thaiall logomy background
หลักสูตรฐานสมรรถนะหกด้าน (CBE) พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติ
my town
ห้องเรียนในอนาคต | Utopia | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | สมรรถนะดิจิทัล | วิทยาการคำนวณ | มีเหตุมีผล | การศึกษา | กยศ | พ.ร.บ. |
หลักสูตรฐานสมรรถนะหกด้าน กับ ห้าด้าน
หกด้าน 2564
1) การจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ
2) การคิดขั้นสูงและการเรียนรู้
3) การสื่อสารด้วยภาษา
4) การจัดการและการทำงานเป็นทีม
5) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
6) การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
ห้าด้าน 2563
1) การจัดการตนเอง (Self Management)
2) การสื่อสาร (Communication)
3) การรวมพลังทำงานเป็นทีม (Teamwork and Collaboration)
4) การคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking)
5) การเป็นพลเมืองเข้มแข็ง (Active Citizen)
cbethailand.com #
หลักสูตรฐานสมรรถนะหกด้าน
หน้าเดียว
ข่าวเมื่อ 13 สิงหาคม 2564 ใน moe360.blog นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดแผนปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เป็น หลักสูตรฐานสมรรถนะ หลังหารือกับคณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเห็นควรปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อไม่ให้เป็นภาระเพิ่มสำหรับครู โดยยังคงเดินหน้าปฏิรูปหลักสูตร ให้การศึกษาพัฒนาเด็กไทยให้มีความรู้ เจตคติและทักษะให้ทำงานเป็น ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ดี สำหรับแผนปฏิบัติการที่ได้ปรับปรุงใหม่ มีสาระสำคัญ ดังนี้
ระการแรก วางแผนนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ในกรอบเวลา 3 ปี คือ ปีการศึกษา 2565 ศธ.เริ่มใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนที่มีความพร้อม ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรฐานสมรรถนะระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนที่มีความพร้อมและทุกโรงเรียนในระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2567 ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในโรงเรียนทุกโรงเรียน
ระการที่สอง ปรับปรุงสมรรถนะ โดยพิจารณาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กไทยในโลกปัจจุบัน จากเดิมมีสมรรถนะ 5 ด้าน ปรับเป็นมีสมรรถนะ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ 2) การคิดขั้นสูงและการเรียนรู้ 3) การสื่อสารด้วยภาษา 4) การจัดการและการทำงานเป็นทีม 5) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 6) การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
ดยเน้น มิติด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์และความเป็นไทยมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มสมรรถนะ “การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน” เพื่อให้เด็กไทยมีสมรรถนะทั้งด้านวิทยาศาสตร์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
หลักสูตรฐานสมรรถนะ คืออะไร หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือ
หลักสูตรที่เน้นส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน
ในการปรับใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายในสถานการณ์จริง
มีการออกแบบกลยุทธ์การเรียนรู้ และแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยพลิกแพลงอย่างยืดหยุ่น
หลักสูตรฐานสมรรถนะไม่ใช่กระดาษ แต่เป็นวัฒนธรรม
หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือ
หลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะ
แทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ
หลักสูตรเดิมจะวัดผลจากการจำความรู้
แต่หลักสูตรฐานสมรรถนะจะวัดผลจากการนำความรู้มาใช้งาน
ความหมายของหลักสูตรฐานสมรรถนะ
หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือ
หลักสูตรที่มุ่งพัฒนาคนบนฐานความสามารถ คือ การใช้ความสามารถที่จําเป็นสําหรับการทํางานมาใช้เป็นฐานของการพัฒนาหรือนํามาใช้เป็นเนื้อหาของการพัฒนา เพื่อทําให้ผู้เรียนมีความสามารถตามเนื้อหานั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนนั้นมีความสําคัญในทุกระดับการศึกษา
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม (2562, น. 4)
สมรรถนะหลัก (Core Competencies) คือ
ความสามารถสำคัญที่บุคคลต้องมี หรือต้องทำ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
เช่น พนักงานเลขานุการสำนักงานต้องมีสมรรถนะหลัก คือ การใช้คอมพิวเตอร์ได้ ติดต่อประสานงานได้ดี เป็นต้น
หรือ ผู้จัดการบริษัทต้องมีสมรรถนะหลัก คือ การสื่อสาร การวางแผน การบริหารจัดการ และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
และ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กล่าวว่า “สมรรถนะ คือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ ในองค์กร” กล่าวคือ การที่บุคคลจะแสดงสมรรถนะใดสมรรถนะหนึ่งได้มักจะต้องมีองค์ประกอบของทั้ง ความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ
ความเป็นมาและความหมายของสมรรถนะ (PDF)
สมรรถนะ (Competency) คือ
ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude)
บูรณาการในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพ
อักษรเจริญทัศน์ อจท.
เม.ย.65 - โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้ใช้ทดลองใช้ หลักสูตรฐานสมรรถนะ
ข้อความในภาพ ว่า "การปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะ ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการนำร่อง ทดลองใช้ในโรงเรียนในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อีกทั้งมีกลไกกระบวนการของการปรับปรุงอีกหลายขั้นตอน หากใช้จริงต้องแจ้งล่วงหน้า 3 ปี" โดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการฯ กพฐ. ซึ่งพบการแชร์ข้อความประกอบภาพ ว่า "หลักสูตรฐานใหม่ ยังไม่ประกาศใช้ แต่ เริ่มต้นแล้วในพื้นที่นวัตกรรม" โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชน์
ากข่าว 20 เม.ย.65 ใน Matichon online สรุปว่า ".. หลักสูตรที่จะพัฒนาใหม่ ให้ดำเนินการนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมตามที่ตกลงไว้เช่นเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง .." นั่นหมายถึง โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้มีโอกาสใช้ หลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่จะพัฒนาเด็กในพื้นที่นี้ ด้วยวิธีการสอนแบบใหม่ คิดไม่เหมือนเดิม ทำไม่เหมือนเดิม ผลการจัดการเรียนก็จะเกิดผลแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม เป็นผลลัพธ์เด็กในอนาคต ที่จะถูกใช้เป็นต้นแบบหลักสูตรสำหรับห้องเรียนในอนาคต หรือข้ามไปห้องเรียนจักรวาลนฤมิตกันเลย
‘อัมพร’ แจงมติกพฐ. แค่สับสน ยังไม่ประกาศใช้หลักสูตรใหม่
การประชุมชี้แจงหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา าวน์โหลดเอกสารและรับชมย้อนหลัง ตามที่เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565 สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) ร่วมกับสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ เงื่อนไข โอกาส สาระสำคัญและการนำหลักสูตรไปใช้ ผ่าน Zoom และ Facebook Live
ากการประชุม สวก. ได้ชี้แจงและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ และการใช้ (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2565 โดยมีเงื่อนไขโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะต้องนำกรอบสมรรถนะหลัก 6 ด้าน สมรรถนะเฉพาะของกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้ จาก www.cbethailand.com ไปใช้ ตามที่ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และต้องนำไปใช้เป็นขั้นต่ำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งสามารถเพิ่มเติมตามบริบทของโรงเรียนได้ และการยินยอมให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ปรับปรุง (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการบริหารจัดการหลักสูตร นั้น
นการนี้ สบน. ขอเรียนอัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมปัจจุบันมีสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 265 โรงเรียน และในปีการศึกษา 2565 จะมีการทดลองใช้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาก่อน
265 โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการวิจัย กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ พี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่ ซึ่งในปีการศึกษา 2565 จะมีการทดลองใช้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาก่อน ซึ่งมีจำนวนโรงเรียนนำร่อง 265 แห่ง
บว่า ใน 265 โรงเรียนกระจายอยู่ใน 8 จังหวัด ได้แก่ 1) เชียงใหม่ = 72 รร. 2) กาญจนบุรี = 19 รร. 3) ศรีสะเกษ = 78 รร. 4) ระยอง = 31 รร. 5) สตูล = 15 รร. 6) ปัตตานี = 17 รร. 7) ยะลา = 27 รร. 8) นราธิวาส = 6 รร. โดยโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 1000 คน มี 34 โรงเรียน ได้แก่ 1) ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย มี 6687 คน 2) ดาราวิทยาลัย มี 5755 คน 3) กาญจนานุเคราะห์ มี 3792 คน 4) อนุบาลศรีสะเกษ มี 3482 คน 5) สตรีสิริเกศ มี 3009 คน 6) มาบตาพุดพันพิทยาคาร มี 2732 คน 7) สันป่าตองวิทยาคม มี 2376 คน 8) บ้านฉางกาญจนกุลวิทยา มี 2336 คน 9) อนุบาลเชียงใหม่ มี 2212 คน 10) นิบงชนูปถัมภ์ มี 2141 คน 11) เดชะปัตตนยานุกูล มี 2118 คน 12) กวงฮั้ว มี 2059 คน 13) เบญจมราชูทิศ ปัตตานี มี 2046 คน 14) วัดพลงช้างเผือก มี 2004 คน 15) บ้านค่าย มี 1969 คน 16) ขุนหาญวิทยาสรรค์ มี 1762 คน 17) อนุบาลปัตตานี มี 1742 คน 18) ท่าม่วงราษฎร์บำรุง มี 1709 คน 19) เทพมงคลรังษี มี 1703 คน 20) วังจันทร์วิทยา มี 1702 คน 21) อนุบาลสังขละบุรี มี 1664 คน 22) อุดมสิทธิศึกษา มี 1652 คน 23) ศานติธรรม มี 1620 คน 24) ชำนาญสามัคคีวิทยา มี 1601 คน 25) อนุบาลสตูล มี 1561 คน 26) เชียงใหม่คริสเตียน มี 1492 คน 27) รัตนาเอื้อวิทยา มี 1321 คน 28) อนุบาลขุนหาญ มี 1253 คน 29) ต้นแก้วผดุงพิทยาลัย มี 1251 คน 30) สันป่าตอง มี 1243 คน 31) บ้านเวียงฝาง มี 1175 คน 32) เทศบาล 3 (บ้านบ่อ) มี 1138 คน 33) บ้านตะโละหะลอ มี 1119 คน 34) อนุบาลเบตง มี 1083 คน 35) วัดแม่แก้ดน้อย มี 1060 คน 36) องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 1 มี 1029 คน

เชิญชวนสมัครเข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่อง (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายชื่อโรงเรียนทั้ง 265 โรงเรียน (handsontable)
ไขข้อข้องใจ

#obectvonline
30 สิงหาคม 2565 - สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
เชิญรับฟังการเสวนาทางวิชาการ
"สพฐ. ไขข้อข้องใจ เคลียร์คัท กับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน"
เป็นเวทีที่ ทีมผู้บริหาร เตรียมมาไขข้อข้องใจ
ทำอะไร ถึงไหน และจะทำอะไรกันต่อไป
#เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
#ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
#ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
#รักษาการผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา
#รักษาการหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศน์ สพฐ.
#ศึกษานิเทศน์ชำนาญการพิเศษ ศนฐ. สพฐ.
หัวข้อ
- หลักสูตรฐานสมรรถนะหากไปไหน
- ทำไมต้อง Active Learning ของจริงเป็นแบบไหน
- Active Learning วาทกรรมหรือภาระครู
- สอนอย่างไรให้บรรลุสมรรถนะ ทั้งที่ภาระงานมาก
หนังสือ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก
นังสือ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 42 หน้า สิ่งพิมพ์ สกศ. อันดับที่ 38/2563 พิมพ์ที่ บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี และ รองศาสตราจารย์ ดร.บังอร เสรีรัตน์
หนังสือ / หนังสือ / หนังสือ
อ่านเพิ่มเติม
ฐานคิดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำไมการปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นต้องปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนการสอน
เนื่องจากผู้เรียนยังไม่มีคุณภาพตามที่พึงประสงค์ ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตกต่ำทั้งจากผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) และนานาชาติ (PISA) รวมทั้งยังขาดคุณลักษณะอันพึงประสงค์หลายประการ เช่น มีความรู้แต่ไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำเนินชีวิต เรียนรู้โดยจดจำความรู้ จึงเข้าใจในระดับผิวเผิน ไม่รู้ลึกไม่รู้จริง ไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้ศักยภาพและความถนัดของตน ไม่เห็นคุณค่าของการเรียน และการเรียนไม่มีความหมายต่อตนเองและชีวิตของตน
รายงานเฉพาะเรื่องที่ ๑๒ หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (หน้า 1)

านคิดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) มี 4 ข้อ ดังนี้ 1) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล (Personalization) การเป็นเจ้าของการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2) พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสุขภาวะ (Well-being) ทั้งในด้านสุขภาพ ความฉลาดรู้ สังคมและอารมณ์อย่างสมดุล รอบด้านและเป็นองค์รวม โดยยึดหลักความเสมอภาค 3) พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และการสร้างประโยชน์ต่อสังคม 4) พัฒนาผู้เรียนให้รู้เท่าทันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาการ
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552)
PPTX: เอกสารอบรม หลักสูตรฐานสมรรถนะ โดย รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ (5 ม.ค.64)
Timeline : หลักสูตรฐานสมรรถนะ 2565-05-12 : อัด ‘วิษณุ’ ไม่เข้าใจปฏิรูปหลักสูตร ปมไม่ใช้ ‘ฐานสมรรถนะ’ ชี้ทำร้ายเด็กทั้ง ปท.
2565-05-07 : “นายกฯ” เบรกใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ “วิษณุ” ชี้หวั่นกระทบครู-นร.-ผู้ปกครอง
2565-05-06 : 'องค์กรครู' ไม่วางใจ100% แม้นายกฯสั่งถอย 'หลักสูตรฐานสมรรถนะ'
2565-03-02 : หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้หรือไม่ โดย ดร.วิทยา พัฒนเมธาดา
2565-02-04 : หลากคำถาม/ครหาว่าด้วยร่างหลักสูตรสมรรถนะ ส่งถึง “ศ.บัณฑิต-ดร.อัมพร”
2564-08-13 : ชงปรับแผนทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ
2564-06-30 : 457/2564 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ... (หลักสูตรสมรรถนะ)
2564-06-30 : 456/2564 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรสมรรถนะ)
2564-05-21 : 774/2564 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ... (หลักสูตรสมรรถนะ) #
อาชีพตามสมรรถนะ - เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ จาก 10 เรื่อง นังสือ หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ การจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 116 หน้า ถูกเรียบเรียงขึ้นโดยยึดประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2562 ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษาของชาติ
โดยทั้ง 10 เรื่องนั้น ประกอบด้วย
เรื่องที่ 1 การจัดการอาชีวศึกษา
เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
เรื่องที่ 3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน
เรื่องที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
เรื่องที่ 5 การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพและการจัดโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ
เรื่องที่ 6 การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
เรื่องที่ 7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา
เรื่องที่ 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
เรื่องที่ 9 การเทียบโอนผลการเรียนรู้
เรื่องที่ 10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
ในหน้าที่ 10 พบหัวข้อ ภาพที่ 3 กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ (NQF : National Qualification Framework) 8 ระดับ
ระดับที่ 1 ผู้มีสมรรถนะปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐาน
ระดับที่ 2 ผู้มีสมรรถนะฝีมือในงานอาชีพ
ระดับที่ 3 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคในการประยุกต์หลักการ
ระดับที่ 4 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคครอบคลุมงานอาชีพ
ระดับที่ 5 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคและการจัดการ
ระดับที่ 6 ผู้มีสมรรถนะในการจัดการและวางแผน
ระดับที่ 7 ผู้มีสมรรถนะในการบริหารนโยบาย
ระดับที่ 8 ผู้มีสมรรถนะในการสร้างสรรค์องค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่
หน้า 4
สมรรถนะ (Competency) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งแบ่งเป็นสมรรถนะแกนกลางและสมรรถนะอาชีพ
สมรรถนะแกนกลาง (Core Competency) หมายถึง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะทั่วไปที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น การสื่อสาร การคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
สมรรถนะอาชีพ (Occupational Competency) หมายถึง ความรู้ ความสามารถและทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงานในแต่ละสาขางานหรือสาขาวิชาชีพ (Functional Ccompetency)
ประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น ทัศนคติ ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดจัดเวที ประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น ทัศนคติ ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) ระดับประถมศึกษา (สพป.) ในระบบออนไลน์ ทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 6 ครั้งเวที ระหว่างวันที่ 27 – 29 เมษายน 2565 ช่วงเช้าเวลา 10.00-12.00น. และช่วงบ่าย 13.00 - 15.00น. เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลและตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ในการดำเนินการบริหารจัดการ วางแผน ปรับปรุงและแก้ไขข้อมูลให้ครอบคลุม ตามบริบทและความต้องการของพื้นที่ ชุมชนและสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาและสะท้อนภาพความต้องการของทุกภาคส่วนในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยต่อไป กล่าวเปิดโดย ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิธีกร คุณสืบสกุล พันธ์ดี ช่องทางการรับชม Live ผ่าน Facebook : CBE Thailand และ Facebook : OBEC Channel ท่านสามารถดาน์โหลดเอกสารได้ที่เว็บไซต์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ที่ cbethailand.com
ครั้งที่ 1 สพป. ภาคกลาง : วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 10.00 - 12.00น.
ครั้งที่ 2 สพป. ภาคตะวันออก : วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 13.00 - 15.00น.
ครั้งที่ 3 สพป. ภาคใต้ : วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 10.00 - 12.00น.
ครั้งที่ 4 สพป. ภาคอีสานเหนือ : วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 13.00 - 15.00น.
ครั้งที่ 5 สพป. ภาคอีสานใต้ : วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 เวลา 10.00 - 12.00น.
ครั้งที่ 6 สพป. ภาคเหนือ : วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 เวลา 13.00 - 15.00น.
เอกสาร #สมรรถนะหลัก
มีเอกสารมากมายที่ต้องอ่านทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน จะได้รู้ ดังคำกล่าวของ อ.ศิลป์ พีระศรี ที่ว่า "นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร" และเมื่อ 21 ธันวาคม 2564 ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ แชร์หนังสือจากเว็บไซต์ของ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (Office of the Education Council) จำนวน 4 เล่ม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ กรอบสมรรถนะหลัก ดังนี้ 1) รายงานการวิจัยผลการทดลองใช้กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (344 หน้า) 2) กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (108 หน้า) 3) คู่มือการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน (186 หน้า) 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (88 หน้า)
สมรรถนะ : การสื่อสารด้วยภาษา บนิยามใน cbethailand.com ระบุว่า สมรรถนะการสื่อสาร (Communication: CM) "สมรรถนะสื่อสาร หมายถึง การรับและส่งสารบนความเข้าใจ ความเคารพในความคิดเห็นและวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมทั้งสามารถตัดสินใจเลือกใช้สื่อ สร้างสื่อและกลวิธีการสื่อสารที่มีรูปแบบวัจนภาษาหรือ อวัจนภาษา ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาที่ 3 สื่อดิจิทัลและสื่อประสมได้เป็นอย่างดี" อ่านแล้วผมนึกถึงเรื่อง Font : Chulabhorn Likit Text ที่ ครม. อนุมัติฟอนต์พระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 ซึ่งรูปแบบตัวอักษรที่ใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสื่อสารก็สำคัญ ยิ่งตัวอักษรสวยงาม คมชัด อ่านง่าย ยิ่งช่วยทำให้การสื่อสารชัดเจน และนึกถึง quote ของ อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ว่า "คนที่คิดต่างจากเรา เขาไม่ได้ คิดผิด เขาแค่ มีข้อมูล และประสบการณ์ ต่างจากเรา" สรุปว่า คนเราควรเคารพในความคิดเห็น และวัฒนธรรมที่แตกต่าง
อกจากการพิมพ์ทางคอมพิวเตอร์โดยใช้ฟอนต์แล้ว การเขียนตัวอักษรด้วยมือก็เป็นทักษะที่ไม่ควรถูกหลงลืม เมื่อต้องมอบหมายงานให้เด็กยุคเว้นระยะห่าง เสนอว่าให้เด็กได้เขียนงานที่ต้องมาจากการเรียบเรียง ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องพื้นที่เขียน ไม่ใช่ค้นมาเท่าใดก็ส่งให้คุณครูเท่านั้น เด็กควรได้ฝึกควบคุมการใช้ภาษาที่กระชับ ค้นคว้ามาเรียบเรียงแล้วเขียนใหม่ ครูตรวจและโต้ตอบผลงานของเด็กรายบุคคล พัฒนาการสื่อสารสองทาง เด็กบางคนอาจขอเป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้สื่อ เช่น ขอเลือกเขียนงานบนอุปกรณ์แทนกระดาษ ขอบันทึกคลิปวิดีโอ ขอเขียนแผนภาพแทนบรรยายด้วยข้อความ ถ้าเด็กเลือกที่จะใช้อุปกรณ์สื่อสารอื่นทดแทนกระดาษด้วยตนเอง นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่จะส่งผลให้การใช้กระดาษลดลง หรืออาจหายไปในอนาคตอันใกล้
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หน้า 1 : 2 : 3 : 4
21พ.ค.64 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีทิศทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็น หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency – based Curriculum) เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันได้ โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และคณะกรรมการอำนวยการ ที่มี คุณสิริกร มณีรินทร เป็นประธาน และยังประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ครูที่ทำงานในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (PDF)
รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับ หลักสูตรฐานสมรรถนะ (สพป.นครปฐม เขต 2) ***
รวม 6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ วม 6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ เรียบเรียงโดย Starfishlabz . ที่สามารถนำมาเป็นประเด็นชวนแลกเปลี่ยนได้ 6 เรื่อง ดังนี้
ความเข้าใจผิดที่ 1: ยากเกินกว่าที่จะนำมาใช้กับผู้เรียนในวัยเด็ก แท้จริงแล้ว ไม่ยากเกินสำหรับเด็ก เพราะ คุณครู คือ ผู้ปรับใช้กระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้มอบเวลาการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างเหมาะสม อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพิ่มระดับความยาก เมื่อเปลี่ยนระดับชั้น คุณครูต้องเชื่อมั่นในตัวเด็ก เชื่อว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้หากหัวใจของเขาปรารถนา ชื่นชอบ และมีความพยายามมากพอ
ความเข้าใจผิดที่ 2: ผู้เรียนเรียนรู้และกำหนดเวลาการเรียนรู้ด้วยตนเอง แท้จริงแล้ว ผู้เรียนไม่ได้กำหนดเองทั้งหมด แต่ระบบจะให้อิสระและความยืดหยุ่น ในการเรียนรู้มากกว่าแบบเดิม ไม่ได้ปล่อยปละละเลย หรือให้ผู้เรียนกำหนดทุกอย่าง หรือแม้กระทั่งเวลาเรียนด้วยตนเอง ถ้าแบบนี้นั้นจะเป็น self study หรือระบบ home school แต่หลักสูตรนี้จะกำหนดกรอบระยะเวลาการเรียนรู้ที่ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับลักษณะ และระดับความถนัดที่กำลังศึกษา
ความเข้าใจผิดที่ 3: สมรรถนะ สำคัญกว่าเนื้อหา แท้จริงแล้ว ทั้งเนื้อหา และสมรรถนะจะสอดคล้องกัน เนื้อหาเป็นเพียงขอบเขต โดยกระบวนการศึกษาจะลงลึก และชัดเจนกว่าเดิม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนค้นคว้า วิจัย และศึกษาในสิ่งที่ตนเองสนใจตามสมรรถนะอย่างลึกซึ้ง มากไปกว่าการจดจำเนื้อหาที่จำเป็นต้องใช้ แต่ต้องเข้าใจการใช้ความรู้
ความเข้าใจผิดที่ 4: การเรียนการสอนเข้มข้นน้อยกว่ารูปแบบดั้งเดิม แท้จริงแล้ว หลักสูตรใหม่มีความเข้มข้นในระดับการทำความเข้าใจ และเรียนรู้มากกว่าแบบดั้งเดิม เพราะถือเป็นการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกเป็นหลัก ในความถนัดที่สอดคล้องกับความชื่นชอบของผู้เรียน
ความเข้าใจผิดที่ 5: หลักสูตรฐานสมรรถนะมีลักษณะจำกัดและขอบเขตแคบ แท้จริงแล้ว แก่นของหลักสูตรฐานสมรรถนะจะได้ทั้งความรู้ (knowledge) และพัฒนาทักษะในการประยุกต์ ใช้ความถนัดดังกล่าวทั้งในชีวิตประจำวัน การศึกษาต่อ และการทำงานในอนาคต และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำกิจกรรม และโครงงานได้อย่างสร้างสรรค์ และเป็นอิสระกว่าในรูปแบบเดิม
ความเข้าใจผิดที่ 6: เน้นการพัฒนาทักษะ แท้จริงแล้ว เน้นการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงหรือชีวิตประจำวัน ไม่เพียงให้ผู้เรียนมีทักษะเท่านั้น แต่สามารถนำทักษะไปต่อยอด ดัดแปลงให้กลายเป็นสิ่งใหม่ เป็นนวัตกรรมอย่างที่เขาเห็นว่าสมควร
Starfish Labz คือ แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์แห่งแรกของประเทศไทย คอร์สออนไลน์สำหรับนักการศึกษาและผู้ปกครอง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สามารถเข้ามาเสาะหาความรู้และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ จากคอร์สเรียนออนไลน์ต่าง ๆ และวีดิโอที่ถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์จากทั่วประเทศ รวมถึงบทความที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการจัดการศึกษาแนวใหม่ รวมถึงการพัฒนาการเด็กจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครอง และสถาบันต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับ เปิดให้เข้าถึงฟรีโดยปราศจากค่าใช้จ่าย ทุกที่ทุกเวลา และบนทุกแพล็ตฟอร์ม
สมัยครูตั้น-ณัฏฐพล ได้เสนอล้มหลักสูตรฐานสมรรถนะ (19 ต.ค.63)
น่าสนใจว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ 19 ต.ค.63 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ (ครูตั้น) รมว.ศึกษาธิการ ต้องการให้ปรับใหม่ โดยจะไม่ใช่หลักสูตรฐานสมรรถนะแบบเดิมที่เคยมีการดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ส่วนจะใช้ชื่อหลักสูตรแบบไหน ให้คณะทำงานปรับปรุงหลักสูตรไปสรุปเป็นมติมาอีกครั้ง โดยกล่าวว่า "หลักสูตรใหม่จะทำให้เด็ก มีทักษะคิด วิเคราะห์เป็น และผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถเลือกอนาคตได้ด้วยตัวเองว่าอยากจะทำอะไร โดยเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงตรงกับความต้องการของเด็กอย่างแท้จริง สำหรับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการปรับมาก่อนหน้านี้นั้น ผมยอมรับว่าจะต้องขอล้มล้างและนำมาเขย่ารวม เพื่อให้มีการปรับหลักสูตรใหม่ทั้งหมด โดยจะไม่ใช่หลักสูตรฐานสมรรถนะแล้ว แต่จะเป็นการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมาอัปเดตใหม่ และเสริมด้วยการเรียนรู้เทคโนโลยีในอนาคต"
ล้วเมื่อ 21 พ.ค.64 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ คนปัจจุบัน ได้ตั้ง คณะกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีทิศทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็น หลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งผลการปรับปรุงจากที่เคยดำเนินการมาก่อนจะเป็นอย่างไร เราค่อยติดตาม (ร่าง) หลักสูตรใหม่กันต่อไป
หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency Based Curriculum)

หลักสูตรฐานสมรรถนะ [pdf]
ลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน​หลักสูตรกำหนดสมรรถนะหลัก (Core Competency) ไว้ 5 ประการ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาความสามารถที่จำเป็นของผู้เรียนต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต ได้แก่ 1) สมรรถนะการจัดการตนเอง 2) สมรรถนะการสื่อสาร 3) สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม 4) สมรรถนะการคิดขั้นสูง 5) สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
มรรถนะทั้ง 5 ด้าน จะได้รับการพัฒนาผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ (Learning Area) 5 ด้าน เพื่อบูรณาการหัวข้อการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและแสดงความสามารถผ่านมุมมองต่าง ๆ ได้แก่ 1) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสุขภาวะกายและจิต 2) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม 3) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านโลกของงานและการประกอบอาชีพ 4) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสังคมและความเป็นมนุษย์
มรรถนะและขอบข่ายการเรียนรู้ถูกออกแบบและพัฒนาบนรากฐานสุขภาวะ (Well Being Foundation) 4 ด้าน ซึ่งสถานศึกษาจะต้องสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อม และกลไกการบริหารสถานศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนา ได้แก่ 1) รากฐานด้านสุขภาพกายและจิต 2) รากฐานด้านสังคมและอารมณ์ 3) รากฐานด้านความฉลาดรู้ 4) รากฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ารพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะและรากฐานสำคัญ ผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญ คือ มาตรฐานการศึกษาของชาติในรูปแบบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) การเป็นผู้เรียนรู้ 2) การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม 3) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.นครปฐม เขต 2
ณัฏฐพล ลุยโละหลักสูตรฐานสมรรถนะ เขย่าใหม่เน้นเด็กคิดวิเคราะห์
โปรแกรมพัฒนาการรู้เท่าทันดิทิทัลและพฤติกรรมฯ .. ปริญญานิพนธ์ (พิศุทธิภา เมธีกุล)
หมวกการคิด 6 สี หรือทฤษฎีหมวก 6 ใบ
ขาว : ข้อเท็จจริง
แดง : อารมณ์ความรู้สึก
เขียว : ริเริ่มสร้างสรรค์
เหลือง : เชิงบวก/คิดดี
ดำ : เชิงลบ/คิดต่าง
น้ำเงิน : คิดรวบยอด
sixhat SixThinking Hats คือ เทคนิคทรงพลัง เพื่อช่วยเพิ่มมุมมองสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ ช่วยให้เราคิดนอกกรอบจากความคิดเดิม ช่วยให้ได้ข้อมูลแวดล้อมต่อสถานการณ์ที่กำลังสนใจ (5W1H) เครื่องมือนี้ ถูกสร้างโดย Edward de Bono จากหนังสือ 6 Thinking Hats . เช่น ถ้าท่านเป็นผู้นำประเทศ Sweden จะทำอย่างไร เมื่อ โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก หรือ ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้วจะทำอะไร หรือ ถ้าเกษียณแล้วจะทำอะไร หรือ ถ้าอาชีพหลักมั่นคงแล้วจะทำอาชีพเสริมอะไร แล้วยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมาก เช่น ไอที การเมือง เพลง ภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา ธุรกิจ สุขภาพ อาชีพเสริม ชีวิตโสด ห้องเรียนในอนาคต หรือ ชวนกันตอบคำถาม ว่า "ความสุขกับความสำเร็จ อะไรเกิดก่อน" ซึ่ง Shawn Achor สรุปกฎจากการวิจัยไว้ 7 ข้อ 1) คิดบวก สุขไว้ก่อน 2) กดคานและจุดหมุน 3) หาโอกาสในภัยคุกคาม 4) ล้มเพื่อก้าวต่อ 5) ทอนเป้าใหญ่ให้เล็กลง 6) เปลี่ยนเริ่มที่ 20 วินาที 7) คบคนดี
ถ้าท่านเป็นครู จะสอนนักเรียนอย่างเต็มกำลัง
เหมือนที่ตัวคุณครูเคยถูกสอนมา เช่นในอดีต
หรือเลือก พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล
หลักสูตรฐานสมรรถนะ มีการทำประชาพิจารณ์
ฟนเพจ Wiriyah Eduzones ได้แชร์โพสต์ ในทำนองว่า จากการได้คุยกับคุณครู และทำประชาพิจารณ์ในชุมชนออนไลน์ที่นี่ ซึ่งมีสมาชิกกว่า 200,000 คน เชื่อว่ามีคุณครูที่เห็นด้วย และเห็นต่างกับหลักสูตรสมรรถนะ เชื่อว่าปัจจุบัน มีคุณครูที่เบื่อตัวชี้วัดสองสามพันตัว เบื่อการประกวด เบื่อการประเมิน เบื่อเจ้านายโบราณบ้าอำนาจ
มื่อไปค้นข้อมูล และอ่านเพิ่มเติมถึงเหตุผล พบตามข่าว “องค์กรครู”จี้“อัมพร”รับผิดชอบ! จ่อฟ้องศาลปล่อย กพฐ.อนุมัติหลักสูตรสมรรถนะ มีความตอนหนึ่งว่า ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ใน สพฐ. ว่าการจัดทำ (ร่าง) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ นี้ อาจจะถือว่าส่อเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หรือไม่ ? และส่อถือเป็นโมฆะ ไม่มีผลในทางกฎหมายหรือไม่? เนื่องจากคณะกรรมการ กพฐ.ไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินการปรับเปลี่ยนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเองแต่อย่างใด โดย นายสานิตย์ พลศรี นายกสมาคมครูชนบทจังหวัดชัยภูมิ กล่าวด้วยว่า หากยังมีการเคลื่อนไหวผลักดันให้คณะกรรมการ กพฐ.พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ตนอาจจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองให้พิพากษาว่า เป็นการกระทำที่ผิด พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 27 หรือไม่? ส่วนเรื่องการ kick-off นำร่อง หลักสูตรฐานสมรรถนะ ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด 265 โรงเรียน พบว่า ขออนุญาตทดลองใช้รวม 247 โรงเรียน แต่มีเพียง 5 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการทดลองใช้ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ และทดลองใช้เพียง 5 สมรรถนะจาก 6 สมรรถนะ ส่วนอีก 242 โรงเรียน พบว่าไม่มีการทดลองใช้ แต่ยังเดินหน้าใช้หลักสูตรในปัจจุบัน คือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พ.ศ.2551 (หลักสูตรอิงมาตรฐาน) และมีการปรับการจัดการเรียนรู้ให้อิงสมรรถนะผู้เรียน (แต่ไม่ใช่หลักสูตรฐานสมรรถนะ)
าม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า “ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
พฐ.ไม่เคาะเปลี่ยนหลักสูตรแกนกลาง “ศ.บัณฑิต”ชี้!ของเดิมเน้นสมรรถนะได้ ตามข่าวมีความตอนหนึ่งว่า ประธาน กพฐ.กล่าวด้วยว่า ในส่วนของหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่แม้เราจะเห็นพ้องต้องกันว่า การเน้นสมรรถนะเป็นเรื่องที่เหมาะสม เข้ากับยุคสมัย แต่ในขณะนี้ยังเป็นเพียงแค่ (ร่าง) หลักสูตรฯที่ยังอยู่ในขั้นการทดลองใช้ในโรงเรียนในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งทาง สพฐ.ก็ได้นำเรียนความคืบหน้าว่า มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง และในที่ประชุม กพฐ.ก็ได้มีการอภิปราย ตั้งข้อสังเกต และให้คำแนะนำ "เช่น เห็นว่าหากโรงเรียนใดที่มีความพร้อมต้องการทดลองใช้หลักสูตร เราก็จะเปิดโอกาสโดยให้ สพฐ.ไปทำแผนนำเสนอมายังที่ประชุม กพฐ. แล้วจะพิจารณาต่อไป แต่ทั้งนี้ ยืนยันว่าการจะนำหลักสูตรใดมาใช้ทั้งหมดแบบทันทีทันใด ก็อาจจะยังไม่มีความพร้อม"
หลากคำถามว่าด้วยร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ส่งถึง ศ.บัณฑิต-ดร.อัมพร
ารเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL - Problem Based Learning) เป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ พบว่า ปัญหาในกระทรวงต่าง ๆ ก็มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่แตกต่างกันไป และมีมากถึง 20 กระทรวง ซึ่งในแวดวงการศึกษาจะสนใจ กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 มีบทความเชิงข่าว ชื่อ หลากคำถาม/ครหาว่าด้วยร่างหลักสูตรสมรรถนะ ส่งถึง “ศ.บัณฑิต-ดร.อัมพร” ที่น่าชวนนิสิตพูดคุยแลกเปลี่ยน สืบค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการความรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่กำลังจะนำมาใช้ในประเทศไทย เป็นตัวอย่างคำถามที่น่าชวนกันมาอภิปรายแบบสร้างสรรค์กันได้
คำถามที่ 1. ถามประธาน การเสนอหลักสูตรฐานสมรรถนะเข้ามาถึง 2 ครั้งนี้ ต้องส่งให้ฝ่ายกฎหมายตีความหรือไม่?
เพราะ การรับเรื่องมาพิจารณาโดย คณะกรรมการ กพฐ. ที่ไม่ได้ริเริ่มเอง และไม่ได้เป็นเจ้าภาพร่างหลักสูตร จะเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พศ.2542 มาตรา 27 หรือไม่? เพื่อป้องกันการมีผู้ยื่นฟ้องร้องศาลปกครองในภายหลัง
คำถามที่ 2. อะไรคือเรื่องจริง อะไรคือเรื่องไม่จริง
ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะถูกทดลองในโรงเรียนเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 8 จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งมีเข้าร่วม 224 แห่ง หรือ 265 แห่ง หรือ 247 แห่ง หรือ 242 แห่ง หรือ 5 แห่ง
คำถามที่ 3. ในพื้นที่นวัตกรรมใช้หลักสูตรอะไรแน่ มีกี่โรงเรียน กี่จังหวัด
ครอบคลุมตัวแปรระดับการศึกษาและพื้นที่ที่เป็นตัวแทนทุกกลุ่มทุกระดับทุกพื้นที่ ในการหาคำตอบที่ดีในการพัฒนาหลักสูตรระดับชาติหรือไม่ แล้วเป็นเพียง หลักสูตรระดับชั้นเรียน หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วเป็นเพียง การจัดการเรียนรู้ หรือหลักสูตร
มีรายละเอียดที่หาอ่านเพิ่มใน edunewssiam.com ได้ครับ
ทำไมนักเรียนไทย ถึงต้องติว ?
? เรียนในห้องเรียนยังไม่เพียงพอ
? อยากได้ความรู้นอกห้องเรียน
? อยากเรียนรู้จากมุมมองใหม่ ๆ
#ห้องเรียนแห่งอนาคต ผู้เรียนที่เป็น #นักเรียนไทย จะหาอ่านงานวิจัยและมีความสุขจาก #thaijo หรือเรียนออนไลน์ผ่าน #thaimooc เมื่อได้อ่าน งานวิจัย พบว่า #เจตคติต่อการเรียน มีความสัมพันธ์แปรผันกับ #ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หากมีเจตคติที่ดี ที่จะเรียนต่อหรือประกอบอาชีพ ตามมาตรา 27 (การศึกษา) มักขวนขวายเรียนเพิ่ม เรียนให้แน่นพอ และมากพอที่จะสร้างความมั่นใจ ให้ตนเองมีความรู้ ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
#ศูนย์สอบออนไลน์

ศศิธร คงอุดมทรัพย์, และพงศิษฏ์ ทวิชพงศ์ธร. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : กรณีศึกษาวิชาความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกรรมของนักเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 30(1), 93-109.

นิติบดี ศุขเจริญ, บุษรา อวนศรี, และ เรวดี อันนันนับ. (2561). ปัจจัยการขยายตัวของความต้องการเรียนกวดวิชา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 1883-1897.

เลือกประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ
มีคำถามเพื่อชวนคิดสร้างสรรค์ว่า ถ้าท่านเป็นคนไทย แล้วได้อ่าน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า “ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ”
บว่า วัตถุประสงค์มีหลายข้อ ถ้าต้องเลือกมุ่งเน้น ระหว่าง 1) ประกอบอาชีพ กับ 2) ศึกษาต่อ โปรดให้ความคิดเห็นในมุมมองและบทบาทของท่าน การศึกษาขั้นพื้นฐานควรมุ่งเน้นเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว ถ้ามีข้อจำกัดเรื่องเวลา เพื่อให้การจัดการศึกษาเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนที่สุด
ปล. ถามคำหนึ่ง แต่ใครจะเป็นคนตอบ มีใครบ้างไหมวานบอก ตอบจริงไม่ใช่แกล้งตอบ ตอบตรงให้เหมือนดังใจ
คุณสมบัติของ google form ที่ถูกกำหนด
เลือก Allow response editing
เลือก Limit to 1 response (sign in required)
เลือก Presentation, View results summary
เลือก Theme options, Header, Image uploaded
เลือก Shorten URL : forms.gle/ffFaEk7kdMJ1Uno58
ในโหมดไม่ระบุตัวตน ดูผลแบบ guest ได้ google.com/forms
ขั้นตอนการรับเกียรติบัตรหลักสูตรฐานสมรรถนะ 19-20 มี.ค.65

รักครู
ภาการศึกษา ได้จัดให้มี การประชุม "การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน" เมื่อวันที่ 19 – 20 มีนาคม 2565 ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 5002 คน (ในแฟ้มเอกสาร 107 หน้า) สามารถดาวน์โหลดเกียรติบัตร ได้ที่ https://bit.ly/3q8BKhU โดยมีขั้นตอนการดาวน์โหลดเกียรติบัตร ดังนี้
1. เปิดลิงค์ดาวน์โหลด มองหาแฟ้มรายชื่อแบบ excel หรือ pdf
2. ค้นหาตามชื่อ-สกุลในแฟ้ม เพื่อหา เลขประจำตัวผู้ผ่านการอบรม
3. ไปดาวน์โหลดแฟ้มเกียรติบัตรที่สัมพันธ์กับเลขประจำตัวผู้ผ่านการอบรม
โดยแฟ้มเกียรติบัตรจะถูกแพ็ครวมกัน แฟ้มละ 100 คน โปรดเลือกเฉพาะของตนเอง
รายชื่อผู้ผ่านการอบรม
1. https://bit.ly/3q5Kfus
2. drive.google.com
ชวนอ่าน พบว่า jeasyui.com มีโค้ดให้นำไปพัฒนาแบบ DataGrid ที่แสดงรายชื่อ และสืบค้นได้ (/json)
ชวนออกแบบระบบสารสนเทศ - ลงทะเบียนและรับเกียรติบัตรออนไลน์ 1. สร้างฐานข้อมูลและตาราง training บน mysql
มีเขตข้อมูลที่จำเป็น เช่น id, name, school, tel, email
- ระบบฐานข้อมูล mysql : thaiall.com/mysql/indexo.html
2. เขียนโปรแกรมด้วย php และ form รับลงทะเบียน
รายงานจำนวน และรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม ณ ปัจจุบัน
เงื่อนไข คือ จำกัด 5000 คน
- รับข้อมูลนำเข้าฐานข้อมูล : thaiall.com/php/indexo.html
- แสดงรายการข้อมูลในรูปของตาราง Handsontable : thaiall.com/jslibrary/
3. ผู้เข้ารับการอบรม รับ link meeting เข้าอบรม โดยกรอกข้อมูล id ให้ถูกต้อง
- บริการสืบค้น : thaiall.com/search.htm
4. เข้ารับการอบรมผ่าน zoom, webex, meet หรือ yealink
พร้อมกำหนดชื่อตามที่การประชุมกำหนด
- การประชุมออนไลน์ : thaiall.com/google/meet.htm
5. รายงานตัวระหว่างอบรมอย่างต่อเนื่องผ่าน chat ใน meeting
- การประชุมออนไลน์ : thaiall.com/zoom/
6. ทำแบบทดสอบออนไลน์ ที่เขียนโปรแกรมด้วย php และบันทึกคะแนน
ผู้ได้รับใบรับรอง ต้องมีคะแนนมากกว่า 70% จึงจะได้รับใบรับรอง
- ตัวอย่างข้อสอบ : thainame.net/quiz/test3.php?subj=fondao_engl_001
7. เข้าโฮมเพจรับใบรับรองแบบ pdf เฉพาะบุคคล โดยกรอกข้อมูล id ให้ถูกต้อง
ซึ่งจะมีสถิติจำนวนผู้เข้าดาวน์โหลดใบรับรอง เป็นชาร์ต หรือรายชื่อ
- Library สำหรับสร้างแฟ้ม pdf ด้วย Javascript : thaiall.com/jspdf/
การจัดการแฟ้มข้อมูล มีเครื่องมือหลากหลายตามลักษณะงาน มื่อมีแฟ้มเอกสารจำนวนหลายพันหน้า แบบ PDF ในหนึ่งแฟ้ม แล้วต้องการแบ่งแต่ละหน้า แจกให้ผู้ใช้แต่ละคน ก็ต้องสั่ง Split แยกแฟ้มออกเป็นเฉพาะหน้า แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น running number เชื่อมตามรหัสประจำตัว สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้ Microsoft Excel มาช่วยจัดลำดับข้อมูล แล้วสร้างลิงค์เอกสารไปยังเอกสารปลายทางเฉพาะบุคคล หรือสร้าง ระบบสืบค้นตามชื่อ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นสมรรถนะของวิทยากร หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำงานในลักษณะนี้เป็นประจำจะต้องเข้าใจขั้นตอน และกำหนดแนวทางขึ้นมา เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ Access ใบรับรองของตนเอง ได้โดยง่าย
เดชคัมภีร์เทวดา (read a book)
นักเรียนในอนาคต จะมีวิชาให้เลือกศึกษาเล่าเรียนอย่างยืดหยุ่น ตามฐานสมรรถนะ ตามหลักสูตร ตามความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล เพราะมีความเชื่อว่า การศึกษาที่ดีย่อมมีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องยึดติด ก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้เช่นกัน พบว่า กิมย้ง แต่งนิยายจีนเรื่อง กระบี่เย้ยยุทธจักร / เดชคัมภีร์เทวดา / ผู้กล้าหาญคะนอง มีสุดยอดวิชาเทวดามากมายให้เรียนรู้ แต่พระเอกในเรื่องนี้ชื่อ เหล่งฮู้ชง สำเร็จวิชา เก้ากระบี่เดียวดาย พบข้อความในนิยาย เล่ม 2 หน้า 125 "กระบี่เจ้าไร้กระบวนท่า ศัตรูเจ้าก็ไม่มีปัญญาทำลายได้ ไร้กระบวนท่าเหนือกว่ามีกระบวนท่า นับเป็นแก่นแท้ของเพลงกระบี่" ทั้ง 9 เคล็ดวิชามีลำดับ ดังนี้ เคล็ดวิชารวม ท่าทำลายกระบี่ ท่าทำลายดาบ ท่าทำลายทวน ท่าทำลายแส้ ท่าทำลายโซ่ ท่าทำลายฝ่ามือ ท่าทำลายเกาทัณฑ์ ท่าทำลายลมปราณ หรือกล่าวได้ว่า 'สุดยอดวิทยายุทธ คือ ไร้กระบวนท่า สุดยอดพิชัยสงคราม คือ ไร้รูปลักษณ์'
ถ้าเด็กมีสมรรถนะในการตัดผม หลักสูตรฐานสมรรถนะจะช่วยหนุนนำ
ระเทศไทย มีนักวิชาการรวมกลุ่มกัน และได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมกันยกร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่จะบังคับเปลี่ยนให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งสนับสนุนให้เด็กไทย ได้เรียนรู้ และพัฒนาสมรรถนะของตน ตามความต้องการ ตามสมรรถนะ และความถนัดของแต่ละบุคคล อย่างสร้างสรรค์ อย่างสุจริตไทย เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะเลือกเรียน ดังคำว่า อยากเรียนต้องได้เรียน
ช่น นักเรียนอยากมีทรงผมในแบบของตน นักเรียนอยากมีทรงผมตามสายอาชีพในอนาคต นักเรียนอยากเป็นอินเฟลูเอนเซอร์ นักเรียนอยากเป็นช่างตัดผม หลักสูตรฐานสมรรถนะก็จะสนับสนุน ให้เด็กได้เรียน ได้มีทักษะในการตัดผมตามสมรรถนะ ไว้ทรงผมตามสิทธิ์ของตน ได้รับการสนับสนุนโดยไม่มีการขัดขวาง อยากมีสมรรถนะแบบใดก็ได้แบบนั้น แต่ถ้ามีใครทำร้ายเรา แจ้งที่ #moesafetycenter ได้
ครคิดไม่อยากเป็นช่างตัดผม ฝึกตัดผม ไว้ผมทรงฮิต เข้าไม่ผิด เขาแค่ไม่มีธุรกิจร้านตัดผมที่บ้านแบบเรา และไม่ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง #คิดถึงวิทยา (Teacher's Diary)
thaiall.com/blog/burin/10615/
rspsocial
Thaiall.com