งานประชุมวิชาการระดับชาติที่กรุงเทพ (itinlife396)

I was interested in the ontology topic.
I was interested in the ontology topic.

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271

ในประเทศไทยมีการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จัดโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับจังหวัดลำปางมีการรวมตัวกันของสถาบันทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดเวทีให้นักวิชาการ และนักศึกษาได้นำผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมานำเสนอในเวทีที่มีผู้สนใจในเรื่องคล้ายกัน  เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน แต่เวทีแบบนี้มักเกิดที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 – 10 พ.ค.2556 ผู้เขียนได้ร่วมงานการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานจัดงานครั้งนี้

มีบทความเข้ารับการพิจารณาจำนวน 265 ผลงานที่มาจาก 40 สถาบัน ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หากได้รับการตอบรับอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่านก็ถือว่าผ่านและเข้านำเสนอปากเปล่าในเวทีได้ ซึ่งปี 2556 มีบทความผ่านการพิจารณาทั้งสิ้น 161 ผลงาน จะบรรจุในเอกสารรวมเล่มรายงานผลวิจัยงานประชุมวิชาการ Proceedings of NCCIT 2013 บทความเหล่านี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เพราะผ่านการวางแผน ทบทวน  ทดสอบ และสรุปผล รวมทั้งมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด

การนำเสนอผลงานแบ่งออกเป็นห้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมฟังจะมีค่าลงทะเบียน 2000 บาท ส่วนผู้นำเสนอมีค่าลงทะเบียน 4000 บาท แต่ผู้เข้าฟังไม่สามารถฟังทุกเรื่อง เพราะแบ่งห้องนำเสนอเป็นหลายห้องและทุกห้องนำเสนอพร้อมกัน จึงต้องเลือกหัวข้อในแต่ละห้องตามตารางนำเสนอ ซึ่งแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing และ Information Technology and Computer Education ในปีนี้ผู้เขียนสนใจเรื่อง Ontology และ Semantic keyword ทำให้ได้เทคนิคในการพัฒนาระบบสืบค้นโดยใช้คำค้นที่ผ่านการทำออนโทโลยี ส่วนจะนำไปใช้กับข้อมูลระบบใดก็คงต้องเป็นคำถามใหม่ที่ต้องขบคิดกันต่อไป

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

https://www.easychair.org/account/signin.cgi?conf=nccit2013

รายงานการวิจัย 5 บท

Peer review for quite improvement
Peer review for quite improvement

http://myathleticlife.com/components-of-a-research-report/

มีผู้รู้ 2 ท่าน คือ อ.ทันฉลอง ที่สอนด้วย case study และ อ.อุดม สอนด้วย movie แบบมืออาชีพ .. ทำให้ผมคิดได้ว่าฐานข้อมูล /handbill ที่ผมเคยทำไว้หลายปีก่อน น่าจะ upgrade ในรูปของการวิเคราะห์จากฝั่งผู้ชมอย่างผมบ้าง  โดยใช้หัวข้อการเขียนรายงานการวิจัย 5 บทมาเป็นฐาน เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องมี 5 ประเด็นให้ชวนคิด คือ 1) ที่มา 2) ทฤษฎีรองรับ 3) วิธีเดินเรื่อง 4) ผลจากการรับสาร 5) อภิปรายผลโดยผู้รับสื่อ มีภาพยนตร์มากมาย ที่สามารถคิดตาม 5 ประเด็นข้างต้น อาทิ davinci code และ matrix และ avatar และ source code .. ตอนนี้เป็นแค่แนวคิด ยังไม่ได้วางโครงสร้างข้อมูลเลยครับ
http://www.thaiall.com/handbill/

องค์ประกอบของรายงานการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ (Introduction)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Background)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (Results)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusions and Recommendations)
http://www.scribd.com/doc/24495903/Elements-of-a-Research-Proposal-and-Report

Research report components
1. abstract
2. introduction
3. methodology
4. results
5. discussion
6. references
http://myathleticlife.com/components-of-a-research-report/

Five Chapter Thesis
CH I – Examines the elements found in the Introductory Chapter of a thesis.
CH II – Overviews the Literature Review.
CH III – Insight into the complex world of reseach methodology.
CH IV – Provides the elements necessary to present a complete Findings or Results section.
CH V – Conclusions and Recommendations section is outlined.
http://www.papermasters.com/five_chapter_thesis.html

Basic  Structure
* Title – Author(s)
* Abstract
* Table of Contents
* Introduction
* Equipment and Methodology
* Results AND Discussion
* Conclusions
* References and Citations
* Appendices
http://www.experiment-resources.com/research-paper-outline.html

Web guides
http://www.aresearchguide.com
http://www.ruf.rice.edu/~bioslabs/tools/report/reportform.html

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์

research
research

http://www.riclib.nrct.go.th/database/database.html

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นายศุภชัย ธรรมวงศ์  (2551) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์สำนักงานฯ ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยใช้ภาษาพีเอชพี และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล
เว็บไซต์แบ่งได้ 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนของเจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไป และส่วนระบบบริหารจัดการข้อมูล เป็นส่วนของผู้ดูแลระบบและผู้รับผิดชอบจากแต่ละหน่วยงาน ให้บริการข้อมูลได้แก่ ข้อมูลวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การจองการใช้งานห้องประชุม รถยนต์ เครื่องโปรเจคเตอร์ การจัดการข้อมูลประชากร สถานการณ์โรคเอดส์ การจัดอันดับสถานการณ์โรคติดต่อต่าง ๆ การจัดการข้อมูลบุคลากร การจัดการไฟล์ดาวน์โหลด การจัดการอัลบั้มภาพ การจัดการข่าวกิจกรรม ข่าวประกวดราคา ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามพบว่า 1) กลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความพึงพอในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.35) 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูล มีความพึงพอใจในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.25) และ 3) กลุ่มเจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่วไป มีความพึงพอใจระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.75) สรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ที่มา http://ss.lib.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=18408 (7 พ.ค.55)

นางสาวมานีสงค์ ปฐมวิริยะวงศ์ (2550) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ เหตุผลที่ใช้เว็บไซต์ ลักษณะของการใช้ประโยชน์ และระดับความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษา ใช้วิธีการสำรวม สุ่มตัวอย่างนักศึกษาจำนวน 400 คน พบว่า พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบันมีความถี่ 1 – 3 ครั้งต่อเดือน แต่ละครั้งใช้เวลา 15 – 29 นาที ส่วนใหญ่เข้าเว็บไซต์เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสาร และเพื่อติดต่อสื่อสารกับสถาบันในระบบของการลงทะเบียน การตรวจสอบผลการศึกษา และการสืบค้นข้อมูลประกอบการศึกษา วิจัย และรายงาน
ผลเปรียบเทียบด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่าไม่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบัน แต่นักศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโมเด็มของตนเองจะมีพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์แตกต่างกับนักศึกษาที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประเด็นความต้องการของนักศึกษา มากที่สุด คือ ต้องการให้เว็บไซต์ของสถาบันปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ รองลงมาคือควรปรับปรุงการออกแบบตกแต่งเว็บไซต์ และจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเพื่อสืบค้นได้ง่าย มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มความสามารถของเครื่องบริการ เพื่อการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้บิรหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ
ที่มา http://www.riclib.nrct.go.th/abs/2550%5Cab177813.pdf (7 พ.ค.55)
ที่มา http://rir.nrct.go.th/rir/?page=researching&nid=26608 (12 ต.ค.58)

อินเทอร์เน็ตสอง (itinlife331)

internet2
อินเทอร์เน็ต 2

25 ก.พ.55 มีโอกาสเห็นข้อสอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) กับ อินเทอร์เน็ตสอง (Internet2) ต่างกันอย่างไร ซึ่งมีคำถามตามมาว่าจะมีนักเรียนระดับมัธยมกี่คนที่สนใจ หรือทราบว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกของเรา แต่ถ้าไม่สนใจก็คงไม่ได้ เพราะปรากฎในข้อสอบวัดความรู้แล้ว ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตสองนั้นเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาจำนวน 35 แห่ง เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตใหม่ในเดือนตุลาคม 2539 มีการรวมตัว จัดประชุม กำหนดมาตรฐาน และตั้งชื่อจนเป็นที่ยอมรับว่า Internet2 ปัจจุบันมีข้อมูลเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.internet2.edu และมีสมาชิกจากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเป็นมากกว่า 200 แห่งแล้ว

วัตถุประสงค์ของอินเทอร์เน็ตสอง คือ การวางโครงสร้างเครือข่ายประสิทธิภาพสูงทดแทนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเดิมที่มีข้อจำกัดหลายด้าน มุ่งให้บริการ สนับสนุนด้านการศึกษา วิจัย และทดสอบเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้งานจริงในอนาคต ปัจจุบันเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตสองที่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันใช้ความเร็วสูง 2.5 จิกะบิตต่อวินาที หากเปรียบเทียบกับเครือข่ายหลัก (Backbone) ของสหรัฐอเมริกาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีความเร็วประมาณ 45 เมกะบิทต่อวินาที แต่โครงการนี้ยังไม่มีแผนเปิดให้ผู้ใช้ตามบ้านได้ใช้งานในอนาคตอันใกล้

ข่าวเดือนกรกฎาคม 2554 พบว่า Berkeley Lab’s Energy Sciences Network (ESnet) และ Internet2 มีข้อตกลงร่วมกันพัฒนาโปรโตคอลเครือข่าย ANI (Advanced Networking Initiative) ให้มีความเร็วถึง 100 จิกะบิทต่อวินาที เมื่อนึกถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ตตามบ้านในไทย เรามี High speed internet หรือ ADSL ที่เร็วสูงสุดถึง 100 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนบริการ 3G ก็มักมีในเขตเมืองหลวงที่บริการด้วยความเร็วสูงสุด 4 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนเครื่องโทรศัพท์ก็ต้องหารุ่นใหม่ที่รองรับเครือข่าย UMTS หรือ W-CDMA มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล HSDPA หรือ HSUPA ถ้าสังเกตจะพบว่าความเร็วในจินตนาการของอินเทอร์เน็ตสอง กับความเร็วที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ห่างกันเหลือเกิน เราในฐานะผู้ใช้ตามบ้านคงต้องเฝ้ารอดูการพัฒนากันต่อไป ถ้าผู้ผลิตพร้อมเมื่อใดเราก็คงจะได้ใช้เมื่อนั้น

https://lists.internet2.edu/sympa/arc/i2-news/2011-07/msg00003.html

http://www.arip.co.th/news.php?id=406864

นักฟิสิกส์อาจจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ใช้ความสามารถของเครือข่ายนี้ เมื่อมีการเปิดใช้งาน Large Hadron Collider แห่งองค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปที่มีแผนเปิดเดือนพฤษภาคมปีหน้า ซึ่งจะทำให้มีนักฟิสิกส์นับพันๆ คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ออกมาจาก LHC

http://kitty.in.th/index.php/articles/internet2-the-next-generation-internet/

ชื่องานวิจัยที่น่าสนใจ

รายชื่องานวิจัยเกี่ยวกับการขาย และการทำธุรกิจออนไลน์ที่น่าสนใจ

  1. การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร
    โดย นเรศ บัวลวย และ ศุภกาญจน์ จำเริญรักษ์
  2. การใช้ซอฟต์แวร์ทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา โดย นุชษรา พึ่งวิริยะ
  3. สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ ของจังหวัดสงขลา โดย ชัยรัตน์ จุลปาโล
  4. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพาราในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย วีระวรรณ ศิริพงษ์
  5. การศึกษาเปรียบเทียบซอฟต์แวร์สาธารณะบนอินเทอร์เน็ตในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับ จังหวัดสงขลา โดย ชาญยุทธ กาญจนวงษ์
  6. การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ของนักเรียนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ โดย ดวงฤดี ปลอดภัย และคณะ
  7. พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า iPod ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดย พากภูมิ พร้อมไวพล 
  8. ความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายที่มีต่อคุณภาพสินค้าและการบริการของ บริษัท เทคนิโก้ เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย อิสรีย์ นลินธรรมรัชต์ 
  9. การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โดย จิรพงษ์ เธียรธิติ
  10. การศึกษาโครงสร้างและการดำเนินการในระบบขายตรงหลายชั้น กรณี : บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย สมคิด ภิรมย์
  11. ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานระดับผู้จัดการเขตของบริษัทขายตรงชั้นเดียวโดย สุพัชญกรณ์ พรพัฒน์กุล
  12. ความสัมพันธ์ระหว่างสถานส่วนตัว ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเผชิญปัญหากับผลการปฏิบัติงานของพนักงานขายตรง โดย ปวีณา ปักษา
  13. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางระบบขายตรงของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร โดย สุกัญญา ปรมาธิกุล
  14. ปัจจัยแรงจูงใจและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจการตลาดแบบเครือข่าย กรณีศึกษา: บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย จิราวรรณ ห่วงกระโทก
  15. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการขายตรง : ศึกษากรณีการขายยาแผนโบราณ โดย ไพฑูรย์ นิภานันท์
  16. อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของการตลาดขายตรงผ่านสื่อโทรทัศน์ต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดย ธนันพร เหล่าทรงฤทธิ์

แหล่งสืบค้นงานวิจัย

  1. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital “วช.” – https://dric.nrct.go.th/Index
  2. คลังข้อมูลงานวิจัยไทย – https://tnrr.nriis.go.th/#/
  3. ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย – https://www.tci-thaijo.org/
  4. ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม – https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
  5. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย – http://www.thaithesis.org/search.php
  6. ประตูสู่งานวิจัย ค้นหาข้อมูลทั้งหมดได้จากจุดเดียว – http://researchgateway.in.th/
  7. ฐานข้อมูลงานวิจัย สกว. – https://elibrary.trf.or.th/
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์

factor computer subject
factor computer subject

ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของอดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล ในส่วนของความสัมพันธ์ของเจตคติที่มีต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีตัวแปรดังนี้ ความสนใจในวิชาชีพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทักษะพื้นฐาน ความรับผิดชอบ การปรับตัวของนักเรียนกับเพื่อน การปรับตัวของนักเรียนกับครู (Full Article)
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_computer.pdf

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ต

factor behavior internet
factor behavior internet

พบโครงร่างวิทยานิพนท์ เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกับพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัย นายเทพศิรินทร์ วุฒิยางกูร ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2550 มีปัจจัยที่น่าสนใจที่หลายปัจจัย อาทิ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกสถานที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุผลในการใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของการเลือกวันที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยการเลือกช่วงเวลาที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของลักษณะการใช้อินเตอร์เน็ตตามลำพังหรือร่วมกับผู้อื่น
ปัจจัยของลักษณะการเลือกใช้บริการของอินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของวัตถุประสงค์ในการใช้อินเตอร์เน็ต
การเข้าเลือกใช้ภาษา
การปฏิบัติหลังการใช้อินเตอร์เน็ต
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_behavior_internet.doc

ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

it efficiently research
it efficiently research

พบเอกสารการทบทวนวรรณกรรม โครงการวิจัย “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เขียนได้ดีมีประโยชน์มากครับ เป็นกรณีศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และมี diagram แสดงตัวแปรต้น กับตัวแปรตามได้ชัดเจน มีเนื้อหา 7 หน้า
อ้างอิง : อนุทิน  จิตตะสิริ.2541  ประสิทธิฟลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบงานบริหารเอกสาร: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
http://www.thaiall.com/research/it/research_it_efficiently.doc

ระดับของทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://61.19.244.9/personel/form/framru_taksa/Pakpanouk.doc

การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดร.วิยดา เหล่มตระกูล

14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)

มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ

บทเรียนที่ร่วมวิจัยเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง

นิคมพัฒนา
นิคมพัฒนา

9 มิ.ย.54 บทเรียนจากการร่วม “โครงการวิจัย แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปา“จากการร่วมโครงการระยะที่ 1 ระหว่าง 1 มกราคม 2554 – 31 พฤษภาคม 2554 จำแนกได้ 2 ประเด็นหลัก
ประเด็นหลักที่ 1 ความรู้ คือ
1. การได้รู้เทคนิค และฝึกฝนการวิเคราะห์ชุมชนผ่านการใช้ SWOT ที่เปรียบเทียบกับการใช้อริยสัจสี่ เพราะทั้งสองแบบสามารถใช้งานได้กับชุมชน โดย SWOT นั้นถูกใช้รวบรวมข้อมูลตามประเด็นหลัก 3 ครั้งได้แก่ การศึกษา เกษตร อาชีพ และอริยสัจสี่ใช้กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. การได้ฝึกเขียนแผนที่ความคิด (MindMap) และเรียนรู้การเขียนจากคุณภัทรา มาน้อย ผ่านการลงมือปฏิบัติ เปรียบเทียบการเขียน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งการใช้เป็นเครื่องมือเก็บประเด็นเป้าหมาย และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ชุมชนรายกลุ่ม
3. การได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการวางแผน การจับประเด็น การคิด การพูด การฟัง ร่วมกับเพื่อนนักวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้มีโอกาสฟังข้อเสนอแนะของ นักคิดนักบริหารระดับประเทศ คือ ศ.ดร.ปิยวัฒน์ บุญหลง และ ดร.บัญชร แก้วส่อง ต่อโครงการของทีมงาน

ประเด็นหลักที่ 2 ความสุข คือ
1. การได้เห็นรอยยิ้มจากความสุขผู้คนในชุมชน ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มที่มีความเข้าใจ มีฐานคิดคล้ายกัน ได้ระบายปัญหา จุดแข็ง และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และได้ออกมานำเสนอด้วยตนเอง
2. การได้ใช้เวลาว่างในวันสุดสัปดาห์ทำงานกับชุมชน เพราะการทำงานในกรอบ ใต้กฎเกณฑ์รัดตัว ผู้คนที่มุ่งแต่แข่งขัน ในป่าคอนกรีต ย่อมมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากการทำงานกับชาวบ้าน ในพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยป่าเขา ลำธาร และบรรยากาศบริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายใฝ่ฝัน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ไปถึงฝั่งฝัน
3. การทำตัวเป็นประโยชน์แก่ชุมชน เพราะการให้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่มุ่งเข้าศึกษาในสถาบันนั้นมีกรอบอยู่แต่ในมหาวิทยาลัย แต่การออกให้บริการวิชาการเชิงประยุกต์นั้น มีเรื่องคาดไม่ถึงให้ประหลาดใจอยู่เสมอ  เพราะนอกจากจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ชุมชนแล้ว ก็ยังเป็นผู้รับความรู้ไปพร้อมกัน พร้อมกับการแก้ปัญหาไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า
4. การได้เพื่อนใหม่ต่างวัยต่างสมณะที่มาจากห้าสถาบันการศึกษาหลัก รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง แล้วร่วมกันทำงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน เป็นโอกาสที่อาจมีเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะเพื่อนจากแต่ละสถาบันมีความเป็นกัลยาณมิตรที่หาได้ยากยิ่ง ในทีมทั้ง 29 คนมีเป้าหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อชุมชน และมุ่งประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง