ปิดร่างบันทึกประชาสัมพันธ์บริการวิชาการ

14 ต.ค.53 แล้วผมก็ปิดร่างบันทึกประชาสัมพันธ์โครงการบริการวิชาการทั้ง 3 เสร็จ และปิด ร่างรายงานสำรวจความต้องการบริการวิชาการ  และปิด ร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเสร็จ และประสานการทำป้ายผ้า เหลือเพียงเอาข้อความไปสั่งทำที่ร้าน ซึ่งปีนี้เป็นปีแรก ที่พา 3 โครงการออกไปบริการวิชาการ โดยสำรวจ และจัดทำความร่วมมือก่อนออกไปบริการ ประกอบด้วย โครงการอบรม “การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย” โครงการอบรม “การให้ความรู้ด้านกฎหมายครอบครัว” ของ อ.สุทธิ์พจน์ ศิริรัตนาสกุล โครงการอบรม “EQ กับการทำงานใต้ความกดดันและการบริหารความเครียด” ของ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ .. ถ้าไม่มี excident ระหว่างการทำงาน ทุกอย่างก็น่าจะเสร็จสิ้นในสัปดาห์ต่อไป และนี่เป็นก้าวแรกของตัวบ่งชี้ 5.2 ในเกณฑ์คุณภาพของ สกอ.2553
http://www.yonok.ac.th/doc/burin/53_public_all_project_service_v2.doc

เวทีแลกเปลี่ยนผู้ทำงานประกันคุณภาพระดับคณะ

6 ต.ค.53 ณ ห้องบ่มเพาะ เวลา 9.30 – 12.00น. มีผู้ทำงานประกันคุณภาพระดับคณะ ประกอบด้วย อ.เบญ อ.จอม อ.อดิศักดิ์ อ.กิ๊ก คุณแนน คุณต่าย คุณแอ๋ว และอ.เก๋ มารวมกัน โดยรับการสนับสนุนจาก อ.อุษณีย์ ณ น่าน ด้วยดี เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา ตามคู่มือฉบับ กรกฎาคม 2553 ที่ประกาศโดย สกอ. เป็นครั้งแรก เพื่อแลกเปลี่ยนและเตรียมพร้อมเข้าฟังการบรรยายจาก อ.อุษณีย์ คำประกอบ ในปลายเดือน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน เอกสาร และศึกษาการเป้าหมายร่วมกันเบื้องต้นเชิงบูรณาการ ก่อนเข้าระบบของมหาวิทยาลัยที่ยกร่างเป้าหมายระดับมหาวิทยาลัย ให้คณะวิชาพิจารณามากำหนดเป้าหมายของคณะเป็นลำดับต่อไป เป็นอีกเวทีหนึ่งในการจัดการความรู้ที่เกิดจากกลไกของคณะวิชา และทีมวิจัยฐานข้อมูลประกันคุณภาพการศึกษา

คิออและ

7 ต.ค.53 หลายเดือนผ่านมา ไม่มีอะไรมากดดันให้ต้องเชื่อมแฟ้มข้อมูล ของผู้ใช้ในองค์กร เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลทุกระบบอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่เดือนนี้มี ฐานข้อมูล 2 ระบบเข้ามากดดันแนวทางการพัฒนาที่ต้องชัดเจน คือ ฐานข้อมูลภาระงาน และฐานข้อมูลประกันคุณภาพ ซึ่งแต่ละระบบเคยออกแบบให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลแบบแยกส่วน ไม่มีการบูรณาการที่จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าทำงานครั้งเดียวแต่เชื่อมทุกระบบได้ และระบบที่เคยออกแบบไว้ยังเข้าถึงผู้ใช้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

โอกาสที่ทำให้คิดเรื่องนี้ คือ การยกเครื่องระบบฐานข้อมูลประกันคุณภาพที่ถูกบังคับโดยสกอ. การยกเครื่องระบบบ่อยครั้ง ทำให้มองเห็นโอกาสที่จะเชื่อมแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้เข้ากับทุกระบบก็มาถึง .. อีกโอกาส คือ บุคลากรเคยชินกับการใช้งานระบบ e-document ที่เก็บข้อมูลได้อย่างสะดวก หากต่อยอดระบบนี้ ก็จะทำให้การเชื่อมเข้ากับ ภาระงาน ยุทธศาสตร์ หรือประกันคุณภาพ ได้รับการยอมรับ และคุณธรณินทร์ ก็ถามถึงการ upgrade core system ของระบบ e-document อยู่เสมอนั่นเอง อีกโอกาส คือ อ.ทันฉลอง อธิการบดีคนใหม่ ให้ความสำคัญกับข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เป็นการสนับสนุนที่สำคัญที่ทำให้ผมกล้าคิด กล้าก้าวต่อไป .. บนแนวคิดบูรณาการระบบฐานข้อมูล

สรุปแนวคิด คือ 1) บุคลากรส่งแฟ้มข้อมูลเข้า e-document ตามปกติ 2) คลิ๊กเลือกแฟ้มที่ต้องการกำหนดเป็นแฟ้มอ้างอิงแล้วยืนยัน 3) หลังถูกกำหนดเป็นแฟ้มอ้างอิง จะมีตัวเลือกฐานข้อมูล (ภาระงาน ประกันคุณภาพ ยุทธศาสตร์ หรือฐานข้อมูลอื่นใด) ให้สร้างการเชื่อมโยงตามลักษณะของแต่ละฐานข้อมูล และถูกอ้างอิงในรูปแบบที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ

แนวคิดนี้ต้องขายให้ทีมพัฒนา .. และดูว่าจะมี comment อะไร ที่จะทำให้การพัฒนาระบบมีการเชื่อมโยงแฟ้มของผู้ใช้เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลได้โดยสะดวกที่สุด

ผลประเมินการอบรมการส่งข้อมูลระดับบุคคล 3 ตอนแรก

7 มิ.ย.53 ตามที่มีการอบรม การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองระดับบุคคล วันนี้มีจัดอบรม 3 ตอน จำนวน 9, 2 และ 4 คน ในเวลา 11.00น.-12.00น. 13.00น.-14.00น. และ 14.00น.-15.00น. ตามลำดับ ใน 3 ตอนนี้มีบุคลากรเข้าอบรมรวมทั้งหมด 7 คน และเจ้าหน้าที่ 8 คน รวม 15 คน
     จากผลการประเมินความพึงพอใจจำแนกเป็น 8 ประเด็นพบว่า 1) ห้องฝึกอบรม มีความพึงพอใจระดับปานกลาง (X=3.4) 2) หัวข้ออบรม มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (X=4.4) 3) เอกสารประกอบการอบรม มีความพึงพอใจระดับมาก (X=3.87) 4) วิทยากรด้านประกันคุณภาพ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (X=4.33) 5) วิทยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (X=4.27) 6) ระยะเวลา มีความพึงพอใจระดับมาก (X=4.2) 7) ที่อยู่เว็บเพจ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (X=4.4) 8) เห็นด้วยที่มีการเชื่อมโยงข้อมูล มีความคิดเห็นระดับมากที่สุด (X=4.47)
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/sar_53060708_person.xls

เตรียมเอกสารอบรมส่งข้อมูลระดับบุคคลเพื่องานประกันคุณภาพ

5 มิ.ย.53 เตรียมเอกสารการอบรมการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลประเมินตนเองระดับบุคคล ปีนี้เป็นปีแรกที่มี อ.อัศนีย์ ณ น่าน มารับงานประกันคุณภาพ และท่านอธิการให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมจากระดับบุคคล เกิดกระบวนการส่งเสริมการทำงานร่วมกัน สร้างความเข้าใจในการประกันคุณภาพอย่างมีส่วนร่วม และพัฒนาทรัพยากรบุคคลเชิงบูรณาการ กิจกรรมในการอบรมภายใน 1 ชั่วโมงประกอบด้วยการชี้แจงโดยตัวแทนฝ่ายประกัน และอบรมการส่งข้อมูลเข้าตามเกณฑ์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบ และประเมินผล ซึ่งการติดตามจะมีกลไกของงานวิจัยมาขับเคลื่อน
     ซึ่งรายการเอกสารหลักฐานเป็นสิ่งที่บุคลากรต้องไปพูดคุยแลกเปลี่ยนในหน่วยงานของตน หรือเป็นที่ต้องการของคณะวิชา หรือมหาวิทยาลัย ว่ามีอะไรที่ต้องใช้ในเกณฑ์ใด เพราะมหาวิทยาลัยดำเนินการตามเกณฑ์นี้มาแล้วสามปี ปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่จะใช้เกณฑ์ชุดนี้ ก่อนใช้เกณฑ์ใหม่ ส่วนคณะวิชาจะถูกเชิญมารับการอบรมในการดึงข้อมูลที่แต่ละบุคคลส่งเข้าไป มาใช้อ้างอิง หรือประสานกลับไปสำหรับรายละเอียดของเนื้อหา ความสมบูรณ์ และรูปเล่มเป็นลำดับต่อไป วันนี้จัดทำแบบสอบถามการอบรมครั้งนี้ และใบเซ็นชื่อ ส่วนแบบสอบถามที่ใช้วิพากษ์ข้อมูลพื้นฐานอยู่ที่มหาวิทยาลัยและจะประมวลผลเป็นลำดับต่อไป
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/52_sar_person.doc
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/ques_sar52_530601.doc
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/ques_sar52_53060708.doc

แผนผังการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

แผนผังแสดงการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

 10 พ.ค.53 หลายปีก่อนจำได้ว่าเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการจัดการแฟ้ม เพื่อส่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง โดยใช้วงจร PDCA เพื่ออธิบายให้เพื่อนร่วมงานได้เข้าใจ แล้วเข้าไปใช้งานระบบเพื่อประเมินตนเองได้ง่าย มีวันที่สร้างติดอยู่ใน diagram นี้ด้วย คือวันที่ 7 มีนาคม 2551 แล้วก็จัดกิจกรรมมาแล้ว 2 ปี ๆ ละหลายครั้ง ซึ่งเป็นการใช้งานระบบที่ไม่ซับซ้อนเลย ปีนี้คือปี 2553 ก็มีแผนจัดอบรมอีกแล้ว แต่เป็นระดับบุคคล ก็จะใช้เวทีของการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูลเป็นอีกเวทีหนึ่งในการนำเสนอเรื่องนี้ และจะนำภาพนี้เข้าไปไว้ในคู่มือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยลัยด้วย
+ http://www.thaiall.com/sar/sar_flow50.gif

ติดตั้ง cheqa ในเครื่องบริการจำลองของสถาบัน

cheqa คืออะไร

17 มี.ค.53 cheqa (Commission on Higher Education Quality Assessment) online system คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา พัฒนาโดย CITCOMS Innovation Center เพื่อให้สถาบันการศึกษาใช้ส่งข้อมูลให้สกอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด และมีการพัฒนาต่อยอดให้นำไปใช้บริหารจัดการข้อมูลด้านการประกันคุณภาพในแต่ละมหาวิทยาลัย
     มีสองเรื่องที่เป็นแรงจูงใจให้เขียนเรื่องนี้คือ อ.แหม่ม ชวนไปประชุมเตรียมความพร้อมการใช้ CHE QA Online และ อ.วิเชพ เสนอว่าระบบที่พัฒนาขึ้นต้องสอบถามความต้องการของผู้ใช้ เป็นเหตุให้นึกถึงระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ ที่สกอ. พัฒนาร่วมกับ CITCOMS เพราะท่านเสนอว่าการพัฒนาระบบต้องเกิดจากความต้องการของผู้ใช้เหมือนที่เคยสอนนักศึกษา ในวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลประกันคุณภาพก็มีทั้งประชาชน มหาวิทยาลัย คณะวิชา และนักคอมพิวเตอร์ ที่จะส่งผลให้ผู้ใช้ทุกระดับได้ใช้โปรแกรมอย่างมีความสุขเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เหมือนที่ได้สอนนักศึกษาไป .. คิดว่าท่านว่าอย่างนั้น
      การติดตั้งระบบตามคู่มือในฐานะมือใหม่ ซึ่งต้องไปสื่อสารกับทีมงานไอทีของมหาวิทยาลัยก็ต้องเรียนรู้กันใหม่หลายเรื่อง จึงเขียนบทเรียนเป็นขั้นตอนการติดตั้งไว้ดังนี้ 1) Download โปรแกรม Cheqa รุ่นใหม่ เผยแพร่วันที่ 31 ม.ค.53 เนื่องจากรุ่นก่อนหน้านี้หมดอายุวันที่ 6 มี.ค.53 จะย้อนวันที่ก็คงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพื่อเข้าไปจัดการข้อมูลเก่าอย่างต่อเนื่อง จาก www.cheqa.mua.go.th โดยใช้ account ของผู้ดูแลระบบ จะได้แฟ้ม che.sql แฟ้มคู่มือ และโปรแกรมสำหรับติดตั้ง  2) ติดตั้ง SQL Express Server, Framework และ IIS ในเครื่องบริการ โดยกำหนด User : sa และ Password : 1234 เป็นต้น 3) คลายโปรแกรมติดตั้งไว้ในห้อง c:\build แล้วใช้ Web Sharing ชื่อ build เพื่อให้เปิด localhost/build 4) ดำเนินการเกี่ยวกับ SQL Express ซึ่งพบว่า sqlservr.exe ใน Task Manager แสดงว่าเปิดบริการอยู่
– DOS>regedit แก้ MSSQL.1\MSSQLServer\LoginMode จาก 1 เป็น 2
– DOS>sqlcmd -S.\SQLEXPRESS -E
> alter login sa enable
> go
> sp_password @old = null, @new = ‘1234’, @loginame = ‘sa’
> go
> create database cheuniv
> go
– DOS> osql -U sa -S .\SQLEXPRESS -i che.sql
     5) เข้า www.cheqa.mua.go.th ไปลงทะเบียนจะได้ web.config แล้วนำไปทับในห้อง c:\build กำหนด เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล = .\sqlexpress ชื่อฐานข้อมูล = cheuniv Username = sa Password = 1234 website 1: http://localhost/build และ website 2: http://localhost 6) เข้า www.cheqa.mua.go.th/chetest/genuser.aspx ไปขอ sql สำหรับสร้างรหัสผู้ใช้เข้าระบบในเครื่องบริการจำลอง แล้วนำ code ไปวางไว้ใน Microsoft SQL SERVER Managment Studio Express แล้ว Execute โดยใช้ user: test password:1234 เป็นตัวอย่างผู้ดูแลระบบ 7) คัดลอกห้อง c:\build\pix ไปไว้ใน root directory 8) กำหนดห้อง c:\build\security ของห้อง log ให้ Users เป็น Modify Allow 9) เปิด http://localhost/build/default.aspx 10) ทดสอบเพิ่มปีแล้วมีปัญหา ข้อความแจ้งว่าไม่พบ procedure ชื่อ usp_InsertObjectFromPolicy ใน D:\Project สกอ \Projects \CHEOnlineSolution \CHEOnlineWebUniv \YearEdit.aspx.vb
ซึ่งโปรแกรมได้จากการคลาย zip 11) ติดตั้งโปรแกรมอีกครั้งด้วยชุดติดตั้ง cheunivsetup.msi และต้องติดตั้ง dotnetfx 3.5 ผลคือสร้าง virtual directory ชื่อ cheqa ซึ่งเป็นการสร้าง directory ใน root directory 12) นำแฟ้ม web.config มาแก้ไขแล้ว ส่งเข้าห้อง cheqa  13) เปิด http://localhost/cheqa ผลคือไม่พบ usp_InsertObjectFromPolicy เหมือนเดิม 14) คงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือหาโปรแกรมรุ่นใหม่มาติดตั้งซะแล้วครับ .. เพราะไปต่อไม่ได้
เอกสารอ้างอิง
http://www.npu.ac.th/QA/txt/che.txt
http://www.thaiall.com/sqlserver/cheqa_setup_handbook.pdf
http://www.thaiall.com/sqlserver/netfx35sp1.zip
http://www.cheqa.mua.go.th ใช้จริง
http://www.cheqa.mua.go.th/chetest ใช้ทดสอบ

ร่าง นโยบายด้านระบบฐานข้อมูล

14 ต.ค.52 ประชุมทำความเข้าใจ การประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ. ได้รับมอบหมายจาก ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ  อธิการบดีและวิทยากร ให้เขียนสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกร่างนโยบายด้านระบบฐานข้อมูล จึงสืบค้นข้อมูลจากหลายองค์กร และอ้างอิงจากคู่มือประกันคุณภาพ เป็นแนวในการเขียน แต่ก็ยังต้องตรวจสอบร่วมกับทีมงานคือ คุณอนุชิต คุณธรณินทร์ และคุณอรรถชัย ว่าที่ยกร่างมานี้จะผ่านความเห็นชอบร่วมกันหรือไม่ โดยมีข้อความดังนี้
     มหาวิทยาลัยโยนกมีนโยบายด้านระบบฐานข้อมูล คือ ให้บริการสารสนเทศแก่บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และให้บริการสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการวิจัย ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย โดยผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้งานสารสนเทศที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งกำหนดให้มีระบบฐานข้อมูล ดังนี้

1. ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย (4.1.2)
2. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร (7.5)
3. ระบบฐานข้อมูลเพื่อการเรียนการสอน (7.5)
4. ระบบฐานข้อมูลทางการเงิน (8.1.3)
5. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากร (8.2)
6. ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพ (9.1.6)

แหล่งอ้างอิง
+ http://it.yonok.ac.th/doc/oit/center_policy.doc
+ http://www.tisi.go.th/thai/qms_policy.html
+ http://www.unionpioneer.co.th/code/profile_t3.html
+ http://www.chaiyaboon.com/TH/Tservice.html
+ http://www.human.nu.ac.th/nweb/about/plan.php
+ http://www.bjclogistics.co.th/th/company_quality.php
+ http://sot.swu.ac.th/CP342/Lesson12/cs1t1.htm
+ http://www.yonok.ac.th/sar/

โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง 2552

นิเทศ นักศึกษา
นิเทศ นักศึกษา

7 ก.ย.52 วันนี้ 18.00 -20.00 น. ณ ห้อง 1203 และวันเสาร์ที่หมู่บ้าน ตัวแทนคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วม โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง ปี 2552 โดยบูรณาการร่วมกับ โครงการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขตามแนวทางของมหาวิทยาลัยโยนก (จากมติของคณะกรรมการโครงการฯ มีผลให้ตัดสินใจเลือกหมู่บ้านท่ากลาง-ท่าใต้ ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่เป้าหมาย ตามรายงานการประชุมการลงพื้นที่หมู่บ้านโครงการพัฒนาหมู่บ้านฯ ครั้งที่ 3/2552)
     ตามที่ได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์นิเทศกรอบการเรียนรู้ที่ 1 คือ วัฒนธรรมหรือแบบแผนการใช้ชีวิต จากทั้งหมด 7 กรอบได้แก่ 1)วัฒนธรรมหรือแบบแผนการใช้ชีวิต 2)เศรษฐกิจชุมชนอย่างพึ่งตนเอง 3)การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชน 4)วิถีประชาธิปไตยในชุมชน 5)การสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน 6)การสร้างภูมิคุ้มกันของชุมชน 7)ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน ก็ด้วยการแนะนำ ควบคุมดูแลกิจกรรมอย่างเป็นระบบ โดย อ.ธวัชชัย แสนชมพู และ อ.อัศนีย์ ณ น่าน ทำให้ผมมีโอกาสทำงานนี้ และลงพื้นที่ในวันและเวลาดังกล่าว
     การให้คำแนะนำนักศึกษา มีโอกาสใช้หลักการจากเวทีฯ ที่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ จัดเวทีให้มีการวิพากษ์รายงานการประเมินตนเองระดับมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 1-2 ก.ย.52 โดยมีผู้นำวิพากษ์คือ ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ ซึ่งท่านแสดงทัศนะด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมานานบนความเข้าใจ ใช้หลักการวิพากษ์ที่ตั้งบนความสมเหตุสมผล ตามหลักฐาน ถูกต้องตามหลักวิชา และชี้แจงให้เห็นประเด็นได้อย่างกระจ่างชัดยิ่ง ผมจึงนำหลักการวิพากษ์ไปใช้กับนักศึกษาโครงการดังกล่าว .. เป็นครั้งแรกของผม

อบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง

18 มิ.ย.52 มีการจัดอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ครั้งที่ 1 / 2552 รอบที่ 1 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 มหาวิทยาลัยโยนก โดยมีเจ้าหน้าที่ อาจารย์ และหัวหน้าสำนักงาน เข้ารับการอบรม 13 ท่าน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 11.00 – 12.00น. ซึ่งเป็นไปแผนงานใน โครงการวิจัย “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองของหน่วยงาน

      หัวข้อบรรยายดังนี้ 1) แจกคู่มือ ลงชื่อเข้าอบรม และแจกรหัสผ่านใหม่ 2) ชี้แจงวัตถุประสงค์ และประเด็น 2.1) ปรับคำอธิบาย และเงื่อนไขในเกณฑ์ ตามที่คุณเพชรี สุวรรณเลิศ นำเสนอในที่ประชุมผู้บริหาร ที่ สกอ. แก้ไขมีเอกสารประกอบ 36 หน้า 2.2) เพิ่มการเลือกปี เพื่อตรวจข้อมูลย้อนหลัง 2.3) แสดงผลวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน 2.4) แก้ไขรหัสผู้ใช้เป็นภาษาอังกฤษ 2.5) เพิ่มการเชื่อม CDS เข้าองค์ประกอบในส่วนตรวจเอกสาร 3) ทบทวนการใช้งานโปรแกรม 3.1) การนำเข้าข้อมูลพื้นฐานด้วย excel หรือแก้เป็นรายการ 3.2) การกรอกข้อมูลเป้าหมาย ผลดำเนินงาน และผลประเมิน การนำไปทำรายงาน 4 ส และการนำเสนอร่วมกับข้อมูลพื้นฐาน 3.3) ใส่รายการหลักฐานได้ทั้งแบบทำเอกสารจนแล้วเสร็จ หรือทำงานบูรณาการโดยใช้เว็บเก็บข้อมูลเพื่อเข้าไปจัดทำร่วมกัน 4) ประเมินการอบรม และอื่น ๆ ( http://www.yonok.ac.th/sar )