13 หัวข้อ เก็บและเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

13 หัวข้อ เก็บและเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

kingdom grieves
kingdom grieves

ตลอด 1 ปีแห่งความโศรกเศร้า จากการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9
พบว่า ในสื่อต่าง ๆ ที่จัดทำสื่อเทิดพระเกียรติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 รวมเวลากว่า 360 วันที่ผ่านมา พบเห็น ได้ยิน ได้ฟังมีทุกช่วงเวลา ทุกช่องสื่อแล้วในวันที่สุดแสนเศร้าสลดอีกวันหนึ่ง คือ วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

http://www.nationtv.tv/main/content/social/378544562/

และมติ ครม. ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ เอกชนบางแห่งก็ประกาศเป็นวันหยุดเช่นกันอาทิ เทสโก้ โลตัส ปิดบริการชั่วคราว ทั่วประเทศในวันที่ 26 ต.ค.2560 ให้พนักงานร่วมถวายความอาลัย

http://www.krobkruakao.com/index.php/local/53841

มีสื่อมากมายที่พบเห็น มีการแชร์กันอย่างแพร่หลาย คนไทยรักในหลวงได้จัดทำ จัดเก็บ และเผยแพร่แฟ้มเหล่านั้น เพื่อเทิดพระเกียรติซึ่งกระผมก็เป็นผู้หนึ่งที่จัดเก็บ และเผยแพร่สื่อที่ได้มา

1. เผยแพร่ใน Facebook Page

เป็น ปฏิทินตั้งโต๊ะของ ธนาคารธนชาต ปี 2560
ที่ https://www.facebook.com/pg/thaiall/photos/?tab=album&album_id=10154977481492272

2. เผยแพร่ใน Facebook Profile

โดยเพื่อน ๆ ในองค์กรที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ร่วมทำกิจกรรม รวมพลังแห่งความภักดี เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154682169098895.1073741921.814248894

3. เผยแพร่ผ่าน Homepage ปฏิทิน 2560

ได้จัด scan ภาพจากปฏิทิน ชุด “๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา”
ที่ http://www.thaiall.com/calendar/caltdesk60.htm

4. เผยแพร่ผ่าน Homepage รักในหลวง

ที่รวมสื่อแบบ Multimedia, e-book, Album และปฏิทิน
และเป็นเว็บเพจที่ share สื่อ 8 แฟ้ม
ที่ http://www.thaiall.com/thai/kingsong.htm

ดังนี้

[1] นิทานเทิดพระเกียรติ 9 เรื่อง [28.8 MB]

หนังสือชุดสำหรับเยาวชน : หนังสือสื่อประสมเฉลิมพระเกียรติ
จัดทำเนื่องในพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

 1 – ในหลวงของฉัน 30 หน้า

2 – กล้องของใคร 30 หน้า

3 – เพลงแผ่นดิน 30 หน้า

4 – วาดภาพตามพ่อ 30 หน้า

5 – เมฆน้อยของพระราชา 30 หน้า

6 – เรือใบใจกล้า 30 หน้า

7 – การเดินทางของความสุข 30 หน้า

8 – ต้นไม้ของพระราชา 30 หน้า

9 – ตามยายไปวัด

[2] คมชัดลึก ฉบับ 14 ต.ค.59 [78.8 MB]

เสด็จสู่สวรรคาลัย ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์มีพระราชประวัติตลอดเล่ม 9 หน้า

[3] 48 เพลงพระราชนิพนธ์ [151 MB]

รวมเพลง MP3 และแฟ้มรายชื่อเพลงใน .zip

รวมเพลงพระราชนิพนธ์

[4] ธนบัตรในรัชกาลที่ 9 [9.71 MB]

รวม 220 หน้า ในรูปแบบ PDF file

[5] The Nation ฉบับ 14 ต.ค.59 [12.4 MB]

ภาพปกเป็น พระเสโท
Kingdom grieves (ร่ำไห้)
12 Pages, Volume 41, No.54920 / Bt30
Hist Majesty King Bhumibol Adulyadej 1927-2016
Truly the King of hearts
Kingdom plunges into sorrow after King’s passing

[6] The Nation ฉบับ 15 ต.ค.59 [23.6 MB]

King begins his final journey
Last page : What Mourners say ..12 Pages

[7] เดลินิวส์ ฉบับ 15 ต.ค.59 [21.5 MB]

ในหลวง สวรรคตลดธงครึ่งเสา-ขรก.ไว้ทุกข์ 1 ปี
กษัตริย์จิกมี-ผู้นำทั่วโลกอาลัย
ในหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องราวของในหลวงทั้งหมด 27 หน้า
Scanned by CamScanner

[8] หนังสือโดยรัฐบาล [3.4 MB]

หน้า 5 “ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ข้าพระพุทธเจ้า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทย
หนังสือภาพ จัดพิมพ์โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ISBN 978-616-543-421-8 มี 52 หน้า

5. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ Google Drive

ที่ https://drive.google.com/drive/folders/0B57tftxwECsiM1h6bkh1VXR3Qmc

6. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ Dropbox

ที่ https://www.dropbox.com/sh/4p8i5x9k0rhrlia/AAB5JE9gpAPiozE06w7BvFufa?dl=0

7. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ 4shared.com

ที่ https://www.4shared.com/folder/4YgEC7_s/royal_files.html

8. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ one drive

ที่ https://onedrive.live.com/?cid=ad5d4db8b448d28d&id=AD5D4DB8B448D28D%21641&authkey=!AKaPBjs8mvkPp2I

9. เผยแพร่ 8 สื่อ ผ่าน Cloud storage ที่ box.com

ที่ https://app.box.com/embed/s/jp0ujjehyb5qlzqg366je3ux7nyf6zt2/folder/11801920926

10. แล้วสื่อทั้ง 8 ยังเผยแพร่เป็น embeded ใน homepage

วิชาสื่อและเทคโนโลยี (TECH 100)
ที่ http://www.thaiall.com/mit/

11. เขียนบทความไอทีในชีวิตประจำวัน ITinLife 575

เมื่อ ตุลาคม 2559 เผยแพร่การเก็บสื่อเทิดพระเกียรติ
ที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/8078/

12. รวบรวมคลิ๊ปใน Playlist ผ่าน youtube.com

ที่ https://www.youtube.com/playlist?list=PLYv8A28PGRQzX0V0tJl33d81QO6nouASp

13. ทั้ง 8 แฟ้มรวมเป็น royal_files.zip ขนาด 361 MB

เผยแพร่ผ่าน google drive (public sharing)
ที่ https://drive.google.com/file/d/0B57tftxwECsic01uRl92eEUzNzQ/view?usp=sharing

14. แชร์เรื่องราวใน blog ของ oknation.net

ที่ http://oknation.nationtv.tv/blog/thaiabc/2017/10/07/entry-1

all files

การบันทึก และเผยแพร่สื่อเทิดพระเกียรติ ยังดำเนินต่อไปตราบนานเท่านาน ด้วยรักในหลวง รัชกาลที่ 9

ความหมายของปฏิทิน

เรารักในหลวง
เรารักในหลวง

ปฏิทิน ในภาษาอังกฤษ คือ คาเลนดาร์ (Calendar) มาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณ ว่า “Kalend” มีความหมายว่า “I cry” หรือ “ฉันร้อง” มีที่มาว่า สมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอก ปฏิทินจึงเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิทิน”

ปัจจุบัน “ปฏิทิน” ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึงจะต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน เป็นต้น
ปฏิทินไทย
ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์ ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 ) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ ” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้
การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ ไดอารี่ ” (Diary) หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้

ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ”

อ้างอิง
– มณฑา สุขบูรณ์ “ เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์ ” THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
– อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533

http://www.lib.ru.ac.th/journal/calendar.html

http://www.thaiall.com/calendar/calendar60.htm

อำนาจที่แสนหอมหวาน .. น่าแย่งชิง และเลือกข้าง

อำนาจที่แสนหอมหวาน .. น่าแย่งชิง และเลือกข้าง

พลังของการเจรจา ของศัลยแพทย์ negotiation
พลังของการเจรจา ของศัลยแพทย์ negotiation

ดูหนัง เป็นเรื่องของคนมีอำนาจ ชิงอำนาจกัน
พอชิงอำนาจมาได้ ก็หันมาชิงอำนาจกันเอง #goverment
เป็นบทเรียนเรื่องของอำนาจ ต้องเลือกข้างที่จะชนะเหมือนทหารชิง
1. ดอกเตอร์ซุน รวมสมัครพรรคพวก พยายามโค่นล้มราชวงศ์ชิง
2. พยายามแล้ว แต่สู้ไม่ได้ ต้องหาพวกเพิ่ม
3. ทหารชิง แปรพรรค สมคบกับดอกเตอร์ซุน #change
4. ในที่สุดก็ล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ จะตั้งเป็นสาธารณรัฐ #state
5. ในที่สุดก็มีดอกเตอร์เป็นประธานาธิบดีได้แป๊ปนึง #president
6. และแล้วทหารชิง ก็กลับมาหักหลักดอกเตอร์ซุน เพราะอยากใหญ่
7. ทหารชิงคนนั้น ตั้งตัวเป็นจักรพรรดิใหม่ แต่ก็ต้องจากโลกไปในเวลาอันสั้น #king
8. บ้านเมืองขาดผู้นำ ก๊กต่าง ๆ พร้อมใจรบกันเอง เพื่อชิงอำนาจอันหอมหวาน
9. ในที่สุดก็รวมชาติได้ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ถึงปัจจุบัน

รายละเอียดผมอาจคลาดเคลื่อน โปรดใช้วิจารณญาณและหาข้อมูลเพิ่มเติม

ปล.ผมชอบฉาก พูดคุยกับนายธนาคาร เป็นผลตัดกำลังราชวงค์ชิง ต้องยอดแพ้ในที่สุด
http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538787083&Ntype=3

บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย

king of higher education
king of higher education

รศ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหนังสือ ศธ 0575/ว1528 ถึงสถาบันอุดมศึกษาไทยทุกแห่ง เรื่อง “ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การเข้าใช้งานหน้าจอเว็บไซต์ ก่อนเข้าสู่หน้าจอปกติในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 120 ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก” เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก ว่า “บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” โดยขึ้นมาก่อนหน้าจอปกติตั้งแต่ 1 – 31 มกราคม 2555 ซึ่งมีหลายมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือแล้ว อาทิ nation-u.com ku.ac.th ru.ac.th

จุดเทียนชัยถวายพระพร

พระราชินี
พระราชินี

12 ส.ค.52 อีกครั้งหนึ่งในชีวิตที่ผมได้มีโอกาสไปร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระราชินีของไทย โดยมีอาจารย์ธวัชชัย แสนชมพูเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยโยนกเป็นผู้วางพานพุ่ม บนเวที ณ สวนสาธารณเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง ได้ร้องเพลงเทอดพระเกียรติ 2 เพลงอย่างมีความสุข และจุดพลุมากกว่า 10 ลูก ควันจากการจุดพลุปกคลุมไปทั่วบริเวณ เริ่มพิธีทั่วประเทศพร้อมกัน 19.09น. เสร็จพิธีประมาณ 19.30น. ไชโยไชโยไชโย จากนั้นก็นำเทียนไปปักรอบบริเวณ แล้วแยกย้ายกันเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน
     มหาวิทยาลัยของเรามีตัวแทนทั้งอาจารย์ และนักศึกษาจากคณะต่าง ๆ ไปร่วมเทอดพระเกียรติกันคับคลั่ง รวมกว่า 50 คน อาทิ อ.ศรีศุกร์ อ.กิ๊ก อ.อ้อม อ.ศิริรัตน์ อ.แดน อ.โก อ.เอก อ.สุพจน์ อ.บุรินทร์ เป็นต้น เจ้าหน้าที่หลายท่าน อาทิ พี่ปุ๊ก น้องเอ็ม พี่นาย พี่นิเวศน์ ส่วนนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไปร่วมงานนี้นำโดย น.ส.โสภาวรรณ ฟูวุฒิ