ประเภทการปิดชื่อผู้เขียนต่อผู้อ่านต้นฉบับ (manuscripts)

easychair.org
easychair.org
ในการประชุมวิชาการ มักรับบทความสำหรับนำเสนอด้วยวาจา
แล้วมีการรวบรวม คัดสรรโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอน
เมื่อนำมารวมเล่มและเผยแพร่ จะถูกเรียกว่า proceeding

โดยปกติแล้ว ต้นฉบับบทความ (manuscripts)
จะถูกส่งไปยังผู้อ่านหนึ่งคนหรือมากกว่าที่อยู่ภายนอก (peer reviewer)
เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขแก่ผู้เขียนได้ปรับปรุง
ให้มีความควบถ้วนสมบูรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกคัดออก ไม่สามารถนำเสนอในเวทีนั้นได้
การพิจารณาโดยผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการยอมรับมักมี 2 แบบ
คือ ปิดฝั่งผู้อ่าน ไม่ให้รู้ว่าอ่านของใคร (single blinded reviewer)
หรือ ปิดทั้งผู้อ่านและผู้ส่ง ต่างไม่รู้กันและกัน (double blinded reviewer)
โดยปกติ reviewer มักเป็น anonymous และ independent
ซึ่งกระบวนการที่ใช้มักเป็นความลับ หรือผ่านระบบจัดการแบบอัตโนมัติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้แสดงทัศนะโดยปราศจากอคติหรือลำเอียงต่อผู้นำเสนอ
ระบบในปัจจุบันที่งานประชุมวิชาการมักใช้บริการ เช่น easychair.org
easychair คือ  ระบบจัดการงานประชุมที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการใช้ และมีหลายคุณลักษณะได้ปรับแต่ง
ให้เหมาะสมกับรูปแบบการประชุมของแต่ละงานด้วยตนเอง
article guide
article guide

พบนักวิชาการเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ปาย

burin @cmu
burin @cmu

2 ก.พ.57 ได้รับโอกาสพบนักวิชาการ 3 ท่านคือ
ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย อ.รณวีร์ สุวรรณทะมาลี
และ รศ.ดร.ศักดิ์ดา  จงแก้ววัฒนา
ณ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แล้วได้พูดเรื่องการใช้งานวิจัยพัฒนาชุมชน
ประเด็นการท่องเที่ยว และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีพื้นที่คือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยการทำงานจะแบ่งเป็น 4 ช่วง
คือ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ และจัดกิจกรรม
ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นมีเส้นทางแบ่งได้เป็น ธรรมชาติ เกษตร และวัฒนธรรม

ระบบที่พัฒนาขึ้น ส่วนหนึ่งจะช่วยสนับสนุนนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจ
เลือกเส้นทางการท่องเที่ยวภายใต้ งบประมาณ เวลา และความสนใจ
ด้วยการนำเสนอเส้นทาง ข้อมูล และแผนการเดินทางผ่านเว็บไซต์

ซึ่งมี template ที่ผมเสนอระหว่างการพูดคุยเรื่อง proposal ตามภาพนี้

googlemap in talking
googlemap in talking

ร่างโครงการ ช่วงพัฒนาโจทย์

11 พ.ย.53 รายงาน ขอเล่าให้เพื่อนผู้อาสาร่วมทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นว่า .. ช่วงเช้าเข้าพบทีมวิจัยหลายท่านล้วนเป็นผู้มีความพร้อมหลายประการ บัดนี้ได้แล้ว 9 ขุนศึก ที่จะร่วมเป็นนักวิจัยในโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยเลือกพื้นที่เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา จากการหารือในช่วงพัฒนาโจทย์นี้ และได้คำตอบเพิ่มเติมหลายประเด็น เช่น หลักสูตร คณะ และชั้นปี ปรับรายละเอียดกิจกรรม และการใช้งบประมาณเพิ่มเติม ปรับคำถามการวิจัยใหม่โดย อ.เบญ ปรับเพิ่มกิจกรรมโดย อ.หนุ่ย ผู้เป็นขุนศึกษาคนสุดท้ายที่อาสาเข้ามาพัฒนาชุมชนโยนกคนสุดท้าย และ brief ให้ท่านอธิการฟังแล้ว .. บัดนี้ปรับรายละเอียดโครงการรอบ 2 ก่อน อ.ธวัชชัย จะนำไปปรับใหญ่ แล้วจะมีการนำเสนอในเวทีของ 9 ขุนศึกต่อไป เอกสารข้อเสนอโครงการยกร่างรุ่น 2 พร้อมชื่อ อีเมล และ fb ในทีม ที่ http://www.yonok.ac.th/doc/burin/proposal_class_process_v2_531111.doc