ปิดกิจการมหาวิทยาลัยอาเชียน (Asian University)

flipped classrooms
flipped classrooms

พบว่า ราชกิจจาเผยแพร่คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ
ปิดกิจการ มหาวิทยาลัยอาเชียน
(ชื่อเดิม  มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
Asian University of Science and Technology)
https://en.wikipedia.org/wiki/Asian_University

มีการแชร์ข้อมูลอย่างแพร่หลายในกลุ่มที่สนใจ
ด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา
พบข้อมูลดังนี้
– ข่าวออกเมื่อ 24 ตุลาคม 2560
– ประกาศคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สกอ 1433/2560
เรื่อง ให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน
ระบุว่า ด้วย ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเอเชียน
ตามใบอนุญาตเลขที่ 3/2540 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2540
โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเอเชียน
ได้แจ้งความประสงค์ต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ขอเลิกดำเนินกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน
และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)
ในการประชุมครั้งที่ 8/2560 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2560
พิจารณาแล้วเห็นชอบ
ให้คำแนะนำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มีคำสั่งให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 100
แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
จึงมีคำสั่งให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สั่ง ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560
ลงนามโดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

– มหาวิทยาลัยเอเชียน (Asian University) ชลบุรี
– เป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติเต็มรูปแบบในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
– การเรียนการสอนทุกหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ
– โดยคณาจารย์ไทยและต่างชาติวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
– จากประเทศอังกฤษ แคนาดา เยอรมนี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
– มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
– ก่อตั้งในเดือนธันวาคม 2536
โดยการลงนามในเอกสารความร่วมมือระหว่างเซอร์ โรนัลด์ ออกซเบิร์ก
อธิการบดีแห่งอิมพีเรียลคอลเลจ
แห่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และแพทยศาสตร์
และพณฯ อานันท์ ปัณยารชุน นายกสภามหาวิทยาลัยคนแรก
และดร.วิพรรธ์ เริงพิทยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียน
และได้เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2541 เป็นต้นมา

กีฬาใน มหาวิทยาลัยอาเชียน
กีฬาใน มหาวิทยาลัยอาเชียน

The undergraduate programme that will start in August 2015 is as follows:
1. Bachelor of Arts in Digital Content (B.A., Digital Content). This programme has three concentration areas:
Digital communication
Digital content and animation
Digital content, game design

2. Bachelor of Business Administration in Business Services (B.B.A., Business Services). Its five concentration areas:
Culinary arts and restaurant management
Finance
Hospitality and hotel management
International business
Marketing

3. Bachelor of Science in Technology and Engineering Management (B.Sc., Technology and Engineering Management). Four concentration areas:
Facilities management
Project management
Technology management
Telecommunications and network management

ข่าวในประชาชาติ
https://www.prachachat.net/education/news-59314

ข่าวในมติชนออนไลน์
https://www.matichon.co.th/news/706299

asian university is private university in thailand
asian university is private university in thailand
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_universities_and_colleges_in_Thailand

39 private university in thailand

https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_universities_and_colleges_in_Thailand

จดโดเมน ดอททีเอช

document สำหรับ .ac.th
document สำหรับ .ac.th

19 เม.ย.54 ถ้าเพื่อนชาวไทยต้องการจดโดเมนที่ลงท้ายด้วย th อาทิ .ac.th หรือ .co.th หรือ .go.th ต้องมีเอกสารสำคัญที่ผู้รับจดโดเมนร้องขอ และต้องใช้ประกอบการยื่นขอจดโดเมนเนม ต่อบริษัท ที.เอช.นิค จำกัด (thnic) สามารถติดต่อที่โทร 025648031

http://www.thnic.net/index.php?page=documents&new_language=0
http://www.thnic.net/index.php?page=faq&cat=general

ข้อมูลจาก http://www.thnic.or.th/aboutus/history
ต้นกำเนิดของ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย มาจากลักษณะการดำเนินงานเชิงมูลนิธิของ ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายแห่งประเทศไทย (THNIC: Thailand Network Information Center) ตั้งแต่ ปี2531 ซึ่งก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต และคณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานดูแลระบบทะเบียนและให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมน เพื่อตอบสนองกับการขยายตัวของการจดทะเบียนโดเมนเนม

โดยสถานะของทีเอชนิคในขณะนั้นไม่ได้เป็น นิติบุคคล หากแต่เป็นเพียงศูนย์บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนซึ่งตั้งอยู่ภายในสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT: Asian Institute of Technology)ที่ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแรกเริ่มเป็นกลุ่มสถาบันการศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกำไร อีกทั้งการบริหารและดูแลระบบเนมเซิร์ฟเวอร์และระบบข้อมูลอาศัยอาสาสมัครทั้ง ที่เป็นอาจารย์และนิสิตในมหาวิทยาลัย

ในยุคแรกเริ่มทีเอชนิคต้องรับภาระจัดหา บุคลากรเพื่อบริหารระบบชื่อโดเมนรวมทั้งแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการดำเนินการ เอง ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกจากการเปิดกิจการผู้ ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (ISP: Internet Service Provider) ก็เริ่มมีบริษัทธุรกิจและหน่วยงานอื่นเริ่มเข้ามาจดทะเบียนชื่อโดเมนเพิ่ม ขึ้น

ในทางปฏิบัติแล้วไอเอสพีมักจะเป็นผู้ยื่นจด ทะเบียนให้กับลูกค้าที่มาขอใช้บริการ และเรียกเก็บค่าบริการ โดยทีเอชนิคไม่มีส่วนแบ่งจากค่าบริการนี้ ภาระงานของทีเอชนิคในการให้บริการจดทะเบียนจึงเพิ่มมากขึ้นกระทั่งบุคคลากร แบบอาสาสมัครไม่เพียงพอต่อการให้บริการ อีกทั้งทีเอชนิคไม่มีแหล่งทุน สนับสนุนใด ๆ โดยตรงเพื่อใช้ในการบริหารระบบชื่อโดเมน ด้วยเหตุนี้ทำให้การดำเนินงานเชิงมูลนิธิจึงเปลี่ยนแปลงไปในรูปของบริษัทมาก ขึ้น

โดยทีเอชนิคเริ่มกำหนดค่าธรรมเนียมการจด ทะเบียนชื่อโดเมนและค่ารักษาชื่อโดเมนรายปี ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2542 และในที่สุดก็ทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแบบบริษัทตามกฎหมาย โดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต และคณะทำงาน ภายใต้ชื่อ บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2542

อย่างไรก็ตามแนวคิดการดำเนินงานเพื่อสนับ สนุนการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตและระบบโดเมนซึ่งเป็นสิ่งที่ THNIC ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อยมา นำไปสู่การจัดตั้งเป็น THNIC Foundation หรือ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย อย่างเป็นทางการขึ้น โดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2550 เพื่อดำเนินงานในรูปแบบที่ไม่แสวงหาผลกำไร

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางใน การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตโดเมนและนโยบายการจดทะเบียนชื่อโดเมนอันเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพที่แสวงหาความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ในทางปฏิบัติปัจจุบันทีเอชนิคมิได้ทำงานโดย ลำพัง หากแต่ได้เปิดรับความคิดเห็น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การกำหนดนโยบายและการดำเนินการด้านการจด ทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย เป็นไปในทิศทางที่จะสนองตอบต่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

และได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายชื่อโดเมน ของมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย ซึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงาน โดยคณะอนุกรรมการดังกล่าวทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายให้ทีเอชนิคนำไป ปฏิบัติ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายชื่อโดเมนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการดำเนินการ ขั้นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะ แต่คณะอนุกรรมการดังกล่าวไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย รวมทั้งมิได้มีอำนาจสั่งการต่อทีเอชนิคโดยแท้จริง