ล่องแพเหนือเขื่อนกิ่วลม 2559 เล่าด้วย 4 ภาพ

ล่องแพเหนือเขื่อนกิ่วลม
ล่องแพเหนือเขื่อนกิ่วลม

เที่ยวทางน้ำด้วยการล่องแพเหนือเขื่อนกิ่วลม
ในปีพ.ศ.2559 ไม่เหมือนทุก ๆ ปีที่ผ่านมา
ผมเคยมาล่องแพช่วงวันที่ 13 เมษายน เมื่อหลายปีก่อน
ก็ไม่ร้อนเท่าปีนี้ นอกจากจะร้อนไปถึง 44 องศาแล้ว
ก็ยังมีอะไรน่าสนใจที่พบผ่านเลนท์กล้องที่ยืมจากที่ทำงานมาทดสอบ
เพื่อเล่าถึงสถานที่และเหตุการณ์ที่ได้พบที่จังหวัดลำปาง
ตั้งใจยืมกล้องมาทดสอบเรื่อง Manual Focus เนื่องจาก Auto Focus เสีย
ดังนั้นภาพที่เห็นจะมีโฟกัสที่ไม่ค่อยโดนเป้าหมายตามที่คาดไว้
แต่ถ้าถ่ายไกล ๆ อย่างภาพในเขื่อนกิ่วลม ก็พอจะรับได้ครับ
ประเด็นที่พบที่เขื่อนกิ่วลม ขอเล่าด้วยภาพ 4 ภาพ ดังนี้

วัดที่จมอยู่หลังการสร้างเขื่อน
วัดที่จมอยู่หลังการสร้างเขื่อน

ภาพที่ 1 เขื่อนแห้ง
เขื่อนวันนี้ น้ำแห้งจริง ๆ เพราะปีนี้จะเห็นซากวัดที่เคยถูกน้ำท่วมโผ่พ้นน้ำ
คาดว่าจะแห่งมากกว่านี้ เพราะฤดูแล้งยังมีเวลาอีกนาน
พื้นที่เหนือเขื่อนเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมง ต่อมาชาวบ้านก็ได้ย้ายกันออกไป
ตั้งรกรากใหม่ ส่วนหนึ่งไปตั้งที่ ตำบลนิคมพัฒนา อ.เมือง เมื่อปี 2511 – 2512
โดยอพยพจากตำบลบ้านสา และตำบลสบมาย อำเภอแจ้ห่ม
ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกิ่วลม เมื่อหลายสิบปีก่อน
http://www.thaitambon.com/tambon/520118
ปีนี้ได้เห็นซากวัดที่เคยถูกน้ำท่วม โผ่พ้นน้ำขึ้นมาก เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว
เพราะเจ้าของแพสมยศ ชี้ให้ดูว่าจุดนั้นเป็นที่ตั้งหมู่บ้านเก่า

เห็นไฟไหม้ที่หน้าเขื่อน
เห็นไฟไหม้ที่หน้าเขื่อน

ภาพที่ 2 ควันเหนือเขื่อน
ไฟไหม้ไม่ใช่เรื่องปกติ แต่ก็ยังมีไฟไหม้ตลอดเวลา
เห็นบ่อย ๆ ระหว่างทางไปเกาะชวนฝัน แล้วก็ล่องแพกลับ
ขากลับเห็นควันพุ่งจากหน้าเขื่อน ก็ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวยิ่งขึ้นอีก

เห็นไฟไหม้ระหว่างทาง
เห็นไฟไหม้ระหว่างทาง

ภาพที่ 3 ควันระหว่างทาง
ร่องรอยของไฟไหม้เห็น 2 ข้างทางจนชินตา
บางจุดไฟยังลุกอยู่เลย
อาจมีคนจุดไฟเพื่อหวังอะไรบางอย่าง รึเปล่าก็ไม่ทราบ
ซึ่งก็ไม่ทราบว่าที่ไฟลุกอยู่ในจุดต่าง ๆ นั้นเป็นความตั้งใจหรือไม่อย่างไร
แต่ที่แน่ ๆ อากาศดูจะห้อมล้อมไปด้วยควันบางตาตลอดการเดินทาง

หนทางเลี้ยวลดคดเคี้ยว
หนทางเลี้ยวลดคดเคี้ยว

ภาพที่ 4 ทางน้ำคดเคี้ยว
ในอดีตจำได้ว่าหนทางไม่คดเคี้ยว
แต่ครั้งนี้คนคุมหางเสือ ต้องเล็งหาร่องน้ำให้ดี
เท่าที่เห็นต้องซ้ายที ขวาที พุ่งไปตรง ๆ ไม่ได้
เพราะร่องน้ำตื้นเขิน มีไม้ปักบอกตลอดว่าตรงไหนตื้น
จากภาพจะเห็นความคดเคี้ยวเป็นตัวเอสเลย

 

มีกิจกรรมพายเรือไปดูรอบ ๆ ได้ เห็นบนฝั่งด้วย
มีกิจกรรมพายเรือไปดูรอบ ๆ ได้ เห็นบนฝั่งด้วย

ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติม หาได้จาก
http://www.wangkaewresort.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539156762

มองเลยไปหน่อย กับ เขื่อนแม่วงก์

social media กับ เขื่อนแม่วงก์
social media กับ เขื่อนแม่วงก์

ก่อนอ่านเรื่องต่อไปนี้ ตามหลักของ การจัดการความรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะ เหรียญมีมากกว่า 2 ด้านเสมอ
ที่สำคัญ .. ผมสนับสนุนการไม่สร้างเชื่อนแม่วงก์ เหมือนกัน
เพียงแต่มองเลยมุมที่เห็นมอง ๆ กันอยู่ไปอีกหน่อย เท่านั้นเอง
และ ไม่ใช่ทุกเขื่อนที่เหมาะสมกับการถูกปล่อยน้ำจนหมดเขื่อน

การมีเขื่อน หรือสร้างเขื่อนใหม่ อาทิ เขื่อนแม่วงก์
ทำให้กระทบสิ่งแวดล้อมมากมาย [มหาศาล]
มีกลุ่มคนในประเทศไทยไม่เห็นชอบต่อการสร้างเขื่อน
ลอง [ลองเฉย ๆ ครับ] ชวนคิดย้อนกลับปล่อยน้ำให้หมด
แล้วใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหนือเขื่อนจะเกิดอะไรขึ้น
โดยพิจารณาข้อมูลจากคลิ๊ปที่อธิบายผลเสียของเขื่อน

ปล่อยน้ำหมดเขื่อนแล้วได้อะไร (มองตามคลิ๊ป)
1. ได้พื้นที่ดินบนพื้นโลก สำหรับปลูกต้นไม้ เพาะปลูก เป็นที่อยู่อาศัย
และแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิด เพื่อขึ้นอีกมากมาย
2. ได้พื้นที่ป่าราบต่ำเพิ่มขึ้น ที่เป็นแหล่งหากิน และอาศัยของสัตว์ในอนาคต
หากพัฒนาให้ดีก็จะมีสัตว์ป่ามาพักอาศัยจำนวนมาก เพราะผืนดินอุดมสมบูรณ์
3. ได้แหล่งปลูกต้นไม้ใหญ่จะมีที่เติบโต ด้วยโครงการพัฒนาป่าที่มีดินอุดมสมบูรณ์
ในช่วงเวลา 100 – 200 ปีอย่างแน่นอน

อีกมุมที่ตอบผู้คัดค้านการปล่อยน้ำหมดเขื่อน (มองตามคลิ๊ป)
1. จากสถิติน้ำท่วมทุกภาค ไม่มีเขื่อนใดหยุดน้ำท่วมได้
สถิติน้ำท่วม 2554 พบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อน ต่อปริมาณน้ำท่วม
ไม่เป็นเหตุผลที่จะต้องเก็บน้ำในเขื่อนอยู่อีกต่อไป
2. เหตุน้ำท่วมในทุกพื้นที่ มีน้ำจากทุกทิศทุกทาง ที่ไหลมารวมกัน
ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อน จึงไม่ใช่เหตุผลของการมีเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม
3. จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA
กรรมการหลายชุด บอกว่า การสร้างเขื่อนกระทบสิ่งแวดล้อม
นั่งคือ ถ้าไม่มีเขื่อนก็จะดีต่อสิ่งแวดล้อม มีป่า ก็จะมีชีวิตตามมา
ดังนั้น การปล่อยน้ำเหนือเขื่อน จะคืนชีวิตสู่พื้นที่ เกิดต้นไม้และสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น
ในอนาคตไปชั่วลูกชั่วหลานอย่างไม่ต้องสงสัย

เหตุผลหลัก ที่เขาว่าควรมีน้ำในเขื่อน
1. เขื่อนช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
ซึ่งไม่จริง เพราะเชื่อนทุกเขื่อนคือแหล่งต้นน้ำ
แม้ไม่มีเชื่อนก็ยังมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ให้ชีวิตแต่ชุมชนและเกษตรกร
2. เขื่อนไม่ได้แก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง
และที่ราบในภาคกลาง เพราะเขื่อนเก็บน้ำได้น้อยมาก
เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดที่ท่วมในแต่ละพื้นที่

ทำไม ควรปล่อยน้ำจนหมดเขื่อนจึงสำคัญ
1. ได้พื้นที่ดินเพิ่ม มีต้นไม้ สัตว์ป่ามีที่ยืนในที่ ๆ อุดมสมบูรณ์
ในเวลา 20 – 30 ปีก็จะเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ได้
ป่าสักที่ไม่เคยมี ก็จะเติบโตขึ้นใหม่ริมห้วย หนอง คลอง บึงหลังเขื่อน
2. พื้นที่หลังเขื่อนเป็นพื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์
เมื่อได้กลับคืนมา ก็จะทำให้ป่าในบริเวณนั้น
เป็นผืนเดียวกัน และมีความเป็นป่าที่สมบูรณ์กว้างใหญ่
3. สัตว์ที่ไม่เคยพบเห็นก็อาจได้พบเห็นในพื้นที่ใหม่
มีสัตว์นานาสายพันธ์เข้าไปอาศัย ก็อาจกลายพันธ์ใหม่
ตามสภาพพื้นที่ที่เกิดใหม่ แล้วเกิดสัตว์ประจำถิ่นใหม่ขึ้น
4. มีแหล่งน้ำ หรือผืนป่าต้นน้ำขนาดใหญ่กลับมา
ในเวลาเพียงไม่กี่สิบปี ซึ่งคุ้มค่าแก่การรอคอย

เราจะช่วยกันสนับสนุนการปล่อยน้ำจนหมดเขื่อน
ด้วยการ อ่าน ฟัง พูด และแชร์

หนังสือ “สร้างเขื่อนแม่วงก์เถอะนะฯ” 2564
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement4432.htm

พบเสือโคร่ง 16 ตัว
https://www.thairath.co.th/news/local/north/1061029

แผนพัฒนาแหล่งน้ำ แทนการสร้างเขื่อน
https://news.thaipbs.or.th/content/277738