แก้ปัญหาหลังคาโพลี่คาร์บอเนตรั่วแบบชั่วคราว ด้วยเสื่อน้ำมัน

เสื่อน้ำมันเมตรละ 40 บาทที่ร้าน 20 บาท
เสื่อน้ำมันเมตรละ 40 บาทที่ร้าน 20 บาท

คำถาม หลังคาโพลี่คาร์บอเนตรั่ว แก้ปัญหาชั่วคราว ต้องทำอย่างไร
คำตอบ

แผน 1
ถ้าแก้ปัญหาถาวร ก็ต้องเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำหลังคา
ซึ่งมีให้เลือกหลายกหลาย จะอะคริลิค กระเบี้อง เมทัลชีด สังกะสีก็ได้
โดยจ้างช่างมาจัดการให้ทั้งหมด

แผน 2
ผมลองใช้เสื่อน้ำมัน ก็คล้ายกับการใช้ผ้าใบ แต่ราคาต่ำกว่า
ซื้อมาเมตรละ 40 บาท จากร้าน 20 บาท ไม่เกิน 500 บาท
สรุปว่าแก้ปัญหาชั่วคราวครั้งนี้เสียไปไม่ถึง 500 บาท
หลังคาโพลี่เดิมใช้งานมา 7 ปี ประมาณปีที่ 5 ก็ยังเห็นทนอยู่
พอเข้าปีที่ 6 เริ่มแตก  และแตกมากขึ้น แล้วยังมีแมวขึ้นไปโดดประจำครับ
ตอนนี้ก็จะดูว่าเสื่อน้ำมันจะอยู่ถึงปีหรือไม่ ถ้ายังรั่งอยู่ก็คงจะต้องเปลี่ยน
เป็นวัสดุแบบอื่น ในใจคิดว่าน่าจะเป็น เมทัลชีท เพราะไม่แตกร้าวแน่

ถ้าเสื้อน้ำมันตากแดดหมดสภาพจนน้ำรั่งเมื่อใด .. จะมาเล่าให้ฟัง

หลังคาบ้านหมดอายุ
หลังคาบ้านหมดอายุ

ประเภทการปิดชื่อผู้เขียนต่อผู้อ่านต้นฉบับ (manuscripts)

easychair.org
easychair.org
ในการประชุมวิชาการ มักรับบทความสำหรับนำเสนอด้วยวาจา
แล้วมีการรวบรวม คัดสรรโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอน
เมื่อนำมารวมเล่มและเผยแพร่ จะถูกเรียกว่า proceeding

โดยปกติแล้ว ต้นฉบับบทความ (manuscripts)
จะถูกส่งไปยังผู้อ่านหนึ่งคนหรือมากกว่าที่อยู่ภายนอก (peer reviewer)
เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขแก่ผู้เขียนได้ปรับปรุง
ให้มีความควบถ้วนสมบูรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกคัดออก ไม่สามารถนำเสนอในเวทีนั้นได้
การพิจารณาโดยผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการยอมรับมักมี 2 แบบ
คือ ปิดฝั่งผู้อ่าน ไม่ให้รู้ว่าอ่านของใคร (single blinded reviewer)
หรือ ปิดทั้งผู้อ่านและผู้ส่ง ต่างไม่รู้กันและกัน (double blinded reviewer)
โดยปกติ reviewer มักเป็น anonymous และ independent
ซึ่งกระบวนการที่ใช้มักเป็นความลับ หรือผ่านระบบจัดการแบบอัตโนมัติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้แสดงทัศนะโดยปราศจากอคติหรือลำเอียงต่อผู้นำเสนอ
ระบบในปัจจุบันที่งานประชุมวิชาการมักใช้บริการ เช่น easychair.org
easychair คือ  ระบบจัดการงานประชุมที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการใช้ และมีหลายคุณลักษณะได้ปรับแต่ง
ให้เหมาะสมกับรูปแบบการประชุมของแต่ละงานด้วยตนเอง
article guide
article guide

ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 128 รายการ

ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย
ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย

8 เม.ย. 2559 ค้นคำว่า มหาวิทยาลัย ในฐานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง
พบข้อมูล 128 รายการ ต่ำกว่าที่ค้นเมื่อปี 2557 จำนวน 6 รายการ และพบว่าล่าสุดมี มหาวิทยาลัยเนชั่น จดทะเบียนได้เลขสมาชิกคือ 4304
โดยค้นจาก http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search

ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 134 รายการ
ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 134 รายการ

ความหมายของที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาคือ ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสูง และมีความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ และความสามารถให้บริการที่ปรึกษา และเสนอแนะ ความรู้ทางวิชาการในสาขาต่างๆ อาทิ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ สังคม และการเมือง ทั้งนี้ รูปแบบการให้บริการประกอบด้วย การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนโดยพิจารณาด้านเทคนิค เศรษฐกิจ การเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาสำรวจและออกแบบในรายละเอียดทางด้านวิศวกรมและสถาปัตยกรรม และการวางแผนและควบคุมการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานหลายๆ ด้าน โดยจำเป็นต้องใช้วิศวกรที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางเทคนิค วิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ การเงิน และการบริหาร เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้าง
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/12

ขั้นตอนการยื่นขอจดทะเบียนที่ปรึกษา
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/21

registration flow
registration flow

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นจด/ต่อ/เพิ่มเติม/ปรับสถานะทะเบียนที่ปรึกษาไทย
สำหรับที่ปรึกษานิติบุคคล
1.หนังสือแสดงความประสงค์ขอจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษานิติบุคคลถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 1 ฉบับ ดาวน์โหลด ที่นี่
2. เอกสารประกอบกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัท
– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน, ทุนจด    ทะเบียน 1 ล้านบาทขึ้นไป)
– สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
– สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน)
– สำเนาเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท
– สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
– สำเนาใบประกอบวิชาชีพ สำเนาใบสมาชิกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษา หรือสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
– อื่นๆ
3. เอกสารประกอบกรณีองค์กรอื่นๆ เช่น มูลนิธิ สมาคม หรือสถาบันการศึกษา (ในกรณีที่เป็นมูลนิธิ จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นมูลนิธิประเภทใด เช่น มูลนิธิเพื่อการกุศล มูลนิธิเชิงพาณิชย์ หรือ อื่นๆ)
– พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กร/ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
– สำเนารายชื่อกรรมการ/คณะผู้ดำเนินการขององค์กร
– งบการเงิน
– รายงานประจำปี (Annual Report)
– สำเนาประจำตัวผู้เสียภาษีขององค์กร
– อื่นๆ
4. เอกสารประกอบโครงการ
– สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษาที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดของลักษณะงานที่ทำ บุคลากรที่ดำเนินโครงการ จำนวนคน-เดือน (man-month) และอัตราค่าจ้าง ระยะเวลาดำเนินโครงการ และมูลค่าตามสัญญาจ้าง
– ถ้าโครงการยังไม่แล้วเสร็จ ทางศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาจะไม่พิจารณาโครงการนั้น
หมายเหตุ กรณีจดทะเบียนเพิ่มเติม หรือต่อทะเบียนการเป็นที่ปรึกษา ที่ปรึกษายื่นเอกสารโครงการเฉพาะที่เพิ่มเติมเท่านั้น
5. เอกสารบุคลากร
– รูปถ่าย 1 นิ้ว หน้าตรง จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ประวัติการทำงานโดยละเอียด (อย่างน้อยต้องระบุปี พ.ศ.)
– หลักฐานการศึกษา (ใบปริญญาบัตร หรือ Transcript)
6. การรับรองความถูกต้องของเอกสาร
– เอกสารทุกชนิด ทุกหน้า ต้องประทับตราบริษัท และรับรองความถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ จะไม่รับจดทะเบียน และจะดำเนินการลบรายชื่อที่ปรึกษาออกจากฐานข้อมูลที่ปรึกษา หากตรวจพบว่าที่ปรึกษาเสนอข้อมูลจดทะเบียนมาไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริง
7. เอกสารต้องเจาะใส่แฟ้ม 2 ห่วง
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/22

บริการค้นที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง
พบว่ามีประเภทนิติบุคคล : มหาวิทยาลัย พบทั้งหมด 134 รายการ
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search
ที่ปรึกษามี 4 สถานะ
1. สถานะ Active แสดงสถานะ สมาชิก
2. สถานะหมดอายุและไม่ได้ทำการต่อทะเบียนที่ปรึกษา หรือ Not Acitve
3. ต่ออายุที่ปรึกษา หรือ เพิ่มเติมโครงการ/ปรับสถานะ และยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
4. สถานะถูกเพิกถอน

ทดสอบ mypcbackup.com

mypcbackup expired
mypcbackup expired

เพื่อนส่งอีเมลมาให้อ่าน พบว่าในอีเมลบอกว่า
บัญชีที่ใช้ mypcbackup หมดอายุแล้ว
นี่เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะต่ออายุ เพื่อป้องกันแฟ้มของท่าน
เว็บไซต์จะลบแฟ้มของท่านคืนนี้
ท่านจะได้ส่วนลดถึง 70% จาก $8.95 เหลือ $2.61 ต่อเดือนเท่านั้น
ถ้าจ่ายทั้งปีก็จะถูกลงไปอีก ได้พื้นที่ถึง 75GB เลยนะครับ

ผลการทดสอบสมัคร
1. ไม่ต้องยืนยันอีเมล ใช้อีเมลปลอมก็สมัครได้
2. อัพโหลดได้ รับลิงค์แบบ public เหมือน 4shared.com
3. มีโปรแกรมสำหรับ pc จะได้ sync กับ cloud เหมือน 4shared.com
https://cdn.mypcbackup.com/MyPCBackup_Setup.exe
4. เขาว่าคืนนี้จะลบแฟ้มของเพื่อน ก็ต้องดูว่าพรุ่งนี้แฟ้มจะถูกลบจริงรึเปล่า
ก็สมัครเพื่อเรียนรู้ระบบได้ครับ
แต่ถ้าใช้จริงและไม่คิดจ่ายตังก็เสี่ยงกับคำว่า expired
ทดสอบอัพภาพ
http://public.mypcbackup.com/dwmmpzi3dm.75214691

ภาพนี้เป็นของเพื่อน
http://public.mypcbackup.com/dwmnfiqcaa.65488899

ส่วนภาพนี้อัพเข้าของเพื่อน
http://public.mypcbackup.com/dwmngp2l20.65488899

เล่าสู่กันฟัง และข้างล่างนี้คืออีเมลที่เพื่อนส่งให้ผม
และสอบถามว่านี่คืออะไร

Hi [romeo_thai@hotmail.com, this is a fake email],

I have sent you about 10 emails now trying to
make you aware that your files are not currently
being backed up, but I haven’t heard back from you
and you haven’t activated MyPC Backup

So this is your last chance to activate MyPC Backup
and start protecting your files otherwise
we will delete your files you backed up tonight at Midnight.

I’m sorry I couldn’t persuade (ชักชวน) you
that backing up is now part of our digital life
we now live in and it’s an insurance
we now need to stop us from losing
all our irreplaceable (ไม่สามารถถูกแทนที่) files, photo’s and documents.

As a last ditch (ชักชวน) attempt to get you to automate
your computer backup’s here is a 70% Discount.

Protect your files today with a 70% discount:
http://mail.mypcbackup.com/xxxxxxx

You have until midnight tonight otherwise
we will have to delete the files you backed up
with us and you won’t be able to restore these files
if you have a computer crash and lose them

Again my apologise

Regards

Chris Peterson
Sales Director, MyPC Backup

สมัยก่อนมนุษย์มีสมบัติพัสถาน น้อยประเภทกว่าสมัยนี้นะ

sar handbook in bhes 2557
sar handbook in bhes 2557

สมบัติพัสถาน หมายถึง ทรัพย์สิน ที่ดิน และบ้านเรือน
อันได้แก่ แก้ว แหวน เงิน คำ ภาพวาด รูปป้้น อาคาร และสิ่งปลูกสร้าง
แต่สมัยนี้หาสมบัติพัสถานแบบเดิมมาเป็นเจ้าของนั้นยากขึ้น
สำหรับบางอาชีพ สมัยนี้การเลือกอาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กมัธยม

สมบัติรูปแบบใหม่ที่เริ่มหากันมาครอบครอง ก็คือสิ่งที่อยู่ใน cloud
จับต้องกันไม่ค่อยได้ ที่จับต้องได้ก็เป็นเพียงเครื่องมือ เช่น server
แต่สิ่งมีค่ากว่า hardware คือ content
เช่น ภาพ คลิ๊ป งานเขียน เพชรนินจินดาในเกม หรือเงินในเกม เป็นต้น

วันนี้ได้ใช้บริการ revision ของ scribd.com
คือ upload เอกสารของ สกอ. ไปทับของเดิม
แต่ข้อมูลแวดล้อมเดิมยังอยู่
เพียงแต่เปลี่ยนรุ่น ก็เหมือนระบบของ fb group
ที่ผมมัก upload lecture note ให้นักศึกษาได้ติดตาม
ในระหว่างเรียนมีการแก้ไข ก็จะทำการ revision หลังปิดชั้นเรียน

เหตุที่ต้อง revision ใน scribd.com ครั้งนี้
เพราะผมนำเอกสาร pdf มา merge กันด้วย pdfcreator
แต่มีปัญหา หน้าสีดำเป็นบางหน้า
แล้ววันต่อมา ที่มหาวิทยาลัย คุณเปรม ได้รับแฟ้มจากพี่ทอง
แล้ว upload แฟ้มที่มีการ merge กันอย่างสมบูรณ์
ผมจึงนำเอกสาร ที่เป็นร่างประกันสกอ. 2557 มา upload ทับรุ่นเดิม
ผมถือว่าเอกสารต่าง ๆ ใน cloud หรือ social media
ล้วนเป็นสมบัติพัสถาน เพราะมีค่าทางจิตใจ และรู้สึกว่าเราเป็นเจ้าเข้าเจ้าของนั่นเอง

scribd can do revision
scribd can do revision

เอกสารรุ่นใหม่ ค้นจาก google.com ด้วยคำว่า
“ร่างคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557”
พบลิงค์แรก คลิ๊กเข้าไปก็พบบริการ “ตรวจสอบรายชื่ออาจารย์”
ที่ http://www.mua.go.th/users/bhes/

รุ่นใหม่ ทาง สกอ.ได้อัพเดท กำหนดตัวบ่งชี้ไว้ถึง 2.9
https://www.scribd.com/doc/241588240/

ส่วนรุ่นเก่าที่ระดับคณะวิชา กำหนดตัวบ่งชี้ไว้ถึง 2.8
เมื่อ 3 ต.ค.57 พบว่าถูก view ไป 377 ครั้ง
https://www.scribd.com/doc/221987061/

ตรวจสอบชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร สำหรับบุคคลทั่วไป

lecturer ตรวจสอบชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
lecturer ตรวจสอบชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร

30 ก.ย.57 เพื่อนที่ทำงานชวนเข้าเว็บไซต์ของ สกอ. ไปดูร่างคู่มือประกันฯ ปี 57
แล้วผมไปพบบริการ ตรวจสอบชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร สำหรับบุคคลทั่วไป
ที่ http://www.mua.go.th/users/bhes/
พอเข้าไปแล้ว ก็คลิ๊ก ตรวจสอบรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
http://admission.cuas.or.th/Muacourse/index.html
พบข้อความของ สกอ. ถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา ท่านผู้ปกครอง และท่านที่สนใจ
ว่า สามารถตรวจสอบรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณา
ผมลองเข้าไปที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะเป็นชื่อแรกใน list
แล้วเลือก การจัดการมหาบัณฑิต แล้วคลิ๊กตรวจสอบ พบข้อมูลชัดเจนว่าหลักสูตรนี้
มีท่านใดเป็นผู้ดูแลบ้าง และสำเร็จการศึกษาเมื่อใด
ข้อมูลละเอียด ในส่วนของเลขบัตรประชาชนจะปิด 5 หลักข้างหลัง
1 31005007XXXXX พสุ เดชะรินทร์
2 31014011XXXXX พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์
3 31006013XXXXX พันธุมดี เกตะวันดี
4 31005040XXXXX สมชนก ภาสกรจรัส
5 31006031XXXXX อัตถพล เรืองกาญจนเศรษฐ์

ซึ่งในเว็บเพจนั้น ทางสกอ. แจ้งว่า ถ้าข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน
ก็ไปแจ้งด้วย เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง

ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม

research
research

26 ก.ย.57 ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ร่วมกัน ผศ.ดร.จรีรัตน์ สุวรรณ์ และดร.พิมผกา โพธิลังกา  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
พร้อม อ.รพีพงษ์ อินต๊ะสืบ วิทยาลัยอินเตอร์เทค และอ.ธวัชชัย แสนชมภู มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น 2 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ประเด็นสืบเนื่องจากการประชุมเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
เมื่อวันที่ 22 ส.ค.57 โดยประเด็นที่พูดคุยเป็นการหาแนวทางกับประเด็นที่ได้รับมา
คือ “การจัดการที่ดิน เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและปัญหาหมอกควัน”
ซึ่งลำปางมีหลายพื้นที่ที่เป็นสีแดง ซึ่งแต่ละสถาบันก็สนใจในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
เช่น อ.งาว อ.เมือง อ.เถิน เป็นต้น
ต่อจากนี้ก็จะมีการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้านการวิจัย เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ
โดยแต่ละสถาบันก็จะมีโครงการเสนอเข้าไปที่แม่ข่าย คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับหมอกควัน และการศึกษา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

ค่าสถิติตรวจสอบการรับรู้ และการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมในข้อเดียวกัน

crosstab chisquare
crosstab chisquare
question
question
crosstab aware action
crosstab aware action

ดร.ลภัสรดา จ่างแก้ว แนะนำนักศึกษาที่เขียนกรอกแนวคิดในการวิจัย
แล้วหาตัวแปรตามไม่พบ ด้วยเหตุว่า 2 แนวคิดเหมือนที่ผ่านมานั้นง่ายไป
เช่น มี demographic เป็นตัวแปรอิสระแล้ว 4Psหรืออื่น เป็นตัวแปรตาม
จึงแนะนำว่าปีนี้ สำหรับ 4Ps หรือ 7Ps นั้น สามารถเป็นตัวแปรอิสระได้
ส่วน [ตัวแปรตามเป็นพฤติกรรม] ก็ได้ สำหรับหัวข้อที่เข้ากรอบนี้ได้
โดยพฤติกรรมจะถาม “การรับรู้ เปรียบเทียบกับ การปฏิบัติ”
ว่าที่มีระดับการรับรู้เท่าใด และการปฏิบัติเป็นเท่าใด
จากนั้นก็ใช้การวิเคราะห์ด้วยการใช้ตาราง crosstab
แล้วแสดงค่า sig ของ chi-square
ที่ใช้ทดสอบสมมติฐานว่า “การรับรู้กับการปฏิบัติมีความสัมพันธ์กัน
หรือ “การยอมรับกับการดำเนินการมีความสัมพันธ์กัน”
แล้วผลใน crosstab ก็จะทำให้รู้ว่าคำถามข้อใดจับคู่กันอย่างไร
ผลการจับคู่ของ 2 คำถามก็จะมี 4 รูปแบบ ดังนี้
– รู้แล้ว และไปปฎิบัติ
– ไม่รู้ จึงไม่ไปปฏิบัติ
– รู้แล้ว แต่ไม่ไปปฏิบัติ
– ไม่รู้ และไม่คิดไปปฏิบัติ
ซึ่งระดับพฤติกรรมอาจเป็น 3 หรือ 5 ก็ได้

+ http://www.thaiall.com/spss/chisquare_crosstab.xlsx
+ http://www.thaiall.com/research/whatisresearch.htm
+ http://www.thaiall.com/pptx/stat_fac_score.pptx ***
+ http://www.thaiall.com/spss/

คำแนะนำเรื่องการบริการวิชาการ ของรศ.ดร.เอกชัย แสงอินทร์

รศ.ดร.เอกชัย แสงอินทร์
รศ.ดร.เอกชัย แสงอินทร์

จากการฟัง ดร.เอกชัย แล้วนำมาเรียบเรียง
พบว่าความหมายของนิยาม 3 คำที่ใกล้เคียงกัน
ของคำว่า “เผยแพร่ ถ่ายทอด และให้ความรู้”
ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงจะตอบคำทั้งสามนี้ได้อย่างถูกต้อง
นำมาเรียบเรียงได้ ดังนี้
1. เผยแพร่ (broadcast)
คือ การทำให้คนทั้งภายใน และภายนอกได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร
สามารถเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์ก็ได้
2. ถ่ายทอด (Communicate)
คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร อย่างชัดเจน
อาจดำเนินการโดยการจัดประชุมสัมมนา และมีการลงทะเบียนชัดเจน
3. การให้ความรู้ (Educate)
คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบ
อาจดำเนินการโดยการจัดอบรม หรือเปิดเป็นหลักสูตรที่มีการประเมินผล
ว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ไปได้มากน้อยเพียงใด

อีก 2 คำที่ท่านให้ความหมายไว้คือ
1. การบริการวิชาการที่บูรณาการกับการวิจัย
ซึ่งมองว่าถ้าบูกับวิจัยแล้ว
ก็น่าจะมีผลงานเหล่านั้นปรากฎในรูปบทความวิชาการ (Paper)
ที่เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับทราบ
เช่น ไปบริการวิชาการและนำประเด็นมาทำวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายที่เคยบริการ
จนได้ผลงานที่นำไปเผยแพร่ในการประชุมวิชาการ หรือวารสารได้
2. การบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอน
ซึ่งมองว่าถ้าบูกับการเรียนการสอนแล้ว
ก็น่าจะได้เอกสารประกอบการสอนที่สามารถนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมาย (Handbook)
หรือได้ประโยชน์ทั้งชุมชน และนักศึกษาไปพร้อมกัน

คำแนะนำเรื่องการทำแผนกลยุทธ์ ของรศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข

รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข
รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข

หมออำนาจ หรือ  รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข
ได้ให้คำแนะนำเรื่องการทำแผนกลยุทธ์ไว้ถึง 2 เวที
แล้วได้เรียบเรียงมาเป็นข้อพึงระวังในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ไว้ดังนี้
1. การทำแผนกลยุทธ์ต้องนั่งคุยกันหลายคน  (Real participation)
และหลายครั้ง ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เพื่อให้ได้ประเด็นจากหน่วยต่าง ๆ อย่างครบถ้วน และเข้าใจถูกต้องตรงกัน
2. ในแผนกลยุทธ์ก็ต้องกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ให้ชัดเจน (Numeric indicator)
ควรเป็นตัวเลขจะได้วัดง่าย และกำหนดแต่ละปีจะได้เห็นพัฒนาการ
ว่าปีแรกทำเท่าไร ปีที่สองเท่าไร และเมื่อถึงปีสุดท้ายทำได้เท่าใด
3. การทำแผนปฏิบัติการก็ต้องล้อกันกับแผนกลยุทธ์ (Check & action)
ว่าปีนี้ทำแค่ไหน ปีต่อไปทำแค่ไหน และมีการประเมินผลความสำเร็จในแต่ละปี
ตามแผนปฏิบัติการ และแผนกลยุทธ์
เป็นวงจร Plan Do Check and Action
4. วิสัยทัศน์อยากเห็นอะไร (Follow on vision & mission)
ก็ต้องอยู่ในแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ
ถ้าไม่เขียนไว้ก็จะไม่มีงบประมาณมาดูแลให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์
ประเด็นพันธกิจก็ต้องชัดเจน ถ้าไม่ชัดเจนเวลาตั้งงบก็จะไม่ชัดเจนไปด้วย
5. แผนกลยุทธ์ทางการเงินต้องมีกลยุทธ์สอดรับกับแผนกลยุทธ์ (Budget in plan)
และมีการจัดสรรงบประมาณให้กับแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
ตามแผนงบประมาณอย่างสมเหตุสมผล ไม่ควรไปกันคนละทิศละทาง