คนไม่เหมือนคอมย่อมลำเอียงได้ (itinlife474)

โยกับบี ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน
โยกับบี ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน

น้ำต้มผัก ไม่มีน้ำตาล ถ้าบอกว่าหวาน แสดงว่าใช้ความรู้สึก

นั่งอ่านสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับ ได้เห็นความเหมือนและความต่างอย่างชัดเจน ทั้งสื่อท้องถิ่นและสื่อส่วนกลางต่างก็มีแนวโน้มเลือกข้างหรือลำเอียงไปทางผู้ให้การสนับสนุน โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่นที่มีค่าสนับสนุนต่ำทำให้ต้องรับผู้ให้การสนับสนุนมากขึ้น และทุกฉบับก็จะมีเนื้อหาเอนไปทางผู้ให้การสนับสนุน จนเหลือพื้นที่ให้กับข้อมูลข่าวสารลดลง ซึ่งมองได้ว่ามีความลำเอียง (Bias) ต่อสารที่สื่อออกไป อาจถือเป็นเรื่องปกติของสื่อที่อยู่ได้ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรหรือหน่วยงาน การลำเอียงอาจเกิดขึ้นน้อยกับสื่อที่มีทุนสนับสนุน หรืออยู่ได้ด้วยตนเอง

เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ใช่มนุษย์จึงไม่มีความรู้สึก ทำให้นำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีลำเอียง หรือไม่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจมาควบคุมจะปฏิบัติตามภารกิจที่กำหนด เช่นภาพยนตร์เรื่อง  Transcendence ที่คอมพิวเตอร์สมองมนุษย์ตั้งใจจะช่วยเหลือโลก แต่มนุษย์เป็นฝ่ายที่ตั้งข้อสงสัย และไม่ไว้ใจตามประสบการณ์ที่ผ่านมา มนุษย์เราบางครั้งกำหนดเป้าหมายไว้ทางหนึ่ง ทำแผนไว้ทางหนึ่ง ดำเนินการไปอีกทางหนึ่ง แล้วก็ไปสรุปผลอีกทางหนึ่ง ก็สามารถพบเห็นได้ เพราะความเชื่อเป็นปัจจัยให้มีพฤติกรรมเอนเอียงไม่สนใจความจริง ซึ่งอาศัยความพึงพอใจ และอารมณ์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ถ้าชอบก็จะหาเหตุผลมาแก้ต่างให้รอดพ้นจากการถูกวิพากษ์อยู่เสมอ

การลำเอียงเป็นเรื่องปกติ เพราะทำให้มนุษย์มีสังคม มีพรรคพวก มีกลุ่มอาชีพ ร่วมกันคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตัดสินใจร่วมกันตามมติของกลุ่ม ไม่ขัดแย้งกันในกลุ่มแต่เอนเอียงการตัดสินใจไปทางเสียงข้างมาก ทำให้เกิดพลังในการต่อรองกับสังคมภายนอก ร่วมเผชิญศึกเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่ม ต่างกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ลำเอียง ไม่รู้จักการผสมผสานความเชื่อ ถูกหรือผิดมีเพียงสองเงื่อนไขตามตรรกะตัดสินใจ แต่มนุษย์สามารถมองข้ามความผิดพลาดว่าเกิดได้ ทุจริตได้บ้าง โหดร้ายตอนที่หิวก็ได้ เช่นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น ยอมรับได้ถ้าตนเองได้ประโยชน์ หรือทำให้ตนเองอยู่รอด ซึ่งความอยู่รอดไม่ใช่เงื่อนไขที่คอมพิวเตอร์ต้องคำนึงถึง แต่สำหรับมนุษย์แล้วความอยู่รอดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จึงทำให้การเลือกข้างกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับมนุษย์

http://gossipstar.mthai.com/gossip-content/42157

การใช้เครือข่ายสังคมส่งเสริมท่องเที่ยว (itinlife408)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ปัจจุบันพบเห็นการใช้เครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำธุรกิจในหลายรูปแบบ ทั้งการแนะนำสินค้า การทำซีเอสอาร์ (CSR = Corporate Social Responsibility) การรับข้อเสนอแนะ ตอบข้อซักถาม  แลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้า การบอกต่อถึงผลการใช้ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าด้วยกันเอง จนหลายหน่วยงานใช้เป็นกลยุทธ์สร้างช่องทางให้ลูกค้าได้เข้าถึงเครือข่ายสังคมได้ง่าย บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ทันทีเมื่อซื้อ หรือทดลองสินค้า เช่น จัดมุมสวยงามสำหรับถ่ายภาพ ดำเนินการถ่ายภาพให้ลูกค้าแล้วอัพโหลดเข้าแฟนเพจของร้าน จัดตู้คอมพิวเตอร์ออนไลน์และกล้องสำหรับถ่ายภาพและอัพโหลดภาพเข้าโปรไฟล์ของลูกค้าได้ทันที

ปลายเดือนกรกฎาคม 2556 มีอบรมการใช้เครือข่ายสังคมอย่างสร้างสรรค์ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีตัวแทนจากแต่ละอำเภอ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ แต่มีเป้าหมายเดียวกัน จัดอบรมที่โรงเรียนลำปางกัลยาณี จัดโดยมหาวิทยาลัยเนชั่น หัวข้อประกอบด้วยการเชื่อมโยงระหว่างเฟสบุ๊คกับยูทูป แล้วเชื่อมไปยังบล็อก หรือเว็บไซต์ข่าว ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมรวมกลุ่มและตั้งชื่อกลุ่มในเฟสบุ๊คว่า tourlampang เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อสาร และผลักดันการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยผู้เข้าอบรมได้สร้างแฟนเพจของพื้นที่เป้าหมายที่ตนรับผิดชอบ สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้เครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือ

หัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การกำหนดโปรไฟล์ให้เป็นคนน่าคบและเป็นคนสาธารณะ การประยุกต์ใช้เฟสบุ๊คโปรไฟล์ แฟนเพจ กลุ่มปิด กลุ่มเปิด หรือกลุ่มลับ การสร้างแฟนเพจของแหล่งท่องเที่ยว การเขียนบันทึกเชิงสารคดี และการแบ่งปัน การเชื่อมโยงอัตโนมัติระหว่าง facebook.com, twitter.com และ youtube.com การฝึกตัดต่อคลิ๊ปโดยใช้ความสามารถของ youtube.com ที่ใช้ภาพนิ่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และเสียงประกอบ การสร้างและจัดการเพลลิสต์ (Playlists) ซึ่งครอบคลุมการทำสื่อประชาสัมพันธ์ 3 รูปแบบ คือ ภาพถ่าย ข้อความบรรยาย และคลิ๊ปวีดีโอ สนับสนุนให้ไทยรักษาสถิติการเป็นอันดับ 5 ของโลกที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด

+ http://thaiabc.com/lampangnet/admin/956/

+ https://www.facebook.com/groups/tourlampang/

ภาพความสำเร็จที่ปรากฎในสื่อ กับความจริง กับความฝัน

ภาพความสำเร็จที่ปรากฎในสื่อ กัยความจริง กับความฝัน
ภาพความสำเร็จที่ปรากฎในสื่อ กัยความจริง กับความฝัน

ที่มา
ผมเคยได้ยินว่ามนุษย์ในปัจจุบันบางกลุ่ม .. ยกแก้วเหล้าขึ้นมา แล้วชนกันพร้อมส่งเสียงอย่างมีความสุขว่า จงมีความสุข อายุยืน .. แต่ความจริง คือ สุราทำให้ขาดสติ เสียสุขภาพ ซึ่งเป็นที่มาของความทุกข์ต่อตนเอง และจะเป็นที่มาของความทุกข์ต่อคนอื่น หากขับรถจนเกิดอุบัติเหตุ .. แล้วดื่มเหล่าจะเป็นสุข หรืออายุยืนได้อย่างไร

ที่ปรากฎในสื่อ
พบในข่าวอยู่เสมอ ว่าการเป็นดารา นักร้อง นักแสดงจะมีค่าตัวสูง ได้เข้าสังคมไฮโซ ได้คู่ชีวิตที่ดีรักจริง หาเลี้ยงชีพอย่างสุจริตด้วยความสวย ความหล่อ ยิ่งเปิดเผยความสวยเท่าใดก็ยิ่งได้รับความนิยม ได้รับการชื่นชมจากสื่อ ผู้ใหญ่ในแวดวงก็เอ็นดู ได้ค่าตัวสูง เยาวชนบอกว่า นี่คือไอดอล (idol)

ความจริง
การวัดความสำเร็จของทรัพยากรบุคคล เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กลับใช้ฐานคิดเดียว คือ การศึกษา ที่วัดจากความรู้ความสามารถในการทำงาน วัดการว่างงาน วัดรายได้ หรือวัดสมรรถภาพ ทั้งที่ความสำเร็จอาจใช้ฐานคิดเกี่ยวกับ ดารา ดนตรี กีฬา หรืออื่น ๆ มาเป็นปัจจัยได้ .. เพราะเห็นความสำเร็จของ ดารา นักแสดงในทีวี จนผมอยากเปลี่ยนอาชีพไปเป็นพระเอกทุกครั้งที่ได้รับชมข่าว ก็ไม่ทราบว่าเยาวชนไทยจะคล้อยตามสื่อเหมือนผมรึเปล่า

ความฝัน
Thailand Got Talent
Miss Thailand Universe
Miss Motor Show
Sexy Model Award
Top of Actor & Actress

ไลฟ์บล็อก – สตอรีไฟ (Live Blog – Storify)

แฟนของผม วาง หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2555 แล้วก็ชำเรืองไปพบหัวข้อที่น่าสนใจ จึงหยิบขึ้นมาอ่าน เห็นคำว่า สตอรีไฟ และ บทบาทที่น่าสนใจของ นักนิเทศศาสตร์ หลายท่าน แล้วไปค้นข้อมูลจากเน็ต รวมถึงทดสอบใช้บริการของ http://storify.com/ajburin/storify ที่สามารถดึงเนื้อหาจาก social media มารวมกันใน post เดียวได้ง่าย แบบที่เรียกว่า right to left and up to down

คนข่าวยุคเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ (Facebook-Twitter) ต้องบูรณาการแบรนด์ตัวเองสู่ ไลฟ์บล็อก-สตอรีไฟ (Live Blog – Storify) … “สุทธิชัย หยุ่น” ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำทีมคนข่าวเนชั่นเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย @imsakulsri หรือ “สกุลศรี ศรีสารคาม” อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ มาอัพเดทเทรนด์โซเชียลมีเดีย 2012
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการใช้ “โซเชียลมีเดีย เพื่อการรายงานข่าว” (Social Media & Journalism) อ.สกุลศรี ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียนั้น จะช่วยเสริมความต้องการของผู้บริโภคจากสื่อกระแสหลัก เนื่องจากมีความเร็ว ความลึก สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ช่วยรายงานข่าวหรือใช้ข้อมูล ตลอดจนช่วยเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวนั้นได้
ขณะเดียวกัน คนข่าวก็ต้องสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงข่าวสารจากโซเชียลมีเดียมารวมไว้ เป็นแหล่งเดียว เพื่อเพิ่มความกว้างและลึกของประเด็นข่าวนั้นด้วยการใช้พื้นที่จากเว็บไซ ต์ข่าว แสดงผลจากการกระจายปัญหาไปยังฝูงชน เพื่อให้ร่วมค้นคำตอบ หรือวิธีแก้ปัญหา  อย่างกรณีน้ำท่วมซึ่งมีผู้เช็กอินเข้ามารายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วม กองบรรณาธิการต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลมานำเสนอผ่านเว็บไซต์ โดยเนื้อหาที่นำเสนอจะมีทั้งรูป คลิปวิดีโอ และเนื้อหา โดยให้เครดิตผู้ที่ส่งข้อมูลเข้ามาด้วย นอกจากนี้ คนข่าวก็ต้องเขียนบล็อกไลฟ์ เพื่อรายงานสดถ่ายทอดประเด็น ต่อยอดเนื้อหาข่าวนั้นๆ พร้อมด้วยคลิปและภาพ เพื่อดึงผู้คนในสังคมโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นแฟนคลับ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น

“ยกตัวอย่าง งานศพของวิทนีย์ ฮุสตัน ก็นำไลฟ์บล็อกมาอัพเดทความเคลื่อนไหวทั้งภาพ ข้อความ และคลิป หรือ “Cholas Kristof” ผู้สื่อข่าวจากนิวยอร์กไทม์ เขียนเฟซบุ๊กรายงานสดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เช่นเดียวกับ “Amanda michel” จากหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารตอบโต้ประเด็นข่าว โดยมี “สตอรีไฟ” รวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียไว้ในที่เดียวกัน” อ.สกุลศรี กล่าว
ทั้งนี้ “สตอรีไฟ” คือ การเล่าเรื่องด้วยโซเชียลมีเดีย มีลักษณะคล้ายกับการเขียนบล็อก แต่ “สตอรี่ไฟ” สามารถดึงข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ อย่าง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม, คลิปวิดีโอจากยูทูบ ฯลฯ ซึ่งอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้ในที่เดียวกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงลากและวาง (drag and drop) เท่านั้น ตอนนี้ก็มีเว็บข่าวจำนวนมากใช้บริการสตอรีไฟอยู่ อาทิ กอว์เกอร์ (Gawker), วอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal), การ์เดี้ยน (Guardian) เป็นต้น

ด้าน @jin_nationสมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์” บก.ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ผู้ผ่านประสบการณ์การทำข่าวตั้งแต่ยุคส่งข่าวทางโทรศัพท์สาธารณะ มาจนถึงยุคทวีตส่งข่าว ยอมรับว่า สื่อต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งใช้โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มาก และกำลังสนใจไลฟ์บล็อก และสตอรีไฟ ซึ่งเป็นการรวบรวมและนำเสนอข่าวที่น่าสนใจมากช่องทางหนึ่ง
“สุทธิชัย” เสริมว่า สตอรีไฟเป็นช่องทางที่น่าสนใจ คนข่าวทีวีสามารถนำไปขึ้นหน้าจอทีวีได้เลย แล้วอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านสตอรีไฟ ใครเริ่มทำก่อนจะเท่มาก ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียนอกจากจะมีประโยชน์ต่อคนทำข่าวแล้ว ยังใช้สร้างแบนด์ส่วนตัวได้ สมัยก่อนกระบวนการทำข่าว 80 เปอร์เซ็นต์จะเสียไปกับขั้นตอนการส่งข่าว แต่ปัจจุบันกระบวนการส่งข่าวเร็วขึ้นใช้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงมีเวลามากพอที่จะทำข่าวที่มีเนื้อหา กว้าง ลึก ผ่านโซเชียลมีเดียได้

“นักข่าวของเราปรับตัวใช้โซเชียลมีเดียมา 4-5 ปีแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พวกเราจะยืนอยู่แถวหน้า ก้าวนำคนอื่นอยู่ 2-3 ก้าว หากถึงวันที่โซเชียลมีเดียทำเงินได้ เราจะเป็นกลุ่มแรกที่อยู่รอด เพราะเราก้าวพ้นความกลัวมาแล้ว และผมยังเชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะไม่ตาย สื่อทีวีก็ไม่ตาย เพราะมีโซเชียลมีเดียมาเสริมซึ่งกันและกัน” สุทธิชัย กล่าว

http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/03/12/entry-1

http://newsjunkies-suthichaiyoon.blogspot.com/2012/03/live-blogs-storify.html

http://www.wired.com/gadgetlab/2011/10/apple-iphone-5-live-blog/

live blogging
live blogging

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1314/