วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก

     รายงานการประชุม วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก วันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2553  เวลา  10.00 – 12.00 น. ณ  ห้องประชุมอาคารดร.เทียม โชควัฒนา มีเพื่อนบุคลากรเข้าร่วมประชุม 31 ท่าน ประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 5 ท่านได้แก่ 1. รศ.อรวรรณ ทิตย์วรรณ 2. อ.อติชาต หาญชาญชัย  3. นายวิเชพ ใจบุญ 4. อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง  5. อ.คนึงสุข นันทชมภู  ประกอบด้วยอาจารย์ที่ทำงานมามากกว่า 1 ปีจำนวน 12 ท่านได้แก่ 6. ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ 7. ผศ.สุรัตน์ วรางค์รัตน์  8. อ. ศรีเพชร สร้อยชื่อ 9. อ.ปฏิญญา ธรรมเมือง 10. อ.แดน กุลรูป 11. อ.บุญรักษา ปัญญายืน 12. อ.สุริยพันธุ์ ยอดดี 13. อ.คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ 14. อ.เกศริน อินเพลา  15. อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ 16. อ.ปาริชาต สอนสมบูรณ์  17. อ.ศรินยา โพธิ์ขำ
     ประกอบด้วยอาจารย์ใหม่ที่ทำงานมาน้อยกว่า 1 ปีจำนวน 4 ท่านได้แก่ 18. อ.ภาณี วิภาศรีนิมิต 19. อ.เบญจวรรณ นันทชัย 20. อ.ฉัตรชัย หมื่นก้อนแก้ว 21. อ.สกุลศักดิ์ อินหล้า ประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานและเจ้าหน้าที่จำนวน 10 ท่านได้แก่ 22. นางอังคณา เนตรรัศมี  23. นางสาวเรณู อินทะวงศ์ 24. นางลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์ 25. นางเจนจิรา เชิงดี 26. นางสาวบุหลัน เครือเป็งกุล 27. นางกานต์ เลิศวิภาภัทร 28. นางสาวกัลยา รังสรรค์ 29. นางสาวจินดา คำภิโลชัย  30. นางสาวอนุสรา สัญญารักษกุล 31. นายธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ      
     ประเด็นที่นำเสนอก่อนการวิพากษ์ประกอบด้วย 1) การปฐมนิเทศน์บุคลากรใหม่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ผลการพัฒนาระบบในปีการศึกษา 2552 3) การประชาสัมพันธ์ระบบอินทราเน็ต และการตอบรับ 4) การดำเนินการในแต่ละระบบ 5) การนำเสนอโดยเจ้าของระบบฐานข้อมูล
     ประเด็นข้อสรุปที่ได้จากการวิพากษ์ประกอบด้วย 1) ประเด็นสารสนเทศของบุคลากรที่นำเสนอสู่ภายนอก 2) ประเด็นเชื่อมโยงรายงานวิจัยบุคลากรกับระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง 3) ประเด็นเชื่อมโยงผลงานกับการประเมินบุคลากรสิ้นปีการศึกษา 4) ประเด็นเกณฑ์ประเมินการเรียนการสอน 5) ประเด็นการให้สารสนเทศผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
+ http://www.yonok.ac.th/person
+ http://www.yonok.ac.th/intranet
+ http://yoso.yonok.ac.th
+ http://www.4shared.com/document/53FstSVa/meeting_vipark_530512_v2.html

ญาติสนิทเสียอีกหนึ่งคน

15 พ.ค.53 วันนี้ผมมีแผนทำงานหลายกิจกรรม แต่ต้องชะงักงันไป ทราบว่าญาติท่านหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกยิงในเช้าวันนี้ ต้องผละงานออกเดินทางทันที เป็นเรื่องเศร้าที่ต้องทำใจ .. และผมก็ไม่เคยทำใจได้จากการจากไปของคนรอบตัวแม้แต่คนเดียว
     ก่อนหน้านี้ เมื่อ 27 เม.ย.53 เสียเพื่อนสนิทด้วยเหตุทำร้ายตนเอง เมื่อ 5 พ.ย.51  เสียตาแสนด้วยเหตุอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟ เมื่อ 2 พ.ย.50 เสียยายพรรณีด้วยเหตุมะเร็งในถุงน้ำดี เมื่อ 26 ส.ค.46 เสียย่าเป็งด้วยโรคชราอายุ 91 ปี เมื่อปี 2540 เสียพ่อสอาดด้วยเหตุมะเร็งลำใส้ใหญ่ เมื่อปี 2539 เสียยายคำปันด้วยเหตุมะเร็งตับ
     การจากไปของคนรอบตัวเป็นบทเรียนว่า สักวันเราก็จะต้องจากไป .. เครียด จึงดำเนินการดังนี้ 1) สวมชุดดำชั่วชีวิต ลดความอยาก ลดความคาดหวัง และความต้องการภายนอก ซึ่งทำได้ง่ายที่สุด และสวมมาตั้งแต่พ.ย.50 2) ลดอาหารกลางวัน เพราะเป็นมื้อที่อันตรายที่สุด จากเหตุไม่อาจควบคุมคุณภาพ  ลดปริมาณสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และลดการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่นลงได้ 1 ใน 3 ของชีวิต โดยเริ่มลดอาหารกลางวันอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่พ.ย.50

กระบวนการเรียนรู้ทั้ง 10 แบบ

อ.พจนา ทรัพย์สมาน

14 พ.ค.53 เข้ารับการอบรมเรื่อง การสอนให้ผู้เรียน แสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดย อ.พจนา ทรัพย์สมาน สพท.นครสวรรค์ เขต 1 ซึ่งวิทยากรได้ให้แนวการเขียนกระบวนการเรียนรู้ ทั้งหมด 10 กระบวนการดังนี้
     1. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด ประกอบด้วย 1) สังเกต 2) จำแนกความแตกต่าง 3) หาลักษณะร่วม 4) ระบุชื่อความคิดรวบยอด 5) ทดสอบและนำไปใช้
     2. กระบวนการสร้างความตระหนัก ประกอบด้วย  1) สังเกต 2) วิเคราะห์ วิจารณ์ 3) สรุป
     3. กระบวนการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 1) กำหนดและวิเคราะห์ปัญหา 2) สร้างและประเมินทางเลือก 3) วางแผนกำหนดวิธีการแก้ปัญหา 4) ลงมือแก้ปัญหาตามแผน 5) ประเมิน ปรับปรุงสรุปผลการแก้ปัญหา
     4. กระบวนการปฏิบัติ ประกอบด้วย  1) สังเกต รับรู้ 2) ทำตามแบบ 3) ทำโดยไม่มีแบบ 4) ฝึกทำให้ชำนาญ 5) ทำอย่างสร้างสรรค์
     5. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วย  1) ตั้งปัญหา 2) ตั้งสมมติฐาน 3) รวบรวมข้อมูล 4) วิเคราะห์ข้อมูล 5) สรุปผล
     6. กระบวนการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย  1) กำหนดจุดประสงค์ 2) วางแผน 3) ศึกษาค้นคว้าและบันทึกข้อมูล 4) นำเสนอ ข้อมูล วิเคราะห์อภิปราย 5) สรุปความรู้
     7. กระบวนการสำรวจรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) กำหนดจุดประสงค์ 2) วางแผน 3) สำรวจและบันทึกข้อมูล 4) นำเสนอ ข้อมูล วิเคราะห์อภิปราย 5) สรุปความรู้
     8. กระบวนการสร้างสุขนิสัย ประกอบด้วย  1) สังเกต รับรู้ 2) คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 3) สร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสม 4) วางแผนการปฏิบัติ 5) ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
     9. กระบวนการสร้างค่านิยม  ประกอบด้วย  1) สังเกต ตระหนัก 2) ประเมินเชิงเหตุผล 3) กำหนดค่านิยม 4) วางแผนการปฏิบัติ 5) ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
     10. กระบวนการเรียนภาษา ประกอบด้วย  1) ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ 2) สร้างความคิดรวบยอด 3) สื่อความหมาย ถ่ายทอดความคิด 4) พัฒนาความสามารถทางภาษา
+ http://www.pojana.com
+ http://www.facebook.com/photo.php?pid=3881467&id=814248894
+ http://www.thaiall.com/e-learning

มองก้าวของระบบภูมิสารสนเทศ(243)

รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา

14 พ.ค.53  มีโอกาสร่วมประชุมที่สำนักงานจังหวัด โดยมี รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา จากสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) มาเสนอขอบเขตของงาน การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS = Geographic Information System) เพื่อการวางแผนพัฒนาจังหวัด ทำให้ได้ความรู้ว่าประเทศของเราพัฒนาไปแล้วหลายก้าว ผู้บริหารจังหวัดมีนโยบายใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารมาเชื่อมโยงกับระบบภูมิสารสนเทศจากภาพถ่ายดาวเทียม ช่วยให้การบริหารจัดการงบประมาณแต่ละโครงการลงในแต่ละพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับตัวบ่งชี้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานจำนวน 42 ตัว
            ระบบภูมิสารสนเทศแตกต่างกับ Google Map หรือ Google Earth เพราะบริการของ google.com เป็นข้อมูลทั่วไปที่ไม่มีสารสนเทศที่ออกแบบมาเฉพาะกลุ่มบุคคล ไม่มีความเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เป็นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อถือในข้อมูลพิกัด ไม่อาจควบคุมพิกัดและชั้นความลับของแต่ละสถานที่ แต่ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจจำเป็นต้องมีข้อมูลพิกัดของสถานที่ที่เชื่อถือได้ ควบคุมชั้นความลับได้ สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลโครงการ งบประมาณ ปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการร่วมกันกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
            ระบบแผนที่ในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานกำหนดพิกัดของสถานที่ เช่น พื้นที่ป่า พื้นที่บ้าน พื้นที่น้ำ พื้นที่ทำกินที่ยังมีการทับซ้อนอยู่ระดับหนึ่ง เนื่องจากแต่ละหน่วยมีระบบฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกันก็จะพบปัญหาทับซ้อน หากหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลพิกัดแผนที่มาใช้แบบบูรณาการก็จะพบประเด็นความไม่ตรงกันในรายละเอียด แม้พิกัดระดับประเทศ เช่น ปราสาทเขาพระวิหารก็ยังไม่สามารถสรุปผลได้ แต่เชื่อได้ว่าถ้าหน่วยงานที่ดูแลสารสนเทศมาเปิดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและยินดีปรับข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก็จะลดปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

ความเครียด กระตือรือร้น และความสมเหตุสมผล

316. Stress is an ignorant state.  It believes that everything is an emergency. Natalie Goldberg ตีความ ความเครียดคือสภาวะชะงักงันทางความคิดที่เชื่อว่าทุกอย่างรีบเร่งไปหมด .. ยังงี้ต้องผ่าทางตัน

259. One man has enthusiasm for 30 minutes, another for 30 days, but it is the man who has it for 30 years who makes a success of his life. Edward B. Butler ตีความ คนที่มีความกระตือรือร้นนานที่สุดคือคนที่ประสบความสำเร็จ .. ใกล้กับไฟไหม้ฟางเลยครับ

169. A man must love himself in the right way. Dr.Thiam Chokwattana ตีความ เกิดเป็นคนต้องรักตนเองในทางที่สมเหตุสมผล .. ต้องใช้ความรู้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

ชัยโย เว็บมหาวิทยาลัยหลุด malware ใน google.com

12 พ.ค.53 วันนี้ขณะร่วมประชุมวิพากษ์ระบบฐานข้อมูล 15 ระบบ และระบบข้อมูลส่วนบุคคลอีก 1 ระบบ ใจคอผมไม่สู้ดีนัก เพราะกังวลว่าเว็บมหาวิทยาลัยที่ติด black list เป็น malware ใน google.com ตั้งแต่วันอาทิตย์จะหลุดหรือไม่ เพราะวันจันทร์ และวันอังคารมี 2 อาการได้แก่ ผลสืบค้นใน google.com บอกว่าเป็นเว็บอันตราย เมื่อเปิดด้วย firefox ก็ติด block ซึ่ง google.com แนะนำว่า พิมพ์ url ไปเลยถ้าคิดว่าปลอดภัย หรือแก้ security preference ของ firefox
     การแก้ไขเริ่มตั้งแต่เช้าวันจันทร์ด้วยการลบ malware ออกจาก server ตัวหนึ่ง ซึ่งติดเฉพาะ root directory และพบว่า server อีกตัวหนึ่ง หมดอายุต้องปลดประจำการอย่างไม่มีทางเลือก หลังจากแก้ไขจนมั่นใจว่าเครื่อง server ที่ติด malware สะอาดแล้วเข้า webmasters tools ของ google.com เพื่อส่ง request ให้ทาง google.com ตรวจสอบอีกครั้ง เช้าวันอังคารไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงผลการสืบค้นยังพบปัญหาเหมือนเดิม และพบว่า firefox ได้ block เว็บเราทุกเครื่อง จึงตรวจเครื่องทุกตัวและไม่พบปัญหาใดเลย จึงตัดสินใจขอ request เครื่องบริการหลักเพิ่มอีก 1 ตัว เพราะการส่ง request จำเป็นต้อง verify กับเครื่องบริการ เพื่อแสดงตนเป็นเจ้าของ ในเช้าวันพุธก็ยังพบปัญหาคิดว่าจะส่ง request จากเครื่องบริการเพิ่มอีก 2 ตัว แต่ติดประชุม หลังประชุม จึงทำการ verify เครื่องบริการเพิ่ม 2 ตัว แล้วส่ง request รวมเป็นการส่ง request จากเครื่องบริการทั้งหมด 4 ตัว ให้ทาง google.com ได้ตรวจสอบ .. แต่ส่งประมาณ 10 ครั้งเพราะไม่มี message ค้างไว้ว่าส่งแล้วกี่ครั้ง
     เว็บไซต์และเครื่องบริการเว็บทุกตัวกลับมาเป็นปกติในคืนวันพุธ อาจเป็นได้ 2 กรณี คือ 1) google.com เปลี่ยนนโยบายการตรวจสอบเราจึงเข้าคิวนานกว่าเดิม และผลการส่ง request ตั้งแต่วันจันทร์เช้ามีผลแล้ว แต่เรากังวัลจึงดำเนินการอย่างต่อเนื่องกับทุกเครื่อง และการแก้ไขไม่ได้แก้ครั้งเดียวเปลี่ยนทั้งระบบ เพราะเช้าวันพุธพบว่าปัญหาใน firefox หายไป 2) การส่ง request ในหลายเครื่องบริการอาจไปปลดล๊อกปัญหาที่ซ่อนบ่มแล้ว  google.com ก็เข้ามาดำเนินการภายใน 8 ชั่วโมง เพราะเครื่องบริการ 2 ตัวหลักมีตัวหนึ่งเคยรั่ว แม้ไม่พบรอยรั่วเดิม แต่แฟ้มที่เป็นแหล่ง verify กับ google.com ถูกลบไป
     มีเว็บไซต์ที่พบปัญหาลักษณะเทียบเคียงได้กับของมหาวิทยาลัยให้ได้ติดตามคือ yuparaj.ac.th rajapark.ac.th qc.ac.th pccl.ac.th crc.ac.th cpru.ac.th bodin2.ac.th tepleela.ac.th (JS/Pegel.79003) หลังจากเราหลุดจาก malware จึงส่งข้อความแจ้งให้เพื่อนใน facebook ได้ทราบ ประกอบด้วย
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000116337120
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000116786880
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000136205941
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000171866090
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000371778383
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000390372326
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000651045886
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000865597335
http://www.stopbadware.org/home/reportsearch

ลองถ่ายภาพจาก facebook ส่ง decode

12 พ.ค.53 ส่งภาพต้นฉบับที่ใช้ QR Code Generator ส่งให้เพื่อแปลหรือถอดรหัสทาง facebook ก็มีน้องทรายตอบได้ เพราะมี BlackBerry และ Decoder สำหรับอ่าน QR Code ซึ่งคำตอบที่ได้ถูกต้อง  ตกเย็นวันนี้ผมก็ใช้โทรศัพท์ของ Miso ถ่ายภาพ แล้วส่งภาพไป ถอดรหัส (Decode) ที่ http://zxing.org/w/decode.jspx หรือ http://www.drhu.org/QRCode/QRDecoder.php พบว่าถอดรหัสได้ แม้ภาพจะเลอะไปบ้าง แต่ทั้ง 2 ภาพถูกถอดออกมาเป็นคำได้ถูกต้อง

บาร์โค้ดที่พบในแบล็คเบอรี่ (242)

คำนี้ที่อยู่ใน barcode คืออะไร ให้ทายครับ

11 พ.ค.53  บาร์โค้ดถูกพบบนสินค้าทั่วไป หรือติดบนชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า เพื่อใช้แทนการแสดงรหัสสินค้าที่เป็นตัวเลขโดยใช้สัญลักษณ์แท่งสีดำและสีขาวเรียงรายอย่างเป็นระเบียบที่มีความหนาบางและห่างที่ไม่เท่ากัน แล้วใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดยิงแสงแล้วรับข้อมูลการสะท้อนแสงกลับมาถอดรหัสเป็นข้อมูล บาร์โค้ดได้รับสิทธิบัตรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ.2495 ส่วนรหัสที่ใช้ในปัจจุบันและยอมรับกันมากคือ EAN (European Article Number) หลังจากผ่านไปกว่า 40 ปีก็มีการพัฒนาบาร์โค้ดขึ้นอีกมากมาย และหนึ่งในบาร์โค้ดที่ได้รับความนิยมได้แก่ บาร์โค้ด 2 มิติหรือคิวอาร์โค้ด (QR Code) คือรหัสแบบหนึ่งที่เก็บข้อมูลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีลายจุดสีดำใหญ่สามมุม มักใช้เก็บข้อมูลชื่อสินค้า ราคา เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่เว็บไซต์ มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแบล็คเบอรี่
                คิวอาร์โค้ดถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทเดนโซ ประเทศญี่ปุ่น ในปีพ.ศ.2537 คำว่าQR มาจาก Quick Response แปลว่า การตอบสนองที่รวดเร็ว ปัจจุบันบาร์โค้ดชนิดนี้ได้รับความนิยมกับโทรศัพท์ที่มีกล้องถ่ายภาพ และติดตั้งซอฟท์แวร์ถอดรหัสภาพ ผู้ใช้สามารถใช้กล้องถ่ายบาร์โค้ดจากหนังสือพิมพ์ แผ่นป้ายโฆษณา หรือเว็บไซต์ แล้วถอดรหัสเป็นข้อความหรือที่อยู่เว็บไซต์แล้วบันทึกไว้ในโทรศัพท์ ซึ่งง่ายกว่าการพิมพ์ทีละตัวอักษร ความสามารถของคิวอาร์โค้ดสามารถนำเสนอข้อมูลเลขอารบิกได้ถึง 7,089 ตัว หรือบันทึกตัวอักษรแปดบิทได้ 2,953 ไบท์
                ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2553 บริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด ร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สร้างนวัตกรรมการสื่อสารกับผู้ชม โดยเปิดให้ผู้ชมมีส่วนร่วมโดยใช้บาร์โค้ดแบบคิวอาร์โค้ดที่นับว่าทันสมัยที่สุด ได้สแกนบาร์โค้ดของรายการโทรทัศน์และเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแบล็คเบอรี่ (BlueBerry Mobile) ของตนสำหรับติดต่อกับรายการหรือทีมข่าว ซึ่งผู้เขียนก็ได้เห็นรายการที่คุณนารากร ติยายน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ชวนให้เพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อผ่านบาร์โค้ด สำหรับท่านที่ต้องการสร้างคิวอาร์โค้ดด้วยข้อมูลของตน สามารถเข้าเว็บไซต์  qrstuff.com qrcode.kaywa.com หรือ generator.beetagg.com เพื่อใช้บริการสร้างบาร์โค้ดแบบออนไลน์แล้วคัดลอกไปเผยแพร่ในสื่ออื่น ให้เพื่อนที่มีโทรศัพท์ BlackBerry และซอฟท์แวร์ถอดรหัสบาร์โค้ดได้ข้อมูลหรือข้อความสำหรับเชื่อมต่อ เช่น ผู้เขียนมีเว็บไซต์วิชาการก็จะสร้างคิวอาร์โค้ดแล้วพิมพ์สติกเกอร์ติดไว้หลังรถยนต์ เพื่อนที่ขับรถตามมาก็จะถ่ายภาพแล้วถอดรหัสเป็นข้อมูลสำหรับเข้าเว็บไซต์ของผู้เขียน เป็นต้น
+ http://zxing.org/w/decode.jspx
+ http://www.drhu.org/QRCode/QRDecoder.php

แผนภาพแสดงบทบาทของกุญแจแฟ้มดิจิทอล

e-document

10 พ.ค.53 แฟ้มดิจิทอลออนไลน์ หรืออีดอคคูเมนท์ (e-document) ที่พัฒนาและใช้งานในสถาบัน มีเหตุปัจจัยที่ทำให้หลายหน่วยงานให้ความนิยม อาทิ ส่งแฟ้มขนาดใหญ่เข้าระบบได้ง่าย เผยแพร่แฟ้มให้ทุกคนเข้ามาดาวน์โหลดโดยไม่เป็นภาระของผู้เผยแพร่ จดจำชื่อได้ง่าย นำลิงค์ไปใช้ในระบบอื่นได้ง่าย มีกุญแจเข้าใช้ 2 ระดับทำให้ผู้ใช้ควบคุมได้ แผนภาพนี้ตัดมาจากแฟ้ม powerpoint ซึ่งแสดงอยู่หลายเรื่องในการอบรมครั้งหนึ่ง
+ http://www.thaiall.com/ppt/file_manage_01.ppt
+ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9102

แผนผังการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

แผนผังแสดงการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

 10 พ.ค.53 หลายปีก่อนจำได้ว่าเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการจัดการแฟ้ม เพื่อส่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง โดยใช้วงจร PDCA เพื่ออธิบายให้เพื่อนร่วมงานได้เข้าใจ แล้วเข้าไปใช้งานระบบเพื่อประเมินตนเองได้ง่าย มีวันที่สร้างติดอยู่ใน diagram นี้ด้วย คือวันที่ 7 มีนาคม 2551 แล้วก็จัดกิจกรรมมาแล้ว 2 ปี ๆ ละหลายครั้ง ซึ่งเป็นการใช้งานระบบที่ไม่ซับซ้อนเลย ปีนี้คือปี 2553 ก็มีแผนจัดอบรมอีกแล้ว แต่เป็นระดับบุคคล ก็จะใช้เวทีของการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูลเป็นอีกเวทีหนึ่งในการนำเสนอเรื่องนี้ และจะนำภาพนี้เข้าไปไว้ในคู่มือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยลัยด้วย
+ http://www.thaiall.com/sar/sar_flow50.gif