พัฒนาสมรรถนะผู้สูงอายุ กรณี โรงเรียนผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว ทำโครงการ มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์ COVID-19 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 โดยมี 6 กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนักเรียนผู้สูงอายุ ดังนี้

  1. การตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยชุด ATK (เทคนิคการแพทย์)
  2. การล้างมืออย่างไรให้ปลอดภัย (พยาบาลศาสตร์)
  3. การเดินทางโดยเครื่องบิน (สาขาธุรกิจการบินฯ)
  4. ตรวจสุขภาพฟันและแนะนำการดูแลช่องปาก (ทันตแพทยศาสตร์)
  5. การยืดเหยียดสำหรับผู้สูงอายุ (สาธารณสุขศาสตร์)
  6. เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า (นิเทศศาสตร์ + MBA)
    เพิ่มเติม ฐานกิจกรรมวาดภาพระบายสี (ศิลปศาสตร์ฯ)
    ดูแลพิธีการโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ (บริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์)

และเป็น โครงการ ดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ โดยหมอมือใหม่ จิตอาสา มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์โควิด (Covid-19) โดย สโมสรนิสิตมหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับ คณะกรรมการนิสิต 5 คณะวิชา ซึ่งพบการเล่าเรื่องแบบ Story telling ในสื่อสังคมของมหาวิทยาลัยเนชั่น

โรงเรียนผู้สูงอายุ

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

กำหนดการ

ปิดร่างบันทึกประชาสัมพันธ์บริการวิชาการ

14 ต.ค.53 แล้วผมก็ปิดร่างบันทึกประชาสัมพันธ์โครงการบริการวิชาการทั้ง 3 เสร็จ และปิด ร่างรายงานสำรวจความต้องการบริการวิชาการ  และปิด ร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเสร็จ และประสานการทำป้ายผ้า เหลือเพียงเอาข้อความไปสั่งทำที่ร้าน ซึ่งปีนี้เป็นปีแรก ที่พา 3 โครงการออกไปบริการวิชาการ โดยสำรวจ และจัดทำความร่วมมือก่อนออกไปบริการ ประกอบด้วย โครงการอบรม “การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย” โครงการอบรม “การให้ความรู้ด้านกฎหมายครอบครัว” ของ อ.สุทธิ์พจน์ ศิริรัตนาสกุล โครงการอบรม “EQ กับการทำงานใต้ความกดดันและการบริหารความเครียด” ของ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ .. ถ้าไม่มี excident ระหว่างการทำงาน ทุกอย่างก็น่าจะเสร็จสิ้นในสัปดาห์ต่อไป และนี่เป็นก้าวแรกของตัวบ่งชี้ 5.2 ในเกณฑ์คุณภาพของ สกอ.2553
http://www.yonok.ac.th/doc/burin/53_public_all_project_service_v2.doc

การเชื่อมโยงระหว่างชุมชน อาจารย์ และนักศึกษา

ชุมชน อาจารย์ และนักศึกษา

23 ม.ค.53 องค์ความรู้ในชุมชนมีซ่อนบ่มอยู่มากมาย และหลากหลายสาขาวิชา สิ่งเหล่านั้นเริ่มถูกยกระดับคุณค่าหลังจากมีการพัฒนาชุมชนเมืองเพียงด้านเดียวมาระยะหนึ่ง โดยปล่อยปะละเลยคุณค่าของชุมชนชนบท ทิ้งไว้แต่คำร่ำลือถึงความศิวิไลที่ทุกคนต่างโหยหา แต่ขาดการดำเนินการเพื่อรักษาสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีคำถามว่าใครจะเข้าไปเป็นกลไกในการพัฒนา รักษา และมีกระบวนการอย่างไร ให้เกิดการทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม และองค์ความรู้ของชุมชนให้ดำรงอยู่ต่อไป เพื่อให้เยาวชนและชุมชนเองได้ชื่นชมตราบนานเท่านาน
      การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และองค์ความรู้ของชุมชนต้องเริ่มต้นจากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่โดยชุมชน ดังคำว่ามีหนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจย่อมทำกิจการงานทุกอย่างได้สำเร็จ ดังนั้นชุมชนต้องมีใจรักที่จะรักษาและชื่นชมสิ่งที่มีอยู่เป็นทุนเดิม องค์ความรู้ที่เปรียบได้กับสมองของชุมชน ซึ่งปัจจุบันมักรู้จักกันในนามของปราชญ์ชาวบ้านที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ให้เกิดการสืบทอดเป็นภารกิจเร่งด่วน เนื่องจากจำนวนปราชญ์ชาวบ้านเริ่มลดลงตามข้อจำกัดเรื่องอายุ แล้วกระบวนการหรือกลไกหรือมือที่จะเข้ามาทำให้ใจและสมองเชื่อมโยงด้วยความเข้มแข็งและขยายผลให้เกิดการยอมรับสืบทอด บอกต่อ แล้วเพิ่มมูลค่าอย่างยั่งยืนเป็นประเด็นของการพัฒนาชุมชนในปัจจุบัน ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เอกชน ชุมชนข้างเคียง และสถาบันการศึกษาให้ความตระหนักและขยายการมีส่วนร่วมทั้งด้านนโยบาย งบประมาณ และกระบวนการเข้าสู่ชุมชนอย่างชัดเจน เพราะเป็นทางออกของการอยู่รอดในสังคมโลกร่วมกันอย่างมีความสุข
      นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Policy) ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดใหม่ ก็คือการส่งเสริมให้คนไทยคิดใหม่ทำใหม่อย่างสร้างสรรค์ การทำให้สังคมชุมชนฐานรากของมนุษย์มีความเข้มแข็งย่อมส่งผลต่อความเข้มแข็งของสังคมเมืองและสังคมโลกเป็นลูกโซ่ มีความคิดใหม่มากมายที่มีต้นกำเนิดจากในชุมชน แล้วต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่ยั่งยืนโดยเกิดจากการมุ่งมั่นของคนในชุมชนร่วมกับการหนุนเสริมจากภายนอกให้เกิดการคิดต่อจนประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจจนหลายชุมชนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขบนความพอเพียง ดังนั้นคำว่าความพอเพียงจึงเป็นหนึ่งในคำสำคัญที่ชุมชนต้องเข้าใจและสอดรับกับหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ที่จะใช้เป็นฐานคิดในการดำรงชีวิต การบริหารจัดการ และการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นทางสายกลางที่สอดรับกับ 3 เรื่องคือ  ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
      ปัจจุบันสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ให้การสนับสนุนบุคลากรในสถาบันการศึกษาได้เข้าไปบูรณาการองค์ความรู้ที่มีอยู่ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน ทำให้ชุมชนและสถาบันการศึกษาเกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ทั้งชุมชนเกิดความเข้าใจในกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน ส่วนอาจารย์ในสถาบันการศึกษาก็จะได้เข้าใจองค์ความรู้และธรรมชาติของชุมชน ได้นำสิ่งที่ได้ไปปรับการเรียนการสอนแล้วเกิดการแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษา ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange) อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นี่คือวัตถุประสงค์หนึ่งของการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-Based Research: CBR) ที่เปิดให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยได้ลงไปทำงานในชุมชนที่ตนเองรักและต้องการพัฒนาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาของตน
      เมื่ออาจารย์จากมหาวิทยาลัยเริ่มเข้าใจในชุมชนผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น แล้วนำประสบการณ์ไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอาจารย์ และนักศึกษาในชั้นเรียน ประกอบกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเปิดให้ทุนสนับสนุนนักศึกษา (Community-Based Projects for Undergraduate Student : CBPUS) ได้ทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับวิชาโครงงานที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา ทำให้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเข้าไปเรียนรู้ชุมชนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ ผ่านการหนุนเสริมอย่างจริงจังของอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นนวัตกรรมในการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน สิ่งที่นักศึกษาได้รับคือการเรียนรู้ชุมชนผ่านการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการวิจัยร่วมกับชุมชนอย่างแท้จริงเป็นระยะเวลาหนึ่งร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา และศูนย์ประสานงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
      ผลของงานวิจัยเกิดผลในหลายมิติทั้งการเรียนรู้ชุมชนโดยนักศึกษา ประสบการณ์ในการพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา มิติใหม่ของการวิจัยที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และการพัฒนาชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยผ่านบทบาทของสถาบันการศึกษา ทั้งหมดคือการเชื่อมโยงของการพัฒนาชุมชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน การพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนได้เข้าเรียนรู้ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาการเรียนการสอนมิติใหม่ในสถาบันการศึกษา และการพัฒนากระบวนการพัฒนาชุมชนฐานรากเชิงบูรณาการอย่างแท้จริง
โดย อาจารย์ที่ชักชวนนักศึกษาเข้าทำงานวิจัยในบ้านไหล่หิน
+ บทความจาก http://www.thaiall.com/research