รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค

รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค
รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค

ทราบข่าวว่า รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาตร์ มสธ.
ท่านจากไปแล้ว ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดพระยาสุเรนทร์
รดน้ำศพ วันที่ 26 มี.ค.57

ท่านทำคุณงามความดีแก่ประเทศไว้มากมาย
ค้นข้อมูลพบคลิ๊ปหนึ่งที่ท่านออก รายการทีวี Intelligence

http://www.youtube.com/watch?v=YqH30XGmwTk

ท่านเคยมาดูประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์บางนา
เสียงของท่านใจดีมาก ฟังได้จากคลิ๊ป Intelligence

ในคลิ๊ปมีคำบรรยายว่า
รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชี้ว่าปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
คือ การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เสรีภาพสื่อ
ซึ่งก็คือหนังสือพิมพ์ วิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ได้อย่างค่อนข้างเต็มที่ จนกระทั่งเกิดนักหนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพ
อย่างเช่น กลุ่มสุภาพบุรุษ นำโดย “ศรีบูรพา” กุหลาบ สายประดิษฐ์

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/43287.html

เรื่องราวของช่องว่าง (space)

ปัญหาช่องไฟในข้อมูล แบบ text
ปัญหาช่องไฟในข้อมูล แบบ text

พอทราบมาว่า มีหน่วยงานราชการบางแห่ง
มอบหมายให้หน่วยงานที่ขึ้นตรง
กรอกข้อมูลใน excel แล้วจัดเก็บเป็น xls หรือ csv
ส่งให้หน่วยต้นสังกัด หรือหน่วยเหนือนำข้อมูลไปรวมกัน
ซึ่งผมก็ใช้เหมือนกัน เพราะง่ายกับผู้ใช้
แต่วันนี้ นำข้อมูลมาใช้ แล้วพบปัญหาในแฟ้ม regist.csv
ดังภาพ เมื่อนำตารางนี้ไปใช้
พบว่าวิชา 000 250 ตอน 1 ไม่มีปัญหา เชื่อมข้อมูลได้ถูกต้อง
แต่วิชา 000 250 ตอน 2 มีปัญหา เชื่อมไม่สำเร็จ
เพราะตอนพิมพ์รหัสวิชา ตอน 2 มีช่องไฟต่อท้ายรหัสวิชา
ที่ถูกคือ “000 250” แต่ไปพิมพ์ “000 250 “
สรุปว่าไปลบช่องไฟที่ต่อท้ายเลข 250 ในตอนที่ 2
ก็จะทำให้ข้อมูลเชื่อมโยงกันได้ปกติ

ออกแบบโฆษณาในสื่อออนไลน์

facebook infographic
facebook infographic

เตรียมแนวไว้พูดคุยกับนักศึกษา
เรื่อง การออกแบบโฆษณาในสื่อออนไลน์
ซึ่งมีคำสำคัญอยู่ 2 คำคือ
ออกแบบโฆษณา และ สื่อออนไลน์

ซึ่งผมเข้าใจเรื่องโฆษณาน้อยกว่าสื่อออนไลน์
จึงได้ออกแบบการสอนไว้แบบเน้นสื่อออนไลน์
เพราะการออกแบบโฆษณาอย่างเดียวทางสาขาดูแลดีแล้ว
1. เริ่มต้นด้วยการพาเข้า page:thaiall
ไปดูเอกสารแนวการสอนที่ถูก pin ไว้บนสุด
2. แล้วพาเข้า groups/thaiebook/
ให้แนะนำตัว แล้วเห็นว่าเราสามารถใช้ group
จัดพื้นที่เป็นสัดส่วนให้พูดคุยกันได้อย่างเป็นส่วนตัว
มอบหมายให้แนะนำตัว และชื่อองค์กรที่อยากประชาสัมพันธ์ให้
3. เริ่มใช้ promote.pptx
ให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์นั้น ต้องรู้บทบาทของคนในสื่อสังคม
โดยรู้จักใช้คำว่า we + he + they
หาก we เข้มแข็ง ก็จะสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งในสื่อสังคม
แล้วมาดูตัวอย่างชาวโลกว่า [เขาทำโฆษณากันอย่างไร]
4. เมื่อเห็นตัวอย่าง และเข้าใจแล้ว จะนำไปใช้
ใน profile, page หรือ group ก็ไม่ยาก
ลองให้นักศึกษา ทำแล้วเล่าให้ฟังก็น่าจะดี
5. *** สอนการเขียนเว็บเพจ 3 หน้าด้วย word
ตาม slides.pptx
เน้นให้ออกแบบเว็บเพจ และใส่เนื้อหาเชื่อมกับชื่อองค์กรข้อ 2
แล้วใช้สื่อที่ออกแบบในข้อ 4 มาประกอบการเขียนเว็บเพจ
ให้ฝากเว็บไว้ที่ thainame.net
แล้วส่งผลงานลิงค์โฮมเพจไว้ใน group ข้อ 2
6. สอนการจัดการภาพอย่างง่ายด้วย iview351
เช่น crop, resize, contrast, sharp
เรียนรู้แล้วก็จะใช้ในข้อ 5
7. เรียนรู้การออกแบบภาพเพื่อการโฆษณา
ผ่านการเรียนรู้รูปแบบของ infographic
ที่ใช้ powerpoint ช่วยในการออกแบบ
เรียนรู้แล้วก็จะใช้ในข้อ 5

facebook promote
facebook promote

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องอยู่ใน computer color album
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10152168573667272.1073741847.350024507271

หลักกิโลแห่งความทรงจำของลีนุกซ์

หลักกิโลแห่งความทรงจำของลีนุกซ์
(Memorable linux milestones)

20 years of linux
20 years of linux

1991 (2534) นายไลนัส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ได้เขียนข้อความส่งเข้าไปใน News group ว่าสวัสดีทุกคนที่นั่น และเริ่มปล่อย Linux code แบ่งปันแก่นักพัฒนาชาวโลก

1992 (2535) Linux ลิขสิทธิ์แบบ GPL (GNU General Public License) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ Linux ประสบความสำเร็จ

1993 (2536) Slackware เป็น Linux ตัวแรกที่ถูกพัฒนาสำหรับเผยแพร่ที่ประสบความสำเร็จ

1996 (2539) นายไลนัส ทอร์วัลด์สไปพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เป็นจุดที่ทำให้เลือกนกเพนกวินเป็นตัวนำโชค (Mascot)

1998 (2541) ยักใหญ่ด้านเทคโนโลยีเริ่มประกาศสนับสนุนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

1999 (2542) Redhat เข้าสู่สาธารณะ

2003 (2546) IBM ทำให้ Linux มีชื่อเสียง โดยประชาสัมพันธ์ระหว่างแข่งขัน Superbowl

2005 (2548) นายไลนัส ทอร์วัลด์สปรากฎขึ้นปก Businessweek และเรื่องราวความสำเร็จของ Linux

2007 (2550) มูลนิธิ Linux ถูกก่อตั้งเพื่อสนับสนุน ป้องกัน และกำหนดมาตรฐาน

2010 (2553) Android OS เป็น Linux ที่ใช้งานบน smartphone และกำลังไต่ขึ้นไปครองตลาด

2011 (2554) ครบปีที่ 20 ของ Linux พบว่ามีพลังขับเคลื่อนโลก ถูกใช้ในซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ตลาดหลักทรัพทย์ โทรศัพท์ เอทีเอ็ม บันทึกสุขภาพ

http://mashable.com/2011/04/06/linux-20-anniversary/

แก้ปัญหาลืมรหัสผ่านของ moodle

กรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle
กรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle

วันนี้ มีเพื่อนที่เป็น admin ถามกรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle
พอมีเวลาเพราะวันนี้ไม่ง่วงนอน จึงเข้าไปแกะ table ใน moodle
แล้วผมตอบไปว่า การเปลี่ยนรหัสผ่านของ admin หรือ user ใด
ใน moodle เข้าไปเปลี่ยนได้ไม่ยากครับ สำหรับกรณีลืมรหัสผ่าน
1. ใช้ phpmyadmin เข้าไปดูรหัสผ่านในตาราง mdl_user
2. รหัสผ่านจะเข้ารหัสไว้อ่านไม่ออก แต่คัดลอกไปวางให้คนอื่นได้เลย
เช่น p ก็จะเป็น 83878c91171338902e0fe0fb97a8c47a
3. เลือกรหัสผ่านของคนอื่นที่เข้าระบบได้ ที่เราทราบรหัสผ่านนั้น
แล้วคัดลอกไปวางแทนรหัสผ่านของ admin
ก่อนคัดลอกไปวาง ก็คัดลอกรหัสผ่านของ admin เก็บไว้ก่อน
เท่านี้ก็เข้าระบบด้วย user ของ admin ได้แล้ว
4. ถ้าไม่มีรหัสผ่านที่ทราบเลย ลองของผมก็ได้
รหัสผ่านคือ p เข้ารหัสแล้วก็เป็นตามข้อ 2
5. วิธีนี้ผมทดสอบกับ 1.5 และ 1.9
ซึ่ง user กับ password ไม่ผูกโยงกัน
Password#2555 = 54f24d3ceb6c4c264cd93d8aee2b2d3e
p = 83878c91171338902e0fe0fb97a8c47a

ผมใช้ระบบใน http://www.thaiabc.com

คำสั่ง pwd

pwd
pwd

คำสั่ง pwd ย่อมาจากคำว่า print working directory คือ คำสั่งแสดงชื่อไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน ว่ากำลังทำงานอยู่ที่ไดเรกทรอรี่ใด เป็นคำสั่งที่มีใน shell พื้นฐาน จึงมีทั้งใน sh (Bourne shell 1977) และ bash (Basic Shell 1989)     ..
pwd – print name of current/working directory
Print the full filename of the current working directory.

การแสดงชื่อไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างมาก ถ้าต้องเปิดพร้อมกันหลาย terminal เพราะคำสั่งที่จะเรียกใช้ได้ต้องอยู่ใน working directory จึงต้องมั่นใจว่าอยู่ในห้องที่ถูกต้อง เช่นห้อง /var/log /etc /home /bin ล้วนมีแฟ้มที่ต้องให้ดำเนินการแตกต่างกันไป
นอกจากวิธีนี้แล้ว ยังสามารถใช้คำสั่ง $export PS1=.. เพื่อเปลี่ยน prompt string ของ shell เพื่อแสดง working directory หรือข้อมูลอื่นได้โดยสะดวก

ปิดวงจร ล่าจารชน closed circuit

ปิดวงจร ล่าจารชน #closed #circuit

เป็นเรื่องราวของอำนาจที่มีอยู่ในหน่วยสืบราชการลับ
กับสายลับที่ทำผิดพลาดไป แต่ key ของเรื่อง
อยู่ที่ [แฮ ก เกอ ร์ ผู้รู้ความจริง] ว่าทั้งหมดคืออะไร
ทนายจะเก่งแค่ไหน แต่ก็แพ้อำนาจอยู่ดี
สุดท้าย วงจรก็ถูกปิด เพราะคดีที่ผู้ร้ายตายในคุก
ก็ไม่ต้องสืบสวนในชั้นศาลอีกต่อไป
.. เขียนสั้น ๆ .. ถ้าอยากรู้ต้องไปดูเองครับ
.. เกรงว่าจะมีคนบอกว่า สปอย #spoil

หนังเข้าฉายเครือเมเจอร์  ฉาย 5 ก.ย.56

http://www.majorcineplex.com/movie/closed-circuit/

ผิดมหันต์ หากเข้าเมืองตาหลิ่ว แล้วไม่หลิ่วตาตาม

ทรมานคนเด็ก
ทรมานคนเด็ก

หลักการ .. เยาวชนต้องมาก่อน
แต่เขาว่า ทรมานคนแก่


กาลครั้งหนึ่ง .. มีหมู่บ้านคนดีรักเด็กแห่งหนึ่ง
การพัฒนาหมู่บ้าน เน้นพัฒนาที่เยาวชน
พวกเขารักเด็กให้เกียรติเยาวชนเป็นที่สุด
เด็กอยากเรียนก็ได้เรียน อยากเล่นก็ได้เล่น
อยากอยู่บ้านเฉย ๆ ช่วยดูแลบ้านก็ได้อยู่
เพราะ เยาวชนคืออนาคตของชาติ
กฎของหมู่บ้านคือไม่เอาเปรียบเด็ก
หากมีใครเอาเปรียบเด็ก ไม่ว่าทางใดก็ตาม
จะถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้าน ไม่ฟังคำโต้แย้ง
และไม่มีคำว่าให้อภัยสำหรับการกระทำนั้น

และแล้ว
วันหนึ่ง มีตา หลาน จูงลาผ่านหมู่บ้าน
โดยตานั่งบนลา
แล้วให้หลานจูงนำทาง
เพียงก้าวแรกที่เหยียบเข้าหมู่บ้าน
ก็ถูกชาวบ้านรุมประนาม ว่าสิ้นคิดอย่างมหันต์
ก่อนจะไปถึงครึ่งหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้านก็พาคนออกมาขวาง พูดสุภาพว่าห้ามผ่าน
บอกว่า ตาจะผ่านหมู่บ้านนี้ไปไม่ได้นะจ๊ะ
เพราะเป็นกฎ เป็นเกณฑ์ ที่ยึดถือมานับร้อยปี
การกระทำแบบนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนี้
จงกลับไปทางเดิม และห้ามผ่านหมู่บ้านนี้อีก
เพราะหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านคนดีรักเด็ก
จะเอาเปรียบเด็ก ให้เด็กจูงลา
แล้วมีตานั่งสบายบนหลังลาไม่ได้เป็นอันขาด

สรุปว่า .. สองตาหลานเข้าใจ รีบเดินกลับทันที
และตกลงกันว่า
ถ้าผ่านหมู่บ้านต่อไป ตาจะไม่เอาเปรียบหลานอีก
เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป
เข้าเมืองตาหลิ่ว ให้หลิ่วตาตาม .. เสมอ
http://www.dek-d.com/board/view/1397577/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=585743691439766&set=a.506822259331910.127514.506818005999002

ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Disaster)

ขั้นตอนการปฏิบัติการตามวัฏจักรของสาธารณภัย
ขั้นตอนการปฏิบัติการตามวัฏจักรของสาธารณภัย

วัฏจักรของสาธารณภัย
1. เกิดสาธารณภัย
2. การตอบโต้และบรรเทาทุกข์
3. การฟื้นฟูบูรณะและก่อสร้างใหม่
4. การป้องกันและลดผลกระทบ
5. การเตรียมความพร้อมรับภัย

เล่าสู่กันฟัง
ว่าพบนิยามของ คำว่า ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Technology Disaster)
ในบทที่ 24 หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยอาจเกิดความเสียหายขึ้นกับระบบ Hardware, Software, Network, Peopleware
แฟ้มข้อมูล และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ถูกทำลาย ทำให้เกิดความเสียหาย
และเป็นสาธารณภัยที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดผลกระทบ
และความเดือดร้อนต่อการดำรงชีวิตของประชาชน

+ http://61.19.100.58/cpn/anewweb/Policy/Draft%20Cpn_DPM_Plan53-57.pdf

+ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/281685345315624/