คำสั่ง pwd

pwd
pwd

คำสั่ง pwd ย่อมาจากคำว่า print working directory คือ คำสั่งแสดงชื่อไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน ว่ากำลังทำงานอยู่ที่ไดเรกทรอรี่ใด เป็นคำสั่งที่มีใน shell พื้นฐาน จึงมีทั้งใน sh (Bourne shell 1977) และ bash (Basic Shell 1989)     ..
pwd – print name of current/working directory
Print the full filename of the current working directory.

การแสดงชื่อไดเรกทรอรี่ปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างมาก ถ้าต้องเปิดพร้อมกันหลาย terminal เพราะคำสั่งที่จะเรียกใช้ได้ต้องอยู่ใน working directory จึงต้องมั่นใจว่าอยู่ในห้องที่ถูกต้อง เช่นห้อง /var/log /etc /home /bin ล้วนมีแฟ้มที่ต้องให้ดำเนินการแตกต่างกันไป
นอกจากวิธีนี้แล้ว ยังสามารถใช้คำสั่ง $export PS1=.. เพื่อเปลี่ยน prompt string ของ shell เพื่อแสดง working directory หรือข้อมูลอื่นได้โดยสะดวก

คำสั่ง ls เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้มในห้องเก็บแฟ้ม

ls - list directory contents
ls - list directory contents

คำสั่ง ls ย่อมาจากคำว่า List คือ คำสั่งสำหรับแสดงรายชื่อแฟ้ม ขนาดแฟ้ม และข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละแฟ้มที่จัดเก็บในห้องเก็บข้อมูล (Directory หรือ Folder)

ls – list directory contents
List information about the FILEs (the current directory by default).

การแสดงรายชื่อแฟ้ม ทางจอภาพ หรือ console เป็นความสามารถปกติของคำสั่งนี้ แต่ความสามารถหนึ่งที่ผมมักใช้เสมอ คือ การแสดงรายชื่อแฟ้มไปสร้างแฟ้มใหม่ เพื่อใช้ทดสอบเกี่ยวกับการจัดการแฟ้ม โดยสร้างแฟ้มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เช่น คำสั่ง ls > a เพื่อให้ได้แฟ้มชื่อ a อย่างรวดเร็ว ถ้าต้องการเพิ่มขนาดหรือข้อมูลในแฟ้ม ก็จะใช้ ls >>a เพื่อเพิ่มต่อท้ายแฟ้มเดิม ซึ่งเป็นความรู้จากระบบ DOS ที่เคยใช้ประจำ

การแสดงขนาดของแฟ้ม ด้วยคำสั่ง ls -l ซึ่งเป็นขนาดข้อมูลที่อยู่ในแฟ้ม เช่น แฟ้มที่มีตัวอักษร 3 ตัวก็จะใช้ 3 bytes แต่ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้พื้นที่ในดิสก์ (disk) เพียง 3 bytes แต่ใช้เท่าขนาดกล่อง (block) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทจะมีขนาดกล่อง (block) ไม่เท่ากัน

การใช้พื้นที่ในดิสก์ สามารถใช้คำสั่ง ls -s ซึ่งแฟ้มจะใช้พื้นที่ในดิสก์เริ่มที่จำนวน 8 sectors แม้แฟ้มเหล่านั้นจะมีขนาดเล็กกว่า แต่เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบแฟ้มในแต่ละอุปกรณ์ บางอุปกรณ์ที่มี IO Block = 4096 bytes แต่บางอุปกรณ์อาจเป็น 2048 bytes หรือ 4 sectors สามารถใช้คำสั่ง $blockdev –getbsz /dev/sda หรือ $stat [file-name] ตรวจดูขนาดของ IO Block ได้ ซึ่ง 8 sectors = 8 * 512 bytes = 4096 bytes โดยแฟ้มที่มีขนาดไม่ถึง 4096 จะใช้พื้นที่ในดิสก์เป็น 4096 bytes หรือ 8 sectors ถ้าขนาดของแฟ้มเป็น 4100 bytes จะใช้พื้นที่ในดิสก์เป็น 16 sectors หรือ 8192 bytes หากต้องการทราบว่าระบบแฟ้มในเครื่องแบ่งระบบแฟ้มไว้อย่างไรให้ใช้คำสั่ง $df -a และ $df -i แล้วสามารถใช้คำสั่งแสดงจำนวน block หรือพื้นที่เก็บข้อมูลของแต่ละ device

http://www.thaiall.com/isinthai/linux_ls.php

เช่น $blockdev –getsz /dev/sda
208,782 sectors = 1 disk = 106,896,384 KB = 101.9 MB
71,132,000 sectors = 1 disk = 36,419,584,000 KB = 34,732.4 MB

ต.ย. ตัวเลือก (options)
-a, –all = show hidden and unhidden
-l = use a long listing format
-s, –size = print size of each file, in blocks
-S = sort by file size (not show size)

ldap server สำหรับ windows

ldap for windows
ldap for windows
22 พ.ย.55 จากการทดสอบติดตั้งโปรแกรม ldap for windows เพื่อจัดตั้ง ldap server
สำหรับให้บริการข้อมูล ก็พบว่า OpenLDAP for Windows 2.4.30 ติดตั้งง่าย
ในการติดตั้งก็กด next เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นรหัสผ่านของ user name ที่ผมได้กำหนดไป
โดยกำหนดให้เหมือนค่า default password ของ server ที่มีมาให้
เมื่อใช้คำสั่ง netstat -na ก็พบว่า port 389 ถูกเปิดรอให้บริการอยู่แล้ว
แล้วใช้ Apache Directory Studio
เชื่อมต่อไปที่ host:localhost port:389
แล้วเลือก No Authentication ก็เข้าได้แล้วครับ
ldap : apache directory studio
ldap : apache directory studio

การติดตั้ง Apache Directory Studio นั้น ต้องมี JRE อยู่ในเครื่อง
แล้วผมก็ copy ห้อง /jre ไปไว้ใน  C:\Program Files\Apache Directory Studio
แล้วสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ตามปกติ เพราะพัฒนาด้วยภาษา Java
ถ้าเข้าระบบแบบ No Authentication จะมองเห็นข้อมูลทั่วไป
แต่ไม่เห็นรหัสผ่าน ของสมาชิก จะต้องกำหนด User และ Password สำหรับแบบ Simple Authentication
จึงจะเข้าแก้ไขข้อมูลที่ถูกปิดไว้ ได้แก่ password ของ member นั่นเอง

ldap ou=xxx,dc=xxx,dc=xxx
อาทิ ldap ou=xxx,dc=xxx,dc=xxx