ชวนเที่ยวงาน กาดก้อมฮอมฮัก บ้านป่องนัก ลำปาง

ขอเชิญชวนมาแอ่ว มาเต้น มาเล่น มาม่วน
ในงาน กาดก้อมฮอมฮัก บ้านป่องนัก ลำปาง
วันพุธ ที่ 20 เมษายน 2565
พบกับ วัยเก๋า ร้องเล่นเต้นโชว์
อังกะลุงม่วน ๆ สินค้าดี ๆ
จากฝีมือวัยเก๋า และอีกมากมาย
ณ บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรีลำปาง

#Banpongnak

บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
ปฏิทินบ้านป่องนัก ลำปาง

บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32 เป็นบ้านในค่ายสุรศักดิ์มนตรี ทางเข้าอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี สร้างปี พ.ศ. 2468 หรือประมาณ 103 ปีที่แล้ว ใช้งบประมาณสร้างถึง 16,000 บาท มีหน้าต่าง 469 บาน เคยใช้เป็นพลับพลาที่ประทับในหลวง รัชกาลที่ 7 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ มีอุปกรณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ชม มีน้อง ๆ ในค่ายฯ คอยดูแล ตอบข้อซักถาม และพาชม ปี 2565 เริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีกาแฟสดจำหน่าย มีดนตรี และมีที่พัก
เป็นเรือนรับรองที่บุคคลภายนอกขอเข้าพักได้ ตัวบ้านออกแบบตามสถาปัตยกรรมยุโรปแบบคลาสสิค ถ้าได้เข้าไปเที่ยวที่บ้านป่องนัก ลองซื้อกาแฟชิม แล้วชวนกันเดินนับป่องดูครับ ว่าจะได้จำนวนเท่าใด

นิสิตมหาวิทยาลัยเนชั่น
ทำแฟนเพจชื่อ LowCost Thailand
มีผู้ติดตาม 1M Followers
แล้วรุ่นน้องจัดสัมมนาในหัวข้อ
ก้าวแรกสู่การเป็น Content Creator
ในโครงการสัมมนา คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 4
ได้รับเกียรติจาก พี่แซง อดุลวิทย์ มาเป็นวิทยากร
เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน 2565
เวลา 09.00น. – 12.00น. สัมมนาออนไลน์
หลังฟังบรรยายเสร็จ
ก็หาเรื่องมาโพสต์ พบเรื่อง บ้านป่องนัก น่าสนใจมาก

กำหนดการ

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ เข้ารอบนางสาวไทย 2559

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ เข้ารอบนางสาวไทย 2559
ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ เข้ารอบนางสาวไทย 2559

https://www.facebook.com/nathida.kluiphiromrat
ทุก ๆ  ปีจะมีการประกวดนางสาวไทย ในประเทศไทย
http://www.missthailandofficial.com/
แล้วปีนี้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ได้เข้ารอบ 34 คนสุดท้าย คือ
น้องแตงกวา นางสาวณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ (Nathida Kluiphiromrat)
นักศึกษานิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา

เชิญชวนชาวเนชั่น ให้กำลังใจในการประกวดนางสาวไทยปีนี้


เมื่อมีนาคม 2015 น้องแตงกว่าเข้ารอบ 25 คนสุดท้าย
ของการประกวด Miss Motor Show Thailand
https://www.facebook.com/MissMotorshowThailand/photos/t.100000432666727/789338437782795/

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์
ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์

เข้ารอบนางสาวไทย 34 คนสุดท้าย
การประกวด นางสาวไทย 2559
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1195076070516804&set=a.385463871478032.97213.100000432666727

Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016

Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016
Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016

https://www.facebook.com/missthailandofficial/photos/a.275202056163519.1073741846.255567001460358/275202216163503/

แฟนเพจของ “2014 incheon asian games” ถูกระงับ

2014 incheon asian games
2014 incheon asian games

1 ตุลาคม 2557 แฟนเพจของ “2014 incheon asian games”
ถูกระงับการเข้าถึงจากประเทศไทย
ผมจะเข้าไปติดตามการแข่งขันก็เข้าไม่ได้
http://www.siamsport.co.th/Sport_Football/140930_261.html

สืบเนื่องจากวันอังคารที่ 30 กันยายน 2557
มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ (เจ้าภาพ) และไทยแพ้ 2-0
แล้วมีเหตุการณ์ที่กองเชียร์ไทยเชื่อว่า การตัดสินไม่ยุติธรรม
ดังนั้นกองเชียร์ไทย จึงเข้าไปแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม
เป็นเหตุให้มีการระงับดังกล่าวเกิดขึ้น

แต่ก็ได้พยายามเข้าไปในแฟนเพจดังกล่าวผ่าน zend2.com (anonymous proxy)
โดยเข้าไปที่ https://www.facebook.com/profile.php?id=113496052043077
เมื่อเข้าไปแล้วก็บันทึกกิจกรรมที่คนไทยเข้าไปแสดงความคิดเห็นเป็น PDF
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/381677158649775/
ตามที่ปรากฎเป็นข่าวทางทีวีจากส่วนกลาง
http://www.nationtv.tv/main/content/sport/378426405/

บล็อกช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว (itinlife382)

tourism information
tourism information

บล็อก (Blog) คือเครื่องมือหนึ่งในการจัดการความรู้ และเป็นเครื่องมือเพื่อบันทึกเรื่องราว แล้วนำบันทึกที่เขียนล่าสุดมาแสดงผลเป็นอันดับแรก การเขียนบันทึกในบล็อกต้องใช้บริการผ่านเครื่องบริการ (Web Server) ซึ่งมีทั้งแบบในเครื่องบริการของตน (Personal Server) กับเครื่องบริการสาธารณะ (Public Server) แล้วระบบบล็อกก็ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้พัฒนาเว็บไซต์ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนเริ่มเข้ามาทดแทนระบบเว็บไซต์แบบอื่น เนื่องจากเนื้อหาในระบบบล็อกมีความสมบูรณ์ ระบบมีความเป็นมาตรฐาน และรองรับการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเข้ากับระบบอื่นได้ง่าย
ความสมบูรณ์ของเนื้อหาเกิดจากระบบบล็อกกำหนดว่าการเขียนบันทึกต้องประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบที่ต้องลงทะเบียน และล็อกอินเข้าระบบเพื่อเขียน แล้วบันทึกต้องมีรายละเอียดครบถ้วน อาทิ หัวข้อ (Subject) เนื้อหา (Content) รูปประกอบ (Image) คลิ๊ปภาพ (Video) แฟ้มเสียง (Sound) กำหนดกลุ่มเรื่อง (Category) และคำสำคัญ (Keyword) เป็นผลให้การเข้าถึงบันทึกได้หลายวิธีทั้งผ่านเลขบันทึก ระบบสืบค้น คำสำคัญ หรือกลุ่มเรื่อง ซึ่งการเขียนบันทึกมักคล้ายกับการเขียนข่าว หรือบทความทั่วไปที่มักมีรายละเอียดสำคัญ 3 ส่วนประกอบด้วย ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป แต่การเขียนบล็อกมีข้อเด่นกว่าคือ กลับไปแก้ไข หรือปรับปรุงให้ทันสมัยได้
ประเด็นการท่องเที่ยว (Tourism) มีมุมให้เขียนบันทึกได้หลากหลาย อาจเขียนในมุมของนักท่องเที่ยว เจ้าของพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่กำลังหาข้อมูล อาจเขียนก่อนไปเที่ยว ขณะเที่ยว หรือหลังเที่ยว หัวข้อมีทั้งที่พัก ที่กิน ที่ชม ผู้คน หน่วยงาน สภาพอากาศ การเดินทาง ความปลอดภัย ความสะดวก และความรู้สึก ซึ่งภาพถ่ายและคลิ๊ปวีดีโอเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในการเขียนบันทึก เพราะช่วยให้นำเสนอมีความชัดเจน มุมมองของนักท่องเที่ยวแต่ละคนนำเสนอผ่านภาพที่แตกต่าง แต่ละภาพแทนคำพูด ความรู้สึกที่เกินกว่าจะบรรยายด้วยถ้อยคำได้หมด แต่การมีบันทึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมักเริ่มต้นจากคนเขียนที่มักถูกเรียกว่าบล็อกเกอร์ที่สวมหมวกเป็นนักท่องเที่ยว แล้วท่านก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นบล็อกเกอร์ (Blogger) ได้เช่นกัน

อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

Education changing in thailand วาระแห่งชาติ เล่มที่ 1 การปฏิรูปการศึกษา : วาระแห่งชาติ จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สู่การปฏิบัติ ยุทธศาสตร์ที่จะพาประเทศพ้นวิกฤต .. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ [974-241-263-4]

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม
http://www.sesa10.go.th/sesa10/data/mar55/2.pdf

http://www.scribd.com/doc/115003666

29 พ.ย.55 ฟินแลนด์และเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน

thailand 37 from 40
thailand 37 from 40

การจัดอันดับ ใช้การรวบรวมข้อมูลจากผลการสอบในระดับนานาชาติและข้อมูล เช่น อัตราการศึกษาในระหว่างปี 2006 และ 2010  เซอร์ไมเคิล บาร์เบอร์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านการศึกษาของเพียร์สัน เปิดเผยว่า ประเทศที่ติดในอันดับที่ดีส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับ ครูผู้สอน รวมถึงการมีวัฒนธรรมด้านการศึกษาที่ดี

ตามหลังฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในอันดับที่ 3-5 นั้น ล้วนมาจากเอเชียทั้งสิ้น ได้แก่ ฮ่องกง (จีน) อันดับ 3, ญี่ปุ่น อันดับ 4 และ สิงคโปร์ ในอันดับ 5 ขณะที่อันดับ 6 ตกเป็นของอังกฤษ ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ ในอันดับที่ 7 และ นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และแคนาดาในอันดับที่ 8-10 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ อย่างสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และเยอรมนี อยู่ในอันดับรองลงไป

โดยในการจัดอันดับที่มีจำนวน 40 ประเทศนั้น อินโดนีเซีย บราซิล และเม็กซิโกมีคะแนนต่ำสุด ในอันดับที่ 40, 39 และ 38 ตามลำดับ ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 37

รายงานระบุว่า ความสำเร็จของประเทศในเอเชีย ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากประเทศดังกล่าวให้ความสำคัญกับการศึกษามากเป็นพิเศษ อีกทั้งผู้ปกครองต่างก็พร้อมจะทุ่มเทให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

แต่สิ่งที่สำคัญนอกจากการทุ่มเทให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดีนั้น สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ให้คุณค่าต่อการศึกษาในระดับสูง รวมถึงการคาดหวังของผู้ปกครอง ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยสำคัญแม้ครอบครัวจะย้ายไปยังประเทศอื่น

ขณะที่อันดับหนึ่งและสองอย่างฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ค่อนข้างมีความแตกต่างกันหลายประการ แต่มีปัจจัยร่วมกัน คือ ความเชื่อทางสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและจุดประสงค์ด้านศีลธรรมที่แอบแฝงอยู่

รายงานดังกล่าวยัง เน้นเรื่อง คุณภาพของครูผู้สอน และความจำเป็นต่อการจ้างครูที่ดีที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงการได้รับความเคารพในทางวิชาชีพและสถานะทางสังคม เช่นเดียวกับรายได้ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี การจัดอันดับไม่ได้แสดงจุดเชื่อมโยงที่แน่ชัดระหว่างรายได้สูงและการสอนที่มีคุณภาพ รายงานระบุว่า ระบบการศึกษาที่สูงและต่ำยังมีผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พึ่งพาแรงงานที่ใช้ทักษะ

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์
http://prachatai.com/journal/2012/11/43934
http://thelearningcurve.pearson.com/content/download/bankname/components/filename/FINAL%20LearningCurve_Final.pdf

http://www.breakingnewsenglish.com/1211/121129-education.html

5 บทเรียนสำหรับผู้กำหนดนโยบาย
(Five lessons for education policymakers)

1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต

http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

การสัมมนาเชิงวิชาการผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ของ ศธ.
โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ๒๐๐ คน เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

รมว.ศธ.กล่าวว่า ศธ.มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยเฉพาะการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเป็นนโยบายหลักในการขับเคลื่อนคุณภาพทางการศึกษา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้ รมว.ศธ.ยังมีนโยบายด้านการศึกษา ๘ ข้อ ซึ่งมีจุดเน้น ๓ ด้าน ดังนี้
1. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งการดำเนินงาน ๖ เดือนที่ผ่านมา ศธ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และวางระบบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างชัดเจน และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ซึ่งได้นำเป้าหมาย ตัวชี้วัด มาดำเนินการ ขณะนี้มี Road Map แผนปฏิบัติการ และผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
2. ครู ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ศธ.ได้วางแผนพัฒนาครูทั้งระบบ โดยเริ่มจากการผลิตครู ซึ่ง กนป.ได้อนุมัติให้ผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ อัตรา ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ศธ.จะผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ได้ ๒๐๐,๐๐๐ คน การพัฒนาครูทั้งระบบ ซึ่ง สพฐ.ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำการทดสอบสมรรถนะครู อบรมหลักสูตรของครู และของผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่การสร้างครูต้นแบบ Master Teacher และให้แรงจูงใจ ในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สำหรับการใช้ครูนั้น ศธ. ได้คืนครูให้กับโรงเรียน โดยจ้างพนักงานธุรการและตำแหน่งอื่น เช่น บรรณารักษ์ มาแทนครูเพิ่มขึ้น เพื่อให้ครูได้กลับสู่ห้องเรียน และ ศธ.ยังได้เพิ่มขวัญและกำลังใจครูด้วยการพัฒนาค่าตอบแทนครู ยกมาตรฐานวิชาชีพครู และแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบด้วย
3. ยกระดับการใช้ ICT เพื่อการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา คือ เพิ่มสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๕๐ เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร้อยละ ๓ ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญ โดย ศธ.ได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา และบรรจุการจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ในรายจ่ายงบประมาณประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ซึ่ง ครม.ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยกองทุนมีงบประมาณเริ่มต้น ๕ ล้านบาท และได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน โดยมี รมว.ศธ.เป็นประธาน

รมว.ศธ.ได้ฝากให้ผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ขับเคลื่อนนโยบาย ๓ เรื่องให้เป็นรูปธรรม ดังนี้
1. ยกระดับพัฒนาโครงข่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา Ned Net โดยทุกองค์กรหลักของ ศธ.ต้องให้ความร่วมมือภายใต้โครงข่ายเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังด้านงบประมาณ ด้านการใช้ และด้านบุคลากร ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว หากสามารถรวบรวมได้อย่างเป็นระบบ โครงข่ายก็จะมีความเข้มแข็งเพียงพอต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (Education Information System) จัดให้มีข้อมูลนักเรียน สถานศึกษาที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมข้อมูลของโรงเรียนเอกชน และต้องการให้มีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพที่ชัดเจน เพื่อช่วยเหลือเด็กทุกคนไม่ว่าอยู่ในสถานะใด ให้ได้รับประโยชน์จากโครงการเรียนฟรี เพื่อไม่ให้มีการแอบอ้างว่า ข้อมูลผิดพลาด นักเรียนได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง รวมทั้งการคำนวณตัวเลขไม่ชัดเจนทำให้การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ฝากให้ช่วยคิดว่าจะทำให้เกิดระบบศูนย์กลางสารสนเทศในระดับชาติได้อย่างไร เพราะข้อมูลสารสนเทศกับโครงข่ายจะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
3. ยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.ให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ขณะนี้ ศธ.มีศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ETV, มีรายการ Student Channel ออกอากาศทาง NBT, มีรายการ Teacher TV ที่จะขอออกอากาศทาง Thai TV หาก ศธ.สามารถรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เป็นฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาว่า ต้องมีการศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ จึงจำเป็นจะต้องยกระดับให้มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ. ซึ่งถ้าเป็นไปได้ในอนาคตต้องการให้เป็น free TV ต่อไป และขอให้ทุกคนช่วยคิดว่า จะสามารถนำรายการที่มีอยู่มารวมกันได้อย่างไร เพื่อให้เกิดพลังความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและเครื่องมือ นำไปสู่การยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

http://www.moe.go.th/websm/2010/sep/287.html
http://www.kroobannok.com/36672

thailand tutor for students
thailand tutor for students

About 10,000 students attend a tutorial at a shopping mall in Bangkok in preparation for entrance exams to study medicine at an university. (Photo by Apichit Jinakul)

Thailand scores badly in education assessment ranking

Thailand’s education system is ranked 37th out of 40 countries assessed in latest global index ranking published by British education and publishing group Pearson Plc.

Finland took first place with a score of 1.26 points, followed by South Korea and Hong-Kong. Following them are two other Asian countries: Japan and Singapore.

Thailand scored badly, with 1.46, and had only three countries below it in the ranking.

The index ranking is based on cognitive skills – test scores in reading, writing, and mathematics – and educational attainment – literacy and graduation rate – accumulated from 40 developed countries.

Sir Michael Barber, Pearson’s chief education adviser, said successful countries gave their educators a high status and have a culture that is supportive of education.

Thai netizens posted messages on various webboards on Wednesday, mostly criticising the Thai education system.

“It’s because of the educators,” said a postor in posttoday.com.

“I feel that education does not account to how successful you are in the real world,” said a comment in pantip.com. “These highly educated people have the knowledge but can’t perform.”

Another netizen suggested that Thailand should improve the social belief in education, spend more money to improve the quality of teachers and school autonomy to climb up the ranking.

“The quality of some private universities is really worrying. The quality of graduates with a bachelor’s degree here is lower than high school graduates in other countries,” one netizen said. “If you pay all the tuition fees here, you’ll definitely graduate.”

http://www.bangkokpost.com/news/local/323571/thailand-almost-lowest-in-global-education-ranking

ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

ดัชนีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ
ดัชนีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ

3 พ.ย.55 คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบผลการแข่งขันในสื่ออินเทอร์เน็ต เมื่อมีผู้ที่ชนะก็ย่อมมีผู้ไม่ชนะ องค์ประกอบของการแข่งขันมีมากมาย อาทิ กรรมการตัดสิน กองเชียร์ ผู้ร่วมเกม เกณฑ์ประเมิน ช่วงเวลา รายงานผล และผลกระทบที่ตามมา ซึ่งการแข่งขันที่ใกล้ตัวก็เห็นจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ ซึ่งผลจากการเลือกตั้งจะส่งผลถึงความเป็นอยู่ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนผ่านการบริหารของผู้ที่เราเลือกเข้าไป ส่วนผลการจัดอันดับที่ไกลตัวคือ การแข่งขันฟุตบอลในต่างประเทศ ที่ถึงแม้จะไกลตัว แต่เวลาฟังเพื่อนคุยเรื่องนี้ทีไรมักรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องที่เกิดระแวกบ้านทุกที

การจัดอันดับในประเทศไทย ย่อมมีทั้งผู้ชนะและผู้ไม่ชนะ ซึ่งเกณฑ์ก็มักจะสร้างขึ้นกันเอง และผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ก็มักได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้าง ปัจจุบันสถาบันการศึกษาทั้งระดับขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่างก็ตกอยู่ในภาวะที่ต้องแข่งขัน สถาบันที่ไม่ได้มาตรฐานหรือล้มเหลวในการดำเนินงานก็ต้องปิดตัว เด็กนักเรียนก็ต้องแข่งขันกันพัฒนาตนเองด้วยการเรียนพิเศษเพิ่มเติม ทั้งหลังเลิกเรียนและในวันสุดสัปดาห์ โรงเรียนกวดวิชาก็จะประชาสัมพันธ์ด้วยการนำเสนออันดับผลสอบของศิษย์ และจำนวนนักเรียนที่สอบติดในสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ

มีผลการจัดอันดับประเทศไทย ที่รู้แล้วก็ต้องบอกว่าอึ้งไปชั่วขณะ คือ ผลการจัดอันดับศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก ในชื่อ EF English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ โดยเราชนะประเทศลิเบียประเทศเดียว ส่วนในเอเชียเราอยู่อันดับสุดท้าย และเป็นเพียงประเทศเดียวของเอเซียที่อยู่ในระดับ Very Low Proficiency มีค่า EF EPI เท่ากับ 44.36 ซึ่งทั้งโลกมีสถานะในระดับต่ำมากจำนวน 16 ประเทศ หากต้องการหนีคำว่าสุดท้ายของเอเชีย เราต้องชนะจีน ซึ่งปี 2012 จีนอยู่อันดับที่ 36

http://www.newsenglishlessons.com/1210/121028-esl_speakers.html

http://www.ef.com/__/~/media/efcom/epi/2012/full_reports/EF%20EPI%202012%20Report_MASTER_LR.pdf

http://www.thelocal.se/44062/20121026

ผ่านเข้ารอบ THAILAND GOT TALENT SEASON 2 ปี 2012

ผ่านการคัดเลือก thailand got talent 2012
ผ่านการคัดเลือก thailand got talent 2012

จากการคัดเลือกผู้เข้าร่วมรายการ
THAILAND GOT TALENT SEASON 2 ปี 2012
เป็นออดิชั่นรอบแรก ณ กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555
แล้วออดิชั่นรอบต่อไป ที่โรงละครอักษรา กรุงเทพฯ
วันที่ 16-25 มีนาคม 2555 เวลา 10.00-19.00 น.

พบว่า นักศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)
จำนวน 4 คน ผ่านรอบคัดเลือก ได้แก่

1. นายโชคชัย นันต๊ะภาพ ชั้นปีที่ 4
คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ
2. นายวิชัย อุดมเลิศ ชั้นปีที่ 1
คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี
3. นายอเนก อัครนันท์ ชั้นปีที่ 2
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี สาขาสาธารณสุขศาสตร์
4. นายปิยะพงษ์ ปาสิงห์ ชั้นปีที่ 3
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์

เชิญชม เชียร์ เป็นกำลังใจด้วยกันนะครับ

http://www.thailandsgottalent.tv/news/news-chiangmaipr-140212

กรรมการ และข่าวที่เชียงใหม่
กรรมการ และข่าวที่เชียงใหม่

เพลง ในหลวงของแผ่นดิน

เพลง ในหลวงของแผ่นดิน
รวมศิลปินแกรมมี่ เอ็กแซกท์
http://www.youtube.com/watch?v=H5aF_Fr9MaI
เนื้อเพลง
———
มอง เห็นพระเจ้าอยู่หัว ท่ามกลางคนมืดมัว เหมือนเห็นแสงทองส่อง
ใจ ตื้นตันเพียงได้มอง พนมมือทั้งสอง ก้มลงกราบด้วยหัวใจ
มอง พระผู้ทรงเมตตา เฝ้าดูแลประชา ทั่วอาณาใกล้ไกล
เมื่อยามอ่อนล้า หมดหวัง พระองค์อยู่เป็นหลักรวมหัวใจ
ยึดเหนี่ยวอยู่ภายในว่าวันพรุ่งนี้ยังมีหวัง

ในหลวง ของแผ่นดิน บันดาลให้เม็ดดินทรายกลายเป็นแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่
อยากขอ ฝากกายและใจไม่จากไปไหน
รู้แล้วว่าใครทำให้ทุกคนอยู่ร่มเย็นเช่นนี้
ในหลวง ของแผ่นดิน ได้อยู่บนผืนดินของพระองค์คือคนโชคดี
แผ่นดินนี้ มากล้นบุญคุณทวี ระลึกด้วยความภักดี
แผ่นดินนี้คือชีวิตเรา

ในหลวง ของแผ่นดิน ได้อยู่บนผืนดินของพระองค์คือคนโชคดี
แผ่นดินนี้ มากล้นบุญคุณทวี ระลึกด้วยความภักดี
แผ่นดินนี้คือชีวิตเรา

แผ่นดินนี้คือบ้าน คือแดนสวรรค์แสนสุขใจ
มีทุกอย่างที่ดีเพราะใคร ฉันจะไม่ลืม

ในหลวง ของแผ่นดิน หล่อรวมให้เม็ดดินทรายกลายเป็นแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่
หยดน้ำ หยาดเหงื่อพระองค์หยดลงที่ไหน
ทุกข์ร้อนก็พลันสลาย ทุกข์ภัยจะไม่อาจแผ้วพาน

ในหลวง ของแผ่นดิน ทรงเป็นที่รัก และที่พึ่งพิงให้เราแสนนาน
ตั้งแต่เล็กจนโตจำได้ทุกอย่าง ใต้ร่มพระบริบาล
ชาวสยามทุกคนร่มเย็น

แผ่นดินนี้คือบ้าน คือแดนสวรรค์แสนสุขใจ
มีทุกอย่างที่ดีเพราะใคร ฉันจะไม่ลืม

http://www.4shared.com/get/AN5aRTTm/_-_.html
http://imusiccontinue.blogspot.com/2011/11/blog-post_17.html
http://www.4shared.com/get/GqDQJHXx/__MP3.html (Karaoke sound tools)
http://www.4shared.com/audio/QBk_sK91/_-_-KST.html (Karaoke Version)

นางสาวไทย และ มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส

Miss Thailand Universe
Miss Thailand Universe

มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส (Miss Thailand Universe) เป็นเวทีการประกวดความงามระดับประเทศที่มีมาตรฐานสากล จัดขึ้นเป็นปีที่ 11 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2543 (2000) เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ได้ดำเนินการจัดขึ้น เพื่อสรรหาสาวไทย ที่มีความงาม มีกริยามารยาทที่งดงามแบบไทย มีความคิดอ่าน เฉลียวฉลาด ทันสมัย มั่นใจในตนเอง และเหมาะสมที่จะรับหน้าที่ในนามตัวแทนประเทศไทยไปสู่การประชาสัมพันธ์ และ สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณอันดีงาม ให้กับประเทศผ่านกิจกรรมการประกวดระดับโลก เช่น การประกวดนางงามจักรวาล Miss Universe, Miss Earth, Miss Asia Pacific, และ Miss Tourism world เป็นต้น
ช่อง 7 สี ได้รับสิทธิ์อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย จาก Miss Universe L.P., LLLP ในการค้นหาสาวงามเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวิร์ส (Miss Universe 2011)
http://mtu.ch7.com/history.aspx

การประกวดนางสาวไทย
ครั้งแรกได้เริ่มขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยรัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ใช้ชื่อในการประกวดครั้งนั้นว่า “ นางสาวสยาม ”
การประกวดนางสาวไทยเสมือน เป็นกิจกรรมที่สืบทอดเจตนารมณ์ของรัฐบาลมาโดยตลอดทั้งนี้นับตั้งแต่ยุคที่ 1 และยุคที่ 2 เป็นกิจกรรมของทางราชการโดยหน่วยงานราชการผู้จัดและรับผิดชอบ คือกองการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย การจัดการประกวดนางสาวไทยในสมัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การประกวดเป็นสื่อด้านความบันเทิง ดึงดูดความสนใจให้ประชาชนมาเที่ยวงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ อันเป็นงานเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายต้องการส่งเสริมฐานะสตรีให้เท่าเทียมอารยประเทศและมีบทบาทในการช่วย เหลือสังคม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงใช้เวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นสื่อในการสนับสนุนนโยบาย รัฐนิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะวิวัฒนาการการแต่งกายของสตรีโดยมีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องแต่งกาย ของผู้เข้าประกวดในยุคแรก ดังนี้
พ.ศ. 2477 ผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า
พ.ศ. 2482 ผู้เข้าประกวดแต่งกายชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า
พ.ศ. 2483 ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลัง
พ.ศ. 2493 ผู้เข้าประกวดสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวด

การประกวดนางสาวไทย
ยุคที่ 1 ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “ นางสาวสยาม ” จำนวน 5 คน และ “ นางสาวไทย ” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “ สยาม ” ให้ใช้คำว่า “ ไทย ” แทน ดังนั้นการประกวด “ นางสาวสยาม ” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “ นางสาวไทย ” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2493 – 2497) ปี 2497 เป็นปีสุดท้ายที่ รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากการประกวดนางสาวไทยได้ถูกยกเลิกการจัดไปพร้อมกับงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ
ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507 – 2515) ปี 2504 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด “ นางงามวชิราวุธ ” ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว และอีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์
จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของการจัดประกวดนางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และใช้รูปแบบของการเข้าร่วมประกวดนางงามระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมาก ยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการ ประกวด “ นางสาวไทย ”
การประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 3 ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และสร้างภาพพจน์ให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2527 – 2542) การจัดการประกวดนางสาวไทยในปีที่ผ่านมาสื่อมวลชนและเทคโนโลยีการสื่อสาร มีบทบาทโดยตรงต่อการประชาสัมพันธ์การจัดการประกวดนางสาวไทย ในยุคแรกสื่อมวลชนที่มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์การประกวด ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุกระจายเสียง ในส่วนของทางสถานีโทรทัศน์นั้น เริ่มมีการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทยทางสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2508 ในงานวชิราวุธานุสรณ์ โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 และต่อมาในปี พ.ศ. 2510 สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทยได้ทำการทดลองแพร่ภาพถ่ายทอดสด ให้ผู้ชมที่อยู่ต่างจังหวัดได้รับชมการประกวดนางสาวไทย
ในปี 2526 บริษัทมิสยูนิเวิร์สซึ่งเป็นบริษัทจัดการประกวดนางงามจักรวาล ได้เดินทางมาดูสถานที่ในประเทศไทยเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการจัดการประกวด นางงามจักรวาลขึ้นในประเทศไทย โดยในขณะนั้น คุณชาติเชื้อ กรรณสูต กรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปภัมถ์ จึงได้รื้อฟื้นการจัดขึ้นอีกครั้งในปี 2527 ในงานเทศกาลพัทยา ครั้งที่ 3 ณ เมืองพัทยา โดยสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และด้วยความร่วมมือสนับสนุนกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การจัดการประกวดนางสาวไทยในยุคนี้ นับเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อคัดเลือกสาวไทยเป็นตัวแทนไปประกวดนางงามจักรวาล
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยมีนางสาวไทยมาแล้วถึง 36 คน โดยสตรีไทยผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยได้ปฏิบัติภาระกิจต่างๆเพื่อประชา สัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักกับนานาประเทศ นับได้ว่าเวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นเวทีแห่งเกียรติยศที่ทรงคุณค่าของสตรี ไทย
ยุคที่ 5 ( พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา) สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบสิทธิ์ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด โดยมีการพัฒนารูปแบบการจัดประกวดให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น อาทิ การยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำบนเวที, การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลคะแนน, การวัดระดับ IQ และ EQ ตลอดจนการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์และความคิดริเริ่มแบบสร้างสรรค์ รวมทั้งการนำความสามารถพิเศษของผู้เข้าประกวดมาใช้ประกอบในการพิจารณาการตัดสิน
นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการประกวดรอบคัดเลือกของภูมิภาคต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดอย่างทั่วถึง ในยุคนี้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง “ ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ” ทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ซึ่งต้องเดินทางไปยังสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มี สำนักงานสาขาถึง 17 แห่งทั่วโลก รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามจังหวัดต่างๆ ภายในประเทศตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ คือ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ
ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ (ทีไอทีวี) ภายใต้การดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า กรมประชาสัมพันธ์จะเป็นอีกองค์กรหนึ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมบทบาทของนางสาวไทยในยุคที่ 5 ให้มีศักยภาพที่สูงยิ่งขึ้นจากเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ
http://www.missthailandcontest.com