หลีกเลี่ยงการตรวจสอบค่า null ตอนที่ 2 (ปรับจาก code คุณสมเกียรติ)

work ซึ่งใช้ try catch จับ NullPointerException
work ซึ่งใช้ try catch จับ NullPointerException
เป็นวิธีแรก ที่อ่านพบจากโพสต์ของคุณสมเกียรติ
คือ การไม่ตรวจสอบ null value ในขณะประมวลผล
แต่ใช้การ try catch ตรวจ NullPointerException
ครอบการเรียกใช้ method ไว้ ซึ่ง code ที่เปลี่ยนแปลงมีเพียง work.java
ผลลัพธ์ที่ได้คือ
1burin
Null Pointer Exception
โดย code ทั้งหมดมี 3 แฟ้มมีดังนี้
1. แฟ้มแรก คือ Work.java
public class Work {
public static void main(String args[]) {
Work job = new Work();
try { job.call(); }
catch(NullPointerException e) {
System.out.println(“Null Pointer Exception”);
}
}
void call() {
PersonDAO personDAO = new PersonDAO();
Person person1 = personDAO.getPersonByID(1);
person1.setName(“burin”);
System.out.println(person1.getID() + person1.getName());
Person person2 = personDAO.getPersonByID(11);
person2.setName(“tui”);
System.out.println(person2.getID() + person2.getName());
}
}
2. แฟ้มที่สองคือ PersonDAO.java
public class PersonDAO {
public Person getPersonByID(int personID) {
Person person = null;
if (personID < 10 && personID > 0) {
person = new Person();
person.setID(personID);
}
return person;
}
}
3. แฟ้มที่สามคือ Person.java
public class Person {
private int id;
private String name;
public void setName(String s) { name = s; }
public void setID(int i) { id = i; }
public int getID() { return id; }
public String getName() { return name; }
}
ตอนที่ 1 เตรียม code สำหรับการเริ่มต้น

หลีกเลี่ยงการตรวจค่า null ตอนที่ 1 (แต่ตัวอย่างที่ยกมานี้ยังไม่หลีกเลี่ยงการตรวจสอบ)

person object
person object

เคยอ่าน blog ของ Somkiat Puisungnoen
เจ้าของโดเมน somkiat.cc ซึ่งคุณตุ้ยแนะนำมา
ชื่อโพสต์ “Java :: หลีกเลี่ยงการตรวจสอบค่า Null กันได้แล้ว
โดยมี code ตอนหนึ่งว่า
1. PersonDAO personDAO = new PersonDAO();
2. Person person = personDAO.getPersonByID(1);
3. if(person != null) {
4. person.setName(“My name”);
5. }

ซึ่งแนะนำการหลีกเลี่ยงการใช้ null ไว้ 2 วิธี
http://www.somkiat.cc/java-avoid-check-null-in-your-code/

1. บรรทัดแรก
สร้าง instace ชื่อ personDAO จากคลาส PersonDAO
คำว่า DAO มาจาก Data Access Object ทำหน้าที่เข้าถึงข้อมูล
ทำให้มี instace ไว้ใช้งานด้านข้อมูล และติดต่อกับฐานข้อมูล
2. บรรทัดที่สอง
สร้าง instace ชื่อ person จากคลาส Person
ซึ่งมีค่าต่าง ๆ ตามที่กำหนด หรือการประมวลผลที่สำคัญกับข้อมูล
3. บรรทัดที่สาม
ตรวจสอบว่ามี person หรือไม่
ถ้าเรียกใช้ทั้ง ๆ ที่เป็น null ก็จะ error
4. บรรทัดที่สี่
ถ้ามีก็จะกำหนดค่าให้กับ object ใน person
ตามหลัก set กับ get

นำแนวคิดของคุณสมเกียรติ มาทำให้โปรแกรมประมวลผลได้
โดยยังไม่หลีกเลี่ยงการตรวจค่า null แต่ใช้ if != null เหมือนตัวอย่างไปก่อน
1. คลาส PersonDAO ทำหน้าที่เข้าถึงฐานข้อมูลในเบื้องต้น
การ return ต้องกำหนดค่าอะไรสักอย่าง จึงต้องกำหนดเป็น null ไว้แต่แรก
ถ้าไม่กำหนดก็จะ compile ไม่ผ่าน เช่น Person person;
public class PersonDAO {
public Person getPersonByID(int personID) {
Person person = null;
if (personID < 10 && personID > 0) {
person = new Person();
person.setID(personID);
}
return person;
}
}

2. คลาส Person ทำหน้าที่โดยตรงในการเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูล
public class Person {
private int id;
private String name;
public void setName(String s) { name = s; }
public void setID(int i) { id = i; }
public int getID() { return id; }
public String getName() { return name; }
}

3. คลาส Work ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล ควบคุม และนำเสนอข้อมูล
public class Work {
public static void main(String args[]){
PersonDAO personDAO = new PersonDAO();
Person person1 = personDAO.getPersonByID(1);
if(person1 != null) {
person1.setName(“burin”);
System.out.println(person1.getID());
System.out.println(person1.getName());
}
Person person2 = personDAO.getPersonByID(11);
if(person2 != null) {
person2.setName(“tui”);
System.out.println(person2.getID());
System.out.println(person2.getName());
}
}
}
http://www.thaiall.com/class/

ตอนที่ 2 การใช้ try catch จับ Exception
http://www.thaiall.com/blog/burin/6560/