ตรวจสอบเครื่องบริการ SMTP

postfix for SMTP service
postfix for SMTP service

26 ก.ย.56 เล่าสู่กันฟัง
หนึ่งในกิจกรรมของการทำงานกับเครื่องบริการ คือ Monitor
1. เข้าตรวจสอบ ติดตามเครื่องบริการเกี่ยวกับ SMTP
ว่าบริการถูกเรียกใช้ตามปกติหรือไม่
#netstat -na |grep 25 ก็พบว่า port นี้เปิดบริการอยู่
#netstat -na |grep LISTEN ก็พบว่าเปิดบริการอยู่
#cat /etc/redhat-release ดูรุ่นที่ใช้อยู่ พบว่าเก่าอยู่สักหน่อย ปัจจุบันสิบกว่าแล้ว
Fedora Core release 4 (Stentz)
#ps -aux|grep postfix พบว่า postfix เปิดบริการ smtp อยู่
#/etc/init.d/postfix status พบว่า running
#/etc/init.d/postfix stop เมื่อต้องการปิดบริการ

2. เหตุที่สนใจเรื่องนี้
เพราะเป็นการเฝ้าตรวจการทำงานของเครื่องบริการตามปกติ
#ls /var/log/maillog* -al ดูปริมาณของแต่ละแฟ้ม
#tail /var/log/maillog –lines=300 ดูรายการ 300 บรรทัดล่างสุด
#cat /etc/postfix/main.cf |grep relayhost กำหนดไว้แล้ว
สรุปว่ามีการกำหนด relay ใน main.cf ซึ่งสัมพันธ์กับ maillog ที่บันทึกไว้

มองเลยไปหน่อย กับ เขื่อนแม่วงก์

social media กับ เขื่อนแม่วงก์
social media กับ เขื่อนแม่วงก์

ก่อนอ่านเรื่องต่อไปนี้ ตามหลักของ การจัดการความรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะ เหรียญมีมากกว่า 2 ด้านเสมอ
ที่สำคัญ .. ผมสนับสนุนการไม่สร้างเชื่อนแม่วงก์ เหมือนกัน
เพียงแต่มองเลยมุมที่เห็นมอง ๆ กันอยู่ไปอีกหน่อย เท่านั้นเอง
และ ไม่ใช่ทุกเขื่อนที่เหมาะสมกับการถูกปล่อยน้ำจนหมดเขื่อน

การมีเขื่อน หรือสร้างเขื่อนใหม่ อาทิ เขื่อนแม่วงก์
ทำให้กระทบสิ่งแวดล้อมมากมาย [มหาศาล]
มีกลุ่มคนในประเทศไทยไม่เห็นชอบต่อการสร้างเขื่อน
ลอง [ลองเฉย ๆ ครับ] ชวนคิดย้อนกลับปล่อยน้ำให้หมด
แล้วใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหนือเขื่อนจะเกิดอะไรขึ้น
โดยพิจารณาข้อมูลจากคลิ๊ปที่อธิบายผลเสียของเขื่อน

ปล่อยน้ำหมดเขื่อนแล้วได้อะไร (มองตามคลิ๊ป)
1. ได้พื้นที่ดินบนพื้นโลก สำหรับปลูกต้นไม้ เพาะปลูก เป็นที่อยู่อาศัย
และแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิด เพื่อขึ้นอีกมากมาย
2. ได้พื้นที่ป่าราบต่ำเพิ่มขึ้น ที่เป็นแหล่งหากิน และอาศัยของสัตว์ในอนาคต
หากพัฒนาให้ดีก็จะมีสัตว์ป่ามาพักอาศัยจำนวนมาก เพราะผืนดินอุดมสมบูรณ์
3. ได้แหล่งปลูกต้นไม้ใหญ่จะมีที่เติบโต ด้วยโครงการพัฒนาป่าที่มีดินอุดมสมบูรณ์
ในช่วงเวลา 100 – 200 ปีอย่างแน่นอน

อีกมุมที่ตอบผู้คัดค้านการปล่อยน้ำหมดเขื่อน (มองตามคลิ๊ป)
1. จากสถิติน้ำท่วมทุกภาค ไม่มีเขื่อนใดหยุดน้ำท่วมได้
สถิติน้ำท่วม 2554 พบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อน ต่อปริมาณน้ำท่วม
ไม่เป็นเหตุผลที่จะต้องเก็บน้ำในเขื่อนอยู่อีกต่อไป
2. เหตุน้ำท่วมในทุกพื้นที่ มีน้ำจากทุกทิศทุกทาง ที่ไหลมารวมกัน
ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อน จึงไม่ใช่เหตุผลของการมีเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม
3. จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA
กรรมการหลายชุด บอกว่า การสร้างเขื่อนกระทบสิ่งแวดล้อม
นั่งคือ ถ้าไม่มีเขื่อนก็จะดีต่อสิ่งแวดล้อม มีป่า ก็จะมีชีวิตตามมา
ดังนั้น การปล่อยน้ำเหนือเขื่อน จะคืนชีวิตสู่พื้นที่ เกิดต้นไม้และสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น
ในอนาคตไปชั่วลูกชั่วหลานอย่างไม่ต้องสงสัย

เหตุผลหลัก ที่เขาว่าควรมีน้ำในเขื่อน
1. เขื่อนช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
ซึ่งไม่จริง เพราะเชื่อนทุกเขื่อนคือแหล่งต้นน้ำ
แม้ไม่มีเชื่อนก็ยังมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ให้ชีวิตแต่ชุมชนและเกษตรกร
2. เขื่อนไม่ได้แก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง
และที่ราบในภาคกลาง เพราะเขื่อนเก็บน้ำได้น้อยมาก
เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดที่ท่วมในแต่ละพื้นที่

ทำไม ควรปล่อยน้ำจนหมดเขื่อนจึงสำคัญ
1. ได้พื้นที่ดินเพิ่ม มีต้นไม้ สัตว์ป่ามีที่ยืนในที่ ๆ อุดมสมบูรณ์
ในเวลา 20 – 30 ปีก็จะเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ได้
ป่าสักที่ไม่เคยมี ก็จะเติบโตขึ้นใหม่ริมห้วย หนอง คลอง บึงหลังเขื่อน
2. พื้นที่หลังเขื่อนเป็นพื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์
เมื่อได้กลับคืนมา ก็จะทำให้ป่าในบริเวณนั้น
เป็นผืนเดียวกัน และมีความเป็นป่าที่สมบูรณ์กว้างใหญ่
3. สัตว์ที่ไม่เคยพบเห็นก็อาจได้พบเห็นในพื้นที่ใหม่
มีสัตว์นานาสายพันธ์เข้าไปอาศัย ก็อาจกลายพันธ์ใหม่
ตามสภาพพื้นที่ที่เกิดใหม่ แล้วเกิดสัตว์ประจำถิ่นใหม่ขึ้น
4. มีแหล่งน้ำ หรือผืนป่าต้นน้ำขนาดใหญ่กลับมา
ในเวลาเพียงไม่กี่สิบปี ซึ่งคุ้มค่าแก่การรอคอย

เราจะช่วยกันสนับสนุนการปล่อยน้ำจนหมดเขื่อน
ด้วยการ อ่าน ฟัง พูด และแชร์

หนังสือ “สร้างเขื่อนแม่วงก์เถอะนะฯ” 2564
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement4432.htm

พบเสือโคร่ง 16 ตัว
https://www.thairath.co.th/news/local/north/1061029

แผนพัฒนาแหล่งน้ำ แทนการสร้างเขื่อน
https://news.thaipbs.or.th/content/277738

สร้างโฮมเพจของนักเรียนมัธยมต้นด้วย artisteer.net

9 kings = 9 รัชกาล
9 kings = 9 รัชกาล

http://www.thainame.net/home/king/

สมัยมีบริการอินเทอร์เน็ต คนรุ่นใหม่สมัยนั้น
ก็จะใช้ geocities.com เป็นแหล่งเผยแพร่
แต่จำได้ว่าต่อมาผมใช้ hypermart.net แล้วก็เป็นสาวก
ของเขาจนทุกวันนี้ ส่วน geocities.com ก็ปิดบริการไป
เหมือนแหล่งบริการอื่น ๆ นับร้อย ที่หายไปเกือบทั้งหมด
มีรายหนึ่งคือ thai.net ที่เคยแนะนำใคร ๆ ว่าสุดยอด
แต่ท้ายที่สุดก็ปิดบริการไปอย่างน่าเสียดาย

ปัจจุบันครูโรงเรียนประถม และมัธยมหลายแห่งสอนเขียนเว็บเพจ
ถ้าเป็นมัธยมต้นก็จะใช้เครื่องมือเขียนเว็บ
ถ้าเป็นมัธยมปลายก็จะสอนเขียน HTML หรือ PHP หรือ C หรือ JAVA

วันนี้เป็นเรื่องของเด็ก ม.ต้น คนหนึ่ง
ที่จัดทำ “โฮมเพจ 9 รัชกาล
เป็นนักเรียน ม.3 เทอม 1 ที่จัดทำด้วยโปรแกรม Artisteer.net
แล้ว export เป็น html ได้แฟ้มหลาย ๆ แฟ้มที่เปิดผ่าน ie ได้เลย

แล้วผมก็ใช้งานระบบ free hosting ของ thainame.net
โดย upload แฟ้มทั้งหมดเข้าห้องที่สร้างขึ้นผ่าน file manager
พบผลการอัพโหลดที่
http://www.thainame.net/home/king/

http://artisteer.net/

SQL server and MS Access

sql server and microsoft access
sql server and microsoft access

เล่าสู่กันฟัง
นำข้อมูลจาก SQL server มาทำรายงานใน MS Access
เป็นกรณีที่เพื่อนบอกว่ามีข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบฐานข้อมูล SQL Server

แล้วการทำรายงานก็ต้องเขียนโปรแกรมภาษา PHP ส่งเป็น html หรือ pdf
แต่บางครั้งผู้ใช้ระดับสูงที่สนใจศึกษา MS Access
ก็ต้องการที่จะสร้างรายงานด้วยตนเอง อย่างง่าย แบบเร่งด่วน
การเชื่อมระหว่าง MS Access กับ SQL server ผ่าน ODBC
จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีความเชื่อกันว่า การทำรายงานด้วย
MS Access สามารถสร้างได้ง่ายโดยผู้ใช้ระดับสูง
นอกจากทำ query, form, report, macro และ module แล้ว
ยัง export ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว ไปเป็น txt และ xls ได้อีกด้วย
โดยทดสอบบน win xp และ office 2010 พบว่าเรียบร้อยดี

ยังไม่ได้เช็คชื่อ ไปขี้มา

child
child

+ http://www.gotoknow.org/posts/328479
+ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=560780

4 กันยายน 2556 เป็นวันที่ได้รับข้อมูลเรื่องจัดอันดับด้านการศึกษา ก็นึกถึงพฤติกรรม “เล่นเกมใน smart phone ขณะครูสอน” หรือ “พูดโทรศัพท์กับแฟนขณะเรียน” หรือคำพูดของเด็กที่คิดเป็นว่า “ยังไม่ได้เช็คชื่อ ไปขี้มา” ที่อาจเป็นเหตุการณ์ ช่วงปิดชั้นเรียนวิชาหนึ่ง แล้วมีนักเรียนเดินเข้ามาบอกคุณครูว่าขอเช็คชื่อ เพราะยังไม่ได้เช็คชื่อเลย เหตุการณ์แบบนี้แสดงถึงเสรีภาพในการใช้ภาษาอย่างสุดโต่งของนักเรียน เป็นเสรีภาพที่ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าเด็กสมัยกล้าคิด กล้าทำ อย่างที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในสังคมไทยยุคการศึกษารั้งบ้วย

นึกย้อนไปในอดีตว่าสมัยก่อน ที่โรงเรียนเอกชนประจำจังหวัด ใครสอบตกก็จะถูกเรียกไปบนเวที แล้วโบยด้วยไม้ท่อนใหญ่ ๆ เพื่อให้สัญญาณนี่คือโทษของความไม่ตั้งใจเรียน และโปรดจำไว้ด้วยว่าความไม่ตั้งใจเรียนจะมีผลเป็นอย่างไร ผมว่าหลาย ๆ คนได้ดิบได้ดีมาทุกวันนี้ก็ เพราะเกรงว่าไม่ตั้งใจเรียนจะถูกจับโบยอีก แต่นั้นก็หลายสิบปีแล้ว จะเดินสวนคุณครูก็ต้องให้เกียรติ และยกมือไหว้อย่างไทยเป็นความเคยชินเลยหละ ไม่ทำก็จะเป็นแกะดำของโรงเรียน

วันนี้ จากข่าวช่อง 3 โดยนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้อ้างอิงว่านายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการประชุมของ World Economic Forum (WEF) – The Global Competitiveness Report 2012-2013 ซึ่งเป็นการประชุม “เวทีเศรษฐกิจโลก” ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้มีการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งปรากฏว่า ประเทศไทย อยู่ในอันดับรั้งท้าย ซึ่งไม่รวมประเทศลาวกับประเทศพม่า

ranking
ranking

http://www3.weforum.org/docs/WEF_GlobalCompetitivenessReport_2012-13.pdf

มีผลการจัดอันดับ ดังนี้
อันดับ 1 ประเทศสิงคโปร์
อันดับ 2 ประเทศมาเลเซีย
อันดับ 3 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
อันดับ 4 ประเทศฟิลิปปินส์
อันดับ 5 ประเทศอินโดนีเซีย
อันดับ 6 ประเทศกัมพูชา
อันดับ 7 ประเทศเวียดนาม
อันดับ 8 ประเทศไทย

แต่ผู้นำด้านการศึกษา ให้ข้อสังเกตว่าเราน่าจะอยู่ราวอันดับ 5 เพราะระดับโลกเราก็อยู่ระดับกลาง ไม่น่ารั้งท้าย คงต้องดูวิธีการจัดว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09ESTNNRGd4TVE9PQ==

แล้ว นายภาวิช กล่าวทิ้งท้ายว่า ข้อมูลนี้ถือว่าน่าตกใจ เพราะอันดับของเราต่ำมาก แต่เมื่อเทียบในอันดับโลกเรายังอยู่ในระดับกลาง ๆ ดังนั้นจึงต้องไปวิเคราะห์ให้ชัดเจนอีกทีว่า เกิดจากสาเหตุใด แต่คงต้องมีการปรับการศึกษาไทยขนานใหญ่ทั้งระบบ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่สำคัญ คือ ต้องดูการจัดการศึกษาไทยในภาพรวมว่า ได้มาตรฐานโลกหรือไม่ และถ้าดูจากผลการวิเคราะห์คะแนน PISA ที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า เด็กไทยคิดไม่เป็น หากเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ การปฏิรูปวิธีการเรียนการสอน และปฏิรูปครู ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา

http://www.nationchannel.com/main/news/social/20130904/378383282/

http://www.youtube.com/watch?v=Ql0AO5UbA6o

http://www.komchadluek.net/detail/20130903/167328/%E0%B8%AD%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87!%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.html

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33978&Key=hotnews

ตัวเลขไม่ออก เลข 1 แสดงเป็น NK

chrome and number
chrome and number

พบปัญหาเมื่อเขียนเว็บเพจหน้าหนึ่ง
ที่มี code เป็นร้อยบรรทัด
แสดงผลใน chrome browser แล้วเลขไม่ออกดังคาด
ความเป็นไปได้ของปัญหา .. มีสารพัด
แต่แสดงผลใน firefox กับ ie ไม่มีปัญหา
ประเภทแฟ้ม .php กับ .html ก็ให้ผลเหมือนกันคือมีปัญหา
เมื่อคัดลอก source code ไปไว้ใน localhost ไม่พบปัญหา
ทดสอบแก้ปัญหา
โดย upgrade version ของ chrome
สรุปว่า ปัญหาหายไป เห็นตัวเลขได้ปกติ
แสดงว่า version ของ browser ที่ใช้อยู่มีปัญหา
แล้วได้ผลดังภาพประกอบ
วิธีแก้ไข คือ เปลี่ยน version ของ browser เป็นรุ่นล่าสุด

ใช้อาร์เรย์เก็บข้อมูล เพื่อตอบตาม index

function to create array
function to create array

อ่านแฟ้มแบบตัวอักษรมาเก็บในอาร์เรย์ เพื่อใช้ตอบการร้องขอข้อมูลตาม index

กรณีแรก ..
ในทางทฤษฎีเราใช้ระบบฐานข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูล และใช้คำสั่ง SQL ที่เรียกว่า query ด้วยคำสั่ง select ถามหาข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพทำงานได้อย่างรวดเร็ว สมเป็นมืออาชีพ แต่ในทางปฏิบัติอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
เช่น กองฉลากเคยเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล ชาวไทยต้องการตรวจผลรางวัลก็กรอกข้อมูลแล้วระบบก็ส่ง query เข้าไปสอบถามจากเครื่องบริการ เป็นเช่นนี้อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเห็น sanook.com ให้บริการตรวจฉลากกินแบ่ง โดยนำข้อมูลตัวเลขมาเก็บในแฟ้ม html แล้วใช้ javascript เป็นตัวตอบคำถาม ภาระในการสืบค้นการถูกรางวัลกลายเป็นของ script + browser ฝั่งผู้ใช้ ที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุดในโลก
ปัจจุบันกองฉลากก็ใช้เทคนิค javascript ทำให้ตรวจฉลากหลายสิบใบได้เร็วมาก เพราะทั้งหมดแทบจะทำงานที่ฝั่งผู้ใช้ ยกเว้นการเปิดเว็บไซต์ในครั้งแรก เพื่อร้องขอการดาวน์โหลดข้อมูลมาไว้ในเครื่องผู้ใช้ที่เกิดขึ้นในครั้งแรก

กรณีที่สอง ..
ข้อมูลปริมาณมาก ย่อมต้องใช้ระบบฐานข้อมูล เพราะมีระบบบริหารจัดการ และค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามีข้อมูลไม่กี่สิบระเบียน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งานระบบฐานข้อมูล เพราะระบบฐานข้อมูลนั้นจำเป็นต้องมีโปรแกรมทำงานที่หลากหลาย แต่ถ้าเก็บข้อมูลในอาร์เรย์ หรือเก็บใน text file แล้วอ่านมาไว้ในอาร์เรย์ ก็จะทำให้เรียกใช้ข้อมูลได้ง่าย และเร็ว เหมือนการทำงานของ cache หรือ ram หรือ harddisk ที่ทำงานได้เร็วกว่า external harddisk สำหรับตัวอย่างนี้ มีข้อมูลใน text file แล้วอ่านมาเก็บใน array โดยกำหนด index ให้แต่ละสมาชิก เมื่อต้องการข้อมูลก็เรียกสมาชิกตาม index ได้ทันที ซึ่งประมวลผลได้เร็ว และไม่เป็นภาระกับระบบฐานข้อมูล โดยฟังก์ชันเขียนให้รองรับการคืนค่าของสมาชิก เช่น ชื่อ-สกุล หรือ ชื่อ-ชื่อกลาง-สกุล หรือ ชื่ออย่างเดียว เมื่อส่งรหัสเข้าไปเรียกจากอาร์เรย์

Source code
$ar_advisor = array();
$ar_advisor = create_ar_advisor(“advisor”,”0″,”1-2″);
echo $ar_advisor[“5601”];
function create_ar_advisor($filename,$f_key,$f_val) {
$ar = array();
$fileaddr = “/data/”. $filename . “.csv”;
$fn = file($fileaddr);
$get_k = split(“-“,”$f_key”);
$get_v = split(“-“,”$f_val”);
foreach($fn as $v) {
$r = split(“\t”,”$v”);
$rk = “”; $rv = “”;
foreach($get_k as $kv) $rk .= $r[intval($kv,10)];
foreach($get_v as $vv) $rv .= $r[intval($vv,10)].” “;
$ar[$rk] = $rv;
}
return $ar;
}

เก่าไปใหม่มากับการ์ดยี่สิบ (itinlife412)

desktop pc sales usage prediction
desktop pc sales usage prediction

http://www.the4thdimension.net/2010/12/are-desktop-computers-obsolete-or-dead.html

25 ส.ค.56 คงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะเห็นบริษัทด้านคอมพิวเตอร์ประกาศยุติกิจการ แล้วนึกถึงคำว่าการ์ดยี่สิบ ที่เป็นเรื่องเล่าจากเจ้าของร้านจำหน่ายอุปกรณ์เล่าให้ฟังในกลุ่มนักศึกษาทางภาคเหนือ ว่ามีนักศึกษาในสถาบันหนึ่งใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียงไม่ได้ แล้วเพื่อนก็แนะนำว่าต้องซื้อซาวด์การ์ด (Sound Card) มาเสียบเพิ่ม จึงจะทำให้คอมพิวเตอร์ส่งเสียงออก และรับเสียงเข้าได้ แต่คำว่าซาวด์ ในภาษาเหนือหมายถึง 20 ดังนั้นนักศึกษาก็ไปถามที่ร้านว่ามีการ์ดยี่สิบหรือไม่ ซักไซ้กันอยู่พักหนึ่งจึงทราบว่าอะไรเป็นอะไร

ปัจจุบันคงไม่มีใครไปถามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีแล้วว่ามีการ์ดยี่สิบหรือไม่ เพราะกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมานานกว่าสิบปีแล้ว และปัจจุบันก็พบว่าร้านส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประกอบเสร็จวางไว้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นโน๊ตบุ๊ค (Notebook) และแท็บเล็ตพีซี (Tabletpc) ซึ่งผู้ใช้ไม่มีโอกาสเลือกอุปกรณ์ภายใน เพราะบริษัทผู้ผลิตห้ามร้านค้าทั่วแกะเครื่อง ถ้าแกะก็จะถือว่าข้อตกลงในการรับประกันสิ้นสุดลง ยกเว้นว่ามีปัญหาใช้งานไม่ได้ก็จะส่งไปแกะเครื่องที่ศูนย์ซ่อมของผู้ผลิตเท่านั้น ปัจจุบันจึงมีพนักงานซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือมีอะไหล่ในร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์น้อยมาก

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และปัจจัยจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทประกอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้จำหน่าย หรือผู้เกี่ยวข้องในสายนี้ทั้งหมดมีแนวโน้มปิดตัวลงอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ซื้อไม่ซื้อเครื่องตั้งโต๊ะ  ร้านจำหน่ายไม่สั่งของเพิ่ม บริษัทย่อมอยู่ไม่ได้ แนวโน้มของผู้บริโภคคือใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเข้าอินเทอร์เน็ตแทนโน๊ตบุ๊ค ส่วนเครื่องโน๊ตบุ๊คมียอดขายทรงตัว สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะในไทยมียอดจำหน่ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยกเว้นเป็นเครื่องเซอร์ฟเวอร์ (Computer Server) สำหรับให้บริการในองค์กร พบค่าสถิติในอเมริกาปีค.ศ. 2008 เครื่องแท็บเล็ตมีส่วนแบ่ง 9% แต่คาดว่าจะเป็น 23% ในปีค.ศ.2015 ส่วนโน้ตบุ๊คและเน็ตบุ๊คมีส่วนแบ่งราว 60% และจะลดลงไม่กี่เปอร์เซ็น แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเคยมีส่วนแบ่ง 45% คาดว่าจะลดลงเหลือเพียง 18% เท่านั้น ยุคต่อไปของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นยุคของแท็บเล็ตพีซีและโน๊ตบุ๊คอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วผู้จำหน่ายก็มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ครองตลาดในปัจจุบัน

communities and pages ใน google+

communities and pages
communities and pages

23 ส.ค.56 วันนี้กดกระดิ่ง มุมบนขวา ใน gmail.com
ซึ่ง google+ ใช้ภาพนี้แทน notifications
ซึ่งผมพบใน email ขององค์กร จึงลองตามคลิ๊กเข้าไปพบอะไรมากมาย
แล้วเข้าไปสำรวจ google+ เพิ่มเติมวันนี้
พบตัวเลือก communities กับ pages
เห็นงานโผ่ขึ้นมาเต็มหน้าตักเลยครับ
เพราะ communities = FB group
และ pages = FB Fan page
สรุปได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีชีวิตเสมือน หรือตัวตนใหม่ในโลกของ google+ เพิ่มอีกที่แล้ว
เพราะการมาทีหลังของ google+ ย่อมอุดจุดบ่กพร่องต่าง ๆ ที่พบใน FB
พบอะไรที่แตกต่างจะนำมาแชร์ครับ ..

โบราณ ว่าชีวิตนี้เลือกได้
แต่ถ้าอยู่ที่เดิม และไม่คิดเปลี่ยนแปลง ก็คงต้องมีเหตุผลมาอธิบายกันหน่อย

ยักษ์ก็ล้มได้และล้มดัง (itinlife411)

washington post
washington post

ข่าวบริษัทขนาดใหญ่ทะยอยประสบปัญหา เริ่มเห็นได้ชัดอีกครั้งกลางปี 2556 บริษัท Black berry ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแบบมีแป้นพิมพ์เคยเป็นอันดับหนึ่งในปี 2009 ก่อนที่ Apple และ Samsung จะเข้ามาครองตลาดส่วนใหญ่ของ Smart phone แต่เป็นข่าวที่ไม่สู้ดีนักเพราะไม่ง่ายที่จะหาคนซื้อในช่วงขาลงแบบนี้ ส่วน Washington post ก็ตกลงขายให้กับ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com ในราคา 250 ล้านดอลล่าร์ ในไทยก็มีบริษัทแพนเอเซียฟุตแวร์ในเครือสหพัฒน์ ประกาศหยุดประกอบกิจการโรงงานผลิตรองเท้า และกระเป๋า มีสาเหตุหนึ่งจากค่าแรง 300 บาทที่ไม่อาจแข่งขันกับจีน หรือเวียดนามได้

นอกจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลชัดเจน เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ ความแข็งแกร่งของคู่แข่ง พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปก็ยังมีปัจจัยภายใน เช่น ความสามารถในการบริหารของผู้บริหาร มีความเชื่อกันว่าผู้บริหารดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เหมือนกับเรื่องราวของ Steve Jobs ผู้เป็นซีอีโอ Apple ที่เข้าไปกู้วิกฤตของบริษัทด้วยการคิดนวัตกรรมเปลี่ยนโลก เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค และอิทธิพลจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่มากมายต้องล้มไป เพราะพ่ายแพ้ต่อการแข่งขันกันครองใจลูกค้า เมื่อบริษัทมีปัญหาก็มักจะเปลี่ยนผู้บริหาร โดยหวังว่าจะเป็นผู้เข้ามาเปลี่ยนทิศของผลประกอบการที่เป็นขาลงไปเป็นขาขึ้น หากผู้ที่เข้ามาใหม่ทำสำเร็จก็จะกลายเป็นอัศวินขององค์กรนั้นไปโดยปริยาย แต่ถ้าทำไม่สำเร็จก็ต้องเปลี่ยนผู้บริหารคนใหม่

ปัจจุบันการประยุกต์ใช้ไอทีในทางธุรกิจกลายเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการมักให้ความสนใจ เพราะอาจเพิ่มยอดขายสินค้า เพิ่มการทำซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ที่มีต้นทุนต่ำ และเชื่อว่าผลตอบกลับคุ้มกับการลงทุน แต่พบว่ามีองค์กรไม่น้อยคาดหวังว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจ เมื่อนำไปใช้จริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ด้วยข้อจำกัดเรื่องของผลิตภัณฑ์ ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย และทรัพยากรที่ลงทุนไปอาจหลงทิศกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทุกครั้งที่บริษัทขนาดใหญ่ล้มก็จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบมากมาย ซึ่งเป็นระบบและกลไกที่จะยังอยู่คู่กับระบบทุนนิยมต่อไป

+ http://news.voicetv.co.th/business/78640.html

+ http://bit.ly/11Jlt27

+ http://mgr.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000102187