงานสู่สาธารณะต่อไป
อาทิ จำนวนบุคลากร จำนวนนักศึกษาใหม่ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา เป็นต้น
ทำให้นักศึกษา หรือสถาบัน หรือองค์กร นำข้อมูลไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ต่อไปได้
http://www.info.mua.go.th/information/

สกอ. ประเมินหลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที ศิลปากร ที่กสท. ไม่ผ่าน

ict silpakorn press
ict silpakorn press

2 เม.ย.2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงเผยแพร่เอกสารการประกาศยุติการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ประจำปี 2556 โดยชี้แจงว่า สกอ.มีมติพิจารณาการประเมินให้ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดชี้แจงดังต่อไปนี้

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่องการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

28 มีนาคม 2556 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเอกสารแจ้งเรื่อง ผลการพิจารณากรณีทักท้วงผลการประเมิน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามหนังสือเลขที่ ศธ. 0506(5) / ว 354 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 กรณีมหาวอทยาลัยศิลปากร ได้ทำหนังสือทักท้วงผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. บางรัก ของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร “ไม่ผ่าน” ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ได้พิจารณาวินิจฉัยผลการทักท้วงของมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว มีมติยืนยันผลการประเมิน “ไม่ผ่าน” นั้น

จากมติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังกล่าว มีผลให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องยุติการรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2556 หากยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะไม่รับทราบหลักสูตรทั้งในและนอกที่ตั้ง นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้ทราบและประกาศต่อสาธารณะ รวมทั้งแจ้งสำนักงาน ก.พ. ต่อไป

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการประชุมวาระด่วนที่สุด เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ได้มีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว และที่ประชุมมีมติให้คณะฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 ดังต่อไปนี้

1. ในปีการศึกษา 2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จะยุติการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ในระบบกลาง (Admission) นอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก กรุงเทพ ตามมติ สกอ.

2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2556 ในสถานที่ตั้งหลักที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยวิธีรับตรง จำนวน 100 คน ใน 2 สายวิชา ได้แก่ สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์ จำนวน 40 คน และสายวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ จำนวน 60 คน

ทั้งนี้ การคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าว คณะฯ จะใช้รูปแบบและเกณฑ์ในหการรับเข้าศึกษา เช่นเดียวกับการคัดเลือกนักศึกษา ในระบบกลาง (Admission) หากนักเรียนสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าวของคณะฯ ขอให้ติดตามข้อมูลต่างๆ จาก เว็บไซต์ www.ict.su.ac.th ต่อไป

ด้าน อาจารย์ศาสวัต บุญศรี  อาจารย์ประจำ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและสรุปมติดังกล่าวของสกอ.ว่า

1. หลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที โดนประเมินจาก สกอ. ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตั้งนอกที่ตั้ง (สกอ. ทำเพื่อป้องกันผู้บริโภค มาเรียนแล้วโดนหลอก) สกอ. ได้ทำการปิดเพียบ พูดง่าย ๆ คือให้กลับเรียนเพชรบุรี (หรือวิทยาเขตอื่น ๆ)

2. สกอ.สั่งห้ามรับนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ หากยังรับให้ปีหนึ่งเรียนที่บางรัก จะทำการปิดหลักสูตร (ย้ำว่า หลักสูตร ไม่ใช่คณะ) และจะส่งเรื่องให้ กพ. ให้รับรองวุฒิ

3. ปี 2-4 นิเทศยังเรียนเหมือนเดิม ส่วนธุรกิจและออกแบบ ถือว่าการที่ปีสี่มาเรียนที่บางรักไม่มีปัญหา เพราะเรียนในวิทยาเขตที่ตั้งมาแล้วเกิน 50% ของหน่วยกิต

4. ทางอธิการฯและคณะได้หารือด่วน มีหลายทางเลือกมาก สุดท้ายอธิการเสนอให้ปีหนึ่งนิเทศ ปี 56 กลับไปเรียนเพชรบุรี (กลับยังที่ตั้ง) เมื่อได้สำรวจอาคารสถานที่ พบว่าหอในรับเพิ่มได้อีกราว 150 คน โดยเปิดเฉพาะสาขาลูกค้าสัมพันธ์และวารสารฯ เพราะการสร้างสตูดิโอสำหรับเอกที่เหลือยังไม่พร้อม การเรียนการสอนยังเหมือนธุกิจและออกแบบคือ ปีสี่กลับมาเรียนบางรัก

5. ทางสภามหาวิทยาลัยมีนโยบายตั้งแต่เลือกอธิการฯ ว่าใครคนใดได้เป็นต้องทำ city campus แห่งใหม่ให้ลุล่วง โดยท่านอธิการจะเปิดทำ TOR แล้วมีแผนคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 4 ปี เมื่อนั้น นิเทศไอซีที ก็สามารถกลับมาเต็มตัวได้ในแคมปัสแห่งใหม่

6. เหตุผลที่ไม่ผ่าน ขอบอกคร่าว ๆ คือ สกอ. ไม่นับตลิ่งชันเป็นอีกหนึ่งวิทยาเขต นอกจากนั้นยังชี้ว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษามีน้อยเกินไป บวกกับไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและจบปริญญาเอก (ในส่วนวุฒิการศึกษาและตำแหน่งวิชาการเป็นเรื่องจริง แต่ประเด็นอาจารย์พิเศษนั้น ท่านคณบดีท่านเก่าได้วางระบบไว้เพื่อเน้นอาจารย์พิเศษ สายนิเทศจำเป็นต้องเรียนกับมืออาชีพโดยมีอาจารย์ประจำสนับสนุนทางวิชาการ ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้จากทั้งสองด้าน) รวมไปถึงมาตรฐานการเรียนที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยิ่งเทียบกับหลักสูตรแบบเดียวกันของมหาลัยอื่น (แต่บัณฑิตจบแล้วมีงานทำประมาณ 90% และได้เสียงตอบรับจากนายจ้างในระดับดี อันนี้ไม่รู้ว่าเชื่อเกณฑ์ที่วัดหรือความพึงพอใจจากนายจ้างที่ทำงานในสายวิชาชีพจริงดี)
ที่มา : 1009news.in.th

http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364925371&grpid=01&catid=&subcatid=
http://men.postjung.com/668575.html
http://www.thairath.co.th/content/edu/336594
http://www.1009news.in.th/2013/04/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/1270

เปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก

ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า กกอ. จะเข้มงวดกับศูนย์นอกที่ตั้ง ว่าต้องผ่านการประเมินจาก สมศ. ระดับดีมาก
ขอแค่ระดับดี หรือ พอใช้ไม่ได้แล้ว พอไปค้นดูก็พบจาก 2 สื่อ คือ ไทยโพสต์ กับเดลินิวส์ เมื่อกลางสิงหาคม 2555
แล้วได้ยินนักวิชาการพูดเรื่องนี้ว่าต่อไปจะเหมือนออก license เป็นใบเขียว ใบเหลือง และใบแดง ผมฟังแล้วเหมือนสัญญาณไฟตามแยกของถนนเลยครับ ที่มีสัญญาณ 3 ประเภท
1) ออกกฎเหล็กการเปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องให้รมว.ศธ.เซ็น/หลังผลตรวจล่าสุดน่าระอาไม่ผ่านประเมินอื้อ (ไทยโพสต์)
สกอ.เตรียมประกาศ เพิ่มขั้นตอนการเปิด และคงหลักสูตรการเรียนศูนย์นอกที่ตั้งมหาวิทยาลัย เบื้องต้นเพิ่มความเข้มงวดมหา’ลัยที่เปิดได้ต้องให้ รมว.ศธ.เห็นชอบ และต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก โดยจะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเร็วๆ นี้ “กำจร” เผยผลตรวจศูนย์นอกที่ตั้งประจำปี 2555 พบหลักสูตรไม่ผ่านการประเมินอื้อ ส่วนใหญ่เป็นระดับ ป.ตรี สั่งออกมาตรการแล้ว หลักสูตรใดไม่ผ่านการประเมินต้องหยุดรับนักศึกษาปี 56 ทันที
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็วๆนี้ ได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.-30 มิ.ย.นี้ ซึ่งผลสรุปการตรวจประเมินจำนวน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร พบว่า มีหลักสูตรผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์ ทั้งนี้ หลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรี อาทิ หลักสูตรบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ สกอ.ไปตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้ง ซึ่งยังไม่ถึงคิวประเมินได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ดังนั้นจะมีศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร
รองเลขาฯ กกอ.กล่าวต่อว่า ผลการตรวจประเมินดังกล่าวทำให้ กกอ.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับเพิ่มเล็กน้อย ก่อนที่จะเสนอนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม จากนั้นจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไปหากมีร่างดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ขณะที่สถาบันไหนจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป และที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาจนเกิดปัญหาเหมือนปัจจุบันนี้
ส่วนสาระสำคัญของร่างดังกล่าว หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการ ก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน ขณะที่หลักสูตรที่จะเปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งเปิดสอนในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อีกทั้งหลักสูตรที่จะเปิดสอนนั้นจะต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน
สำหรับผลการตรวจประเมินศูนย์นอกที่ตั้ง ทาง สกอ.จะแจ้งผลให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้ารับการประเมินรับทราบ และหากสถาบันใดต้องการจะทักทวงผลการตรวจประเมินต้องดำเนินการภายใน 30 วัน ตั้งแต่ได้รับทราบผลจาก สกอ. สำหรับหลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นจะต้องไม่เปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่.
2) สกอ.มั่นใจจัดระเบียบสอนนอกที่ตั้งได้ผล (เดลินิวส์)
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา  (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.- 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจประเมินใน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร โดยพบว่า มีที่ผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์  ซึ่งหลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรีบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และจากการตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้งได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ทำให้เหลือศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะสรุปผลการตรวจประเมินแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษารับทราบ เพื่อให้สถาบันทักท้วงผลการตรวจประเมินภายใน 30 วันนับจากได้รับทราบผล ทั้งนี้หลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นมีผลทำให้สถาบันไม่สามารถเปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่แล้ว
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อไปว่า กกอ.ยังได้เห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับปรุงเล็กน้อยก่อนที่จะเสนอ รมว.ศึกษาธิการลงนาม และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนสถาบันที่จัดไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป ที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งจะไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาอีกแล้ว
“สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง คือ หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรที่เปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งต้องเป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน” รศ.นพ.กำจร กล่าว.
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง

open house @nation_university

open house @nation_university
open house @nation_university

29 ก.ค.55 Check in @ Nation University กับงาน Open House เสวนาหลักสูตร ป.ตรีภาคพิเศษ ก่อนตัดสินใจเรียนกับเรามหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University) / ชาญณรงค์ พรดิลกรัตน์ (Charnnarong Porndilokrad)

วิทยากรโดย คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่นกรุ๊ป  คุณต่อบุญ พ่วงมหา อดีตผู้บริหาร sanook.com  อ.ภรภัทร ปิติโชตินันท์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ อ.จักรกฤษ เพิ่มพูล บรรณาธิการสำนักข่าวเนชั่นและประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ณ อาคารมหาวิทยาลัยเนชั่น ชั้น 6 ห้อง 602 ลงทะเบียน 9.30น.

http://77.nationchannel.com/video/272498/

ในคลิ๊ปนาทีที่ 3.19 มีผู้ฟังท่านหนึ่งสะท้อนปัญหาของบัณฑิตไทยในปัจจุบันว่า “ปัจจุบันบัณฑิตใหม่ไม่เก่ง ขอเงินสูง ๆ ขี้เกียจ ทวิตทั้งวัน เฟซบุคส์ทั้งวัน หาคู่ครองในเวลางาน” แล้วคุณต่อบุญ ก็แลกเปลี่ยนว่ารูปแบบของความคิดแบบนั้น เนชั่นพยายามจะสร้างความเปลี่ยนแปลง เราจะเอาความเป็นเจ้าของ entrepreneurship ใส่เข้าไปในความคิดของเด็ก เราจะทำให้แตกต่าง

openhouse ม.เนชั่น
openhouse ม.เนชั่น

หัวอกนักศึกษาพี่เลี้ยง

หัวอกพี่เลี้ยง (Mentor mind)
หัวอกพี่เลี้ยง (Mentor mind)

บทความพิเศษ เรื่อง “ปัญหาผลการเรียนต่ำของนักศึกษา…ใครจะแก้
พุธที่ 25 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552
(อ่านแล้วชื่นชม รู้สึกว่างานเขียนดีระดับอาจารย์เลย มากกว่าเป็นเพียงของรุ่นพี่)

ถ้าพูดถึงวิกฤติที่สำคัญที่สุดของนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องการเรียน ผลการเรียนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในทุกปีสร้างความกระวนกระวายใจให้อาจารย์ผู้สอนแทบทุกสาขาวิชา แม้ว่าหลายฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์มากมาย เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาผลการเรียนน่าเป็นห่วงเหล่านี้ แต่ดูเหมือนว่าความพยายามของพวกเขาจะเป็นเพียงแค่น้ำเหลวทุกครั้งไป

ปัญหาผลการเรียนที่ตกต่ำของนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ไม่ได้เป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ แต่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆรายงานการเปรียบเทียบสถิติผลการเรียนของนักศึกษาจากงานทะเบียนและสถิตินักศึกษาของวิทยาเขตปัตตานี พบว่า ตั้งแต่ปี 2545-2549 นักศึกษาที่พบกับภาวะรอพินิจเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า และเป็นที่น่าตกใจ เมื่อพบว่าวิชาที่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ผ่าน เป็นวิชาบังคับพื้นฐานของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์

หากวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นก็สามารถมองได้หลายแง่มุม แต่สาเหตุหลัก ๆ ก็มีอยู่เพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ประเด็นแรก คือ พื้นฐานการเรียนอ่อน พื้นฐานเดิมไม่ดีก่อนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย [ .. ]

ประเด็นที่สอง คือ มีกิจกรรมมากมายที่นักศึกษาปี 1 ต้องเข้าร่วม ซึ่งผู้เขียนมองว่ากิจกรรมเหล่านี้มีมากเกินไป จนบางครั้งทำให้นักศึกษาน้องใหม่ ซึ่งยังไม่สามารถปรับตัวได้ดีพอ ต้องประสบปัญหาแบ่งเวลาไม่ทันจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเคยเข้าศึกษาสถาบันอื่นก่อนที่เข้ามาศึกษาที่ ม.อ.ปัตตานี กิจกรรมรับน้องที่ทางคณะ และมหาวิทยาลัยจัดขึ้นจะเสร็จสิ้นภายในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน ทำให้นักศึกษาน้องใหม่เหล่านี้มีเวลาเรียน และปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่ตนไม่คุ้นเคยอย่างเต็มที่ ส่วนกิจกรรมระหว่างภาคเรียนนั้นก็จัดขึ้นอย่างเหมาะสม ไม่มากและน้อยจนเกินไป ไม่มีการเรียกน้องในเวลาดึกดื่นจนน้องต้องไปเรียนสายในวันรุ่งขึ้น และไม่มีการเรียกประชุมถี่ จนน้องไม่มีเวลาพักผ่อนและทบทวนบทเรียน

ประเด็นที่สาม คือ พฤติกรรมเคยชินของนักศึกษา ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญที่สุด นักศึกษาที่เข้ามาเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังคงติดรูปแบบการดำเนินชีวิตช่วงมัธยม คือตื่นนอนเช้า เข้าเรียน เลิกเรียนและกลับที่พัก นอกจากนั้นการเรียนสมัยมัธยมอาจารย์จะเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ จ้ำจี้จ้ำไชให้นักศึกษาทำงานส่งการบ้าน ในขณะที่การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นนักศึกษาจะต้องเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนเอง อาจารย์เพียงแต่ทำหน้าที่แนะแนวทางให้เท่านั้น และไม่มีใครคอยผลักดันให้นักศึกษาต้องรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ ยกเว้นแต่เราจะกำชับตัวเอง

พฤติกรรมเคยชินของนักศึกษาที่เป็นอยู่ขณะนี้ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนมากยิ่งขึ้น ตามมาอีกหลายอย่าง เช่น การไม่รู้จักแบ่งเวลา การไม่รู้จักที่จะพัฒนาเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง

ผู้เขียนมีโอกาสเป็นพี่เลี้ยงสอนนักศึกษาปีที่ 1 ในโครงการพี่สอนน้องที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น โดยรับผิดชอบในวิชาภาษาอังกฤษ 1 ซึ่งเป็นวิชาบังคับพื้นฐานของมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษานี้ไม่ผ่าน คิดเป็นร้อยละ 70 ของนักศึกษาที่เรียนทั้งหมด พบว่านักศึกษาที่สมัครเรียนด้วยความเต็มใจมีเพียง 12 คนเท่านั้นจากทั้งหมด 100 คน และในทุกสัปดาห์จะมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการนี้ไม่ถึง 20 คน และในสัปดาห์สุดท้ายผู้เขียนพบว่าไม่มีนักศึกษาคนใดมาเรียนเลยสักคนในห้องที่ผู้เขียนรับผิดชอบสอน

เห็นได้ว่านักศึกษาที่มีผลการเรียนอ่อน แม้จะรู้ตัวเองและอาจารย์ผู้สอนพยายามช่วยอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ก็ยังขาดความตั้งใจ และขาดความกระตือรือร้น นอกจากนั้นยังไม่สามารถแบ่งเวลาให้เหมาะสมได้อีกด้วย ซึ่งสังเกตได้จากเวลาว่างของนักศึกษาเหล่านี้ที่มักจะหมดไปกับสิ่งไร้สาระ ไม่ว่าจะเป็นการดูรายการโทรทัศน์ การคุยโทรศัพท์ การเล่นอินเทอร์เน็ต การเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ซึ่งหากทำมากจนเกินไปก็จะทำให้นักศึกษามีเวลาทบทวนบทเรียนน้อยลง พักผ่อนน้อยลง ซึ่งไม่แน่นอนสิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  สุดท้ายเมื่อผลการเรียนออกมาอย่างไม่ค่อยดีนัก หลายคนต่างรู้สึกท้อถอยและไม่มีกำลังใจที่จะต้องเรียนในวิชาเดียวกันอีกครั้ง

ผู้เขียนพบว่านักศึกษากาหลายคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนนั้น เพราะมีทักษะในการใช้ชีวิตได้ดี นักศึกษาเหล่านี้ใช้เวลาทุกวินาทีอย่างคุ้มค่า รู้ว่าควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมอย่างไร หลายคนอาจจะเข้าใจว่านักศึกษาที่ได้เกียรตินิยม ส่วนมากคงจะใช้เวลาคร่ำเคร่งกับตำราเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน นักศึกษาเหล่านี้ก็ยังมีเวลาทำกิจกรรม ทำงานอดิเรกที่ตนรัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากการเรียน เหนือสิ่งใดพวกเรารู้จักสร้างกำลังใจให้กับตนเอง เพราะแน่นอนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าจะด้านใดก็ตามคงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบทุกครั้งไป ย่อมต้องพบเจอกับขวากหนามบ้างเป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อต้องพบกับอุปสรรคไม่ว่าจะเรื่องการเรียน หรือเรื่องใดก็ตาม นักศึกษาเหล่านี้จะไม่ท้อถอย แต่จะเดินหน้าเข้าสู้กับอุปสรรคเหล่านั้นอย่างไม่หวั่นเกรง ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาบางคนยังคิดว่ามันเป็นเรื่องที่น่าท้าทายอีกด้วย

หากจะแก้ปัญหาผลการเรียนของนักศึกษา คงไม่สามารถจะประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะเร่งแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังเพียงใด หรือแต่ละคณะจะระดมกำลังและความคิดมากเท่าไหร่ แต่หากนักศึกษายังยึดติดกับพฤติกรรมเดิม ท้อถอยเมื่อพบเจอกับอุปสรรคและกล่าวโทษบุคคลอื่นมากกว่าจะย้อนมองดูตัวเอง ก็คงไม่สามารถจะช่วยให้ผลการเรียนของนักศึกษาดีขึ้นได้ เพราะคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนใหญ่จะคิดอยู่เสมอว่า โชคชะตาไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงพวกเขาได้ ยกเว้น แต่พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเสียก่อน


นางสาวมัรยัม วรรณมาตร
นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นักศึกษารายวิชา 870-224 การเขียนเชิงวารสารศาสตร์
http://comm-sci.pn.psu.ac.th/commsci/web_bumee/?name=news&file=readnews&id=122

ต.ย มอบหมายงานสรุปเนื้อหาจากคลิ๊ปอบรม Social Media

ตามที่ อ.เมธา เกรียงปริญญากิจ เป็นวิทยากรอบรม
หัวข้อ “การประยุกต์ใช้ Social Media สำหรับการเรียนการสอน
เมื่อ 26 ธ.ค. 2554 จัดโดย มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์
มีการบันทึกคลิ๊ปไว้ทั้งหมด 29 ตอน ๆ ละประมาณ 10 นาที
รวมเวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมง 53 นาที
สำหรับงานมอบหมายให้กับนักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อสังคม (Social Media)
ด้วยตนเอง แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน มีรายละเอียดดังนี้
1. ให้นักศึกษาดูคลิ๊ปทุกตอนใน playlist ชุดนี้
2. แต่ละตอนให้สรุปเนื้อหามาไม่ต่ำกว่า 3 บรรทัด
3. จัดทำเป็นเล่มรายงานที่มีเนื้อหารวมกันไม่ต่ำกว่า 87 บรรทัด
4. ในเนื้อหาแยกให้ชัดเจนว่า มาจากคลิ๊ปครั้งที่เท่าใด
5. ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ และมี screen ประกอบในรายงาน
6. เล่มรายงานประกอบด้วยปก คำนำ สารบัญ เนื้อหา และสรุป
7. เขียนรายงานด้วย word แล้ว upload เข้าระบบอีเลินนิ่งที่กำหนด
http://storify.com/ajburin/social-media

http://storify.com/ajburin/social-media