บัญชีจัดสรรคืนอัตราข้าราชการครู
ที่ว่างจากผลการเกษียณอายุราชการ
เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2566

บัญชีจัดสรรคืนอัตราข้าราชการครู
ที่ว่างจากผลการเกษียณอายุราชการ
เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2566

สิ่งที่ส่งมาด้วย
1. บัญชีจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสถานศึกษา จำนวน 1 ชุด 
2. บัญชีจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 ชุด 
3. แนวปฏิบัติการจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสถานศึกษา จำนวน 1 ชุด 
4. แนวปฏิบัติการจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 ชุด
5 . แบบรายงานผลการจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสถานศึกษา จำนวน 1 ชุด
6. แบบรายงานผลการจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 ชุด

https://www.kruwandee.com/news-id52561.html

สพฐ. สอศ. และ สกร. สงวนอัตราตำแหน่งครูผู้ช่วยที่ได้รับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3,938 อัตรา จำนวน 183 อัตรา และจำนวน 8 อัตรา ตามลำดับ

ด่วน สพฐ. แจ้งการจัดสรรคืนอัตราเกษียณครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2566
ลิงก์ : https://shorturl.asia/Arnzj
🙂

เกษียณ 14637 คืนมา 14637 เท่าเดิม

คุณครูในศตวรรษที่ 21 กับเวทีในสื่อสังคม

Facebook Fanpage

คุณครูในศตวรรษนี้ นอกจากสอนหนังสือ และดูแลครอบครัวแล้ว ยังต้องทำงานบริหาร ศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน ทำผลงานวิทยฐานะ ทำวิจัย นำเสนอผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ และถูกอ้างอิงได้ จึงต้อง มีตัวตน มีกลุ่ม มีเวทีแบ่งปันเรื่องราว สามารถเลือกได้หนึ่งใน 6 ประเภท ดังนี้ 1) ร้านค้า ธุรกิจ หรือ สถานที่ 2) บริษัท, องค์กร หรือ สถาบัน 3) แบรนด์สินค้า หรือ ชนิดของสินค้า 4) ศิลปิน ดารา วงดนตรี และตัวบุคคล 5) ธุรกิจความบันเทิง 6) เรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งครูยุคใหม่อาจสวมหมวกหลายใบ มีเพื่อนหลายกลุ่มตามหมวกที่ตนเองสวม ดังนั้นแต่ละท่าน จึงมีได้หลายแฟนเพจ เช่น คุณครูอาจมีธุรกิจส่วนตัว ทำบริษัทกับเพื่อน มีแบรนด์สินค้าของตนเอง อาชีพเสริมเป็นศิลปิน เปิดร้านอาหารกึ่งผับ หรือชอบเล่าเรื่องการออกกำลังกาย เป็นต้น ถ้าทุกเรื่องอยู่ในครูคนเดียว ก็จะต้องมีการแบ่งแฟนเพจตามเนื้อหาที่แตกต่างกัน

http://www.thaiall.com/facebook/fanpage.htm

จดหมายจากลูกถึงพ่อแม่ ฉบับที่ 18(BC) ฉุกระหุก รายงานตัว เครียด(จะ)ไม่ทันเอา

สวัสดีค่ะ พ่อเก๋ แม่ขวัญ พี่รีม

เครียด ลุ่น ระทึก ใจหาย” นานาความรู้สึกระหว่างเดินทาง
วันนี้ครอบครัวต้องเดินทาง ชีวิตคือการเดินทางจริง ๆ
เรา 2 คน ต้องไปรายงานตัว #ครูคืนถิ่น ที่ มน. กับ มช.
ของ น้องบี รายงานตัวที่ #ทีมมน
ของ น้องซี รายงานตัวที่ #ทีมมช
แม่วางแผนให้ไป ม.นเรศวร ก่อน
เพราะไกลกว่า .. ขับรถไปเองจะเหนื่อยกว่าไปเชียงใหม่
เช้า ลำปาง – ตาก – สุโขทัย – พิษณุโลก
บ่าย อุตรดิตถ์ – แพร่ – ลำปาง – เชียงใหม่ – ลำปาง
เราเช่ารถของ มีโชค พร้อมคนขับ
มีพี่แนน สาวหล่อ เป็นคนขับ คุยกันสนุก ๆ ตลอดทาง

จุดรายงานตัวที่ ม.นเรศวร
จุดรายงานตัวที่ ม.นเรศวร

การเริ่มต้น
การเดินทาง นาฬิกาหมุน ตั้งแต่เช้ามืด 27 เม.ย.60
แม่ตั้งแต่ตี 5 สงสัยตื่นเต้นแทนลูก ๆ
วันนี้ต้องเดินทางไกล ไปถึงจังหวัดพิษณุโลก และเชียงใหม่
การเดินทางครั้งนี้ มีอุปสรรคหลายปราการ

ปราการแรก คือ น้ำไม่ไหล!! โอ้ว้าว
แล้วพวกเราจะอาบน้ำกันยังไง ?
จึงถ่อสังขารไปอาบน้ำที่บ้านกล้วยไม้ห่างไปกว่าสิบโล
วางแผนออก 6.00 ก็เลื่อนเป็น 7.00 เลยกำหนดไป 1 ชั่วโมงล่ะ
เรานั่งทานข้าวบนรถ
ทานเสร็จพ่อก็ชวยคุยเรื่อง Capital letter ของ Ms.Walker
ขาไป ผ่านตาก สุโขทัย แล้วถึงพิษณุโลก ราว 11 โมง

ปราการที่สอง ที่ทำให้ถึง 11 โมงเศษ
คือ หลงไปทาง 2 แยก ต้องยูเทิร์นกลับมา
หลงนิด ๆ น่ะค่ะ เราลงรถที่หน้าสำนักอธิการ
เมื่อไปถึง คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร
หลังลงชื่อรายงานตัวกับอาจารย์ และรับรหัส TCAS แล้ว
ก็มีรุ่นพี่ เค้าพาฉัน ไปเลือกไซต์เสื้อผ้า รองเท้า ชุดกราว
จากนั้นก็พบเพื่อนชื่อแป๊ป ด้วย
ติดโครงการเดียวกัน แต่คนละสาขา เค้าเรียนครูคอมฯ

เลือกเสื้อ เลือกกระโปรง เลือกรองเท้า
เลือกเสื้อ เลือกกระโปรง เลือกรองเท้า

ปราการที่สาม คือ พ่อซื้อกาแฟ
เค้าค่อย ๆ บนกาแฟ และมีลูกค้า 3 ราย
กว่าจะได้กาแฟก็เกือบครึ่งชั่วโมง
กว่าจะขึ้นรถก็เกือบ 12.00
เรารีบกันมาก กลัวจะไป ม.เชียงใหม่ ไม่ทัน
จึงแวะทานข้าวที่ เซเว่นอีเลฟเว่น

อบใหม่ร้อน ๆ จากเตา
อบใหม่ร้อน ๆ จากเตา

ปราการที่สี่ คือ เส้นทางใหม่โหด
ทางชัน ขึ้นลงเขา และจำกัดความเร็ว
จากพิษณุโลก กลับเข้าอุตรดิตถ์ ผ่านแพร่ เข้าลำปาง
ขึ้นเขา ลงเขา และเป็นทาง 2 เลน หลายช่วงห้ามแซง
สุดท้ายกว่าจะถึงลำปางก็ 15.00 น.
แอบคิดว่าไม่ทันหรอก
แต่ก็ไป … ไปกันให้สุด ให้รู้ดำรู้แดง

รุ่นพี่ถ่ายภาพระหว่างลองเสื้อ
รุ่นพี่ถ่ายภาพระหว่างลองเสื้อ

ปราการที่ห้า รถติดหลังมอ
กว่าจะถึงมช. ก็ 16.30 เพราะรถติดเป็นช่วงหลัง มช.
แม่โทรถามฝ่ายทะเบียนฯ ของคณะก่อน เขารอได้
น้องบีช้ากว่าตาราง 5 นาที เข้าไปไม่ถึง 5 นาทีก็ออกมา
เข้าห้องทะเบียน พบพี่เจ้าหน้าที่นั่งรออยู่
เพียงยื่นเอกสาร ตรวจสอบ ลงชื่อ ก็เป็นอันเรียบร้อย
สุดท้าย ภารกิจรายงานตัวครูคืนถิ่นก็สำเร็จลุล่วงในวันเดียว

แล้วพอจัดการธุระเรื่องรายงานตัวเสร็จแล้ว
เราพากันแวะทานมื้อเย็นที่ Sizzler ที่ Central festival ต่อ
เจอรุ่นพี่บุญวาทย์ทำงานที่ Sizzler ด้วย
พี่เขาใจดีมาทักทายเรา

แอบเห็นใจ พี่แนน คนขับรถที่ขับรถให้พวกเราทั้งวัน
จึงต้องรีบกลับลำปาง ทำให้ไม่มีเวลาให้เดิน shopping ฮือ …
กว่าจะกลับถึงลำปางก็สองทุ่มกว่าแล้ว
พ่อและแม่จึงให้ Tip พิเศษ
เพราะเขาแทบจะไม่ได้พักเลย เห็นใจค่ะ
มีอะไรจะเล่าสู่กันฟังใหม่ค่ะ

Bye Bye จ้า .. รักทุกคนนะ จุ๊บ จุ๊บ
จาก พี่เอของน้อง ๆ และลูกที่น่ารักของพ่อเก๋ แม่ขวัญ
มีอะไรทักแชทได้เหมือนเดิมน้า

ไปรายงานตัว ครูคืนถิ่น
ไปรายงานตัว ครูคืนถิ่น

ต่อจาก
จดหมายจากลูกถึงพ่อแม่ ฉบับที่ 13(B)
หนูจะจบ ม.ปลาย ล่ะค่ะ February 4, 2018

เพลงพระคุณที่สาม

เพลงพระคุณที่สาม
เพลงพระคุณที่สาม

เพลงพระคุณที่สาม
ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้
ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล
ใช่อยู่ที่ เรียกว่า ครูอาจารย์
ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน
ครูคือผู้ ชี้นำ ทางความคิด
ให้รู้ถูก รู้ผิด คิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์ รู้ยาก รู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สู้งาน
ครูคือผู้ ยกระดับ วิญญาณมนุษย์
ให้สูงสุด กว่าสัตว์ เดรัจฉาน
ปลุกสำนึก สั่งสม อุดมการณ์
มีดวงมาน เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง
ครูจึงเป็น นักสร้าง ผู้ยิ่งใหญ่
สร้างคนจริง สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ ได้เป็นตัว ของตัวเอง
ขอมอบเพลง นี้มา บูชาครู

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

เพลงพระคุณที่สาม

ครูบาอาจารย์ ที่ท่านประทาน ความรู้มาให้
อบรมจิตใจ ให้รู้ผิดชอบ ชั่วดี
ก่อนจะนอน สวดมนต์อ้อนวอนทุกที
ขอกุศล บุญบารมี ส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น
ครูมีบุญคุณ จะต้องเทิดทูน เอาไว้เหนือเกล้า
ท่านสั่งสอนเรา อบรมให้เรา ไม่เว้น
ท่านอุทิศ ไม่คิดถึงความยากเย็น
สอนให้รู้ จัดเจน
เฝ้าแนะ เฝ้าเน้น มิได้อำพราง
(ซ้ำ) พระคุณที่สาม งดงามแจ่มใส
แต่ว่าใครหนอใคร
เปรียบเปรย ครูไว้ ว่าเป็นเรือจ้าง
ถ้าหากจะคิด ยิ่งคิด ยิ่งเห็น ว่าผิดทาง
มีใครไหนบ้าง แนะนำแนวทาง อย่างครู
บุญเคยทำมา ตั้งแต่ปางใด เรายกให้ท่าน
ตั้งใจกราบกราน เคารพคุณท่าน กตัญญู
โรคและภัย อย่ามาแผ่วพาน คุณครู
ขอกุศลผลบุญค้ำชู
ให้ครูมีสุข ชั่วนิรันดร ให้ครูมีสุข ชั่วนิรันดร

น้องเน กับ บ่อน้ำ

น้องเน กับบ่อน้ำ (nong naturegift)
น้องเน กับบ่อน้ำ (nong naturegift)

บทเรียน (Lesson) เด็กผู้หญิง (Girl) กับบ่อน้ำ (pond) บนยอดเขา
ตัวละคร หรือประเด็นตาม story board
1. มีปัญหา (Problem)
2. ผู้มีปัญหา (Girl)
3. ภูมิปัญญา (Teacher)
4. วิธีการ (Hope)
5. เป้าหมาย (God)
6. รู้จักฟัง (Listen)
7. ลงมือทำ (Do)
8. อุปสรรค (Threat)
9. จำไว้เลย (Record)
10. สำเร็จแล้ว (Success)
11. เรียนรู้ (Learn)
12. บุญคุณ (Credit)

http://www.youtube.com/watch?v=mlXz_Q-nFZA

บทเรียนที่ 1
เรื่องราวในโลกล้วนเป็นเรื่องเป็นราว
มีระบบ กลไก และกระบวนการ
มีที่มา ที่ไป ตำนาน วรรณกรรม เนื้อหา และบทสรุป
ง่าย ๆ คือ เรื่องนี้มี story board

บทเรียนที่ 2
น้องเน ..น่าจะเข้าวัดฟังธรรมมาก่อน .. กระมัง
เพราะดำเนินชีวิตตาม .. หลักอริยสัจ 4
1. รู้ว่าทุกข์คืออะไร (ทุกข์) .. นั่งร้องไห้ ไม่ได้นั่งหัวเราะ
2. รู้ว่าเหตุแห่งทุกข์คืออะไร (สมุทัย) .. รู้ว่าเป็นหมู คือปัญหา
3. รู้ว่าต้องดับทุกข์แล้ว (นิโรธ) .. ไม่นั่งเฉย ไม่อยากเป็นหมู
4. รู้ว่าหนทางดับทุกข์ต้องเดินอย่างไร (มรรค) .. ตักน้ำใส่บ่อคือก้าวแรก
กรณีนี้ น้องเนเขาไม่รู้หรอกว่า ความจริงคืออะไร
แต่น้องเนเชื่อว่าถ้าตักน้ำใส่บ่อ จะได้พบพระเจ้า จะได้ขอพร
พอสรุปได้ว่า เดินถูกทาง ผลถูกใช้ ก็นับว่าเป็นบทเรียนที่ดีได้ในระดับหนึ่ง

บทเรียนที่ 3
ใน 4 ทักษะของการเรียนรู้ คือ สุ จิ ปุ ลิ
ผมว่าทักษะการฟังของน้องเน .. เข้าขั้นใช้การได้
ถ้านึกถึง พละ 5 ที่ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
ก็ต้องบอกว่า 4 พละแรกสอบผ่านเลย
บางทีคนที่ประสบความสำเร็จก็ไม่จำเป็นเก่งไปหมด
ขอให้มีดีสักเรื่อง และใช้ให้ถูกทาง .. ก็พอ
http://www.thaiall.com/blogacla/burin/3310/

ศ.พิเศษ ภาวิช ขอแค่ 6 เดือนทำหลักสูตรใหม่

ผู้บริหารประเทศด้านการศึกษา
ผู้บริหารประเทศด้านการศึกษา


ปฏิรูปการศึกษา

1. ศ.พิเศษภาวิช ทองโรจน์ ขอ 6 เดือน ทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่เสร็จ
2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา  ขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปครูก่อน
3. รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ชี้ว่าประเทศผู้นำด้านการศึกษาใช้เวลาปฏิรูปหลักสูตรถึง 10-20 ปีกว่าจะสำเร็จ
กรุงเทพฯ *ภาวิช” ขอ 6 เดือนทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่เสร็จ ชี้จะกำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่าครูต้องสอนอะไร สอนอย่างไร ขณะที่นักเรียนจะเรียนในห้องเรียนน้อยลง แต่ให้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนแทน พร้อมเสนอ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาชาติ ขณะที่ “พงศ์เทพ” ขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปครูก่อน “สมพงษ์” เตือนต้องรอบคอบระวังพลาด ชี้เพราะประเทศผู้นำด้านการศึกษาใช้เวลาปฏิรูปหลักสูตรถึง 10-20 ปีกว่าจะสำเร็จ แต่ไทยจะใช้เวลาแค่ 6 เดือนหรือ
ศ.พิเศษภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ปรึกษา รมว.ศธ.) ในฐานะประธานกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวบรรยายเรื่อง “การปฏิรูปหลักสูตร : ประเด็นสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาไทย” ในงานประชุมระดมความคิดเรื่องกรอบแนวทางการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศธ. เป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า หลักสูตรการศึกษาเป็นสาเหตุหนึ่งของคุณภาพการศึกษา ซึ่งหลักสูตรการศึกษาที่ดีจะต้องมีความทันสมัย มีวงจรการประเมินผลการใช้งาน มีการกำหนดระยะเวลาปรับหลักสูตรเป็นรอบๆ ขณะที่ปัจจุบันระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของเราใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งหากดูในเนื้อหาแล้วหลักสูตรดังกล่าวเป็นเพียงการปรับเล็กจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ฉะนั้นอาจบอกได้ว่าหลักสูตรที่เรายึดใช้อยู่เก่าไปแล้ว ขณะเดียวกันก็ดูจะมีปัญหากับการใช้อยู่ในปัจจุบัน
ที่ปรึกษา รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า หากลงลึกในหลักสูตรแกนกลางฯ พ.ศ.2551 จะพบว่าเป็นหลักสูตรแบบย่อ เพื่อจะเปิดโอกาสให้ครูสามารถนำความรู้ไปต่อยอดการสอนเอง หรือเป็นการออกแบบหลักสูตรที่ต้องการครูเก่ง แต่สภาพความเป็นจริงไม่เป็นอย่างนั้น ทำให้หลักสูตรปัจจุบันไม่ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์การศึกษาดีขึ้น ขณะเดียวกันหลักสูตรปัจจุบันยังมีวิธีการบรรจุความรู้ให้นักเรียนแบบหน้ากระดาน ผ่านวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 โดยเฉพาะกับนักเรียนช่วงชั้นประถมต้น ไม่เหมือนในต่างประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์การศึกษาดี อย่างประเทศฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ และอังกฤษ ที่มีวิธีการบรรจุความรู้ให้นักเรียนอย่างมีการวางระบบที่สอดคล้องกับช่วงวัย อย่างช่วงชั้นประถมต้น จะเน้นเรื่องการสอนทักษะชีวิต การใช้ภาษาเป็นหลัก อาทิ วิชาวิทยาศาสตร์ จะเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เบื้องต้นที่ผ่านการบรูณาการหลายเนื้อหาของช่วงชั้นประถมต้น และเพิ่มเป็นรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชั้นประถมปลาย หรือช่วงชั้นที่สูงขึ้น
ส่วนโครงสร้างเวลาเรียน พบว่า ปัจจุบันเด็กไทยมีชั่วโมงเรียนในห้องเรียนมากเป็นอับดับ 2 ของโลก คือระดับประถมศึกษา 1,000 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษา 1,200 ชั่วโมงต่อปี เป็นรองประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกาที่มีชั่วโมงในห้องเรียนมากสุด 1,400 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่ประเทศฮ่องกงซึ่งมีคะแนนการสอบพิซาเป็นอันดับ 1 มีชั่วโมงเรียนในห้องเรียน 700 ชั่วโมงต่อปี และผลวิจัยของยูเนสโกชี้ว่า ชั่วโมงเรียนในห้องเรียนที่ดีต้องอยู่ที่ประมาณ 800 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ดังนั้น แน่นอนว่าการปฏิรูปหลักสูตรครั้งนี้จะต้องมีการปรับสัดส่วนชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลดลงแน่นอน แต่ก็ยืนยันว่าไม่ใช่การลดการจัดการศึกษา เพราะจะเป็นการทดแทนด้วยชั่วโมงเรียนโครงงาน กิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
คาดว่าจะออกแบบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ได้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนนับจากนี้ ส่วนแนวทางหลักสูตรครั้งนี้ เราจะลงลึกในรายละเอียดมากขึ้น อย่างครู เราจะกำหนดเลยว่าต้องสอนอะไร สอนอย่างไร หรือครูคนใดเก่งอยู่แล้ว อยากสอนนอกเหนือที่กำหนดก็สามารถทำได้ ใครไม่คิดเพิ่มก็ทำตามที่กำหนด ส่วนนักเรียนจะเรียนเนื้อหาวิชา มีชั่วโมงเรียนที่เหมาะสม โดยเราจะออกแบบไม่ทำให้การเรียนเหมือนการติดคุก” ศ.พิเศษภาวิชกล่าว
ศ.พิเศษภาวิช กล่าวทิ้งท้ายว่า การปฏิรูปหลักสูตรจะทำอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำควบคู่กันไปเป็น 5 ยุทธ ศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปครู การตั้งศูนย์  STEME ทุกจังหวัดเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ และอังกฤษ ให้โรงเรียนทั่วประเทศ การใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษา และการปฏิรูปโครงสร้าง ศธ. ซึ่งที่ผ่านมาเคยเสนอนายพงศ์เทพไปแล้ว ขณะที่ รมว.ศธ.ก็หนักใจ และขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตรก่อน อย่างไรก็ตาม เพราะเรื่องการกระจายอำนาจก็มีผลต่อคุณภาพการศึกษา อย่างกรณีตั้งเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าเขตพื้นที่ฯ ไม่รู้ว่าหน้าที่คืออะไร เพราะเราไม่กำหนดชัดเจน ทำให้เกิดการกินหัวคิวโยกย้าย การรับใต้โต๊ะเต็มไปหมด ขณะที่โรงเรียนก็เริ่มหมดความเข้มแข็งลงไปทุกวัน แต่หากเป็นประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีกลับไม่ต้องมีเขตพื้นที่ฯ เพราะเขาให้อำนาจโรงเรียนไปเลย
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เราต้องมีการทบทวนสัดส่วนโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ ปัจจุบันเรามีชั่วโมงเรียนมาก แต่ประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีกลับมีชั่วโมงเรียนน้อยกว่าเรา ดังนั้นทัศนคติที่ว่าเรียนมากจะรู้มากก็ไม่จริงเสมอไป ทั้งนี้ หากเราสอนให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น เด็กก็สามารถคิดวิเคราะห์เรื่องอื่นได้ด้วยโดยอาจไม่ต้องสอนเนื้อหานั้น อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปหลักสูตรและการปฏิรูปครูเป็นเรื่องหลักที่ตนเน้น ส่วนเรื่องปฏิรูปโครงสร้าง ศธ.เป็นเรื่องเสริม ซึ่งค่อยทำเมื่อเรื่องหลักสำเร็จก็ได้
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราฯ กล่าวว่า ระยะเวลา 6 เดือนที่ตั้งเป้าทำหลักสูตรใหม่เสร็จสิ้น อยากเตือนให้ออกแบบหลักสูตรด้วยความละเอียดรอบคอบ เพราะกลัวจะพลาด อย่างประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาอันดับที่ 1 หรือ 2 ของโลก เขาทำทั้งวิจัยและพัฒนาหลักสูตรใช้เวลา 10-20 ปี ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอ 5 ยุทธศาสตร์ เพราะเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งอยากให้นำแต่ละข้อเสนอมากำหนดขอบเขตเวลาที่จะเริ่มต้นและเสร็จสิ้นเพื่อให้เป็นรูปธรรมด้วย.

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

http://www.glongchalk.com/?p=3174
http://www.thaipost.net/news/110313/70685
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32003&Key=hotnews

อาจารย์กูคือใคร

คำค้น นักศึกษา
คำค้น นักศึกษา

อาจารย์กูคือใคร (itinlife376)

คำว่า ครู อาจารย์ หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ผู้สอนให้ศิษย์เห็นแจ้ง แนะนำศิษย์ให้พ้นจากปัญหา ผู้เชี่ยวชาญทางปรัชญา ผู้มีความรู้สูง ผู้ให้ความรู้ให้คำแนะนำ เป็นที่พึ่งของผู้ไม่รู้ได้ เมื่อเทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลได้ถูกพัฒนาและเป็นที่ยอมรับว่าเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ตรงประเด็น และตอบคำถามได้ จึงมีศัพท์คำว่าอาจารย์กู หรืออาจารย์กู๋เกิดขึ้น หมายถึง เว็บไซต์กูเกิ้ล (google.com) ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูล เมื่อมีคำถามแล้วใช้คำค้นที่เหมาะสมก็จะได้คำตอบที่ต้องการเป็นส่วนใหญ่ เปรียบเสมือนผู้ช่วยแก้ปัญหา ตอบคำถาม และช่วยเหลือผู้ไม่รู้ได้เสมอ

ปัจจุบันร้านหนังสือหรือสำนักพิมพ์หลายแห่งเริ่มประสบปัญหาการทำธุรกิจ เพราะผู้คนอ่านสื่อสิ่งพิมพ์น้อยลง ดูทีวีน้อยลง ฟังวิทยุน้อยลง แต่เข้าอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ดูคลิ๊ปจาก youtube.com เพิ่มขึ้น ทำให้คนพันธุ์ใหม่เริ่มลดการซื้อหนังสือ แต่หาข้อมูล หาคำตอบจากกูเกิ้ลแทน และใช้ชีวิตในเครือข่ายสังคม หรือเกมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ มีอยู่วันหนึ่งผู้เขียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาอยากทราบว่านักศึกษาควรประพฤติตัวอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร จึงใช้คำว่านักศึกษาไปค้นในกูเกิ้ล โดยหวังว่าจะได้รับข้อมูลเชิงแนะนำจากอาจารย์กู

ผลการสืบค้นคำว่านักศึกษา จาก google.com ไม่เป็นไปดังที่คาดไว้ เพราะพบคลิ๊ปรุนแรง ภาพติดเรท และเว็บผู้ใหญ่ในช่วงต้นของรายการ ซึ่งเป็นเรื่อง sex และ violence  จึงเป็นที่มาของคำถามว่าเราหวังฝากผีฝากไข้ได้มากน้อยเพียงใดกับข้อมูลที่ได้จากอาจารย์กู ในขณะที่โลกเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคคลิ๊ก หรือยุคจิ้มเขี่ย เด็กประถม 1 เข้าถึงอาจารย์กูตามนโยบายของรัฐบาล เด็กมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัยต่างรู้จักอาจารย์กู แล้วครู อาจารย์ก็มักมอบหมายให้ไปสืบค้น แทนการพึ่งพาหนังสือที่ฉายภาพว่าทันสมัยรู้จักใช้เทคโนโลยี แม้อาจารย์กูจะตอบคำถามมากมายได้ถูกต้อง แต่ก็มีข้อมูลเชิงลบมากมายคละเคล้ากับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ก็เพียงแต่หวังว่าเด็กประถมจะมีวิจารณญาณในการเลือกรับสื่อ รู้จักผิดชอบชั่วดีผ่านการแนะนำจากครูประจำชั้น หากจะหวังให้กูเกิ้ลเลือกเฉพาะสารสนเทศที่ดีเชิงบวกอย่างเดียวก็คงไม่ได้ เพราะกระแสวัฒนธรรมเปลี่ยนไป ต่อไปก็คงหวังพึ่งได้แต่คำว่าวิจารณญาณของผู้รับสารเท่านั้น

อาจารย์มหาวิทยาลัย .. ลูกเมียน้อยในกระทรวงศึกษาธิการ

อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม
อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม

มติชนรายวัน 4 ธ.ค.55
โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354609254&grpid&catid=02&subcatid=0207

เกือบทุกครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด รัฐมนตรีที่เป็นเป้าหมายจะต้องถูกปรับ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาแล้ว 52 คน ในขณะที่มีนายกรัฐมนตรี 28 คน

ผู้บริหารประเทศ มักจะพูดเสมอว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญ แต่ในความเป็นจริงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกระทรวงนี้เท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ กระทรวงมหาดไทย คมนาคม เกษตรและสหกรณ์ และพาณิชย์ มากกว่า

ในอดีตกระทรวงศึกษาธิการถูกมองว่าเป็นกระทรวงเกรดซี แต่ปัจจุบันปรับขึ้นมาเป็นกระทรวงเกรดบี เหตุที่ปรับก็เพราะกระทรวงนี้มีบุคลากรและงบประมาณมาก เป็นฐานเสียงสำคัญของนักการเมือง

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ผ่านมาก็เช่นกัน กระทรวงที่หนีไม่พ้นที่จะต้องถูกปรับก็คือกระทรวงศึกษาธิการอีกเช่นเคย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันชื่อพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน ส่วนรัฐมนตรีช่วยว่าการชื่อเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ซึ่งเคยเป็นเบอร์หนึ่งของกระทรวงมหาดไทย

รัฐมนตรีทั้งสองท่านไม่เคยเป็นครูหรือทำงานด้านการศึกษามาก่อน แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรื่องสำคัญก็คือท่านทั้งสองตั้งใจจะมาอยู่กระทรวงนี้จริงแค่ไหน ท่านมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและแก้ปัญหาการศึกษาของชาติจริงจังมากน้อยเพียงใด หรือมาเพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรอข้ามไปอยู่กระทรวงอื่น

สิ่งหนึ่งที่อยากจะขอฝากรัฐมนตรีว่าการ (คุณพงศ์เทพ) ก็คือขอให้ช่วยดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้าง อย่าให้อาจารย์มหาวิทยาลัยรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจนลาออกไปขายเต้าฮวยกันหมด

ท่านรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้เงินเดือนน้อยกว่าครูประถม พูดไปก็แทบไม่มีใครเชื่อ แต่ความจริงเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ครูประถมได้เงินเดือนมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัย 8% ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มาถึงวันนี้ก็กว่า 2 ปีแล้ว

คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ซึ่งดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยยังสบายดีอยู่หรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปีได้อย่างไร ท่านไม่คิดจะดำเนินการแก้ไขอะไรเพื่อพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างเลยหรือ

อีกเรื่องหนึ่งที่ครูประถม/มัธยมสังกัด สพฐ.ก้าวล้ำอาจารย์มหาวิทยาลัยไปอีกก้าวหนึ่ง ก็คือเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎ กคศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือขั้นต่ำกว่า หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่) พ.ศ…………ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างกฎ กคศ. ฉบับดังกล่าวเสร็จแล้ว รอ ศธ.แจ้งยืนยัน และจะได้นำเรื่องนี้แจ้งให้ ครม.รับทราบเพื่อรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สาระสำคัญของร่างกฎ กคศ.ดังกล่าวก็คือ ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ.2 ในขั้นสูงสุด สามารถเลื่อนอันดับเงินเดือนไปที่ คศ.3 ได้เลย จากเดิมการจะเลื่อนอันดับเงินเดือนแต่ละ คศ.ได้จะต้องผ่านการเลื่อนและประเมินวิทยฐานะตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

เช่นเดียวกันผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.3 จะเลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 และผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.4 ก็จะได้เลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.5 ซึ่งเป็นการเลื่อนโดยอัตโนมัติไม่ต้องทำผลงานใด ๆ ทั้งนี้ ให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ 1 เมษายน 2554

สิ่งนี้ต้องขอชื่นชม กคศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ด้วยความจริงใจ เพราะเป็นการดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับครูสังกัด สพฐ. ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้คนเก่งหันมาเป็นครูมากขึ้น

ข้าราชการพลเรือนก็มี ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) คอยดูแลและพิทักษ์สิทธิของข้าราชการ เมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ก.พ.ได้ปรับเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบไปประมาณ 8% แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้รับอานิสงส์นี้แต่อย่างไร เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน

อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมี กกอ.(คณะกรรมการการอุดมศึกษา) เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย

แต่ที่ผ่านมา กกอ. แทบจะไม่เคยทำหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือนที่ยังน้อยกว่าครูประถมถึง 8% หรือเรื่องเงินเดือนของครูสังกัด สพฐ.ที่สามารถไหลข้ามแท่งได้

นั่นคือหากอาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนตัน (ขั้นสูงสุด) อยู่ในแท่งเงินเดือนใดก็ยังไม่สามารถไหลข้ามแท่งได้ เช่น เงินเดือนตันในแท่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะไม่สามารถเลื่อนไหลไปรับเงินเดือนในแท่งรองศาสตราจารย์ได้

ท่านคิดว่าอย่างนี้มันยุติธรรมสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือ กกอ. เคยคิดจะทำอะไรเพื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างไหม ถ้ายังคิดไม่ออกไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร อยากแนะนำให้ไปลอกของ กคศ. และไม่ควรออกมาแก้ตัวว่ากำลังดำเนินการอยู่ เพราะเรื่องเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยน้อยกว่าครูประถม 8% ก็ยังไม่เห็นได้ดำเนินการอะไรเลย

จริง ๆ แล้วสถาบันอุดมศึกษาควรจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าสถาบันอุดมศึกษาจะต้องคอยวิ่งไล่ตามก้นครูประถมอยู่ร่ำไป

เรื่องน่าเศร้าที่ไม่อยากพูดอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องโบนัสสำหรับข้าราชการ จริงๆ แล้วไม่อยากให้เรียกว่าเงินโบนัส แต่อยากให้เรียกว่าเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้มากกว่า

ท่านทราบไหมว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยระดับรองศาสตราจารย์ (ซี 9 เดิม) ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี ได้รับเงินโบนัสปีละประมาณ 3,000- บาท (สามพันบาทถ้วน) เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งได้รับโบนัสไม่ถึง 2 วัน ในขณะที่ครูประถมสังกัดเทศบาล หรือ อบต.บางแห่งได้รับโบนัสกันปีละ 2 เดือน ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทหลายแห่งรับโบนัสกันปีละ 2 เดือน 3 เดือนบ้าง บางแห่งสูงถึง 9 เดือนก็มี แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับโบนัสเพียง 2 วัน แล้วอย่างนี้ยังจะให้เรียกว่าโบนัสอีกหรือ

หรือจะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยย้ายไปสังกัด กคศ. เพื่อว่าต่อไปอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับครูประถมกันเสียที

มีเรื่องน่าสนใจอื่น ๆ อาทิ

อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ

ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

อังกฤษ .. เลิกจ้างครูด้อยมาตรฐาน

คุณครู กำลังมีปัญหา
คุณครู กำลังมีปัญหา

http://news.voicetv.co.th/global/35870.html
6 เม.ย.55 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะ เทเลกราฟ ของอังกฤษ พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งเป็นเรื่องของสหภาพครูแห่งชาติของอังกฤษ ซึ่งประท้วงกฎเกณฑ์ใหม่ของรัฐบาล ซึ่งอนุญาตให้ผู้บริหารโรงเรียนแต่ละโรงเรียน สามารถเลิกจ้างครูที่ถูกประเมินต่ำกว่ามาตรฐานเป็นรายภาคเรียนได้ โดยสหภาพครูแห่งชาติระบุว่า การแก้ปัญหาที่ดี คือ การหามาตรการให้ครูสามารถพัฒนาตัวเองให้ถึงจุดสูงสุดได้ มากกว่าการพยายามกำจัดเขาออกไป ซึ่งเป็นการปิดกั้นการพัฒนา
Unions protest against plans to sack poor teachers
Teaching unions are refusing to accept plans to allow schools to sack the worst teachers as momentum builds for an autumn of strikes.
Under plans put forward by the Government head teachers will be given more freedom to monitor staff and powers to sack the worst-performing staff in just a term – rather than a year.
All teachers will be assessed against rigorous new teaching standards every year to ensure performance is being maintained and measures will be introduced to stop poor teachers being “recycled” from school to school.
Ministers claim the reforms – being introduced from September this year – will create a “simpler and faster system to deal with teachers who are struggling” and ensure quality for pupils.
But Christine Blower, General Secretary of the National Union of Teachers, said the rules could damage the careers of perfectly good teachers caught out having a ‘bad day’ or a difficult time in their careers.
She said the rules should be drawn up to help teachers achieve their best, rather than threatening to punish them for minor transgressions.

http://www.telegraph.co.uk/education/universityeducation/9190138/Unions-protest-against-plans-to-sack-poor-teachers.html

ไลฟ์บล็อก – สตอรีไฟ (Live Blog – Storify)

แฟนของผม วาง หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2555 แล้วก็ชำเรืองไปพบหัวข้อที่น่าสนใจ จึงหยิบขึ้นมาอ่าน เห็นคำว่า สตอรีไฟ และ บทบาทที่น่าสนใจของ นักนิเทศศาสตร์ หลายท่าน แล้วไปค้นข้อมูลจากเน็ต รวมถึงทดสอบใช้บริการของ http://storify.com/ajburin/storify ที่สามารถดึงเนื้อหาจาก social media มารวมกันใน post เดียวได้ง่าย แบบที่เรียกว่า right to left and up to down

คนข่าวยุคเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ (Facebook-Twitter) ต้องบูรณาการแบรนด์ตัวเองสู่ ไลฟ์บล็อก-สตอรีไฟ (Live Blog – Storify) … “สุทธิชัย หยุ่น” ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำทีมคนข่าวเนชั่นเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย @imsakulsri หรือ “สกุลศรี ศรีสารคาม” อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ มาอัพเดทเทรนด์โซเชียลมีเดีย 2012
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการใช้ “โซเชียลมีเดีย เพื่อการรายงานข่าว” (Social Media & Journalism) อ.สกุลศรี ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียนั้น จะช่วยเสริมความต้องการของผู้บริโภคจากสื่อกระแสหลัก เนื่องจากมีความเร็ว ความลึก สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ช่วยรายงานข่าวหรือใช้ข้อมูล ตลอดจนช่วยเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวนั้นได้
ขณะเดียวกัน คนข่าวก็ต้องสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงข่าวสารจากโซเชียลมีเดียมารวมไว้ เป็นแหล่งเดียว เพื่อเพิ่มความกว้างและลึกของประเด็นข่าวนั้นด้วยการใช้พื้นที่จากเว็บไซ ต์ข่าว แสดงผลจากการกระจายปัญหาไปยังฝูงชน เพื่อให้ร่วมค้นคำตอบ หรือวิธีแก้ปัญหา  อย่างกรณีน้ำท่วมซึ่งมีผู้เช็กอินเข้ามารายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วม กองบรรณาธิการต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลมานำเสนอผ่านเว็บไซต์ โดยเนื้อหาที่นำเสนอจะมีทั้งรูป คลิปวิดีโอ และเนื้อหา โดยให้เครดิตผู้ที่ส่งข้อมูลเข้ามาด้วย นอกจากนี้ คนข่าวก็ต้องเขียนบล็อกไลฟ์ เพื่อรายงานสดถ่ายทอดประเด็น ต่อยอดเนื้อหาข่าวนั้นๆ พร้อมด้วยคลิปและภาพ เพื่อดึงผู้คนในสังคมโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นแฟนคลับ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น

“ยกตัวอย่าง งานศพของวิทนีย์ ฮุสตัน ก็นำไลฟ์บล็อกมาอัพเดทความเคลื่อนไหวทั้งภาพ ข้อความ และคลิป หรือ “Cholas Kristof” ผู้สื่อข่าวจากนิวยอร์กไทม์ เขียนเฟซบุ๊กรายงานสดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เช่นเดียวกับ “Amanda michel” จากหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารตอบโต้ประเด็นข่าว โดยมี “สตอรีไฟ” รวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียไว้ในที่เดียวกัน” อ.สกุลศรี กล่าว
ทั้งนี้ “สตอรีไฟ” คือ การเล่าเรื่องด้วยโซเชียลมีเดีย มีลักษณะคล้ายกับการเขียนบล็อก แต่ “สตอรี่ไฟ” สามารถดึงข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ อย่าง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม, คลิปวิดีโอจากยูทูบ ฯลฯ ซึ่งอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้ในที่เดียวกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงลากและวาง (drag and drop) เท่านั้น ตอนนี้ก็มีเว็บข่าวจำนวนมากใช้บริการสตอรีไฟอยู่ อาทิ กอว์เกอร์ (Gawker), วอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal), การ์เดี้ยน (Guardian) เป็นต้น

ด้าน @jin_nationสมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์” บก.ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ผู้ผ่านประสบการณ์การทำข่าวตั้งแต่ยุคส่งข่าวทางโทรศัพท์สาธารณะ มาจนถึงยุคทวีตส่งข่าว ยอมรับว่า สื่อต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งใช้โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มาก และกำลังสนใจไลฟ์บล็อก และสตอรีไฟ ซึ่งเป็นการรวบรวมและนำเสนอข่าวที่น่าสนใจมากช่องทางหนึ่ง
“สุทธิชัย” เสริมว่า สตอรีไฟเป็นช่องทางที่น่าสนใจ คนข่าวทีวีสามารถนำไปขึ้นหน้าจอทีวีได้เลย แล้วอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านสตอรีไฟ ใครเริ่มทำก่อนจะเท่มาก ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียนอกจากจะมีประโยชน์ต่อคนทำข่าวแล้ว ยังใช้สร้างแบนด์ส่วนตัวได้ สมัยก่อนกระบวนการทำข่าว 80 เปอร์เซ็นต์จะเสียไปกับขั้นตอนการส่งข่าว แต่ปัจจุบันกระบวนการส่งข่าวเร็วขึ้นใช้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงมีเวลามากพอที่จะทำข่าวที่มีเนื้อหา กว้าง ลึก ผ่านโซเชียลมีเดียได้

“นักข่าวของเราปรับตัวใช้โซเชียลมีเดียมา 4-5 ปีแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พวกเราจะยืนอยู่แถวหน้า ก้าวนำคนอื่นอยู่ 2-3 ก้าว หากถึงวันที่โซเชียลมีเดียทำเงินได้ เราจะเป็นกลุ่มแรกที่อยู่รอด เพราะเราก้าวพ้นความกลัวมาแล้ว และผมยังเชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะไม่ตาย สื่อทีวีก็ไม่ตาย เพราะมีโซเชียลมีเดียมาเสริมซึ่งกันและกัน” สุทธิชัย กล่าว

http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/03/12/entry-1

http://newsjunkies-suthichaiyoon.blogspot.com/2012/03/live-blogs-storify.html

http://www.wired.com/gadgetlab/2011/10/apple-iphone-5-live-blog/

live blogging
live blogging

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1314/