พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค

อ่านบทความของ บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ เรื่อง พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ในวารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2557 หน้า 1 – 24 งานนี้มีวัตถุประสงค์มี 3 ข้อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมี 3 ข้อ 1) ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ และผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊คนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยม 2) สามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปวางแผนพัฒนาและส่งเสริมให้นักศึกษา ซึ่งเป็นเยาวชนสำคัญของชาติสามารถใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารได้อย่างรู้เท่าทันและสร้างสรรค์ต่อไป โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมหรือกลุ่มมิจฉาชีพที่อาศัยเฟสบุ๊คเป็นช่องทางในการกระทำความผิด 3) สามารถนำผลงานวิจัยนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่อง การตลาด การโฆษณา หรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนพัฒนากลยุทธ์ทางการสื่อสารผ่านเฟสบุ๊คให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารการตลาดผ่านเฟสบุ๊คกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่มากที่มีการใช้เฟสบุ๊คเป็นประจำ

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/download/62926/51703/

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เล่นเฟสบุ๊คทุกวันจำนวน 491 คน คิดเป็นร้อยละ 70.1 รองลงมาเล่นเฟสบุ๊ค 4-6 วันต่อสัปดาห์ มี 89 คนคิดเป็นร้อยละ 12.7 โดยเล่นมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ซึ่งมีร้อยละ 33.3 ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เล่นเฟสบุ๊คในช่วงเวลา 18.01-21.00 น. มีร้อยละ 39.1 รองลงมาเล่นเฟสบุ๊คช่วงเวลา 21.01-24.00 น. มีร้อยละ 33.7 และมักเล่นเฟสบุ๊คที่บ้านหรือที่พัก ร้อยละ 86.7 ส่วนใหญ่เล่นผ่านอุปกรณ์มือถือร้อยละ 67.6 จำนวน และเล่นผ่านโน๊ตบุ๊ค ร้อยละ 43.9 นอกจากนี้พบว่า การเล่นเฟสบุ๊คส่วนใหญ่จะเล่นเมื่อมีเวลาว่างร้อยละ 59.4 และเล่นเฉพาะนอกเวลาเรียน ร้อยละ 17.7

พบลักษณะการใช้เฟสบุ๊ค 20 พฤติกรรม เฉลี่ยรวม 2.37
1) ใช้ chat กับเพื่อน (x=3.51)
16) เขียนแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ ของเพื่อน (x=3.36)
2) กด like เอาใจเพื่อน (x=3.18)
11) ติดตามข่าวประจำวัน (x=3.18)
14) ได้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนเก่า (x=3.09)
9) เขียน Post ข้อความเล่าเรื่องต่าง ๆ (x=2.71)
15) แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ (x=2.68)
17) สร้างอัลบั้มรูปต่าง ๆ (x=2.60)
8) Upload ภาพในชีวิตประจำวัน (x=2.52)
12) ติดตามข่าววงการบันเทิง (ดารา/นักร้อง) (x=2.50)
10) ติดต่อผู้คุยกับบุคคลในครอบครัว (x=2.34)
20) ติดต่อสอบถามเรื่องการเรียนหรือส่งการบ้านครู/อาจารย์ (x=2.34)
13) เล่นเกม (x=2.16)
4) ดู Facebook ดารา/นักร้องที่ชื่นชอบ (x=2.15)
6) สืบประวัติแฟนใหม่หรือเพื่อนต่างเพศ (x=2.11)
7) ติดตามพฤติกรรมของคนที่เราไม่ชื่นชอบ (x=1.71)
5) ดูพฤติกรรมแฟนเก่า (x=1.66)
3) สร้าง Fan page ส่วนตัว (x=1.42)
18) ซื้อสินค้าและบริการ (x=1.33)
19) ขายสินค้าและบริการ (x=0.94)

ประโยชน์ที่ได้รับ เฉลี่ยรวม 3.80
1) ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน (x=4.16)
2) ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น (x=4.03)
3) ได้พบเพื่อนที่ขาดการติดต่อกันมานาน (x=4.03)
4) ได้ผ่อนคลาย / คลายเครียด (x=3.98)
5) ได้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น (x=3.80)
7) ทําให้ไม่ตกเทรนด์ / ทันกระแสสังคม (x=3.80)
8) ได้ข้อมูลมาใช้ในการเรียนหรือพัฒนาตนเอง (x=3.55)
6) ได้รับประโยชน์ด้านเพิ่มช่องทางทําธุรกิจของตนเองมากขึ้น (x=3.07)

ดาวน์โหลดภาพจาก FB ไปเก็บไว้ใน photos.google.com

pan cake
pan cake

เคยเห็นเพื่อนถ่ายภาพ และแบ่งปันภาพ ผ่านเครือข่ายสังคม
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นหลายครั้ง จนผมเรียกว่าปรากฎการณ์
เท่าที่เห็นมา ภาพเหล่านั้นมีความสำคัญ
ด้วยเชื่อว่าภาพเหล่านั้นสำคัญ และไม่ต้องการให้หายไปในอนาคต
และต้องการสำเนาไว้นอกแหล่งเดิม และแบ่งปันเป็นสาธารณะ
จึงน่าจะคัดลอกมาเก็บไว้ แล้วไปแบ่งปันในสังคมอื่น หรือสื่ออื่น
อาจเปิดเป็น gallery ให้ใคร ๆ เข้าชมก็น่าสนใจ
จึงเสนอเพื่อนให้ดำเนินการดังนี้
1. ใน page กับ timeline ยกเว้น group นั้น
มีบริการ download album มาได้ทั้งอัลบั้ม
คือ คัดลอกภาพทั้ง album ออกมาเป็น .zip ได้
2. ภาพในแฟ้ม .zip จะเรียงลำดับตามตัวเลข
เริ่มต้นจาก 1 ไปเรื่อย ๆ เมื่อส่งภาพใหม่เพิ่มเข้าไปในอัลบั้ม
และดาวน์โหลดอัลบั้มใหม่ พบว่า ภาพใหม่จะมีเลขต่อท้ายภาพเดิม
หากในอัลบั้มมีภาพจำนวนมาก ก็ไม่ต้องเกรงว่าจะสับสนในภายหน้า
การเรียงภาพใหม่ต่อท้ายภาพเดิมทำให้ไม่สับสน
แต่วันที่ของภาพใน .zip จะเป็นวันที่ download ไม่มีวันที่ upload มาด้วย
3. มีบริการเก็บภาพโดยผู้ให้บริการรายอื่นอีกมากมาย
แต่ของ http://photos.google.com ซึ่งเป็นอีกบริการหนึ่งของ google
สามารถเชื่อมต่อกับ smartphone ช่วยให้เราสำรอง และแบ่งปันได้ง่าย
มีแอพทั้ง Google play บน Android และ App store บน iOS
เมื่อเก็บไว้แล้ว หากต้องการภาพไปใช้ก็มีบริการ Download Album โดยง่าย
จุดดีของแฟ้มภาพใน .zip ของ google คือ วันที่อัพโหลดยังอยู่
4. หลังเก็บใน photos แล้ว
ก็ยังนำภาพแชร์เป็น gallery ได้โดยง่ายเช่นเดียวกับบริการของค่ายอื่น
แต่ลิงค์จากการแชร์จะเป็น short url เมื่อแปลงเป็น full url แล้ว
ก็ยังไม่สามารถนำไปใช้ใน iframe หรือ frame ได้ ต้องเปิดเป็น top frame
5. เนื่องจากผมมีบัญชีของ gmail.com อยู่แล้ว ก็ใช้ซะเลย ไม่ได้ใช้ค่ายอื่น
เป็นการทบทวน และจัดระเบียนภาพใน FB ไปพร้อม ๆ กัน
เช่น
ภาพชุด “ประชุม 580914-15 ประชุมเหล้าบุหรี่ กทม.
https://goo.gl/photos/KacxawnuJdPrikhe8
ภาพชุด “NW
https://goo.gl/photos/oxJQX1CKuPKMxmhJ7

ก่อน และหลัง
ก่อน และหลัง

[นิยามศัพท์]
พฤติกรรม (Behavior) คือ การแสดงและกิริยาท่าทาง ที่เป็นการตอบสนอง
ของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก
ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ [wiki]
ปรากฏการณ์ (Phenomenon) คือ สิ่งที่อุบัติขึ้น และปรากฏให้เห็น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ต

factor behavior internet
factor behavior internet

พบโครงร่างวิทยานิพนท์ เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกับพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัย นายเทพศิรินทร์ วุฒิยางกูร ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2550 มีปัจจัยที่น่าสนใจที่หลายปัจจัย อาทิ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกสถานที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุผลในการใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของการเลือกวันที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยการเลือกช่วงเวลาที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของลักษณะการใช้อินเตอร์เน็ตตามลำพังหรือร่วมกับผู้อื่น
ปัจจัยของลักษณะการเลือกใช้บริการของอินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของวัตถุประสงค์ในการใช้อินเตอร์เน็ต
การเข้าเลือกใช้ภาษา
การปฏิบัติหลังการใช้อินเตอร์เน็ต
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_behavior_internet.doc

ระบบสารสนเทศกับหัวหน้าสี่คน

กรณีศึกษา ระบบสารสนเทศ ขาด-ลา-สาย สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Making) ซึ่งการบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องยากที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับทุกองค์กร เพราะทรัพยากรที่สำคัญก็คือ Human มีกรณีตัวอย่างของหัวหน้า 4 คน ที่มีบทบาทต่อสารสนเทศ ขาด ลา และสายของบุคลากรที่แตกต่างกัน  โดยแสดงพฤติกรรมไปกันคนละขั้ว สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ทุกองค์กรมีนโยบาย และวัฒนธรรมขององค์กรที่แตกต่างกัน การคิดแบบหนึ่งอาจเหมาะกับองค์กรหนึ่ง แต่ไม่เหมาะกับอีกองค์กรหนึ่งก็เป็นได้ อย่างได้ยึดมั่นถือมั่นกันเชียว
หัวหน้าหนึ่ง ทราบว่า ลูกน้องลาไปแล้ว 5 วัน ก็เรียกมาตักเตือน แล้วบอกว่าถ้าลาอีกจะไม่ขึ้นเงินเดือนให้ ถ้าไม่เชื่อฟังก็จะหักเงินเดือนพร้อมกับขึ้นบัญชีดำในทุกเรื่อง
หัวหน้าสอง ทราบว่า ลูกน้องลาไปแล้ว 5 วัน ก็เรียกมาบอกว่าปกติพนักงานลาป่วยได้ 30 วัน ลากิจและลาพักผ่อนได้อีก 20 วัน รวมวันหยุดราชการอีก 15 วัน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 60 วัน ตอนนี้หัวหน้าลาไปทั้งหมด 70 วันแล้ว จึงแสดงความมีกัลยาณมิตรกับลูกน้องว่า ต่อไปให้หยุดงานสัปดาห์ละ 1 ถึง 2 วัน เพราะต้องใช้สิทธิ์ให้เต็มที่เท่าที่ตนมีสิทธิ์
หัวหน้าสาม ทราบว่า ลูกน้องลาไปแล้ว 5 วัน ก็เฉยไม่ทำอะไร เพราะรักสงบ ต่างคนต่างอยู่น่ะดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องของเรา
หัวหน้าสี่ ทราบว่า ลูกน้องลาไปแล้ว 5 วัน ก็รู้สึกไม่พอใจที่มีคนมาให้ข้อมูล แล้วถามกลับไปว่ามาบอกฉันทำไม ต้องการให้ฉันทำอะไรก็บอกมา แล้วฉันจะตัดสินใจอีกครั้งว่าจะทำอะไรต่อไป แต่ให้บอกมาก่อนว่าจะให้ฉันคิดอะไรกับจำนวนวันลาของลูกน้องของฉัน

เกี่ยวกับ พฤติกรรมองค์การ แล้ว Donglas Mc Gregor เห็นว่าคนมี 2 ประเภท  และการบริหารคนทั้ง 2 ประเภท  ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกัน โดยสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviors) ซึ่งเป็นไปกรอบทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y