วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

รวมงานวิจัยในชั้นเรียน (class research)
รวมงานวิจัยในชั้นเรียน (class research) https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkTmpyak5Pb3FpMzA

จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนบนเครือข่าย มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน ทดลองให้เรียนจากโฮมเพจรายวิชา ที่ทำการปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพ และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 81.50/85.33 และ 0.59 ก่อนเรียนได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน และเมื่อเรียนจบบทเรียนก็ได้ทำแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมกับตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ เมื่อทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ T-Test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยต่างกันร้อยละ 27.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความพึงพอใจของการเรียนอยู่ในระดับมาก
อ้างอิงจาก
จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543), ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557, แหล่งที่มา
https://docs.google.com/file/d/0B_dx3cf4F2pkWWVtZjZPUUNWbDg/


รวมงานวิจัยในชั้นเรียน ที่สมบูรณ์มีถึง 199 รายการ
https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkTmpyak5Pb3FpMzA

ใช้ crosstabs และ chi-square แสดงความสัมพันธ์ของสองตัวแปร

crosstab กับ chi-square

สืบเนื่องจาก ดร.ลภัสรดา จ่างแก้ว แนะนำนักศึกษา MBA ให้ใช้ crosstab กับ chi-square นำเสนอผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เป็นค่าสถิติที่เข้าใจง่าย และนำไปอธิบายตารางได้ทันที ว่า การรับรู้ และการนำไปปฏิบัตินั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

การใช้ค่า Chi-square และการทำ Crosstabs นั้น สามารถหาได้ว่า 2 ตัวแปรนี้มีผลต่อกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่สัมพันธ์กัน ค่า sig ก็จะมากกว่า 0.05 อย่างกรณีนี้ ข้อมูลของ v1 กับ v2 สัมพันธ์กัน ทำให้ค่า Sig. Pearson Chi-square ได้ 0.002

สำหรับงานวิจัยที่ต้องการ เปรียบเทียบการรับรู้ และ การนำไปใช้ ก็สามารถใช้ Chi-square และทำการแจกแจงแบบตารางไขว้ (Crosstabs) ซึ่งนำเสนอผลการศึกษาได้ชัดเจน ดังภาพประกอบ แต่การใช้ตาราง Crosstabs ก็ต้องอ่านตารางด้วยความเข้าใจ และอธิบายเชิงพรรณาให้ชัดเจน ว่าทำไมจึงมีความสัมพันธ์แบบนั้นเกิดขึ้น

ตัวอย่างการใช้ Chi-Square – เมื่อได้อ่านงานวิจัย ของ Thongphanh Chanthalak และ พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริจากโลหิตด้วยความสมัครในไม่หวังสิ่งตอบแทนของประชาชน ชุมชนเมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 34-41. พบว่า มีการใช้ค่าสถิติ Chi-Square test มาทดสอบ ตัวแปรต้นต่าง ๆ กับความถี่ในการบริจาคโลหิตของประชาชน คราวละตัวแปร แล้วได้ค่า p-value มาเขียนรายงานการวิจัย เช่น ตัวแปรเพศมีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value < 0.001) โดยพบว่าเพศชายบริจาคโลหิตมากกว่าเพศหญิงประมาณ 1.7 เท่า

http://www.thaiall.com/spss/chisquare/

ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม

research
research

26 ก.ย.57 ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ร่วมกัน ผศ.ดร.จรีรัตน์ สุวรรณ์ และดร.พิมผกา โพธิลังกา  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
พร้อม อ.รพีพงษ์ อินต๊ะสืบ วิทยาลัยอินเตอร์เทค และอ.ธวัชชัย แสนชมภู มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น 2 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ประเด็นสืบเนื่องจากการประชุมเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
เมื่อวันที่ 22 ส.ค.57 โดยประเด็นที่พูดคุยเป็นการหาแนวทางกับประเด็นที่ได้รับมา
คือ “การจัดการที่ดิน เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและปัญหาหมอกควัน”
ซึ่งลำปางมีหลายพื้นที่ที่เป็นสีแดง ซึ่งแต่ละสถาบันก็สนใจในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
เช่น อ.งาว อ.เมือง อ.เถิน เป็นต้น
ต่อจากนี้ก็จะมีการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้านการวิจัย เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ
โดยแต่ละสถาบันก็จะมีโครงการเสนอเข้าไปที่แม่ข่าย คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับหมอกควัน และการศึกษา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

ประชุมเครือข่ายสหวิทยาการ กลุ่มภาคเหนือตอนบน ที่เชียงใหม่แกรนด์วิว

เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน

22 สิงหาคม 2557 มีโอกาสร่วมประชุมสัมมนาใน
โครงการประชุมสัมมนาพัฒนาและขยายผลประเด็นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
สำหรับเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.)
เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗

มีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ
1. เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายฯ และขยายความร่วมมือด้านการวิจัย และวิชาการกับเครือข่ายอื่นในภูมิภาคภาคเหนือตอนบน
2. เพื่อต่อยอดการพัฒนาแนวทางในการประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างนักวิจัย นักวิชาการและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นสำคัญ
3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยแบบสหวิทยาการของเครือข่ายภาคเหนือตอนบนเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นที่สำคัญ
4. เพื่อนำผลที่ได้จากการประชุมระดมสมอง ไปใช้ประโยชน์จริงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึงชุมชนอย่างแท้จริง
5. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือ ภาคเหนือตอนบน และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
6. เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาข้อเสนอโครงการภายใต้ประเด็นปัญหาของภาคเหนือตอนบนและพัฒนาต่อยอดร่วมกันในเครือข่ายต่อไป
กิจกรรมช่วงเช้า เป็นการบรรยาย ประกอบด้วย
1. กล่าวต้อนรับ และกล่าวเปิดประชุม
โดย รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. กล่าวบรรยายพิเศษ “การดำเนินงานของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. บรรายายพิเศษ “แนวคิดและทิศทางการดำเนินงานและพัฒนาของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบนกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่น”
โดย ศ.นพ.ยงยุทธ  วัชรดุลย์ ประธานคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา
4. การบรรยาย เรื่อง
“การดำเนินงาน/แผนงาน/โครงการเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.อาวรณ์  โอภาสพัฒนกิจ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

กิจกรรมช่วงบ่าย แยกกลุ่มตามประเด็น
ห้องที่ 1 ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ห้องประชุมทิพย์พิมาน
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
การจัดการที่ดินเพื่อลดปัญหาหมอกควัน
แล้วนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ที่จะเกิดขึ้น
หลังแต่ละสถาบันไปเขียนข้อเสนอโครงการย่อยเชิงบูรณาการ
แล้วนำโครงการทั้งหมดมาเชื่อมโยงกัน และพูดคุยกันอีกครั้ง
โดยมี อ.ธวัชชัย แสนชมภู เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเนชั่นร่วมแลกเปลี่ยน

ห้องที่ 2 ประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชน (ม.แม่ฟ้าหลวง) ห้องประชุมย่อยฝูเป่า
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชนในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ และ ดร.พนม วิญญายอง
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนตามแนวพระราชดำริ
ซึ่ง ผศ.ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ ใจสนิท
เสนอให้ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.cf.mahidol.ac.th/
ส่วน ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ได้ฉายภาพปัญหาระบบการศึกษาไทย
เป็นปัญหา 4 ระดับ ที่ทำให้ทีมงานพิจารณาร่วมกัน และเห็นภาพได้ชัดเจน
คือ ฐานคิด โครงสร้าง แผนงาน/กระบวนการ ปรากฎผล
ในกลุ่มตกลงร่วมกันว่าจะสื่อสารกันด้วย e-mail และ line กลุ่ม

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

พบนักวิชาการเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ปาย

burin @cmu
burin @cmu

2 ก.พ.57 ได้รับโอกาสพบนักวิชาการ 3 ท่านคือ
ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย อ.รณวีร์ สุวรรณทะมาลี
และ รศ.ดร.ศักดิ์ดา  จงแก้ววัฒนา
ณ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แล้วได้พูดเรื่องการใช้งานวิจัยพัฒนาชุมชน
ประเด็นการท่องเที่ยว และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีพื้นที่คือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยการทำงานจะแบ่งเป็น 4 ช่วง
คือ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ และจัดกิจกรรม
ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นมีเส้นทางแบ่งได้เป็น ธรรมชาติ เกษตร และวัฒนธรรม

ระบบที่พัฒนาขึ้น ส่วนหนึ่งจะช่วยสนับสนุนนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจ
เลือกเส้นทางการท่องเที่ยวภายใต้ งบประมาณ เวลา และความสนใจ
ด้วยการนำเสนอเส้นทาง ข้อมูล และแผนการเดินทางผ่านเว็บไซต์

ซึ่งมี template ที่ผมเสนอระหว่างการพูดคุยเรื่อง proposal ตามภาพนี้

googlemap in talking
googlemap in talking

บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

ntc2014 : lampang 2020
ntc2014 : lampang 2020

Lampang 2020
บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมระดมสมองเพื่อขับเคลื่อน
เมืองลำปางสู่อนาคตใหม่
ในงานประชุมวิชาการ
อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ
ประจำปีการศึกษา 2556
24 – 26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
NTC2014

Proceeding
http://it.nation.ac.th/studentresearch/files/351003.pdf

กำหนดการสัมมนา LAMPANG 2020 : บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่
วันที่ 24-26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
08.00-08.50 น.    ผู้เข้าประกวดรายงานตัว
08.50-09.00 น.    กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย คุณสุทธิชัย หยุ่น
09.00-10.00 น.    ประกวดทีมที่ 1-2
10.00-11.00 น.    ประกวดทีมที่ 3-4
11.00-12.00 น.    ประกวดทีมที่ 5-6
12.30-13.00 น.    ประกวดทีมที่ 7
13.00-14.00 น.    ประกวดทีมที่ 8-9
14.00-15.00 น.    ประกวดทีมที่ 10-11
15.00-16.00 น.    ประกาศผลการแข่งขัน
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร โดย สภาวัฒนธรรมจังหวัด
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบรางวัลชนะเลิศ พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบของที่ระลึกให้กับกรรมการตัดสิน / ถ่ายรูปหมู่

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2557
07.00-08.30 น.    พิธีทำบุญเนื่องจากคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเนชั่น
08.00-08.45 น.    ลงทะเบียน/ชมวิดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย
08.45-9.00 น. กล่าวรายงาน โดย ดร.วันชาติ  นภาศรี รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบัณฑิตศึกษา
พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น
09.00-12.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-17.30 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
08.30-09.00 น.    ลงทะเบียน
09.00-09.15 น.    กล่าวต้อนรับ โดย สุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริหารบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
09.15-09.45 น.     ปาฐกถาเปิดงาน “มิติใหม่เมืองลำปาง”
โดย ศุภชัย  เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
09.45-10.45 น.    Keynote Speech by Dr.Yotaro Morishima, President, Professor,
Fukui University of Technology “Challenges of Japanese
Universities in the Borderless Era”
10.45-11.15 น.    Thailand Investment in Myanmar by Kin Myoe Nyunt
11.15-11.45 น.     การเตรียมความพร้อมของนักเรียนนักศึกษาไทยสำหรับประชาคมอาเซียน:
กรณีศึกษาโรงเรียนลำปางกัลยาณีและมหาวิทยาลัยเนชั่น  โดย ดร.สุจิรา  หาผล
“Readiness of Thai Students in English Competency for ASEAN Community:
A Case Study in Lampang Kanlayanee School and Nation University”
11.45-12.00 น.    พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเนชั่น และ
Fukui University of Technology
12.00-12.15 น.    ชมนิทรรศการผลงานวิชาการ (Poster Session)
12.15-13.15 น    รับประทานอาหารกลางวัน/บรรเลงดนตรีพื้นเมือง ซะล้อ ซอ ซึง/แฟชั่นโชว์
13.15-15.00 น.    เสวนา เรื่อง วางยุทธศาสตร์เมืองลำปางรับ AEC
วิลาวัลย์  ตันรัตนกุล ผู้อำนวยการสำนัก สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ
พลฤทธิ์  เศรษฐกำเหนิด  ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พิชัย  รักตะสิงห์   ผอ. ภูมิภาคเอเชียใต้และแปซิฟิกใต้  กองการตลาดเอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้
อธิภูมิ  กำธรวรรินทร์  ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง
15.00-17.00 น.    เสวนา “บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่”  โดย
อนุชา  จิตะพันธ์กุล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมการตลาด สาขาเขต 1
บริษัท เซนทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน)
ชนินทร์  พรหมเพ็ชร  ผู้จัดการส่วนการบุคคล บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง)จำกัด
พนาสิน  ธนบดีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบดีอาร์ต เซรามิค จำกัด
อนุวัตร  ภูวเศรษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์  รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.nation.ac.th/ntc2014/

conference
conference

Facebook album
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.779721072042026.1073741916.506818005999002

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket
NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket

23 มกราคม 2557 ได้รับอีเมลชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014 อีกครั้งหนึ่ง
จาก คุณวัชรีวรรณ จิตต์สกุล [watchareewanj@hotmail.com]
ซึ่งผมสนใจส่ง paper เข้าร่วมนำเสนอหลายปีติดต่อกัน
ในกลุ่ม Information Technology and Computer Education
ว่าปีนี้จัดระหว่างพฤหัสบดีที่ 8 – ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2014
ที่ Angsana Laguna, Phuket
http://www.angsana.com/en/phuket/

Call for paper NCCIT2014
The 10th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2014)
8-9 May 2014 At Angsana Laguna, Phuket, Thailand by
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
http://www.nccit.net


NCCIT Areas of  Interest
Conference Topics Include (but not limited to):

– Data Mining and Machine Learning:
Artificial Neural Network, Fuzzy Systems, Hybrid Systems, Evolutionary Computation, Knowledge Discovery, Knowledge Transfer, Knowledge Management, Decision Support, Recommender Systems, Text Mining, and Web Mining.
– Data Network and Communication:
Computer Network, Security & Forensic, Wireless & Sensor Network, Telecommunication, Mobile Ad-Hoc Network, Cloud & Grid Computing, Decentralized computing, P2P networks, P2P protocols, and Semantic P2P networks.
– Human-Computer Interface and Image Processing:
Human Machine Interface, User Customization, Embedded Computation, Augmented Reality, Computer Vision, Feature detection, Medical image processing, and Facial recognition
– Information Technology and Computer Education:
Knowledge Management, Web Application, Web Service, Management Information System, Customer Relation Management, Ontology, Semantic Web and Enterprise Resource Planning, Software engineering and Computer Education

Important Dates(NCCIT)
Paper Submission for Review: January 31, 2014
Decision Notification: February 17, 2014
Camera Ready Version: March 3, 2014
Advanced Registration: March 5, 2014

Conference Format
The conference has two types of presentations: invited keynote
speakers and regular oral presentations. The proceedings of the
conference will be published and distributed in CD-contained format.

Paper Submission
Papers must be written inThai for NCCIT2014
and should describe original work in detail. Each regular
paper, according to instructions, must be accompanied by an
abstract summarizing the contribution it makes to the field.
Each paper will be reviewed by at least three reviewers. Submission of a
paper constitutes a commitment that, if accepted, one or more
authors will attend and participate in the conference. Electronic
submission in camera-ready format and author’s bibliography are
required. Please check information at http://www.nccit.net

Contact Information
Assoc. Prof. Dr.Phayung Meesad, NCCIT2014 Chair
Asst. Prof. Dr.Sirapat Boonkrong, NCCIT2014 Secretary
Faculty of Information Technology
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (KMUTNB)
Pracharat 1 Rd. Wongsawang, Bangsue Bangkok 10800.
Email: pym@kmutnb.ac.th; sirapatb@kmutnb.ac.th
Tel:  +662 555 2000  ext. 2711, 2719, 2726; Fax: +662 555 2734

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง
AAR หลังประชุมกับ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง

17 ม.ค.57 ได้ประชุมร่วมกับเพื่อนในสถาบันต่าง ๆ
ที่มีประสบการณ์ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ณ ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา 9.00 – 14.30น.
เพื่อจัดประชุม 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น นำทีมโดยคุณภัทรา มาน้อย
มีประเด็นพอที่จะประมวล ในส่วนของหน้าที่ที่ต้องไปทำต่อ ดังนี้
1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม
2. ทาบทามท่านอธิการกล่าวต้อนรับ และร่วมเสวนาเชิงนโยบาย
3. ประสานหานักศึกษา 6 คน ทำงานลงทะเบียน ช่วยงานหน้าเวที (สวย)
4. ประสาน อ.อัศนีย์ ณ น่าน ทำหน้าที่พิธีกรในงาน
5. ปรับแก้ poster และ อ.เชพ แก้ไวนิล ตามมติที่ประชุม
6. ประสานการบันทึกคลิ๊ปวีดีโอ เพื่อประชาสัมพันธ์
7. ประสานคณะต่าง ๆ นำเสนอผลงานที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
– สาขาการจัดการ : ซางข้าวโพด
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ : อบรมภาษา
– สาขาวิชาสาธารณสุข : ทำงานในชุมชน
8. ประสานฝ่ายประชาสัมพันธ์จัดบูทนำเสนอหลักสูตร
9. ประสานคุณแอน จัดบูทจำหน่ายหนังสือ
10. ประสานผู้รับผิดชอบอาคาร เตรียมความพร้อมใช้สถานที่
11. สรุปกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจะทำภายในงาน ส่ง สกว.
12. รอประสานทำคลิ๊ป กับทีมของศูนย์ฯ
เรื่องบริการวิชาการรูปแบบใหม่ ว่าใหม่อย่างไร

กลุ่มเป้าหมาย คือ นักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้อง และตัวแทนชุมชนที่สนใจ
ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้การวิจัย จากบทเรียน 6 ปี
ของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในบทบาทของ ศูนย์ฯ ลำปาง
งานมีขึ้นในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

AAR = After Action Review

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.724680400879427.1073741872.506818005999002

แรงบันดาลใจ กับแรงจูงใจ

แรงบันดาลใจ (Inspiration) กับแรงจูงใจ (Motivation)
คำว่า แรงบันดาลใจ  กับแรงจูงใจ ต่างกัน ตรงจุดเริ่มต้นก่อนการกระทำ
แรงบันดาลใจ จะเป็นแรงขับจากภายใน
แรงจูงใจ จะเป็นแรงขับจากภายนอก

ยกตัวอย่าง
1. คนที่ขยันหนังสือที่สำเร็จ ส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจ
ไม่ได้มีแรงจูงใจจากเงินที่พ่อแม่ให้ค่าขนมมา
2. คนที่ขยันอ่านหนังสือสอบซ่อม มีแรงจูงใจ
เพราะอ่านหนังสือไปสอบซ่อม ก็จะได้รางวัลคือสอบผ่าน
3. ซุปเปอร์แมน และสไปเดอร์แมน ทำความดีช่วยเหลือผู้คน
เพราะมีแรงบันดาลใจ ใฝ่ดี อยากทำความดี อยากเห็นผู้คนมีความสุข
4. หนังเรื่อง “สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก
นางเอกตั้งใจเรียน เพราะมีแรงจูงใจคือผู้ชายสุดหล่อเป็นรางวัล
5. หนังเรื่อง “inception
กลุ่มพระเอกจะเข้าไปสร้างแรงบันดาลใจ
ซึ่งเป็นการเข้าไปสร้างจากภายในใจของบุคคลเป้าหมาย
http://pattamarot.blogspot.com/2010/11/inspiration.html

บทคัดย่อ รายงานการวิจัยระบบ peer visit

seci model
seci model

บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก
ระดับคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2555 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น

หัวข้อ
การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเองโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ ระดับคณะวิชา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น
A Development of Peer Visit System for Self Assesment Report System by SECI Model Using : A Case Study of Nation University

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151760141212272&set=a.10150179894897272.317163.350024507271

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. เพื่อพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมในระดับคณะวิชา เป็นกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 7 คน ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน บุคลากรในคณะวิชาที่รับผิดชอบองค์ประกอบ จำนวน 10 คน หน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ จำนวน 5 คน และผู้ประเมินภายใน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือ เครื่องบริการไอไอเอส ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล แล้วดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่บูรณาการกับการจัดการความรู้โดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ (SECI Model) คือ กระบวนการทางสังคม (Socialization) กระบวนการสัมพันธ์ภายนอก (Externalization) กระบวนการผสานองค์ความรู้ (Combination) และ กระบวนการส่งต่อเป็นความรู้ฝังลึก (Internalization) แล้วใช้แบบประเมินความพึอพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมต้นแบบ และภายหลังการใช้งานระบบโดยผู้ตรวจเยี่ยม งานที่พัฒนาขึ้นใช้กับการตรวจเยี่ยมระดับคณะวิชาตามร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2555 โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า ผลประเมินความพึงพอใจต่ออบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการตรวจเยี่ยมโดยรวมอยู่ระดับมาก (x = 3.94 , S.D. = 0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ระดับมาก (x = 3.65, S.D. = 0.64) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นตอบสนองความพึงพอใจของผู้ตรวจเยี่ยมได้