เด็กคิดเป็น การสอบโอเน็ตท่องจำ คุณธรรม กับการติวสอบ

wiriyah ชวนให้คิด
wiriyah ชวนให้คิด

เห็นภาพนี้จาก Facebook ของ Wiriyah Eduzones
ผมชอบที่ท่านชวนให้คิด เหมือนอ่าน ปุจฉา-วิสัชนา เลยครับ
มีข้อความว่า
อยากให้เด็ก คิดเป็น แต่เน้น ONET ท่องจำ
อยากให้เด็กมีคุณธรรม แต่สิ่งที่ครูทำคือ ติว

ผมอ่านแล้วน่าจะแยกได้ 2 เรื่อง ที่ชวนเด็ก กับผู้ปกครองคิดกันได้

เรื่องที่ 1
คงมีใครสักคน คิดว่า การคิดเป็นของเด็ก ไม่เกี่ยวข้องกับ ONET ท่องจำ
แต่มีบางคน คิดว่า การคิดเป็นของเด็ก เกี่ยวข้องกับ ONET ท่องจำ
แล้วอะไรคือความจริงล่ะ หรือจะไม่มีความจริง

เรื่องที่ 2
คงมีใครสักคน คิดว่า การทำให้เด็กมีคุณธรรม ไปเกี่ยวข้องกับการติวสอบ
แต่มีบางคน คิดว่า การทำให้เด็กมีคุณธรรม กับการติวสอบไม่เห็นเกี่ยวข้องกัน
แล้วสองเรื่องนี้เกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้องกันล่ะ
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/a.582316755123646.1073741850.109357035752956/905772969444688/

อาจารย์กูคือใคร

คำค้น นักศึกษา
คำค้น นักศึกษา

อาจารย์กูคือใคร (itinlife376)

คำว่า ครู อาจารย์ หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ผู้สอนให้ศิษย์เห็นแจ้ง แนะนำศิษย์ให้พ้นจากปัญหา ผู้เชี่ยวชาญทางปรัชญา ผู้มีความรู้สูง ผู้ให้ความรู้ให้คำแนะนำ เป็นที่พึ่งของผู้ไม่รู้ได้ เมื่อเทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลได้ถูกพัฒนาและเป็นที่ยอมรับว่าเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ตรงประเด็น และตอบคำถามได้ จึงมีศัพท์คำว่าอาจารย์กู หรืออาจารย์กู๋เกิดขึ้น หมายถึง เว็บไซต์กูเกิ้ล (google.com) ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูล เมื่อมีคำถามแล้วใช้คำค้นที่เหมาะสมก็จะได้คำตอบที่ต้องการเป็นส่วนใหญ่ เปรียบเสมือนผู้ช่วยแก้ปัญหา ตอบคำถาม และช่วยเหลือผู้ไม่รู้ได้เสมอ

ปัจจุบันร้านหนังสือหรือสำนักพิมพ์หลายแห่งเริ่มประสบปัญหาการทำธุรกิจ เพราะผู้คนอ่านสื่อสิ่งพิมพ์น้อยลง ดูทีวีน้อยลง ฟังวิทยุน้อยลง แต่เข้าอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ดูคลิ๊ปจาก youtube.com เพิ่มขึ้น ทำให้คนพันธุ์ใหม่เริ่มลดการซื้อหนังสือ แต่หาข้อมูล หาคำตอบจากกูเกิ้ลแทน และใช้ชีวิตในเครือข่ายสังคม หรือเกมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ มีอยู่วันหนึ่งผู้เขียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาอยากทราบว่านักศึกษาควรประพฤติตัวอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร จึงใช้คำว่านักศึกษาไปค้นในกูเกิ้ล โดยหวังว่าจะได้รับข้อมูลเชิงแนะนำจากอาจารย์กู

ผลการสืบค้นคำว่านักศึกษา จาก google.com ไม่เป็นไปดังที่คาดไว้ เพราะพบคลิ๊ปรุนแรง ภาพติดเรท และเว็บผู้ใหญ่ในช่วงต้นของรายการ ซึ่งเป็นเรื่อง sex และ violence  จึงเป็นที่มาของคำถามว่าเราหวังฝากผีฝากไข้ได้มากน้อยเพียงใดกับข้อมูลที่ได้จากอาจารย์กู ในขณะที่โลกเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคคลิ๊ก หรือยุคจิ้มเขี่ย เด็กประถม 1 เข้าถึงอาจารย์กูตามนโยบายของรัฐบาล เด็กมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัยต่างรู้จักอาจารย์กู แล้วครู อาจารย์ก็มักมอบหมายให้ไปสืบค้น แทนการพึ่งพาหนังสือที่ฉายภาพว่าทันสมัยรู้จักใช้เทคโนโลยี แม้อาจารย์กูจะตอบคำถามมากมายได้ถูกต้อง แต่ก็มีข้อมูลเชิงลบมากมายคละเคล้ากับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ก็เพียงแต่หวังว่าเด็กประถมจะมีวิจารณญาณในการเลือกรับสื่อ รู้จักผิดชอบชั่วดีผ่านการแนะนำจากครูประจำชั้น หากจะหวังให้กูเกิ้ลเลือกเฉพาะสารสนเทศที่ดีเชิงบวกอย่างเดียวก็คงไม่ได้ เพราะกระแสวัฒนธรรมเปลี่ยนไป ต่อไปก็คงหวังพึ่งได้แต่คำว่าวิจารณญาณของผู้รับสารเท่านั้น