กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

law of education
กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

22 ก.พ.54 มีเพื่อนหลายคนเล่าให้ฟังเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการ เมื่อสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ก็พบ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 และพ.ศ.2535 หมวด 1 การจัดตั้งและเปิดดำเนินการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มาตราที่ 8-19 มีประเด็นให้เรียนรู้มากมาย และ ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง “คู่มือและแนวปฏิบัติในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน” ซึ่งประเภทของสถาบันมีรายละเอียดในหน้า 5 หัวข้อ 1.2 สำหรับคู่มือและแนวปฏิบัติฉบับนี้มีประเด็นให้คิดตามเยอะครับ
http://www.mua.go.th/data_main/law/law_05_06_51.pdf
มีหลายเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูล
– http://www.kodmhai.com/m4/m4-19/H24/M8-19.html
– http://www.kodmhai.com/m4/m4-19/Nthailaw-4-19/N896.html
– http://portal.in.th/gad-yiu/pages/4521/
http://www.mua.go.th/users/he-commission/law.php
– http://reg.neu.ac.th/main/?cat=20

มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)

เนชั่นกรุ๊ปรุกตลาดการศึกษา

21 ก.พ.54 นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นของ NMG ที่จะเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง อย่างสร้างสรรค์ ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นบริษัทย่อยเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการด้านข่าวสาร

บริษัท ได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายสายธุรกิจด้านความรู้ จึงได้พิจารณากรณีศึกษาจากต่างประเทศในด้านความร่วมมือระหว่างบริษัทสื่อกับ สถานศึกษา เช่น ผู้พิมพ์จำหน่ายนิตยสารรายใหญ่ที่สุดของยุโรป Gruner + Jahr GmbH ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Bertelsmann ได้ร่วมกับ Henri-Nannen School เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์   ในสหรัฐอเมริกา Washington Post ได้ขยายกิจการด้านการศึกษาผ่าน Kaplan ซึ่งเป็นบริษัทลูก ปัจจุบันมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษามากกว่า 500 แห่ง ใน 30 ประเทศ และมีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่องมาตลอด 10 ปี

ล่าสุด NMG จึงได้ร่วมทุนกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) ซึ่งมีประสบการณ์ด้านบริหารการศึกษากว่า 30 ปี และมีจำนวนนักศึกษาปัจจุบันกว่า 7,000 คน  เพื่อจัดตั้งบริษัท เนชั่น ยู จำกัด ผนึกกับความแข็งแกร่งด้านสื่อและการตลาดของเนชั่นก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยเนชั่น” (Nation University)   โดยได้ซื้อใบอนุญาตประกอบกิจการสถานศึกษา จาก มหาวิทยาลัยโยนก  จังหวัดลำปาง   และเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยจะเริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 เดือน พ.ค.2554

นายธนาชัย กล่าวต่อว่ามหาวิทยาลัย เนชั่น มีแผนที่จะขยายเครือข่ายการศึกษาไปทั่วทุกภูมิภาค โดยเริ่มจากวิทยาเขตภาคเหนือ และวิทยาเขตกรุงเทพภายในปี พ.ศ.2554 โดยมหาวิทยาลัยจะเข้าทำการบริหาร ปรับโครงสร้าง พัฒนาศักยภาพ และเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยโยนก (Yonok University) จังหวัดลำปาง เป็น มหาวิทยาลัย เนชั่น (Nation University) วิทยาเขตโยนก ส่วนวิทยาเขตกรุงเทพจะใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตกรุงเทพ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตโยนก มีพื้นที่รวมกว่า 164 ไร่ และมีพื้นที่ส่วนอาคาร 14,000 ตร.ม. โดยจะมุ่งเน้นการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ (ภาษาอังกฤษและจีน) และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีเป้าหมายจำนวนนักศึกษารวม 1,300 คนภายใน 4 ปี และ 1,800 คนภายใน 10 ปี

พร้อมกันนี้ ได้เปิดมหาวิทยาลัย เนชั่น วิทยาเขตกรุงเทพ ในรูปแบบ Downtown Campus หรือ Campus บนตึกสูงโดยใช้พื้นที่อาคาร i-Tower ถนนวิภาวดี ใกล้ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว เพื่อความสะดวกในการเดินทางของนักศึกษาที่ทำงานในเมืองช่วงกลางวัน โดยจะเปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ และ MBA โดยมีเป้าหมายจำนวนนักศึกษารวม 1,000 คนภายใน 4 ปี และ 2,000 คนภายใน 10 ปี บริษัทได้วางงบลงทุน 250 ล้านบาทเพื่อพัฒนา 2 วิทยาเขตแรก

ในส่วนของ แผนการตลาด NMG จะใช้สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งการทำการตลาดร่วมกับพันธมิตร เช่น โครงการทบทวนความรู้สู่มหาวิทยาลัยกับ มาม่า ซึ่งมีนักเรียนมัธยมปลายลงทะเบียนปีละกว่า 8 หมื่นคน และงาน U-Expo ซึ่งจัดร่วมกับ Eduzones.com คาดว่าจะมีนักเรียนมัธยมปลายเข้าชมงานประมาณ 5 หมื่นคน

NMG เชื่อมั่นว่าความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ในการเปิดมหาวิทยาลัย เนชั่น จะมีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยด้วยการร่วมสร้างผู้นำด้านสื่อสารมวลชน โฆษณาประชาสัมพันธ์ ธุรกิจ และบริการสาธารณสุข มหาวิทยาลัย เนชั่น พร้อมขยายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพด้วยโครงการที่จะพัฒนาวิทยาเขตภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วภูมิภาคในอนาคต รวมทั้งการต่อยอดบริการการศึกษาไปทางด้านการสอนหลักสูตรระยะสั้นประเภท Non-Degree Program, e-Learning เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นต่อไป

ด้านนายสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ กล่าวว่ามหาวิทยาลัย เนชั่น จะสร้างจุดต่างด้วยความได้เปรียบในการ “เรียนกับมืออาชีพ” โดยนักศึกษามีโอกาสพัฒนาทักษะและประสบการณ์นอกเหนือจากภาคทฤษฎี ด้วยการเรียนกับอุปกรณ์ปฏิบัติการของจริง ในสภาพการทำงานจริง และกับมืออาชีพในสายงานหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุ New Media การโฆษณา และบริหารธุรกิจ ส่วนในสายงานอื่น ๆ เช่น เอเจนซีโฆษณา ธุรกิจบันเทิง ผู้ผลิตภาพยนตร์/ ละคร นักศึกษาสามารถเรียนรู้และฝึกงานกับบริษัทพันธมิตร ทำให้นักศึกษาที่จบมามีโอกาสในการหางานทำได้สูงกว่า โดยสามารถเลือกทำงานกับบริษัทในกลุ่มและพันธมิตรของ NMG ได้หากผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

นอกจากนี้ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เนชั่น จะมุ่งเน้นด้าน New Media เพื่อรองรับสื่อยุคดิจิตอลและ Social Media ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วน NMG จะได้ประโยชน์ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากการคัดเลือกบุคลากรจากนักศึกษาฝึกงานที่ มีผลงานดีเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานนักศึกษาฝึกงานที่มีต้นทุนไม่สูงมาก นอกจากนี้บริษัทยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความร่วมมือของสายธุรกิจต่าง ๆ กับมหาวิทยาลัย เนชั่น เช่น NINE และ NBC ในการผลิต Content จากผลงานนักศึกษา หรือ NINE สามารถขยายธุรกิจสิ่งพิมพ์ด้านวิชาการเพิ่มเติมเพื่อผลิต คู่มือ ตำราเรียน หนังสือความรู้ด้านธุรกิจหรือด้านสื่อ ผลงานวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย เนชั่น คล้ายกับ Harvard Business Publishing ของ Harvard Business School

executive of nation university
ผู้บริหารในพิธีแถลงข่าวประกาศเปิดตัวมหาวิทยาลัยเนชั่น

+ http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=136881
+ http://www.bangkokbiznews.com
+ http://www.suthichaiyoon.com/detail/8553
+ http://www.ryt9.com/s/prg/1093392
+ http://www.nation-u.com

เนชั่นกรุ๊ป ผุด บริษัทร่วมทุน “ เนชั่น ยู” ทุ่ม 250 ล้านบาท
http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000023556

เนชั่นกรุ๊ป .. เทคโอเวอร์ มหาวิทยาลัยโยนก พร้อมผุดวิทยาเขตในกทม. อนาคตเล็งเปิดเพิ่มอีกในภาคอีสานและใต้ มองนิวมีเดียและสิ่งพิมพ์ช่องทางสำคัญผลักดันรายได้

นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน ) หรือ NMG เปิดเผยว่า ล่าสุดเล็งเห็นโอกาสที่จะเข้ามาต่อยอดธุรกิจทางด้านการศึกษา จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) ก่อตั้งบริษัท เนชั่น ยู จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท โดยทางเนชั่น กรุ๊ป ถือหุ้น 55% และทางSAU และ นายเสริมสิน สมะลาภา ถือหุ้นรวมกันอีก 45% ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เนชั่น เบื้องต้นใช้งบลงทุนราว 250 ล้านบาท แบ่งเป็น 175 ล้านบาท ในการขอถ่ายโอนใบอนุญาตประกอบการสถานศึกษา (เทคโอเวอร์) จากทาง นาย ศิริธัช โรจนพฤกษ์ เจ้าของมหาวิทยาลัยโยนก จังหวัด ลำปาง มาเป็น มหาวิทยาลัย เนชั่น พร้อมเปิดภาคเรียนแรกในเดือนพ.ค.นี้ ภายใต้หลักสูตรการเรียนการสอน เฉพาะทาง คือ ทางด้านนิเทศศาสตร์ และบริหารธุรกิจ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยโยนกมีนักศึกษาราว 300 คน ใน 3 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะ สังคมและมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับโครงสร้างคณะผู้บริหาร และวางระบบหลักสูตรใหม่ ตั้งเป้าใน 4 ปี จะมีจำนวนนักศึกษาประมาณ 1,300 คน เพิ่มเป็น 1,800 คน ใน 10 ปี

นอกจากนี้ ยังมีวิทยาเขตอีก 1 ที่ คือ ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ ตึก ไอ ทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต เปิดสอนภาคเรียนการศึกษาปี 2554 ในเดือนพ.ค. นี้เช่นเดียวกัน หลักสูตร นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ และMBA ตั้งเป้ามีนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 1,000 คนใน 4 ปี เพิ่มเป็น 2,000 คนใน 10 ปี และหลังจากทั้ง 2 แห่งแข็งแกร่ง จะขยายวิทยาเขตอีก 2 แห่ง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหลือ และภาคใต้ คาดว่าไม่เกิน 5 ปีนี้

นายธนาชัย กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมรายได้ ของเนชั่น กรุ๊ปในปีที่ผ่านมานั้น มีการเติบโตขึ้น 15% หรือราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งในกลุ่มสิ่งพิมพ์ และนิวมีเดีย เป็นกลุ่มหลักที่ผลักดันรายได้ และมีแนวโน้มการเติบโตสูง จากแผนการตลาดที่ขายเป็นแพกเกจ เชื่อว่าจะส่งผลให้ปีนี้ จะมีรายได้รวมเติบโต 15%

+ http://www.facebook.com/video/video.php?v=115773685170144
+ http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=137532
+ http://www.nation-u.com
+ http://www.nationubangkok.com
+ http://www.facebook.com/nationuniversity
+ http://www.facebook.com/nationuclub

งานวิจัยของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง

research lampang
research lampang

สกว. และสถาบันคลังสมองของชาติ ให้ทุนอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดลำปาง และมีอาจารย์ในลำปางหลายท่านรับทุน อาทิ อาจารย์อัศนี  ณ น่าน อาจารย์วิเชพ  ใจบุญ อาจารย์เบญจวรรณ นันทชัย และผม ร่วมเป็นนักวิจัย รับทุนรวม 3 ระยะ โดยหัวหน้าโครงการคือ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล รับทุนรวม  490,250 บาท สำหรับ 1 ปี 6 เดือน หลังประชุมใหญ่ร่วมกับชุมชนครั้งแรก พบประเด็นทั้งหมด 6 ประเด็น คือ การศึกษา การเกษตร กลุ่มอาชีพ สุขภาพ เยาวชน และสิ่งแวดล้อม

ผลการประชุมทีมวิจัย และนัดหมายใน 6 เดือนแรกเบื้องต้น (เข้าชุมชนตามลำดับ 4 ประเด็นแรกข้างต้น) ดังนี้ 1) 19 ก.พ.54 2) 12 มี.ค.54 3) 8 เม.ย.54 และ 4) 23 เม.ย.54 (สำหรับวันที่ 23 เม.ย.54 มหาวิทยาลัยโยนกเป็นเจ้าภาพ กำกับการประชุมกับชุมชน ประเด็นสุขภาพ) ถ้าเข้าพื้นที่ตามแผนในแต่ละประเด็นแล้ว แต่ละกลุ่มวิชาการ หรือกลุ่มมหาวิทยาลัย สามารถเขียนข้อเสนอประมาณ 5 โครงการ เพื่อใช้ทำงานในระยะที่ 2 โครงการละ 20,000 บาท ทำให้การเข้าชุมชนตามประเด็นข้างต้น นำไปสู่การเขียนข้อเสนอโครงการ และทำงานต่อในระยะที่ 2 ร่วมกันของนักวิชาการในจังหวัดลำปาง สำหรับระยะที่สามเป็นบทบาทของคลังสมองจะมาสังเคราะห์บทเรียน

ยอดผู้เข้าร่วมประชุมจาก ทีมมทร. 2 ท่าน โยนก 2 ท่าน นศ. 10 คน กศน. 1 ท่าน มรภ. 3 และอาจารย์ที่สนใจอีก 2 ท่าน ทีมสกว.ฝ่ายท้องถิ่น และสกว.ลำปาง นอกจากนี้ยังมีทีมพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของทั้ง 14 หมู่บ้าน ประมาณ 3-5 คน ค่ะ

หมายเหตุ
โครงการวิจัย “แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

มีข้อเสนอโครงการ
ที่ http://www.thaiall.com/research/lampangnet/proposal_lpnet_5401.zip

เครื่องมือในการสื่อสารระหว่างระดับ

ีืuniversity talking
ีืuniversity talking

2 ต.ค.53 มีโอกาสได้คุยกับนักวิชาการท่านหนึ่ง เราหารือกันเรื่องการสื่อสารโดยใช้ social networking website โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เห็นด้วยกับการหวังผลจาก SNW เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มกับทรัพยากรที่จะลงไป หากหวังจะใช้ facebook.com เป็นพระเอกสำหรับการสื่อสาร .. ในเวลาต่อมาก็คิดได้ว่า การสื่อสารนั้นต้องมีเป้าหมาย มีผู้เกี่ยวข้อง มีสาร และมีสื่อ เพราะผู้ใหญ่ในคณะก็เคยชี้ประเด็นมาแล้ว  และผมก็นำเสนอปัญหาการสื่อสารให้ผู้บริหารระดับสูงฟังแล้ว สรุปว่าประเด็นปัญหาน่าจะอยู่ที่เครื่องมือ หรืออยู่ที่ผู้ใช้เครื่องมือ หรือมากกว่านั้น

ตัวอย่างหนึ่ง : เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า จะไม่รับเพื่อนที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพราะไม่คิดจะคุยเรื่องงานผ่าน fb และนั่นเป็น เหตุผลที่เขาไม่รับผมเป็นเพื่อน แม้เราจะสนิทกัน แต่วัตถุประสงค์การใช้งานต่างกัน ตัวอย่างสอง : เพื่อนคนหนึ่งเคยรับผมเป็นเพื่อน ต่อมาเขาตัดผมออกจากรายชื่อเพื่อน เพราะไม่อยากรับรู้เรื่องในองค์กร .. แล้ววันหนึ่งเขาก็รับผมเป็นเพื่อนใหม่ ด้วยความจำเป็นบางประการ โดยใช้วิธีสมัคร account ใหม่ ตัวอย่างสาม : เห็น yoso account มีเพื่อนมากกว่า 3000 คน โดยมีเพื่อนเข้ามา post ทำธุรกิจ mlm หรือถามว่า ชื่ออะไร น่ารักจัง .. ก็คิดว่าคงสำเร็จในการใช้รูปเด็กน่ารัก เป็นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ตัวอย่างสี่ : ข้อมูลที่ส่งเข้าไปใน fb ถ้าไม่ tag อาจไม่มีใครเห็นข้อความที่เรา post เข้าไปเลย .. ถ้า tag อย่างไม่มีเหตุผลอาจถูกลบออกจากรายชื่อเพื่อน หรือถูกถามย้อนกลับมาว่า มีฉันอยู่ตรงไหน ในภาพนั้น

ปัญหา คือ ความไม่อยากสื่อสาร อยากอยู่เฉยเฉย เพราะการไม่รับรู้ก็จะไม่ต้องรับผิดชอบ อาทิ การรับรู้ว่าดื่มสุราแล้วจากไปก่อนวัยอันควร บรรดานักดื่มย่อมไม่นิยมฟังฉันท์ใด การมีสารสนเทศไหลในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพก็ย่อมเป็นภาระกำหนดให้คนมีงานทำฉันท์นั้น เพราะรับรู้บทบาทของตนผ่านสารสนเทศที่ไหลวนในระบบการสื่อสาร แต่การไม่รับรู้อะไรย่อมไม่ต้องรับผิดชอบใดใด ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น .. เรื่องนี้ผมพูดให้เพื่อนคนหนึ่งฟัง แล้วเขาก็ว่าผมกล้าพูดตรง .. อันที่จริง ผมพูดถนอมน้ำใจท่านผู้นั้นอย่างมาก  เพราะถ้าผมพูดตรง มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม รับความคิดผมไม่ได้แน่นอน

เว็บไซต์ creative university

Bangkok University : Creative university

14 มี.ค.53 พบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือ www.bu.ac.th ใช้คำว่า creative university ออกแบบได้สวย เป็นระเบียบ (พบคำว่า creative ที่มี idea สอดคล้องกับที่ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์  บรรยายที่มหาวิทยาลัย) เมื่อเข้าไปแต่ละคณะก็พบว่ามี creative ในแบบของตน คือ ไม่ได้เหมือนกันไปซะหมด แต่ละคณะก็มีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกันไป เหมือนเป็นทีมพัฒนากันคนละทีมกับหน้าแรก โทนสีของเว็บไซต์น่าจะเป็นม่วงส้ม เพราะเว็บเพจที่พัฒนาโดยหน่วยงานกลางจะใช้เมนูด้านซ้ายเป็นสีม่วง ส่วนตัวหนังสือก็พยายามใช้ม่วงกับส้มสลับกัน เช่น ถาม-ตอบ หรือ ควันหลงรับปริญญา การนำเสนอเรื่องการแต่งตัวของนักศึกษาดูเป็นมืออาชีพ และเรียบร้อยสมเป็นนักศึกษาสมัยใหม่ในสถาบันการศึกษา และมีการเชื่อม facebook กับ twitter เกาะกระแส Social Network ด้วยครับ แต่ไม่พบการใช้บริการสถิติกับ truehits.net
+ http://www.facebook.com/bangkokuniversity
+ http://twitter.com/BUCreative
+ http://www.youtube.com/bucreative