นิทานธรรม : ทั้งปู่ ทั้งเข่ง

เด็กในตะกร้า หิ้วไปไหนนะ
เด็กในตะกร้า หิ้วไปไหนนะ

ครอบครัวหนึ่ง .. มีผู้อาศัยอยู่ด้วยกัน 3 วัย คือ ปู่ พ่อ และลูกชาย ปู่ มีอายุ 83 ปี ป่วยเป็นอัมพาตมาหลายปีแล้ว ไม่มีรายได้ นอกจากเงินที่รัฐบาลจ่ายไห้เดือนละ 500 บาท เท่านั้น พ่ออายุ 40 ปี มีอาชีพรับจ้าง ภรรยาตายด้วยอุบัติเหตุ แต่ยังครองตัวเป็นโสด เพราะเป็นห่วงลูกชายวัย 10 ขวบ พ่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ จึงมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างมาก
จึงวางแผนกับลูกชายว่า ปู่อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่จะสร้างปัญหาให้ครอบครัว รายได้มีน้อยอยู่แล้ว ยังต้องเสียค่ายาค่าอาหารดูแลปู่อีก “เอาอย่างนี้ดีกว่า เราพาปู่ไปทิ้งน้ำเสีย จะได้หมดภาระเสียที”
พ่อมอบหมายให้ลูกชายไปหาเข่งมาใบหนึ่ง สำหรับใส่ปู่ลงเรือไปทิ้งปากน้ำ พอได้เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ขณะที่ปู่กำลังหลับ สองคนพ่อลูกช่วยกันหามปู่ใส่เข่งลงเรือ แล้วพายเรือไปยังปากน้ำทันที เมื่อถึงที่หมายพ่อบอกลูกชายว่า
“มาช่วยกันยกทั้งปู่ทั้งเข่งโยนลงน้ำเลย”
“เอาแต่ปู่โยนลงน้ำ เข่งไม่ต้อง” ลูกชายแย้ง
“เอาน่า ทิ้งทั้งปู่ทั้งเข่งนั่นแหละ” พ่อยืนยัน
“เอาเข่งไว้ โยนแต่ปู่ลงน้ำ” ลูกชายว่า
“เอ็งจะเอาเข่งไว้ทำไมอีกวะ” พ่อชักฉุน
“เอาไว้ใส่พ่อตอนแก่ไง” ลูกชายตอบ
ท่านอาจจะเป็น “คุณปู่” ในนิทานเรื่องนี้ไปอีกคนก็ได้ ถ้าไม่ได้ดูแลผู้สูงวัยให้ดี หรือไม่เตรียมตัวให้ถูกวิธีเสียบัดนี้
+ https://www.gotoknow.org/posts/475641 *
+ http://www.thammasatu.net/forum/index.php?topic=13174.0
+ http://www.sri.cmu.ac.th/~elanna/lannachild/scripts/tale/folktale/nitan_folk_haitukkeatan.html
+ http://lessons-in-my-life.exteen.com/20100319/entry
+ http://www.thaiall.com/ethics

14 มิ.ย.59 พ่ออายุ 73 ปีจ้างวานฆ่าลูกชายนักเรียนนอกอายุ 48 ปี
ถูกสอบจนถึงตี 2 ก่อนให้ประกันตัวในวงเงิน 5 แสน
เพราะเห็นว่าไม่มีพฤติกรรมหลบหนี ป่วยหลายโรค
เหตุจากขัดแย้งขายที่ดิน 100 ล้าน
+ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000045601
+ http://www.thairath.co.th/content/638900

โซเชียลบิดเบือน (itinlife529)

โซเชียลบิดเบือน (social disguise)
โซเชียลบิดเบือน (social disguise)

ปัจจุบันในโซเชียลมีเดีย (Social Media) ใครจะโพสต์อะไรก็ทำได้ บ่อยครั้งที่พบพฤติกรรมที่เรียกว่า ไม่คิดก่อนโพสต์ แต่พบพฤติกรรมอีกแบบที่เรียกว่า คิดก่อนโพสต์ ในมุมที่เจตนาบิดเบือนความจริง จนเป็นปัญหาต่อสังคม การเมือง และการปกครอง จน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม (บิ๊กป้อม) ต้องออกมาขอเจ้าหน้าที่ติดตามการเสนอข้อมูลทาง Social Media ที่บิดเบือนจากความจริง และไม่ยอมผู้ไม่หวังดีใช้สื่อนำเสนอเรื่องราวที่เป็นเท็จ สร้างความแตกแยกของคนในชาติ กระทบต่อสถาบันอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน ซึ่งผู้เขียนอ่านพบในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

การบิดเบือนนอกจากประเด็นทางการเมืองที่ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายอย่างเด่นชัดแล้ว ก็มีประเด็นมากมายที่ปรากฏออกมาให้คิดเห็นได้ว่ามีการบิดเบือนความจริง อาทิ การศึกษา สุขภาพ ความเชื่อลี้ลับ เมื่อนึกถึงคำศัพท์ที่เกี่ยวกับโซเชียลมีเดียบิดเบือนก็นึกถึง 3 คำ ดังนี้ Social disguise, Social distortion และ Social blending การบิดเบือนความจริงนั้นเกี่ยวข้องกับคำว่า คิดก่อนเชื่อ (Think first) และ คิดก่อนโพสต์ (Think before you post) ปัจจุบันเรามักไม่ได้คิดก่อนโพสต์ เพราะการโพสต์เป็นเรื่องง่าย คิดอะไรก็โพสต์ไป ด่าใครในข่าวก็ไม่เกิดอะไรขึ้น เห็นการด่ากันในข่าวโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องปกติ จนส่งผลให้คิดก่อนเชื่อลดน้อยถอยลง เชื่ออะไรง่ายกว่าแต่ก่อนมาก ที่เห็นได้ชัด คือ เรื่องสุขภาพ บอกว่าทานอะไรแล้วเป็นพิษก็เชื่อ เห็นอะไรแล้วเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติก็เชื่อ จน ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เก็บประเด็นมาเล่าในรายการวิทยาตาสว่าง

ในทางการเกษตรระยะหลังเห็นสื่อเล่าเรื่องความสำเร็จของการทำเกษตร เช่น ออกงานไปปลูกไผ่กิมซุ่ง ปลูกมะลิ ปลูกดาวเรือง หรือ ปลูกผักหวานรายได้เป็นล้าน มีความจริง 2 ข้อ คือ ทำเกษตรแล้วสำเร็จ กับทำเกษตรแล้วล้มเหลว ดังนั้นต้องคิดก่อนเชื่อ เพราะการเกษตรเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่ต้องใช้เงินเพื่อให้ได้เงิน ไม่ว่าจะเกษตรผสมผสาน เกษตรพันธสัญญา หรือค้าขายต่างก็มีความเสี่ยง มีเกษตรกรมากมายที่ไม่ประสบความสำเร็จเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ที่ออกมาประท้วงขอรัฐช่วยเยี่ยวยา หรือผลผลิตมากเกินความต้องการจนต้องนำมาเท เพื่อประท้วงให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือ ดังนั้นจะเชื่ออะไรก็ต้องคิดก่อน ศึกษาตนเอง ตลาด ความเสี่ยง ประเมินรอบด้าน และสรุปให้ชัดเจน ก่อนตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิต เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จได้ดังที่ข่าวนำเสนอ

+ http://www.baanmaha.com/community/threads/51297

+ http://www.thairath.co.th/content/506598

+ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304399853&grpid=no&catid=51

บางทีโซเชียลก็อาจไม่ได้บิดเบือนก็ได้
เป็นที่ตัวเรามังครับ ที่ไม่คิดให้ดีก่อน ข่าวอาจดีอยู่แล้วก็ได้

ในทาง การเสี่ยงโชค ระยะหลังเห็น สื่อเล่าเรื่องรางวัลที่ 1
ใคร ๆ ก็ถูกได้ รวยได้
ผมงี้เชื่อสนิทใจเลยว่าสักวันต้องเป็นผม
หลัง ๆ ลงทุนค่อนข้างเยอะซะด้วย
ผมก็โทษสื่อไว้ก่อน เหมือนคำว่า
รำไม่ดี โทษปี่ โทษกลอง
นี่ถ้าสื่อไม่ลงข่าวว่าคนธรรมดาอย่างผมก็มีโอกาส
ผมก็คงไม่ทุนเยอะ ๆ หวังเยอะ และผิดหวังเยอะ
แบบที่ผ่าน ๆ มา สรุปว่าง
“ปี่กลองผิดครับ ส่วนผมน่ะรำถูกล่ะ”

เพลงสังคมก้มหน้า ของ cobrak

social,internet,facebook,instagram
social,internet,facebook,instagram
กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
กลอนแปด บทหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละวรรคมี 8 คำ

เนื้อเพลง สังคมก้มหน้า มีลักษณะคล้ายกลอนแปด
แต่สัมผัสระหว่างวรรค หรือระหว่างบทไม่ตรงตามรูปแบบของกลอนแปด
http://www.tangklon.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%998


บทที่ 1
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 2
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 3
โลกสมัยใหม่ที่ล้ำหน้ากว่ายุค[เดิม] วิ่งตามกันเท่าไรเหมือนกับอยู่ที่[เดิม]
บทนิยามเพิ่มเติมเรียกสังคมก้ม[หน้า] เปิดเผยกันทุกอย่างอวัยวะใต้ร่ม[ผ้า]
บทที่ 4
ห่างกันแค่สองวาก็ต้องคุยด้วยอัก[ษร]  อยากย้อนยุคกลับให้นารายณ์มาปัก[ศร]
บทกลอนพุทธทาสเคยบอกมา[ตลอด] ทำนายไว้ไม่ผิดมันคือยักษ์ตา[บอด]
บทที่ 5
ฮันโหลโซเชียลสังคมบนหน้า[จอ] สร้างภาพบ้าบอมีแต่ติ่งที่บ้า[ยอ]
ทำงานผ่านเน็ตแค่ห้าชั่วโมงต่อ[วัน] กับข้อความลูกโซ่มันน่ารำคาญพอพอ[กัน]
บทที่ 6
เทคโนโลยีไม่สามารถแทนความ[รัก] เขย่าแค่กริกเดียวก็ได้ซั่มกันตาม[นัด]
อินเทอร์เน็ตเข้าเส้นต่อให้ขายรถหรือดาวน์[บ้าน] มือถือต้องติดตัวจะได้ส่องเรื่องชาว[บ้าน]
บทที่ 7
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 8
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 9
อดีตของดวงตาคือหน้าต่างของหัว[ใจ] ยุคนี้มันไม่ใช่แถมยังด่าว่าหนักหัว[ใคร]
เอามีดกรีดมือถ่ายรูปลงไอ[จี] ผอมเห็นถึงซี่โครงโพสต์บอกอ้วนจะทำยังไง[ดี]
บทที่ 10
ถ้าพี่ไลค์มาน้องไลค์กลับไม่โกงร้อยเปอร์[เซ็น] เพื่ออะไรไม่รู้ละสรยุทธมาถกสักประ[เด็น]
ทะเลาะอยู่กับเมียมาโชว์โง่หน้าเฟส[บุ๊ค] ออกมาแฉมาราธอนแทบจะลงกิเนส[บุ๊ค]
บทที่ 11
กินข้าวแค่นี้มาอวดอะไรกันนัก[หนา] โพสต์ทุกการเคลื่อนไหวอันนี้ต้องพาไปรัก[ษา]
หน้าใสฟรุ้งฟริ้งหน้าจริงตาย[สนิท] เซลฟี่ไม่สะใจต้องเสริมไม้เท้ากาย[สิทธิ์]
บทที่ 12
ติดแท็กขายเสื้อผ้าขายครีมตั้งแต่เปิด[ใช้] นี้มันเฟสบุ๊คไม่ใช่ตลาดเปิด[ท้าย]
พยายามเป็นเซเรปต้องโชว์นมโชว์ใต้สะ[ดือ] วิจารณ์กันให้ตายแต่ยิ่งดังตะพึดตะ[พือ]
บทที่ 13
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 14
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 15
ตะกอนความคิดเอาสมองออกมาเว้น[แยก] เป็นเกียรติวงศ์ตระกูลศึกชิงเม้น[แรก]
มันกลับเป็นเรื่องแปลกเสพข่าวไม่ต้อง[กรอง] ก้มหน้าก้มตาข้ามถนนก็ไม่ต้อง[มอง]
บทที่ 16
โลกแห่งจิตวิทยาเดินหน้าด้วยอา[รมณ์] เหตุผลคือเรื่องรองเรื่องหลักคือสัป[ดน]
นั่งยิ้มกับมือถือก้มหน้าบนบีที[เอส] อิสระในกรงทองเหมือนกับปล่อยให้ไทยมีฟรี[เซ็ก]
บทที่ 17
แมซซาร์ทมันทั้งวันคุยกับเพื่อนอยู่ประ[จำ] พ่อแม่นั่งอยู่บ้านไม่เห็นคุยสักกะ[คำ]
หันหลังให้กับโลกกลัวความจริงมาข่วน[ตัว] ลืมสังคมส่วนร่วมอยู่กับโลกส่วน[ตัว]
บทที่ 18
คนรวยคนจนร้อยบาทมีค่าไม่เท่า[กัน] คนคิดคนทำหนึ่งประยะไม่เท่า[กัน]
คนชั่วคนดีสิบนัดประสงค์ไม่เหมือน[กัน] คำพูดหนึ่งประโยคคนเป็นล้านก็ตีความหมายไม่เหมือน[กัน]
บทที่ 19
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 20
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 21
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] ไลค์แรกเมนท์แรกสังคมก้ม[หน้า]
เร่งสร้างแลนด์มาร์คสังคมก้ม[หน้า] เฮ้ย!!มีถั่วไหมสังคมก้ม[หน้า]
บทที่ 22
ดาราโชว์ร่องสังคมก้ม[หน้า] เยสนมธรรมะสังคมก้ม[หน้า]
เกาหลีขี้โกงสังคมก้ม[หน้า] ผมยืนขึ้นเลยไอ้สังคมก้ม[หน้า]
คลิ๊ปนาน 4.42 นาที
พูดกันดี ๆ เรื่องสังคมก้มหน้า

สังคมก้มหน้า (itinlife468)

สังคมก้มหน้า (social ignore)
สังคมก้มหน้า (social ignore)

http://www.oh-i-see.com/blog/2013/02/11/technology-in-everyday-life-plug-away-or-pull-the-plug/

มนุษย์เราถูกยอมรับว่าเป็นสัตว์สังคมมานาน มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมหาอาหาร เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สร้างบ้านเมือง แลกเปลี่ยนสินค้า โดยเฉพาะสังคมครอบครัวของไทย ถือเป็นสังคมที่เหนียวแน่นที่เคยอยู่รวมกันทั้งปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน เหลน จนเมื่อไม่นานมานี้ มนุษย์พัฒนาตนเองให้มีความเจริญขึ้น เกิดการแยกตัวระหว่างสังคมเมือง และสังคมชนบทอย่างชัดเจน เป็นผลให้ครอบครัวไทยมีการแยกตัวผ่านกลไกทางการศึกษา เด็กมักต้องไปเรียนหนังสือในเมือง เมื่อมีความรู้สูงขึ้นก็จะเข้าไปทำงานในเมือง ทำให้สังคมครอบครัวมีขนาดเล็กลงเหลือเพียงพ่อแม่ลูกและอาศัยในบ้านขนาดเล็กลงตามหัวเมืองใหญ่

ความเจริญของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ที่เรียกว่า สังคมก้มหน้า (Social ignore) คือ การเพกเฉยต่อสังคมรอบตัว แต่ให้ความสำคัญกับสังคมเสมือนจริงมากกว่า ในอดีตเรามักสื่อสารโต้ตอบกับคนใกล้ตัวโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีก็สามารถพูดคุย แสดงกิริยา หรือสัมผัสกันได้โดยตรง เมื่อสังคมเสมือนจริงเข้ามาเป็นที่นิยม ช่วยให้การสื่อสารได้สะดวกทั้งระหว่างบุคคล เป็นกลุ่ม หรือสาธารณะก็ทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ทำให้ความสัมพันธ์ในสังคมกับคนรอบตัวเปลี่ยนไป เพราะเวลามีจำกัด แต่ละเสี้ยวเวลาก็จะทำได้เพียงกิจกรรมเดียว หากติดอยู่กับกิจกรรมหนึ่งก็อาจเพิกเฉยต่ออีกกิจกรรมหนึ่งโดยไม่รู้ตัว

เคยดูคลิ๊ป disconnect to connect ของ dtac ที่แสดงให้เห็นชัดว่าปัจจุบันพ่อแม่กับลูก เริ่มมีความสัมพันธ์ที่ถอยห่าง แม้อยู่ด้วยกัน ทานข้าวด้วยกัน แต่ก็ก้มหน้าก้มตาคุยกับคนในสังคมเสมือนจริง ในสังคมคนทำงานที่ประชุมร่วมกับเพื่อน หรืออยู่กับแฟน ก็ยังแยกตัวเองไปอยู่ในสังคมเสมือนจริง เช่น อัพเฟส (update facebook status) หรือส่งไลน์สติกเกอร์ (line sticker) หรือทวีต (tweet) หรือดูคลิ๊ปในยูทูป ทั้งที่เวลานั้นมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับคนใกล้ตัว ถือเป็นการเพิกเฉย (ignore) ต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน แม้ยังไม่ใช่ปัญหาสังคมที่รุนแรง แต่สะท้อนถึงมารยาท หรือจริยธรรมของคนในสังคมที่เสพติดสังคมเสมือนจริง ที่ให้ความสำคัญต่อคนใกล้ตัวน้อยกว่า ปัญหาทั้งหมดแก้ได้ด้วยการทำให้ผู้คนรักษามารยาทที่มีต่อครอบครัว เพื่อน และความตระหนักถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการสื่อสาร มิใช่เลือกที่จะสื่อสารเพื่อความบันเทิงส่วนตัวอย่างเดียว

http://anusornkob.blogspot.com/2013/03/social-ignore.html

การใช้เครือข่ายสังคมส่งเสริมท่องเที่ยว (itinlife408)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ปัจจุบันพบเห็นการใช้เครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำธุรกิจในหลายรูปแบบ ทั้งการแนะนำสินค้า การทำซีเอสอาร์ (CSR = Corporate Social Responsibility) การรับข้อเสนอแนะ ตอบข้อซักถาม  แลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้า การบอกต่อถึงผลการใช้ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าด้วยกันเอง จนหลายหน่วยงานใช้เป็นกลยุทธ์สร้างช่องทางให้ลูกค้าได้เข้าถึงเครือข่ายสังคมได้ง่าย บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ทันทีเมื่อซื้อ หรือทดลองสินค้า เช่น จัดมุมสวยงามสำหรับถ่ายภาพ ดำเนินการถ่ายภาพให้ลูกค้าแล้วอัพโหลดเข้าแฟนเพจของร้าน จัดตู้คอมพิวเตอร์ออนไลน์และกล้องสำหรับถ่ายภาพและอัพโหลดภาพเข้าโปรไฟล์ของลูกค้าได้ทันที

ปลายเดือนกรกฎาคม 2556 มีอบรมการใช้เครือข่ายสังคมอย่างสร้างสรรค์ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีตัวแทนจากแต่ละอำเภอ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ แต่มีเป้าหมายเดียวกัน จัดอบรมที่โรงเรียนลำปางกัลยาณี จัดโดยมหาวิทยาลัยเนชั่น หัวข้อประกอบด้วยการเชื่อมโยงระหว่างเฟสบุ๊คกับยูทูป แล้วเชื่อมไปยังบล็อก หรือเว็บไซต์ข่าว ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมรวมกลุ่มและตั้งชื่อกลุ่มในเฟสบุ๊คว่า tourlampang เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อสาร และผลักดันการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยผู้เข้าอบรมได้สร้างแฟนเพจของพื้นที่เป้าหมายที่ตนรับผิดชอบ สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้เครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือ

หัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การกำหนดโปรไฟล์ให้เป็นคนน่าคบและเป็นคนสาธารณะ การประยุกต์ใช้เฟสบุ๊คโปรไฟล์ แฟนเพจ กลุ่มปิด กลุ่มเปิด หรือกลุ่มลับ การสร้างแฟนเพจของแหล่งท่องเที่ยว การเขียนบันทึกเชิงสารคดี และการแบ่งปัน การเชื่อมโยงอัตโนมัติระหว่าง facebook.com, twitter.com และ youtube.com การฝึกตัดต่อคลิ๊ปโดยใช้ความสามารถของ youtube.com ที่ใช้ภาพนิ่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และเสียงประกอบ การสร้างและจัดการเพลลิสต์ (Playlists) ซึ่งครอบคลุมการทำสื่อประชาสัมพันธ์ 3 รูปแบบ คือ ภาพถ่าย ข้อความบรรยาย และคลิ๊ปวีดีโอ สนับสนุนให้ไทยรักษาสถิติการเป็นอันดับ 5 ของโลกที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด

+ http://thaiabc.com/lampangnet/admin/956/

+ https://www.facebook.com/groups/tourlampang/

ประโยคนี้ “ชาวเน็ตให้กำลังใจ คลิปครูหมวยจีน” .. มีคำถาม

lady teacher
lady teacher

ประเด็นจากข่าวนี้
1. ไม่เผยแพร่แหล่งที่มา เพราะสงสัยในเจตนาว่า เมตตา หรือ ไม่กรุณา
2. เกี่ยวกับ พรบ.คอมฯ 2550 มาตรา 16 เรื่องตัดต่อ แล้วเผยแพร่ก่อให้เกิดความเสียหาย
http://www.thaiall.com/article/law.htm

16 เม.ย.56 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า “คลิปครูชาวจีน” ซึ่งทำงานอยู่ที่ศูนย์วิชาการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองxxx มณฑลxxx ประเทศจีน กำลังถูกแพร่ว่อนโลกอินเตอร์เน็ตในประเทศเวียดนาม โดยชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความเห็นใจครูสาว เพราะเชื่อว่าเหตุเกิดจาก ครูสาวมีปากเสียงกับแฟนหนุ่มที่กล่าวหาว่าเธอไปมีชายคนใหม่ ก่อนจะปล่อยคลิปออกมาเพื่อประจาน

ทั้งนี้ มีรายงานว่าแฟนหนุ่มมือปล่อยคลิปถูกจับกุมแล้ว โดยตำรวจตั้งข้อหาเผยแพร่วัสดุลามกอนาจารในอินเทอร์เน็ต ขณะครูสาวต้องลาหยุดงานยาวเพื่อตั้งหลัก แต่ก็ถูกบังคับให้ออกจากสมาชิกภาพของสมาคมครูในท้องถิ่น

ปล.

ไม่ได้คัดลอกภาพประกอบข่าว เพราะนั่นเป็นหลักฐานว่า
เรื่อง
ไม่ได้เมตตา .. ถ้า share ภาพคุณครู ก็จะมีคนกด like ตรึม
แต่ภาพนั้นเป็นหลักฐานตาม พรบ.ฯ ว่าเผยแพร่ให้คุณครูได้รับความอับอาายเพิ่มขึ้น
ดูจากเจตนา

ไลฟ์บล็อก – สตอรีไฟ (Live Blog – Storify)

แฟนของผม วาง หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2555 แล้วก็ชำเรืองไปพบหัวข้อที่น่าสนใจ จึงหยิบขึ้นมาอ่าน เห็นคำว่า สตอรีไฟ และ บทบาทที่น่าสนใจของ นักนิเทศศาสตร์ หลายท่าน แล้วไปค้นข้อมูลจากเน็ต รวมถึงทดสอบใช้บริการของ http://storify.com/ajburin/storify ที่สามารถดึงเนื้อหาจาก social media มารวมกันใน post เดียวได้ง่าย แบบที่เรียกว่า right to left and up to down

คนข่าวยุคเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ (Facebook-Twitter) ต้องบูรณาการแบรนด์ตัวเองสู่ ไลฟ์บล็อก-สตอรีไฟ (Live Blog – Storify) … “สุทธิชัย หยุ่น” ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำทีมคนข่าวเนชั่นเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย @imsakulsri หรือ “สกุลศรี ศรีสารคาม” อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ มาอัพเดทเทรนด์โซเชียลมีเดีย 2012
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการใช้ “โซเชียลมีเดีย เพื่อการรายงานข่าว” (Social Media & Journalism) อ.สกุลศรี ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียนั้น จะช่วยเสริมความต้องการของผู้บริโภคจากสื่อกระแสหลัก เนื่องจากมีความเร็ว ความลึก สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ช่วยรายงานข่าวหรือใช้ข้อมูล ตลอดจนช่วยเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวนั้นได้
ขณะเดียวกัน คนข่าวก็ต้องสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงข่าวสารจากโซเชียลมีเดียมารวมไว้ เป็นแหล่งเดียว เพื่อเพิ่มความกว้างและลึกของประเด็นข่าวนั้นด้วยการใช้พื้นที่จากเว็บไซ ต์ข่าว แสดงผลจากการกระจายปัญหาไปยังฝูงชน เพื่อให้ร่วมค้นคำตอบ หรือวิธีแก้ปัญหา  อย่างกรณีน้ำท่วมซึ่งมีผู้เช็กอินเข้ามารายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วม กองบรรณาธิการต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลมานำเสนอผ่านเว็บไซต์ โดยเนื้อหาที่นำเสนอจะมีทั้งรูป คลิปวิดีโอ และเนื้อหา โดยให้เครดิตผู้ที่ส่งข้อมูลเข้ามาด้วย นอกจากนี้ คนข่าวก็ต้องเขียนบล็อกไลฟ์ เพื่อรายงานสดถ่ายทอดประเด็น ต่อยอดเนื้อหาข่าวนั้นๆ พร้อมด้วยคลิปและภาพ เพื่อดึงผู้คนในสังคมโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นแฟนคลับ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น

“ยกตัวอย่าง งานศพของวิทนีย์ ฮุสตัน ก็นำไลฟ์บล็อกมาอัพเดทความเคลื่อนไหวทั้งภาพ ข้อความ และคลิป หรือ “Cholas Kristof” ผู้สื่อข่าวจากนิวยอร์กไทม์ เขียนเฟซบุ๊กรายงานสดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เช่นเดียวกับ “Amanda michel” จากหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารตอบโต้ประเด็นข่าว โดยมี “สตอรีไฟ” รวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียไว้ในที่เดียวกัน” อ.สกุลศรี กล่าว
ทั้งนี้ “สตอรีไฟ” คือ การเล่าเรื่องด้วยโซเชียลมีเดีย มีลักษณะคล้ายกับการเขียนบล็อก แต่ “สตอรี่ไฟ” สามารถดึงข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ อย่าง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม, คลิปวิดีโอจากยูทูบ ฯลฯ ซึ่งอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้ในที่เดียวกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงลากและวาง (drag and drop) เท่านั้น ตอนนี้ก็มีเว็บข่าวจำนวนมากใช้บริการสตอรีไฟอยู่ อาทิ กอว์เกอร์ (Gawker), วอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal), การ์เดี้ยน (Guardian) เป็นต้น

ด้าน @jin_nationสมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์” บก.ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ผู้ผ่านประสบการณ์การทำข่าวตั้งแต่ยุคส่งข่าวทางโทรศัพท์สาธารณะ มาจนถึงยุคทวีตส่งข่าว ยอมรับว่า สื่อต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งใช้โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มาก และกำลังสนใจไลฟ์บล็อก และสตอรีไฟ ซึ่งเป็นการรวบรวมและนำเสนอข่าวที่น่าสนใจมากช่องทางหนึ่ง
“สุทธิชัย” เสริมว่า สตอรีไฟเป็นช่องทางที่น่าสนใจ คนข่าวทีวีสามารถนำไปขึ้นหน้าจอทีวีได้เลย แล้วอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านสตอรีไฟ ใครเริ่มทำก่อนจะเท่มาก ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียนอกจากจะมีประโยชน์ต่อคนทำข่าวแล้ว ยังใช้สร้างแบนด์ส่วนตัวได้ สมัยก่อนกระบวนการทำข่าว 80 เปอร์เซ็นต์จะเสียไปกับขั้นตอนการส่งข่าว แต่ปัจจุบันกระบวนการส่งข่าวเร็วขึ้นใช้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงมีเวลามากพอที่จะทำข่าวที่มีเนื้อหา กว้าง ลึก ผ่านโซเชียลมีเดียได้

“นักข่าวของเราปรับตัวใช้โซเชียลมีเดียมา 4-5 ปีแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พวกเราจะยืนอยู่แถวหน้า ก้าวนำคนอื่นอยู่ 2-3 ก้าว หากถึงวันที่โซเชียลมีเดียทำเงินได้ เราจะเป็นกลุ่มแรกที่อยู่รอด เพราะเราก้าวพ้นความกลัวมาแล้ว และผมยังเชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะไม่ตาย สื่อทีวีก็ไม่ตาย เพราะมีโซเชียลมีเดียมาเสริมซึ่งกันและกัน” สุทธิชัย กล่าว

http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/03/12/entry-1

http://newsjunkies-suthichaiyoon.blogspot.com/2012/03/live-blogs-storify.html

http://www.wired.com/gadgetlab/2011/10/apple-iphone-5-live-blog/

live blogging
live blogging

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1314/

สถิติเกมออนไลน์ในเครือข่ายสังคม

เกมออนไลน์ในเครือข่ายสังคม (Social Game) กลายเป็นเกมยอดฮิตสำหรับคอเกมในปัจจุบันไปแล้ว มีการจัดอันดับสถิติเกมใน facebook.com พบว่า insidesocialgames.com แสดงสถิติเกม ที่มีชื่อผู้พัฒนาเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ มี 5 อันดับแรก คือ CityVille, FarmVille, Texas HoldEm Poker, FrontlerVille, Cafe World สำหรับเดือนพฤษภาคม 2001

social game
social game

http://www.insidesocialgames.com/2011/05/03/top-25-facebook-games-for-may-2011/