การปรับใช้ตัวแบบทูน่า (Tuna model) ในการพัฒนาระบบ

tuna model
tuna model

ตัวแบบทูน่า (Tuna model) โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด (2550: 21-26)
เป็นตัวแบบหนึ่งของการจัดการความรู้
ที่ผมนำมาประยุกต์ และเพิ่มระบบย่อยเข้าไปในแต่ละส่วน ให้เป็นตัวแบบที่ใช้อธิบาย
การพัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร โดยใช้ตัวแบบทูน่า
ซึ่งตัวแบบกำหนดเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก ส่วนกำหนดทิศทาง (Knowledge Vision)
1. วิสัยทัศน์/นโยบาย (Vision)
2. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ (Indicator)
3. แผนปฏิบัติการ (Plan)
4. จัดสรรทรัพยากร (Resource)
ส่วนที่สอง ส่วนแลกเปลี่ยน และแบ่งปัน (Knowledge Sharing)
1. กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Group Discussion)
2. วิเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Analysis)
3. ฝึกใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Practice)
4. สังเคราะห์ แล้วแบ่งปัน (Synthesis)
ส่วนที่สาม ส่วนสะสม (Knowledge Asset)
1. รวบรวมความรู้เข้าคลัง (Collection)
2. จัดการความรู้ (Management)
3. ประเมินความรู้ (Evaluation)
4. เผยแพร่ความรู้ (Sharing)
และมีการไหลของวิสัยทัศน์จากหัวปลาไปหางปลา
ซึ่งผู้บริหารกำหนดวิสัยทัศน์ในแบบ (Top-Down Direction)
และมีการไหลของความรู้ขึ้นมาจากหางปลาไปสู่หัวปลา
ซึ่งความรู้ถูกเรียกใช้ขึ้นมาจากทุกระดับ (Bottom-up Direction)

โดยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ผมสนใจคือ
งานของ คุณณัฐพล สมบูรณ์ ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อสร้างระบบถามตอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชัน (Web Application) ขึ้นมาใช้งานภายในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อรองรับในส่วนของการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปแบบเว็บไซต์เพื่อให้ง่ายในการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเพื่อศึกษาหาความรู้ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา ข้อผิดพลาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
พบ paper นี้ใน thailis

http://aikik.blogspot.com/2011/01/model-knowledge-mangement.html

จาก blog ของ Aikik
นำเสนอว่า บุคคลที่ดำเนินการจัดการความรู้
บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการความรู้นั้น มีดังนี้

1.  ผู้บริหารสูงสุด (CEO)
องค์กรใดที่ผู้บริหารสูงสุดเห็นคุณค่า และความสำคัญของการจัดการความรู้ องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้อย่างแน่นอน
2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) การริเริ่มการเรียนรู้ที่แท้จริงจะอยู่ที่คุณเอื้อ โดยคุณเอื้อต้องมีหน้าที่นำหัวปลาไปเสนอให้กับผู้บริหารสูงสุด จนยอมรับหลักการ หลังจากนั้นก็ดำเนินการร่วมกับบุคคลอื่น คอยเชื่อมโยงหัวปลา เข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ขององค์กร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมทั้งคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
3. คุณอำนวย (Knowkedge Facilitator, KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ เป็นคนจุดประกายความคิดและเป็นนักเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (คุณกิจ) กับผู้บริหาร (คุณเอื้อ), ผู้ปฏิบัติต่างกลุ่มในองค์กร และเชื่อมโยงการจัดความรู้ภายในกับภายนอกองค์กรอีกด้วย โดยอาจจัดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดตลาดนัดความรู้, จัดการดูงาน, จัดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
4. คุณกิจ (Knowledge Practitioner, KP) เป็นผู้ปฏิบัติงานและดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ร้อยละ 90 – 95 และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุ

จัดกิจกรรมตัวปลา ตามแนว tuna model

Knowledge Sharing-KS
Knowledge Sharing-KS

มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม พูดคุยแลกเปลี่ยน
เรื่อง การเตรียม peervisit ประจำปีการศึกษา 2556
มีประเด็นหารือแลกเปลี่ยน สรุปได้ดังนี้

1. การกำหนดข้อตกลงร่วม ว่าจะพิจารณาเอกสารตามคำอธิบาย
ถ้าไม่มี หรือยังไม่ได้รับ หรือรอเอกสาร
เพื่อนต้องเขียนรายงาน ระบุ ว่ารอจากใคร และคะแนนเป็น 0
โดย อ.อดิศักดิ์ และพี่นายประกัน อ้างอิงว่าผู้บริหารต้องการให้เหมือนจริง
เพื่อการติดตาม และพัฒนา
2. ห้อง e-document ตกลงให้ตั้งชื่อใหม่
ให้สอดคล้องกับรอบปีและมีความหมาย ขึ้นใหม่ 3 ห้อง
คือ peervisit56 และ sar56 และ dataqa56
ตามข้อเสนอแนะของ อ.อดิศักดิ์ และคุณเปรมจิต
3. มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนเรื่อง convergence
ว่าจะรวมศูนย์เอกสาร หรือกระจายศูนย์
โดยที่ประชุมมีมติให้กระจายห้องเก็บเอกสาร
แม้ อ.เกศริน และพี่นายประกัน จะเห็นไปในทางรวมศูนย์ก็ตาม
4. แต่ละทีมได้หารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าใครจะไปองค์ใด
เช่นทีมคณะสังคม คือ บุรินทร์ ลัดดาวรรณ และฉัตรไชย
กำหนดเป็น 2+7 และ 1+8+9 และ 3+4+5+6
ซึ่งแต่ละทีมก็จะมีการพิจารณาแตกต่างกันไป
5. ได้ย้ำเรื่องกำหนดการว่าเริ่มดำเนินการ 26-28พ.ค.57
และรายงานสรุปผล 2 มิ.ย.57
6. การนำเสนอการใช้งานระบบ และวิธีการเขียนรายงาน
ไม่มีเพื่อนในทีมมีข้อสงสัย โดยพี่นายประกันจะเป็นผู้คัดลอกข้อมูลออกมา
แล้วนำไปจัดทำรายงานต่อไป
7. เป้าหมายของการทำ peervisit ครั้งนี้
ก็เพื่อให้คณะวิชามีความพร้อม และปรับเอกสารให้ตรงกับความต้องการ
ของเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง

เครื่องมือนำเสนอกระบวนการ ในการกรอกข้อมูล peervisit ด้วย powerpoint
http://it.nation.ac.th/doc/oit/Peer_Visit_Manual_report.pdf
โปรแกรมพัฒนาโดย คุณเปรม อุ่นเรือน และผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
http://www.scribd.com/doc/223725577/Peer-Visit-Manual-Report


กิจกรรมนี้ ตามแนว tuna model
เป็นส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS)
หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว
คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม
ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
มี อ.แต อ.นุ้ย พี่นาย คุณลัดดาวรรณ อ.วันชาติ
พี่ลักขณา อ.อดิศักดิ์ อ.ฉัตรชัย คุณเปรมจิต อ.แตงโม

+ http://www.thaiall.com/km