การปรับปรุงเว็บเพจแบบ static จำนวน 100 เว็บเพจ

filezilla

24 มิ.ย.53 มีโอกาสต้องแก้ไขแฟ้มจำนวน 100 เว็บเพจที่เป็นแบบ static และอยู่ใน folder แตกต่างกัน จึงใช้วิธีเปิดแฟ้มผ่านโปรแกรมแบบ batch เพื่อเปิดแฟ้มทั้งหมดพร้อมกัน ด้วยการสั่งให้ editplus เปิดแฟ้มทั้งหมด แล้วจัดการทุกแฟ้มพร้อมกันได้ง่าย (ต้อง regist โปรแกรมก่อนนะครับ ไม่งั้นเปิดทีเดียว 100 แฟ้มไม่ได้) สิ่งที่ต้องการจัดการคือ sponsor frame ผลการทดสอบใช้ editplus พบว่า editplus สามารถรองรับแฟ้มจำนวน 100 แฟ้มได้ เมื่อแก้ไขจนแล้วเสร็จ ก็ใช้ filezilla สั่ง upload folder ทั้งหมด พบว่า สามารถส่งแฟ้มที่ใหม่กว่าเข้าไปทับแฟ้มเก่าได้อัตโนมัติ ผมเพียงแต่เลือก folder ทั้งหมด แล้ว upload ด้วยโปรแกรม filezilla ซึ่งทำหน้าที่เลือกเฉพาะแฟ้มที่ใหม่กว่าในแต่ละ folder ไปทับแฟ้มเก่ากว่าใน folder ของเครื่องที่ทำการ remote เข้าไป .. มีผลถูกต้อง
เช่น “C:\Program Files\EditPlus 2\editplus.exe” d:/thaiall.com/thai/kingsong.htm

เน็ตที่หอพักเสีย การ monitor และ nslookup

3ห่วงกับเพื่อน ๆ

22 มิ.ย.53 นักศึกษาที่คุณธรณินทร์ให้การดูแลที่หอพักหญิงหลายคน ให้ข้อมูลว่า net ใช้แล้วมีปัญหา แบบใช้สักพักก็หลุด และเป็นกันหลายคน ดังนั้นคุณอนุชิต จึงไปตรวจสอบแล้วพบว่า switch ที่เชื่อม access point ทั้งหมดเสีย แล้วได้ทำงานร่วมกับคุณอรรถชัย เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด เมื่อตรวจตามหลักการทำงาน 3 ห่วงคือ monitor, innovation และ service ที่เผยแพร่ใน http://www.thaiall.com/article/center.htm พบว่า ระบบ monitor ที่เป็นการตรวจสอบการสะท้อนกลับผ่านการ ping ไปยังอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ที่มีทั้งหมดในองค์กร พบว่าเว็บเพจสำหรับตรวจสอบ ขาดคุณสมบัติการตรวจ access point ผมจึงแก้ไข /log ให้เลือกตรวจเครื่องในหน่วยงาน หรือตรวจ access point เมื่อกลับไปที่บ้านแล้วใช้คำสั่ง nslookup แบบกำหนด server พบว่า dns ตัวหนึ่งของเรามีตัวหนึ่งที่ต้องแก้ไข  เพราะปัญหาหอพักแก้ได้ด้วยการซื้อ switch ใหม่ ปัญหาไม่มีระบบ monitor ก็พัฒนา script แล้ว แต่ปัญหา dns ตัวหนึ่งไม่บริการนอกองค์กรอย่างถูกต้อง จะต้องตรวจสอบเพิ่มเติม

โปรแกรม cam studio ใช้ record windows screen

camstudio และ thaicyberu.go.th

19 มิ.ย.53 เนื่องจากคุณตุ้ย เข้าไปเรียน e-learning กับ thaicyberu.go.th เป็นหนึ่งในเพื่อนหลายท่านที่เข้าไปเรียน เช่น อ.ภาณี และ อ.เก๋ แล้วคุณตุ้ยพบว่าเว็บไซต์นี้ใช้สื่อแบบหนึ่งคือ การสอนด้วยวีดีโอที่ capture หน้าจอ และมีเสียงอธิบายเป็น wmv จึงสนใจอยากพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนในมหาวิทยาลัย สำหรับให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่ เช่น ติดตั้งเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ผมจึงแนะนำไปว่าใช้ cam studio ซึ่งเป็น open source ที่ download ได้จาก http://camstudio.org ขนาด 1.3 MB
     โปรแกรมนี้ช่วยบันทึกการทำงานบนจอภาพเป็นแฟ้มแบบ .avi หรือ .swf ซึ่งแนะนำให้บันทึกเป็น avi แล้วนำไปใช้ใน windows movie maker แล้วบันทึกเสียงในโปรแกรมนี้ ซึ่งเป็นการเติมเสียงหลังจากบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว ทำให้สามารถเตรียมตัวได้ดีกว่า การบันทึกวีดีโอไปพร้อมกับการบันทึกเสียง หากจะทำวีดีโอแบบ screen recording ควรเขียน script และแบ่งวีดีโอออกเป็นเรื่อง เพื่อให้ผู้ใช้เลือกเปิดดูหรือพัฒนาตามเรื่องได้ง่าย ซึ่งจะง่ายกว่าการทำเป็นเรื่องยาวเรื่องเดียว

ร่วมประชุมที่สถาบัน กศน. ภาคเหนือ

ประชุม ณ สถาบัน กศน ภาคเหนือ

17 มิ.ย.53 ร่วมงานประชุมเพื่อพัฒนาวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทการปฏิบัติงาน กศน. ในระดับหมู่บ้าน/ตำบล นำโดย ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ และ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล เป็นประธานร่วม พร้อมด้วยบุคลากรทางการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎอีกหลายท่าน และมีผู้อำนวยการ กศน. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนข้างผมมี คุณรัตติกร บุญมี (จิ๊บ) และ คุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์) จาก สกว.ลำปาง
     ก่อนปิดการประชุม ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับระบบและกลไกการบริหารงานวิจัย ซึ่งผมสรุปได้ว่ามีกระบวนการดังนี้ 1) อาจารย์เสนอ concept paper มายังคณะ 2) คณะพิจารณา แล้วส่งมายังสถาบันวิจัย 3) สถาบันวิจัย พิจารณาแล้วเปิดรับ proposal  4) อาจารย์จัดทำ proposal ส่งให้คณะ และสถาบันวิจัยพิจารณาอีกครั้ง 5) สถาบันวิจัยส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 6) จัดเวทีวิพากษ์ proposal 7) อาจารย์ส่ง proposal ที่ผ่านการปรับปรุงตามขั้นตอนอีกครั้ง 8) สถาบันวิจัยเสนอตามขั้นตอน เพื่ออนุมัติทุนวิจัย 9) เวทีรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน 10) ส่งรายงานการวิจัย และบทความวิจัยตามลำดับ 11) สถาบันวิจัยส่งบทความวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 12) อาจารย์ปรับแก้ แล้วส่งบทความวิจัยตามลำดับ 13) สถาบันวิจัยร่วมกับอาจารย์ส่งบทความไปเผยแพร่ภายนอก

ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ กับโฮมเพจคณะ

16 มิ.ย.53 วันนี้หัวหน้าขอให้ผมทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกครั้ง (mission impossible) แต่ผมก็ทำให้เท่าที่ทำได้ เพราะหัวหน้าเคยขอสิ่งนี้จากผู้บริหารท่านหนึ่ง แต่หัวหน้าก็บ่นว่าไม่เห็นผลเท่าที่คาดหวัง ดูเหมือนต้องการให้ผมทำภารกิจที่เป็นไปไม่ได้นี้อีกครั้ง สิ่งที่ต้องการคือ เว็บเพจรับสมัครงานของคณะ ที่จัดเป็นแหล่งให้ข้อมูลตำแหน่งงานแก่ศิษย์เก่าเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำเพิ่มขึ้น
     เนื่องจากเรารู้ว่าไม่สามารถปรับ design โฮมเพจของคณะเราได้ จึงใช้โฮมเพจเดิมที่สมบูรณ์กว่าด้วยระบบกราฟฟิก และแบ็คออฟฟิสที่ นายแบงค์พัฒนาไว้ แล้วผมก็เชื่อมโยงลิงค์เข้าระบบ forum หัวข้อ หางาน เข้ากับเว็บเพจของคณะวิชา แล้วเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่น่าสนใจ เพียงเท่านี้ก็น่าจะบรรลุตามความต้องการของหัวหน้าได้ระดับหนึ่ง แต่ mission impossible ยังคงเป็นตามนั้น คือ การดำเนินการนี้ไม่มีผลต่อการรับรู้ของศิษย์เก่า หรือผู้สนใจทั่วไปในบทบาทของโฮมเพจคณะอย่างเป็นทางการ .. ผู้อ่านคงงง กับที่ผมเล่ามานี้ เพราะมีประเด็นเรื่องมนุษย์กับคำว่ามากคนก็มากความเข้ามาเป็นปัจจัยครับ

สั่งการบ้านให้นักศึกษาส่งเข้า fanbox ของ facebook

กระดานเสวนาใน fanbox ของ facebook.com

16 มิ.ย.53 วันนี้ในห้องเรียน เหมียวทักผมว่าไปประชุมที่ กศน หรือค่ะ เพราะผม post ไว้ใน facebook ก็ตอบไปว่าไปร่วมประชุมในงานประชุมเพื่อพัฒนาวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทการปฏิบัติงาน กศน. ในระดับหมู่บ้าน/ตำบล ที่ห้องประชุม 3 อาคารสัมมนา สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ระหว่าง 17-18 มิถุนายน 2553
     เดิมผมสั่งงานให้นักศึกษากลุ่มโครงสร้างข้อมูลส่งอัลกอริทึมกิจวัตรประจำวัน ใน facebook แต่มาพบภายหลังว่าพวกเขาส่งเข้าผ่านระบบ message เพราะผมยังไม่ accept พวกเข้าเป็นเพื่อน ประกอบกับข้อจำกัดของ facebook ที่ post ได้ไม่เกิน 420 ตัวอักษร ทุกคนจึง post ผ่าน message กันหมด แล้วผมก็เปลี่ยนวิธี เพื่อให้การติดตามและแลกเปลี่ยนระหว่างนักศึกษาสะดวกขึ้น ด้วยการสั่งงานอีกชิ้นหนึ่ง
    งานชิ้นที่สองเรื่อง data type ให้เข้าไปที่ thaiall.com แล้วสมัคร fanbox ของ facebook ที่เตรียมไว้ และให้เข้าไปใน discussion แล้วเลือกหัวข้อการบ้านที่ตรงกับตน เพียงเท่านี้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ผมสอน ก็จะส่งการบ้านในหัวข้อที่มอบหมายได้อย่างถูกต้อง เหตุที่เลือก discussion เพราะผู้คนส่วนใหญ่ใน facebook ไม่สนใจการโต้ตอบเท่าใดนัก ดังนั้นบริการ discussion จึงกลายเป็นสถานที่ส่วนบุคคลไปโดยพฤติกรรมของผู้ใช้เอง

เสพสงครามจนติด เหมือนติดบอล ติดมวย ติดเกม

มอง hurt locker กับบอลโลก

13 มิ.ย.53 ภาพยนต์เรื่อง The Hurt Locker มีคำกล่าวว่า “War is a drug” หรือ สงครามเป็นยาเสพติด เมื่อดูเรื่องนี้จนจบแล้ว ทำให้ผมพบคำตอบว่า ทำไมมนุษย์ชอบดูชาวต่างชาติทำสงครามผ่านลูกหนัง หรือที่เรียกว่า ศึกบอลโลก ที่แบ่งชาติแบ่งทีมกันเอาชนะ ใส่เสื้อเป็นกองเชียร์ เหมือนกลุ่มเชียร์มวย ที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายเลือกข้าง พูดคุยอย่างมีข้างที่ตนถือหางอยู่ เอาแพ้เอาชนะ โดยเลือกชาติที่ไม่ใช่ชาติเรามาเป็นตัวแทนของตน แล้วมองผลการแข่งขันเป็นการแพ้ชนะของตน หากทีมที่ตนเลือกแพ้ ก็จะไม่สบายใจ แต่ถ้าชนะก็จะสุขใจ
     ฟุตบอลคือการรวมทีมที่แต่ละคนใช้ลำแข้งเป็นอาวุธ และกำหนดกติกาเอาแพ้ชนะ เด็กที่ติดเกม ก็จะใช้ดาบ ใช้ปืน หรือใช้อาวุธนานาชนิด แล้วเข้าไปห้ำหั่นกัน ตายคือผลของการทำลายล้าง  การเสพติดสงครามในเกมเกิดขึ้นกับเยาวชนมายมายจนบางคนเสียอนาคต เพราะติดเกม เสียงาน และเลิกเรียน  ส่วนบอลโลกก็จะมีการออกประกาศว่าห้ามเล่นการพนัน แล้วหลังจบบอลโลก ก็จะมีหลายคน หลายครอบครัวมีปัญหาจากผลของการพนัน เป็นภาระทางสังคมอยู่เสมอ .. แม้มนุษย์มีสารสนเทศที่เพียงพอแล้ว รู้เหตุของปัญหา รู้ผลของปัญหา แต่ก็ยังปล่อยให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้น ทั้งต่อตนเอง และต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน .. ก็พวกเราก้าวข้ามวิวัฒนาการจากสัตว์สู่มนุษย์ เป็นผู้มีสิทธ์เบียดเบียนสัตว์ทุกชนิดได้ด้วยความชอบธรรมมาได้ไม่นานนี้เอง
? แล้วคุณล่ะชื่นชมกับสงครามลูกหนังปี 2553 หรือไม่

ค้นหาชื่ออาจารย์ creative ใน google.com ได้แล้ว

ข้อมูลบุคลากร กับหลักฐานประกันคุณภาพ

12 มิ.ย.53 ผลจากการอบรมให้บุคลากรนำหลักฐานเอกสาร ที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2552 เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ผลการประกันคุณภาพ และมุ่งเป็นมหาวิทยาลัย creative ที่มีคุณภาพ โดยประเด็นเริ่มจากการปรับรายงานแสดงเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพให้จัดกลุ่มที่เชื่อมโยงกับชื่อบุคลากรเจ้าของหลักฐาน ให้ดูเข้าใจง่าย จนลามไปถึงการเชื่อมโยงชื่อบุคลากร กับฐานข้อมูลบุคลากร และพบว่า google.com เก็บข้อมูลเว็บเพจเก่า ที่เป็นฐานข้อมูลบุคลากรที่ทำไว้หลายปีก่อน จึงได้ ฤกษ์ ปรับให้โปรแกรมตัวเก่าดูดข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลใหม่ โดยลิงค์เดิมที่อยู่ในฐานข้อมูลของ google.com ไม่เสีย วันนี้ค้นชื่อ คนึงสุข นันทชมภู หรือ คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ ก็จะพบลิงค์เดิมที่เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจใหม่เรียบร้อยแล้วครับ
     ณ วันนี้ข้อมูลมากมายของมหาวิทยาลัย ยังคงสืบค้นได้จาก google.com  โดยตรง ไม่จำเป็นต้องหาลิงค์จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เพราะข้อมูลถูกดูดเข้าสู่ระบบ google.com มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงข้อมูล .. เล่าสู่กันฟัง
+ http://www.yonok.ac.th/sar
+ http://www.yonok.ac.th/person

ตอบเรื่องเพิ่มข้อมูลเข้า blog ที่ใช้ theme ของ Solostream

12 มิ.ย.53 วันศุกร์เช้า คุณค. และคุณแบงค์มีโอกาสพูดคุยกันเรื่องการพัฒนาเว็บไซต์ขององค์กรแห่งหนึ่ง โดยเหตุเริ่มต้นจาก รับคำถามจากคุณค. ทางโทรศัพท์ ว่า “เพิ่มข้อมูลเข้า yoso เป็นหรือไม่ ถ้าเขาไม่อยู่ใครจะทำ” ผมก็ถึงกับอึ้งไปเล็กน้อย ตอบไม่ค่อยจะถูกโดยเฉพาะทางโทรศัพท์ จึงเชิญคุณค. มาพูดคุยกันที่ห้องบริการคอมพิวเตอร์ เพราะ 1) ระบบของ yoso นั้น ไม่ได้พัฒนาระบบขึ้นใหม่ แต่ใช้ theme ของ solostream และใช้ blog ของ wordpress 2) คุณแบงค์ได้ทดสอบติดตั้งในเครื่องของตน และ tune up โดยใช้ theme มาหลายตัวแล้ว และที่ใช้อยู่ก็ใช้ theme มาตรฐาน 3) การเพิ่มข้อมูลนั้นไม่แตกต่างจากการ post blog ทั่วไป เพียงแต่ต้องมีความรู้เรื่อง retouch นิดหน่อย ซึ่งเคยอบรมให้ทุกหน่วยงานไปแล้ว (มีรายงานโครงการเป็นรูปเล่มครับ) ดังนั้นที่ตอบว่าอึ้งก็เพราะว่า การ post blog เป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ไม่ต้องจบคอมพิวเตอร์ก็น่าจะทำได้ ถ้าสนใจเรื่องการส่งข้อมูล จึงต้องชวนกันมาทำความเข้าใจ
     เรื่อง theme ของ solostream ผมเขียน blog เผยแพร่ที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/1241/ เมื่อ 6 มีนาคม 2553 และเขียนบทความเรื่องลิขสิทธ์ของ solostream ลงหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ http://www.thaiall.com/opinion/readonly.php?view=438 ปัญหาการออกแบบ หรือการ post ข้อมูลลงเว็บไซต์ไม่ได้อยู่ที่เทคนิค แต่อยู่ที่นโยบาย เพราะเรามีปัญหาเรื่องนโยบายมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะออกแบบมาอย่างไรก็จะมีคนติเสมอ
     ล่าสุด อ.ช บอกว่าอยากได้อย่างนั้น อยากได้อย่างนี้ ผมต้องบอกว่า อ.ช คิด อ.ช คิด ส่วนคุณค. คิด ผมก็บอกว่า คุณค. คิด คุณค. คิด ส่วนผู้บริหารท่านหนึ่งก็คิดมาอีก แต่สรุปว่าเรามีผู้มีอำนาจตัดสินใจ คิด เป็นผู้คิดอย่างมั่นใจ ซึ่งผู้มีอำนาจตัดสินใจเขาคิดอย่างหนึ่ง .. และผมเองขอไม่คิดเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ เพราะแค่คนที่มีอยู่ก็ตกลงกันไม่ได้อยู่แล้ว ขืนเอา theory ของผมเข้าไป คงไม่มีวันจบ แค่นี้ก็หาที่จบไม่ได้แล้ว ทุกวันนี้จบลงได้ เพราะทุกคนไม่พูด ปล่อยเลยตามเลย จนกระทั่ง อ.ช ฉุกคิดอะไรขึ้นมาก็ไม่ทราบอยากคิด และคุณค. นำสถิติมาพูด ผมเห็นแล้วก็ไปขอสถิติของปีที่ผ่านมาเปรียบเทียบ แสดงให้เห็นว่าสถิติเรื่องการรับรู้สื่อผ่านเว็บไซต์นั้นคงชื่นชมมากไม่ได้ เพราะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ก็เล่าใน facebook ไปเล็กน้อยแล้ว .. สรุปว่าความคิดของแต่ละคนมีเหตุผลประกอบ และผมยอมรับทุกความคิด ขออย่างเดียวหาข้อตกลงกันให้เรียบร้อย แล้วทุกอย่างก็จะเป็นไปในทางเดียวกัน แม้ถูกบ้างผิดบ้าง ก็คงต้องค่อย ๆ เรียนรู้กันไป

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เป็นวิทยากรปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

10 มิ.ย.53 วันนี้ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ให้เกียรติรับเชิญจากมหาวิทยาลัยโยนกเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเรียนแบบ Creative ให้กับนักศึกษาใหม่ ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบริหารธุรกิจ ระหว่าง 11.00น. – 12.00น. โดยเน้นว่านักศึกษายุคนี้ต้องมีความคิดแบบสร้างสรรค์คือ คิดใหม่ คิดต่าง คิดไม่เหมือนใคร ให้ดีกว่าเดิม ซึ่งข้อคิดสำคัญประการหนึ่งคือ นักศึกษายุคนี้ต้องเก่ง โดยมีให้เลือก 4 เก่งหรือจะเก่งทั้งหมดก็ยิ่งดี คือ เก่งภาษา (Language) เก่งประสาน (Merge) เก่งเชี่ยวชาญ (Expert)  และเก่งคิด (Think)