ตัวตายตัวแทนกับปัญหาเน็ตล่ม

18 ธ.ค.52 วันนี้ระบบ DHCP Server ที่ทำหน้าที่แจกไอพีทำงานผิดปกติ ช่วงเช้ามีสายเข้ามาหน่วยงานไอทีมากกว่า 10 สาย ลองทดสอบดูก็พบว่ามีปัญหาจริง แต่ผู้ดูแลระบบมือหนึ่งติดภาระกิจ และอยู่นอกพื้นที่ ครั้งนี้โชคดีที่ อ.วิเชพ ใจบุญ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบเครือข่ายเข้ามาช่วยดู ทำให้พบหลายประเด็นที่นำไปสู่การแก้ไข ดังนี้ 1) วันนี้ระบบอินเทอร์เน็ตภายในที่ร้องขอบริการจากเครื่อง DHCP ไม่แสดงหน้า Login ทำให้ไม่มีใครในองค์กรใช้อินเทอร์เน็ตได้ 2) 2 วันที่ผ่านมามีการ upgrade  DHCP Server 3) 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาระบบ Login ของ DHCP Server ตอบสนองช้าผิดปกติ จึงเป็นที่มาของข้อ 2 4) อ.วิเชพ พบว่าเมื่อยกเลิก User Authentication แล้วเข้าอินเทอร์เน็ตได้ปกติ 5) แต่เวลาต่อมาพบว่าเข้าอินเทอร์เน็ตได้เฉพาะเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ออกไปเว็บไซ์ภายนอกไม่ได้
     6) พบว่ามีนโยบายกำหนด Load Balance ทำงานกับ ADSL และ Leased Line แต่ ADSL ล่ม ทำให้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ทุกคนล่มด้วย ถ้าแก้ไขก็ทำได้ด้วยการ config ให้ล่มขาใดแต่ออกอีกขาได้เอง .. เจอกรณีนี้เพราะทั้งองค์กรมีเครื่อง อ.เชพ ออกเน็ตได้เครื่องเดียว เนื่องจากกำหนดนโยบายให้ออก Leased Line แต่ของทุกคนในมหาวิทยาลัยผ่าน Load Balance เมื่อ Load Balance ล้ม ทำให้เครื่องของ อ.เชพ เป็นเครื่องเดียวที่หลุดผ่านนโยบายข้อนี้ออกไปได้ และเป็นเหตุให้พบปัญหาที่การ config ที่เกิดขึ้นหลัง upgrade DHCP Server 7) ผลการตรวจ ADSL พบว่าไม่สามารถเชื่อมกับผู้ให้บริการ คือไฟ internet ที่ router ไม่ขึ้น จึงย้าย Net ทั้งหมดมาไว้กับ Leased Line เป็นวิธีแก้ปัญหาจากข้อ 6 8) แก้ปัญหา ADSL ล่มได้ แต่ Login ยังช้าเหมือนเดิม เป็นปัญหาพื้นฐานที่พึงเกิดขึ้นไม่นานมานี้
     9) อ.วิเชพ สงสัยว่าการย้ายข้อมูลผู้ใช้ เป็นแบบ import หรือ copy เพราะถ้า DHCP Server ต่างรุ่น การคัดลอกมาอาจมีปัญหา ต้องรอสอบถามจากผู้ดูแลระบบมือหนึ่งก่อน เพราะระบบสมาชิกองค์กรเป็นเรื่องใหญ่ ที่อาจเป็นต้นเหตุของหลายปัญหาได้
10) พบว่าการกำหนด Gateway 2 เบอร์ผิดจากที่ควรจะเป็น แต่แก้ไขให้เลือกเบอร์เดียวก็ไม่ทำให้ปัญหาหมดไป 11) มีข้อสงสัยเรื่องเว็บเพจ Login ที่มีการแก้ไขมาหลายสัปดาห์แล้ว และแก้กลับคืน แต่วันนี้พบเว็บเพจ Login รุ่นเดิมที่ใส่ภาพกิจกรรมนักศึกษาเข้าไป ซึ่งไม่น่าจะแสดงขึ้นมาได้อีก อาจเป็นปัญหาทาง Script ของระบบที่ incompatible กับ DHCP Server 12) มีการแก้ไขให้ใช้ได้ และผ่าน  User Authentication ประมาณ 13.00น. แล้วผลทดสอบก็ใช้งานได้ แต่ได้รับแจ้งจาก อ.ตา และ อ.บอย ว่า 17.00น. ยังมีปัญหาเข้า net ไม่ได้เกิดขึ้นอีก ถ้าเป็นจริงคงต้องยกเลิก User Authentication เหมือนที่ทำในข้อ 4 ไปก่อน เพื่อให้ใช้งานได้ และรอหารือกับผู้ดูแลระบบมือหนึ่งที่ติดภาระกิจ และอยู่นอกพื้นที่
??? เรื่องนี้ผู้ใช้ทั่วไปคงอ่านเข้าใจยาก .. ผมใช้เตือนความจำระหว่างทีมไอทีเป็นเป้าหมาย

ผลการทดสอบติดตั้ง Skype และใช้ video

 

ทดสอบใช้ skype
ทดสอบใช้ skype

20 ธ.ค.52 ผู้ใหญ่ใจดีแนะนำให้ใช้โปรแกรม skype ที่ช่วยในการสื่อสารชั้นเยี่ยม คู่แข่งของ camfrog และ msn ผมจึงแนะนำ อ.บอย กับ อ.เอก ให้ติดตั้ง และทดสอบกับ น้องแบงค์ และน้องหนึ่ง และ อ.วิเชพ รับทราบว่าผลการทดสอบใช้ได้ แต่ติดปัญหาเรื่องไม่มี webcam ภายนอก
     ขั้นตอน เริ่มจากการติดตั้ง เปิดใช้ Skype แล้ว Sign in เข้าระบบ จากนั้นเลือก Menu Bar, Contacts, New Contact แล้วค้นหาเพื่อน ด้วย Skype Name หรือ full name เช่น yonokburin เมื่อพบแล้วก็ Add Contact แล้วผู้รับจะพบข้อความใน conversations เท่านี้ก็สามารถ call + answer เพื่อสื่อสารกันได้
     หากคู่สนทนา กดปุ่ม turn on : video คู่สนทนาจะเห็น video ของอีกฝ่าย แล้ว skype สามารถมองเห็น video แบบ full screen ได้  ซึ่งยอมรับว่าเป็นวีดีโอที่ชัดมากจาก web cam build-in ธรรมดาของ notebook พบว่า video มีคุณสมบัติที่น่าสนใจ เช่น 1) share full screen 2) Take a snapshot  3) เรื่องเสียงชัดดี แต่พบปัญหาเสียงหอน เพราะเครื่องรับกับเครื่องส่งอยู่ติดกัน ถ้าใช้เวลาในที่ทำงานเล่น skype คงไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแน่
+ http://it.yonok.ac.th/anuchit/SkypeSetup.rar

ปิดร่างรายงานการวิจัย sar51 แล้ว

หน้าจอโปรแกรม การประเมินตนเอง 2550 - 2551
หน้าจอโปรแกรม การประเมินตนเอง 2550 - 2551

16 ธ.ค.52 วันนี้ผมปิดร่างรายงานการวิจัย “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2551 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง” จากการส่งร่างให้ทีมวิจัยทั้ง 8 คนตรวจสอบก็ดำเนินการไปแล้ว ต่อจากนี้จะประสานส่งรายงานตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะมีกลไกดังนี้ 1) ส่งให้คณบดีพิจารณา 2) คณะกรรมการวิจัยในคณะ 3) สถาบันวิจัย 4) คณะกรรมการของสถาบันวิจัย 5) เวทีวิจัยของมหาวิทยาลัย 6) ท่านอธิการ ถ้าผ่านกลไกนี้ก็จะปิดงบถ่ายเอกสารของโครงการ แล้ววางแผนรวมทีมวิจัยโครงการต่อยอดกับข้อมูลปี 2552 เพื่อขยายให้ถึงระดับบุคคล ซึ่งมีความเป็นไปได้ด้วย 2 ปัจจัย คือ ท่านอธิการสนับสนุน และบุคลากรมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจากการอบรมในเดือนที่ผ่านมา โดยบทคัดย่อมีดังนี้
      งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลให้หน่วยงานจัดเก็บข้อมูลการประเมินตนเอง และเพื่อให้ผู้ประเมินตรวจสอบหลักฐานเพื่อการประกันคุณภาพด้วยความพอใจ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 2 กลุ่ม รวม 13 คน คือ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา 7 คน ตัวแทนคณะวิชาและสาขาวิชา 6 คน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือเครื่องบริการไอไอเอส ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลไมโครซอฟท์แอคเซส ใช้แบบประเมินความพึอพอใจหลังการอบรมใช้งานโปรแกรม และหลังการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับสถาบันเสร็จสิ้น โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ งานที่พัฒนาขึ้นสามารถเลือกข้อมูลปีการศึกษา 2550 หรือ 2551 แบ่งเป็นระบบย่อยที่สำคัญ 6 ระบบ ประกอบด้วย 1) ระบบเข้าใช้งานของผู้ใช้  2) ระบบนำแฟ้มข้อมูลเข้าตามเกณฑ์มาตรฐาน  3) ระบบบันทึกรายละเอียดตามตัวบ่งชี้ 4) ระบบจัดการข้อมูลพื้นฐาน 5) ระบบปรับปรุง  และ 6) ระบบรายงานผลประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมของหน่วยงานโดยรวมอยู่ระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24, S.D = 1.11) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นยังไม่ตอบสนองความพึงพอใจต่อผู้ใช้ทั้ง 2 กลุ่มในระดับมาก
     The objective of this operational research was to develop the self assessment system to serve the satisfaction of users and assessors. This system used the case study of YONOK University.  The data sampling is divided into 2 groups consisting of 7 assessors and 6 faculties. The system development tools were Internet Information Server, PHP Interpreter, AJAX and Microsoft Access Database. 5-scale rating questionnaire was collected to evaluate system performance after finishing training and evaluation of the system. This system could be surve to database of 2550 and 2551.  There are 6 sub-systems: user’s login, documents upload, indicator update management, and common data set management, data updating and reporting system. The evaluation result of user’s satisfaction was high (a mean of 3.71 and standard deviation of 1.16). The evaluation result of assessor’s satisfaction was also moderate (a mean of 3.24 and standard deviation of 1.11). It is concluded that the system performance was not satisfy to both group in high level.
+ http://www.thaiall.com/research/sar51/fullpaper_sar51_521216.zip  500 KB
ถ้าท่านใดอ่านแล้วมีข้อเสนอแนะ แจ้งได้ครับ เพราะยังไม่ปิดงบถ่ายเอกสาร เป็นเพียงร่างรายงาน

ติดตั้ง camfrog แบบแม่และผู้ใช้ ไว้ประชุมกับผู้ใหญ่ใจดี

การสนทนาด้วย camfrog แบบเห็นภาพ
การสนทนาด้วย camfrog แบบเห็นภาพ

16 ธ.ค.52 โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ชอบคุยกับคนแปลกหน้าโดยไร้เหตุผล เพราะไม่คิดว่าจะได้อะไรจากคนแปลกหน้า คนที่รู้จักก็เดินไปคุย โทรไปคุย หรือเมลก็ได้ ทำให้ผมไม่คิดจะใช้ camfrog แต่อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ใหญ่ใจดีบอกว่า เขาใช้ camfrog ในการประชุมออนไลน์จากต่างจังหวัด ทำให้ต้องหา camfrog มาติดตั้ง โดยดาวน์โหลดรุ่นที่เผยแพร่ใน camfrog.com เป็นตัวติดตั้งสำหรับเครื่องแม่ รุ่น 4.2 และตัวติดตั้งสำหรับผู้ใช้รุ่น 5.3
     เมื่อติดตั้งแล้วพบว่า 1) ต้องสมัครเปิดเป็นเครื่องแม่ ผมตั้งเครื่องแม่ชื่อ yonokyoso 2) ต้องสมัครเป็นเครื่องผู้ใช้อีกชื่อหนึ่ง เช่น yonokburin เพื่อ join chat หรือสนทนาตัวต่อตัวกับใครใครผ่าน Add a Contact 3) ตอนนี้ทดสอบผ่าน net ของ tot ที่ได้ fake ip ทำให้เครื่องแม่ที่ทดสอบใช้งานไม่ได้ เพราะไม่มีใครเข้าถึงได้ 4) ทดสอบ call ไปยังเครื่องภรรยาที่มี webcam เมื่อเขายอมรับ (Accept) เราก็จะเห็นหน้าเขา  5) พรุ่งนี้คงต้องไปทดสอบกับเครื่องที่มหาวิทยาลัยหา ip จริงให้เขาสักเลข เพื่อทดสอบ และเปิดให้ผู้ใหญ่ใจดี  ได้ประชุมกับสมาชิกกลุ่ม yoso ได้โดยสะดวก ซึ่งปกติท่านใช้ 3 วิธี อีก 2 วิธีคือ MSN Video chat และ Skype แล้วในโอกาสต่อไปก็จะจัดอบรมวิธีการใช้เครื่องมือไว้สื่อสารกับผู้คนในโลกอินเทอร์เน็ตให้บุคลากรได้ใช้เป็นช่องทาง ตามแต่เป้าหมายของแต่ละบุคคล
+ http://www.camfrog.in.th/downloads/detail.asp?iFile=310&iType=28
+ http://download.camfrog.com/
+ http://www.thaiabc.com/download/camfrog_svr42_cln53.zip 18 MB

มองเว็บไซต์มหาวิทยาลัยในแต่ละรุ่นย้อนหลัง 3 ปี

แต่ละรุ่นของเว็บไซต์ในหลายปีที่ผ่านมา15 ธ.ค.52 วันนี้ทราบจาก อ.ศักดา ดีคำป้อ ว่ารูปแบบของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยใหม่มีความชัดเจนแล้ว การเปลี่ยนแปลงย่อมนำมาซึ่งสิ่งที่ดีกว่า ทำให้ผมลองมองย้อนกลับไปในอดีตว่าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเคยมีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง ก็พบว่า 3 – 4 ปีหลังมีรุ่นของเว็บไซต์ค่อนข้างหลากหลาย เพราะมีเว็บมาสเตอร์เปลี่ยนหลายรุ่น ทั้ง .พิมาย วงค์ทา คุณนุชจรีย์ นะนันวี และคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ เป็นคนปัจจุบัน
     มองอดีต ไม่ขอกล่าวถึงรุ่นก่อนประวัติศาสตร์ เพราะหาข้อมูลไม่พบแล้ว 1) มายุคแรกในสมัยของ อ.พิมาย วงค์ทา การออกแบบเว็บไซต์ค่อนข้างเน้นที่ความเรียบง่าย ส่วนใหญ่เป็นแบบมาตรฐานคือ กว่า 800 * 600 แบ่ง 3 column เหมือนของ eduzones.com หรือ sanook.com ที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น block แต่มี comment เข้ามาบ่อย ทำให้เว็บไซต์ต้องเปลี่ยนรูปแบบหลายครั้ง ช่วงหนึ่งใช้แบบของเว็บไซต์แบบธุรกิจบัณฑิต 2) คุณนุชจรีย์ นะนันวี เข้ามาช่วงสั้น ๆ ในช่วงนี้เว็บไซต์ยังไม่ลงตัวนัก เพราะผู้ให้ข้อเสนอแนะมีจำนวนมาก และไม่มีใครได้สิทธ์ขาดในการตัดสินใจ แต่ก็ยังมีเสียงบ่นว่าไม่สวยเช่นเคย 3) คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ เริ่มใช้ action script เข้ามาควบคุมระบบเว็บเพจของคณะและหน่วยงาน แบบของเว็บไซต์ถูกดูแลโดยคณะกรรมการจัดทำสื่อและกำกับโดยท่านอธิการ มีการใช้ flash ประกอบเว็บไซต์มากขึ้น ทำให้การออกแบบมีเอกภาพมากที่สุดตั้งแต่เปิดมหาวิทยาลัยมา ส่วนเนื้อหาในเว็บของแต่ละคณะดูแลโดยเลขานุการคณะ ช่วงนี้ไม่ได้ยินเสียงคนในมหาวิทยาลัยบ่นเรื่องรูปแบบเว็บไซต์เท่าใดนัก และภาพกิจกรรมก็เปลี่ยนแปลงตลอดด้วยความทันสมัย ตั้งแต่เปลี่ยนท่านอธิการทีมพัฒนาเว็บไซต์ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงแบบเว็บไซต์เลย เพราะทางคณะกรรมการที่ดูแลเว็บไซต์ยังไม่ให้รูปแบบใหม่ที่สอดรับกับภาพลักษณ์องค์กรใหม่นั่นเอง

อยากเห็นผู้คนมีมารยามากกว่านี้

14 ธ.ค.52 ผมว่ามนุษย์เรามีมารยากันน้อยลง ทำอะไรไม่ค่อยได้คิดกัน ไม่ค่อยเกรงใจ ไม่ค่อยเสแสร้งเพื่อให้คนรอบข้างมีความสุข คนมีมารยาก็จะทำอะไรขัดกับความรู้สึกจริง ก็เพื่ออยู่ในกฎในกรอบที่สังคม องค์กร หรือกลุ่มได้ตั้งไว้ เช่น เกียจคนเจ้าชู้ก็ต้องยิ้มให้ จะฉี่ข้างถนนก็ไม่ได้ต้องหาห้องน้ำ เดินก็ต้องเดินให้สวยทำขากระเพกก็อายเขา จะแก้ผ้าเดินเพราะร้อนก็ไม่ได้ จะกินมูมมามก็เกรงสายตาคนรอบข้าง ไม่อยากฟังอาจารย์ก็ฝืนฟัง ไม่ชอบเสื้อเหลืองเสื้อแดงก็ต้องหุบปาก
     แต่สมัยนี้เราไม่ค่อยมีมารยา เช่น ฟังวิทยากรพูดเรื่องแผนการสอนก็หยิบคอมพิวเตอร์มาเล่นเอ็ม นั่งประชุมอยู่ก็เล่นเกมหรืออ่านนิตยสาร อาจารย์สอนกลับนั่งยิ่มกับเครื่องคอม องค์กรให้เงินเดือนก็ทำตัวเนรคุณ จะเกษียณก็ใส่เกียร์ว่าง นักศึกษาแต่งโป๊ก็ไปด่า ไม่ชอบเจ้านายก็เขียนเมล์ตำหนิ น่าจะเป็นการดีที่เราใส่หน้ากากเข้าหากัน เมื่อก่อนเราเป็นสยามเมืองยิ้ม เจอใครไม่รู้จักยิ้มให้หมด ผมว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่นะครับ เจอคนแปลกหน้าก็ไปเรียกเขาลุง เจอเด็กสาวก็เรียกน้อง มีมารยาให้กันและกัน อะไรทำนองนี้ (สมัยนี้แค่แดงเห็นเหลืองก็ตาขวางเข้าใส่ แต่เห็นเป็นพระสงฆ์ก็ละสายตาลง) อยู่บนโลกนี้ชั่วคราว น่าจะปล่อยวาง แล้วหันมาทำให้ตัวเรา คนรอบข้าง และสังคมรอบตัวเรามีความสุข น่าจะคุ้มค่ากับชีวิตที่เหลือบนโลกใบนี้

กระท่อมปลายนาผ่านคูเหมือง หาคำนี้จาก google.com

13 ธ.ค.52 ปลายพฤศจิกายน52 พาเด็กนักศึกษาไป กระท่อมปลายนา ไปกันเป็นฝูง พบอุบัติเหตุตกหลุมโคลนตอนจบ เราไปคุยงานวิจัยท้องถิ่นที่กระท่อมปลายนา (ซึ่งตอนจบโครงการวิจัย ต้องทำเอกสารอีกชุดนอกเหนือจากส่ง สกว. เพื่อสอบกับ อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเพลา อีกมาตรฐานหนึ่ง) ตอนที่เดินอยู่ในคูเหมือง เห็นว่าน่าสนใจก็หยิบกล้องที่เคยให้นักศึกษาเขายืมไปทำงานเอามาถ่ายวีดีโอ แล้ว upload เข้า youtube.com ก็มีคุณภาพในระดับพอใช้ได้ แต่ไม่ถึงกับแข่งขันทำหนัง hollywood ระดับโลกได้ เพราะเครื่องบันทึกราคาไม่กี่พัน แต่ทำหนังแผ่นฉายดูที่บ้าน หรือในห้องเรียนก็เท่านั้น จะใช้ฉายในโรงภาพยนต์สามมิติคงไม่สะดวก ใครมีคลิ๊ปนำมา share กันได้นะครับ ของผมมีหลายสิบเรื่องในหลาย account ของ youtube.com
     ภาพยนต์ที่ได้ก็ใช้โปรแกรมตัดต่ออย่าง moviemaker หรือ premiere หรือ ulead หรือ proshow ช่วยปรับแต่ง ผมเคยสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ med รุ่นคุณยาย แบบไม่กี่ปีก็เกษียณ ตัดต่อหนังด้วย proshow เห็นใช้แล้วท่านก็ชอบใจกัน เพราะสมัยนี้ใคร ๆ ก็พอมีตังดาวน์กล้องรุ่นใหม่มาใช้ได้แล้ว ส่วนภาพยนต์เรื่องพาหัวใจไปสู่ฝัน ของมหาวิทยาลัยเห็นว่าเป็น DVD คงไม่มีใครหยิบไปเปิด จึงแปลงเป็น vcd แล้วแบ่งครึ่ง upload เข้า youtube.com ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งของการใช้ประโยชน์จาก youtube.com เท่านั้น .. สรุปว่าเป็นเทคนิคสะท้อนคิด เรื่อง youtube.com จากสิ่งที่เคยพบเห็นมา
กระท่อมปลายนา

นิยามศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล

13 ธ.ค.52 ปีการศึกษานี้เริ่มการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งหลายท่านไม่ทราบนิยามศัพท์ของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดทำ นิยามศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล โดยรับความอนุเคราะห์เรียบเรียงจาก อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเทลา  และเผยแพร่ให้ทุกคณะ และหน่วยงานได้รับทราบผ่านบันทึก งทส. ๔๑/๒๕๕๒ โดยมีรายละเอียดดังนี้
     ๑. ระบบฐานข้อมูล (Database System) คือ การรวมและจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน (Integration) โดยมีการจัดกลุ่มข้อมูลให้อยู่ในรูปตาราง (Grouping) ที่สามารถเชื่อมโยงตารางทั้งหมดเข้าหากัน(Sharing) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บ (Non Redundancy) ไม่มีความขัดแย้งของข้อมูล (Inconsistency) และมีความคงสภาพของข้อมูล (Integrity)
     ๒. ข้อมูล (Data) คือ ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการ ปรับแต่งหรือประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
     ๓. สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีความหมายและมีประโยชน์ตามความต้องการของผู้ใช้
     ๔. ระบบ (System) คือ สิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่มีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
    ๕. ระบบ (System) มีความหมายอธิบายในคู่มือของ สกอ. (พ.ค.52) หน้า 222
ระบบ (System) ประกอบด้วย 1)วัตถุประสงค์ (Objective) 2)ปัจจัยนำเข้า (Input) 3)กระบวนการ (Process) และ 4)ผลผลิต (Output) แต่ในการประเมินตามคู่มือของ สกอ. คำว่าระบบ จะเน้นที่กระบวนการ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการอื่น ๆ
     ๖. ระบบและกลไก มีความหมายอธิบายในคู่มือของ สกอ. (พ.ค.52) หน้า 162
     ระบบและกลไก คือ ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่าง ๆ เป็นกลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย

เรียบเรียงโดย อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนจากการประเมิน .. ออกแล้ว

วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนใน 3 ตารางแรก
วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนใน 3 ตารางแรก

13 ธ.ค.52 วันนี้ช่วงกลางวันมีภารกิจวิพากษ์แผนพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งวัน โดยมี อ.วิเชพ ใจบุญ เป็นผู้ดำเนินการ และมี อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ เมื่อกลับบ้านก็หายจากอาการทอนซิลอักเสบพอดี จึงนำข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายใน ที่เกิดขึ้นในปลายเดือนสิงหาคม 2552 ที่มาจากผู้ประเมินภายในของแต่ละคณะ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างผลการประเมินตนเอง และผลการประเมินของผู้ประเมิน ระหว่างปีการศึกษา 2550 และ 2551 ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งผลของความคลาดเคลื่อนสูงเกินกว่าที่คาดไว้มาก ทำใจเขียนส่วนอภิปรายผล หรือสรุปผลต่อไม่ได้ และคิดว่าคืนนี้ผมคงมีเรื่องอะไรให้นอนคิดมากมายกว่าทุกวัน
     ตารางที่ 1 จำแนกตามจำนวนคะแนนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนจากผลต่างการประเมินตนเองและของผู้ประเมินในปีการศึกษา 2551 พบว่า ผลรวมจำนวนตัวบ่งชี้จากทุกคณะ ที่ผลประเมินตนเองตรงกับผลของผู้ประเมินมีเพียง 58.55% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 1 คะแนนมี 22.22% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 2 คะแนนมี 14.96% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 3 คะแนนมี 4.27% ซึ่งผลในตารางที่ 1 ไม่เห็นอะไรที่ชัดเจนนัก นอกจากตกใจที่เห็นผลประเมินเกือบครึ่งหนึ่งมีความคลาดเคลื่อน และพบว่าคณะของผมมีจำนวนตัวบ่งชี้คลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ 20 ตัวบ่งชี้ แต่คณะบริหารคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือ 10 ตัวบ่งชี้
     ตารางที่ 2 จำแนกตามจำนวนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2550 และ 2551 พบว่า ไม่มีคณะใดเลยที่มีความคลาดเคลื่อนลดลงจากปี 2550 ทั้งที่ได้มีการนำเสนอรายงานความคลาดเคลื่อนไปใน การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 22 /2552 วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2552 วาระ 4.3 โดยมีตัวแทนนักวิจัยร่วมประชุมครั้งนี้ 4 ท่านได้แก่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อ.วันชาติ นภาศรี และ อ.คนึงสุข นันทชมภู โดย อ.วันชาติ นภาศรี เป็นตัวแทนทีมวิจัยจัดทำข้อเสนอแนะไว้ในรายงานจำนวน 3 ข้อ คือ 1)เร่งพัฒนาศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน การบริการวิชาการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการวิจัย 2)กำหนดนิยามปฏิบัติการในรายตัวบ่งชี้ที่ยังมีความสับสน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3)จัดทำคำอธิบายว่าตัวบ่งชี้ใดใช้หลักฐานอะไรบ้าง และจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรทุกคน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลับมาหาสิ่งที่พบในตารางที่ 2 คือ คณะของผมติดอันดับหนึ่งในการที่มีจำนวนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 15 ตัวบ่งชี้ ส่วนคณะที่จำนวนตัวบ่งชี้คลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดมีคณะบริหารกับคณะสังคม คือ 1 ตัวบ่งชี้
     ตารางที่ 3 จำแนกตามคะแนนที่คลาดเคลื่อนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2550 และ 2551 พบว่า คณะของผมยังเป็นเบอร์ 1 คือ คะแนนคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นอีก 22 คะแนน โดยคณะสังคมคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ 3 คะแนน รองลงมาคือคณะบริหาร 5 คะแนน ทั้ง 3 ตารางนี้ได้เปรียบเทียบในระดับคณะ ยังไม่เปรียบเทียบในระดับตัวบ่งชี้ ว่าองค์ประกอบใด หรือตัวบ่งชี้ใด มีความผิดปกติบ้าง แต่เท่าที่คาดการณ์ก็เชื่อได้ว่าความคลาดเคลื่อนกระจายอยู่ในทุกตัวบ่งชี้อย่างแน่นอน แต่จะมีตัวใดสูงเป็นพิเศษคงต้องใช้เวลาทำ pivot table อีกครั้ง
     จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ผมมีแผนส่งข้อมูลดิบให้แต่ละคณะและทีมวิจัยได้ตรวจสอบ ก่อนดำเนินการเขียนรายงานสรุปผล และอภิปรายผลรายงานการวิจัยต่อไป ซึ่งส่วนของการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนเป็นเพียงผลการวิจัยที่เพิ่มเติมจากวัตถุประสงค์หลัก แต่นี่คืองานวิจัยสถาบันที่พบว่าระหว่างการวิจัยได้พบประเด็นที่จะเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยได้ และสนับสนุนให้การดำเนินงานวิจัยบรรลุตามวัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการค้นหาเป็นหลัก คือความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผลของความคลาดเคลื่อนและความพึงพอใจสอดคล้องกัน คือ ระดับความพึงพอใจเป็นไปในทางเดียวกับความคลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเลย และจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปไม่ได้
+ http://www.yonok.ac.th/sar/nsar51.php

แก้ไขปัญหาภาพ convert enlarge to thumb ได้สำเร็จ

ภาพขนาด full size
ภาพขนาด full size

11 ธ.ค.52 เมื่อวานนี้ได้ถ่ายภาพในบริเวณมหาวิทยาลัยโยนกมามากกว่า 20 ภาพ กำหนดขนาดในกล้องเป็น 6M-S มี resolution 2816px * 2112px แต่ละภาพขนาดประมาณ 1.5MB แล้วก็ใช้โปรแกรม openphotodir.php ที่เคยพัฒนาไว้ระบบ photo directory มา upgrade จนสามารถอ่านภาพขนาดใหญ่มาลดขนาด เพื่อแสดงเป็น thumbnail อย่างอัตโนมัติ ผลการทดสอบกับ thaiabc.com local server ไม่พบปัญหา แต่ upload ทั้งภาพและ script ไปในเครื่องบริการของ hypermart.net พบว่าไม่ได้ เพราะ script ไปตายกับฟังก์ชัน  imagecreatefromjpeg()
     มาวันนี้พยายามทดสอบใหม่ พบว่า 1)ลดขนาดจาก 2816px * 2112px เหลือ 1408px * 1056px ทำให้ระบบแสดง thumbnail ทำงานได้ 2)ฝังฟังก์ชัน ini_set(‘memory_limit’, ’80M’); เข้าไปใน php script ทำให้สามารถทำงานกับแฟ้มภาพขนาดใหญ่ได้ เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ยากถ้ารู้มาก่อน 3)การเปิดภาพขนาดใหญ่ให้ใครต่อใครเข้าถึงแฟ้มได้ง่ายแบบนี้ ดูไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก จึงเพิ่มการตรวจสอบการพิมพ์ข้อความเข้าไป หากมีการคลิ๊กเลือกภาพ เพื่อต้องการภาพจริง เป็นการกรอง robot ออกจากมนุษย์ด้วย easy captcha
     ซึ่งวิธีนี้ ทำให้เพื่อนอาจารย์ของผมสามารถมีระบบ photo gallery ที่ใช้งานได้สะดวกมาก เพียง upload ภาพเข้าไปด้วยระบบแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ (managefile.php) ก็จะพบภาพที่ถูกจัดระเบียบในทันที โดยไม่ต้องปรับแต่งภาพด้วยโปรแกรมใดมาก่อน เห็นภาพได้อย่างรวดเร็วอย่างมือสมัครเล่น
+ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9130