ทวิตเตอร์บล็อกสื่อลามกของไวน์ (itinlife 440)

after pregnant
after pregnant

ไวน์ (vine) คือ แอพพลิเคชั่นที่ทำงานบนสมาร์ทโฟน สำหรับถ่ายคลิ๊ปความยาว 6 วินาที แล้วอัพโหลดไปยังเครือข่ายสังคม อย่างเฟสบุ๊ค และทวิตเตอร์ได้โดยง่าย มีผู้นิยมใช้งานจำนวนมากเปิดตัวเมื่อต้นปี 2556 แต่มีข่าวว่าทวิตเตอร์เปลี่ยนนโยบายปิดกั้นคลิ๊ปประเภทสื่อลามกของ vine เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2557 มีผลต่อบัญชีผู้ใช้ที่เคยอัพโหลดคลิ๊ปประเภทนี้ทันที ในเครือข่ายอื่นก็มีนโยบายทำนองเดียวกัน เช่น youtube.com และ facebook.com ก็มีนโยบายปิดกั้นสื่อลามกมาโดยตลอด

การปิดกั้นสื่อลามกมีเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นพอให้ยอมรับได้สำหรับผู้ที่เคยกระทำ หากมีการอัพโหลด (upload) สื่อลามกเข้าไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จะมีมาตรการแขวน (suspend) ให้บัญชีนั้นใช้งานไม่ได้ชั่วคราวจนกว่าจะลบคลิ๊ปนั้นออกไปจากการแชร์ในทวิตเตอร์ แต่ถ้ายังทำซ้ำก็อาจจะถูกแขวนถาวรก็ได้ หากพบว่าบัญชีใดเคยส่งสื่อลามกจำนวนมากเข้าไปในทวิตเตอร์ ก็จะแจ้งให้ดำเนินการกับสื่อเหล่านั้นทั้งหมดเป็นระยะเวลาหนึ่ง เหตุที่ต้องปรับนโบยายใหม่ เพราะสมาชิกของทวิตเตอร์ยังมีเยาวชนที่อายุระหว่าง 12 – 17 ปี ที่อาจเข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้ การที่เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และรับผิดชอบต่อสังคม จึงต้องดำเนินการกับสื่อไม่พึงประสงค์เหล่านี้อย่างเหมาะสม

ทวิตเตอร์มิได้ตรวจสอบความเหมาะสมของคลิ๊ปเองทั้งหมด แต่เปิดให้สมาชิกด้วยกันได้รายงานเข้าไป แล้วมิได้ปิดกั้นสื่อลามกทุกประเภท โดยยกเว้นให้กับสื่อลามกเพื่อการศึกษา เช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือการประท้วงการเปลือย ซึ่งก็ต้องตีความถึงเป้าหมายของแต่ละคลิ๊ปว่าเจตนาคืออะไร นอกจากนี้ปลายปี 2556 ทวิตเตอร์ยังได้เพิ่มการจำกัดไม่ให้เยาวชนติดตามแบรนด์สุรา ที่เป็นไปตามกฎหมายการกำหนดอายุในการดื่มสุราในแต่ละประเทศที่ผู้ใช้งานอาศัยอยู่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าการดื่มสุราเป็นภัยต่อสุขภาพ แม้จะเลิกไม่ได้ในคราวเดียว อย่างน้อยก็มีกระแสส่งเสริมการลดการดื่มสุรากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาชีวิต และสุขภาพของมนุษย์ด้วยกัน

http://www.pregnancysquare.com/birth/after-pregnant/141/

http://thumbsup.in.th/2013/11/twitter-trying-to-keep-the-kids-and-booze-apart-with-voluntary-age-screening/

http://edition.cnn.com/2014/03/06/tech/social-media/vine-bans-porn/index.html

สอบประวัติผู้สมัครงาน (itinlife 332)

twitter @Pat_ThaiPBS
twitter @Pat_ThaiPBS

3 มี.ค.55 มีผลวิจัยว่า พฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคม (Social Network) อาจถูกนำใช้ประกอบการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเป็นส่วนตัว และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน ปัจจุบันเราทราบว่าเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมมีไม่มากนัก อาทิ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ และกูเกิลพลัส ซึ่งทวิตเตอร์ถือเป็นไมโครบล็อก (Micro blogging) ที่มีระดับความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าบรรดาเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ปัจจุบันผู้ใช้ส่วนใหญ่ในทวิตเตอร์วัดความนิยมจากจำนวนผู้ติดตาม ซึ่งเจ้าของบัญชีไม่จำเป็นต้องรู้จักกับผู้ติดตาม หรืออนุญาตให้มีการติดตาม ผลการจัดอันดับผู้ติดตามเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2555 พบว่า @Khunnie0624 มีผู้ติดตาม 1,064,797 ส่วน @Woodytalk มีผู้ติดตาม 601,370 ส่วน @vajiramedhi มีผู้ติดตาม 501,925 แสดงว่าการมีผู้ติดตามมาก คือ มีคนเข้าถึงเนื้อหาที่เจ้าตัวเผยแพร่ได้มากนั่นเอง

ส่วน facebook และ google+ มีระดับความเป็นส่วนตัวสูงกว่า หากจะเข้าไปดูข้อมูลจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของบัญชี แต่ผู้ใช้บางรายยอมรับเพื่อนใหม่ง่าย และมีไม่น้อยที่เขียนบันทึกอย่างรู้เท่าไม่ถึงภัย จนส่งผลไม่พึงประสงค์ภายหลัง สิ่งหนึ่งที่พึงระวัง คือ นายจ้าง หรือว่าที่เจ้านายอาจเข้ามาดูข้อมูลที่สะท้อนลักษณะเฉพาะบุคคลตาม ทฤษฎีลักษณะนิสัย (Trait Theory) ซึ่งมี 5 เกณฑ์ คือ 1) ชอบเข้าสังคม ชอบแสดงออก (Extraversion) 2) ความซื่อตรง มีคุณธรรม (Conscientiousness) 3) ความเป็นมิตร ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ (Agreeableness) 4) การจัดการกับอารมณ์ (Neuroticism) 5) เปิดกว้างเพื่อประสบการณ์ทำงานหรือเรียนรู้ (Openness to Experience/Intellect) โดยทฤษฎีถูกใช้ในหัวข้อวิจัยที่ Northern Illinois University, Evansville University  และ Auburn University ได้ร่วมกันศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษา

เมื่อนำเกณฑ์ข้อ 1 คือ ชอบเข้าสังคม ชอบแสดงออก มาใช้คัดเลือกบุคลากร ก็มักมีการมองหาพฤติกรรมแสดงความคิดเห็นเชิงบวกต่อประเด็นรอบตัว มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีสมดุลในการแสดงออกทั้งภายในและภายนอก มุมมองต่อสังคม การเมือง องค์กร ครอบครัว หรือตนเองเป็นอย่างไร ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกบุคลากรก็แตกต่างกันไปตามตำแหน่ง เช่น นักประชาสัมพันธ์ หรือนักพัฒนาชุมชน ก็ย่อมต้องการคนที่คิดบวก และชอบแสดงออก แต่ถ้าผู้พิพากษา หรือพนักงานทำความสะอาด เกณฑ์ข้างต้นก็คงไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ ประเด็นคือท่านคิดว่าสิ่งที่ปรากฎใน profile ของท่าน เป็นภาพบวกหรือลบ หากปรากฎสู่สายตาของนายจ้าง

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1128/

http://www.lab.in.th/thaitrend/rank-follower.php

การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน

การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน
การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน

หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมเริ่มใช้ hashtag แล้วเริ่มเห็นความสามารถในการจัด categories ของ tweet เพราะ tweet ออกไปแล้ว ถ้าไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ก็จะมีค่าน้อยลงไปเยอะ โดยปกติผมเขียน blog ซึ่งสามารถจัด categories สามารถกำหนด tag ใส่ภาพ และคลิ๊ป แล้วแสดงทั้งหมดในบันทึกเดียว นอกจากนั้นยังคัดลอกทั้งฐานออกมา จะเก็บไว้ หรือย้าย server ก็ยังทำได้ แต่กับ tweet แล้วต่างกันเยอะ ก็คงเพราะเป้าหมายของ twitter เป็นเพียง microblog เท่านั้น
#royalwedding

บางส่วนของประเด็นที่ผมสนใจ
– กรณีศึกษา ก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง
http://www.facebook.com/JekmengNoodl
– ผู้เขียนคำนิยม คือ จักรพงษ์ คงมาลัย thumbsup.in.th และ jakrapong.com
– ปกหลัก ประชาสัมพันธ์หลักสูตรของ บัณฑิตวิทยาลัย ม.สยาม
– สี่สีทั้งเล่มแต่ราคาเพียง 179 บาท
– เล่าเรื่องคลิ๊ป โดยเฉพาะ sophie ของ google หรือน้องนิม
– ทำให้ผมหาคลิ๊ป H205 HD Camcoder ของ samsung

– สถิติ
http://www.klout.com
Klout measures your influence on your social networks

การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน
เขียนขึ้นเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของผู้เขียนที่ต้องการแนะนำแนวทางการใช้งาน ที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้อ่านหรือผู้ที่กำลังเริ่มศึกษา ผู้ที่ต้องการนำเครื่องมือต่างๆ ในโลกออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงาน หรือกิจการของตนเอง รวมถึงตัวอย่าง บทสัมภาษณ์ของผู้ที่สามารถนำเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกด้วย
ผู้เขียน รุ่งโรจน์ ศิริพรมงคล @tuirung อรนุช เลิศสุวรรณกิจ @mimee
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การสร้างเเบรนด์
บทที่ 3 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
บทที่ 4 เปิดตัวสินค้าเเละบริการ
บทที่ 5 ขายของบนโลกโซเชียลมีเดีย
บทที่ 6 กรณีศึกษาของธุรกิจไทยกับโซเชียลมีเดีย

http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9786167240206

เล่นเฟซบุ๊คนาน อาจทำให้ผิดปกติทางจิต

สมาคมจิตวิทยาอเมริกา (American Psychological Assasociation) ได้นำเสนองานวิจัยโดยสำรวจพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการเข้าไปดูกิจกรรมต่าง ๆ บนเว็บไซต์ facebook  พบว่า วัยรุ่นเล่น facebook มีทั้งข้อดีและข้อเสีย   แต่ถ้าหากปล่อย เล่น facebook มากเกินไปอาจส่งผลกระทบทางจิตใจหลายอย่างดังนี้
– เกิดอาการติด  หลงตัวเอง มีอารมณ์ก้าวร้าว
– ไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดเรียนเพิ่มขึ้น ผลการเรียนแย่ลง
– วิตกกังวล ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า
– เสพติดอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน เช่น ติดแชต ติดเกม เป็นต้น
– ทำให้มีปัญหานอนดึกมากขึ้น พักผ่อนไม่เพียงพอ

แต่จากงานวิจัยนี้ก็ยังมีข้อดีเกี่ยวกับการใช้ facebook ด้วย คือการดูแลเอาใจใส่เพื่อน เห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แม้ว่าเราจะอยู่ในที่ต่างกันไกลแค่ไหน ก็ยังสามารถติดต่อกันได้และเป็นการเรียนรู้การเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการรวมกลุ่มทำกิจกรรมดีๆของชาว facebook บนโลกความเป็นจริงที่ รวบรวมสมาชิกทำเพื่อสังคมเป็นจำนวนมากได้ ซึ่งมีจำนวนกลุ่มมากมาย

ผู้ใหญ่ควรดูแลแนะนำเรื่องเนื้อหาที่เหมาะสมบนโลกอินเทอร์เน็ต ให้กับลูกๆ ให้รู้เนื้อหาไหนดีไม่ดี ควรและไม่ควรทำและต้องเรียนรู้ปรับเข้าหากิจกรรมทางสังคมออนไลน์กับลูกๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและชี้นำคอยตัดเตือนลูกๆด้วยไม่ให้ลูกหลงผิดจากโลกออ นไลน์ ส่วนเด็กๆวัยรุ่น ก็ควรแบ่งเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต สลับกับพบกับเพื่อนบนโลกแห่งความเป็นจริง รวมทั้งแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสือการทบทวนเนื้อหาตำราด้วย ทั้งในหนังสือและเนื้อหาบนโลกอินเทอร์เน็ต วิธีนี้จะช่วยให้ผลการศึกษาที่ดีต่อลูกได้ด้วย

http://www.it24hrs.com/2011/facebook-teens-study/
http://mashable.com/2011/08/08/facebook-teens-study/

tweet มาก อาจทำสมาธิสั้น .. จริงหรือ

การทวิต หรือการรับส่งข้อความอันจำกัดปริมาณมาก โดยไม่มีการประมวลผล จะส่งผลทำให้สมาธิสั้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เช่นที่ปรากฏในงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญจากสกอตแลนด์

ในยุคที่การไหลบ่าของเทคโนโลยีถาถั่งเข้าใส่ ผู้คน ตั้งแต่อินเทอร์เน็ต เอสเอ็มเอส ไฮไฟว์ มาถึงยุคทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และแบล็กเบอร์รี่ จนก้าวตามแทบไม่ทัน มีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่าการเล่นสื่อไอทีเหล่านี้ หากไม่มีการประมวลผลแล้ว จะมีผลต่อการพัฒนาความจำ อันส่งผลต่อเนื่องทำให้สมาธิสั้นได้

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นของ ดร.เทรซีย์ อัลโลเวย์ (Dr.Tracy Alloway) นักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านความจำระดับใช้งาน (Working Memory) เป็นความจำระยะสั้นชนิดหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยสเตอร์ลิง (University of Stirling) ประเทศสกอตแลนด์ ที่ฝึกเด็กที่เรียนช้าให้มีความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้นและได้ผลเป็นที่น่าพอ ใจ มีพัฒนาการความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้น โดยงานชิ้นนี้เผยให้เห็นว่ากระบวนการจำต้องมีทั้ง การจำ และ การประมวลผล

นอกจากนี้ งานวิจัยยังครอบคลุมไปถึงสังคมออนไลน์ในยุค 2009 ด้วย กรณีนี้การเล่นเกมซู โดกุ และการอัพเดทเฟซบุ๊ก จะใช้การประมวลผลต่างกับการเล่นทวิตเตอร์ และ ยูทู้บ ตลอดจนการส่งข้อความทั่วไปเป็นการได้ข้อมูลอย่างรวบรัดและเข้ามาเป็นปริมาณมาก ไม่ก่อให้เกิดการประมวลผล จึงไม่เกิดการพัฒนาความจำ ตรงกันข้ามข้อมูลปริมาณมากยังส่งผลให้สมาธิสั้นลง และทำให้สมองไม่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท

ทวิตเตอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม 2549 เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก ผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร เพื่อระบุว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือทวีต (tweet) โดยข้อความอัพเดทที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์ จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ได้หลายช่องทาง ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากสังคมออนไลน์ในประเทศไทย โดยเฉพาะในหมู่เด็กวัยรุ่นและคนทำงาน

สุกรี พัฒนภิรมย์ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีไทยกริดแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญทวิตเตอร์ ไม่เชื่อว่าการเล่นทวิตเตอร์จะมีส่วนทำให้สมาธิสั้น สาเหตุของสมาธิสั้นอาจเกิดจากนิสัยดั้งเดิมตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ ที่ถูกยัดเยียดให้เรียนเยอะ หรือทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ตลอดจนการดูโทรทัศน์ที่ถูดยัดเยียดด้วยข้อมูลที่เปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว

“เวลาที่ผมต้องการสมาธิ ผมก็มีสมาธิอยู่กับมันได้นะ ส่วนงานวิจัยที่บอกว่าเล่นทวิตเตอร์แล้วสมาธิสั้น ผมว่ามันไม่เกี่ยวกัน หากจะสมาธิสั้นก็คงเริ่มตั้งแต่เรามีเพจเจอร์แล้ว ในมุมกลับกันผมว่าข้อความสั้นๆ ทำให้เราต้องใช้สมาธิในการอ่านให้ทัน แถมข้อความสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อสื่อสารกันเร็วดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตอบสนองทันทีหรือไม่”

ตรงกันข้าม สุกรีกลับแสดงความเป็นห่วงการใช้ บีบี หรือแบล็กเบอรี่ (Black Berry : โทรศัพท์มือถือรุ่นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้) มากกว่าการเล่นทวิตเตอร์ เพราะสร้างความคาดหวังให้มีการตอบสนองทันที หากไม่มีการตอบสนองก็อาจนำไปสู่การทะเลาะได้ เมื่อเราส่งข้อความไปทางบีบี จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าได้รับหรือยัง อ่านหรือยัง แล้วเหตุใดถึงไม่ตอบกลับมา จะสร้างความหงุดหงิดจนนำไปสู่การทะเลาะกันหลายรายแล้ว

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มองว่า ปัจจุบันผลกระทบจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เด็กไทยสมาธิสั้นมากขึ้น ไม่จำกัดเพียงแค่ทวิตเตอร์เท่านั้น ยังรวมถึงการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การแชทเอ็มเอสเอ็นด้วย เนื่องจากธรรมชาติของเทคโนโลยีมันจะเปลี่ยนแปลงความสนใจไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คนเรามีความสามารถ หรือสมาธิในการแยกแยะข้อมูลได้ลดน้อยลง

การใช้ไอทีในรูปแบบนี้จะทำให้สมองเชื่อมโยง คิดวิเคราะห์ กระบวนการตอบโต้ไม่เป็นระบบ ดังนั้นจึงมีแนวคิดใหม่ที่จะไม่เอาระบบไอทีเข้าไปติดตั้งอยู่ในห้องเรียน ระดับอนุบาล เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องเสริมสร้างสมาธิ รู้จักรอคอย รู้จักแยกแยะ ควรเน้นการอ่านและการเขียนมากกว่า” นพ.ยงยุทธ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีสิ่งใหม่ๆ มาทดแทนเสมอ นพ.ยงยุทธ จึงแนะนำว่า ควรสร้างภูมิต้านทานในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ด้วยการลดการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบันเทิง แต่เน้นเพื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น หากเด็กใช้ไอทีเพื่อความบันเทิง ผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กำหนดเวลาเล่นให้ชัดเจน หากเป็นชั้นประถมก็วันละครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง ที่สำคัญไม่ควรให้เยาวชนใช้คอมพิวเตอร์ในพื้นที่ส่วนตัว เพราะอาจเข้าถึงเรื่องทางเพศ หรือความรุนแรงได้

“การดูแลวัยรุ่นเรื่องการใช้ไอที ผู้ปกครองต้องกำหนดกติกา และส่งเสริมให้ทำกิจกรรมทดแทน เช่น เข้าร่วมกิจกรรมวงโยธวาทิต จะทำให้เด็กสนใจไอทีน้อยลง เมื่อได้ทำกิจกรรมอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการและมีสมาธิมากขึ้น” นพ.ยงยุทธ กล่าว

เช่นเดียวกับ ดร.สุภาพร ธนะชานันท์ อาจารย์จากสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (มศว) ยอมรับว่า ผลการวิจัยในต่างประเทศชี้ให้เห็นว่า สื่อรูปแบบต่างๆ มีอันตรายต่อเด็ก แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กไม่ถูกสื่อครอบงำทำอันตรายได้ หากเด็กคนนั้นมีจิตใจ ความคิดแยกแยะสิ่งผิดถูกได้ และมีสิ่งแวดล้อมที่คอยปกป้องพวกเขา มีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยดูแลและกำหนดเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต หากไม่มีใครควบคุมเด็กสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ตลอดทั้งวัน อาจส่งผลเสียต่อเด็กได้

“ไม่โทษสื่อนะที่ทำให้เด็กได้รับผลกระทบต่างๆ แต่จะโทษผู้ดูแลสื่อมากกว่า อย่างที่อเมริกาเด็กๆ ของเขาจะไม่มีโอกาสได้เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เขาจะห้ามจริงๆ มีการบล็อกไว้เลย ส่วนเด็กก็จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ที่จะไม่เข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม แตกต่างกับเมืองไทยมาก” ดร.สุภาพร กล่าว

อย่างไรก็ดีผลการวิจัยที่อ้างถึงการเล่น ทวิตเตอร์ทำให้สมาธิสั้นนั้น ดร.สุภาพร บอกว่า การจะทำให้เชื่อได้ว่าคนมีสมาธิสั้นจากการเล่นทวิตเตอร์จริง หรือไม่ ต้องมีการทดลองก่อน คล้ายๆ กับการใช้โทรศัพท์ที่ถูกคาดเดาว่าทำให้สมาธิสั้น ซึ่งอาจไม่เป็นเรื่องจริง และเชื่อว่าเด็กที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นล้านๆ คนในประเทศไทยไม่ได้สมาธิสั้นทุกคน แต่อาจเป็นคนส่วนน้อยเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

สมาธิสั้น เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ อาการสมาธิสั้นในเด็กเล็กวัย 3-5 ขวบ จะแสดงอาการไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้

สำหรับอาการที่พบในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปมี 3 กลุ่มอาการ คือ 1.ไม่มีสมาธิ ทำผิดพลาดสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ทำงานช้า หากเป็นสิ่งที่สนใจมากๆ เช่น วิดีโอเกมหรือรายการโทรทัศน์ ก็อาจตั้งใจดูเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อเนื่องได้ 2.อาการอยู่ไม่สุข ชอบเดินไปมาในห้อง ถ้าไม่เดินก็จะนั่งไม่อยู่นิ่ง ไม่มีระเบียบในการทำสิ่งต่างๆ 3.ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้ มักพูดมาก พูดแทรก รอคอยไม่เป็น

http://www.tlcthai.com/facebook/twitter-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%86-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88-%E0%B8%97/

twitter ของนายกปู ถูกแฮก

hack twitter นายกยิ่งลักษณ์
hack twitter yingluck

2 ต.ค.54 ฟังข่าวค่ำว่า วันนี้ช่วงเช้าเวลาประมาณ 10.20น. ผู้ใช้ twitter ที่เป็น follower ของ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร @PouYingluck จะพบข้อความแปลก ๆ ที่ไม่น่ามาจากนายก จากนั้น 10.50น. ก็มีข้อความใน  Facebook ของนายกยิ่งลักษณ์ ว่า  “ขอเรียนให้ทราบว่า ขณะนี้มีคนแฮ็ก Twitter @PouYingluck ข้อความใด ๆ ที่ปรากฎขณะนี้ ไม่ได้เป็นข้อความของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ทีมงาน)”
แล้ว น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ได้ออกมากล่าวว่า กำลังให้สำนักงานปราบปรามการกระทำผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ดำเนินการหาตัว คนร้ายที่เข้าไปเจาะระบบข้อมูล และใช้ทวิตเตอร์ @PouYingluck โดยข้อมูลเบื้องต้นพบว่า แฮคข้อมูลและทวิตผ่านแอพบน iPhone แล้วเปลี่ยนรหัสผ่านของทวิตเตอร์นายก
ซึ่งผู้กระทำน่าจะมีความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปีพ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ก็คงต้องติดตามข่าวต่อไปในวันพรุ่งนี้ครับ

http://twitter.com/#!/@pouyingluck
http://www.ninetua.com/internet/twitter-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99-hack/
http://thaimarketing.in.th/twitter-pm-hacked.html

แบไต๋ไฮเทค เล่าเรื่องราวให้ฟัง
http://thaiinsider.info/news2011/multimedia/video/video/24

แถลงข่าวจับ hacker

แถลงข่าวถูก hack

สั่งคอมพิวเตอร์ด้วยคลื่นสมอง

ฟังข่าวทางช่องทีวีไทย เมื่อ 5 มี.ค.54 เวลา 19.45น. เรื่องการใช้คลื่นสมอง สั่งงานคอมพิวเตอร์ ถูกนำเสนอในงาน CeBIT 2011 โดย Guger Technologies เรียกว่า Intendix สามารถใช้ “สมอง” สะกดคำที่ต้องการพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่ต้องใช้มือ ซึ่ง Intendix เป็นอุปกรณ์อ่านคลื่นสมอง (EEG  :  Electroencephalography) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความบนคอมพิวเตอร์ด้วยจิตใจ (ที่ส่งผ่านคลื่นสมอง)
http://www.arip.co.th/news.php?id=413309

http://www.thaipbs.or.th/DailySchedule/
http://www.thaipbs.or.th/Clip/
http://www.thaiall.com/opinion/readonly.php?view=488