#เล่าสู่กันฟัง 63-070 สื่อสอนสอบ ใน สอนออนไลน์

Google classroom

Google meet

Google form

จุดเด่นของ google meet
1. ใช้งานผ่านบราวเซอร์ ไม่ต้องติดตั้งอะไรเลย ถ้าใช้บนโทรศัพท์มีแอพชื่อ meet
2. ผู้ร่วมประชุม ไม่ต้อง sign in ได้ลิงค์ หรือรหัสห้องก็เข้าร่วมได้ (ควรระบุ ชื่อและรหัสนิสิตที่ปรากฎ)
3. ใช้ได้ทันทีด้วยอีเมลของมหาวิทยาลัย/องค์กรที่สมัคร G Suite
4. จุดเด่นอื่น คล้าย zoom, webex, ms teams, discord ที่แชร์จอได้ บันทึกวีดีโอ แปลเป็นแคปชั่นอัตโนมัติ หรือจัดการผู้ร่วมประชุม


ขั้นตอนการใช้งาน google meet
1. เปิดบราวเซอร์ เช่น  chrome, edge, firefox
2. เปิด http://meet.google.com
3. เข้าระบบด้วยอีเมลของมหาวิทยาลัย/องค์กร เพราะสมัคร G Suite แล้ว
4. คลิ๊ก Join หรือใส่ Meeting code
5. ส่งลิงค์ให้ลูกศิษย์/ผู้สนใจเข้าประชุม
6. กดรับเข้า (Admit) เมื่อแต่ละคนขอเข้าห้องประชม
7. เริ่มแชทคุย หรือประชุมผ่าน video
หรือให้ฝ่ายขาย/ผู้ร่วมประชุมวิชาการ/นิสิตนำเสนอโครงงานแบบที่พบว่า อ.แม็ค กับ อ.แป๋ม เล่าเรื่องในเฟส
http://thaiall.com/google/meet.htm

#เล่าสู่กันฟัง 63-069 pretest posttest แบบ interactive

มีเครื่องมือ evaluation หลายตัวที่น่าสนใจ
พบว่า kahoot เป็นที่นิยม ใช้ได้ทั้ง สอนออนไลน์ และสอนออฟไลน์ มีความเป็นมัลติมีเดียสูง
มีประสิทธิภาพถ้าใส่อารมณ์ความรู้สึกเข้าไป
เคยเล่าเรื่องการใช้งานไว้ที่
http://www.thaiall.com/quiz/kahoot/

และรวบรวมข้อสอบที่จะนำเข้า kahoot
ไว้ที่
http://www.thaiall.com/quiz/kahoot/top10.htm

ซึ่งทำข้อสอบทิ้งไว้ เป็น Pre-test Post-test แบบ interactive ได้ วิชาจริยธรรม เจอครั้งแรกด่วน ๆ อาจเลือกตอบยาก แต่ Post-test ก็จะเร็ว
ตัวเลือก play มี 2 แบบ
1. Challenge คือ ต่างคนต่างทำ
2. Host live คือ มีครูเปิดจอภาพ
ซึ่งต้องให้เวลามาก เผื่อ delay
https://create.kahoot.it/share/1/903458d5-32e6-4c30-b447-63c33715b0a9

#เล่าสู่กันฟัง 63-068 เล่าเรื่อง markdown ใน github.com

เนื่องจาก markdown ได้รับการสนับสนุนใน github.com จึงสร้าง repository ชื่อ markdown
ไว้เก็บผลงาน slide และแบ่งปัน ซึ่งมีเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ และหัวข้อ ที่จะนำไปแปลงผ่านโปรแกรม pandoc เพื่อจัดทำเป็น powerpoint
ซึ่งสร้าง repository เป็น public และ check box ให้ Initialize this repository with a README
ผลลัพธ์คือข้อมูลในช่อง Description ถูกนำไปใส่ในแฟ้ม README.md และกลายเป็นข้อมูลหน้าแรกของ Repository
จากนั้นเข้า Settings จาก MenuBar แล้ว Scroll down ลงมาหากคำว่า GitHub Pages
เลือก Source เป็น master branch แล้วเลือก Theme เป็น Architect จากนั้นระบบจะพาไปสร้างแฟ้ม README.md ซึ่งทับแฟ้มเดิมที่มี description
แล้วกด commit changes
ผล คือ พบ description ของ repository ปรากฎที่ด้านบน เมื่อเข้าสู่ repository และพบรายการ code ทั้งหมดด้านล่างลงมา
ส่วนแฟ้ม README.md นั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยคำแนะนำในการเขียน Markdown บน Github Page ไปแล้ว
และมีแฟ้ม _config.yml ที่มีข้อความเพียงบรรทัดเดียว คือ theme: jekyll-theme-architect ซึ่งกำหนด theme สำหรับแสดงผลใน github.io
เมื่อเปิด https://thaiall.github.io/markdown พบว่ารูปแบบเป็นไปตาม theme ชื่อ architect
จากนั้นอัพโหลดแฟ้ม code ชื่อ hci_all.md และ tec_all.md
ซึ่งต้องเปิดใน github.com จะมีการแสดงผลที่ผ่านการ convert เป็น html แล้ว
แต่ถ้าเปิดผ่าน github.com จะยังเห็นเป็นข้อมูลแบบ markdown อยู่
เช่น https://github.com/thaiall/markdown/blob/master/hci_all.md

มนุษย์มีภาษาหลายหลายใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
แล้วช่วยให้คนเรามีปฏิสัมพันธ์กันได้

หนังสือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ISBN 978-974-9781-26-5 มี 282 หน้า เขียนโดย ผศ.ดร.วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ ปรับปรุงครั้งที 5 เมื่อ 15 สิงหาคม 2557 พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2559 [Order – Aug 2559] ท่านเป็นอาจารย์สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

#เล่าสู่กันฟัง 63-067 สมาคม อปท.อีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประณามสมาคม โรคติดเชื้อ แนวทางสู้โควิด

สมาคม อปท.อีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประณาม สมาคม โรคติดเชื้อ แนวทางสู้โควิด
เห็นต่างเรื่อง สุขภาพ กับ สุขใจ

การเลือกอย่างมีจริยธรรมระดับองค์กร/บุคคล
ก่อนหน้านี้ต้องเลือกระหว่าง
#เสรีภาพ และ #สุขภาพ
ตอนนี้มีคำว่า #สุขใจ = #สร้างขวัญกำลังใจ
มาให้ต้องเลือกพร้อมให้เหตุผล
แล้วสังคมก็วิพากษ์วิจารย์กันเยอะ

น่าตั้งเป็นคำถาม กรณียึดหลักจริยธรรมขององค์กรที่ดี หรือ จริยธรรมของผู้บริหารที่ดี ท่านเลือกปฏิบัติตามหลักข้อใด จงอภิปรายให้เหตุผลประกอบ สำหรับการสอบ open book

https://www.dailynews.co.th/regional/768913

คาดว่า เพื่อความสบายใจสู้โควิด ก็เลือกฉีดพ่นกัน

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3947402

#เล่าสู่กันฟัง 63-066 สร้าง powerpoint ด้วย word

13 เม.ย.63 คุยกับเพื่อนอาจารย์ พูดถึงการใช้ข้อมูลที่มีใน word จัดทำเป็น powerpoint ซึ่งสามารถทำได้ด้วยความสามารถของ word โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม เริ่มจากเตรียมข้อมูลแยกออกเป็นระดับ คือ Level 1 – Level 4 โดยดูข้อมูล Level จาก View, Outline จะเห็นการจำแนกข้อมูลออกเป็นระดับ หากใช้การกำหนดเฉพาะ Header 1 กับ Header 2 ผ่าน Styles ก็สามารถใช้แทน Level 1 และ Level 2 แต่ถ้าใช้ Level จะจำแนกข้อมูลเพื่อส่งออกไปยัง Powerpoint เป็น .pptx ได้ดีกว่า

เมื่อเตรียมข้อมูลแล้ว ก็เพิ่มปุ่มสำหรับ export โดยเลือก File, Option, Quick Access Toolbar, เปลี่ยน Choolse commands from : Popular Commands เป็น All Commands แล้วมองหา Send to Microsoft Powerpoint เพื่อ Add ไปยัง Customize Quick Access Toolbar จากนั้นกดปุ่ม OK
ขั้นตอนสุดท้าย หลังเตรียมข้อมูล และเตรียมปุ่ม Send ก็กดปุ่ม Send to Microsoft Powerpoint ที่อยู่มุมบนซ้าย สำหรับส่งข้อมูลจาก Word ออกไปเป็น Powerpoint ตามต้องการได้ทันที

http://thaiall.com/office/powerpoint.htm

#เล่าสู่กันฟัง 63-065 เล่าเรื่องเตรียม powerpoint ผ่าน markdown ให้เพื่อนฟัง

วันนี้ 12 เม.ย.63 มีเพื่อนพระครู ชวนคุยเรื่อง การสอนออนไลน์ ทำให้นึกถึง คำว่า วัตถุประสงค์ เช่น 1. เพื่อให้เข้าใจรูปแบบข้อมูลมาร์คดาวน์ 2. เพื่อให้เข้าใจการแปลงแฟ้มสำหรับนำเสนอ และ สิ่งที่คาดหวัง เช่น 1. ผู้เรียนสามารถเตรียมหน่วยการเรียนและหัวข้อเพื่อสอนออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว 2. ผู้เรียนสามารถสร้างแฟ้มนำเสนอด้วยแพนด๊อคและเลือกแม่แบบได้อย่างยืดหยุ่นผ่านการเตรียมข้อมูลมาร์คดาวน์

ปัจจุบันที่ทำอยู่ คือ เตรียมเอกสารบน text editor เช่น word หรือ notepad แล้วแปลงไปเป็น pptx จากนั้นก็เลือก Theme บน Powerpoint ในภายหลัง หลักการนี้จะทำ Slide ที่ไม่ซับซ้อน แก้ไขตรวจสอบได้รวดเร็ว มี Header กับ Detail ซึ่ง Detail ก็จะมีแบบ 1) Ordered 2) Bullet 3) Paragraph 4) Code และสามารถทำ Slide แบบมี 5) Picture ได้ แต่ต้องเตรียมภาพตามหัวข้อที่ต้องการเล่า ซึ่งภาพที่แปลงจาก markdown ไปเป็น pptx จะถูกคัดลอกไปเก็บใน pptx ไม่ได้ลิงค์แบบ embeded

อันที่จริง ผมก็กำลังเตรียม และปรับการสอนอยู่เหมือนกัน ปรับจากการสอนแบบ 1) Meeting ที่พูดคุยแลกเปลี่ยน เผชิญหน้า กำกับติดตามการเรียนในชั้นเรียน รู้จักผู้เรียนทุกคน (เน้นออฟไลน์ ส่วนออนไลน์วิธีนี้ใช้ Zoom) ส่วนการสอนแบบ 2) Live คือ สอนสด จะมีปัญหาที่ผู้เรียนไม่ได้เข้าห้องเรียนออนไลน์พร้อมกัน ถ้าเลือกแบบสอนสด ต้องบันทึกคลิ๊ปแล้วแขวนให้กลับเข้ามาเรียนได้อีก การบันทึกคลิ๊ปนี้เข้ารูปแบบที่ 3 คือ การสอนออนไลน์ที่เน้นสอนแบบ 3) VDO on Demand ให้ผู้เรียนมาดาวน์โหลดคลิ๊ปด้วย IDM หรือเปิดดูแบบ Streaming ผ่านระบบ 4) e-Learning ที่สามารถเปิดดูได้ทุกที่ (Anywhere) ทุกเวลา (Anytime) ซึ่งเพื่อนพระครูบอกว่าใช้ Moodle ที่มีระบบ Content, Quiz, Assignment, Homework, Chat, Webboard และฟรี แต่ต้องการตอกย้ำซ้ำให้ชำนาญ เพิ่มทักษะแล้วเพิ่มทักษะอีก เพิ่มบ่อยจนคุ้นชิน ในใจผมก็คิดว่า มีอะไรก็เรียกไปคุยได้ครับ เพราะมี MOU กันอยู่

#เล่าสู่กันฟัง 63-064 ออกแบบหน้าต่างแบบโมแดล

Modal คือ หน้าต่างวินโดวส์แบบหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นจากหน้าต่างหลัก ปรากฎขึ้นด้านบน โดยยังเห็นหน้าต่างหลักปรากฎอยู่ด้านล่าง เป็นการออกแบบปฎิสัมพันธ์สำหรับแอพพลิเคชั่นบนคอมพิวเตอร์


https://www.w3schools.com/bootstrap/tryit.asp?filename=trybs_modal&stacked=h


https://en.m.wikipedia.org/wiki/Modal_window

#เล่าสู่กันฟัง 63-063 ดูทีวีไป ก็ Work From Home ทำ VDO on Demand กัน

Camtasia ช่วงนี้มีสอนออนไลน์ มีเรียนจากบ้าน (Learn From Home) มีทำงานจากบ้าน (Work From Home) นอกจาก Meeting, Live, และ e-Learning แล้ว คำว่า VDO on Demand ก็ถูกพูดถึงกันมาก คือ การที่คุณครูนั่งสอนผ่าน Powerpoint แล้วบันทึกวีดีโอ ขนาดของจอภาพก็สำคัญ

1) ต้องกำหนดใน Powerpoint เป็น 16:9 จะได้เห็นเต็มจอทีวีได้

2) กำหนดใน camtasia ส่งออกเป็น 1280 * 720 ซึ่งขนาดใหญ่สุดแบบ 16:9 พร้อมส่งเข้า Youtube.com

3) Display dimension ของ windows ถ้ากำหนดเป็น 1280 * 720 ซึ่งต่ำมากกับจอสมัยนี้

ก็จะทำให้ตอนสั่ง Slide Full Screen ไม่ต้องมีขอบดำด้านบน หรือด้านข้าง แล้วตัดต่อใน Camtasia ก็ไม่ต้องกังวล ให้ใส่ใจกับ marker และการทำ zoom in zoom out ดีกว่า

#เล่าสู่กันฟัง 63-062 เสรีภาพ ใต้เงา โควิต-19

มีการพูดถึงมากมายเรื่องเสรีภาพในการเรียน
เสรีภาพในการทำงาน
ความปลอดภัยในชีวิต และสุขภาพ
ภายใต้สถานการณ์โควิต-19 ระบาด

ทันทีที่ได้เสรีภาพทุกคนจะทำตาม
ความมุ่งหวังเฉพาะตน
ออกเดินทางท่องเที่ยวกันเยอะ
แต่ ณ เวลานี้ ต้อง อยู่บ้านช่วยชาติ
เหมือนคำว่า #อยากเรียนต้องได้เรียน
#อยากหยุดโรคระบาดต้องอยู่บ้าน
เป็นอะไรที่เข้าใจง่ายมาก ๆ
เหมือนอย่าทำผิดทั้งทางแพ่ง และอาญา
แจ่ทุกวันนี้กระแสบอกว่าคุกเต็มมานานแล้ว

เท่าที่รู้คนรอบ ๆ ตัวผม
คิดว่า สุขภาพ สำคัญกว่าเสรีภาพ ทั้งนั้น
แต่ในข่าวเค้าว่ามีคนที่คิดต่าง ก็ไม่รู้ใครคิดต่างบ้างนะเออ
ก็หวังแต่ว่าจะรอดพ้นไวรัสตัวนี้ไปอีกนานแสนนานกับเค้าอีกคน
https://siamrath.co.th/n/144215

#เล่าสู่กันฟัง 63-061 เล่าในรูปแบบภาษา Markdown

เชื่อว่าหลังปี ค.ศ. 2020 โลกแห่งการบอกเล่าเรื่องราว (Story Telling) อย่างมีรูปแบบ (Formatting) มีแนวโน้มใช้ภาษา Markdown กันมากขึ้น เพราะเขียนเล่าเรื่องได้ง่าย (Lightweight Format) นำไปใช้ต่อได้หลากหลายรูปแบบ พบการใช้งานใน github.com และ facebook.com และ wordpress.com มีรูปแบบพื้นฐานให้ใช้งาน สำหรับแปลงเป็นภาษาเอชทีเอ็มแอลได้ทันที อาทิ กำหนดส่วนหัวหลายระดับ เขียนลำดับข้อมูล ลำดับหัวข้อ ทำย่อหน้าได้ อ้างอิงคำพูด (Block Quote) เป็นต้น

ผลจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการทำงาน การเรียน การใช้ชีวิต เปลี่ยนไปเป็น Work From Home (WFH) หรือ Learn From Home (LFH) กันมากขึ้น การบอกเล่าผ่านการเขียน (Writing) จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากขึ้น และน่าจะมีแนวโน้มสื่อสารผ่านการเขียนเพิ่มขึ้น การเขียนที่มีรูปแบบ (Format) ย่อมสื่อสารเนื้อหา (Content) ให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการเขียนที่ไม่มีรูปแบบ (No format) และนำไปแปลงร่างเป็นรูปแบบอื่นได้ยากกว่า (Transform)

รูปแบบ Markdown สามารถแปลงไปเป็นเว็บเพจให้เข้าใจได้ง่าย (Webpage .html) ผ่าน Parsedown.php หรือแปลงไปเป็น PDF หรือ Powerpoint สำหรับการใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรมช่วยแปลง (Converter) คือ โปรแกรม Marp หรือ Pandoc ที่ทำให้การแปลงร่างจากเนื้อหาภาษา Markdown ไปเป็น PPTX เพื่อใช้สื่อนำเสนอในห้องเรียนทำได้อย่างรวดเร็ว โดยโฮมเพจหน้านี้ ผมได้รวบรวมหัวข้อที่น่าสนใจ และนำเสนอผ่าน Webpage แล้วเป้าหมายต่อไปคือการแปลงร่างเป็น Powerpoint ซึ่งจะพบร่องรอยผลงานมาให้ดาวน์โหลดส่วนหนึ่ง