ดูเรื่องทุกคนสบายดี


เมื่อดูหนังแล้ว
ก็หันกลับไปย้อนดู
ผู้คนรอบตัว หรือตัวเอง
เค้าว่า
หนังนั้นนำมาจากชีวิตจริง
หรือคนเราเลียนแบบชีวิตในหนัง
ก็คงเป็นไปได้ทั้งสองแบบ
.
หนังเก่าเรื่องนี้เล่าเรื่องคุณพ่อ
ที่รอลูกทั้งห้า
กลับมาเที่ยวหาช่วงหยุดฤดูร้อน
แต่ละคนแยกย้ายไปใช้ชีวิต
ปีนี้ ไม่มีใครว่างกลับมาหา
คุณพ่อผู้ชราคนนี้เลยสักคน
.
คุณพ่อก็เลย
จัดกระเป๋าเตรียมของฝาก
ไปเที่ยวหาลูกหลานแต่ละคน
ไปหาคนแรกเป็นลูกคนเล็ก
แต่ก็ไม่พบ หาตัวไม่เจอ
ลูกหายไป ก็เลยต้องไปหาคนต่อไป
.
ไปพบลูกแต่ละคน
ที่ออกไปล่าฝัน ทำฝันให้เป็นจริง
แต่ดูแล้ว ทุกคนก็อยาก
ให้คุณพ่อสบายใจ ไม่ผิดหวังกับลูก
พยายามทำตัวให้ดูว่าสบายดี สมหวัง
มีครอบครัว อาชีพ และมีความสุข
.
สุดท้าย คุณพ่อก็รู้ว่า
ชีวิตเด็กเด็กไม่ได้เป็นไปดังฝัน
ไม่ได้สบายดีอย่างที่พ่อฝันไว้
.
ส่วนพ่อเองก็พบกับ
กลุ่มผู้สูงอายุของบ้านพักคนชรา
ที่จัดทริปออกเที่ยวอย่างมีความสุข
กลุ่มผู้สูงอายุชวนคุณพ่อร่วมทริป
เป็นเพื่อนออกไปเที่ยวด้วยกัน
แต่คุณพ่อก็ไม่ได้ตามทริปไปด้วย
.
คุณพ่อเลือกกลับบ้าน
ไปใช้ชีวิตที่บ้านเก่า แทนบ้านผู้สูงอายุ
เล่าเรื่องให้ภรรยาที่ไปก่อนแล้วได้ฟัง
คุณพ่อเลือกที่จะเชื่อว่าทุกคนสบายดี
เพราะมีความสุขกับความฝันนั้น
ดีกว่าต้องรับรู้ความจริง
เรื่องชีวิตของลูกลูก
ที่ไม่ได้สบายดี ราบรื่น อย่างฝันไว้
.
เป็นหนังที่สะท้อนชีวิต
ของผู้สูงอายุในสังคมปัจจุบันได้ดี
ดูแล้วรู้สึกเศร้าไปกับเรื่องราว
บางทีเลือกอยู่กับความฝันก็น่าจะดีกว่า

ริมแม่น้ำวัง
ริมแม่น้ำวัง

หลังฉีดวัคซีนเข็มแรก 7 ชั่วโมง และเทียบผลวัคซีน (เสี่ยงน้อยดีกว่าเสี่ยงมาก)

ช่วงนี้ชวนทบทวน คำโบราณว่า
เสี่ยงน้อย เสี่ยงยาก เสี่ยงมาก เสี่ยงง่าย
ที่ปรับจาก
เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย

คุณพยาบาล พูดถึง การเชิญชวนประชาชน
มาฉีดวัคซีนเยอะ ๆ จะได้มีภูมิคุ้นกันหมู่
และจะได้ไม่เสี่ยง ส่งผลให้ลำปาง
เปิดจังหวัดรับนักท่องเที่ยวได้เร็ว ฟื้นเศรษฐกิจ

ต่อจากตอนที่แล้ว
เคยเขียน “เรื่องเล่ารับวัคซีนเข็ม 1
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/3003/
ซึ่งนั่งขีดเขียนทันที ฆ่าเวลา หลังฉีดเข็มแรก
ในห้องสังเกตุอาการ
เพื่อดูอาการ ว่ามีผลข้างเคียงไหม
ตอนนั้นลงหมอพร้อม ฟังคุณพยาบาลชี้แจง
สรุปว่าไม่มีอาการไม่พึงประสงค์ ก็ปล่อยกลับบ้าน
นอกจากเจ็บจากเข็มที่ทิ่มเข้าเนื้อ

แต่มีข้อพึงระวัง ที่ผมเผลอทำไป
และโชคดีที่ไม่มีอาการในระยะ 7 ชั่วโมงแรก
จึงอยากนำมาแชร์ให้กับท่านที่รับการฉีดวัคซีน
เข็มใดก็ตาม ดังนี้

  1. ดื่มน้ำให้เยอะ เหมือนก่อนฉีด และหลังฉีด
    นึกถึงคำว่า 1 ลิตร 2 ลิตร แล้วดื่มน้ำเยอะ ๆ
  2. คุณพยาบาลบอกว่า ดื่มชากาแฟได้หลังฉีดแล้ว
    เพราะงดดื่มมา 2 วันก็จะอยากดื่มมาก ๆ
    แต่ผมว่า หลังฉีดทันที อย่าพึ่งดื่มเครื่องดื่ม
    ที่มีสารกระตุ้นเลย ผมดื่มแล้วก็รู้สึกตื่นตัว
    ซึ่งไม่รู้ว่ามีผลอย่างไรกับวัคซีน แต่ตอนนี้ยังไม่มีอาการ
  3. ฉีดเสร็จก็ขับรถไปทำธุระ
    ตากแดด ในรถ ในวันที่แดดจัด ร้อนครับ
    ร้อนเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ก่อนกลับบ้าน
    แบบนี้อย่าทำนะครับ คิดทีหลังเสียวขึ้นมาเลย
    ต้องวางแผนว่า
    หลังฉีดเสร็จ ให้รีบกลับบ้าน อาบน้ำ นอนพักผ่อน
    อย่าอยู่ในสภาพร้อนจัด หนาวจัด
    เพราะร่างกายมนุษย์บอบบาง
    ทำตัวสบาย อย่าทำอะไรที่เครียด เช่น ถางหญ้า ออกกำลัง
    ทำตัวสบาย อย่าให้เลือดข้น ความดันขึ้น ปลอดภัยไว้ก่อน

เปรียบเทียบ Sinovac กับ Astrazeneca
จำนวนผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน
ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937698

#เล่าสู่กันฟัง 63-011 ระบายสีลับสมองผ่าน drawing

มีโอกาสเปิดไลน์ พบคลิ๊ป กิจกรรมที่โรงเรียนผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว อ.เมืองปาน จ.ลำปาง ที่ ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ แชร์โครงการวาดภาพระบายสี ลับสมอง ป้องกัน อัลไซเมอร์ และโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลทุ่งกว๋าว เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 ซึ่งทีมอาจารย์มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้แก่ อ.ชัญญานุช แซ่ตั้ง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยากร ส่วน ผศ.ยุภาลภัส สุภาเลิซภูรินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ เล่าประโยชน์ของการวาดภาพ และ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สนับสนุนการทำกิจกรรมและร่วมเรียนรู้

โดยผู้สูงอายุได้ทำ กิจกรรมวาดภาพใบหน้า ของตนเอง โดยใช้ดินสออย่างมีขั้นตอน
เริ่มจากการบริการมือ และนวดหู แล้วใช้ดินสอ 2B ร่างใบหน้าตามแบบ ก่อนลงมือวาดจริงในกระดาษวาดเขียน หลังวาดเสร็จ ผศ.ยุภาลภัส สุภาเลิซภูรินทร์ ได้คัดเลือกผลงาน แขวนแสดง และ อ.ชัญญานุช แซ่ตั้ง วิพากษ์ผลงานของนักเรียนรู้สูงอายุรายผลงานอย่างสนุกสนาน และจบกิจกรรมอย่างมีความสุข

ซึ่ง ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ และ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์
ทั้งสองท่านสนับสนุนอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมครั้งนี้

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157887761313895&id=814248894

https://timeline.line.me/post/_dTMtzsxLWFeB_e7QBhjcuC5hReKJLxXCF6culUE/1157855670107011120

4 วิธีดูแลสุขภาพสมอง .. ให้สดใสอยู่เสมอ

bb1

พบว่า .. ปัจจุบันคนเราหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น วันนี้มีบทความ “เทคนิคการดูแลสุขภาพสมอง (Technique to treat your brain)” มาฝากค่ะ  เพื่อยืดอายุสมองของเราให้ดีวันดีคืนตลอดไป

1. ทานโปรตีนจากปลาทะเลลึก
ลองเปลี่ยนการรับประทานเนื้อหมู หรือวัว หรือสัตว์ใหญ่ มาเป็นการรับประทานโปรตีนจากปลาทะเลลึกกัน อาทิ ปลาทู กลาแซลมอน ปลาทูน่าเป็นต้น ปลาเหล่านี้จะมีสาระสำคัญสองตัว คือ DHA และ RNA อันมีส่วนสำคัญในการเป็นอาหารสมอง คุณไม่มีทางมีสมองที่คิดได้ดีไปกว่าสมองที่มีสารอาหารไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพออยู่เสมอ

2. ฝึกการหายใจและสมาธิ
ฝึกการหายใจของคุณ โดยการหายใจเข้าออกอย่างช้ายาว ๆ หลายครั้ง หรือเรียกว่า ทำสมาธิ เพื่อให้ประสบการณ์ที่ดีมาก ๆ ในการฝึกการลำดับความคิดในสมอง และควรทำเป็นประจำทุกวัน

ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานอย่างเป็นปกติ และลดจำนวนครั้งในการป่วยในแต่ละปีได้อย่างมาก นอกจากนี้ยังทำให้สมองได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

4. อาหารเสริมช่วยคุณได้
หากยังรู้สึกว่ารับประทานอาหาร เพื่อเพิ่มพลังสมองไม่เพียงพอ สามารถมองหาอาหารเสริม อาทิ  น้ำมันปลา   เพื่อมาใช้ในการดูแลสุขภาพ ด้วยการรับประทานอาหารเสริมจะช่วยให้มีมิติการคิดที่ลึก  และซับซ้อนมากกว่าใคร

 

นำเคล็ดลับ 4 ประการนี้ไปปรับใช้
จะช่วยให้คุณมีพลังสมองเหนือใคร ๆ  ลองนำไปทำดูนะค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.insurancecoverageblog.com

 

ไม่ชอบดื่มน้ำ ถึงตายได้เชียว เสี่ยงกับโรคร้าย

ใครทำงานเพลิน ๆ  แล้วดื่มน้ำน้อย
ถ้าบางคนทำงานจนลืมแม้กระทั่งการดื่มน้ำ  ต้องระวังนะค่ะ
6 โรคร้ายที่จะตามมา เมื่อเราดื่มน้ำไม่เพียงพอ
คือ สมองเสื่อม ริดสีดวงทวาร ปวดข้อ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อ้วน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
มีรายละเอียดที่แชร์ของเค้ามา ลองอ่านดูได้นะ

bb1

1. สมองเสื่อม

ใครจะไปเชื่อว่าแค่ดื่มน้ำน้อย ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ เพราะเมื่อร่างกายของเราขาดน้ำ ปริมาณของน้ำในร่างกายไม่เพียงพอในการเป็นส่วนหนึ่งของเลือดที่สูบฉีดไปทั่วร่างกาย เมื่อเลือดมีความข้นหนืดมากขึ้น ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงที่สมองได้เพียงพอ

จึงอาจเป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อมได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกไม่สดชื่น เนือย ๆ คิดอะไรช้า ไม่กระฉับกระเฉง อึน ๆ มึน ๆ นั่นอาจเป็นผลมาจากแค่การ “ดื่มน้ำน้อยเกินไป” ก็ได้นะ

2. ริดสีดวงทวาร

แน่นอนที่สุดว่าหากร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ส่งผลไปถึงการย่อยในกระเพาะอาหารที่ทำได้ยากลำบากมากขึ้น และลำไส้ที่แห้ง อาจทำให้เราไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้ เพราะอุจจาระอาจแห้งเกินไป เมื่อของเสียสะสมอยู่ในลำไส้ ลำไส้ก็จะดูดซึมของเสียนั้นกลับเข้าร่างกายไปอีก ยิ่งทำให้เลือดมีของเสีย และข้นหนืดกว่าเดิม อุจจาระก็แข็งแห้งกว่าเดิม จนเกิดเป็นอาการท้องผูก และท้ายที่สุดลงเอยด้วยโรคริดสีดวงทวารนั่นเอง

มีคำแนะนำว่า “ตื่นเช้ามา” ก่อนทำอะไรก็ดื่มน้ำซะขวดนึง

3. ปวดข้อ

เชื่อหรือไม่ ว่ากระดูกอ่อนในหลายๆ ส่วนของร่างกาย รวมไปถึงหมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ และเกิดอาการผิดปกติได้ง่าย มีส่วนประกอบเป็นน้ำมากถึง 80% ดังนั้นหากข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกแห้ง ไม่ชุ่มชื้นเพียงพอ อาจทำให้ข้อต่อต่างๆ ดูดซับแรงกระแทกได้ไม่ดีพอ จนเกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย หรืออาจอักเสบได้ง่ายเมื่อต้องออกแรงเดิน ยก เหวี่ยง หรือแม้แต่ตอนออกกำลังกาย และยกน้ำหนัก

4. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ / กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

หากคุณมีอาการปวดปัสสาวะ แต่ไม่มีปัสสาวะไหลออกมา หรือไหลออกเพียงหยดสองหยด คุณอาจกำลังเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อันเนื่องมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ การติดเชื้อ และการกลั้นปัสสาวะนานๆ

5. อ้วน

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าหากคุณดื่มน้ำน้อย เป็นสาเหตุที่อาจทำไปสู่โรคอ้วนได้ เพราะหากคุณดื่มน้ำอย่างเพียงพอในตอนเช้า ระหว่างมื้อกลางวัน และตอนเย็น หรืออาจดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนทานอาหาร คุณจะพบว่าคุณอิ่มง่ายอิ่มเร็วกว่าการทานอาหารโดยไม่ดื่มน้ำเลย ยิ่งถ้าหากว่าคุณเป็นคนที่กินจุอยู่แล้ว แล้วยิ่งไม่ดื่มน้ำอีก ด้วยความหิวหรือความอยากอาหาร คุณอาจทานเพลินจนน้ำหนักขึ้นได้ง่ายๆ

6. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

ประจำเดือนของคุณผู้หญิงเป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพได้ดีอีกอย่างหนึ่ง หากคุณพบว่าคุณมีประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ ขาดๆ หายๆ มีน้ำเกินไป มีสีเข้มเกินไป มาเป็นลิ่มเลือด หรือแม้กระทั่งปวดท้องประจำเดือนมาก สาเหตุสำคัญที่คุณอาจละเลยอาจมาจากการดื่มน้ำน้อยก็เป็นได้ เพราะเมื่อน้ำในร่างกายมีปริมาณไม่เพียงพอ ร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำไปสร้างเป็นประจำเดือนได้นั่นเอง

3  สัญญาณของคนดื่มน้ำน้อย

หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นคนดื่มน้ำน้อยหรือไม่ ให้สังเกตได้จาก

 

1. ปัสสาวะไม่ถึง 4-7 ครั้งต่อวัน
2. ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มแทบทุกครั้ง
3. ปัสสาวะมีกลิ่นฉุนจัด

 

แค่ดื่มน้ำน้อยก็ส่งผลเสียถึงร่างกายได้มากมายขนาดนี้ นี่ยังไม่รวมถึงผลเสียด้านผิวพรรณที่หย่อยคล้อย หมองคล้ำ ผิวแห้ง ตาแห้ง และดูแก่กว่าวัยอีกนะ สาวๆ ได้ยินแล้วคงกรี๊ดเลยสิ

เพราะฉะนั้นหากใครมีอาการตามสัญญาณของคนดื่มน้ำน้อยดังกล่าว ควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้นให้ได้ราวๆ 1,500-2,000 มิลลิลิตรต่อวัน หรือ 6-8 แก้วต่อวัน หรือถ้ากลัวลืมก็เอาขวดลิตรมาตั้งไว้บนโต๊ะ 1 ขวด แล้วเตือนตัวเองว่าต้องดื่มให้หมด ทำงานจิบไป เข้าห้องประชุมก็ถือแก้วน้ำเข้าไปด้วย รับรองว่าหากทำได้ร่างกายของคุณจะไม่ขาดน้ำอีกต่อไป

หมายเหตุ – หากคุณดื่มน้ำไม่ถึง 6-8 แก้ว แต่ไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของคนดื่มน้ำน้อย อาจเป็นเพราะคุณดื่มเครื่องดื่ม หรือทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากพออยู่แล้ว จึงอาจไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวันค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม “น้ำเปล่า” ก็ยังสำคัญต่อร่างกาย อย่าลืมดื่มน้ำเปล่าบ้างนะคะ

digi2

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก สสส และ   http://health.sanook.com/4557/

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

น้ำเต้าหู้ไม่เหมาะกับผู้มีภูมิแพ้บางท่าน

นมถั่วเหลืองเป็นอันตราย จริงหรือหลอก
นมถั่วเหลืองเป็นอันตราย จริงหรือหลอก

ประเด็นน่าสนใจเรื่อง “นมถั่วเหลืองเป็นอันตราย จริงหรือหลอก”
http://www.vichanum.net/board/forum.php?mod=viewthread&tid=1368

ข้อมูล
เรื่องสุขภาพ น่าจะสำคัญกว่าเรื่องโซเชียวมีเดีย
เพราะใกล้ตัวเรา และใกล้มาก ไปอยู่ข้างในที่มองไม่เห็นกันเลย
อ่านเรื่องของผู้ป่วยชายที่ไม่โสด เค้าเป็นภูมิแพ้
ดื่มน้ำเต้าหู้แล้วหรือนมเข้าไป
จะมีก้อนเสลดเหนียวหนึบ ขากไม่ค่อยออก
ดื่มมากก็จะเกิดเมือก เป็นไซนัสได้ง่าย ๆ
เพราะนมถั่วเหลืองมีฤทธิ์เย็น เข้ากระเพาะก็จะย่อยสลายไม่หมด
เหลือเป็นอาหารของจุลินทรีย์ไม่ดีในลำไส้
เกิดสารพิษเข้าสู่กระแสเลือก แล้วร่างขับสารพิษทางผิวหนัง
ออกเป็นผื่นแดง
อ่านจาก http://thearokaya.co.th/web/?p=3294
โพสต์โดย Nisa
http://thearokaya.co.th/web/?author=3

ความคิดเห็น
ผมเองก็มีทีท่าว่าจะแพ้นมถั่วเหลือง ดื่มทีไร รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว
โดยเฉพาะระบบภายใน ระบบทางเดินหายใจ
ก็น่าจะเป็นเพราะจุลินทรีย์ไม่ดีในลำไส้
แต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นผื่นแดง เหมือนผู้ป่วยชายในบทความ
สรุปว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่จะถูกโรคกับนมถั่วเหลือง

กรมอนามัยเตือนเทศกาลกินเจระวังผักสด 10 ชนิด

ผักสดในตะกร้า
ผักสดในตะกร้า

เทศกาลกินเจ 2557 ปีนี้ กินเจ 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ตรงกับวันที่ 24 กันยายน-2 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 2 ตรงกับวันที่ 24 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน 2557
เพราะเทศกาลกิจเจตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) ของทุกปี
และในปี 2557 ปฏิทินจีนมีเดือน 9 สองครั้ง ทำให้มีเทศกาลกินเจ 2 ครั้งด้วยกัน
เหตุการณ์แบบนี้จะมีรอบทุก  132 ปี
http://talk.mthai.com/topic/412275

แล้วปีนี้ กรมอนามัยเตือนว่าพบสารพิษตกค้างมากในผัก 10 ชนิด ดังนี้
1. ผักกวางตุ้ง
2. คะน้า
3. ถั่วฝักยาว
4. พริก
5. แตกกวา
6. กะหล่ำปลี
7. ผักกาดขาวปลี
8. ผักบุ้งจีน
9. มะเขือ
10. ผักชี
http://www.nationtv.tv/main/content/economy_business/378425368/

กรมอนามัยแนะนำว่า
ต้องล้างผักให้สะอาด ถ้าจะทานผักสด ๆ
เพราะอาจมีสารตกค้างจากปุ๋ยคอกก็ได้
http://www.girltalkonhealth.com/2011/10/introduction-to-organic-vegetable-gardening

มาม่าเจ ซื้อยกกล่อง ได้บุญหนัก
มาม่าเจ ซื้อยกกล่อง ได้บุญหนัก

ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร กับการสูบ ดื่ม และกิน

แม้รู้สึกว่าภาพนี้เปลือยหมด
ไม่ปกปิดเลย เห็นไปถึงใส้ถึงพุง

smoke drink food
smoke drink food

ในละครแม้ตัวร้ายจะชนะเกือบทั้งเรื่อง
แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้หมดรูปตอนจบ

ในชีวิตจริงส่วนใหญ่เรามีความสุขกันทุกตอน
แต่ก็ไปพ่ายแพ้หมดรูปเอาตอนจบ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=355647757846524&set=a.160962820648353.40827.158264677584834


ยังมีบางคนอดเปรี้ยวไว้กินหวาน
ประพฤติตนเหมือนนางเอก อดทนเพื่อสุข
ค่อย ๆ กิน ค่อย ๆ ดื่ม รักษาสุขภาพให้อยู่ไปนาน ๆ
ยืดตอนสุดท้ายออกไปให้นานแสนนาน เท่าที่จะทำได้

มีคนเล่าว่า
สุขภาพดี ซื้อหาไม่ได้ ต้องทำเอง
น่าจะจริง เหนือความจริงใด ๆ

ภาพข้างล่างเป็นระดับของความสำเร็จ
เมื่อสำเร็จก็มักจะสูบ จะดื่ม จะกิน มากกว่าปกติ

success
success

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=511350935604197&set=a.144428752296419.34908.135349363204358

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

Irritable bowel syndrome
Irritable bowel syndrome

ตั้งแต่ 14 พ.ค.56 ผมคงต้องคุมอาหารแล้ว โดยเฉพาะงดกาแฟ
เพราะคาดว่าร่างกายมี ภาวะไวต่ออาหาร
หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี
ต่อไปก็ต้องคัดอาหารออกแล้ว จะหลีกหนีอาการแน่นท้องเพราะลมในท้อง

1. โรคลำไส้แปรปรวน คือ โรคอะไร

ตอบ โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวด หรือ อึดอัดท้อง และ มีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ

2. โรคนี้พบได้มากแค่ไหน คนอื่น ใคร ๆ เป็นโรคนี้กันมากไหม

ตอบ ภาวะโรคนี้พบได้มากเลยทีเดียว เรียกว่าบางการศึกษาพบว่าเป็นภาวะที่ทำให้ทำงานไม่ได้เป็นภาวะโรคอันดับ 2 รองจากไข้หวัด พบว่ามีถึง10 ถึง 20 % ของประชากรทั่วไปเลย แต่มีเพียงแค่ 15 % ของผู้ที่ปัญหาจากโรคนี้ที่เข้าตรวจ หรือ ปรึกษาแพทย์

3. โรคนี้หายได้หรือไม่

ตอบ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้น หรือ หายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ จากลักษณะนี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดในการรักษาทั้งแพทย์ และ ผู้ป่วย การรักษาพบว่าดีขึ้นได้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยทราบว่าลักษณะโรคนี้ ดีขึ้นแต่ไม่หาย และ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโรคร้ายแรงใด ๆ เลย ดังกล่าว

4. สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

ตอบ มีหลายทฤษฎี ที่เสนอว่าน่าอธิบาย ภาวะโรคนี้ได้ แม้มีการศึกษาโรคนี้กันมากมาย แต่พบว่าไม่มีทฤษฎีใดอธิบายในคนไข้ได้ทุกคนถูกต้องเหมือนกันหมดได้เลย

ทฤษฎีแรก เสนอว่าน่าเกิดจากการบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ อาจเรียกว่าตะคริว ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) การบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้ ผู้ป่วยบางรายจึงตอบสนองต่อการให้ยาคลายลำไส้ (antispasmodic) และ ให้ใยอาหาร (fiber)(สารนี้อาจทำให้เกิดการทำให้การบีบตัวของลำไส้เข้าที่ กลับสู่ปกติได้ (regulate contractions)) แต่ดังที่กล่าวแล้ว ภาวะนี้ไม่สามารถอธิบายผู้ป่วยได้ทุกคน
จากการพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดภาวะนี้ตามหลังการติดเชื้อ เช่นเชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียอาหารเป็นพิษ เช่น Salmonella หรือ Campylobacter กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ของโรคนี้ ไม่มีประวัติการติดเชื้อนำ ตามทฤษฎีนี้
ผู้ป่วยโรคนี้พบว่ามีหลาย ๆ คนที่มีภาวะทางจิตเวช หรือ ความเครียดร่วมด้วย แต่อาจเป็นผล คือตามที่กล่าวแล้วว่าภาวะนี้พบได้มาก และ ผู้ป่วยไม่สนใจจะมารักษา ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือ จิตเวชมีแนวโน้มจะเข้าปรึกษาแพทย์ได้มากอยู่แล้ว จึงอาจพบผู้ป่วยโรคนี้ที่มีจิตเวชได้มากกว่าปกติก็ได้ ไม่ได้เป็นต้นเหตุที่แท้จริง ส่วนทฤษฎีที่ว่าภาวะเครียด กังวลใจ อาจมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดการปวด หรือ รู้สึกไวขึ้นได้นั่นเอง
ภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) พบว่าทฤษฎีนี้ยากที่จะพิสูจน์ และได้รับการศึกษาอย่างมากขณะนี้ การจดดูรายการอาหารที่ ทำให้อาการมากขึ้น และหลีกเลี่ยงซึ่งทำได้ยาก (การรักษานี้เรียกว่า การทานอาหารแบบคัดออกหลีกเลี่ยง elimination diet) แต่การทำวิธีดังกล่าวนอกจากอาจเลือกอาหารได้ผิด และทำได้ยาก ยังทำให้ผู้ป่วยขาดอาหารที่สำคัญบางอย่างไปโดยไม่จำเป็น และ อาจไม่เป็นสาเหตุที่แม้จริงได้ รวมทั้งผู้ป่วยยังเข้าสังคมไม่ได้ดี และ อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยากด้วย เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัวด้วย อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้
หลาย ๆ การศึกษาพบว่า IBS อาจเกิดจาก ความไวต่อความรู้สึกของลำไส้มากเกินไป โดยไม่ได้มีโรค หรือ การบีบตัวผิดปกติใด ๆ เลย ( เรียกว่า ลำไส้ไวขึ้น “visceral hyperalgesia”) ดังนั้นแม้ลม มีการบีบตัวปกติ อุจจาระ หรือ อาหารปกติ ก็ทำให้เกิดการปวดรุนแรงได้ พบว่าการรักษาซึ่งสนับสนุนทฤษฎีนี้คือ พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งตอบสนองต่อยากลุ่มลดการไวต่อการปวด เช่น ( low doses ของ imipramine หรือ nortriptyline) เป็นต้น

5. อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง

ตอบ IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้ตามที่กล่าวอาจเกิดจากผู้หญิงเองอยากพบ เข้าปรึกษาแพทย์มากกว่าผู้ชายก็ได้ ในบางประเทศเช่นอินเดียพบว่าพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการมีดังนี้

5.1 ปวดท้อง – มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน

5.2 มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits) – ถือเป็นลักษณะพิเศษ อาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะโรคนี้เลย ได้แก่ มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสีย และ ท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจแบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือ ท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)

5.3 ท้องเสีย มักเกิดในช่วงเวลาทำงาน (daytime) และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหารมากกว่าเวลาอื่น ภาวะท้องเสียมักมีอาการร่วมคือ การต้องรีบอยากเข้าถ่าย (urgency) และมักมีอาการรู้สึกถ่ายไม่หมดร่วมด้วย (incomplete evacuation) ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบว่ามีมูกเวลาถ่าย ได้ด้วย การท้องเสียหลังเข้านอนหลับสนิทแล้วพบน้อยมาก ๆ ถ้ามีการปลุกตื่นอยากถ่ายอย่างนี้ ควรหาสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ก่อน

5.4 ท้องผูก – อาจกว่าจะหายเป็นวัน หรือเป็นเดือน โดยถ่ายแข็ง หรือ คล้ายลูกกระสุน (pellet-shaped) บางรายอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะเบ่งมากตามมา หรือ นั่งถ่ายอยู่นานไม่ออก ร่วมด้วยได้ บางรายเกิดการใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นร่วมด้วย

5.5 อาการลำไส้อื่น ๆ – เช่นอืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก หรืออิ่มเร็ว คลื่นไส้ได้ด้วย

5.6 อาการอื่นที่ไม่ใช่อาการกลุ่มลำไส้ – เช่นอยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ

6. จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร

ตอบ มีโรคมากมายที่อาการคล้ายโรคนี้ ได้แก่โรคที่มีปัญหาการย่อยอาหาร (malabsorption), โรคภูมิแพ้ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease เช่น ulcerative colitis และ Crohn’s disease) และ โรคลำไส้อักเสบจากโรค microscopic และ eosinophilic colitis (พบได้น้อยมากในเมืองไทย) เนื่องจากไม่มีการตรวจวินิจฉัยใด วินิจฉัยเดียวได้ ผู้ป่วยจะเริ่มการวินิจฉัยจากการเปรียบเทียบอาการกับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้ โดยสมาคมแพทย์ทางเดินอาหารโลก ที่กรุงโรม (Rome หรือ Manning criteria) แต่เกณฑ์นี้ไม่สามารถแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาการรักษาได้ จึงควรได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ ตรวจเพิ่มเพื่อประกอบการรักษาจากแพทย์ร่วมด้วย

เมื่อเลือกการตรวจใด ๆ แพทย์จะเลือกการตรวจตามข้อมูลที่ได้ ราคาการตรวจ ความเหมาะสมตามอายุของผู้ป่วย แตกต่างกัน ควรปรึกษาร่วมกันคิดกับแพทย์ของท่าน เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมต่อไป

การซักประวัติ – การวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน จะประกอบด้วย ลักษณะอาการ ระยะเวลาที่มีอาการ ความรุนแรงของอาการลำไส้ รวมทั้งประวัติว่าอาการสัมพันธ์กับอาหาร หรือ ยาด้วยหรือไม่ รวมทั้งจะซักปัญหาความเครียด และ โรคทางจิตเวชในทุกรายที่เป็นภาวะนี้ ดังที่กล่าวแล้ว

การตรวจร่างกาย – มักไม่พบความผิดปกติใด ๆ การตรวจก็เพื่อแยกโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายโรคนี้

การตรวจพิเศษ – แพทย์ส่วนใหญ่จะสั่งตรวจเลือด โดยมักพบว่าปกติทุกอย่าง รวมทั้งแยกโรคร้ายแรงอื่น ๆ โดยการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย ตัวอย่างเช่นอาจเช็คไทรอยด์ อุจจาระ รวมทั้งการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) หรือ ลำใส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) ซึ่งมักในคนที่สงสัยภาวะมะเร็ง หรือ ทำในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี (อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง การตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่)

การรักษา โรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

มีวิธีการรักษา และ ยารักษามากมาย บางครั้งต้องอาจใช้ยาหลายกลุ่มเข้ารักษาร่วมกัน เนื่องจากโรคนี้มีหลายกลุ่มย่อย และ การตอบสนองต่อยาก็แตกต่างกัน บางครั้งอาจต้องใช้วิธีปรับยาหลายครั้งจึงดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับความเข้าใจโรคดังกล่าวด้วยว่าโรคนี้ไม่ร้ายแรง (หลังจากตรวจค้นหา จนแน่ใจ 1 ถึง 2 ครั้ง หรือ บางคนแค่ประวัติตรวจร่างกายก็แน่ใจได้ว่าไม่ได้มีโรคร้ายแรงโดยตรวจเพิ่มเติมแค่เล็กน้อย) รวมทั้งต้องติดตามการรักษาอธิบายอาการอย่างละเอียด ระหว่างผู้ป่วย และ แพทย์ที่รักษาด้วย จึงทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

การติดตามการรักษา – ในการรักษาขั้นแรก อาจต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยต้องรายงานอาการ นิสัยความเป็นอยู่ และ การรับประทานของผู้ป่วย รวมทั้งต้องทราบประวัติทุกอย่างที่อาจมีผลต่อลำใส้ บางรายอาจจับจุดได้ว่าแก้ไขได้ง่าย เช่นอาจแพ้อาหารบางอย่าง หรือ ย่อยอาหารกลุ่มนมไม่ได้ (lactose intolerance) รวมทั้งการแก้ความเครียด โรคซึมเศร้าอาจทำให้อาการดีขึ้นได้มาก ควรมีสมุดบันทึกเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียดจะช่วยในการรักษาได้มาก

การเปลี่ยนนิสัยการรับประทาน – จากทฤษฎี ที่อธิบายแล้วว่าผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งอาจมีปัญหาการย่อย แพ้อาหาร ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหาร เช่นอาหารที่ทำให้เกิดลม มันมาก กลุ่มนม อาหารย่อยยาก ผัก หรือ เนื้อบางอย่าง ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละคน หรือ บางคนอาจไม่เกี่ยวกับอาหารใด ๆ เลยก็ได้ ควรมีบันทึกอาหาร แต่ละมื้ออย่างละเอียด และ ดูร่วมกับอาการ อาจทำให้ค้นหาอาหารที่ทำให้เกิดอาการได้ชัดเจนขึ้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ลองหยุดอาหารกลุ่มนมดูในช่วงแรก เพราะ พบคนที่มีปัญหาย่อยอาหารกลุ่มนม (lactose intolerance) พบได้บ่อยมาก (กินนมแล้วท้องเสีย กินแล้วอืด หรือ กินนมช่วยระบาย) การงดนมก็ควรทดแทนด้วยการกิน calcium ทดแทนด้วย เพื่อบำรุงกระดูก

อาหารบางอย่างจะมีการย่อยแค่บางส่วน จนเมื่อถึงลำไส้ใหญ่จึงจะใช้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ช่วยย่อย ทำให้เกิดลมในท้อง และ ปวดบีบได้ อาหารดังกล่าวได้แก่ legumes (คืออาหารประเภทถั่ว beans) และ อาหารกลุ่มกระหล่ำ บลอคคาลี่ cruciferous vegetables เช่น cabbage, brussels sprouts, cauliflower, และ broccoli บางรายอาจมีปัญหากับอาหาร หัวหอม onions, celery, แคลลอท carrots, เลซิน raisins, กล้วย bananas, แอปปริคอท apricots, พรุน prunes, sprouts, และ wheat.

พยายามกินอาหารที่มีไฟเบอร์ (fiber) มากขึ้น – มักดีในผู้ป่วยกลุ่มที่ปวดท้อง แบบท้องผูก บางรายแม้ปวดแบบท้องเสียการกินไฟเบอร์ กลับทำให้ลำไส้ได้ฝึกบีบตัวดีขึ้นได้ การกินผักผลไม้อาจเกิดข้อเสียดังที่กล่าวแล้วในบางคนที่มีปัญหาการย่อย หรือ ไวต่อลม บางครั้งอาจต้องพิจารณาให้ fiber ทางการแพทย์ เช่น psyllium [Metamucil] หรือ methylcellulose [Citrucel] โดยเริ่มจากขนาดน้อย ไปหาขนาดมาก สาเหตุที่ fiber ทำให้ดีขึ้นยังไม่เข้าใจเหตุผลนัก อาจจากทำให้ลำใส้ได้ฝึกบีบตัวตามที่กล่าวแล้ว ก็ได้

การช่วยเหลือ ความเครียด หรือ แก้ปัญหาซึมเศร้า จิตเวช ตามที่กล่าวแล้วว่า ความเครียด และ ความกังวลใจ อาจทำให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้ในบางราย ผู้ป่วยควรนึกคิด และ ปรึกษาปัญหาในกลุ่มนี้กับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษา

ผู้ป่วยบางคนอาจดีขึ้นเมื่อปรึกษากับจิตแพทย์ ร่วมกับให้ หรือ ไม่ให้ยากลุ่มนี้ รวมทั้งการให้ยานอนหลับ หรือ สอนการทำ biofeedback เป็นต้น
บางรายอาจดีขึ้นหลังเข้ากลุ่มปรึกษาทางจิตเวช
ผู้ป่วยหลายรายดีขึ้น หลังออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือดีขึ้นจากการเดิน เพราะช่วยในการทำงานของลำไส้ได้ด้วย

ยารักษา แม้มียารักษาหลายอย่าง แต่ไม่สามารถทำให้โรคนี้หายขาดได้ ส่วนใหญ่เพื่อทำให้ดีขึ้น หรือ หายไปชั่วคราวเท่านั้น ยารักษาจะขึ้นกับว่าผู้ป่วยเป็นกลุ่มใด ระหว่างท้องเสียเด่น ท้องผูกเด่น หรือ ปวดท้องเด่น ควรลองการเปลี่ยนอาหาร เพิ่มไฟเบอร์ใยอาหาร ก่อนทานยา

ข้อมูลจาก http://www.praram9.com/th/article_detail.php?id=220

ข้อดีและข้อเสียของการดื่มเบียร์

เบียร์
เบียร์

เบียร์ เป็นเครื่องดื่มที่ใครหลายคนติดใจเป็นหนักหนา เพราะรสชาติที่มันนุ่มลิ้นดีแท้ นักวิจัย กล่าวว่า เบียร์นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อหัวใจ จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Emory กล่าวว่าผู้หญิงและผู้ชายสูงอายุ 2,200 คน ที่ดื่มเบียร์วันละ 1.5 แก้วต่อวัน จะมีการเสี่ยงต่อโรคหัวใจล้มเหลวลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ เบียร์ยังดีต่อสมองอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์ในบอสตัน พบว่า
ผู้ที่ดื่มเบียร์ตั้งแต่หนึ่งถึง 6 แก้วต่อสัปดาห์ จนถึงผู้ที่ดื่ม 7-14 แก้วต่อสัปดาห์ จะเกิดอาการชักได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเลย แต่ถ้าผู้ที่ดื่มเกินกว่านี้ก็จะมีอาการชักได้มากที่สุด เพราะเบียร์สามารถช่วยลดขนาดเม็ดเลือดและไม่ทำให้เลือดไปครั่งที่สมองได้

วันนี้เรานำเกร็ดความรู้มีประโยชน์ และโทษของการดื่มเบียร์มาฝากกัน…

เริ่มจากประโยชน์ของเบียร์ก่อนเลยค่ะ

ประโยชน์ของเบียร์มีมากมายเลยทีเดียวค่ะ นอกจากจะมีสารต่าง ๆ มากกว่า 1,000 ชนิด อีกทั้งมีทั้งวิตามิน เกลือแร่ ที่ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อแข็งแรง ใครที่ชอบดื่มเบียร์คงจะถูกใจมิใช่น้อย เมื่อได้ยินว่า เบียร์มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จะมีข้อดียังไงก็ควรดื่มแค่ควรก็พอค่ะ วันนี้เราจึงแนะนำ ประโยชน์ของเบียร์ ให้ได้ศึกษาเอาไว้ ดังนี้

– ป้องกันโรคหัวใจ

จากการศึกษาของนักวิชาการพบว่า ผู้ที่ดื่มเบียร์มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่มเบียร์ 40 – 60% แต่ควรดื่มไม่เกินครึ่งลิตรต่อวัน

– ช่วยลดความเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์อัมพาต

สารที่มีประโยชน์ในเบียร์สามารถช่วยป้องกันเส้นเลือดอุดตันจึงช่วยป้องกันโรคอัมพฤกษ์อัมพาต

– ช่วยลดความดันโลหิต

แพทย์ชาวฮอลแลนด์และจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดค้นพบว่า การดื่มเบียร์ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้

– ป้องกันเบาหวาน

ผู้ที่ดื่มเบียร์มีจำนวนน้อยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเหตุผลก็คือ เบียร์ทำให้ร่างกายสามารถปรับฮอร์โมนอินซูลิให้ความทรงจำดีนักดื่มเบียร์จึง ไม่ค่อยเป็นโรคอัลไซเมอร์

– ช่วยให้กระดูกแข็งแรง

เบียร์ให้ผลดีต่อกระดูกสามารถช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้แต่ได้ผลเฉพาะกับหนุ่มสาวเท่านั้น

– ช่วยให้อายุยืน

จากการศึกษามากกว่า 50 สำนัก พบว่า ผู้ที่ดื่มเบียร์วันละ 1 – 2 แก้ว มักจะมีอายุที่ยืนยาวเนื่องจากเบียร์มีสารปกป้องหัวใจ

– ป้องกันท้องร่วง

โมเลกุลในเบียร์มีส่วนประกอบเหมือนกันกับกรดนมและน้ำส้มสายชู สารที่ว่านี้ขัดขวางเชื้อโรคในลำไส้ที่เป็นสาเหตุของท้องร่วงไม่ให้แพร่ เชื้อจนท้องเสีย

– ต้านความเครียด

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Montreal ค้นพบว่า คนทำงานที่ได้ดื่มเบียร์บ้างเป็นครั้งคราวมีความเครียดน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเบียร์

– ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีและในไต

นักวิชาการจากเมืองเฮลซิงกิประเทศฟินแลนด์ค้นพบว่า การดื่มเบียร์วันละหนึ่งขวดก็จะได้รับแมกนีเซียมซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงโรค นิ่วในไตได้ถึง 40%

– ป้องกันโรคนอนไม่หลับ

สารจากดอก Hops ใน เบียร์เปรียบเสมือนยานอนหลับจากธรรมชาติช่วยให้ประสาทผ่อนคลาย ดังนั้น การดื่มเบียร์หนึ่งแก้วในตอนเย็นจึงเหมือนกับการกินยานอนหลับ

– ช่วยต้านมะเร็ง

เบียร์มีสารโพลีฟีนอยด์ที่จะช่วยป้องกันมะเร็งโดยการดักจับอนุมูลอิสระตัว ร้ายออกจากร่างกาย สารโพลีฟีนอยด์หลักก็คือ Xanthohumol ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยยับยั้งโปรตีนที่ช่วยในการพัฒนาการของมะเร็ง

– ช่วยให้ผิวสวย

ในเบียร์มีวิตามินสูง เช่น Pantothenic Acid วิตามินบี 3 และไนอาซินซึ่งจะช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์ผิวใหม่ช่วยสร้างคอลลาเจนและเม็ดสี ผิวจึงเรียบเนียนและอ่อนนุ่ม

ทุกๆ อย่างในโลกของเราก็จะมีทั้งให้ประโยชน์ และให้โทษเสมอนะค่ะ มาศึกษาถึงผลเสียของการดื่มเบียร์กันบ้างค่ะ ดังนี้เลยค่ะ

ผลเสียของเบียร์ :
ไม่ใช่เฉพาะเบียร์ที่จะทำให้เกิดผลเสีย เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ทำให้เกิดผลเสียทุกชนิด โดยเฉพาะกับตับ  ซึ่งต้องทำงานหนักเป็นพิเศษเวลาที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เข้าไป
ตับ เป็นอวัยวะที่ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย แต่ถ้าตับเสียหาย ร่างกายก็จะเต็มไปด้วยพิษ แถมที่สำคัญ เบียร์ทำให้บวมอ้วนอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าจะดื่มเบียร์ครั้งต่อไป ก็ลองคิดให้ดี ๆ  ว่าร่ายกายเราพร้อมแค่ไหนก่อนดื่มนะค่ะ

โรคภัยกับตับของเรา
โรคภัยกับตับของเรา

ไวรัสตับอักเสบ

เพื่อสุขภาพที่ดีต้องดื่มให้เป็น  และพอประมาณนะค่ะ
ถ้าอะไรที่มากเกินไปก็จะส่งผลที่ไม่ดีต่อสุขภาพเราได้ค่ะ

http://blog.msu.ac.th/?p=10178

http://www.emory.edu/EMORY_REPORT/stories/2010/09/07/beer.html