ค้นหาเพื่อแก้ไขใน wordpress

วันนี้เพื่อนเก่าคนหนึ่ง
ทักมาให้ช่วยหาสิ่งหนึ่ง
ใน wordpress ว่าแก้ไขตรงไหน
ปัจจุบันองค์การมากมายใช้งาน
ระบบ content management system
เพราะรองรับความต้องการได้ครบ
และถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
สรุปว่าเพื่อนเค้าก็เลือกใช้ระบบนี้ครับ
และมีสิ่งหนึ่งที่หาวิธีแก้ไขไม่พบ
.
เป็นงานฟื้นฝอยหาตะเข็บ
ว่าสิ่งที่จะแก้ไขนั้น
อยู่ตรงไหนในเมนูหลักหลังบ้าน
เพราะคลิกหาแล้วไม่พบ
มีตัวเลือกมากมาย และอยู่ลึก
เข้าไปแก้ไขข้อมูลไม่บ่อย
นานทีมีหน ถึงจะเข้าระบบหลังบ้าน
.
พอทราบความต้องการ
และสิ่งที่จะแก้ไข
ผมก็ใช้ browser เปิดดู
แล้วเปิด developer tools
จากนั้นก็ใช้ mouse ชี้ไปตำแหน่งนั้น
.
มองหาชื่อ class
พบว่าคุ้นเคยชื่อนี้มาก
แต่ก็ยังนึกไม่ออก
เพราะเป็นระบบของเพื่อน
ที่ผมก็ไม่เคยใช้งานสิ่งนี้
.
จึงนำชื่อ class
ส่งไปค้นหาในอินเทอร์เน็ต
จนพบว่านี่เป็นชื่อ plug in ตัวหนึ่ง
จึงกลับไปดูรายชื่อ plug in
ในระบบ administrator ที่อยู่หลังบ้าน
ก็พบว่าสามารถแก้ไขข้อมูลได้
ตามโจทย์ที่เพื่อนต้องการ
.
สรุปว่า ส่งข้อความไปบอกเพื่อนแล้ว
ว่าจะเข้าไปแก้ไขจากตรงไหน
มีเพื่อนก็ช่วยเพื่อน พอช่วยได้ก็ช่วยกัน
ไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ช่วยกันไป
ตามประสาน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่าครับ

#searching
#wordpress
#cms
#backend
#school
#coding

https://vt.tiktok.com/ZSFjMjqGK/

https://fb.watch/qeuTQsj9Xw/

กลุ่มซิกเซนต์ ที่ปลุกให้กลับมาพัฒนาโมบายแอปอีกครั้ง


วันนี้ 29 สิงหาคม 2564 ครบกำหนดเวลาที่นิสิตปี 1 มหาวิทยาลัยเนชั่น ส่งผลงานเขียนบล็อก เพื่อร้องเรียงเรื่องราวบอกเล่าสั้น ๆ โดยใช้ภาพประกอบ มาลำดับความคิด เหตุการณ์ หรือช่วงเวลา ที่เลือกเขียนได้ทั้งแนวลึก และแนวกว้าง เมื่อได้อ่านผลงานแล้วรู้สึกสนุก นิสิตบอกเล่าถึงความสุขเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่น ที่เปลี่ยนผ่านจากเยาวชนตัวน้อยในครอบครัวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ สู่ชีวิตนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย เล่าได้ดีโดยใช้ภาพเป็น Milestone ในแต่ละย่อหน้า เพราะภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดนับพันคำ ทำให้นิสิตสรรหาภาพที่ชื่นชอบในอดีตมาประกอบการเล่าเรื่องได้อย่างมีความสุข ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวน่าอ่าน มีที่มา ที่เป็นอยู่ และที่เป็นไป ฝึกทักษะการสื่อสารผ่านการเขียน รอบต่อไปก็จะฝึกทักษะการพูด และบันทึกคลิปออกสื่อกัน หวังว่าจะพัฒนาทักษะการเขียน แล้วใช้ทักษะการเขียนไปเขียนตอบข้อสอบต่อไป ชวนอ่านผลงานของ วรรณศาสน์ มณีรัมย์ เลิศฤดี พลคำมาก หรือ วัชราพร เพื่อนสงคราม

https://www.moveoapps.com/blog/wp-content/uploads/2020/07/best-programming-languages-for-mobile-app-development.png


กลับมานึกถึง นิสิตรุ่นพี่ปี 4 สายเดฟ ผมตั้งชื่อว่า Six Sense ไม่ใช่ The Sixth Sense ที่เป็นชื่อภาพยนตร์ที่แสดงนำโดย Bruce Wills แต่ Six มาจาก จำนวน ไม่ใช่ Sixth ที่มาจากคำว่า ลำดับที่ ตั้งชื่อว่า ซิกเซนต์#1 ประกอบด้วย หวาน แพรว ฟลุ๊ค เฟิร์น นน ฝน ซิกเซนต์#2 ประกอบด้วย คอม หนึ่ง นิค มิ้ม แบล็ค วิว เพราะนิสิตทั้งสองรุ่น อ.แนน อ.นุ้ย อ.เชพ ผู้สอน และศิษย์พี่ที่รับศิษย์น้องไปทำงานตรงสาย ต่างเสมือนเป็นแรงผลักดันต่างกรรมต่างวาระ ทำให้ผมกลับมาสนใจการพัฒนาโมบายแอปด้วยเครื่องมือใหม่อีกครั้ง จากที่เริ่มพัฒนาเว็บแอป มาตั้งแต่ 2541 ก่อนหน้านี้เคยสนใจ Android Studio แต่อุปกรณ์ไม่พร้อมสนับสนุนการพัฒนา แล้วปัจจุบัน 2564 ได้พี่เปรม และพี่เบนซ์ มาช่วยทำให้อุปกรณ์ของผมพร้อมขึ้น และตัวเครื่องมือพัฒนาได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ขึ้น จึงเริ่มกลับมาสนใจการพัฒนาโมบายแอป ด้วย React Native บน Android SDK และถือเป็นเวลาที่ต้องกลับไปซ่อมแซมโมบายแอป ที่เคยใช้ webview หรือแอปเก่ามีปัญหาที่ไม่ สอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ของ Play Store จนเป็นผลให้ Google play store ลบแอปออก เนื่องจากเวลาผ่านไปเงื่อนไขก็เปลี่ยนตาม (lpmuseum2) โดยเฉพาะคำว่า deprecated หมายถึง การยุติฟังก์ชัน โมดูล หรือไลบรารี่ที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ที่ประกาศยุติอยู่เสมอในทุก เครื่องมือ ทำให้ต้องกลับไปรื้อแอปเก่า นำมาเข้าคิว เพื่อพัฒนาใหม่อีกหลายตัว


กลับมาชวนมองกระแส React Native พบว่า แนวโน้มการใช้เครื่องมือพัฒนาโมบายแอพในปัจจุบัน กลุ่มนักพัฒนาโมบายแอปในดาวเคราะห์สีน้ำเงินนี้ เลือกใช้ React Native ที่พัฒนาขึ้นโดย Facebook และเป็น Cross Platform ที่ส่งโค้ดไป compile บนตัวแปลภาษาในแต่ละอุปกรณ์ทำให้ใช้ฟังก์ชันได้ทุกตัว อาทิ Andriod หรือ iOS จึงเรียกว่า Native language จากบล็อกที่เขียนโดย Sophia Martin เขียน 14 ก.ย.2562 ระบุว่า เครื่องมือมาแรงมี 3 ตัว คือ Flutter , React Native และ Xamarin ส่วน Hirar Atha เขียน 23 ก.ค.63 นำเสนอ 6 Best programming languages ประกอบด้วย Android = 1) Java, 2) Kotlin ส่วน iOS = 3) Swift, 4) Objective-C ส่วน Cross Platform = 5) React Native, 6) Flutter แล้วคุณ Hirar Atha ยังเล่าว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยู่กับอุปกรณ์ 2 ชั่วโมง 55 นาทีทุกวันเมื่อปี 2562 ซึ่งนานกว่าดูทีวีหรืออุปกรณ์อื่นใด มีร้อยละ 90 ใช้เวลาในแอปพลิเคชัน ซึ่งชัดเจนว่า Mobile apps คือ สื่อดิจิทัลที่ลูกค้าเกาะติดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ผู้ใช้สมาร์ทโฟนเฉลี่ยแล้วมี 80 แอปพลิเคชัน และใช้อย่างน้อย 40 แอปพลิเคชันทุกเดือน

https://www.thaiall.com/reactnative/

#เล่าสู่กันฟัง 63-045 เชื่อม php กับ postgresql บน heroku เป็นรุ่น 1

หลายวันมานี้ มีโอกาสทดสอบ code
ตามคำแนะนำของน้องฟลุ๊คปี 3 (วชิรศักดิ์ สายสูงธนาศักดิ์)
ว่าอยากให้สอนรุ่นน้อง เพราะเค้าไปเห็นมา
ซึ่งเดิมเคยให้นิสิตทำระบบฐานข้อมูล
เรียนรู้สภาพแวดล้อมของผู้ให้บริการ
กับ Free web host เชิงธุรกิจ หลายค่าย
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ข้อมูลที่ไม่เคลื่อนไหว
ก็จะหายไป คล้ายกับธนาคารที่ย้ายที่เก็บ
และการปล่อยทิ้งร้างก็เข้าเงื่อนไขพักบัญชี

น้องฟลุ๊คเค้าแนะนำ react บน heroku.com
แต่ผมสนใจ postgresql กับ php
และอีกหลายแอพที่เชื่อมโยงกัน
ซึ่ง heroku มีให้เลือกใช้เยอะมาก
เพราะเป็น cloud application platform
มีให้เลือกพัฒนาอะไรก็ได้
เปิดให้พัฒนาทั้งบน Windows, Linux และ Mac
การใช้งานต้องใช้ git และโปรแกรม heroku
อย่างน้อยก็ต้องติดตั้ง 2 ตัวนี้
1. heroku ใช้เชื่อมบัญชีสำหรับ clone, push
2. git ใช้บริหารจัดการระบบ version
ระบบนี้ ยังไม่รองรับเขียน code บนเว็บ
จะต้องเขียนใน localhost แล้ว push

ถ้าจะเขียน hello world ก็ต้อง clone
Repository ที่สร้างไว้ใน heroku ลงมา
แต่ง code ใน folder ให้เรียบร้อย
แล้ว push ขึ้นไป
หรือใช้ heroku create สั่งสร้าง repository
บน localhost แล้วกำหนด composer.json
ให้เรียบร้อยก่อน push ก็ได้

หากจะใช้ postgresql ก็ต้องขอใช้ resource
จากนั้นก็มีตัวอย่าง code index.php
ที่ดึง config แบบไม่ต้องผ่านมือเรา
ว่ามีชื่อโฮส ฐานข้อมูล หรือรหัสอะไร
ถ้าอยากเห็นเราก็ echo มาดูได้

คืนที่ 6 มี.ค.63 มีโอกาสนำโค้ด
mysqlworking มาปรับเป็น postqresqlworking
ก็ใช้แอพนี้ได้บน herokuapp.com ได้เลย
แต่ที่แชร์เป็นรุ่น 9145
ไปยังไม่ได้ปรับให้งาม เลอะเยอะเลย



http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?key=9145

http://thaiall.com/heroku/

พบ mind map แนะนำสิ่งที่ web developer ควรทราบ

web development
web development

พบ mind map แนะนำสิ่งที่ web developer ควรทราบ
แชร์ลิงค์มาผ่าน FB Page “Thai programmer โปรแกรมเมอร์ไทย
https://www.facebook.com/programmerthai/photos/a.1406027003020480.1073741827.1392939564329224/1799531400336703/
แล้วพบแฟ้ม PDF ที่
https://coggle-downloads.s3.amazonaws.com/ffa893c87f6ae8a35b7343568a270942b6d1d5ffbc62301829fe2ad4dbed19e7/Web_Development.pdf
https://coggle-downloads.s3.amazonaws.com/49e5776e17045b4615af8ab87e75f5ae305779093dd574ee2044e6035316dc75/How_to_be_a_good_frontend_programmer.pdf
หรือเป็นภาพที่
ถ้าอยากเซฟเป็นไฟล์รูป png ก็ตามลิงค์ มีสองรูป
https://coggle-downloads.s3.amazonaws.com/ffa893c87f6ae8a35b7343568a270942b6d1d5ffbc62301829fe2ad4dbed19e7/Web_Development.png
https://coggle-downloads.s3.amazonaws.com/49e5776e17045b4615af8ab87e75f5ae305779093dd574ee2044e6035316dc75/How_to_be_a_good_frontend_programmer.png
ที่มา คือ https://coggle.it
ซึ่งเว็บไซต์นี้บริการเครื่องมือเขียน mind map ที่สวยงาม
แล้วผมนำไป repost
ที่ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/734319726718848/
จากภาพ

ตรงกลาง คือ คำว่า web development
แตกเป็น 3 เส้น
1. No Matter Which Route You Take
2. Basic Front End
3. Back End

 

No Matter Which Route You Take
No Matter Which Route You Take

back end data
back end data

back end languages
back end languages

back end server management
back end server management

basic front end
basic front end

front end developer
front end developer

ผมก็สาวกวินโดว์ที่สนใจ Linux shell ของ Ubuntu บน windows 10

win10 : update 1511
win10 : update 1511

[ที่มา]
ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2559 มีโอกาสรู้จักกับ WSL
WSL = Windiws Subsystem for Linux
ซึ่งออกแบบให้เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับ Windows
ไม่ใช่ Linux ที่ทำงานบน VM หรือพัฒนาให้วางบน Windows แบบ Cygwin
แต่เป็น shell ที่พัฒนาใน windows ซึ่งทำงานได้เร็วกว่าเผ่าอื่นแน่นอน
และ Windows ไม่ได้ออกแบบให้ใช้ Linux shell ได้เต็มที่เหมือนตัวเต็ม
เพียงแต่ใช้คำสั่งต่าง ๆ แบบ Linux ได้บน Windows เท่านั้น
โดย Linux ตัวนี้คือ Bash ที่พัฒนาจาก Ubuntu
ไม่สนับสนุน GUI Desktops หรือ Application
https://msdn.microsoft.com/en-us/commandline/wsl/faq

win10 : update and security
win10 : update and security

[การใช้ WSL]
ถ้าจะใช้ WSL ต้องติดตั้ง Windows 10 Anniversary
(version 1608) แต่ยังไม่เปิดทั่วไป
ปัจจุบันเปิดให้สมัครเข้าโครงการ Windows Insider เพื่อเข้าร่วมทดลองใช้
ก็จะได้ใช้รุ่น Insider Preview Build 14316
แต่เครื่องที่ผมใช้อยู่ขณะนี้ลง Windows 10 November Update
(version 1511 build 10586 – major) มี license
ในอนาคต ถ้าไปใช้ Anniversary หรือเข้าร่วม Insider ก็คงได้ใช้ WSL ต้องรอก่อน
เพราะ WSL ยังเป็นรุ่นทดสอบบน Insider Preview
ถ้า Windows 10 Anniversary เปิดจำหน่าย License คงได้ upgrade ต่อไป
แต่ ณ วันนี้ Windows 10 รุ่น 1608 ยังไม่เปิดอัพเดทอย่างเป็นทางการ
https://en.wikipedia.org/wiki/Windows_10_version_history#Windows_10_Anniversary_Update_.28Version_1607.29

win10 : windows features
win10 : windows features

[License]
เครื่องที่ใช้อยู่มี License เป็น Windows 10 home version 1511
และยังไม่ถึงเวลาที่ microsoft จะเปิดให้อัพเดทเป็น 1608
เพราะรุ่น 1608 ที่เผยแพร่อยู่ เป็นรุ่นที่ต้องเข้าโครงการ Insider preview
มีข่าวเมื่อ 29 มิ.ย.59 ว่า microsoft จะเปิดให้ update
เป็น Windows 10 Anniversary Update – Major ตั้งแต่ 2 ส.ค.59
หมายความว่ารออีก 1 เดือนจึงจะได้ใช้รุ่น 1608 และก็จะได้ใช้ WSL อย่างเป็นทางการ
https://blogs.windows.com/windowsexperience/2016/06/29/windows-10-anniversary-update-available-august-2/