อบรมการเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ

หน้าปกเอกสารแจก
หน้าปกเอกสารแจก

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน

– เปิดงาน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
– หัวข้อเรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– หัวข้อเรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อดีตอาจารย์ National University of Singapore

อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม เข้ารับการอบรม
อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม เข้ารับการอบรม

พบ อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ศิษย์โยนก รุ่น 4 ถ่ายภาพร่วมกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม
แล้วก็ถ่ายภาพกับน้องแก้วตาและผม ญาติกันที่ลำปาง

อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
อ.แก้วตา
อ.แก้วตา

จำนวนตัวเหี้ยเพิ่มที่สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม เพราะที่นั่นไม่มีใครรับประทานเจ้าตัวนี้

เหี้ย มีชื่ออังกฤษว่า Water monitor ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus salvator http://www.arkive.org/asian-water-monitor-lizard/varanus-salvator/image-G57993.html
เหี้ย มีชื่ออังกฤษว่า Water monitor ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus salvator
http://www.arkive.org/asian-water-monitor-lizard/varanus-salvator/image-G57993.html

มนุษย์เราก็เลือกรับประทานนะ
หลัง ๆ มาเลือกทานสิ่งมีชีวิตไม่กี่ประเภท
ไม่เหมือนสมัยก่อน เจออะไรในป่าดิ้นได้ .. จับกินหมด
แต่ละภูมิภาคเค้าก็จะจับสัตว์กินไม่เหมือนกัน
ผมว่านะ แลน กับ เห้ หรือ เห้ย หรือตัวเงินตัวทอง นี่หน้าตาเหมื้อนเหมือนกันเลย
เหี้ย มีชื่ออังกฤษว่า Water monitor ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus salvator
ที่ประเทศอื่น เค้าก็กินกัน และนำหนังมาทำกระเป๋า รองเท้าเหมือนจระเข้
เกี่ยวกับเห้ เพราะศึกษากันมาหลายปีแล้วว่าจะนำมาทำอะไรได้บ้าง
เห้เหมือนเป็นลูกผสมของ งู จระเข้ และกิ้งก่า
แล้วเห้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย
ต้องขออนุญาตเพราะเลี้ยงจากกรมอุทยาน
จะจับมาเลี้ยงเอง จูงเดินไปเดินมา ไม่ได้นะครับ ผิดกฎหมาย
[ระหว่างสุนัขกับตัวเหี้ย] ตัวไหนกฎหมายคุ้มครองมากกว่ากัน
– เลี้ยงสุนัข ไม่ต้องไปขออนุญาตใคร เลี้ยงได้เลย
– เลี้ยงตัวเหี้ย ต้องไปขออนุญาตเลี้ยงจากกรมอุทยาน

ตัวเหี้ยสมุทรสาครสมบูรณ์หนักเพิ่มพรวดแซงกรุงเทพฯ ลามไปอยุธยาแล้ว
http://www.matichon.co.th/news/128489

ประโยชน์-โทษตัวเห้ ชื่อแย่แต่ราคาเยี่ยม! – 12 ก.ย.54
http://www.thairath.co.th/content/200891
เห้เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
ต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ให้จับตัวเงินตัวทองเพื่อนำย้ายถิ่นฐานได้
ไม่นานมานี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามเครียด สั่งจับเห้ในพื้นที่ 4 ตำบล
เจ้าหน้าที่ออกไปด้อม ๆ มอง ๆ แล้วกระชับพื้นที่ ได้มารวม 184 ตัว
ก่อนส่งไปอยู่ในถิ่นที่ใหม่ใกล้ ๆ กัน
คือ ที่ควบคุมสัตว์สงวน ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

เรื่องของเหี้ย และก๊วนเลื้อยคลาน (sat11) – 4 ก.ค.51
การนำมาเลี้ยงเห็นว่าไม่คุ้ม
เพราะกินจุ โตช้า และกัดกันเป็นแผล เสียราคา
http://www.oknation.net/blog/zoozoo/2008/07/04/entry-1

ว่อนเน็ต! เลี้ยงตัวเงินตัวทอง กรมอุทยานชี้ผิดกฎหมาย – 1 ก.ค.58
http://news.mthai.com/hot-news/social-news/446063.html

วิธีการนำแลนมารับประทาน – 15 พ.ย.54
http://board.postjung.com/676915.html
http://www.oknation.net/blog/nokkhao-toziro/2011/11/15/entry-1

บุกสำรวจ”ฟาร์มตัวเงินตัวทอง” แห่งแรกของประเทศไทย เปิดโฉม”สัตว์เศรษฐกิจ”โกอินเตอร์ส่งนอก – 23 ส.ค.54
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314013157

เลี้ยงตัวเงินตัวทองเป็นอาชีพ – 11 พ.ย.55
http://news.voicetv.co.th/thailand/55686.html

ฟาร์มตัวเหี้ย ตอน 1 : แปลกใหม่ใหญ่ดัง – 14 พ.ค.56


ฟาร์มเหี้ย เส้นทางเศรษฐี – 28 เม.ย.56


สุนัขสู้กับตัวเงินตัวทอง – 11 ต.ค.54


ตัวเหี้ยที่สมุทรสาคร – 7 พ.ค.59

แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพะเยา ของบ้านสันป่าส้าน ภูกามยาว, บ้านต๋อมดง, ต.ภูซาง, ต.แม่จั๊วะ ปง

แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น พะเยา
แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น พะเยา

19 ก.พ. 59 (6.30 – 20.00) ตามที่ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น
พัฒนางานวิจัยเรื่อง “แนวทางของการยกระดับองค์ความรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่การใช้ประโยชน์
และการขยายผลในพื้นที่รูปธรรมทางการศึกษา ในปี 2557-2560”
โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
1. เพื่อต่อยอดการพัฒนาโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่ที่สอดคล้อง
กับการจัดการศึกษาท้องถิ่นในกลุ่มภาคีเครือข่ายทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
สำหรับเป็นข้อมูลในการประมวลความรู้สู่แนวทางการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดและพะเยา
2. เพื่อติดตามโครงการวิจัยที่ดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เกิดงานวิจัย
ที่มีคุณภาพ สามารถและสร้างการเปลี่ยนแปลง ในเชิงโครงสร้างของหน่วยงานการศึกษา
องค์ความรู้ และการเปลี่ยนแปลงของนักวิจัย
3. สังเคราะห์วิธีวิทยาในการหนุนเสริมกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่การบูรณาการ
ให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของกลุ่มเครือข่าย กศน.พื้นที่จังหวัดลำปางและพะเยา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1212393238774805.1073741986.506818005999002

แล้วก็มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดพะเยาร่วมกับเพื่อน ๆ รวม 7 คน
คือ ปุ๋ย บัญชา โบว์ ผศ.ดร.อภิชาติ ชิดบุรี ผศ.สันติ ช่างเจรจา ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย และและผม
ไปกันที่ กศน.พะเยา
ช่วงเช้า นายปัณณพงศ์ ท้าวอาจ ผู้อำนวยการ สนง.กศน.จ.พะเยา
ทำหน้าที่เปิดกิจกรรม และถ่ายรูปร่วมกัน
ท่านเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนในการทำกลุ่มย่อยเป็นระยะ
และให้การสนับสนุนการทำงานเต็มที่
ทั้งยังเป็นโครงการที่รวมกันระหว่าง กศน. และสกว.
1. ก่อนการทำงานเราประชุม เรามีการทำ Bar : Before Action Review
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินงาน เพราะแต่ละท่านก็มาจากต่างสถาบัน
http://blog.lib.kmitl.ac.th/?p=918
2. การนำเสนอโดยนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นจาก 4 พื้นที่
ครั้งนี้เป็นการนำเสนอของนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นหน้าใหม่
สำหรับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยาจะแลกเปลี่ยนหลังนำเสนอ
และนักวิจัยทีม ม.ลำปาง จะแลกเปลี่ยนไม่มากนัก
เพราะต้องการให้ทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยาแสดงบทบาท
เราตกลงกันว่า ม.ลำปางจะทำหน้าที่เป็นเปลือกไข่
นักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยา ทำหน้าที่ กำกับติดตามสนับสนุนใกล้ชิดกับพื้นที่
นักวิจัย ม.ลำปาง กำกับติดตามอยู่ห่าง ๆ
กลุ่มเฟส https://www.facebook.com/groups/1536974936614424/1552067021771882/
3. แยกกลุ่มตามพื้นที่ เพื่อช่วยดูการเขียนร่างข้อเสนอโครงการ
เรียงดังนี้
3.1 การเงิน – บ้านสันป่าส้าน ภูกามยาว – บุรินทร์
3.2 สุขภาพ – บ้านต๋อมดง – อภิชาติ
3.3 สหพันธ์แม่ญิ๊งลาว – ต.ภูซาง – สันติ
3.4 น้ำ – ต.แม่จั๊วะ ปง – สาวิตร
4. แต่ละโครงการ ออกมาสรุปว่าไปคุยกัน 2 ชั่วโมง ได้ผลเป็นอย่างไร
การปรับก็มีข้อเสนอในหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ
เช่น ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด รายละเอียดกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน การเชื่อมโยงเครือข่าย
ที่สำคัญคือทำให้ทีมวิจัยในพื้นที่ได้ร่วมกันคิด
ร่วมกันทบทวนกิจกรรมของโครงการโดยละเอียดอีกครั้ง
5. มีการทำ AAR : After Action Review นำโดย ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย
โดยเปิดให้ทุกคนสะท้อนคิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ จากการทำงาน
และพูดคุยแลกเปลี่ยน และวางแผนสำหรับการทำงานช่วงต่อไป
ต่อไปจะเข้าไปพิจารณาข้อเสนออีกครั้งในวันที่ 29 ก.พ.2559

ก่อนไปทำงาน ลงพื้นที่ คุณภัทรา มาน้อย
แขวนเอกสารเรื่อง “การฝึกทดลองการคิดอย่างเป็นระบบในชีวิตประจำวัน
เรียบเรียงโดย มกราพันธุ์ จูฑะรสก เมื่อวันที่ 18 ก.พ.59 ในกลุ่มเฟส

โครงการที่เข้านำเสนอครั้งแรกในกลไก ประกอบด้วย 4 โครงการ
1. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสะใภ้ลาว
หมู่ที่ 3,4,12 ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ให้มีการดำเนินชีวิตอย่างมีเกียรติและเป็นที่รอมรับของชุมชน

โดย นายวสันต์ สุธรรมมา และนางสาวจิราพร  สุริวงศา

2. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้ทั่วถึงและเพียงพอ
ของชุมชนบ้านจั๊วะ หมู่ 10 ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา

โดย นางสาวลีลาวดี สีหบัณฑ์ และนายกิตติธัช สวนดอก

3. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการจัดการการเงินในระดับครัวเรือน
บ้านสันป่าส้าน หมู่ 12 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โดย นางวารณี วิชัยศิริ และนายประเสริฐ รูปศรี

4. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
บ้านต๋อมดง หมู่ 6 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

โดย นายแดนชัย ชอบจิตร และนายพรเกษตร วงศ์ปัญญา

ผลโพลล์สวนทางกับผลเลือกตั้งได้เหมือนกัน

vote
vote
ปัญหาของ Poll หรือ Exit poll คือ คนตอบโพลล์ตอบไม่ตรงกับที่ตัวเองกากบาท
หรืออีก 7 เหตุผลที่ทำให้ผลโพลล์เพี้ยน
Exit poll เลือกตั้งในกรุงเทพฯ ไม่ตรงกับผลเลือกตั้ง ดังนี้
1. เลือกตั้งส.ส. 2554 ในกรุงเทพฯ
พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.จำนวน 23 ราย
พรรคเพื่อไทย จำนวน 10 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง
ผลโพลล์ครั้งแรก พรรคเพื่อไทยนำ 19 เขต  พรรคประชาธิปัตย์มีนำ 5 เขต
ผลโพลล์ครั้งที่สอง พรรคเพื่อไทยนำ 18  เขต  พรรคประชาธิปัตย์นำ 6 เขต
2. เลือกตั้งผู้ว่ากทม. 2556
ผลสำรวจออกมาว่า พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ จาก พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ
แต่ผลการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จาก พรรคประชาธิปัตย์ ชนะ
ด้วย 47.75% ต่อ 40.97%
สำนักโพลล์ = สถาบันสำรวจความคิดเห็น
เอ็กซิท โพล (Exit Poll) คือ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนน
หลังจากที่ออกจากคูหามาแล้ว โดยผู้สำรวจจะไปสอบถามหลังจากลงคะแนนเสียงว่าเลือกใคร
ซึ่งบางครั้งมีทั้งผู้ที่ตอบออกมาแบบตรง ๆ  หรือบางครั้งอาจไม่ตอบเนื่องจากเป็นสิทธิแต่ละบุคคล หรือบางคนอาจจะตอบตรงกันข้าม
ในส่วนขั้นตอนการดำเนินงานและวางแผน เอ็กซิท โพลนั้น
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล ระบุว่า การวางแผนต้องรอบคอบ
โดยคำถามที่จะถามผู้ที่ลงคะแนนเสียงจากคูหาจะมีเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่ถามว่า  “เลือกใคร”
จากนั้นผู้สำรวจจะต้องส่งข้อมูลกลับมาโดยรวดเร็ว ซึ่งสวนดุสิตโพลจะใช้ในระบบออนไลน์
ทั้งโทรศัพท์ ทั้งในส่วนที่เป็นศูนย์การศึกษาที่มีอยู่ทั้งประเทศ
ที่ส่งในลักษณะที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เข้ามา
เอ็กซิทโพลล์” จึงนับได้ว่า เป็นการสะท้อนผลสำรวจความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการอย่างรวดเร็วที่สุด
และยังต้องคลาดเคลื่อนกับผลคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการให้น้อยที่สุดด้วย
ถ้าสำนักโพลแห่งใดนำเสนอผลสำรวจเอ็กซิท โพลได้แม่นยำที่สุด
ความน่าเชื่อถือของสาธารณชนที่มีให้ต่อสำนักโพลแห่งนั้นย่อมมีมาก
ดังนั้น การแข่งขันนำเสนอผลสำรวจจะดุเดือดอีกครั้งในการเลือกตั้งปลายปีนี้ด้วย
โพลล์ (Poll) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Information) จากประชาชน
และโพลล์กับงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) คือ สิ่งเดียวกัน
เพียงแต่ว่า โพลล์ถูกใช้โดยองค์กรสื่อมวลชน แต่งานวิจัยเชิงสำรวจถูกทำขึ้นโดยนักวิจัยของสถาบันการศึกษา
และนี่เองที่เอแบคโพลล์ได้ใช้คำว่า “งานวิจัยเชิงสำรวจ” ในการทำโพลล์มาโดยตลอด

สมการหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเกิดขึ้น

framework
framework

การจัดการองค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องประยุกต์ใช้สารสนเทศ แต่สารสนเทศที่ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แล้วมีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุน กำกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพตอบเป้าหมายขององค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับการจัดการ ระดับบริหาร และระดับนโยบาย

ดังนั้นกรอบแนวคิดของการได้สารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทุกระดับ คือ การมีเว็บไซต์ที่ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ (Website) การใช้กระบวนการจัดการกำกับให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (POSDC) การพัฒนาระบบเป็นวงจร (ADDIE) การจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (KM) และประเด็นสารสนเทศที่พัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูลเนื้อหาของหน่วยงานที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ (Content Management) ระบบรายงานผลการเรียนให้นิสิตได้ทราบระดับความสามารถของตนเองเพื่อการพัฒนาต่อไป (Online Grade Report) ระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลย้อนกลับจากนิสิตมาปรับปรุงงานของตน (Teaching Evaluation)

โดยสารสนเทศที่ได้มาจากระบบจะกลับเข้าสู่ระบบบริหารจัดการองค์กร เข้าสู่ระบบในระดับนโยบายเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ ตามเป้าหมายของสถาบัน และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เกิดการบูรณาการ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไป

นิยามศัพท์

W (Website) คือ แหล่งสารสนเทศให้บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจเข้าถึงได้

POSDC คือ กระบวนการจัดการ ของ แฮร์โรลด์ คูนตซ์

ADDIE คือ โมเดลการพัฒนาระบบ

KM คือ การจัดการความรู้ เสนอโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

C (Content Management) คือ ระบบจัดการเนื้อหาที่ดูแลโดยหน่วยงานต่าง ๆ

G (Online Grade Report) คือ ระบบรายงานผลการเรียนสำหรับนักศึกษา

E (Teaching Evaluation) คือ ระบบประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ และสิ่งสนับสนุน

I (Information) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้บริหาร

ร่วมประชุม NCCIT 2015 มีประเด็นมากมายที่น่าสนใจ

NCCIT 2015
NCCIT 2015

2-3 กรกฎาคม 2558 มีโอกาสไปฟังการนำเสนอผลงานบทความจากการวิจัย
ของอาจารย์ และนักศึกษา ในการประชุมวิชาการระดับชาติ NCCIT 2015
ประธานจัดงานคือ Assoc.Prof.Dr.Phayung Meesad
http://www.nccit.net

มี key note 2 ท่าน
1. Prof.Dr.Nicolai Petkov
Brain-inspired pattern recognition
2. Assoc.Prof.Dr.Andrew Woodward
An uncomfortable change: shifting perceptions to establish pragmatic cyber security

ประเด็นห้องที่ผมสนใจ คือ
Information Technology and Computer Education
วันที่ 2 กรกฎาคม 2558
1. ศึกษาการยอมรับการใช้แอพพลิเคชันบนมือถือ
A Study The Acceptance of Mobile Application
Passana Ekudompong and Sirirak Khanthanurak

2. การพัฒนาระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้
Development of the System for Electronic Media Classification by
Using the Dewey Decimal Classification System
Worapapha Arreerard,Laongthip Maturos, Monchai Tiantong and
Dusanee Supawantanakul

3. การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการปั่นจักรยานท่องเที่ยว
บนระบบปฏิบัติการ iOS กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
Application Development on iOS for Cycling to Travel A case
study: Phuket Tourism
Amonrat Prasitsupparote, Phuriphong Phumirawi, Apichaya
Khwankaew and Kantida Nanon

4. โปรแกรมต้นแบบระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ภายใต้การตัดสินใจการจัดสรรน้ำ
อย่างเหมาะสมในเขตพื้นที่ชลประทานฝายไม้เสียบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
A Prototype of Geographic Information System based on
Appropriate Irrigation Decisions in Maiseab Weir, Nakhon Si
Thammarat Province
Sarintorn Wongyoksuriya, Onjira Sitthisak and Anisara Pensuk Tibkaew

5. การพัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร
โดยใช้ตัวแบบทูน่า กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น
A Development of Information System Integration by TUNA
Model Using : A Case Study of Nation University
Burin Rujjanapan

6. การพัฒนาชุดฝึกอบรมการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
ด้วยภาษาซี สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
Development of the Training Packages the Robot Control
Programming with C for Students of Technical Teacher Training
Program
Kitti Surpare and Patpong Armornwong

7. การสร้างกรณีทดสอบจากแบบจำลองกระบวนการธุรกิจอิงเหตุการณ์ขับเคลื่อน
Test Cases Generation from Business Process Model Based on
Event Driven
Sarawut Waleetorncheepsawasd and Taratip Suwannasart

8. การทำเจซันแคชด้วยโนเอสคิวแอล
JSON Cache with NoSQL
Aiyapan Eagobon and Nuengwong Tuaycharoen 247

9. ระบบสารสนเทศบนเว็บสำหรับการรายงานสินบนตำรวจจราจร
ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iOS ด้วย Tor
A Web-based Information System for Reporting Traffic Police
Bribe via iOS Smartphones with Tor
Sitichai Chumjai and Nuengwong Tuaycharoen

10. การค้นคืนเอกสารข้อความภาษาไทยด้วยเสียงพูด
Speech-based Thai Text Retrieval
Paphonput Sopon, Jantima Polpinij and Thongparn Suksamer

วันที่ 3 กรกฎาคม 2558
11. การพัฒนาแบบจำลองพื้นผิวทะเล เพื่อสนับสนุนการคัดเลือกเรือขนส่งถ่านหิน รฟ.กระบี่
Sea Floor Model Visualization for Barge Selection, Krabi Power
plant
Nuttanan Pipitpattanaprap and Sakchai Tangwannawit

12. แนวทางการออกแบบกรณีทดสอบ และซีนนาริโอด้วยวิธีวิเคราะห์เมทริกซ์
The guidelines for Test Cases and Scenarios by Analysis Matrix
Taksaporn Phanjhan and Sakchai Tangwannawit 636

13. ขั้นตอนวิธีสำหรับพัฒนาแบบฝึกหัดการเขียนอักษรไทยที่ใช้งานบนแท็บเล็ตพีซี
An Algorithm for Handwriting Exercise in Thai Alphabet on the
Use of Tablet PC
Dechawut Wanichsan, Taweesak Rattanakom, Nitat Ninchawee and
Phannika Kongjuk

14. การวิเคราะห์โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเข้าสู่บ้าน
โดยอิงมาตรฐานไอทียูร่วมกับการวางข่ายสายตอนนอก
Analysis of Fiber to the Home Network Based on ITU Standards
with Outside Plant
Tanaporn Jesadamethakajorn and Pudsadee Boonrawd

15. ขั้นตอนวิธีการแปลงแผนภาพบีพีเอ็มเอ็นเป็นแผนภาพลำดับ
ด้วยเมต้าดาต้าโมเดลและกฎการแปลงแผนภาพ
Transformation Algorithm from BPMN Diagram to Sequence
Diagram by Metadata Model and Rule-Based
Shavan Tansap and Pudsadee Boonrawd

16. ระบบติดตามเวลาการเดินขบวนรถไฟแบบเรียลไทม์
ด้วย GPS บนมือถือ กรณีศึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย
Time Train Tracking System Automatic and Real-Time of GPS
Based on Mobile Case Study for State Railway of Thailand
Phongphodsawat Sangthong and Pongpisit Wuttidittachotti

17. การนำแนวทางการบริการเบ็ดเสร็จมาบริหารจัดการแบบสอบถามออนไลน์
Adopting a TurnKey Solution Model to Manage Survey System
Online
Surakiat Rattanarod and Nattavee Utakrit

18. ระบบจัดการครุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดบนแอนดรอยด์โฟน
Durable Articles Management System on Android Phone by Using
QR code Technology
Jutarat Thochai and Nattavee Utakrit

19. การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
เพื่อบริหารงานซ่อมบำรุงอาคารของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
Building Prevention Maintenance System
Korapat Siriwan and Nattavee Utakrit 680

20. การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้พันธุ์ข้าวในประเทศไทย
Development a Rice Knowledge Management System In Thailand
Thiptep Manpholsri and Montean Rattanasiriwongwut 685

21. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามยอดเงินค้างชำระ
โดยใช้วิธีการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
Management Information System for Monitoring the Accrued
Income by Customer Relationship Management Technique
Ratchada Khantong, Montean Rattanasiriwongwut and Maleerat
Sodanil

22. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่ออีดีแอลทีวี
The Development of the Model of Cooperative Learning Activities of
Flipped Classroom by using eDLTV Media
Sommai Kaewkanha, Worapapha Arreerard and Tharach Arreerard

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

ประเภทการปิดชื่อผู้เขียนต่อผู้อ่านต้นฉบับ (manuscripts)

easychair.org
easychair.org
ในการประชุมวิชาการ มักรับบทความสำหรับนำเสนอด้วยวาจา
แล้วมีการรวบรวม คัดสรรโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอน
เมื่อนำมารวมเล่มและเผยแพร่ จะถูกเรียกว่า proceeding

โดยปกติแล้ว ต้นฉบับบทความ (manuscripts)
จะถูกส่งไปยังผู้อ่านหนึ่งคนหรือมากกว่าที่อยู่ภายนอก (peer reviewer)
เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขแก่ผู้เขียนได้ปรับปรุง
ให้มีความควบถ้วนสมบูรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกคัดออก ไม่สามารถนำเสนอในเวทีนั้นได้
การพิจารณาโดยผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการยอมรับมักมี 2 แบบ
คือ ปิดฝั่งผู้อ่าน ไม่ให้รู้ว่าอ่านของใคร (single blinded reviewer)
หรือ ปิดทั้งผู้อ่านและผู้ส่ง ต่างไม่รู้กันและกัน (double blinded reviewer)
โดยปกติ reviewer มักเป็น anonymous และ independent
ซึ่งกระบวนการที่ใช้มักเป็นความลับ หรือผ่านระบบจัดการแบบอัตโนมัติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้แสดงทัศนะโดยปราศจากอคติหรือลำเอียงต่อผู้นำเสนอ
ระบบในปัจจุบันที่งานประชุมวิชาการมักใช้บริการ เช่น easychair.org
easychair คือ  ระบบจัดการงานประชุมที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการใช้ และมีหลายคุณลักษณะได้ปรับแต่ง
ให้เหมาะสมกับรูปแบบการประชุมของแต่ละงานด้วยตนเอง
article guide
article guide

งานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา แล้วบันทึกไว้ เชื่อมโยงผ่าน goo.gl

goo.gl
goo.gl
1. จันทรจิรา เมธาจิโนทัย. (2549). เจตคติและความสนใจของนักเรียนระดับชวงชั้นที่ 2 ที่มีตอการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
2. จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543). ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
3. ชุติมา เมฆวัน. (2555). การวิจัยในชั้นเรียน. ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
4. ทอม มาร์คาม. (2554). พีบีแอล (PBL = Project-Based Learning). ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
5. บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2557). ศึกษาความพึงพอใจต่อการมอบหมายงานจัดทำคลิ๊ปวีดีโอแนวสร้างแรงบันดาลใจ
ในวิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน. 1-6. การประชุมวิชาการ อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ ประจำปีการศึกษา 2556.
6. ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
7. มัณฑรา  ธรรมบุศย์. (2552). ลีลาการเรียนรู้ (Learning style). ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
8. วินทฎา วิเศษศิริกุล. (2546). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอรธุรกิจวิทยาลัยเทคนิคนครนายก โดยการจับคูดูแลกัน. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
9. สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2553). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วารสาร BU Academic Review. ปีที่ 9 ฉบับพิเศษ 1 พฤษภาคม 2553. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
10. สันติ วิจักขณาลัญฉ์ รศ.ดร.สุลัดดา ลอยฟ้า ผศ.ดร.ทัศนี บุญเติม และรศ.ยืน ภู่วรวรรณ (2544)การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละปี

learning exchange
learning exchange

ในองค์กรต่าง ๆ มีกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ แผนพัฒนา แผนกิจกรรม แผนวิจัย
และที่ไม่อยู่ในแผนเกิดขึ้นมากมาย

การจดจำเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก จึงต้องประเมินว่า
จะเก็บสิ่งใดไว้ ที่คิดว่ามีคุณค่าพอแก่การจดจำ และบันทึกเก็บไว้
คุณค่าของการจดจำคือการแบ่งปัน และเขียนรายงานปิดรอบ

รายงานที่ต้องเขียนก็มีมากมาย
ทั้งรายงานแผนยุทธศาสตร์ รายงานแผนปฏิบัติการ รายงานแผนพัฒนา
รายงานวิจัย รายงานกิจกรรม รายงานการฝึกอบรม เป็นต้น
หากบันทึกไว้ละเอียดมากพอ ก็สามารถหยิบฉวยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบปี
มาจัดทำรายงานได้โดยง่าย

การเก็บภาพไว้ ช่วยให้ระลึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ และนำไปสู่การทบทวน
และนำผลมาเปรียบเทียบเพื่อดำเนินการรอบใหม่ต่อไป และต่อไปได้

คำว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange) เป็นสิ่งที่ดี
แต่การปฏิบัติร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานในองค์กรขนาดใหญ่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเเลย
เพราะถ้าง่ายคงไม่เกิดเหตุการณ์ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
หรือระบบการศึกษาของไทยรั้งท้ายอาเซียน

แบ่งปันเรื่องนี้เพิ่มเติมที่ https://www.gotoknow.org/posts/578913

งานดุษฎีนิพนธ์ การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

phd research
phd research

งานดุษฎีนิพนธ์ของคณะศึกษาศาสตร์ ของ สันติ วิจักขณาลัญฉ์ (2544) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนการสอนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ที่เรียนรายวิชา 214250 การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ที่เรียนรายวิชา 472333 ไฟฟ้าบำบัด 2 จำนวน 68 และ 48 คน ตามลำดับ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การศึกษาบริบทและสังเคราะห์ระบบ พัฒนาประสิทธิภาพของระบบโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และประเมินประสิทธิภาพของระบบตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ผลการศึกษาพบว่าระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบคือ ผู้เรียน ผู้สอน วัตถุประสงค์รายวิชา แหล่งการเรียนรู้ และวิธีการวัดประเมินผล โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการเรียนแบบประสานเวลา ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดจุดประสงค์การเรียน เตรียมบุคลากรและแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จัดเครือข่ายการเรียนรู้ และประเมินการเรียนการสอน (2) รูปแบบการเรียนแบบไม่ประสานเวลา เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนทำโครงงานตามความสนใจที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระในบทเรียน และจากการศึกษาผลการใช้ระบบพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง 2 รายวิชาสูงขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด และความสามารถขั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียนทั้ง 2 รายวิชา มีระดับควงามสามารถเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ถึงดี
อ้างอิงจาก
สันติ วิจักขณาลัญฉ์ รศ.ดร.สุลัดดา ลอยฟ้า ผศ.ดร.ทัศนี บุญเติม และรศ.ยืน ภู่วรวรรณ (2544), การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา, ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557, แหล่งที่มา
https://docs.google.com/file/d/0B_dx3cf4F2pkVGZBRzV5SFNRS2s
http://ednet.kku.ac.th/~eddci/department/index.php?option=com_content&view=article&id=71:thesis45&catid=44:2009-11-25-15-12-32

รูปแบบจำลองระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
รูปแบบจำลองระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

รวมงานวิจัยในชั้นเรียน ที่สมบูรณ์มีถึง 199 รายการ
https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkTmpyak5Pb3FpMzA