การตรวจเยี่ยม (Peer visit) คืออะไร

peer visit
peer visit

การตรวจเยี่ยม (Peer visit) หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยจัดให้มีกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อเข้าตรวจเยี่ยมก่อนถูกประเมินจริงระยะหนึ่ง และผู้ตรวจเยี่ยมจะพิจารณาร่างรายงานการประเมินตนเองของคณะวิชา รวมถึงการเรียกเอกสารเพิ่มเติม ตรวจสถานที่จริง หรือเรียกสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อเสนอแนะได้ตรงกับสภาพจริง เมื่อคณะวิชาทราบผลการตรวจเยี่ยมก็จะนำข้อมูลไปพิจารณาปรับปรุงร่วมกันในคณะ แล้วจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ และเสนอต่อคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาที่จะมาพิจารณารายงานอย่างเป็นทางการ

โดยจำแนกข้อเสนอแนะของผู้ตรวจเยี่ยมได้เป็น 4 หัวข้อใหญ่ ดังนี้
1. ข้อค้นพบศูนย์ฯ/คณะฯ
2. จุดเด่น และข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา
3. จุดควรพัฒนา และ ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดจุดควรพัฒนา และ สาเหตุมาจาก และ ข้อมูลสนับสนุน และ ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข
4. วิธีการปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/5422/
+ http://www.scribd.com/doc/143112144/

เครื่องบริการฝากแฟ้มขององค์กร (itinlife296)

e-document
e-document

2 ก.ค.54 ในกลุ่มคนที่ต้องทำงานร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และต้องการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ การมีเครื่องบริการฝากแฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document Server) เพื่อให้เป็นแหล่งรวมทรัพยากรที่ถูกใช้สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange) ระหว่างสมาชิก อาทิ รายงานการประชุม ผลการประเมินโครงการ ภาพถ่าย หรือวิดีโอคลิ๊ป ซึ่งสมาชิกทุกคนสามารถเข้าถึงเอกสารร่วมกันได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยมีเครื่องบริการที่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และอำนวยความสะดวก ย่อมสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายขององค์กรตามแผนที่วางไว้

แฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มักเป็นสำเนาจากเอกสารต้นฉบับที่เจ้าของสามารถส่งเข้าสู่เครื่องบริการฝากแฟ้ม และสำเนาไปเพื่อเผยแพร่ต่อได้ อาทิ ส่งเป็นเอกสารให้เลขานุการใช้เป็นหลักฐาน ส่งอีเมลให้กับตนเอง หรือส่งเข้าเว็บไซต์ 4shared.com หรือ mediafire.com ที่ให้บริการรับฝากแฟ้มทั่วไป ยิ่งทำสำเนามากเท่าใด ก็ยิ่งลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียแฟ้มเอกสารเท่านั้น เพราะโลกแห่งการสื่อสาร จำเป็นต้องสื่อสารด้วยแฟ้มดิจิทอล ถ้ามีการสื่อสารเพิ่มขึ้นก็ต้องใช้จำนวนแฟ้มเพิ่มขึ้น แล้วจำนวนสำเนาก็จะเพิ่มเป็นเงาตามตัว ทั้งนี้ต้องมีการวางระบบที่เกี่ยวข้องไม่ให้การจัดเก็บ เรียกใช้ หรือปรับปรุงเกิดความผิดพลาดล่าช้า

เครื่องบริการฝากแฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ก็เหมือนกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปที่ไม่อาจวางใจได้โดยสมบูรณ์ เหมือนกับรถยนต์ที่อาจยางแตก หรือคอมพิวเตอร์ที่อาจเปิดไม่ออกกระทันหัน เพราะอุบัติเหตุทางซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และพีเพิลแวร์เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องมีแผนสองรองรับในกรณีเกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากเป็นเครื่องบริการก็ย่อมมีโอกาสติดไวรัสหรือถูกโจมตีจากภายนอก  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความร้อนย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาหรือชำรุดจากไฟตกหรือไฟดับได้ ส่วนการดูแลโดยบุคลากรด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นมนุษย์ที่อาจดำเนินการผิดพลาด ละเลยต่อหน้าที่ เลือกดำเนินการอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งหมดคือสิ่งที่อาจเกิดขึ้น และเป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าของแฟ้มที่ต้องเตรียมรับมือกับปัญหาที่ไม่คาดคิด

จดโดเมน ดอททีเอช

document สำหรับ .ac.th
document สำหรับ .ac.th

19 เม.ย.54 ถ้าเพื่อนชาวไทยต้องการจดโดเมนที่ลงท้ายด้วย th อาทิ .ac.th หรือ .co.th หรือ .go.th ต้องมีเอกสารสำคัญที่ผู้รับจดโดเมนร้องขอ และต้องใช้ประกอบการยื่นขอจดโดเมนเนม ต่อบริษัท ที.เอช.นิค จำกัด (thnic) สามารถติดต่อที่โทร 025648031

http://www.thnic.net/index.php?page=documents&new_language=0
http://www.thnic.net/index.php?page=faq&cat=general

ข้อมูลจาก http://www.thnic.or.th/aboutus/history
ต้นกำเนิดของ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย มาจากลักษณะการดำเนินงานเชิงมูลนิธิของ ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายแห่งประเทศไทย (THNIC: Thailand Network Information Center) ตั้งแต่ ปี2531 ซึ่งก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต และคณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานดูแลระบบทะเบียนและให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมน เพื่อตอบสนองกับการขยายตัวของการจดทะเบียนโดเมนเนม

โดยสถานะของทีเอชนิคในขณะนั้นไม่ได้เป็น นิติบุคคล หากแต่เป็นเพียงศูนย์บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนซึ่งตั้งอยู่ภายในสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT: Asian Institute of Technology)ที่ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแรกเริ่มเป็นกลุ่มสถาบันการศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกำไร อีกทั้งการบริหารและดูแลระบบเนมเซิร์ฟเวอร์และระบบข้อมูลอาศัยอาสาสมัครทั้ง ที่เป็นอาจารย์และนิสิตในมหาวิทยาลัย

ในยุคแรกเริ่มทีเอชนิคต้องรับภาระจัดหา บุคลากรเพื่อบริหารระบบชื่อโดเมนรวมทั้งแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการดำเนินการ เอง ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกจากการเปิดกิจการผู้ ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (ISP: Internet Service Provider) ก็เริ่มมีบริษัทธุรกิจและหน่วยงานอื่นเริ่มเข้ามาจดทะเบียนชื่อโดเมนเพิ่ม ขึ้น

ในทางปฏิบัติแล้วไอเอสพีมักจะเป็นผู้ยื่นจด ทะเบียนให้กับลูกค้าที่มาขอใช้บริการ และเรียกเก็บค่าบริการ โดยทีเอชนิคไม่มีส่วนแบ่งจากค่าบริการนี้ ภาระงานของทีเอชนิคในการให้บริการจดทะเบียนจึงเพิ่มมากขึ้นกระทั่งบุคคลากร แบบอาสาสมัครไม่เพียงพอต่อการให้บริการ อีกทั้งทีเอชนิคไม่มีแหล่งทุน สนับสนุนใด ๆ โดยตรงเพื่อใช้ในการบริหารระบบชื่อโดเมน ด้วยเหตุนี้ทำให้การดำเนินงานเชิงมูลนิธิจึงเปลี่ยนแปลงไปในรูปของบริษัทมาก ขึ้น

โดยทีเอชนิคเริ่มกำหนดค่าธรรมเนียมการจด ทะเบียนชื่อโดเมนและค่ารักษาชื่อโดเมนรายปี ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2542 และในที่สุดก็ทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแบบบริษัทตามกฎหมาย โดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต และคณะทำงาน ภายใต้ชื่อ บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2542

อย่างไรก็ตามแนวคิดการดำเนินงานเพื่อสนับ สนุนการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตและระบบโดเมนซึ่งเป็นสิ่งที่ THNIC ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อยมา นำไปสู่การจัดตั้งเป็น THNIC Foundation หรือ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย อย่างเป็นทางการขึ้น โดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2550 เพื่อดำเนินงานในรูปแบบที่ไม่แสวงหาผลกำไร

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางใน การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตโดเมนและนโยบายการจดทะเบียนชื่อโดเมนอันเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพที่แสวงหาความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ในทางปฏิบัติปัจจุบันทีเอชนิคมิได้ทำงานโดย ลำพัง หากแต่ได้เปิดรับความคิดเห็น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การกำหนดนโยบายและการดำเนินการด้านการจด ทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย เป็นไปในทิศทางที่จะสนองตอบต่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

และได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายชื่อโดเมน ของมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย ซึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงาน โดยคณะอนุกรรมการดังกล่าวทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายให้ทีเอชนิคนำไป ปฏิบัติ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายชื่อโดเมนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการดำเนินการ ขั้นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะ แต่คณะอนุกรรมการดังกล่าวไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย รวมทั้งมิได้มีอำนาจสั่งการต่อทีเอชนิคโดยแท้จริง