วัตถุประสงค์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยลำปาง

1 ก.ค.53 ผมได้รับอีเมลจาก คุณภัทรา มาน้อย เห็นว่าน่าสนใจ และเป็นบทเรียนที่ดี  โดยผู้สนใจได้ร่วมกลุ่มพูดคุยกันที่ กศน.ภาคเหนือ ในวันที่ 28 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา จึงประเด็นวัตถุประสงค์มาเผยแพร่ซึ่งมีใจความดังนี้
     ตามที่ทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการเคลื่อนงาน”มหาวิทยาลัยลำปาง”โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อมี ดังนี้
     1) ค้นหารูปแบบของการทำงานร่วมกันเชิงการบูรณาการศาสตร์ของการศึกษาจังหวัดลำปางโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (ใช้แนวคิดหลักสูตรบูรณาการระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาการเกษตรเป็นตุ๊กตาของการชวนคุย) ในเบื้องต้นการพูดคุยเพื่อค้นหารูปแบบการทำงานร่วมกันมีผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาทั้ง ม.โยนก มรภ. มทร. กศน. มจร.และ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมฯ เข้าร่วมเสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนประเด็นรวมถึงการตั้งข้อสังเกตของการดำเนินงานร่วมกันมากมายซึ่งทางศูนย์ประสานงานฯจะจัดทำสรุปเพื่อจัดส่งให้เครือข่ายต่อไป
     2) สร้างรูปธรรมของแนวคิดงาน “มหาวิทยาลัยลำปาง”  ให้เกิดเป็นแนวทางการบูรณาการการใช้ฐานของความรู้ในแต่ละระดับเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางของการศึกษาที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ในเบื้องต้นจากการประชุมมีแนวทางของรูปธรรมการดำเนิน 3 แนวทางคือ 1)แนวทางในการทำงานร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งมีเป้าหมายในการให้เครือข่ายทำงานในลักษณะของการนำไปสู่การสร้างวิธีปฏิบัติร่วมที่ชัดเจนและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น หลักสูตร วิธีการสอน ความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพื่อนำเอาสิ่งที่ได้นำเสนอต่อในเชิงนโยบาย 2) แนวทางของสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ใช้ฐานคนเป็นตัวตั้งเพื่อตอบสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษาที่เป็นความต้องการของคนลำปางหรือตัวแทนของสถาบันร่วมกันตั้งคำถาม (Model ดร.สมคิด) ซึ่งอาจใช้ประเด็นเป็นตัวขับเคลื่อน เช่นประเด็นเกษตร หรืออื่นๆ  โดยศูนย์ประสานงานฯเสนอให้เป็นการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดลำปาง โดยเน้นพื้นที่เป็นตัวตั้ง 3) ใช้กรอบModel ของดร.สาวิตรเพื่อขับเคลื่อนผ่านงาน ABC (งานวิจัยเพื่อพัฒนาทั้งพื้นที่ของสกว.กลาง) ซึ่งทั้ง 3 แนวทางจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
     3) ช่องทางของการเคลื่อนงานของเครือข่ายการศึกษาจังหวัดลำปางร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง  เบื้องต้นศูนย์ประสานงานวิจัยฯ รับเป็นตัวกลางในการประสานการประชุมในครั้งต่อไป และเตรียมข้อมูลพื้นที่วิจัยที่จะใช้เป็นแนวทางของการดำเนินงานต่อไป
+ งานนี้มี ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ร่วมขับเคลื่อนด้วยอีกแรง

ร่วมประชุมที่สถาบัน กศน. ภาคเหนือ

ประชุม ณ สถาบัน กศน ภาคเหนือ

17 มิ.ย.53 ร่วมงานประชุมเพื่อพัฒนาวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทการปฏิบัติงาน กศน. ในระดับหมู่บ้าน/ตำบล นำโดย ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ และ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล เป็นประธานร่วม พร้อมด้วยบุคลากรทางการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎอีกหลายท่าน และมีผู้อำนวยการ กศน. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนข้างผมมี คุณรัตติกร บุญมี (จิ๊บ) และ คุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์) จาก สกว.ลำปาง
     ก่อนปิดการประชุม ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับระบบและกลไกการบริหารงานวิจัย ซึ่งผมสรุปได้ว่ามีกระบวนการดังนี้ 1) อาจารย์เสนอ concept paper มายังคณะ 2) คณะพิจารณา แล้วส่งมายังสถาบันวิจัย 3) สถาบันวิจัย พิจารณาแล้วเปิดรับ proposal  4) อาจารย์จัดทำ proposal ส่งให้คณะ และสถาบันวิจัยพิจารณาอีกครั้ง 5) สถาบันวิจัยส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 6) จัดเวทีวิพากษ์ proposal 7) อาจารย์ส่ง proposal ที่ผ่านการปรับปรุงตามขั้นตอนอีกครั้ง 8) สถาบันวิจัยเสนอตามขั้นตอน เพื่ออนุมัติทุนวิจัย 9) เวทีรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน 10) ส่งรายงานการวิจัย และบทความวิจัยตามลำดับ 11) สถาบันวิจัยส่งบทความวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 12) อาจารย์ปรับแก้ แล้วส่งบทความวิจัยตามลำดับ 13) สถาบันวิจัยร่วมกับอาจารย์ส่งบทความไปเผยแพร่ภายนอก