16 ข่าวเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันเป็นภาษาอังกฤษ โดย Sean Banville

http://www.breakingnewsenglish.com/1406/140618-wearable-health-device.html
http://www.breakingnewsenglish.com/1406/140618-wearable-health-device.html

รวมข่าวด้านเทคโนโลยีจาก breakingnewsenglish.com
เป็นเว็บสอนภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติ สอนโดย Sean Banville
เจ้าของเว็บไซต์บอกว่า ตอนเรียนโทที่ Birmingham University
ได้อ่านหนังสือ “Appropriate Methodology and Social Context
ทำให้คิดเกี่ยวกับข่าวหนังสือพิมพ์ประจำวันที่อ่านไปก็นั่งดื่มชาไปด้วย
แล้วทำให้นึกถึงบทเรียนข่าวภาษาอังกฤษ
จากนั้นอีก 18 เดือนก็ทำเป็นหัวข้อวิทยานิพนท์
เขาทำข่าวภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนสอนภาษาในญี่ปุ่น และมีคุณครูมากมายให้คำแนะนำต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.breakingnewsenglish.com/about.html
http://www.breakingnewsenglish.com/technology.html

ถ้าคุยกับนักศึกษา ผมจะเคยเรื่องข่าว แล้วให้นักศึกษานำเสนอเรื่องหมวก 6 ใบ
ว่าคิดอย่างไรกับข่าวที่ผมเล่าไปนั้น โดยให้นักศึกษาเลือกสีหมวกกันเอง

1. White Hat: ใช้ข้อมูลข่าวสาร
2. Red Hat: ใช้อารมณ์ความรู้สึก
3. Black Hat: ใช้การตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยมุมลบ
4. Yellow Hat: ใช้การมองในแง่ดี และมีความหวัง
5. Green Hat: ใช้การคิดอย่างสร้างสรรค์
6. Blue Hat: ใช้การควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด
http://www.thaiall.com/blog/admin/4249/

1. ไม่เป็นธรรมถ้าถูกไล่ออกเพราะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่

ไม่เป็นธรรมถ้าถูกไล่ออกเพราะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่



http://www.breakingnewsenglish.com/0909/090904-capital_letters.html

2. นักเล่นเกมเกาหลีตายหลังเล่นต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ชั่วโมง

นักเล่นเกมเกาหลีตายหลังเล่นต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ชั่วโมง



http://www.breakingnewsenglish.com/0508/050811-gaming-e.html

3. นกโกรธถูกดาวน์โหลดไปครึ่งพันล้านแล้ว

นกโกรธถูกดาวน์โหลดไปครึ่งพันล้านแล้ว


http://www.breakingnewsenglish.com/1111/111103-angry_birds.html


4. เตือนผู้หญิงในการใช้สื่อสังคม

เตือนผู้หญิงในการใช้สื่อสังคม


http://www.breakingnewsenglish.com/1202/120225-social_media.html


5. ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ควบคุมทางไกลเสียชีวิตด้วยวัย 96 ปี

ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ควบคุมทางไกลเสียชีวิตด้วยวัย 96 ปี


http://www.breakingnewsenglish.com/1205/120523-remote_control.html


6. รถโตโยต้านำเสนอวีดีโอการทำงานของรถไร้คนขับ

รถโตโยต้านำเสนอวีดีโอการทำงานของรถไร้คนขับ


http://www.breakingnewsenglish.com/1301/130108-driverless_car.html


7. คิดจากสมองส่งรหัสผ่านแทนการพิมพ์รหัสผ่าน

คิดจากสมองส่งรหัสผ่านแทนการพิมพ์รหัสผ่าน


http://www.breakingnewsenglish.com/1304/130412-passwords.html


8. เครื่องพิมพ์ดีดจะช่วยหยุดการรั่วไหลของข่าวสาร

เครื่องพิมพ์ดีดจะช่วยหยุดการรั่วไหลของข่าวสาร


http://www.breakingnewsenglish.com/1307/130715-computer_leaks.html


9. ซัมซุงเปิดเผยสมาร์ทนาฬิกาเครื่องใหม่

ซัมซุงเปิดเผยสมาร์ทนาฬิกาเครื่องใหม่


http://www.breakingnewsenglish.com/1309/130907-smartwatch.html


10. ตำรวจจับมะพร้าวลูกหนึ่งไปไว้ที่สถานีตำรวจ

ตำรวจจับมะพร้าวลูกหนึ่งไปไว้ที่สถานีตำรวจ


http://www.breakingnewsenglish.com/1309/130909-coconuts.html


11. เว็บไซต์ขายหนังสือระดับโลกทดสอบใช้ drone ให้บริการส่งหนังสือ

เว็บไซต์ขายหนังสือระดับโลกทดสอบใช้ drone ให้บริการส่งหนังสือ


http://www.breakingnewsenglish.com/1312/131204-drone-delivery-service.html


12. หุ่นจะฉลาดกว่ามนุษย์ในปี 2029

หุ่นจะฉลาดกว่มนุษย์ในปี 2029


http://www.breakingnewsenglish.com/1402/140226-artificial-intelligence.html


13. ส่งข้อความไปเดินไปอันตรายนะ เข้าโรงพยาบาลกว่า 6000 คนทีเดียว

ส่งข้อความไปเดินไปอันตรายนะ เข้าโรงพยาบาลกว่า 6000 คนทีเดียว


http://www.breakingnewsenglish.com/1403/140312-texting-while-walking.html


14. อียูโหวตให้มีการใช้ที่ชาร์ตโทรศัพท์แบบมาตรฐาน

อียูโหวตให้มีการใช้ที่ชาร์ตโทรศัพท์แบบมาตรฐาน


http://www.breakingnewsenglish.com/1403/140318-phone-charger.html


15. กูเกิ้ลออกอุปกรณ์ตรวจสอบสุขภาพแบบสวมใส่

กูเกิ้ลออกอุปกรณ์ตรวจสอบสุขภาพแบบสวมใส่


http://www.breakingnewsenglish.com/1406/140618-wearable-health-device.html


16. เด็กอังกฤษหกขวบ รู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีอย่างไรเท่าผู้ใหญ่วัย 45 ขวบ

เด็กอังกฤษหกขวบ รู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีอย่างไรเท่าผู้ใหญ่วัย 45 ขวบ


http://www.breakingnewsenglish.com/1408/140809-sleeping.html

จรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา ในคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา

handbook
handbook

จรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา ในคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
advisor handbook of yonok university
ของมหาวิทยาลัยโยนก มีดังนี้

1. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพและสิทธิประโยชน์ของนักศึกษา
โดยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายแก่นักศึกษาอย่างไม่เป็นธรรม
2. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องรักษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของนักศึกษา
ในความดูแลให้เป็นความลับ
3. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องพยายามช่วยเหลือนักศึกษาจนสุดความสามารถ
หากมีปัญหาใดที่เกินความสามารถที่จะช่วยเหลือได้ก็ควรดำเนินการส่งนักศึกษา
ไปรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
4. อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์บุคคลหรือมหาวิทยาลัย
ให้นักศึกษาฟังในทางที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลหรือมหาวิทยาลัย
5. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นผู้มีความประพฤติที่เหมาะสมตามจรรยาแห่งวิชาชีพ
และมีศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
6. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ในการให้คำปรึกษาวิชาการแก่นักศึกษา
ในความดูแลทุกคนด้วยความเสมอภาค
7. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ

หัวข้อต่าง ๆ ในหนังสือการจัดการความรู้เก่า 7 เล่ม

หัวข้อต่าง ๆ ในหนังสือการจัดการความรู้เก่า 7 เล่ม
มีเหตุผลมากมาย ที่คนไทยสนใจเรื่องการจัดการความรู้
พบในหนังสือการจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน LO ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
หน้า 16 ว่า ตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ.2546 (หมวด 3 มาตรา 11) ดังใจความตอนหนึ่งว่า
"ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ"
โดยที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการดำเนินการเรื่อง KM และ LO
ตามที่ระบุไว้ในคำรับรองปฏิบัติราชการ (มิติที่ 4 -มิติด้านการพัฒนาองค์กร)

ผมสนใจเรื่องนี้เพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ตามแนวทางการจัดการความรู้
แล้วก็ไปค้นหนังสือเก่า ๆๆๆ ในห้องสมุดพบ 7 เล่ม
แล้วนำชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่งไปสอบถามกับ se-ed.com พบว่าเหลือเล่มเดียว
ของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช แล้วนอกนั้นก็ขายหมดแล้ว และไม่พิมพ์ใหม่ มีดังนี้
1. การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ วิจารณ์ พานิช 9744096861
พิมพ์ครั้งที่ 4 กันยายน 2551
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
บทที่ 1 ปฐมบท
บทที่ 2 คนสำคัญของการจัดการความรู้
บทที่ 3 การจัดระบบการจัดการความรู้
บทที่ 4 การฝึกอบรม
บทที่ 5 การเริ่มต้นการจัดการความรู้
บทที่ 6 การดำเนินการจัดการความรู้
บทที่ 7 เครื่องมือ
บทที่ 8 ฐานข้อมูลความรู้
บทที่ 9 เครือข่ายจัดการความรู้
บทที่ 10 ทางแห่งความล้มเหลว
บทที่ 11 แนวทางแห่งความสำเร็จ
บทที่ 12 การจัดการความรู้ในสังคมไทย

2. การจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด 9744914998
พิมพ์ครั้งที่ 6 กันยายน 2550
สำนักพิมพ์ใยไหม
บทนำ มองภาพใหญ่ เข้าใจภาพรวม
บทที่ 1 สิ่งที่แตกต่างระหว่างความรู้สองประเภท
บทที่ 2 การจัดการความรู้ไม่รู้จบ "infinity KM"
บทที่ 3 โมเดลปลาทู สำหรับผู้ที่เป็น "มือใหม่"
บทที่ 4 LO คืออะไร เกี่ยวข้องกับ KM อย่างไร
บทที่ 5 ประสบการณ์จากหน่วยงานที่ "ทำจริง"
บทที่ 6 ไขข้อข้องใจ ก่อนใส่เกียร์ "เดินหน้า"
บทส่งท้าย ไหลลื่นไปกับคลื่นแห่งปัญญา

3. KM วันละคำ "จากนักปฏิบัติ KM สู่ นักปฏิบัติ KM" ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 9744098384
พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2549
ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
หมวดที่ 1 ความสำคัญในการจัดการความรู้
- ผู้บริหารกับการจัดการความรู้
- คุณเอื้อ
- คนสำคัญอื่น ๆ
- ความสำคัญอื่น ๆ
หมวดที่ 2 เครื่องมือเรียนรู้
- โมเดล
- เครื่องมือชุดธารปัญญา
- เครื่องมืออื่น ๆ
- Appreciative Inquiry (AI)
หมวดที่ 3 อภิธาน KM : สร้างบ้าน KM
- เสาเข็มและคาน
- เสาและฝา
- หลังคา
หมวดที่ 4 กลเม็ด KM
หมวดที่ 5 กระบวนทัศน์ KM
หมวดที่ 6 เครือข่าย KM
หมวดที่ 7 หลากมิติหลายมุมมองของ KM

4. การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย บุญดี บุญญากิจ 9749239598
พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2548
บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด
บทที่ 1 ความสำคัญของการจัดการความรู้
บทที่ 2 ความหมายของการจัดการความรู้
บทที่ 3 กรอบความคิดการจัดการความรู้
บทที่ 4 วงจรการจัดการความรู้แบบ 3 มิติ
บทที่ 5 จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
บทที่ 6 เรียนรู้เพื่อปรับปรุง ภาคผนวก
ภาคผนวก ก.ความสำคัญของการจัดการความรู้ต่อองค์กร
ภาคผนวก ข.Most Admired Knowledge Enterprises(MAKE)
ภาคผนวก ค.เครื่องมือในการจัดการความรู้
ภาคผนวก ง.แบบประเมินการจัดการความรู้ขององค์กร
ภาคผนวก จ.บรรณานุกรมเว็บไซต์

5. องค์การแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
The Knowledge Organization : From Concept to Practice รศ.ดร.ทิพวรรณ  หล่อสุวรรณรัตน์ 9742316589
พิมพ์ครั้งที่ 5 เมษายน 2552
สำนักพิมพ์รัตนไตร กรุงเทพมหานคร
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
บทที่ 3 คุณลักษณะของความรู้
บทที่ 4 แนวคิดการจัดการความรู้
บทที่ 5 กระบวนการจัดการความรู้
บทที่ 6 การเรียนรู้ขององค์การและการจัดการความรู้
บทที่ 7 กลยุทธ์การจัดการความรู้
บทที่ 8 การจัดการทรัพยากรมนุษย์กับการจัดการความรู้
บทที่ 9 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้
บทที่ 10 การประเมินผลการจัดการความรู้
บทที่ 11 กรณีศึกษาองค์การแห่งความรู้

6. การจัดการความรู้ พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ Knowledge management พรธิดา วิเชียรปัญญา 9749209087
พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2547
ธรรกมลการพิมพ์
บทที่ 1 บทนำ การจัดการความรู้ สังคมแห่งความรู้ และการบริหารองค์การยุคใหม่
บทที่ 2 แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้
บทที่ 3 การจัดการความรู้กับการบริหารองค์การยุคใหม่
บทที่ 4 การประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ในสังคมไทย

7. การจัดการความรู้กับคลังความรู้
Knowledge management and Knowledge center ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน 9749191595
พิมพ์ครั้งที่ 1 2547
บริษัท เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด
บทนำ การแสวงหาความรู้
บทที่ 1 การจัดการความรู้
บทที่ 2 ความรู้ในองค์กร
บทที่ 3 องค์กรจัดการความรู้
บทที่ 4 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้
บทที่ 5 คลังความรู้

การวิเคราะห์ แล้วก็การสังเคราะห์

การสังเคราะห์ synthesis

25 ก.ค.2557 หัวหน้าเช ส่งอีเมลมาแจ้งว่ากัลยาณมิตรแนะนำว่า เวลาทำอะไรที่มีเป้าหมายสูงสุดชัดเจน ก็ควรจะมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ว่าที่ทำลงไปน่ะถูกแล้วรึเปล่า วิเคราะห์หา swot ด้วยก็จะดี แล้วก็นำมาทำให้ต่อเนื่อง กลับมาดูความหมายของการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ที่แรกอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้ง strategic plan, action plan, identity(เอกลักษณ์) uniqueness (อัตลักษณ์) หรือ aim (เป้าหมาย)

ในการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น เห็นเพื่อน ๆ ใช้การจัดเวทีคืนองค์ความรู้สู่ชุมชน
เรียกว่า การสังเคราะห์
ในการเขียนรายงานการวิจัยบทที่ 5 ก็เป็นการสังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่
เรียกว่า การอภิปรายผล
ในการทำงาน ด้วยการนำงานต่าง ๆ มาบูรณาการให้ได้งานใหม่ที่มีประโยชน์และเผยแพร่ได้ก็
เรียกว่า สังเคราะห์

การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C

การสังเคราะห์ (อังกฤษ: Synthesis) มาจากคำว่า syn- แปลว่า ร่วม ส่วนคำว่า thesis แปลว่า ปรากฏการณ์ใหม่ ซึ่งการสังเคราะห์ หมายถึง กระบวนบูรณาการปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมกัน เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่หรือเกิดปรากฏการใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาภาพ โดยปัจจัยหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่กระบวนบูรณาการในการสังเคราะห์นั้น บางปัจจัยอาจจะได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อนแล้ว ขณะที่บางปัจจัยก็อาจจะยังไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อน สภาวะรูปของปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาเป็นปัจจัยและองค์ประกอบในการสังเคราะห์นั้นอาจเป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งบูรณภาพที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือสิ่งใหม่อันเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นั้น ก็เป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมเช่นกัน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C

ภาพตัวอย่างได้จากเว็บไซต์ข้างล่างนี้
แต่ผมเข้าไปแล้วเขาบอกว่า จากประเทศไทยไม่ยินดีต้อนรับ
http://www.wilmington.will.k12.il.us/blog/wmcgee/?p=497

gateway filter


คำว่าแผนยุทธศาสตร์ (Strategic plan) มีแนวการเขียนที่ดี
ที่ http://plan.rmutsb.ac.th/plan/data_information/file/4_SI_135.pdf

คำว่า แผนปฏิบัติการ (Action Plan) มีแนวการเขียนที่ดี
ที่ https://dpl.wu.ac.th/strategy_actionplan/

ตำแหน่งดาวน์โหลดเอกสาร [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557″]ตำแหน่งดาวน์โหลดเอกสาร [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

ปีการศึกษา 2557 มีการจัดทำร่างเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งของ สกอ. และ สมศ. และในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557
ผู้ใหญ่ให้แขวนเอกสารฉบับร่างคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งภายใน และภายนอกรวม 2 เล่ม ในเว็บไซต์
เพื่อให้ทุกท่านเข้าถึงได้โดยสะดวก

จึงนำคู่มือทั้ง 2 เล่มในแบบ pdf
แขวนไว้ที่ http://www.nation.ac.th/handbooks
เพื่อสามารถ download มาใช้อ้างอิงในการทำงานต่อไป

ตำแหน่งดาวน์โหลดปรากฎตามภาพ หรือดาวน์โหลดโดยตรงผ่านลิงค์
https://www.facebook.com/download/815582165118469/iqa_57.pdf
และ
https://www.facebook.com/download/469687779800252/onesqa_57.pdf
หากทาง สกอ. และสมศ. ปรับเอกสารรุ่นใหม่ ก็จะนำเข้าเว็บเพจและทับแฟ้มเดิมนี้ต่อไป

ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพฯ ระดับอุดมศึกษา ปี 2557
http://www.thaiall.com/iqa

แหล่งนำเสนอผลงานทางวิชาการ

2 dean from 2 university : national and international conference
2 dean from 2 university : national and international conference

นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมวิชาการระดับชาติ และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์(Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และบทความที่มาจากต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

** บทความในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ที่นำเสนอให้กองบรรณาธิการหรือคณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full paper) และได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

อ้างอิง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 35 – 36


Proceedings คือ เอกสารหรือหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัย บทคัดย่อ หรือเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการหรือวิชาชีพ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยสมาคม หน่วยงาน หรือองค์กร จัดให้มีการประชุม เพื่อเป็นการพบปะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาชีพ ในสาขาวิชาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือกัน มีการนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ในที่ประชุม

รายงานการประชุมที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (Proceedings) ดำเนินการตีพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์เผยแพร่หลังการประชุม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference)
2. การประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference)
เช่น http://202.44.34.144/nccitedoc/
หรือ  http://www.techno.edu.nu.ac.th/proceedingsEdtech.pdf
http://thaiglossary.org/node/10552

การประชุมระดับนานาชาติ (International Conferences) คือ การประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้งสุดท้าย

http://thaiglossary.org/node/36943


กระบวนการพิจารณา (Review Procedures)
KST = Knowledge and Smart Technology
http://kst.buu.ac.th/2017/submit_paper.html

review procedures
review procedures

เกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมมือกันในการที่จะยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการในประเทศให้มีคุณภาพและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียง หรือเทียบได้กับนานาชาติ มาตรการหนึ่งในบรรดามาตรการทั้งหลายคือการสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางอันจะเป็นที่รวมและเผยแพร่ความรู้ของประชาคมวิชาการในประเทศไทยโดยไม่เพียงแต่สนองความต้องการของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง

เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับระดับนานาชาติ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้

๑. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารนั้น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ

๒. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำ งานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

๓. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบันที่จัดทำวารสารนั้นไม่น้อยกว่า ๑๐% ของจำนวนบทความทั้งหมด ในอนาคตควรมีการเพิ่มจำนวนบทความประเภทดังกล่าวให้ถึง ๒๕% ของบทความทั้งหมดเพื่อเป็นการพัฒนา คุณภาพวิชาการของประเทศ

๔. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด

๕. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ ๒ ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

๖. บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

๗. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง

๘. วารสารต้องมีบทวิจารณ์หนังสือ (book review)

๙. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain.pdf

เกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain%20vit-techno.pdf

ฟันธงแล้ว เลิกแจกแท็บเล็ต ป.1

tabletpc ป.1
tabletpc ป.1

อวสานประชานิยม!  ‘แจกแท็บเล็ตป.1’
คสช.ยกเลิกโครงการยกพวง สั่งเปลี่ยนแปลงงบประมาณไปใช้อย่างอื่นที่เกิดประโยชน์ต่อเด็กมากกว่า มอบ ศธ.ไปคิดโครงการใหม่มา

http://www.komchadluek.net/detail/20140616/186608.html

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2557  นางสุทธศรี  วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา เพื่อพิจารณาโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน  ว่า ภายหลังหารือร่วมกันโดยวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของโครงการแจกแท็บเล็ต โดยนำผลการวิจัยที่ทำโดยหน่วยงานที่เป็นกลาง อาทิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) รวมไปถึงผลการติดตามการดำเนินโครงการตั้งแต่ปีใบประมาณ 2556  ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มดำเนินโครงการมาร่วมพิจารณาด้วย  ทุกฝ่ายมีมติร่วมกันว่าควรจะเปลี่ยนแปลงงบประมาณของแท็บเล็ตที่เหลือทั้งหมด ไปใช้ทำโครงการอื่นที่เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน มากกว่า

“เหตุผลที่ตัดสินใจยุติโครงการแท็บเล็ต ทั้งในส่วนของปีงบประมาณ 2556 ซึ่งเหลือการจัดซื้อในโซนที่ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) วงเงิน 1,170 ล้านบาท และการจัดซื้อแท็บเล็ต ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 5,800  ล้าน นั้นยึดเรื่องผลประโยชนต่อผู้เรียนเป็นหลัก โดยหลายฝ่ายเห็นว่าถ้านำไปทำโครงการอย่างอื่น อย่างเช่น สมาร์ทคลาสรูม  อีเลิร์นนิ่ง  เป็น ห้องคอมพิวเตอร์ไว้ที่โรงเรียน ให้นักเรียนหมุนเวียนมาใช้ จะเกิดประโยชน์ในวงกว้างมากกว่า ขณะเดียวกันยังไม่ต้องเสียงบประมาณจัดซื้อทุกปี เหมือนโครงการแจกแท็บเล็ต ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้ศธ. ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาโครงการที่เหมาะสมมาแทน”

แหล่งข่าวระดับสูงจาก ศธ. เปิดเผยว่า ประชุมได้มอบให้ปลัด ศธ. ทำเรื่องเสนอไปยังกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ เพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายการ และขอกันเงินงบประมาณแบบไม่มีหนี้ด้วย  ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง โดยมีข้อสรุปว่านักเรียนทุกคนไม่จำเป็นต้องได้รับแจกแท็บเล็ตเป็นของตนเอง เพราะใช้แท็บเล็ตเรียนเพียงแค่ 1-2 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น จึงถือว่าไม่คุ้มค่า และไม่เหมาะสมที่จะจัดซื้อให้แก่นักเรียนทุกคน ขณะเดียวกันยังเห็นว่าแท็บเล็ตไม่เหมาะที่จะนำมาใช้สอนนักเรียนตลอดเวลา ควรใช้ในการเรียนการสอนบางชั่วโมงเท่านั้น และเด็กๆ ควรเรียนรู้จากครูผู้สอน

อีกทั้งแท็บเล็ตถือเป็นครุภัณฑ์ของโรงเรียน จึงไม่เหมาะสมที่จะไปมอบให้นักเรียนเป็นของส่วนตัวได้ โดยคณะกรรมการว่าด้วยพัสดุ กรมบัญชีกลาง ก็ได้ระบุมาว่าจะมอบแท็บเล็ตให้แก่นักเรียนไม่ได้ นอกจากนี้แท็บเล็ตยังมีขนาดหน้าจอที่เล็ก ทำให้นักเรียนมีปัญหาด้านสายตา ส่วนคุณภาพของเครื่องเนื่องจากมีราคาถูก ทำให้แท็บเล็ตมีคุณภาพต่ำ มีอายุใช้งานที่สั้นเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น และไม่คุ้มค่าเมื่อต้องมีการซ่อมแซม

ภาพประกอบจาก
http://www.manager.co.th/politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000107226

ร่างผลการเทียบเกณฑ์ จากร่างเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 2557 กับเกณฑ์ 2554-2556

ร่าง iqa 2557
ร่าง iqa 2557

ทบทวนร่างเกณฑ์ประเมินที่เปิดใช้ในปีการศึกษา 2557
เนื้อหาจากฉบับร่าง ห้ามใช้อ้างอิง แต่น่าจะเหมาะกับการเตรียมความพร้อม
โดยนำมาเปรียบเทียบกับคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา 2554-2556
และมีคุณศัลณ์ษิกา ไชยกุล  นักศึกษาฝึกงานมาช่วยเติมเต็มรายละเอียดต่าง ๆ

กลุ่มตัวบ่งชี้หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ 1.1 ถูกเรียกว่า ตัวบ่งชี้มาตรฐาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ให้ผลประเมินเป็น 0 และไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาอีก 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งตัวบ่งชี้มาตรฐานมีเกณฑ์ระดับปริญญาตรี ดังนี้
* เกณฑ์ที่ 1. จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร – ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นเกิน 1 หลักสูตรไม่ได้ และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 2. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร – 1) มีวุฒิระดับปริญญาโท หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน 2) คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างน้อย 2 คน  (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 3. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร – 1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือเทียบเท่า หรือ 2) ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ อย่างน้อย 2 คน   (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน – 1) อาจารย์ประจำ หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันมีวุฒิปริญญาโทหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน 2) มีประสบการณ์ด้านการสอน 3) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ – 1) เป็นอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา – (เฉพาะแผน ก เท่านั้น) ต้องเป็นรายงานสืบเนื่องฉบับเต็มในการประชุมทางวิชาการ (proceeding) หรือวารสารหรือสิ่งพิมพ์วิชาการซึ่งอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – วิทยานิพนธ์ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน และการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 10. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ – อย่างน้อย 1 เรื่องในรอบ 5 ปี (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 11. มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่เกินรอบระยะเวลาที่กำหนด – ต้องไม่เกิน 5 ปี (จะต้องปรับปรุงให้สำเร็จและอนุมัติ/ให้ความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน เพื่อให้หลักสูตรใช้งานในปีที่ 6) หมายเหตุ สำหรับหลักสูตร 5 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 7 หรือหลักสูตร 6 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 8 (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 12. การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพ หลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ – ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 – 5 ต้องดำเนินการทุกตัว (ตรี – โท – เอก)

ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.2]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ  (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.3]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร  (ตรี – โท – เอก) [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ    ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ร้อยละ 20 = 5

ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง  ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร (เอก)
เกณฑ์การประเมิน :
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 2.5 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 3.0 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 0.25 = 5 คะแนน

ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร (ตรี)
เกณฑ์การประเมิน :
คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรกับเกณฑ์มาตรฐาน และนำมาเทียบกับค่าความต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าที่กำหนดเป็นคะแนน 0 และ 5 คะแนน และใช้เทียบบัญญัติไตรยางค์ดังนี้
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ 6 กำหนดเป็นคะแนน 5
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกินกว่าร้อยละ 12 กำหนดเป็นคะแนน 0
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในระหว่างร้อยละ 6 และ ร้อยละ 12
ให้นำมาเทียบบัญญัติไตรยางค์ตามสูตรดังนี้เพื่อเป็นคะแนนของหลักสูตรนั้นๆ

ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (ตรี)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ในระหว่างอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียน และการประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในระหว่างการเรียนโดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7 หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน) [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 2 การนำกระบวนการบริการทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริการทางวิชาการ และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 3 การนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำวิจัย โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) ยกเว้นวิชาวิธีวิจัย และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน [สกอ 4.1]
เกณฑ์ที่ 4 การสอดแทรกศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกระบวนการเรียนการสอนหรือการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน [สกอ 6.1]
เกณฑ์ที่ 5 การพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ที่มีผลการประเมินการสอนต่ำกว่า 3.51 และมีการดำเนินงานตามระบบ โดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) [สกอ.2.6]

ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร  (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การควบคุมระบบการรับนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 2 การควบคุมกำกับการจัดการเรียนการสอน ที่สร้างเสริมการประกอบอาชีพ ที่ส่งเสริมทักษะการได้รับการจ้างงาน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 3 การวางระบบอาจารย์ที่ปรึกษา [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 4 การจัดเตรียมความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  [สกอ 2.5]
เกณฑ์ที่ 5 การควบคุมกำกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 7 การติดตามคุณภาพการผลิตบัณฑิต [สกอ 2.7]
เกณฑ์ที่ 8 การควบคุมกำกัการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ [สกอ 2.1]

ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน  (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.6 ]
เกณฑ์ที่ 1 การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
เกณฑ์ที่ 2 การกำหนดเกณฑ์การประเมินและการให้เกรดการเรียนรู้
เกณฑ์ที่ 3 การใช้ประโยชน์จากการประเมิน
เกณฑ์ที่ 4 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา การประเมินวิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์

ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา  (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเรียน [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 2 กระบวนการให้คำปรึกษาทางการเรียน/การทำโครงงาน/การทำวิทยานิพนธ์ [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 3 การส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ของนักศึกษา [สกอ 2.7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การสร้างโอกาสการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานสากล (บัณฑิตศึกษา)

ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)  (ตรี – โท – เอก) [สมศ 2]
เกณฑ์การประเมิน :  นำผลจากการประเมินบัณฑิตที่มีคะแนนเต็ม 5 จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อย 20

ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (โท) [สมศ 3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 25 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (เอก) [สมศ 4]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 50 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี (ตรี) [สมศ 1]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงค่าร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระใน1 ปีเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

กลุ่มตัวบ่งชี้คณะวิชา

ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)

ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.2]
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์   [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]

ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่ออาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ    ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ร้อยละ 20 = 5

ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม ที่คณะเน้นกระบวนการ PDCA
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 2 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 ที่ทั้งโครงการที่มีรายได้และโครงการที่ให้บริการแบบไม่หวังผลเชิงธุรกิจ
เกณฑ์ที่ 3 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 และนำเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณา [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 4 นำผลการประเมินตามข้อ 4 มาปรับปรุงแผนหรือพัฒนาการให้บริการวิชาการสังคม [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 5 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนฯ ทุกโครงการมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา หรือชุมชน หรือสังคม

ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ (มหาวิทยาลัยใช้คะแนนของคณะมาเฉลี่ย)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ [สกอ 7.2]

กลุ่มตัวบ่งชี้มหาวิทยาลัย

ตัวบ่งชี้ 3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)

ตัวบ่งชี้ 3.2 การบริการนักศึกษา [สกอ 3.1] เหมือนคณะ แต่เพิ่มข้อ 5 – 6
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในสายอาชีพแก่ศิษย์เก่า

ตัวบ่งชี้ 3.3 กิจกรรมนักศึกษา [สกอ 3.2] เหมือนคณะ
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิกจรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์   [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [สกอ 4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]

ตัวบ่งชี้ 3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ  [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม  [สกอ 5.2 สมศ 9] ที่มหาวิทยาลัยเน้นชุมชนเป้าหมาย
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า [สกอ 5.2.2]
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชน หรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 1 [สมศ 9.1.1]
เกณฑ์ที่ 3 ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฎชัดเจน [สมศ 9.1.3]
เกณฑ์ที่ 4 ชุนชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง [สมศ 9.1.4]
เกณฑ์ที่ 5 สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองคค์การเป้าหมาย [สกอ 5.2.2]

ตัวบ่งชี้ 3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม [สกอ 6]
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้ วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
เกณฑ์ที่ 3 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
เกณฑ์ที่ 7 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

ตัวบ่งชี้ 3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสถาบันอย่างต่อเนื่อง [สกอ 9]

ตัวบ่งชี้ 3.10 ผลการบริหารงานของคณะ (คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะทุกคณะ)
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะของทุกคณะ

http://www.scribd.com/doc/221987061/

ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ที่อ้างอิงในเกณฑ์ที่ 12 ของตัวบ่งชี้ 1.1 ว่าต้องผ่าน 1 – 5 ตัวบ่งชี้แรกนั้น มีตัวบ่งชี้ดังนี้
1. อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2. มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
4. การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา


เกณฑ์ประกันคุณภาพ กค.2553 ของ สกอ
http://blog.nation.ac.th/?p=1629

ประชุมร่วมกับอาจารย์จาก fukui university of technology

fukui & ntu meeting
fukui & ntu meeting

21 พ.ค.57 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่นทั้งผู้บริหาร และคณาจารย์
นำโดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี ได้ประชุมร่วมกับ
Prof.Fumio Nakayasu (Head of International Center of FUT)
และ Ms.Ayako Kobayashi (Chief of an International Center)
จากมหาวิทยาลัย fukui ประเทศญี่ปุ่น
http://www.fukui-ut.ac.jp
เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านวิชาการ
การจัดประชุมวิชาการร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ หลักสูตรร่วม
จัดกิจกรรมศึกษาในต่างประเทศทั้งระยะสั้น ทั้งตรีและโท และการโอนหน่วยกิต เป็นต้น

fukui document
fukui document

fukui document
fukui document

ตามเอกสารนำเสนอข้อมูลมหาวิทยาลัย Fukui
ทำให้ทราบว่าที่ fukui กำลังดำเนินการเปิดหลักสูตร
ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กีฬาและสุขภาพ (Sport & Health Science)
ซึ่งเชื่อมโยงกับ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยเนชั่นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งก่อนหน้านี้มีคณะออกแบบ และคณะไอทีให้ความสนใจ เสนอหัวข้อ
โดยผลการประชุม ทางญี่ปุ่นจะนำไปหารือกับคณะวิชาต่าง ๆ
และจัดทำแผนต่อไป ซึ่งมีเงื่อนไขเรื่องช่วงเวลาและรูปแบบเป็นสำคัญ
ซึ่งฝ่ายเมืองไทยได้กำหนดแผนจัดประชุมวิชาการ ntc2014
ในวันที่ 6-8 ธันวาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
หากติดขัดเรื่องการเปิดปิดภาคเรียนก็อาจกำหนดเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2558
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.637111256365963.1073741984.228245437252549

ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านอธิการบดี  Prof. Dr.Yotaro Morishima
ของ Fukui University of Technology
ได้มาเป็น keynote speaker ในงานประชุม ntc2014
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2557 ในหัวข้อ
Challenges of Japanese Universities in the Borderless Era
http://www.thaiall.com/blog/burin/5733/
http://blog.nation.ac.th/?p=2887

จัดกิจกรรมตัวปลา ตามแนว tuna model

Knowledge Sharing-KS
Knowledge Sharing-KS

มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม พูดคุยแลกเปลี่ยน
เรื่อง การเตรียม peervisit ประจำปีการศึกษา 2556
มีประเด็นหารือแลกเปลี่ยน สรุปได้ดังนี้

1. การกำหนดข้อตกลงร่วม ว่าจะพิจารณาเอกสารตามคำอธิบาย
ถ้าไม่มี หรือยังไม่ได้รับ หรือรอเอกสาร
เพื่อนต้องเขียนรายงาน ระบุ ว่ารอจากใคร และคะแนนเป็น 0
โดย อ.อดิศักดิ์ และพี่นายประกัน อ้างอิงว่าผู้บริหารต้องการให้เหมือนจริง
เพื่อการติดตาม และพัฒนา
2. ห้อง e-document ตกลงให้ตั้งชื่อใหม่
ให้สอดคล้องกับรอบปีและมีความหมาย ขึ้นใหม่ 3 ห้อง
คือ peervisit56 และ sar56 และ dataqa56
ตามข้อเสนอแนะของ อ.อดิศักดิ์ และคุณเปรมจิต
3. มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนเรื่อง convergence
ว่าจะรวมศูนย์เอกสาร หรือกระจายศูนย์
โดยที่ประชุมมีมติให้กระจายห้องเก็บเอกสาร
แม้ อ.เกศริน และพี่นายประกัน จะเห็นไปในทางรวมศูนย์ก็ตาม
4. แต่ละทีมได้หารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าใครจะไปองค์ใด
เช่นทีมคณะสังคม คือ บุรินทร์ ลัดดาวรรณ และฉัตรไชย
กำหนดเป็น 2+7 และ 1+8+9 และ 3+4+5+6
ซึ่งแต่ละทีมก็จะมีการพิจารณาแตกต่างกันไป
5. ได้ย้ำเรื่องกำหนดการว่าเริ่มดำเนินการ 26-28พ.ค.57
และรายงานสรุปผล 2 มิ.ย.57
6. การนำเสนอการใช้งานระบบ และวิธีการเขียนรายงาน
ไม่มีเพื่อนในทีมมีข้อสงสัย โดยพี่นายประกันจะเป็นผู้คัดลอกข้อมูลออกมา
แล้วนำไปจัดทำรายงานต่อไป
7. เป้าหมายของการทำ peervisit ครั้งนี้
ก็เพื่อให้คณะวิชามีความพร้อม และปรับเอกสารให้ตรงกับความต้องการ
ของเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง

เครื่องมือนำเสนอกระบวนการ ในการกรอกข้อมูล peervisit ด้วย powerpoint
http://it.nation.ac.th/doc/oit/Peer_Visit_Manual_report.pdf
โปรแกรมพัฒนาโดย คุณเปรม อุ่นเรือน และผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
http://www.scribd.com/doc/223725577/Peer-Visit-Manual-Report


กิจกรรมนี้ ตามแนว tuna model
เป็นส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS)
หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว
คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม
ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
มี อ.แต อ.นุ้ย พี่นาย คุณลัดดาวรรณ อ.วันชาติ
พี่ลักขณา อ.อดิศักดิ์ อ.ฉัตรชัย คุณเปรมจิต อ.แตงโม

+ http://www.thaiall.com/km