วัตถุประสงค์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยลำปาง

1 ก.ค.53 ผมได้รับอีเมลจาก คุณภัทรา มาน้อย เห็นว่าน่าสนใจ และเป็นบทเรียนที่ดี  โดยผู้สนใจได้ร่วมกลุ่มพูดคุยกันที่ กศน.ภาคเหนือ ในวันที่ 28 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา จึงประเด็นวัตถุประสงค์มาเผยแพร่ซึ่งมีใจความดังนี้
     ตามที่ทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการเคลื่อนงาน”มหาวิทยาลัยลำปาง”โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อมี ดังนี้
     1) ค้นหารูปแบบของการทำงานร่วมกันเชิงการบูรณาการศาสตร์ของการศึกษาจังหวัดลำปางโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (ใช้แนวคิดหลักสูตรบูรณาการระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาการเกษตรเป็นตุ๊กตาของการชวนคุย) ในเบื้องต้นการพูดคุยเพื่อค้นหารูปแบบการทำงานร่วมกันมีผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาทั้ง ม.โยนก มรภ. มทร. กศน. มจร.และ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมฯ เข้าร่วมเสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนประเด็นรวมถึงการตั้งข้อสังเกตของการดำเนินงานร่วมกันมากมายซึ่งทางศูนย์ประสานงานฯจะจัดทำสรุปเพื่อจัดส่งให้เครือข่ายต่อไป
     2) สร้างรูปธรรมของแนวคิดงาน “มหาวิทยาลัยลำปาง”  ให้เกิดเป็นแนวทางการบูรณาการการใช้ฐานของความรู้ในแต่ละระดับเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางของการศึกษาที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ในเบื้องต้นจากการประชุมมีแนวทางของรูปธรรมการดำเนิน 3 แนวทางคือ 1)แนวทางในการทำงานร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งมีเป้าหมายในการให้เครือข่ายทำงานในลักษณะของการนำไปสู่การสร้างวิธีปฏิบัติร่วมที่ชัดเจนและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น หลักสูตร วิธีการสอน ความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพื่อนำเอาสิ่งที่ได้นำเสนอต่อในเชิงนโยบาย 2) แนวทางของสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ใช้ฐานคนเป็นตัวตั้งเพื่อตอบสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษาที่เป็นความต้องการของคนลำปางหรือตัวแทนของสถาบันร่วมกันตั้งคำถาม (Model ดร.สมคิด) ซึ่งอาจใช้ประเด็นเป็นตัวขับเคลื่อน เช่นประเด็นเกษตร หรืออื่นๆ  โดยศูนย์ประสานงานฯเสนอให้เป็นการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดลำปาง โดยเน้นพื้นที่เป็นตัวตั้ง 3) ใช้กรอบModel ของดร.สาวิตรเพื่อขับเคลื่อนผ่านงาน ABC (งานวิจัยเพื่อพัฒนาทั้งพื้นที่ของสกว.กลาง) ซึ่งทั้ง 3 แนวทางจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
     3) ช่องทางของการเคลื่อนงานของเครือข่ายการศึกษาจังหวัดลำปางร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง  เบื้องต้นศูนย์ประสานงานวิจัยฯ รับเป็นตัวกลางในการประสานการประชุมในครั้งต่อไป และเตรียมข้อมูลพื้นที่วิจัยที่จะใช้เป็นแนวทางของการดำเนินงานต่อไป
+ งานนี้มี ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ร่วมขับเคลื่อนด้วยอีกแรง

อบรม wordpress ของ yoso ให้เพื่อน

yoso by wordpress

1 ก.ค.53 คุณธรณินทร์ มอบหมายให้ผมเป็นวิทยากรอบรมการใช้ wordpress ของ yoso.yonok.ac.th ให้กับบุคลากรของงานรับนักศึกษาและสื่อสารองค์กร มี อ.บอย อ.กิ๊ก อ.โก อ.อ้อม  คุณเคี้ยง คุณนก โดยมีวิทยากรทั้ง คุณตุ้ย คุณแบงค์ คุณเอก คอยให้ความสะดวก ซึ่งประเด็นสำคัญคือการจัดการ post ใน category ซึ่งแตกต่างกัน และ category ถูกแบ่งไว้ 7 กลุ่ม การใช้ PostMash การใช้ Thumbnail สำหรับผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ต และ wordpress มาก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่ลงรายละเอียดมากนัก แต่การใช้งานจริงจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการ photo retouch การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ การมีวัตถุประสงค์และแผนในการเขียน การจัดการวีดีโอกับ youtube โดยมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของคุณธรณินทร์ ในฐานะเว็บมาสเตอร์ เช่น gallery ที่อยู่นอกระบบ wordpress การจัดการ right menu เป็นต้น จึงใช้เวลาสั้นระหว่าง 16.00น. – 17.00น. ก็แล้วเสร็จ

ขำไม่ออก กับขยะหน้าองค์กรแห่งหนึ่ง

ภาพจำลอง ขยะหน้าบริษัท

30 มิ.ย.53 กรณีศึกษาเป็นนิยายเรื่อง ขำไม่ออก ( เรื่องนี้ต่อเนื่องจากปัญหา Zend Guard และ Zend Optimizer)
     วันหนึ่งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่รับผิดชอบเว็บไซต์ขององค์กรแห่งหนึ่ง มาพูดคุยกับ นายลี และบังเอิญพบว่าลิงค์หลายลิงค์ในเว็บไซต์หน้าแรกขององค์กรเป็นลิงค์ตาย (Dead Link) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาได้หลายเดือนแล้ว ส่งผลต่อภาพลักษณ์และเป็นเครื่องกีดขวางการไปถึงเป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจน แต่พบว่าไม่มีใครในองค์กรสนใจกับปัญหาการไม่ถึงเป้าหมาย แล้วเจ้าหน้าที่ท่านนั้นก็รับปากจะไปแจ้งให้กับบริษัทที่เป็น Outsource เพราะตนมีส่วนได้ส่วนเสียกับ Outsource อยู่ระดับหนึ่ง
     หนึ่งสัปดาห์ก็แล้ว สองสัปดาห์ก็แล้ว แจ้งข้อมูลผ่านเว็บบอร์ดในองค์กรก็แล้ว ในเฟรสบุ๊กก็แล้ว แต่สื่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์เลย ไม่สมคำอ้างที่บอกว่าสื่อเว็บไซต์มีประโยชน์อนันต์ ไม่มีใครสนใจปัญหานี้ และไม่มีการแก้ไข จนนายลีที่เคยถูกห้ามติดต่อกับ Outsource รู้สึกทนไม่ได้ ต้องโทรไปติดต่อโดยตรง แล้วก็ได้รับแจ้งจากปลายสายว่า  นายลีไม่มีสิทธิ แต่ Outsource ก็รับว่าเป็นความผิดพลาดของบริษัทตนที่จะต้องแก้ไข ซึ่งคนที่ดูแลเรื่องนี้ลาออก และรหัสต้นฉบับก็ไม่มีที่จะนำมาแก้ไขแล้ว .. แต่ได้แจ้งให้นายลีทราบว่าต่อไปโปรดติดต่อผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบ นายลีก็ตอบไปว่า “ถ้าถังขยะหน้าบริษัทล้มคว่ำจนใคร ๆ ต้องคอยกระโดดข้ามเพื่อเข้าบริษัท ซึ่งพนักงานทำความสะอาดที่รับทราบด้วยตนเองอยู่แล้ว กลับกลายเป็นว่าต้องมีใครสักคนทำหนังสือถึงพนักงานทำความสะอาด มิเช่นนั้นขยะกองนั้นก็จะอยู่ที่เดิม เพราะไม่มีใครแจ้งพนักงานทำความสะอาดเป็นลายลักษณ์อักษร .. นายลีว่า ถ้างั้นก็กระโดดข้ามกองขยะทุกวันก็แล้วกัน” เพราะเชื่อว่าเข้าเมืองตาหลิ่วให้หลิ่วตาตาม
? ที่มาของเรื่องคือบริษัท Logistic มีปัญหาเรื่อง Outsource ภาษา PHP แล้วเราโทรคุยกัน

เข้ารหัสภาษา php ป้องกันลูกค้าแก้ไขด้วย zend

zend on phpinfo

30 มิ.ย.53 กรณีที่โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ต้องการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP และไม่ต้องการให้โปรแกรมเมอร์คนอื่น หรือลูกค้าที่ตนเองรับเงินมานำ Script ไปแก้ไขในภายหลัง จึงใช้โปรแกรม Zend Guard สำหรับเข้ารหัส (Encode) และใช้ Zend Optimizer สำหรับประมวลผล (Decode) เช่น นาย A เป็นโปรแกรมเมอร์รับเงินจากนาย B มาพัฒนาระบบด้วยภาษา PHP แต่ใช้โปรแกรมเข้ารหัสภาษา PHP ซึ่งตัว หนึ่งที่นิยมใช้กันมากคือ Zend Guard และจะประมวลผลได้กับเครื่องที่ติดตั้ง Zend Optimizer
     ตัวอย่าง Script ที่พัฒนาคือ <?=5;?> เมื่อใช้ Zend Guard จะได้แฟ้มใหม่ที่ใช้ editor เปิดอ่านแล้วไม่เข้าใจ และมีขนาด 2267 Bytes แต่ถ้าเปิดผ่าน web server ที่ติดตั้ง Zend Optimizer ก็พบกับเลข 5 ตามปกติ แต่จากการทดสอบใช้ Zend Guard 5.0.0 รุ่นทดลอง และใช้ Zend Optimizer 3.3.0 หลังจาก 14 วันผ่านไปจะพบคำว่า Fatal error: This file has expired. in C:\thaiabc\apache2\htdocs\zend_encode.php on line 0
     ในกรณีที่ใช้ Zend Guard 5.0.0 และใช้ Zend Optimizer รุ่นต่ำกว่า ก็พบว่ามีปัญหา หากจะใช้งานได้ต้อง Upgrade ตัวที่ใช้ Decode จากการทดสอบ Optimizer รุ่น 3.2.6 ไม่รองรับรุ่น 5.0.0 ซึ่ง Optimizer นั้นสามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี แต่ Zend Guard มีราคาประมาณ 20,000 บาทต่อปี
+ http://www.zend.com/en/products/guard/downloads
+ http://www.brothersoft.com/zend-optimizer-274181.html
+ http://www.ioncube.com/

แก้ปัญหา Windows DNS ได้ 3 กรณี

nslookup on DOS

29 มิ.ย.53 ในสถาบันแห่งหนึ่งใช้ DNS 2 ตัว เป็น linux และ windows แต่เครื่องบริการที่ใช้ Windows DNS นั้น ถูกรายงานว่ามีปัญหาด้วยการตรวจสอบผ่าน intodns.com และพบสิ่งที่ต้องแก้ไขหลายกรณี ซึ่งปล่อยให้เป็นเช่นนี้มาแล้วระยะหนึ่ง มาวันนี้ผมกับคุณอนุชิตมีโอกาสเข้าไปตรวจสอบอย่างจริงจัง และแก้ไขปัญหาสำคัญได้ 3 กรณี ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็น DNS, NAT, Load Balance ผ่าน ADSL + Leased Line, 2 Lan Card + 1 Blank Lan Card
     กรณีที่ 1 พบว่าตรวจสอบด้วย nslookup จากภายนอก พบว่าไอพีของเครื่องบริการ DNS มีถึง 6 IP และบางไอพีไม่มีความเป็นไปได้ที่จะให้บริการ พบว่า DNS Preference มีตัวเลือกที่ยอมให้ทุกไอพี หรือเฉพาะไอพีที่กำหนดเท่านั้นเป็นตัวให้บริการ เมื่อปล่อยให้ไอพีที่กำหนดเพียง 1 ip เป็นตัวให้บริการ ปัญหานี้ก็หมดไป กรณีที่ 2 ค่า Serial ของ Host ที่กำหนดใน SOA record เป็นข้อมูลที่ถูกใช้ในการจัดลำดับของ DNS ซึ่งเรามี 2 ตัว และรูปแบบที่กำหนดคือ YYYYMMDDnn พบว่าเดิมไม่กำหนด ทำให้การนำไปอ้างอิงมีความผิดพลาด กรณีที่ 3 ชื่อโฮสของ NS ซ้ำ เช่น h1.h1.domain.com ซึ่งไม่พบค่า config ใน DNS หรือ Firewall หลังตรวจสอบด้วย nslookup จากภายนอก แล้วพบว่า ไอพีที่ตอบกลับไม่สมเหตุสมผล ทำให้พบว่า การกำหนด Domain name ของเครื่องคอมพิวเตอร์ใน control panel system ระบุเกินกว่าที่ควร ทำให้ระบบอื่น ๆ นำค่าไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง เมื่อแก้ไขเป็น domain.com แล้วทุกอย่างก็เข้าที่เข้าทาง

พัฒนา sitemap ไว้ใน intranet

เผยแพร่ sitemap ในระบบอินทราเน็ต

29 มิ.ย.53 ได้หารือกับ คุณธรณินทร์ แล้วทราบว่า sitemap ที่น่าสนใจ เป็นแบบของ tu และผมมีเวลาช่วงบ่าย จึงเข้าไปปรับเว็บเพจ sitemap ใน http://www.yonok.ac.th/intranet และเก็บรูปแบบนี้ไว้แยกออกมาอีกรุ่นหนึ่ง ที่ http://www.thaiall.com/yonok/intranet_530629.htm 
.. ดู ๆ ไปก็สวยนะครับ เป็นระเบียบเรียบร้อยดี แต่เผยแพร่ไม่ได้ เพราะปัญหาเชิงนโยบาย ทำให้ต้องเก็บไว้ดูในพื้นที่จำกัด ซึ่งขัดกับแนวคิดของอินเทอร์เน็ต

ผ่านร้านขายปลา

ชำแหละปลา

28 มิ.ย. 53 วันก่อนจำได้ติดตาว่า ผ่านร้านขายปลา เห็นปลาที่กำลังดิ้น แล้วก็มีคนชี้ ทันใดนั้นชะตาของปลาก็ขาดทันที มันถูกทุกหัวแค่ทีเดียว แล้วพ่อค้าก็ขอดเกล็ด ชำแหละ ล้วงใส้ แล้วหั่นออกเป็น 2 ท่อน .. ถ้าผมสาธยายว่าผมคิดอย่างไรกับมนุษย์ ผมว่าคงหาคนคบผมไม่ได้ ดังนั้นผมจึงยืนอยู่ข้างมนุษย์ และเป็นมนุษย์ผู้ใจด้านชา และฝืนยิ้มไปกับเพื่อนมนุษย์ผู้เบียดเบียนสัตว์โลก เพื่อการคงอยู่ของตนเอง อย่างมีความสุข .. และแล้ววันดีคืนดีมนุษย์ก็ลุกขึ้นมาห้ำหั่นกันเอง ซะงั้น .. พอมนุษย์เลิกปากกันตีนถีบ ก็หันมาแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน แบ่งสี แบ่งข้าง แบ่งชนชั้น เพื่อเอาชนะด้วยวิธีต่าง ๆ .. สรุปว่าผมก็เป็นมนุษย์ทั่วไป ที่เบียดเบียนสัตว์อื่น เพื่อการคงอยู่ของตน

ติดตั้ง safari browser สำเร็จ

safari browser

28 มิ.ย.53 ติดตั้ง flash player 10.1 ให้กับ safari browser ของ apple.com ที่คุณธรณินทร์  สุรินทร์ปันยศ เคยใช้นำเสนอในการอบรมประกันคุณภาพระดับบุคคล ผมชอบตอนนำเสนอแบบจอภาพยนต์ (Show Top Sites) จึงทดสอบติดตั้ง ใช้งานและกำหนด Show Top Sites ของตนเอง เหตุยุ่งยากที่เกิดก็เพราะเครื่องติดตั้ง deepfreeze ทำให้ต้องปิดเปิดระบบแช่แข็ง สำหรับการติดตั้งโปรแกรมนี้ และทดสอบจนมั่นใจว่าไม่มีปัญหา แต่ตัวหลักของผมก็ยังใช้ ie6 เพราะมีแผนติดตั้ง chrome กับ firefox เพิ่มเติม .. เพื่อให้ผลลัพธ์เว็บเพจตรวจสอบ PR ตามแนวการพัฒนาเว็บไซต์ให้เข้ากับ SEO ได้

การเตรียมปรับเว็บเพจแบบสแตติกหลายร้อยหน้า

26 มิ.ย.53 เริ่มต้นจากการมีรายชื่อเว็บเพจในเครื่องบริการอยู่ 100 เว็บเพจที่เป็นแบบสแตติกในเครื่อง remote และมีเหมือนกันในเครื่อง local แต่เครื่อง local มีหลายพันแฟ้ม ซึ่งปนกันระหว่างเว็บเพจเป้าหมายที่ต้องการปรับกับเว็บเพจที่มีทั้งหมด จึงย้ายห้อง local ไปเป็นห้องสำรอง สิ่งที่ต้องการคือคัดแยกเว็บเพจเป้าหมายไปอยู่ใน folder เป้าหมาย เพราะ filezilla จะช่วย upload โดยเลือก folder และส่งแฟ้มทั้งหมดจาก local ไปยัง remote ได้ง่าย ถ้าปนกันจะจัดการได้ยากกว่า
     ดำเนินการ 1) สร้าง folder เฉพาะที่มีแฟ้มเป้าหมาย โดยนำรายชื่อ url ทั้งหมดเข้าไปจัดการใน excel เพื่อให้ได้ DOS code สำหรับสร้าง folder เช่น mkdir c:\thaiall.com\article ซึ่งผมมี folder เป้าหมาย 43 folder เก็บแฟ้มเป้าหมายไว้ 100 แฟ้ม แล้วคัดลอกจาก excel ไปวางใน cmd ก็จะได้ folder ทั้งหมดทันที 2) คัดลอกแฟ้มเป้าหมายจากห้องสำรองมาไว้ใน folder หลัก โดยนำรายชื่อ url ทั้งหมดเข้าไปจัดการใน excel ก็จะได้คำสั่ง DOS เช่น copy c:\bak\x.htm c:\thaiall\article\x.htm แบบนี้จำนวน 100 บรรทัด เมื่อคัดลอกจาก excel มาวางใน cmd ก็จะได้แฟ้มเป้าหมายในห้องใหม่เรียบร้อย 3) ใช้ search ของ windows หรือเปิดผ่าน batch file สั่งเปิดแฟ้มเป้าหมายทั้ง 100 แฟ้มใน editplus แล้วแก้ไขด้วย replace all เพียงเท่านี้แฟ้มเป้าหมายก็จะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างถูกต้อง 4) พบว่า filezilla มีความสามารถ import หรือ export รายการ transfer เป็นแฟ้มแบบ xml ได้ ผมนำแฟ้มที่ export ไปเปิดใน excel แต่มีรายละเอียดมาก และคิดว่าคงใช้ไม่บ่อย ที่สำคัญมีรหัสผ่านที่เข้ารหัสไว้ สำหรับใช้เชื่อมต่อเครื่องบริการ เก็บไว้ในแฟ้มนี้ จึงไม่ดำเนินการสร้างรายการนี้เก็บไว้ 5) ใช้ filezilla ส่งทุกอย่างจากห้อง c:\thaiall ไปในเครื่อง remote เป็นการเขียนทับเฉพาะ 100 แฟ้มเป้าหมายในเครื่อง remote สรุปผลว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการครั้งนี้
     อันที่จริง ผมอยากเขียนเล่ารายละเอียดที่ต้องปรับ 100 เว็บเพจ แต่มีคนห้ามไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงเล่าได้เพียงกระบวนการ ส่วนที่มา และที่ไป ขอไม่กล่าวถึงนะครับ .. แต่จะพยายามแยกส่วนของที่มา กับที่ไปมาเล่าสู่กันฟัง เพราะเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่ผมควรจดจำและบอกต่อในตอนที่ยังมีโอกาสครับ
+ http://www.thaiall.com/updateazmz.htm

กิจกรรม proj, job, lib, seo, regist, smart card

ภาพระหว่างเดิน และผลพวงของกิจกรรม

25 มิ.ย.53 เช้ามาก็ประชุมทีมเรื่องเตรียมอบรม น.ศ.ด้านไอทีกับทีม แล้วไปดูปัญหา contact ของ gmail.com ให้ผู้ใหญ่ใจดี พบไก่แจ้แสนน่ารัก  แล้วคุณตุ้ยก็ชวนหารือปัญหาย้ายข้อมูลจาก hd2notebook ของ อ.นุ้ย และ dns และ blue screen ของ ph และตำแหน่ง web lib หายอีก แล้วยกร่างแผนระบบสารสนเทศโดยคุยกับ อ.ภาณี และเสนออ.อติชาต ลงนาม แล้วก็ติดตามบันทึกเปิดห้องบริการและคู่มือไอทีกับคุณเอก แล้วหัวหน้าก็เรียกไปชี้แจงเรื่อง smart card ล้านกว่า ต้องหาข้อมูลคอม 92 เครื่องกับคุณแบงค์ แล้วคุณแนนก็ขอกุญแจเข้าห้องใช้วันเสาร์เพราะมี com-link มาดูห้อง แล้วก็คุยปัญหา online reg กับ หัวหน้า อ.อติชาต คุณน้อย คุณปริศนา และคุณกาน แล้วก็คุยเรื่องมาตรฐานการตัดเกรดที่ น.ศ.สงสัย เพราะจำนวนครั้งที่นำเสนอ กับความสามารถในการนำเสนอให้อาจารย์เข้าใจ ซึ่งสองในหลายเงื่อนไขที่ทีมอาจารย์ใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณา แล้วบริษัท logistic โทรมาเรื่อง php decode ก็โยนงานให้คุณกรรับ job ไป แล้วเย็นมาก็โยนงานของ cmucs ให้คุณกรรับไปอีกชิ้น แล้วที่โรงเรียนเด็กได้เก็บภาพที่ 1 พีพีป.5 คัดไทยสุนทรภู่มาได้ แล้วดึกหน่อยก็เคลียร์สัญญา seo 9 หน้าของ aun .. เขียนละเอียดคงใช้เวลามาก ผมจึงเข้ารหัสไว้ อ่านเข้าใจยากหน่อยนะครับ