การติดตาม monitor โฮมเพจหรือเว็บไซต์ได้เช่นเดียวกับคน

website-analysis
ประเมินเว็บไซต์
http://www.check-domains.com/website-analysis/website-analyzer.php

ตัวเราเองก็มักจะประเมินตนเอง หรือมีคนประเมินตัวเราเสมอ
เช่น ได้เกรดอะไร น้ำหนัก ความดัน เบาหวาน
หรือผลสอบแข่งขันต่าง ๆ ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่
http://www.thaiall.com/webmaster/
การทำเว็บไซต์ก็เช่นกัน สามารถติดตามประสิทธิภาพของเว็บไซต์
ได้หลายประเด็น
1. พฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์ บริการจากภายนอก
เช่น http://truehits.net/stat.php?login=thaiall
หรือ https://www.stats.in.th/?cmd=stats&sid=47&list=m&y=2016
หรือ https://www.google.com/analytics/

2. พฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์ ติดตั้งไว้ภายในเครื่อง
– รวมสคริ๊ปสำหรับนำไปติดตั้ง
http://www.hotscripts.com/category/scripts/php/scripts-programs/web-traffic-analysis/
– วัด web application
http://oracle-java.blogspot.com/2007/08/web-application-jmeter.html
– ภายในเครื่องบริการเว็บก็มี access.log หรือ error.log ที่นำมาวิเคราะห์ได้

3. ประเมินเว็บไซต์ หรือเว็บเพจ
มีหลายมุมให้พิจารณา
http://www.check-domains.com/website-analysis/website-analyzer.php
http://validator.w3.org/check/referer
http://jigsaw.w3.org/css-validator/check/referer
https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights/

4. Browser
กด Ctrl-Shift-I มีบริการ Inspector เว็บเพจได้
ว่ารองรับ responsive web design กับอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือไม่

5. บริการเสริม
เช่น facebook.com ก็จะมียอด like ยอดแชร์
สามารถ plugin เข้ามาใน webpage ได้
หรือ youtube.com ก็จะมี plugin เช่นกัน
หรือ 4share.com หรือ box.com ก็แชร์แฟ้มให้ดาวน์โหลดได้

บทความที่ esarn.com น่าสนใจ
http://www.esarn.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C/
เรื่อง ทำไมต้องวิเคราะห์เว็บไซต์ มี 4 วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานบนเว็บไซต์ของคุณ
2. เพื่อนำมาต่อยอดในการวางแผนทางการตลาดให้กับธุรกิจ
3. เพื่อวางแผนการใช้งานคนและงบประมาณ
4. เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขเว็บไซต์ของเรา

ส่วนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกรุงเทพธุรกิจ

bangkokbiznews comment
bangkokbiznews comment

http://bit.ly/17oaJI9

มองระบบการแสดงความคิดเห็นของเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ bangkokbiznews.com
ซึ่งปกติผมเข้าไปอ่านทัศนะวิจารณ์ของ blogger หลาย ๆ ท่านอยู่เป็นประจำ
แล้วเคยแสดงความคิดเห็นต่อท้ายบทความเหล่านั้น โดยใช้ account ของ facebook.com
ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้

แต่ครั้งนี้ต่างออกไป
เพราะระบบนี้เปิดรับสมาชิกของกรุงเทพธุรกิจ แบบไม่ต้องใช้บัญชีเฟซบุ๊ค
แล้วการจะแสดงความคิดเห็นก็แยกกันเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนสมาชิกเว็บไซต์ กับ สมาชิกเฟซบุ๊ค
หากแบ่งเป็นส่วนหลักก็จะเป็นดังนี้

1. เนื้อหา หรือบันทึกที่เขียนโดย blogger
2. ส่วนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยใช้บัญชีของกรุงเทพธุรกิจ
3. ส่วนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยใช้บัญชีของเฟซบุ๊ค

ซึ่งส่วนที่ 2 และ 3 แยกกันชัดเจน หากจะร่วมแลกเปลี่ยนให้สัมพันธ์กันก็ต้องเข้าไปให้ตรงส่วน

สรุปว่า .. วันนี้ก็ต้องสมัครสมาชิก เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกับกรุงเทพธุรกิจ
ให้ครบทั้ง 2 ส่วน .. เล่าสู่กันฟัง

ผลจัดอันดับ 100 เว็บไซต์ที่ชาวโลกเข้ามากที่สุด

global ranking in alexa.com
global ranking in alexa.com

7 เม.ย.56 ผลจัดอันดับ 100 เว็บไซต์ที่ชาวโลกเข้ามากที่สุด โดย alexa.com

http://www.alexa.com/topsites/global

The top 100 sites on the web by alexa.com
1 google.com
2 facebook.com
3 youtube.com
4 yahoo.com
5 baidu.com
6 wikipedia.org
7 live.com
8 qq.com
9 amazon.com
10 taobao.com
11 twitter.com
12 blogspot.com
13 linkedin.com
14 google.co.in
15 yahoo.co.jp
16 bing.com
17 sina.com.cn
18 yandex.ru
19 msn.com
20 ebay.com
21 wordpress.com
22 google.com.hk
23 google.co.jp
24 vk.com
25 google.de
26 163.com
27 google.co.uk
28 weibo.com
29 google.fr
30 microsoft.com
31 mail.ru
32 tumblr.com
33 googleusercontent.com
34 pinterest.com
35 google.com.br
36 fc2.com
37 xvideos.com
38 ask.com
39 hao123.com
40 google.ru
41 conduit.com
42 paypal.com
43 amazon.co.jp
44 craigslist.org
45 google.it
46 xhamster.com *
47 google.es
48 babylon.com
49 tmall.com
50 apple.com
51 imdb.com
52 blogger.com
53 sohu.com
54 mywebsearch.com
55 avg.com
56 bbc.co.uk
57 odnoklassniki.ru
58 soso.com
59 google.com.mx
60 amazon.de
61 instagram.com
62 google.ca
63 go.com
64 pornhub.com *
65 ifeng.com
66 aol.com
67 delta-search.com
68 alibaba.com
69 youku.com
70 stackoverflow.com
71 adcash.com
72 360.cn
73 bp.blogspot.com
74 blogspot.in
75 adobe.com
76 thepiratebay.se
77 adf.ly
78 t.co
79 redtube.com *
80 flickr.com
81 about.com
82 rakuten.co.jp
83 cnn.com
84 ebay.de
85 alipay.com
86 neobux.com
87 google.com.au
88 sogou.com
89 livedoor.com
90 imgur.com
91 amazon.co.uk
92 google.com.tr
93 google.pl
94 dailymotion.com
95 huffingtonpost.com
96 uol.com.br
97 netflix.com
98 xnxx.com *
99 livejasmin.com *
100 youporn.com *

มอง slide ในอดีต

website 2549
website 2549

22 พ.ค.54 เมื่อ 5 ปีก่อน มีใช้ slide นี้ อบรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด หลังผ่านไปหลายปี แนวโน้มการเผยแพร่ข้อมูลจากองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนของโลก ก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะการเปิดเผยข้อมูล กับความปิดเป็นความลับ ยังอยู่กันคนละฟากฝั่ง ที่สิ่งผุดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด คือ mobile device ที่สนับสนุน wifi หรือ 3G และการเข้ามาของ iphone และ ipad ส่วนประเด็นการออกแบบเว็บไซต์ในทุกระดับยังเป็นแบบ header , footer , column และ rows ส่วนเทคนิคในเว็บไซต์มีการใช้ .css และ web 2.0 อย่างเด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะ Facebook.com และ Twitter.com กลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของเว็บไซต์ต่าง ๆ ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กร
http://www.thaiall.com/html/website49.ppt
http://www.thaiall.com/html/indexo.html

แก้ไข ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ ใน google.com

malware
malware

7 เม.ย.54 หลายปีก่อนเครื่องบริการของผมเจอ malware ซึ่งเป็น server ที่น่าเชื่อถือแต่ก็ยังโดน malware ที่ฝั่ง server ตอนนั้นใช้วิธีเขียน script อ่านทุกแฟ้ม แล้วสั่งลบ code อัตโนมัติ เพราะติดแค่บรรทัดเดียว จากนั้นก็พบบ้างในบาง server แต่ไม่หนักเพราะแก้ไขไปตาม script ที่ติด มักมีไม่กี่แฟ้มที่พบ
มาคราวนี้พบ server ตัวหนึ่งติด malware ติดมาหลายเดือน ปัญหาใหญ่คือ browser ที่ตรวจกับ google.com จะไม่ยอมให้เปิดเว็บไซต์ แล้วฟ้องว่า “ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ” search แล้วแฟ้มที่ติดกว่า 500 แฟ้ม จากแฟ้มทั้งหมดหลายพันแฟ้ม เหตุน่าจะเกิดจากการติดที่ฝั่ง client แล้ว upload แฟ้มทั้งหมดไปวางไว้ที่ server เพราะเวลาของแต่ละแฟ้มที่ติดกับไม่ติดเหมือนกัน แฟ้มที่ติดก็จะแตกต่างกันไป บางแฟ้มโดน 2 บรรทัด บางแฟ้มโดน 4 บรรทัด จึงแก้ไขโดย download แฟ้มทั้งหมดมาวางที่เครื่อง client แล้ว search หาบรรทัดปัญหาแล้วลบออก จากนั้นก็ upload แฟ้มที่แก้ไขกลับเข้าไปทับแฟ้มเดิม

ถ้าแก้ไขแล้วก็ไปแจ้งขอรับการตรวจสอบที่ webmaster tools
http://www.google.com/webmasters/tools

การเขียนเอกสารอ้างอิงจากเว็บไซต์

16 ส.ค.53 การเขียนเอกสารอ้างอิงจากเว็บไซต์ มีผู้กำหนดรูปแบบ ซึ่งมีหลายมาตรฐาน อาทิ 1) AMA (American Medical Association) 2) APA (American Psychological Association) 3) Chicago 4) Turabian 5) Vancouver

ตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์ มีดังนี้

ต.ย. 1
สกว. 2552. กระบวนการวิจัย. [Online]. available : http://www.xxx.com/x1.htm
ต.ย. 2
การดำน้ำลึก (ออนไลน์). (2552). สืบค้นจาก : http://www.xxx.com/x1.htm  [1 ธันวาคม 2553]
ต.ย. 3
สมชาย สายเสมอ. (2542). การว่ายน้ำ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.xxx.com/x2.doc [1 ธันวาคม 2553]
ต.ย. 4
Department of Man. (2009). Guide to Diving (Online).
Available : http://www.xxx.com/x3.htm [2010, November 1]
ต.ย. 5
Tom, T. (2009). Day review. Retrieved November 1, 2010, from Boy’s Science Fiction Club Web site: http://www.boy.com/x1.htm

ต.ย. 6
Tom T. Day review. Boy’s Science Fiction Club Web site. 2009.
Available at: http://www.boy.com/x1.htm. Accessed November 1, 2010.
ต.ย. 7
Day review. Boy’s Science Fiction Club Web site. Available at: URL:http://www.boy.com/x1.htm. Accessed Nov 1, 2010.
ต.ย. 8
Tom, Tim. 2009. Boy’s Science Fiction Club Web site. Waco, TX:
Baylor University. On-line. Available from Internet,
http://www.boy.com/x1.htm, accessed 1 November 2010.
ต.ย. 9
Tom, Tim. 1996. Boy’s Science Fiction Club Web site. Boy’s Science Fiction Club. http://www.boy.com/x1.htm (accessed November 1, 2010).

แนะนำเว็บไซต์
+ http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3
+ http://www.dld.go.th/niah/Research/reference_write.htm
+ http://www.thaiall.com/research/reference_writing.doc

ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์

เว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ต

2 เม.ย.53 มีเพื่อนชวนไปเป็นกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์หนึ่ง มีงบจัดจ้าง 133200 บาท แบ่งเป็นค่าบริการออกแบบและจัดทำทั้งหมด 5 รายการ คือ a) เว็บหลัก 36000 b) เว็บสองภาษา 37000 c) โครงการเยส 21000 d) สังคมออนไลน์ 34000 e) เว็บบอร์ด 5200 การเป็นกรรมการครั้งนี้ได้ใบส่งของ (invoice) ซึ่งมีรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง แล้วผมก็ลองหยิบมาตรวจตามรายการ  ตรวจ a) เว็บหลัก พบว่า  1) สิ่งที่ยังไม่ทำ 2 หน้า คือ สารจากผู้บริหาร และติดต่อ ส่วนที่พิมพ์ผิดมีหลายหน้า คือ วิสัยทัศน์ เจ้าของ ชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร แผนที่ 2) สินค้า สิ่งที่พบคือ ปัดบรรทัดผิด และผู้บริหารยังไม่ยอมรับเนื้อหาที่ขัดกับคุณภาพขององค์กร เช่น ไม่เช็คชื่อบ้าง 3) รายการระดับไม่ครบ
     ตรวจ b) เว็บสองภาษา พบรายการที่ทำแล้วเพียงกึ่งหนึ่ง ตรวจ c) โครงการเยส พบรายการที่ทำแล้วไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตรวจ d) สังคมออนไลน์ รายการน่าจะครบ แต่มีข้อสังเกตเรื่อง back office ว่าใครได้หรือไม่ ตรวจ e) เว็บบอร์ด เห็นคำว่าปรับปรุง กับคำว่า re-design คนละรายการ .. ที่เล่านี่ก็เป็นประสบการณ์หนึ่งที่อยากจะแบ่งปัน .. ยามตรวจงานเสร็จ

ตลาดดอทคอม จัดสัมมนาที่ลำปาง

ตลาดดอทคอม กับ thaisecondhand.com

26 มี.ค.53 คุณ big หรือ Nanapa Navapongsireetorn เป็น area manager ของ tarad.com และ thaisecondhand.com โทรมาแจ้งว่า บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด ได้จัดสัมมนาหลักสูตร “เพิ่มยอดขาย ลดรายจ่าย ด้วยร้านค้าออนไลน์”  ในวันเสาร์ที่ 3 เมษายน 2553 เวลา 13.30น. – 16.00น. ณ ห้องประชุมธัญญากร ชั้น 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง มีหัวข้อสำคัญ 5 หัวข้อคือ 1)วิธีการโปรโมทเว็บไซต์ให้ติด Google ภายใน 1 เดือน 2) เริ่มต้นรู้จักการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (E-Commerce) 3) ยุทธวิธีในการวางแผนเพื่อเริ่มต้นทำ E-Commerce 4) 10 วิธีการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณ 5) กลโกงทางอินเตอร์เน็ตที่ควรระมัดระวังเมื่อทำ E-Commerce เมื่อได้ข้อมูลผมจึง post ไว้ใน thaiall.com/blog และ lovelampang.com
+ http://www.tarad.com
+ http://www.thaisecondhand.com
http://www.lovelampang.com

เพื่อนบ่นเชิงสร้างสรรค์ จึงเล่าสู่กันฟัง

2 ก.พ.53 มีประเด็นที่อาจารย์หลายท่านบ่นที่เชื่อมโยงกับบริการในเว็บไซต์ ดังนี้ 1)อีเมลของมหาวิทยาลัยหายไปแล้วเหรอ 2)เว็บบอร์ดปิด 3)ระบบห้องภาพของประชาสัมพันธ์หายไป 4)ระบบสืบค้นงานวิจัย 5)ระบบสืบค้นหนังสือในห้องสมุด และ 6)อินทราเน็ตเข้าไม่ได้ 7)ระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง 8)แผนที่ไซต์หายไป คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ผู้พัฒนาระบบต่าง ๆ แจ้งให้ผมทราบว่าอาจารย์หลายท่านเข้าไม่ได้จริง เพราะพฤติกรรมเดิมคือเปิดหน้าแรกของเว็บไซต์แล้วก็คลิ๊กตามลิงค์ที่มีอยู่
     ผมก็แปลกใจที่เพื่อน ๆ เข้ากับไม่ได้ อาจเป็นเพราะโดยปกติผมจะเข้าตรงไม่เปิดผ่านหน้าเว็บไซต์หลัก เมื่อมีเหตุการณ์อะไรจะไปเขียนเล่าใน http://blog.yonok.ac.th หรือเว็บบอร์ด หรือไม่ก็สืบค้นผ่าน google.com ก็จะพบข้อมูลของมหาวิทยาลัยโดยง่าย  ประกอบกับเว็บไซต์อยู่ระหว่างการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับนโยบาย Creative Campus หากอะไรไม่ตรงกับนโยบาย ก็จะลดระดับความสำคัญในการพัฒนาออกไปก่อน

     ก็ถือเป็นโอกาสที่จะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ที่จะส่งเสริมให้เรียนรู้และจดจำ Website Address ดังนี้
+ http://www.yonok.ac.th/mail
+ http://www.yonok.ac.th/webboard
+ http://www.yonok.ac.th/yonokroom
+ http://www.yonok.ac.th/wallpic
+ http://www.yonok.ac.th/nresearch
+ http://it.yonok.ac.th/doc/library/library.php
+ http://www.yonok.ac.th/intranet
+ http://www.yonok.ac.th/sar
+ http://www.yonok.ac.th/sitemap