ตำแหน่งดาวน์โหลดเอกสาร [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557″]ตำแหน่งดาวน์โหลดเอกสาร [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

ปีการศึกษา 2557 มีการจัดทำร่างเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งของ สกอ. และ สมศ. และในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557
ผู้ใหญ่ให้แขวนเอกสารฉบับร่างคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งภายใน และภายนอกรวม 2 เล่ม ในเว็บไซต์
เพื่อให้ทุกท่านเข้าถึงได้โดยสะดวก

จึงนำคู่มือทั้ง 2 เล่มในแบบ pdf
แขวนไว้ที่ http://www.nation.ac.th/handbooks
เพื่อสามารถ download มาใช้อ้างอิงในการทำงานต่อไป

ตำแหน่งดาวน์โหลดปรากฎตามภาพ หรือดาวน์โหลดโดยตรงผ่านลิงค์
https://www.facebook.com/download/815582165118469/iqa_57.pdf
และ
https://www.facebook.com/download/469687779800252/onesqa_57.pdf
หากทาง สกอ. และสมศ. ปรับเอกสารรุ่นใหม่ ก็จะนำเข้าเว็บเพจและทับแฟ้มเดิมนี้ต่อไป

ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพฯ ระดับอุดมศึกษา ปี 2557
http://www.thaiall.com/iqa

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน
จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
หน้า 201
ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA%20MUA_54/ManualQA_MUA_February2554.pdf

http://www.cheqa.mua.go.th/

อัตลักษณ์ + เอกลักษณ์

อัตลักษณ์ มาจาก อัต+ลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะ คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว.   คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป

อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา ควรเน้นที่การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน

ขั้นตอนการกำหนดอัตลักษณ์ ควร วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความเป็นมาของสถานศึกษา และเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  แล้วกำหนดอัตลักษณ์ที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีก่อนสำเร็จการศึกษา ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมการส่งเสริม พัฒนา และประเมินอย่างเป็นระบบ

เหตุที่ต้องกำหนดอัตลักษณ์ เพราะ หากสถานศึกษาไม่ตระหนักในเรื่องความเป็นเลิศเฉพาะทางของเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา ก็จะทำให้ความโดดเด่นของเยาวชนสูญหายไป

อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

ตัวอย่างอัตลักษณ์
– โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจเป็น  “มีภาวะผู้นำและสุภาพบุรุษ”
– โรงเรียนสตรีวิทยา อาจเป็น “ยอดนารี สตรีวิทยา”
– โรงเรียนในลำปาง อาจเป็น “มีจิตสำนึกรักลำปาง รักษ์สิ่งแวดล้อม”
– โรงเรียนในเครือเบญจมะฯ อาจเป็น “ประชาธิไตย เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์”
– โรงเรียนในเครือจุฬาภรฯ อาจเป็น “บุคลิกนักวิทยาศาสตร์”

– โรงเรียนบุญวาทย์ เป็น “รักการทำดี วิชาการมาตรฐานสากล สร้างคนป็นผู้นำ”
– บัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น “มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ มีความเป็นสากล”
– บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล เป็น  มุ่งผลเพื่อผู้อื่น (ALTRUISM)
* มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น Health Science and Social Well-Being (ความผาสุข)
* เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น สภาพแวดล้อมการจัดการศึกษาที่สร้างสรรค์

เรียบเรียงจากบทความของ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html
http://www.gotoknow.org/blog/cityedu/422459
http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/60-identity