กิจกรรม proj, job, lib, seo, regist, smart card

ภาพระหว่างเดิน และผลพวงของกิจกรรม

25 มิ.ย.53 เช้ามาก็ประชุมทีมเรื่องเตรียมอบรม น.ศ.ด้านไอทีกับทีม แล้วไปดูปัญหา contact ของ gmail.com ให้ผู้ใหญ่ใจดี พบไก่แจ้แสนน่ารัก  แล้วคุณตุ้ยก็ชวนหารือปัญหาย้ายข้อมูลจาก hd2notebook ของ อ.นุ้ย และ dns และ blue screen ของ ph และตำแหน่ง web lib หายอีก แล้วยกร่างแผนระบบสารสนเทศโดยคุยกับ อ.ภาณี และเสนออ.อติชาต ลงนาม แล้วก็ติดตามบันทึกเปิดห้องบริการและคู่มือไอทีกับคุณเอก แล้วหัวหน้าก็เรียกไปชี้แจงเรื่อง smart card ล้านกว่า ต้องหาข้อมูลคอม 92 เครื่องกับคุณแบงค์ แล้วคุณแนนก็ขอกุญแจเข้าห้องใช้วันเสาร์เพราะมี com-link มาดูห้อง แล้วก็คุยปัญหา online reg กับ หัวหน้า อ.อติชาต คุณน้อย คุณปริศนา และคุณกาน แล้วก็คุยเรื่องมาตรฐานการตัดเกรดที่ น.ศ.สงสัย เพราะจำนวนครั้งที่นำเสนอ กับความสามารถในการนำเสนอให้อาจารย์เข้าใจ ซึ่งสองในหลายเงื่อนไขที่ทีมอาจารย์ใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณา แล้วบริษัท logistic โทรมาเรื่อง php decode ก็โยนงานให้คุณกรรับ job ไป แล้วเย็นมาก็โยนงานของ cmucs ให้คุณกรรับไปอีกชิ้น แล้วที่โรงเรียนเด็กได้เก็บภาพที่ 1 พีพีป.5 คัดไทยสุนทรภู่มาได้ แล้วดึกหน่อยก็เคลียร์สัญญา seo 9 หน้าของ aun .. เขียนละเอียดคงใช้เวลามาก ผมจึงเข้ารหัสไว้ อ่านเข้าใจยากหน่อยนะครับ

ผลดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

http://www.yonok.ac.th/grade

9 มิ.ย.53 กรณีศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นแผนแรกที่ใช้กลไกของอาจารย์ผู้สอนเป็นสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา และใช้วิธีการติดตามจากอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าไปเสริมกระบวนการในชั้นเรียน เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการเรียนการสอนตามปกติ โดยมี 5 กิจกรรมดังนี้
     1. ตรวจสอบข้อมูลและผลการเรียนของนักศึกษาเป็นรายบุคคลแล้วพบว่า นาย … รหัส … สาขา… มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ แต่เรียนจนครบหลักสูตรแล้ว จึงจำเป็นต้องลงทะเบียนเพิ่มในภาคเรียนฤดูร้อน เพื่อให้มีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่า 2.0
     2. ประมวลผลเพื่อหาผลการเรียนที่จะทำให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ โดยใช้บริการประมวลผลจากระบบรายงานผลการเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยโยนก ที่พัฒนาโดยงานทะเบียนและประมวลผลที่ http://www.yonok.ac.th/grade แล้วพบว่านักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนอีกอย่างน้อย 3 วิชา รวมกับวิชาโครงงานระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ที่ลงทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้อีก 1 วิชา เป็นทั้งหมด 4 วิชา โดยผลการเรียนควรได้เกรด A อย่างน้อยจำนวน 3 วิชาและ C+ จำนวน 1 วิชา ซึ่งศึกษาความเป็นไปได้แล้วพบว่ามี 3 วิชา คือ …  ส่วนวิชา … จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนฤดูร้อนนี้ เนื่องจากเป็นวิชาที่ลงทะเบียนไว้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
     3. การพัฒนานักศึกษาด้วยการติดตามจากอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับการเข้าเรียน การส่งงาน และความคิดเห็นของผู้สอนแต่ละวิชา พบว่าในภาพรวมแล้วนักศึกษาเข้าเรียนทุกวิชาอย่างสม่ำเสมอ และตั้งใจเรียน ซึ่งมีข้อมูลจากอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านดังนี้  … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษาเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และเชื่อว่าไม่มีปัญหาต่อผลการเรียน … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษาตั้งใจอ่านหนังสือ และพฤติกรรมในชั้นเรียนเป็นที่น่าพอใจ … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่าได้จัดการสอนและการประเมินผลของนักศึกษาคนนี้เป็นพิเศษ และกิจกรรมที่ผ่านมาผลการเรียนของนักศึกษาน่าจะได้ตามที่คาดไว้ ส่วน … ผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษามาพบอย่างสม่ำเสมอ และรายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง เป็นที่เชื่อได้ว่าผลการเรียนจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
     4. ก่อนสอบปลายภาคได้นัดให้นักศึกษามาพบ และทำความเข้าใจกับนักศึกษาว่าต้องตั้งใจอ่านหนังสือ แล้วให้นักศึกษารายงานปากเปล่าถึงกิจกรรม และการสรุปผลการเรียนที่ผ่านมา ซึ่งนักศึกษาสามารถอธิบายเนื้อหาวิชาแต่ละวิชาได้อย่างเข้าใจ และนำเสนองานในวิชาโครงงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผลการประเมินในเบื้องต้นเชื่อว่านักศึกษาจะได้ผลการเรียนสูง และได้สอบถามจากอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านก็พอใจในพฤติกรรมของนักศึกษาที่มีในชั้นเรียนในระดับสูง
     5. ผลการเรียนหลังสอบปลายภาค ประจำภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552 พบว่านักศึกษามีผลการเรียนดังนี้ ในระดับ … จำนวน 4 วิชา ซึ่งผลการเรียนเฉลี่ยที่มีการประมวลผลโดยงานทะเบียนฯ เป็น … เป็นผลให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาด้วยระดับคะแนนที่สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ในหลักสูตร
+ takecare_sittikorn.doc

รายงานการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา

ระบบสารสนเทศนักศึกษา

27 พ.ค.53 ด้วยกลไกการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาโดย คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ทำให้ผมมีโอกาสได้เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ อ.สกุลศักดิ์ อินหล้า ท่านเป็นหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา ดูแลงานหลายด้านของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนากิจกรรมนักศึกษา และสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งทำงานร่วมกับ อ.บุญรักษา ปัญญายืน หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษาใหม่ จากการหารือทำให้ทราบว่าการเก็บข้อมูลการทำกิจกรรมของนักศึกษาจำแนกได้ 2 กลุ่มคือ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมรอง ซึ่งกิจกรรมหลักจะถูกกำหนดขึ้นผ่านกลไกของคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา ที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมวิชาการของคณะวิชาในรูปการทำงานเชิงบูรณาการ
     เมื่อคุณธรณินทร์ ทราบข้อมูลกิจกรรมหลักจะนำไปบรรจุในระบบสารเทศนักศึกษา และมีกลไกในการจัดการข้อมูล 3 ส่วนคือ 1) ผู้รับผิดชอบกิจกรรมหลัก หรือกิจกรรมรองแต่ละกิจกรรม จะนำข้อมูลมา upload เข้าระบบ และมีรายชื่อนักศึกษาที่ทำกิจกรรมแต่ละครั้งขึ้นมาในระบบ เพื่อการตรวจสอบโดยนักศึกษา และคณะวิชา 2) นักศึกษาจะเป็นผู้เข้ามาให้ข้อมูล ประเมินกิจกรรม และตรวจสอบตนเอง การเข้าร่วมกิจกรรมแล้วแสดงข้อคิดเห็นในรูปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อกิจกรรมนั้น เกิดเป็นกลไก PDCA ในด้านการทำกิจกรรมของนักศึกษา แล้วสามารถนำข้อมูลไปจัดทำรายงานผลกิจกรรม (Activities Transcript) ของนักศึกษาแต่ละคนได้อย่างสมเหตุสมผล 3) ผู้ควบคุมนโยบายในรูปของคณะกรรมการเข้าตรวจสอบตามกลไก PDCA แล้วประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและสถานการณ์เฉพาะกิจ
     ระบบนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาทั้งผู้ควบคุมนโยบาย ผู้ออกแบบกิจกรรม ผู้ยกร่างกิจกรรม การทำความเข้าใจกับนักศึกษา และการพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่ต้องดำเนินการควบคู่กันเชิงบูรณาการ
+ http://www.yonok.ac.th/student/
+ http://www.yonok.ac.th/mis
+ http://sa.siit.tu.ac.th/ats/ac_transcript.php
+ http://www.sat.chula.ac.th/chula2/
+ http://activity.mahidol.ac.th/news/activity2-1.html
+ http://demo.nu.ac.th/ActTrans/

ดาวมหาลัย สาวมาด เมกะแดนซ์

เพลงดี สะท้อนสังคม สะท้อนชีวิตนักศึกษาได้ค่อนข้างชัด ..
เด็นรุ่นใหม่เป็นอย่างนี้ก็ไม่น้อย 

แม่ : ฮัลโหล ดาวบ่ลูกหล่า ดาว : ค่า แม่ : ปิดเทอมแล้วกลับมาซอยแม่เฮ็ดนาแหน่เด๊อ ดาว : โอเคค่า คุณแม่ขา แค่นี้นะคะ แม่ : เออ

หนูดาวเป็นลูกสาวกก จบชั้นม.6 โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ คุณแม่ขายไร่ขายนา ส่งดาวเข้ามาเรียนมหาลัย มาเรียนอยู่ในกรุงเทพ ยูนิเวอร์ซิตี้ที่ทันสมัย ดาวสวยดาวเริ่ดดาวเด่น คนมันสวยทำอะไรก็เด่น ก็เลยถูกพรีเซ้นต์ให้เป็นดาวมหาลัย เพื่อนๆที่คณะ ปลื้มดาวสุดๆเลยนะฮะ
ซัมเมอร์แม่เรียกตัวกลับมา ช่วยทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้านหนองใหญ่ ไปอยู่บ้านป่ากับดงดาวบอกตรงๆว่ามันไม่ใช่ บ้านนอกขาดการพัฒนามีแต่ทุ่งนาและหมูหมากาไก่ ชาวบ้านก็ด้อยการศึกษากินแต่ปลาร้าที่ไม่พาสเจอร์ไรซ์ กินกบกินอึ่งกินแย้ แมงจินูน แมงจิโป่ม ดักแด้ กินแม้แต่กุดจี่ที่อยู่ในกองขี้ควาย ฮื้อ กินเข้าไปได้ไงอะ แวะ
หนุ่มๆมีแต่ซุมโลโซ เมาเหล้าขาว เหล้าโท ซิ่งมอเตอร์ไซค์ ไม่เหมือนหนุ่ม ม.กรุงเทพ ขี่เบนซ์ ขี่เชฟ บีเอ็ม รุ่นใหม่ ลูกทุ่งฟังไม่เป็นจริงๆ ดาวชอบสตริง โฟร์ มด กอล์ฟ ไมค์ อยากไปเมืองทองธานี ดูอคาเดมี่แฟนตาเซีย ก็มีแต่เสียงอีสาน นกน้อย ปอยฝ้าย คำมอด ลูกแพร เงี๊ยะ หมอล้ำ หมอลำ
เซ็นทรัล โรบินสัน เดอะมอลล์ เซเว่น บิ๊กซี ไม่มีที่บ้านหนองใหญ่ มีแต่ตลาดนัดคลองถม ไร้รสนิยม ดาวรับไม่ได้ เสื้อยืดตัว199 ไม่รู้ว่าเขาใส่ได้ยังไง เคยเดินเล่นแถวเซ็นเตอร์พอยท์ ต้องมาเดินต้อยๆไล่วัวไล่ควาย คิดมาเศร้าใจอดสู คิดถึงสังคมหรูๆ ตอนที่ดาวเรียนอยู่เป็นดาวมหาลัย เจอสังคมบ้านนอกๆอย่างนี้ ดาวปรับตัวไม่ทันนะ
ไปนาใส่เกิบส้นสูง ตกคันนาหงายท้องดาวนั่งร้องไห้ ใส่เอวต่ำสายเดี่ยวเกี่ยวข้าว ควายเถิกควายเฒ่ายืนน้ำลายไหล คุณแม่พานั่งรถอีแต๊ก หัวสั่นด๊อกแด๊ก กลับถึงบ้านเป็นไข้ อยู่มหาลัยเป็นเชียร์ลีดเดอร์  เป็นพริตตี้ เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้มาเป็นฟาร์เมอร์ ดาวว่า มันไม่ใช่ มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของดาวอะ
แม่ขาอยากกลับกรุงเทพ คิดถึงเพื่อนๆ ที่มหาลัย หนูเบื่อบ้านนอกคอกนา หยะแหยง ปลาร้า และกลิ่นโคน สาปควาย ดาวเบื่อชีวิตคันทรี่ อยากไปอยู่ ซิตี้ เป็นดาวมหาลัย อย่างหนูมันต้องอยู่กรุงเทพ ถึงจะตรงคอนเซ็ปต์ที่ดาวตั้งไว้อะ
แม่ : คุณสิไปตายไสกะไปโลด ไห้ไปเรียนกะบ่มีประโยชน์ มาอยู่บ้านกะบ่มีประโยชน์ ไปตายไสกะไปโลด ผมกะรับบ่ได้ ผมกะรับบ่ได้ ผมกะรับบ่ได้
แม่ : อี่ดาวมหาลัย อี่พรีเซ็นเตอร์ใหญ่ ผมเบิดนาไปจักท่งแล่ว มื่อได๋ คุณสิเรียนจบกับเขาจักเทียละหือ
ดาว : คุณแม่ขา มาว่าหนู่อย่างนี้ได้ยังไง มันเสื่อมเสียเกียรติภูมิดาวมหาลัย นะคะ คุณแม่ขา
แม่ : ว่าซือๆ กะไคตั๊ว ผมบ่ตีนยันตกคันแท กะบุญหัวคุณแล่วตั๊ว
ดาว : แม่ไม่เข้าใจดาว แม่ไม่เข้าใจความเป็นดาวมหาลัย แม่ไม่เซ้นสิถีฟ แม่ไม่เซ้นสิถีฟอ่อนไหวกับเรื่องอย่างนี้หรอก
แม่ : มีแต่ผมสิถีบคุณนั่นหละ อี่ดาวมหาลัยใหญ่ มื่อนี่หละคุณสิกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งสู่เมร คุณฮู่บ่ หือ
+ http://video.sanook.com  
+ http://www.youtube.com/watch?v=HHPIi4MyyrI
+ http://www.youtube.com/watch?v=tsow52RCR_M
+ http://www.youtube.com/watch?v=S1er4W9TO4Q

ดูงานด้านไอทีกับกสท ลำปาง

ดูงาน กสท ลำปาง

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 13.00-15.00น.
            สำนักงานบริการลูกค้า กสท ลำปาง เปิดให้นักศึกษามหาวิทยาลัยโยนกเข้าไปศึกษาดูงาน โดยมีการบรรยายให้ความรู้ สาทิตการใช้งาน CAT CDMA (Code Division Multiple Access) เข้าดูห้องควบคุมเครือข่ายของจังหวัด และเปิดให้ทดสอบการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ซึ่ง กสท เป็นเพียง 1 ใน 10 ของบริษัทที่กระทรวงการคลังประกาศว่าเป็นผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิคส์ และเป็นเพียงรายเดียวที่มีห้อง Bidder ถาวรในจังหวัดลำปาง โดย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT Telecom Public Company Limited) เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมทั้งในและระหว่างประเทศ จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนตั้งแต่ปีพ.ศ.2546
            CAT CDMA คือ บริการที่รองรับการใช้งานโทรศัพท์และรับส่งข้อมูล มีความเร็วสูงกว่า 2 Mbps สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการใช้รับส่งข้อมูลหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต้องมีอุปกรณ์เสริม เช่น USB Modem รุ่น CDMA2000 1xEV-DO ราคาลดเหลือ 6,500 บาท ผลการสาธิตการเชื่อมต่อและทดสอบความเร็วกับเว็บไซต์ yonok.ac.th/speedtest พบว่าความเร็วในการดาวน์โหลดสูงถึง 1.9 Mbps เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีการเปิดตัวอุปกรณ์รุ่นใหม่ คือ MiFi 2200 ที่เป็นทั้ง Wireless modem และ Access point ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหลายเครื่องสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ได้พร้อมกันแบบไร้สาย
             ตลาดกลางอิเล็กทรอนิคส์ที่เปิดให้นักศึกษาทดสอบ ใช้วิธีแบ่งกลุ่มนักศึกษาเข้าห้อง Bidder ที่จำลองเป็นผู้รับเหมาแต่ละบริษัท และทีมอาจารย์เป็นโรงเรียนของรัฐที่ต้องการผู้รับเหมาสร้างอาคารเรียนใหม่ด้วยงบประมาณต่ำสุด โดยทดสอบประมูลทั้งแบบระบบเปิด (Open Bid) และระบบปิด (Seal Bid) ระบบที่ออกแบบนี้มีเครื่องบริการตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ข้อมูลทั้งหมดเชื่อมตรงเข้ากับส่วนกลางที่ยากต่อการถูกแฮกข้อมูลระหว่างดำเนินการประมูล ซึ่งผลการทดสอบทำให้รู้สึกเชื่อถือได้ว่าการฮั้วประมูลจะเกิดขึ้นได้ยาก สรุปได้ว่าองค์กรนี้เป็นกลไกสำคัญของประเทศที่นำประเทศเข้าไปเชื่อมโยงกับเครือข่ายทั่วโลกผ่านระบบจานดาวเทียม และเครือข่ายใยแก้วนำแสง พร้อมกับพัฒนาบริการที่นำไปใช้ประโยชน์ในเครือข่ายที่เกิดขึ้นอีกมากมาย
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=151712
+ http://www.thaiall.com/mis/mis08.htm
+ http://www.thaiall.com/mis/mis13.htm

ดูงานด้านไอทีกับซูเปอร์เซ็นเตอร์

ดูงาน bigc ลำปาง

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 9.00-11.00น.
            บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่ดำเนินธุรกิจในรูปของไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ มีจำนวนสาขามากถึง 67 สาขา มีการจำแนกสินค้าออกเป็น 5 กลุ่มคือ อาหารสด อาหารแห้ง เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบ้าน การส่งสินค้าไปยังสาขามี 2 แบบคือส่งโดยรถของบิ๊กซีจากสำนักงานใหญ่ในแต่ละวัน และส่งโดยผู้ผลิตสินค้าแต่ละประเภท ด้านบุคลากรมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพราะพนักงานบิ๊กซีจะมีโอกาสก้าวหน้าในสายงานอย่างเด่นชัด มีการจัดฝึกอบรม สวัสดิการ และโอนย้ายตามครอบครัวได้
            ด้านระบบสารสนเทศแบ่งหน่วยงานเป็น 2 ระดับคือสำนักงานใหญ่มีฝ่าย MIS เป็นผู้พัฒนาระบบโปรแกรมให้สาขานำไปติดตั้ง และทุกสาขาจะมีแผนก EDP เป็นหน่วยให้การสนับสนุนการใช้โปรแกรมในสาขาเพื่อให้ระบบงานขับเคลื่อนเชื่อมโยงกัน สำหรับเครื่องบริการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือเครื่องที่ตั้งอยู่ในสำนักงานใหญ่รองรับการทำงานระบบ GOLD และเครื่องที่ตั้งอยู่ในแต่ละสาขารองรับการทำงานระบบ POS ดังนั้นก่อนปิดทำการทุกสิ้นวันสาขาจะปิดยอดขายจัดเก็บในแฟ้มสรุปข้อมูลรายวัน แล้วสำนักงานใหญ่จะเข้ามานำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อวางแผนเกี่ยวกับสินค้าคงคลังทั้งในระดับสำนักงานใหญ่ และสาขาต่อไป
            บริษัทให้ความสำคัญกับการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร อาทิ ชื่อกลุ่มสินค้า  ชื่อหน่วยงาน ชื่อตัวเลือกในโปรแกรม และชื่องานที่เชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาร่วมทุนเป็นชาวต่างชาติ ได้ขยายสาขาไปประเทศเวียดนาม และเป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจตรงกันเมื่อพบป้ายกลุ่มสินค้าในบริษัทคู่แข่ง ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้ามีการปรับปรุงทุกวัน และการสื่อสารข้อมูลถึงผู้บริโภคมีหลายช่องทาง โดยเฉพาะเว็บไซต์ bigc.co.th ที่จัดกลุ่มให้เห็นได้ชัดเจน สามารถดาวน์โหลด หรือพิมพ์โบรชัวร์ได้ มีการแยกกลุ่มข้อมูลโปรโมชั่นไว้อย่างน่าสนใจ เช่น ถูกชัวร์ หรือ ซื้อ 1 แถม 1 หรือ ถูกสุดสุด หรือ ซื้อ 2 ชิ้นถูกลงอีก หรือ ทั้งถูกทั้งแถม หรือมาใหม่ ข้อมูลทั้งหมดข้างตนจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยง และพัฒนาเป็นระบบ เพื่อรองรับการดำเนินงานตามตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ถ้าสัปดาห์ใดไฟฟ้าดับก็คงเป็นช่วงเวลาที่โกลาหลที่สุดของประเทศเป็นแน่
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=151712

การเชื่อมโยงระหว่างชุมชน อาจารย์ และนักศึกษา

ชุมชน อาจารย์ และนักศึกษา

23 ม.ค.53 องค์ความรู้ในชุมชนมีซ่อนบ่มอยู่มากมาย และหลากหลายสาขาวิชา สิ่งเหล่านั้นเริ่มถูกยกระดับคุณค่าหลังจากมีการพัฒนาชุมชนเมืองเพียงด้านเดียวมาระยะหนึ่ง โดยปล่อยปะละเลยคุณค่าของชุมชนชนบท ทิ้งไว้แต่คำร่ำลือถึงความศิวิไลที่ทุกคนต่างโหยหา แต่ขาดการดำเนินการเพื่อรักษาสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีคำถามว่าใครจะเข้าไปเป็นกลไกในการพัฒนา รักษา และมีกระบวนการอย่างไร ให้เกิดการทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม และองค์ความรู้ของชุมชนให้ดำรงอยู่ต่อไป เพื่อให้เยาวชนและชุมชนเองได้ชื่นชมตราบนานเท่านาน
      การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และองค์ความรู้ของชุมชนต้องเริ่มต้นจากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่โดยชุมชน ดังคำว่ามีหนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจย่อมทำกิจการงานทุกอย่างได้สำเร็จ ดังนั้นชุมชนต้องมีใจรักที่จะรักษาและชื่นชมสิ่งที่มีอยู่เป็นทุนเดิม องค์ความรู้ที่เปรียบได้กับสมองของชุมชน ซึ่งปัจจุบันมักรู้จักกันในนามของปราชญ์ชาวบ้านที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ให้เกิดการสืบทอดเป็นภารกิจเร่งด่วน เนื่องจากจำนวนปราชญ์ชาวบ้านเริ่มลดลงตามข้อจำกัดเรื่องอายุ แล้วกระบวนการหรือกลไกหรือมือที่จะเข้ามาทำให้ใจและสมองเชื่อมโยงด้วยความเข้มแข็งและขยายผลให้เกิดการยอมรับสืบทอด บอกต่อ แล้วเพิ่มมูลค่าอย่างยั่งยืนเป็นประเด็นของการพัฒนาชุมชนในปัจจุบัน ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เอกชน ชุมชนข้างเคียง และสถาบันการศึกษาให้ความตระหนักและขยายการมีส่วนร่วมทั้งด้านนโยบาย งบประมาณ และกระบวนการเข้าสู่ชุมชนอย่างชัดเจน เพราะเป็นทางออกของการอยู่รอดในสังคมโลกร่วมกันอย่างมีความสุข
      นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Policy) ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดใหม่ ก็คือการส่งเสริมให้คนไทยคิดใหม่ทำใหม่อย่างสร้างสรรค์ การทำให้สังคมชุมชนฐานรากของมนุษย์มีความเข้มแข็งย่อมส่งผลต่อความเข้มแข็งของสังคมเมืองและสังคมโลกเป็นลูกโซ่ มีความคิดใหม่มากมายที่มีต้นกำเนิดจากในชุมชน แล้วต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่ยั่งยืนโดยเกิดจากการมุ่งมั่นของคนในชุมชนร่วมกับการหนุนเสริมจากภายนอกให้เกิดการคิดต่อจนประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจจนหลายชุมชนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขบนความพอเพียง ดังนั้นคำว่าความพอเพียงจึงเป็นหนึ่งในคำสำคัญที่ชุมชนต้องเข้าใจและสอดรับกับหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ที่จะใช้เป็นฐานคิดในการดำรงชีวิต การบริหารจัดการ และการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นทางสายกลางที่สอดรับกับ 3 เรื่องคือ  ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
      ปัจจุบันสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ให้การสนับสนุนบุคลากรในสถาบันการศึกษาได้เข้าไปบูรณาการองค์ความรู้ที่มีอยู่ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน ทำให้ชุมชนและสถาบันการศึกษาเกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ทั้งชุมชนเกิดความเข้าใจในกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน ส่วนอาจารย์ในสถาบันการศึกษาก็จะได้เข้าใจองค์ความรู้และธรรมชาติของชุมชน ได้นำสิ่งที่ได้ไปปรับการเรียนการสอนแล้วเกิดการแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษา ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange) อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นี่คือวัตถุประสงค์หนึ่งของการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-Based Research: CBR) ที่เปิดให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยได้ลงไปทำงานในชุมชนที่ตนเองรักและต้องการพัฒนาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาของตน
      เมื่ออาจารย์จากมหาวิทยาลัยเริ่มเข้าใจในชุมชนผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น แล้วนำประสบการณ์ไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอาจารย์ และนักศึกษาในชั้นเรียน ประกอบกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเปิดให้ทุนสนับสนุนนักศึกษา (Community-Based Projects for Undergraduate Student : CBPUS) ได้ทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับวิชาโครงงานที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา ทำให้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเข้าไปเรียนรู้ชุมชนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ ผ่านการหนุนเสริมอย่างจริงจังของอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นนวัตกรรมในการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน สิ่งที่นักศึกษาได้รับคือการเรียนรู้ชุมชนผ่านการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการวิจัยร่วมกับชุมชนอย่างแท้จริงเป็นระยะเวลาหนึ่งร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา และศูนย์ประสานงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
      ผลของงานวิจัยเกิดผลในหลายมิติทั้งการเรียนรู้ชุมชนโดยนักศึกษา ประสบการณ์ในการพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา มิติใหม่ของการวิจัยที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และการพัฒนาชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยผ่านบทบาทของสถาบันการศึกษา ทั้งหมดคือการเชื่อมโยงของการพัฒนาชุมชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน การพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนได้เข้าเรียนรู้ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาการเรียนการสอนมิติใหม่ในสถาบันการศึกษา และการพัฒนากระบวนการพัฒนาชุมชนฐานรากเชิงบูรณาการอย่างแท้จริง
โดย อาจารย์ที่ชักชวนนักศึกษาเข้าทำงานวิจัยในบ้านไหล่หิน
+ บทความจาก http://www.thaiall.com/research

สาวราชภัฏ ไฟลวกขณะทำพิธีไหว้ครูกลองยาว

ต.ย. การรำพ่นไฟ
ต.ย. การรำพ่นไฟ

19 ม.ค.53 เช้านี้ฟังข่าวว่ามีนักศึกษาสาวราชภัฏนครปฐม รำกระบองไฟถูกไฟไหม้ตัว เหตุเกิดจากอมน้ำมันพ่นไฟ แล้วไฟย้อนเข้าปากลุกท่วมใบหน้าได้รับบาดเจ็บขณะรำกระบองไฟในพิธีไหว้ครู ในงานประจำปีคืนสุดท้ายของวัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม ซึ่งผู้เสียหายเป็นบุตรของครูที่สอนด้านการแสดง และออกแสดงมาแล้วหลายปี อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้ผู้เสียหายถูกไฟไหม้บริเวณใบหน้าและลำตัว จนผิวหนังพุพอง เข้ารับการรักษาที่ รพ.ศูนย์นครปฐม .. ฟังข่าวแล้วก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกในโลก ทำได้โดยมนุษย์จะไม่จัดกิจกรรมที่เสี่ยงเช่นนี้อีก ไม่เป็นผู้ดู ไม่เป็นผู้จัด ไม่ส่งเสริม ก็น่าจะลดจำนวนอุบัติเหตุที่ไม่คาดหมายไปได้ไม่น้อย เช่นเดียวกับการสนับสนุนให้งดการจุดพลุ และดอกไม้ไฟ

น.ศ.ศูนย์ อ.โพนพิสัย เยือนโยนก

น.ศ.จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เยือน ศูนย์แม่
น.ศ.จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เยือน ศูนย์แม่

19 ธ.ค.52 วันนี้นักศึกษาโยนก จากศูนย์โพนพิสัย และศูนย์เซกา รวมกันกว่า 210 คนมา 5 รถบัส มาร่วมพิธีประสาทปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยโยนก ช่วงเย็นได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับชื่องาน “ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือน”  แบบขันโตก มีงานแสดงของนักศึกษา และนักเรียนในจังหวัดหลายชุด แสดงวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง ส่วนนักศึกษาจาก 2 ศูนย์ก็นำการแสดงบั้งไฟ และฟ้อนรำหลายชุดมาเผยแพร่เช่นกัน  มีการร้องเพลง และฟ้อนรำ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับอบอุ่น ทำกิจกรรมร่วมกัน และดูมีความสุขกันดีกับงานบันเทิงครั้งนี้  .. มีภาพเป็นหลักฐานถึงความสุขจากการฟ้อนรำครับ
     วันรุ่งขึ้นจะเดินทางไปทัศนศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ มี อ.เกศริน อินเพลา อ.ทรงศักดิ์ เมืองฝั้น และนักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยว ร่วมเดินทางไปอำนวยความสะดวก และนำทัศนศึกษาในครั้งนี้

แลกเปลี่ยนระหว่างศิษย์กับอาจารย์

ittiphon25 พ.ย.52 ในคณะวิทย์ใครต่อใครต่างรู้จัก น้องอิทธิพล หรือที่ผมเรียกว่าลูกศิษย์ เพราะ ร.คณบดีก็พูดถึง อาจารย์ผู้สอบหัวข้อก็พูดถึง ส่วนผมรับช่วงเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคนใหม่ ก็ต้องดูแลศิษย์คนนี้ให้เต็มที่หน่อย ก็ต้องบอกว่าตอนนี้ลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว จึงมีเวลาทำงานอีกหลายเดือน แต่เขาก็จะเร่งให้เสร็จในวันนี้วันพรุ่ง ผมก็เอาใจช่วย เพราะเขาว่างเฉพาะตอนเย็น 1)การเข้าพบที่จริงจังนับได้ว่าวันนี้วันพุธเป็นครั้งที่ 2 โดยดูเพียงเอกสารก็ถือว่าเอกสารผ่านไปแล้วกว่า 80% 2)โดยครั้งแรกวันจันทร์ดูทั้งโปรแกรมและเอกสาร ซึ่งถ้าประเมินความสมบูรณ์ให้ได้เพียง 70% เพื่อนที่มาด้วยก็ยังชมเลยว่า ถ้าเมื่อก่อนมาพบอาจารย์ใต้บรรไดบ้านอย่างนี้บ่อย ๆ ป่านนี้จบไปแล้ว ผมก็เชื่อว่าถ้ามีเพื่อนคุมอย่างนี้ น่าจะสำเร็จการศึกษาได้ในไม่ช้า เพราะเขามีศักยภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว .. ดูจากภาพแล้วเขาก็ช่างพูดอยู่ไม่น้อยนะครับ