#เล่าสู่กันฟัง 63-063 ดูทีวีไป ก็ Work From Home ทำ VDO on Demand กัน

Camtasia ช่วงนี้มีสอนออนไลน์ มีเรียนจากบ้าน (Learn From Home) มีทำงานจากบ้าน (Work From Home) นอกจาก Meeting, Live, และ e-Learning แล้ว คำว่า VDO on Demand ก็ถูกพูดถึงกันมาก คือ การที่คุณครูนั่งสอนผ่าน Powerpoint แล้วบันทึกวีดีโอ ขนาดของจอภาพก็สำคัญ

1) ต้องกำหนดใน Powerpoint เป็น 16:9 จะได้เห็นเต็มจอทีวีได้

2) กำหนดใน camtasia ส่งออกเป็น 1280 * 720 ซึ่งขนาดใหญ่สุดแบบ 16:9 พร้อมส่งเข้า Youtube.com

3) Display dimension ของ windows ถ้ากำหนดเป็น 1280 * 720 ซึ่งต่ำมากกับจอสมัยนี้

ก็จะทำให้ตอนสั่ง Slide Full Screen ไม่ต้องมีขอบดำด้านบน หรือด้านข้าง แล้วตัดต่อใน Camtasia ก็ไม่ต้องกังวล ให้ใส่ใจกับ marker และการทำ zoom in zoom out ดีกว่า

ผู้สูงอายุนอกเมืองหลวง ไม่ดูทีวีดิจิตอล

ช่องรายการดิจิตอลทีวีทั้ง 36 ช่อง
ช่องรายการดิจิตอลทีวีทั้ง 36 ช่อง

7 ธ.ค.57 มีกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลอยู่ 2 กล่อง ตั้งใจจะติดกับทีวีเครื่องเก่าให้ผู้สูงอายุที่บ้าน
เมื่อติดตั้งไปแล้ว ถึงทราบว่าผู้สูงอายุไม่ต้องการใช้บริการ เพราะทุกวันนี้ก็รับชมทีวีอนาล็อกได้อยู่แล้ว
แล้วผมก็ดูได้ 22 ช่อง เพราะบ้านห่างเสาส่ง 14 กิโลเมตร สามารถรับชมโดยไม่ต้องเดินสายเสาอากาศใหม่
ส่วนบ้านอีกหลังห่างเสาส่งไป 26 กิโลเมตร เดินเสาอากาศไปลานกว้างนอกบ้าน รับได้ 6 ช่อง
แล้ว 6 ช่อง ก็ไม่มีช่องที่ผู้สูงอายุต้องการ ซึ่งเป็นช่องเดียวที่จะดูบนทีวี 14 นิ้ว
เหตุผลสำคัญที่ผู้สูงอายุให้มาว่าไม่ดูทีวีดิจิตอล
1. ทุกวันนี้ดูช่องเดียว และไม่เคยเปลี่ยนช่อง
จะมีให้ดู 20 กว่าช่อง ก็คงจะไม่ดู
2. ไม่ชอบกด remote ตัวเล็ก กดไม่เป็น ที่ผ่านมาก็ไม่เคยกด
จะให้กดเลือกช่องที่มีถึง 20 ช่องก็คงไม่กด
3. ถ้าต้องเดินสายอากาศ เจาะนู่น เจาะนี่
เพื่อให้ได้ 20 ช่อง ก็อย่าเลย ไม่อยากเจาะบ้าน
คนรุ่นใหม่คงมีเหตุผลที่จะดูทีวี 20 กว่าช่อง ดังนี้
1. มีเวลาว่างนั่งดูทีวีมากกว่าทำอย่างอื่น
2. ชอบดูรายการใหม่ ๆ อยู่เสมอ
3. มีรายการที่รอติดตามเป็นประจำจากทีวี
ตอนนี้ .. รอให้เพื่อนบ้านมากดดันผู้สูงอายุ ผ่านการเล่าขาน
ว่าดูช่องนู้น ช่องนี้ น่าดู ดูสนุก
แล้วผู้สูงอายุมีความต้องการขึ้นมา ค่อยไปติดตั้งก็ได้
.. เพราะตอนนี้ยังไม่เห็นความจำเป็น จึงไม่ยินดีจะให้ติดตั้ง
ปล. ส่วนผมดู PSI ครับ ไม่ได้ใช้กล่อง Set Top Box

ดิจิทอลทีวีคืออะไร (itinlife409)

digital tv
digital tv

ความเป็นมาของทีวี (Television) หรือโทรทัศน์ในประเทศไทย เริ่มต้นราวปีพ.ศ.2498 เป็นระบบทีวีขาวดำ และเปลี่ยนเป็นระบบทีวีสีในปีพ.ศ.2510 โดยใช้การแพร่ภาพด้วยระบบอนาล็อก (Analog) ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนช่อง และคุณภาพขอสัญญาณ แต่ระบบดิจิทอลคือการส่งสัญญาณที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุที่ทำให้ได้จำนวน 8 -25 ช่องสถานีต่างกับระบบอนาล็อกที่ได้เพียงช่องเดียว ข้อดีของระบบดิจิทอลคือประหยัดพลังงาน ได้ภาพที่คมชัดกว่า และสัญญาณภาพมีอัตราส่วนแบบ Wide screen คือ 16:9 ซึ่งเหมาะกับเครื่องรับโทรทัศน์แบบ LED, LCD และ Plasma TV

เหตุผลหนึ่งที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนเป็นทีวีระบบดิจิทอล คือ ดำเนินการตามมติประชาคมอาเซียนที่จะเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นระบบดิจิทอลใช้มาตรฐานคือ DVB-T2 และให้ยุติระบบอนาล็อกในช่วงปีพ.ศ.2558 – 2563 สำหรับประเทศไทยกำหนดให้ออกใบอนุญาตดิจิทอลทีวีช่วงแรกระหว่างกุมภาพันธ์ 2555 – สิงหาคม 2556 โดยมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นหน่วยงานทำหน้าที่กำหนดกรอบ วางหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ซึ่งในอนาคตสามารถรับชมทีวีสาธารณะได้มากกว่า 100 ช่อง แต่ช่วงสิงหาคม 2556 ไทยจะออกใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจจำนวน 24 ช่อง ซึ่งเพิ่มจากระบบอนาล็อกเดิมที่มีทีวีสาธารณะเพียง 6 ช่อง คือ 3, 5, 7, 9, NBT และ Thai PBS

การรับสัญญาณดิจิทอลเข้าทีวีมี 3 แบบ คือ แบบแรก คือ ทีวีรุ่นเก่าที่ใช้เสารับสัญญาณแบบ Antenna หรือเสาหนวดกุ้ง จะต้องซื้ออุปกรณ์ที่เรียกว่า จูนเนอร์ หรือ กล่องรับสัญญาณดิจิตอล (Set top box) เพื่อทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทอลมาแปลงเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งเข้าทีวีรุ่นเก่า แบบที่สอง คือ ทีวีผ่านจานดาวเทียมทั้งแบบรายเดือนหรือไม่เป็นรายเดือนจะรับชมดิจิทอลทีวีได้ทันที และช่องเดิมจะถูกประกาศให้เป็นทีวีสาธารณะ แล้วจะเพิ่มช่องใหม่เข้าไปอัตโนมัติ แบบที่สาม คือ ซื้อทีวีที่เป็นทีวีดิจิทอลที่สามารถรับสัญญาณดิจิทอลได้โดยตรง ในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้คาดว่าจะส่งสัญญาณควบคู่กันไปทั้งสัญญาณอนาล็อกและสัญญาณดิจิทอลไม่เกินปีพ.ศ.2563 แล้วมีข่าวว่าช่อง 9 และ NBT จะทดลองออกอากาศในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ และเชียงใหม่

http://www.thairath.co.th/content/tech/359957

สัมมนา ทางรอดทีวีดาวเทียม อยู่หรือไป

ทีวีดาวเทียม
ทีวีดาวเทียม

เรื่องทีวีดาวเทียม น่าสนใจ เพราะหลายครั้งไปเดินร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะเห็นการประชาสัมพันธ์ และโปรโมชั่น ดี ๆ และ ถูก ๆ คิดแล้วอยากจะติดทุกจานเลย
สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม จัดสัมมนา “ทางรอดทีวีดาวเทียม” เปิดวิสัยทัศน์ให้สมาชิกได้ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจที่จะดำเนินกิจการในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่ง กสทช.จะออกใบอนุญาต 14 ปี และกำลังจะประมูลโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดิน วันที่ 26 มิถุนายน 2556 ตลอดวัน ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมฯ กล่าวว่า “วันที่ 26 มิถุนายน นี้เป็นวันครบรอบก่อตั้งสมาคม 4 ปี และเป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสมาคมฯ ต้องเปิดวิสัยทัศน์เพื่อตัดสินใจในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะตัดสินใจกำหนดแผนที่ให้ช่องรายการของตนเองเดินไปทางไหน จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน จะพัฒนาเป็นทีวีดิจิตอลผ่านดาวเทียม หรือเป็นเพียงผู้ผลิตรายการป้อนสถานีโทรทัศน์

ช่วงเช้าเป็นการสัมมนาเพื่อกำหนดนโยบายองค์กรเริ่มจาก กสทช. ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ บรรยายทิศทางของ “ตัวแปรในการออกใบอนุญาต 14 ปี” ต่อด้วยแนวคิดของนักวิชาชีพอาวุโสจากช่องรายการโทรทัศน์ โครงข่าย และดาวเทียม เปรียบเทียบความแตกต่างช่องรายการระหว่างฟรีทีวีดิจิตอลผ่านดาวเทียมและผ่านเสาภาคพื้นดิน

ช่วงบ่ายเป็นการเสวนาเพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน เริ่มทิศทางการหารายได้จากโฆษณาทั่วไป โฆษณาขายตรง การเช่าเวลา และการผลิตโฆษณาให้ถูกกฎหมาย ต่อด้วยความคาดหวังที่จะให้โทรทัศน์ดาวเทียมกำกับและดูแลกันเองโดย กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ และปิดท้ายการสัมมนาด้วยโอกาสในการรับทุนวิจัยและพัฒนาโทรทัศน์ โดย รศ.พนา ทองมีอาคม

นภาศักดิ์ โคตรวิบูลย์ ประธานจัดงานเสวนา กล่าวว่าการสัมมนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสมาชิกและผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ท่านที่ต้องการเข้าร่วมกรุณาติดต่อล่วงหน้าเพื่อที่สมาคมจะได้จัดที่นั่งให้พอเพียง ทางโทรศัพท์ 089 785 0265, โทรสาร 02-277-6265 หรือ อีเมล : stathailand@gmail.com

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000076252

Nielsen เผย จำนวนของคนที่เป็นเจ้าของทีวีจะลดลงในปี 2012

online tv
online tv

Nielsen .. บริษัทเก็บสถิติชื่อดังแดนมะกันคาดคะเนว่า ตัวเลขของผู้ที่จะซื้อทีวีไว้ที่บ้านจะลดลงในปี 2012 เป็น 114.7 ล้านครัวเรือน จาก 115.9 ล้านครัวเรือน ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่านี่จะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงจุดจบของยุค TV หรือเปล่า โดยสถิติดังกล่าวทาง Nielsen ได้เก็บตัวเลขจากครอบครัวที่ใช้เพื่อดูรายการทั่วไปเท่านั้น ไม่รวมการใช้งานกับ Blu-ray DVD หรือการดูทีวีผ่านอินเตอร์เน็ต ใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากทุกวันนี้ผู้คนส่วนมากในประเทศสหรัฐฯ นิยมที่จะเช่าหรือดูรายการผ่านทางโลกออนไลน์กันเนื่องจากความเร็วของอินเตอร์เน็ตบ้านเค้าสูงมากทำให้การรับชมผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องง่าย ๆ คล้ายกับการเปลี่ยนช่องปกติเลยทีเดียว แถมมีตัวเลือกที่มากมายกว่ารายการปกติอีกด้วย

สมัยนี้เห็นเพื่อน ๆ พก iphone กับ ipad กันหนาตา .. สะดวก สบาย ..  นั่งดูคลิ๊ป ดูทีวีได้ทุกชาติ ทุกภาษา ดูหนังก็ยังได้ ..  มีนักศึกษามาเล่าว่า สมัยนี้ดูหนังชนโรงเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ที่เด็ดคือดูหนังก่อนโรง .. ฟังแล้วก็อึ้งไปเหมือนกัน

http://www.lcdtvthailand.com/news/detail.asp?param_id=830

บางคนว่าเกรดนั้นไม่สำคัญ แต่นายจ้างบางคนบอกว่าใช้เลือกคน

http://www.youtube.com/watch?v=sbDX-dcEqkg

มีผู้คนมากมายบอกว่าเกรดจากการเรียนหนังสือนั้นไม่สำคัญ
สิ่งสำคัญคือความรู้ที่ได้รับระหว่างเป็นนักศึกษา และการปรับตัวในสังคมหลังสำเร็จการศึกษา
แต่เกรดเป็นส่วนประกอบที่ทำให้ผู้ประกอบการบางคน ให้โอกาสในการทำงาน
โดยใช้พิจารณาเลือกรับเข้าทำงาน
เพราะถ้าบอกว่าได้ 3 กว่า ย่อมได้รับโอกาสให้เข้าไปทำงาน มากกว่าคนที่ได้ 2 นิด ๆ
ดังนั้นหากรู้ตัวสักนิดว่าตอนนี้เรียนแล้วได้เกรดอย่างไรบ้าง .. ก็น่าจะช่วยได้บ้าง

Perl source code
$fm = join “”, “https://chart.googleapis.com/chart?chs=700×400&chd=t:”
,  $gda , “,” ,  $gdbp , “,” ,  $gdb , “,” ,  $gdcp , “,” ,  $gdc , “,”
,  $gddp , “,” ,  $gdd , “,” ,  $gdf
, “&chco=00FF00|00AA00|004400|0000FF|8888FF|FFFF00|FF4444|FF0000&cht=p&chl=A ”
,  $gda , “|B%2B ” ,  $gdbp , “|B ” ,  $gdb , “|C%2B ” ,  $gdcp , “|C ” ,  $gdc , “|D%2B ” ,  $gddp , “|D ” ,  $gdd , “|F ” ,  $gdf , “&chdl=A ” ,  $gda , ” : ”
, substr($gda/$tgd*100,0,4) ,  “% |B%2B ” ,  $gdbp , ” : “, substr($gdbp/$tgd*100,0,4)
, “% |B ” ,  $gdb, ” : “, substr($gdb/$tgd*100,0,4)  , ‘% |C%2B ‘ ,  $gdcp , ” : ”
, substr($gdcp/$tgd*100,0,4)  , ‘% |C ‘ ,  $gdc , ” : “, substr($gdc/$tgd*100,0,4)
, ‘% |D%2B ‘ ,  $gddp , ” : “, substr($gddp/$tgd*100,0,4)  , ‘% |D ‘ ,  $gdd , ” : ”
, substr($gdd/$tgd*100,0,4)  , ‘% |F ‘ ,  $gdf , ” : “, substr($gdf/$tgd*100,0,4)
, ‘%’;
print “<iframe width=’760′ height=’450′ src='”,  $fm , “‘></iframe>”;

output in URL
https://chart.googleapis.com/chart?chs=700×400&chd=t:4,1,2,6,1,2,0,0
&chco=00FF00|00AA00|004400|0000FF|8888FF|FFFF00|FF4444|FF0000&cht=p
&chl=A%204|B%2B%201|B%202|C%2B%206|C%201|D%2B%202|D%200|F%200
&chdl=A%204%20:%2025%%20|B%2B%201%20:%206.25%%20|B%202%20:%2012.5%%20
|C%2B%206%20:%2037.5%%20|C%201%20:%206.25%%20|D%2B%202%20:%2012.5%%20
|D%200%20:%200%%20|F%200%20:%200%

grade classification
grade classification

รวมคลิ๊ปโครงการกรุงเทพฯ สีขาว
http://www.mcot.net/site/streaming?id=50ce975e150ba01f1e000382&type=video#.UNHLna55dwj

แนวโน้มการรับชมทีวีสดลดลง (itinlife371)

online tv
online tv

1 ธ.ค.55 ทีวีสด หรือทีวีแบบดั้งเดิม (Traditional TV) หมายถึง การรับชมทีวี (Receive) จากสัญญาณที่มีการถ่ายทอดในขณะนั้น แต่ถ้าเป็นทีวีออนไลน์ (Online TV) หรืออินเทอร์เน็ตทีวี (Internet TV) มักเป็นการเข้าชม (Access) รายการที่ถูกบันทึกไว้ เรียกดูย้อนหลัง หรือรับชมซ้ำได้ หรืออาจเป็นรายการสดก็ได้ จากผลสำรวจในอเมริกาแม้ยอดผู้ชมทีวีผ่านเคเบิ้ลทีวีจะลดลง แต่ยอดจำหน่ายทีวีแบบ HD (High Definition) ที่ให้ความละเอียดในการแสดงผลสูงกลับมียอดจำหน่ายสูงอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างการชมอินเทอร์เน็ตทีวี เช่น ผู้ชมที่ติดละครเรื่องแรงเงาที่ออกฉายในปี 2544 นำแสดงโดยคุณแอน ทองประสม หรือปี 2555 ที่นำแสดงโดยคุณเจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ สามารถชมย้อนหลังได้ทุกตอน ไม่ต้องรอชมทีวีสดเหมือนในอดีตที่เป็นเพียงทางเลือกเดียว

ในรายงานเรื่อง How People Watch-A Global Nielsen Consumer Report ของเนลสัน บริษัทวิจัยตลาดรายใหญ่ สำรวจจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 27,000 คน จาก 55 ประเทศ พบว่าคนไทยดูทีวีสดน้อยที่สุด ส่วนชาวอเมริกันดูทีวีสดมากที่สุด แต่คนจีนดูวีดีทัศน์ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนมากที่สุดในโลก เมื่อผมสอบถามนักศึกษาในห้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารก็พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะมีน้อยมากที่ดูทีวีสดอย่างหน้าพร้อมตากันในครอบครัว และส่วนใหญ่จะรับชมคลิ๊ปวีดีโอที่หาดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ตเป็นการส่วนตัว หรือหมกตัวอยู่กับเครือข่ายสังคม หรือเล่นเกมออนไลน์

ในอดีตคนไทยรับชมช่องทีวีได้เพียงไม่กี่ช่อง แต่ปัจจุบันสามารถติดตั้งจานดาวเทียม หรือเคเบิ้ลทีวี แล้วรับชมได้นับร้อยช่อง สถิติการรับชมทีวีสดมักมีปัจจัยมาจากการศึกษา อาชีพ ฐานะ ครอบครัว ความชอบ และสภาพแวดล้อม ส่วนปัจจัยที่ทำให้การรับชมทีวีสดลดลงได้แก่ รับชมรายการทีวีย้อนหลังจากอินเทอร์เน็ต หรือ TV on demand โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีให้เลือกชมแบบไม่จำกัดจากหลายเว็บไซต์ อาทิ การรับชมคลิ๊ปกังนัมสไตล์ที่มียอดการรับชมสูงที่สุดในโลก เวลานี้มียอดไปแล้วมากกว่า 800 ล้านวิว โค่นแชมป์เพลงเบบี้ของจันติน บีเบอร์ ไปแล้ว หรือการชมหนังซูมตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็สามารถสืบค้นได้ไม่ยากนัก หรือการชมหนังแผ่นแบบ 8 เรื่อง 100 บาท ตามร้านสะดวกซื้อก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เวลาที่จะรับชมทีวีสดลดลงเช่นกัน

http://variety.thaiza.com/detail_189254.html

http://www.thairath.co.th/content/oversea/259158

เครือเนชั่นทุ่ม 500 ล้าน เปิดช่องใหม่

เครือเนชั่นกรุ๊ป (NMG) เปิดแผน 5 ปี ทุ่ม 500 ล้านบาท ลงทุนโทรทัศน์ดาวเทียม พร้อมผลิตเนื้อหาสำหรับสื่อทุกรูปแบบ ‘ฟรีทีวี – โทรทัศน์ดาวเทียม – ทีวีอินเทอร์เน็ต’

นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG กล่าวว่า ทิศทางการทำธุรกิจในระยะ 3-5 ปี ของเครือเนชั่น สื่อสิ่งพิมพ์ จะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ขณะเดียวกัน บริษัทมีความพร้อมที่จะรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ผู้ที่ได้เปรียบคือผู้ที่มีเนื้อหา ดังนั้น เครือเนชั่น พร้อมจะผลิตเนื้อหาสำหรับสื่อโทรทัศน์ ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ฟรีทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม ทีวีอินเทอร์เน็ต

โดยในปี 2555 เนชั่นกรุ๊ป พร้อมเปิดสถานีโทรทัศน์ อย่างน้อย 2 สถานี ภายใต้การดูแลของ 2 บริษัทลูก คือ กรุงเทพธุรกิจ และบริษัท เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบัน เครือเนชั่น มีสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 3 สถานี คือ Nation Channel, MangoTV และช่องระวังภัย และในปี 2554 บริษัทเนชั่น บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NBC ยังได้รับความไว้วางใจจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้เข้าบริหารช่อง Rama Channel เพื่อออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ช่อง 80 และยังร่วมผลิตรายการในช่อง ASEAN TV กับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่งออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 99

นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ กล่าวด้วยว่า การรุกสู่ธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียมครั้งนี้ เครือเนชั่น ประมาณการเงินลงทุนระยะ 5 ปี ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท การลงทุนครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับธุรกิจบรอดแคสติ้ง ของ NMG และ NBC ให้ก้าวไปสู่การออกอากาศ แบบดิจิทัลทีวี ด้วยคุณภาพของภาพและเสียงในระดับ High Definition ทุกช่องทางการออกอากาศ