บทเรียนการใช้ Terminal emulator

30 พ.ย.56 ทำ tutorial ให้นักศึกษาได้เรียนรู้
ด้วยการใช้กล้องวีดีโอบันทึกจอภาพของ tabletpc โดยตรง
ไม่ได้ใช้ capture screen เหมือนบน desktop
เพราะครั้งนี้ screen อยู่บน tabletpc

รายละเอียดเพิ่มเติม
1. จับจอภาพของโปรแกรม Terminal emulator
2. กำหนด font size เป็น 20pt
3. ไม่ได้ใช้หลอดไฟช่วย แต่เปิดจอ LCD ด้านขวา
4. กำหนดแสงของจอภาพต่ำสุด และผู้บรรยายนั่งด้านซ้าย
5. กล้อง Sanyo Xacti VPC-CG65GX
http://camera.manualsonline.com/manuals/mfg/sanyo/vpc-cg65.html

รายละเอียดในคลิ๊ป ที่เปิดใน LCD เป็นแนวในการบรรยาย
https://www.facebook.com/thaiall/posts/10152034454772272

การใช้ terminal emulator app บน samsung tab 10.1

การใช้ terminal emulator app บน samsung tab 10.1
การสำรวจเครื่องครั้งนี้ มีการดำเนินการ 2 ส่วน
1. การสำรวจระบบ android linux
2. การจัดการแฟ้ม และสารบบ

http://www.thaiall.com/android
โดยใช้คำสั่งต่าง ๆ เรียงลำดับก่อนหลังดังนี้
[1. การสำรวจระบบ android linux]
1. pwd ดูว่าปัจจุบันอยู่ใน folder อะไร พบว่าอยู่ใน /
2. id ดูชื่อ และรหัสตนเอง พบว่าตนเองชื่อ app_125 มี id คือ 10125
3. df ดูว่าในเรื่องมีพื้นที่เท่าใด
4. env ดูข้อมูลสาพแวดล้อม
5. ps ดูว่ามี process อะไรประมวลผลอยู่
6. netstat ดูว่าเปิด port อะไร และติดต่อไปข้างนอกอยู่หรือเปล่า
7. netcfg ดูว่าเชื่อมต่อออกไปใช้ ip อะไร
8. ls ดูรายชื่อแฟ้ม
9. du ดูขนาดแต่ละ folder ทั้งหมด
10. ping www.facebook.com ดูว่าเชื่อมต่อกับ fb ได้ความเร็วกลับมาเท่าใด
11. date ดูว่ากี่โมง และวันที่เท่าใด
12. mount ดูว่ามีอุปกรณ์อะไรเชื่อมต่อไว้บ้าง เช่น sdcard
13. top ดูว่า process อะไรใช้ทรัพยากรมาก
[2. การจัดการแฟ้ม และสารบบ]
1. cd เพื่อย้ายตำแหน่งไปยัง app_HOME
2. du / > a เพื่อสร้างแฟ้มชื่อ a
3. ls -al เพื่อแสดงรายชื่อ และขนาดของแฟ้ม
4. tail a เพื่อดูส่วนหางของแฟ้ม เพียง 10 บรรทัดทุดท้าย
5. mkdir x เพื่อสร้าง folder ชื่อ x
6. mv a x เพื่อย้ายแฟ้ม a ไปใน x
7. cd x เพื่อเข้าห้อง x
8. cp a b เพื่อคัดลอกแฟ้ม a เป็น b
9. find เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้ม หรือ find a หรือ find c
10. find > c เพื่อนำชื่อแฟ้มไปสร้างเป็นแฟ้ม c
11. vi c เพื่อแก้ไขแฟ้ม c
12. cd .. เพื่อออกจากห้อง x
13. rm x/* เพื่อลบทุกแฟ้มในห้อง x
14. rmdir x เพื่อลบห้อง x
15. ls -al เพื่อแสดงรายชื่อ และขนาดของแฟ้ม

คลิ๊ปการใช้งาน ที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/5647/

เก่าไปใหม่มากับการ์ดยี่สิบ (itinlife412)

desktop pc sales usage prediction
desktop pc sales usage prediction

http://www.the4thdimension.net/2010/12/are-desktop-computers-obsolete-or-dead.html

25 ส.ค.56 คงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะเห็นบริษัทด้านคอมพิวเตอร์ประกาศยุติกิจการ แล้วนึกถึงคำว่าการ์ดยี่สิบ ที่เป็นเรื่องเล่าจากเจ้าของร้านจำหน่ายอุปกรณ์เล่าให้ฟังในกลุ่มนักศึกษาทางภาคเหนือ ว่ามีนักศึกษาในสถาบันหนึ่งใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียงไม่ได้ แล้วเพื่อนก็แนะนำว่าต้องซื้อซาวด์การ์ด (Sound Card) มาเสียบเพิ่ม จึงจะทำให้คอมพิวเตอร์ส่งเสียงออก และรับเสียงเข้าได้ แต่คำว่าซาวด์ ในภาษาเหนือหมายถึง 20 ดังนั้นนักศึกษาก็ไปถามที่ร้านว่ามีการ์ดยี่สิบหรือไม่ ซักไซ้กันอยู่พักหนึ่งจึงทราบว่าอะไรเป็นอะไร

ปัจจุบันคงไม่มีใครไปถามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีแล้วว่ามีการ์ดยี่สิบหรือไม่ เพราะกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมานานกว่าสิบปีแล้ว และปัจจุบันก็พบว่าร้านส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประกอบเสร็จวางไว้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นโน๊ตบุ๊ค (Notebook) และแท็บเล็ตพีซี (Tabletpc) ซึ่งผู้ใช้ไม่มีโอกาสเลือกอุปกรณ์ภายใน เพราะบริษัทผู้ผลิตห้ามร้านค้าทั่วแกะเครื่อง ถ้าแกะก็จะถือว่าข้อตกลงในการรับประกันสิ้นสุดลง ยกเว้นว่ามีปัญหาใช้งานไม่ได้ก็จะส่งไปแกะเครื่องที่ศูนย์ซ่อมของผู้ผลิตเท่านั้น ปัจจุบันจึงมีพนักงานซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือมีอะไหล่ในร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์น้อยมาก

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และปัจจัยจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทประกอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้จำหน่าย หรือผู้เกี่ยวข้องในสายนี้ทั้งหมดมีแนวโน้มปิดตัวลงอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ซื้อไม่ซื้อเครื่องตั้งโต๊ะ  ร้านจำหน่ายไม่สั่งของเพิ่ม บริษัทย่อมอยู่ไม่ได้ แนวโน้มของผู้บริโภคคือใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเข้าอินเทอร์เน็ตแทนโน๊ตบุ๊ค ส่วนเครื่องโน๊ตบุ๊คมียอดขายทรงตัว สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะในไทยมียอดจำหน่ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยกเว้นเป็นเครื่องเซอร์ฟเวอร์ (Computer Server) สำหรับให้บริการในองค์กร พบค่าสถิติในอเมริกาปีค.ศ. 2008 เครื่องแท็บเล็ตมีส่วนแบ่ง 9% แต่คาดว่าจะเป็น 23% ในปีค.ศ.2015 ส่วนโน้ตบุ๊คและเน็ตบุ๊คมีส่วนแบ่งราว 60% และจะลดลงไม่กี่เปอร์เซ็น แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเคยมีส่วนแบ่ง 45% คาดว่าจะลดลงเหลือเพียง 18% เท่านั้น ยุคต่อไปของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นยุคของแท็บเล็ตพีซีและโน๊ตบุ๊คอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วผู้จำหน่ายก็มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ครองตลาดในปัจจุบัน

เสน่ห์ของแผนที่ความคิด (itinlife 354)

mindmap lover
mindmap lover (itinlife 354)

4 ก.ค.55 มายด์แม็ป หรือ แผนที่ความคิด หรือ ผังมโนภาพ (Mind Map) คือ แผนภาพที่แสดงความคิดที่เชื่อมโยงกับเหมือนกับการเชื่อมโยงของเซลประสาทในสมอง โดยใช้คำ ภาพ หรือสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกันแล้วแผ่เป็นรัศมีออกไปจากศูนย์กลาง การวาดแผนที่ความคิดถูกใช้เป็นเครื่องมือนำเสนอประเด็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการนำเสนอความคิด ที่ช่วยให้การสรุปประเด็นมีความชัดเจนผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่ความคิด (Mind Map) ซึ่งมีการนำไปใช้สอนให้นักเรียนระดับประถมศึกษาฝึกใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมความคิดมาหลายปีแล้ว

การระดมความคิด (Brainstorming) ในการประชุมหลายระดับมักมีการใช้มายด์แม็ปเป็นเครื่องมือ เพราะเขียนง่าย มีความน่าสนใจ และเข้าใจไม่ยาก สิ่งที่ต้องใช้เป็นเครื่องมือก็มีเพียงกระดาษปรู๊ฟ และสีชอล์กพาสเทล อาจใช้สำหรับระดมความคิดเห็น สรุปความแนวคิด หรือนำเสนอประเด็นก็ได้ ปัจจุบันมีซอฟท์แวร์ที่เข้ามาช่วยให้การวาดด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น อาทิ Freemind, Mindjet, Xmind, Mindmeister, iMindmap สามารถใช้งานได้คล้ายเขียนบนกระดาษ แต่แก้ไขได้ง่าย ไม่หายไปตามกาลเวลา เพราะทำสำเนา และเผยแพร่ต่อได้

ขั้นตอนการใช้ซอฟท์แวร์ช่วยเขียนแผนที่ความคิด เริ่มจากเขียนแผนที่ความคิดด้วยโปรแกรม Mindjet apps บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแท็บเล็ต (TabletPC) แล้วส่งแฟ้มแบบ .mm ไปเก็บใน Dropbox.com ซึ่งเป็น Cloud Storage แล้วใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) ดาวน์โหลดแฟ้มมาเปิดด้วยโปรแกรม Freemind แล้ว Export ไปเป็นเว็บเพจแบบ XHTML (Clickable map image version) เมื่อส่งกลุ่มแฟ้มที่ได้ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์กร จะแสดงผลทั้งภาพแผนที่ความคิดต้นฉบับ และข้อมูลรายการความคิดแบบเรียงข้อ ที่สามารถข้อมูลรายการไปประมวลผลต่อ หรือปรับไปแสดงผลในสื่ออื่นได้

http://www.thaiall.com/php5/php55.html

http://www.thaiall.com/freemind

พบปัญหาจากการใช้ tablet pc (S.G.10.1)

tablet problem
tablet problem

พบปัญหาจากการใช้ tablet pc (S.G.10.1) โดยมีพฤติกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่จะการใช้งานแบบ two-way (ไม่ใช่ readonly หรือ listen only หรือ watch only) จึงมองหาบริการที่ใช้รับส่ง ข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้คนใน social network พบประเด็นเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ทดสอบ ดังนี้
1. กดอักษรมากขึ้น : กว่าจะพิมพ์เสร็จ 30 ตัวอักษร จิ้มไปซะ 60 ที จะซ้ายขวาบนล่างก็ต้องใจเย็นกันหน่อย
2. เบิ้นต้องรอ : ถ้าพิมพ์อักษรเบิ้นต้องรอสักครู่ เช่น “สรร” หรือ “มากกว่า” เพราะต่อเนื่องไม่ได้ หลายปุ่มมี 3 ตัวอักษร จะจิ้มอักษรบนต้องกด 3 ครั้ง ถ้ากด 2 ครั้งคือเปลี่ยนตัวไม่ได้ออกเบิ้น
3. แป้นใหม่ : ต้องเรียนรู้แป้นพิมพ์ใหม่ ปกติผมพิมพ์สัมผัส ตอนนี้ต้องจ้อง เพราะใช้สัมผัสไม่ได้ ต้องจำ
4. ของแถม : ปัญหาใหม่ พอพิมพ์เสร็จแล้วส่ง บางทีมีตัวอักษรแถมต่อท้ายเข้าไปใน fb เกิดหลายครั้ง มีข้อสงสัยว่าอุปกรณ์รับสัมผัสเร็วไปหรือไม่ แล้วเพื่อนที่ใช้รุ่นเดียวกันก็ยืนยันว่ามีปัญหานี้จริง
5. ท่านั่ง : ถ้าต้องค้นงาน แล้วพิมพ์งานติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ยังไม่มีท่านั่งที่เหมาะสม
6. สายตายาว : เวลาใช้ tablet ต้องถอดแว่น เพราะจอเล็ก ตัวเล็ก แม้ซูมได้ ถ้าเปลี่ยนโปรแกรมขนาดก็กลับสุ่มาตรฐาน

10 ประเด็นเกี่ยวกับ OLPC

olpc = one laptop per child
olpc = one laptop per child

The Top Ten Issues of OLPC

During the past Human Factors in Computer Systems conference in San Jose, California there was a lot of attention on the One Laptop Per Child (OLPC) project (see a video). The project goal is: “To provide children around the world with new opportunities to explore, experiment and express themselves.” In the mission statement the website claims that OLPC has been “extensively field-tested and validated among some of the poorest and most remote populations on earth“. While this could be used in conjunction with current teaching, part of the goal is to support self-exploration without the aid of formal teaching.

We had the privilege of hearing from some leading usability researchers in developing countries about their opinions of the OLPC project. I’ve included those references that I could find along with some anecdotal notes that I recorded during plenary talks and individual conversations with leading researchers in the field. While other articles focus on financial/deployment issues, this article focuses on Education and how children will interact with OLPC.

This article is a compilation of ten key issues facing the OLPC project mentioned by other researchers and through conversation. There is a concern about how OLPC might fit into the larger infrastructure of education in developing nations. I personally feel that technology has a large role to play in the future of education (this is already seen with the exploding growth of companies like Smart Technologies that focus on the education market) but there is a need to understand how the technology fits within the ecology of education in developing nations.

This article is not meant to condemn the OLPC project as its aims are focused on goal that would benefit society as a whole (these comments could apply to projects such as Intel’s Classmate PC as well). Rather it asks: how can OLPC be improved? Is this the right approach? What other approaches could be used? Before massively deploying such a technology, it is crucial that we have this debate.

I hope you find this article informative, please feel free to leave any comments.

10. Focus: The focus of OLPC has been completely on the technology with the goal that a new technology will change how we educate children. This is like evaluating the quality of our education based on the type of glue that is used to bind textbooks or the images on the cover pages. There is a lack of focus on education and improved learning. People dismiss (ยกเลิก) the importance of teachers suggesting that computers and self directed learning will be a suitable replacement. Teachers, be they your peers, parents, or trained individuals are a crucial part of feedback system of learning.

9. Readability: “Many who test displays contend that in order for a display to be readable in sunlight, it must have a maximum brightness of at least 500 nits and a contrast ratio of at least 2 to 1. Some manufacturers of outdoor displays go for 1000 or even 1500 nits, but laptop and notebook screen brightness comes no where near 500 nits.” [Gerber, 2005]

8. Existing infrastructure: A recent study found 97 percent of people in Tanzania said they could access a mobile phone, while only 28 percent could access a landline [Prahalad, 2004]. While OLPC does not leverage (พลัง) such infrastructure, a simple voting system could dramatically improve a teachers’ understanding of how well their students were learning class material. Also, Internet is accessed mainly through cell phones and Internet cafés in developing nations. Thus equipping a classroom, particularly one that is not in a building (e.g., children sitting under a tree) poses serious infrastructure issues.

7. Not all learning can be done with an OLPC: Studies have shown that certain learning tasks such as mathematics are very difficult to learn using a computer keyboard and mouse and consequently result in decreased academic performance for students [Oviatt, 2006]. In particular, it has been shown that using a keyboard and mouse for solving mathematical questions requires significantly more time and results in more errors than using pen and paper. Researcher have also noticed that this decrease in performance is increased among the students that are struggling (ฝ่าฟัน) the most in the classroom as they are stuck trying to master both the course concepts and the technology at the same time.

6. Lack of content: content provision is a serious issue for these devices. If it is the expectation that teachers will produce all of their own content, using an OLPC could be more work that just buying a book and sharing it among students. Content needs to be provided free of charge. OLPC claims to be providing infrastructure but without content providers it will be impossible to use. This is the critical mass problem: what good is a fax machine if only one person in the world has one.

5. Keyboards: We need to ask ourselves what current practice is in the learning environment and design solutions that would fit the current practices of students and teachers. For example, if students are more used to using a slate (กระดานชนวน) , perhaps the keyboard and mouse metaphor (อุปมา) of existing systems is inappropriate. Similarly, if people are familiar with cell phone technology it may be useful to develop systems to support their current practices with cell phones. Perhaps what we need are more (touch sensitive) slates and (digital) black boards rather than OLPCs alone [Buxton, 2005].

4. Scalability: Lets say a teacher wants to get all 49 of their students in a single class to perform a particular exercise. Given that the instructor cannot see all 49 screens at once, how do they gage if students are confused or not understanding the task at hand? Each student is looking at their own private display rather than looking at the teacher/blackboard making it harder to gauge student engagement (ข้อตกลง) at a glance (ชำเรือง). Would it not be better to have a single large digital display than a classroom full of individual PCs? Take for example, the Smart Technologies Senteo system where each student can have a clicker to respond to polls in the classroom. The total cost of ownership would probably be less than the cost of a $100 laptop per student.

3. Ergonomics (เหมาะกับการทำงาน) : the fact that OLPC is designed as a laptop leads to ergonomical problems as students may not have a table that they can put the computer on. Thus they will likely have to place it on their laps for extended periods of time leading to discomfort that can also hinder (ขัดขวาง)  learning.

2. Wrong Problem: While the One Laptop Per Child project focuses on providing technology to children in developing nations the major issue affecting student outcomes seems to be the training of teachers [Vegas, 2007]. With student to teacher ratios reaching 43:1 in primary Sub-Saharan African schools with only 69% of primary school teachers receiving any sort of formal training it seems that technology would only exacerbate (ทำให้รุนแรง) existing issues in the education system.

1. The Community of Learning vs. The Cult of the North American Individual: The name OLPC is a problem as the focus is on Personal Computers for Individuals ignoring the fact that community feedback is crucial part of learning. Self directed learning cannot be effective without feedback from peers, parents and teachers. Even when parents and peers are not available children will often huddle (จับกลุ่ม) around a single computer to collaborate and provide constructive feedback [Pawar, et al, 2006]. Developers can push this learning configuration further by providing interactivity for each child on the same display (through multiple mice and keyboards). Studies have shown that this configuration results in students being more engaged, faster and more accurately able to do problem solving tasks [Scott, et al., 2003]. Students need a learning community to provide the feedback needed to fully understand the material they are investigating. OLPC will likely do the opposite by pushing students away from each other to their own computers.

http://paradynexus.blogspot.com/2007/05/top-10-issues-of-olpc.html

Tablet PC Review : Acer iconia Tab A500

acer iconia tab a500
acer iconia tab a500

22 ส.ค.54 มีโอกาสยืม Tablet PC จากหน่วยงานของเพื่อน มาทดลองใช้งาน มีประเด็นที่น่าสนใจสรุปได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. สามารถ download แฟ้มจาก e-document อาทิ .doc หรือ .pdf แล้วใช้ app:docs to go เปิดอ่านได้
2. สามารถ upload แฟ้มทั้ง .doc หรือ .pdf จากห้องเก็บแฟ้ม หรือ external memory สามารถเปิดได้ด้วย app:clear.fi
3. สามารถแก้ไขแฟ้มที่อยู่ใน cloud application (up,down,edit) ทำงานได้ทั้งใน hotmail.com และ google.com
(ทดสอบกับ android ใน smart phone เครื่องละไม่ถึง 3 พันก็สามารถจัดการแฟ้ม spreadsheet ได้เช่นกัน)
4. สามารถแสดงผลออกไปทาง HDMI ถ้ามี lcd tv หรือ projector รุ่นที่มี hdmi ก็สามารถเชื่อมต่อออกไปได้ทันที
5. ถ้าไม่ต่อเน็ตอาจมี app ไม่กี่รายการให้ใช้ อาทิ เกม นาฬิกา เครื่องคิดเลข และปฏิทิน

เปรียบเทียบกับ smart phone ของ imobile 8500
1. แม้เป็น android รุ่นเก่า แต่ก็สามารถใช้ cloud application ได้
2. upload ทั้งใน moodle และ e-document ไม่ได้ พบว่า upload disabled
3. download แฟ้มเข้าเครื่องได้สำเร็จ และ open ไม่ได้ เพราะไม่มี app รองรับ

http://www.tabletd.com/tablets/34/Acer-Iconia-Tab-A500