เพิ่มลิงค์ในเว็บของผม ดูผล ranking ใน google.com

17 พ.ค.53 วันนี้เพิ่มลิงค์ของ jobbangkok.com ด้วยคำว่า หางาน ที่คุณ Wirat (2K3M) ติดต่อไว้ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งในการทำ seo ด้วยการเพิ่มลิงค์ในเว็บเพจเฉพาะที่เป็น static webpage ก็เกือบ 100 เพจ ประกอบด้วย job, article/* 48, internet/* 16, learn/* 31 ส่วน dynamic webpage ประกอบด้วย blog, index.php, update.htm*, rangeweb.htm* กำหนดไว้ 3 เดือนถึงปลายเดือนสิงหาคม 2553 วันนี้ตรวจผลจัดอันดับด้วยคำว่า หางาน พบว่าใน google.com อยู่อันดับ 5 alexa อยู่อันดับ 302340 และ TH อยู่อันดับ 2819
+ มาติดตามกันครับว่าผลการเพิ่มลิงค์ใน thaiall.com จะมีผลต่ออันดับอย่างไร

มองก้าวของระบบภูมิสารสนเทศ(243)

รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา

14 พ.ค.53  มีโอกาสร่วมประชุมที่สำนักงานจังหวัด โดยมี รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา จากสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) มาเสนอขอบเขตของงาน การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS = Geographic Information System) เพื่อการวางแผนพัฒนาจังหวัด ทำให้ได้ความรู้ว่าประเทศของเราพัฒนาไปแล้วหลายก้าว ผู้บริหารจังหวัดมีนโยบายใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารมาเชื่อมโยงกับระบบภูมิสารสนเทศจากภาพถ่ายดาวเทียม ช่วยให้การบริหารจัดการงบประมาณแต่ละโครงการลงในแต่ละพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับตัวบ่งชี้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานจำนวน 42 ตัว
            ระบบภูมิสารสนเทศแตกต่างกับ Google Map หรือ Google Earth เพราะบริการของ google.com เป็นข้อมูลทั่วไปที่ไม่มีสารสนเทศที่ออกแบบมาเฉพาะกลุ่มบุคคล ไม่มีความเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เป็นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อถือในข้อมูลพิกัด ไม่อาจควบคุมพิกัดและชั้นความลับของแต่ละสถานที่ แต่ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจจำเป็นต้องมีข้อมูลพิกัดของสถานที่ที่เชื่อถือได้ ควบคุมชั้นความลับได้ สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลโครงการ งบประมาณ ปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการร่วมกันกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
            ระบบแผนที่ในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานกำหนดพิกัดของสถานที่ เช่น พื้นที่ป่า พื้นที่บ้าน พื้นที่น้ำ พื้นที่ทำกินที่ยังมีการทับซ้อนอยู่ระดับหนึ่ง เนื่องจากแต่ละหน่วยมีระบบฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกันก็จะพบปัญหาทับซ้อน หากหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลพิกัดแผนที่มาใช้แบบบูรณาการก็จะพบประเด็นความไม่ตรงกันในรายละเอียด แม้พิกัดระดับประเทศ เช่น ปราสาทเขาพระวิหารก็ยังไม่สามารถสรุปผลได้ แต่เชื่อได้ว่าถ้าหน่วยงานที่ดูแลสารสนเทศมาเปิดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและยินดีปรับข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก็จะลดปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

แผนภาพแสดงบทบาทของกุญแจแฟ้มดิจิทอล

e-document

10 พ.ค.53 แฟ้มดิจิทอลออนไลน์ หรืออีดอคคูเมนท์ (e-document) ที่พัฒนาและใช้งานในสถาบัน มีเหตุปัจจัยที่ทำให้หลายหน่วยงานให้ความนิยม อาทิ ส่งแฟ้มขนาดใหญ่เข้าระบบได้ง่าย เผยแพร่แฟ้มให้ทุกคนเข้ามาดาวน์โหลดโดยไม่เป็นภาระของผู้เผยแพร่ จดจำชื่อได้ง่าย นำลิงค์ไปใช้ในระบบอื่นได้ง่าย มีกุญแจเข้าใช้ 2 ระดับทำให้ผู้ใช้ควบคุมได้ แผนภาพนี้ตัดมาจากแฟ้ม powerpoint ซึ่งแสดงอยู่หลายเรื่องในการอบรมครั้งหนึ่ง
+ http://www.thaiall.com/ppt/file_manage_01.ppt
+ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9102

ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์

เว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ต

2 เม.ย.53 มีเพื่อนชวนไปเป็นกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์หนึ่ง มีงบจัดจ้าง 133200 บาท แบ่งเป็นค่าบริการออกแบบและจัดทำทั้งหมด 5 รายการ คือ a) เว็บหลัก 36000 b) เว็บสองภาษา 37000 c) โครงการเยส 21000 d) สังคมออนไลน์ 34000 e) เว็บบอร์ด 5200 การเป็นกรรมการครั้งนี้ได้ใบส่งของ (invoice) ซึ่งมีรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง แล้วผมก็ลองหยิบมาตรวจตามรายการ  ตรวจ a) เว็บหลัก พบว่า  1) สิ่งที่ยังไม่ทำ 2 หน้า คือ สารจากผู้บริหาร และติดต่อ ส่วนที่พิมพ์ผิดมีหลายหน้า คือ วิสัยทัศน์ เจ้าของ ชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร แผนที่ 2) สินค้า สิ่งที่พบคือ ปัดบรรทัดผิด และผู้บริหารยังไม่ยอมรับเนื้อหาที่ขัดกับคุณภาพขององค์กร เช่น ไม่เช็คชื่อบ้าง 3) รายการระดับไม่ครบ
     ตรวจ b) เว็บสองภาษา พบรายการที่ทำแล้วเพียงกึ่งหนึ่ง ตรวจ c) โครงการเยส พบรายการที่ทำแล้วไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตรวจ d) สังคมออนไลน์ รายการน่าจะครบ แต่มีข้อสังเกตเรื่อง back office ว่าใครได้หรือไม่ ตรวจ e) เว็บบอร์ด เห็นคำว่าปรับปรุง กับคำว่า re-design คนละรายการ .. ที่เล่านี่ก็เป็นประสบการณ์หนึ่งที่อยากจะแบ่งปัน .. ยามตรวจงานเสร็จ

การทำอีบุ๊คด้วยการวางชื่อแฟ้ม jpg ใน xml

อีบุ๊ค โดย eduzones.com

21 เม.ย.53 คิดถึงครั้งที่ อ.ชลาพันธ์ สนใจการทำ e-book แบบของ compasscm.com โดย post ให้ผมอ่านใน yoso เมื่อ 10 มี.ค.53 ซึ่งตรงกับแนว creative campus ของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์  แล้วผมก็ศึกษาแบบค่อยเป็นค่อยไปจนทดสอบใช้ flip ทำ e-book ของสถาบันไป 2 เล่มมาก่อนหน้านี้ใน thaiall.com/flip มาวันนี้ดูทีวีตอนเช้าพบว่า อ.นิวัฒน์ กองเพียร (niwatkongpien.com) ก็ทำ e-book แบบไม่ต้องใช้ plug-in อย่าง flip publisher หรือ plakatebook เมื่อตรวจสอบก็พบว่าท่านใช้โปรแกรมแบบ  flash page flip ทำ e-book แบบที่ใช้ง่าย แค่ scan หนังสือที่มีอยู่เป็น jpg แล้ววางลงไปใน xml ก็ได้ e-book ชั้นยอดแล้ว .. คงกลายเป็นชุด script หลักสำหรับทำ e-book ในไซต์ของผมเป็นแน่ เพราะรุ่นที่ใช้เป็น free version ลองไปดูตัวอย่างที่ thaiall.com/e-book แล้วค่อยดาวน์โหลดมาติดตั้งใน web server ของคุณก็ได้นะครับ
+ http://www.thaiall.com/flip
+ http://www.thaiall.com/e-book

วีดีโอคลิ๊ปหลักฐานจากผู้หวังดี (239)

16 เม.ย.53 พบข่าวเหตุการณ์วุ่นวายของบ้านเมืองทางทีวี มีฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ประท้วงที่เรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชน อีกฝ่ายคือรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการบริหารบ้านเมือง เหตุการณ์ทำนองนี้พบเห็นได้จากข่าวต่างประเทศ เพราะมิได้มีเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีความขัดแย้งในเรื่องของอำนาจ การเอาแพ้เอาชนะด้วยการชุมนุมประท้วงมักใช้สิ่งที่เป็นสาธารณะมาเป็นตัวประกัน และปราศรัยขอความเห็นชอบจากประชาชนเพื่อใช้ต่อรองกับรัฐบาล เช่น ถนน สถานที่ราชการ สนามบิน หรือศูนย์ธุรกิจของประเทศ ในหลายประเทศใช้วิธีการสลายการชุมนุมหากการเรียกร้องนั้นไม่อาจหาข้อยุติร่วมได้ ซึ่งข้อเท็จจริงและการรับรู้ของประชาชนอาจคลาดเคลื่อนไปตามทัศนคติของผู้นำเสนอ เพราะเรื่องเดียวกันอาจมีความหมายแตกต่างเมื่อนำเสนอโดยรัฐบาลหรือผู้ประท้วง
     โลกของเรามีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าไประดับหนึ่ง ประชาชนที่มีกำลังซื้อมักมีโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือกล้องดิจิทอลติดตัวที่พร้อมถ่ายวีดีโอคลิ๊ป เมื่อมีเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของตน เช่น ความสุข ความแปลก ความวุ่นวาย เหตุจลาจล ทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุ ผู้อยู่ในเหตุการณ์มักใช้อุปกรณ์บันทึกวีดีโอมาใช้บันทึกไว้ และส่งเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต เช่น youtube.com facebook.com หรือ 4shared.com ซึ่งผู้เยี่ยมชมวีดีโอสามารถคัดลอกเรื่องที่ตนสนใจไปเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือนำไปเผยแพร่ต่อ
     สงครามสร้างความชอบธรรมหลังเหตุจลาจลของแต่ละฝ่าย เริ่มมีการใช้สื่อวีดีโอที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ สิ่งที่ได้มาคือสื่อวีดีโอจากประชาชนที่ร่วมในเหตุการณ์ และนำมาใช้เป็นหลักฐานเล่าความจริงถึงสิ่งที่เกิดขึ้น การเผยแพร่วีดีโอมิได้ส่งให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ส่งเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคมที่มีผู้ชมได้ทั่วโลก ผู้ชมสามารถคัดลอกไปเผยแพร่หรือตีความใหม่ได้ พบว่าเรื่องเดียวกันหากอธิบายโดยฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นเรื่องหนึ่ง แต่อธิบายโดยอีกฝ่ายก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข่าวสารจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีฐานคิดบนความสมเหตุสมผล เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ตนเองยอมรับไปเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแนวปฏิบัติของตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป

ปรับความหนาแน่นของคำสำคัญ และสร้างโปรแกรมนับคำสำคัญ

keyword counting

14 เม.ย.53 ค้นคำว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า blog ของ thaiall.com อยู่อันดับที่ 8 ส่วนอันดับที่ 3 พบใน blogspot.com มีความหนาแน่นของคำสำคัญจำนวน 11 แต่เว็บเพจ thaiall.com/blog เคยมีเพียง 4 ถ้าทำงานตามหลัก seo ก็จะต้องเพิ่มความหนาแน่น แล้วผมก็เพิ่มเป็น 17 โดยปรับ code ของ wordpress ให้มี keywords และ description ซึ่งเขียนวิธีการไว้ที่ thaiall.com/wordpress ส่วนโปรแกรมนับ keyword ของฝรั่งมีปัญหาเรื่องภาษาไทย และ utf8 ทำให้ต้องเขียนโปรแกรม check keyword ใช้เองและเปิดบริการไว้ที่ thaiall.com/seo/checkkeyword.php
     สรุปว่าใช้เวลาพักหนึ่ง แกะเรื่อง utf8 กับ windows-874 หรือ tis-620 ส่วนการเพิ่มฟังก์ชันก็ต้องแกะ code เพิ่ม function ใน wordpress เพื่อเรียกใช้ the_tags ที่แสดงแบบมี link และ nonlink เพราะทุกหน้าจะมี tag เป็น keyword ของตนเองก็ต้องเรียกใช้ tag แบบ nonlink
+ http://www.thaiall.com/seo/checkkeyword.php
+ http://www.thaiall.com/wordpress

เขียน vbs ใน macro แปลงระหว่างเลขไทยและเลขอาราบิก

แปลงเลขไทยเป็นเลขอาราบิก

5 มี.ค.53 ทุกองค์กรย่อมมีนโยบายมากมายทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็น เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ช่วงนี้มีแนวนโยบายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นทางการเกิดขึ้นในองค์กรแห่งหนึ่ง คือ การใช้ตัวเลขในเอกสารขององค์กร ซึ่งก่อนหน้านี้มีวัฒนธรรมที่ผู้บริหารสนับสนุนให้ใช้เลขไทย ทำให้มีการใช้เลขไทยในเอกสารเป็นไปโดยอัตโนมัติ เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมีการเปลี่ยนทีมผู้บริหารก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่อง ทำให้การเลือกใช้แบบของตัวเลขเริ่มเปลี่ยนทิศทางไป การใช้ visual basic script ใน macro ของ microsoft word ที่เขียนขึ้น 2 ฟังก์ชันคือ แบบแปลงไทยเป็นเลขอาราบิก และ เลขอาราบิกเป็นเลขไทย ทำให้การสั่งเปลี่ยนทำได้ง่าย ทดสอบกับ word2003 แล้วใช้ได้ครับ .. ลองนำไปทดสอบดูได้นะครับ

Sub arabictothai()
For i = 0 To 9
With Selection.Find
.Text = Chr(48 + i)
.Replacement.Text = Chr(240 + i)
.Wrap = wdFindContinue
End With
Selection.Find.Execute Replace:=wdReplaceAll
Next
End Sub

Sub thaitoarabic()
For i = 0 To 9
With Selection.Find
.Text = Chr(240 + i)
.Replacement.Text = Chr(48 + i)
.Wrap = wdFindContinue
End With
Selection.Find.Execute Replace:=wdReplaceAll
Next
End Sub

ถ้าเป็น excel ไม่ต้องใช้ function ให้กด Ctrl-A แล้วกำหนด format ของ cell ใน Number,  Custom เป็น [$-D07041E]0 ก็จะทำให้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทั้งหมดเป็นเลขไทย

สาธิต : http://www.youtube.com/watch?v=JNy15bLnt9k


ปัญหาเครื่องบริการไม่รับเมลเข้า และ reset password ของ root

reset fedora root password

4 เม.ย.53 วันนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่ผมไม่สะดวกไปไหว้เจ้าที่สุสานบรรพบุรุษชาวจีน เพราะมีงานสอนตอน 8.30 น. จึงไม่ได้พบปะครอบครัวเหมือนเช่นทุกปี ประกอบกับมีอะไรคาใจทำให้อยากไปทำงานก่อนเวลา เพราะเมื่อคืนนี้ได้ตรวจอีเมลพบว่าคนจาก Intrusion Detection Team @spawar.navy.mil ส่งอีเมลมาแจ้งว่า 1) เครื่องหนึ่งในเครือข่ายของเราได้ scan เครือข่ายของเขา หรือ 2) ผู้ใช้คนหนึ่งในเครือข่ายของเราได้ scan เครือข่ายของเขา โดยใช้ port 22 เข้าไป 129 addresses ในใจก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง แต่มาแน่ใจว่าจริงก็เพราะผมเข้า root ของ fedora core 4 ไม่ได้
     มีการดำเนินการกับเครื่องบริการ ดังนี้ 1) เปลี่ยนรหัสผ่านของ root ใหม่ โดยรีบูต แล้วกด esc ขณะอยู่ใน grub แล้วกด a แล้วพิมพ์เลข 1 ต่อท้ายบรรทัดเดิม เช่น ro root=LABEL=/ rhgb quiet 1 เมื่อพบเครื่องหมาย # ก็ใช้ passwd เปลี่ยนรหัสผ่านของ root แล้ว reboot 2) ใช้ last, du, ls -alt, cat passwd, netstat -tap ตรวจว่า account อะไรถูก hack แล้วแก้ไขทีละ account ด้วยเหตุด้วยผล 3) ตรวจว่ามีบริการอะไรเปิด ด้วย service –status-all และ chkconfig –list  ถ้าบริการใดไม่ใช้ก็จะปิดบริการนั้น เช่น service sshd stop และ chkconfig sshd off 4) พบว่าอีเมลไม่เข้า หรือเข้าน้อยมาก มีปัญหานี้อยู่เกือบหนึ่งวันหลังแก้ไขในตอนเช้า จึงตรวจแล้วพบว่า postfix ไม่เปิดบริการ จึงใช้ cat maillog ก็พบว่าข้อกำหนดของ /etc /postfix /main.cf ใน postfix เป็นสาเหตุทำให้ start ไม่ขึ้น เพราะห้าม myhostname และ relayhost เป็นตัวเดียวกัน จึงเข้าไปเปลี่ยนแฟ้ม main.cf เป็นแบบไม่กำหนดคือ relayhost = หลังจากนั้นก็รับอีเมลได้ปกติ
http://fedorasolved.org/Members/realz/reset-root-password/

ทดสอบโปรแกรมจับความเร็วของ while กับ for

2 เม.ย.53 ปรับโปรแกรมจับเวลาการทำงานของโปรเซสด้วยภาษา PHP โดยใช้ Function เพราะต้องการวัดว่าใช้เวลาเท่าใดใน process ที่ต้องการทดสอบ มีการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบในสภาวะที่เชื่อถือได้ ซึ่ง code ชุดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้หลายกรณี แต่ครั้งนี้ทดสอบเพียงแค่การใช้ while และ for สำหรับทำซ้ำ 1000 รอบ พบว่า while ทำงานเร็วกว่า ในระดับ 1ต่อหมื่นวินาที ส่วนการทดสอบกับ mysql ผมยังไม่ได้เตรียมสภาวะแวดล้อมให้พร้อม จึงไม่นำเสนอผลที่นี่ .. ถ้าควบคุมและทดสอบจนได้ผลอย่างไร จะกลับมาเล่าใหม่

<?
$gap=0;
xtime("start");
for($i=1;$i<=1000;$i++) { }
echo number_format(xtime("stop"),9) ." วินาที<br>";
$j=0;
xtime("start");
while($j < 1000) { $j++; }
echo number_format(xtime("stop"),9) ." วินาที<br>";
function xtime ($action) {
  global $gap;
  list($u,$s) = split(" ",microtime()); 
  if ($action == "start") $gap = $s + $u; 
      else $gap = $s + $u - $gap;
  return $gap;
}
?>

+ http://www.thaiall.com/php