เมื่อศิษย์น้องสื่อสารด้วยชุดอักษร พันธนาการแห่งปราณ

ปราณ คือ ลมหมายใจ ใน พันธนาการแห่งปราณ

การครั้งหนึ่ง
นั่นก็เนิ่นนานมาหลายทศวรรษแล้ว
ที่ผมได้รู้จักมักจี่กับ หมวย – สมจิต คูมณีปกรณ์
เป็นเพื่อนเฟสกันก็นานหลายปีดีดัก
ที่เรียกว่า ศิษย์น้อง
ก็เพราะอาจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง
บอกว่าหมวยเป็นศิษย์รุ่น 2 ของวิทยาลัยโยนก
หรือ มหาวิทยาลัยเนชั่น ในปัจจุับัน
ดังนั้นคำว่ารุ่น 2 คือ มีรหัสเริ่มต้นด้วย 32
ส่วนที่ผมเรียกตนเองว่า พี่
ก็เพราะมีรหัสเริ่มต้นด้วย 31 และเป็นรุ่นหนึ่งของสำนักนี้

กลับมาที่ชุดอักษร เล่มที่ได้รับจากศิษย์น้อง
เป็นงานแต่งขึ้น ในชื่อหนังสือ พันธนาการแห่งปราณ
คำว่า ปราณ
ถูกศิษย์น้องอีกคนให้ความหมายว่าคือ ลมหายใจ
จริงดั่งศิษย์น้องว่า
เราทุกคนถูกพันธนาการด้วย ลมหายใจ
หากสิ้นไร้ซึ่งลม หรือหยุดลมหายใจไว้ ณ เวลาใดแล้วไซร้
เราก็จะเป็นอิสระ จากร่างกายเก่า ๆ แก่ ๆ ตามวัย
ที่ครอบครองจะครบหกรอบในอีกไม่กี่ปีนี้
สักวันเมื่อหลุดจากพันธนาการของปราณ
จิตใจก็คงจะโบยบินออกจากกายหยาบไปสวรรค์นู้น

ในปกหลัง
ระบุว่านี่คือเรื่องราวของ อาจารย์น้อยผู้มาสอนธรรม
เธอเป็นหญิงสาว เพราะเห็นใช้คำว่า นาง
และน่าจะมีหน้าหมดตาใจ แก้มยุ้ยด้วย
แอบไปอ่านหน้าสุดท้าย พบว่า อาจารย์น้อย คนงาม
ตกล่องปล่องชิ้นกับหนุ่มหล่อเผ่าสวรรค์ มีจุ๊บจุ๊บด้วย
อันนี้จริงเท็จประการใดไม่รู้ ไม่ ส ป ร อ ย
เนื้อหาออกแนวจีน ๆ เยอะเลย ชื่อจีนทั้งเรื่อง
สิ่งหนึ่งที่เฉลย คือ ลมหายใจ ถูกเรียก ปราณ
เผ่าสวรรค์ เผ่ามาร ใครจะดี ใครจะร้าย
ใครพระเอก ใครพระรอง
ต้องไปหาอ่านกันเองนะครับ

ส่วนจะมีผู้กำกับ หรือผู้สร้างคนใด
หยิบหนังสือไปทำเป็นซีรี่ หรือภาพยนตร์แบบ
แปดเทพอสูรฯ หรือ สยบฟ้าฯ หรือ โปเยฯ หรือสิบสอง
อันนี้ต้องไปคุยกับนักเขียนศิษย์น้องท่านเอง
ส่วนผม
ถ้าจะติดต่อผมไปเป็นพระเอก พระรอง ศิษย์พี่ หรือมาร
อันนี้ติดต่อมาก่อนนะครับ แล้วผมจะดูคิวให้
พักนี้ไม่ค่อยว่างติดสอนหนังสืออยู่
และกำลังนั่งกรรมฐานยามจิตไม่ว่าง
หวังว่าจิตใจจะคลายทุกข์ได้โดยเร็ว
เผื่อว่าทุกข์หรือมาร เข้ามาจู่โจมเมื่อใดไม่รู้
จะได้คุมจิตได้ ไม่เตลิดเปิดเปิงไปกับทุกข์เช่นในอดีต
ทุกวันนี้ จิตไม่ค่อยจะวาง ปล่อยวางก็ไม่ค่อยจะลง
หายใจเข้า หายใจออก ฝึกปราณต่อไป

หนังสือเล่มนี้อ่านสนุก
เล่าให้ใคร ๆ ฟังว่าอ่านดีอย่างนู้นอย่างนี้
จนศิษย์พี่อีกท่านขออ่านบ้าง
ตอนนี้ เล่มที่ 48 (2nd)
ตกทอดไปถึงศิษย์พี่อีกคนแล้ว
ส่วนใครจะรอชมซีรี่ หรือภาพยนตร์
ตอนนี้ต้องอดใจรอกันไปก่อน
เหมือนหนัง marvel
ที่จะมีภาคต่อหรือไม่ ก็จะมีหลายปัจจัย

blogger

#เล่าสู่กันฟัง 63-024 หนังสือผู้หญิงออนไลน์จากงานหนังสือ

9 ก.พ.63 ที่งานมหกรรมหนังสือ มีผู้เขียนหนังสือ
แล้วทีวีนำไปทำละครออเจ้า จะมีภาคใหม่
ฟังผู้เขียนเล่าบนเวที ถึงที่มาอย่างสนุกสนาน
ระหว่างนั้นก็เดินดูหนังสือ หยิบจับไปทั่ว
ไปสะดุดที่หนังสือ เด็กหญิงออนไลน์
ปกแข็งเล่มหนา 300 กว่าหน้า
ขายมือสองอยู่ 3 เล่ม 100 บาท
คิดว่าซื้อไว้สักวันคงได้อ่าน

อ่านประวัติผู้เขียน ก็ซื้อเลย
Zoe sugg ตอน going solo เล่มส้ม
กับตอน on tour เล่มม่วง
ผู้เขียนเป็สาวน้อย vlogger จาก Brighton อังกฤษ
ทำเรื่องแฟชั่นกับการใช้ชีวิต
มีคนติดตาม youtube เป็นล้าน
และมียอดวิวเพิ่มขึ้นทุกเดือน
ชนะรางวัล cosmopolitan blog award เกี่ยวกับ blog ความสวยงาม ปี 2011 และชนะอีกหลายรางวัลหลายปีติดต่อกัน

ในบทที่ 1 ของเล่มส้ม เริ่มว่า
The moment i finish the blog post,
i hand over my laptop to Elliot.
‘Do you think this is good enough?’
อ่านแค่เนี้ยผมก็ซื้อเลย
สรุปว่าไปงานหนังสือ
ได้หนังสือมือสองมา 2 เล่ม เลยทีเดียว

Song book by andy idaho

Song book by andy idaho


celine dion : my heart will go on
celine dion : my heart will go on


1. Ain’t no sunshine : Bill Withers
2. All i want is you : 911
3. All out of love : Ott
4. Always somewhere : Scorpions
5. Baby, can i hold you : Tracy chapman
6. Beautiful stranger : Madonna
7. Blowing in the wind : peter paul and mary
8. Can’t help falling in love : UB40
9. Desperado : The eagles
10. Don’t cry : Guns n’roses
11. Eternal flame : Bangles
12. I do it for you : Bryan adams
13. Green fields : Brothers four
14. Have i told you lately : Rod stewart
15. High : Lighthouse family
16. I don’t want miss a thing : Aerosmith
17. I’ll have to say i love you in a song : Jim croce
18. I’ll never dance again : The wynners
19. Imagine : John lennon
20. Kiss me : Sixpence none the richer
21. Longer : Dan fogelberg
22. Love fool : The cardigans
23. Love me for a reason : Boyzone
24. Love will keep us alive : The eagles
25. Massachusetts : The bee gees
26. More than words : Extreme
27. My heart will go on : Celine dione
28. Oh! my love : John lennon
29. Stand by me : John lennon
30. Streets of london : Ralph McTell
31. Take me home country road : John denver
32. The long and widing road : The beatles
33. The old man down the road : John fogerty
34. Time in a bottle : Jim croce
35. Vincent : Don Mclean
36. When a man loves a woman : Micheel bolton
37. Who’ll stop the rain : C.C.R.
38. Why worry : Dire Straits
39. Wonderful tonight : Eric clapton
40. You’ll be in my heart : Phil collins
41. You’ve got a friend : James taylor

http://www.youtube.com/watch?v=HoiOkxJ_fLQ&list=PLYv8A28PGRQye4PBbd2u6t12IsGLmoPUI

หนังสือ เก่งภาษาอังกฤษจากเพลงดัง โดย Andy Idaho
ราคาตามปก 140 บาท แต่ซื้อ 70 บาท
พิมพ์ปี 2006 แต่ซื้อ 22 ก.ย.56

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์ *

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

mcu book
mcu book หน้า 25 - 64


http://www.mcu.ac.th/site/pres_info_content_desc.php?p_id=13

19 พ.ค.56 หลายปีก่อนเคยเห็นการทำ SWOT ของมจร.ลำปาง รู้สึกประทับใจ มาวันนี้พบหนังสือ “ทำไมเรารักพระเจ้าอยู่หัว” เมื่อเปิดอ่านหน้า 25 – 64 ก็พบว่า พระธรรมโกศาจารย์ เล่าว่า มจร.เติมโตมาจนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยวิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) p.39  แล้วให้นิยามคำว่า การบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์
http://www.thaiall.com/swot/

ขอถวายความเคารพ และแสดงความนับถือแด่พระเถรานุเถระ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต และเพื่อนสหธรรมิกทุกรูป  และขอเจริญพรผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิตฝ่ายคฤหัสถ์และสาธุชนทุกท่าน

วันนี้จะเป็นวันที่ประทับอยู่ในความทรงจำของพวกเราไปอีกนานเท่านาน พวกเราชาวมหาจุฬาฯนับหมื่นรูป/คนได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ห้องประชุม มวก. ๔๘ พรรษาแห่งนี้เพื่อร่วมพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอย่างเป็น ทางการ  ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันนี้ มหาจุฬาฯ มีสำนักงานใหญ่เป็นของตนเองบนที่ดินที่เป็นของตนเอง ซึ่งสร้างแล้ว เสร็จในช่วงเวลาที่พวกเราทั้งหลายมีส่วนร่วมในการดำเนินการไม่ทางใดก็ทาง หนึ่ง ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ความสำเร็จครั้งนี้งดงามควรแก่ความภาคภูมิใจ ทำให้นึกถึงพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า

วายเมเถว ปุริโส                   ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา

นิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา          ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ

เกิดเป็นคนต้องพยายามต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

เป้าหมายงดงามเมื่อทำสำเร็จ

ไม่มีเหตุแห่งความสำเร็จใดจะยิ่งไปกว่าความอดทน

ความสำเร็จของพวกเราวันนี้ได้มาด้วยขันติคือทนลำบาก ทนตรากตรำและทนเจ็บใจ

วันนี้ ผมขอถือโอกาสพูดถึงยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์(Strategy)ใน การพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งเรามีวันนี้ที่วังน้อย เพื่อที่ว่าพวกเราทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จะได้นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาส่วนงานของเราให้ดียิ่งขึ้นโดยกระจายการพัฒนาให้ เกิดพร้อมกันทุกภาคส่วนตั้งแต่วิทยาเขตลงไปจนถึงหน่วยวิทยบริการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สร้างมหาจุฬาฯด้วยความคิดเชิงยุทธศาสตร์

หลายคนมาเห็นสถานที่แห่งนี้แล้วตั้งคำถามว่าพวกเราสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยได้ ยิ่งใหญ่และงดงามขนาดนี้ได้อย่างไร ผมขอตอบว่าพวกเราสร้างมหาวิทยาลัยด้วยการใช้ความคิดเชิงยุทธศาสตร์หรือความ คิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตฺเตน นียตี โลโก โลกหมุนไปด้วยความคิด ถ้าเราปรับความคิดให้ถูกต้อง เราจะหมุนโลกนี้ได้  เหมือนกับที่ อาคีมิเดส (Archimedes) เจ้าของทฤษฏีคานงัด บอกว่าไม่มีอะไรที่เขางัดไม่ได้ ต่อให้ของหนักที่สุดก็งัดได้ตามทฤษฎีของเขา ถ้าเขามีที่ยืนอยู่นอกโลกตรงไหนก็ได้ เขาจะใช้คานงัดดีดโลกนี้กระเด็นออกไป นี่แหละที่ว่าโลกหมุนไปตามความคิด โลกหมุนไปในทางเดียวกันเพราะความคิด โลกชนกันพินาศวอดวายก็เพราะความคิด

พระพุทธศาสนาเรียกระบบความคิดว่าทิฐิ เมื่อปรับทิฐิความเห็นให้ถูกต้อง โลกก็หมุนไปถูกต้อง ถ้าเราสามารถปรับทิฐิของคนนับหมื่นนับแสนให้ไปในทิศทางเดียวกันได้ มันจะเกิดพลังมหาศาล อย่างที่พวกเรามาอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนหมื่นวันนี้ในฐานะผู้บริหาร  คณาจารย์ หรือนิสิตของมหาวิทยาลัยหรือในฐานะครูพระสอนศีลธรรม  เมื่อใจเรารวมเป็นหนึ่ง คือปรับทิฐิหรือทัศนะให้ตรงกันได้แล้ว คนหมื่นคนก็จะทำงานประสานกลมเกลียวกันเหมือนคนคนเดียว    ถ้าเราร้อยใจหมื่นดวงให้เป็นดวงเดียว อะไรก็เกิดขึ้นได้  ปาฏิหาริย์ ก็เกิดขึ้นได้ เหมือนการสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยนี้ซึ่งหลายคนเคยบอกว่าเป็นไปไม่ได้  แต่วันนี้มันเป็นไปได้แล้วเพราะอะไร ก็เพราะความคิดเชิงกลยุทธ์

ก่อนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะย้ายสำนักงานใหญ่มาที่วังน้อยที่นี่เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑  มหาวิทยาลัยตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร  เรามีป้ายมหาวิทยาลัยหนึ่งป้ายพร้อมอาคารหนึ่งหลัง นั่นคือบ้านเก่าของเรา   อาคาร ที่นั่นงดงามแต่คับแคบเพราะเรามีนิสิตและคณาจารย์ส่วนกลางจำนวนนับพัน เราอยู่ที่บ้านเก่าอย่างแออัดคับแคบเหมือนปลาใหญ่อยู่ในสระเล็ก มันจะว่ายไปไหนมาไหนก็ไม่ได้ พอเราจับปลามาปล่อยในสระใหญ่ที่วังน้อย ปลาค่อยยิ้มได้และหายใจโล่งอก

ตอนที่เราอยู่รวมกันที่วัดมหาธาตุ ผมได้ยินพวกเราถกเถียงกันในที่ประชุมว่าใครจะอยู่ห้องไหน มุมไหน เราแบ่งสันปันส่วนสำนักงานกันไม่ลงตัวเพราะมีสถานที่จำกัด ผมเคยตั้งข้อสังเกตตั้งแต่เรายังไม่มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นของเรา เองว่า มหาจุฬาฯตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาไม่กี่เดือน เอกสารและบุคลากรก็ขยายเต็มห้อง จนล้นออกมาตรงนั้นตรงนี้ ผมนึกอัศจรรย์ใจว่าชาวมหาจุฬาฯ มีศักยภาพที่จะพัฒนางานได้เป็นอย่างดี ขออย่างเดียวคือให้เขามีโอกาสคือมีสถานที่ทำงานที่เป็นสัปปายะ  ผมเชื่อมั่นอย่างนี้ตั้งแต่สมัยที่ผมเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา

ในฐานะฝ่ายวางแผน ผมต้องคิดฝันล่วงหน้า ผมไม่สงสัยในศักยภาพ ความสามารถ ฝีมือ สติปัญญา น้ำใจและความใจถึงของพวกเราชาวมหาจุฬาฯ   ตอนนั้นเรายังทำอะไรไม่ได้ เพราะเรายังไม่มีเวทีเป็นของเราเอง เรารำสวยแต่ไม่มีเวทีให้รำ  เราแสดงดีแต่ไม่มีโอกาสได้แสดง ตอนนั้นผมจึงใฝ่ฝันว่าถ้าผมมีโอกาสเมื่อไร ผมจะสร้างเวทีให้พวกเราชาวมหาจุฬาฯ ได้แสดงฝีมือกันอย่างเต็มที่ แต่โอกาสที่เรารอคอยก็มาไม่ถึงสักที จนกระทั่งเราต้องสร้างโอกาสขึ้นมาเองด้วยการผลักดันให้มีการตราพระราช บัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๔๐

ตอนที่พวกเราผลักดันพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ใกล้สำเร็จก็มีคนสบประมาทพวกเราคือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในกรมการ ศาสนาสมัยนั้นไปฟ้องพระเถระผู้ใหญ่ว่าถ้ามหาจุฬาฯ มีพระราชบัญญัติเป็นของตนเองจะยุ่งกันใหญ่เพราะพระสงฆ์ทำงานไม่เป็น เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัด สระเกศราชวรมหาวิหาร รู้สึกห่วงใยพวกเราจึงได้เรียกผมไปเตือนว่ามีคนเขาสบประมาทพวกท่านว่าพระ สงฆ์ทำงานไม่เป็น เพราะฉะนั้นท่านต้องระวังอย่าให้ล้มเหลวเพราะจะเสียหายไปถึงคณะสงฆ์โดยรวม   คำเตือนนั้นยังก้องอยู่ในหูของผมจนทุกวันนี้

ความสำเร็จของพวกเราในวันนี้เป็นการลบล้างคำสบประมาทที่ว่าพระสงฆ์ทำงานไม่เป็น พวกเราชาวมหาจุฬาฯได้พิสูจน์ให้ชาวโลกเห็นว่าพระสงฆ์ไทยสามารถทำงานระดับ ชาติและระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดีขอเพียงแต่ให้มีโอกาสและมีเวทีในการ แสดงออก

วันนี้มีครูพระสอนศีลธรรมจำนวนมากมาอยู่ในห้องประชุมนี้ ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าตอนนี้คำสบประมาทได้ย้ายไปลงที่ครูพระสอนศีลธรรมใน โรงเรียนว่าพระสงฆ์สอนเด็กไม่เป็นจึงทำให้วิชาพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องน่า เบื่อสำหรับเด็กในโรงเรียน คำสบประมาทแบบนี้เคยมีมาแล้วเมื่อพระสงฆ์ได้รับนิมนต์ให้ไปสอนในโรงเรียน เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ในสมัยรัชกาลต่อมาพระสงฆ์ก็หยุดไปสอนในโรงเรียนเพราะมีเสียงค้านว่าพระสงฆ์สอนได้แต่เด็กผู้ชาย แต่สอนเด็กผู้หญิงไม่ได้  ครู ประจำการจึงดึงงานสอนทั้งหมดไปจากพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงว่างงานในการสอนศีลธรรมในโรงเรียนไปเกือบหนึ่งร้อยปี จนกระทั่งเมื่อสามปีที่ผ่านมา รัฐบาลบอกให้มหาจุฬาฯช่วยเป็นคนกลางนิมนต์พระสงฆ์ ๒๐,๐๐๐ รูปไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน พวกเราก็รับหน้าที่เป็นคนกลางให้ แต่ผมก็ห่วงลึกๆ ว่าถ้าพระสงฆ์ล้มเหลวในการสอนศีลธรรมในโรงเรียนครั้งนี้ พระสงฆ์ในอนาคตก็จะหมดโอกาสที่จะเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียนและอาจจะต้องรอ อีก ๒๐๐ ปีก่อนที่พระสงฆ์จะได้กลับเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน พระสงฆ์ในอนาคตคงจะสวดรุ่นพวกท่านว่าสอนศีลธรรมในโรงเรียนแบบไหน จึงทำให้โรงเรียนกลายเป็นเขตปลอดครูพระสอนศีลธรรมขึ้นมาได้

ดังนั้น เพื่อลบล้างคำสบประมาทที่มีต่อครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาจุฬาฯต้องเป็นคนกลางที่เร่งพัฒนาศักยภาพของพวกเราด้วยการจัดหลักสูตรฝึก อบรมให้พวกท่าน  ทางที่ดีคือพวกท่านเข้าเรียนมหาจุฬาฯ เริ่มจากหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์หรือ ปบส.  เมื่อ เรียนมหาจุฬาฯ แล้วท่านจะรู้ว่ามหาจุฬาไม่ได้สอนแค่ความรู้วิชาการ แต่ยังปลูกฝังให้มีจิตสำนึกสาธารณะในการเป็นผู้ให้เป็นผู้เสียสละดังคำกล่าว ที่ว่า Come to learn, leave to serve” แปลว่า มาเรียนเพื่อรู้ จบไปเป็นผู้ให้บริการ นี่ คือสิ่งที่มหาจุฬาฯ สั่งสอนอบรมนิสิตติดต่อกันมากว่าหกสิบปีจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ของมหาวิทยาลัย พวกเรามีความสุขในฐานะเป็นผู้ให้ เราไม่เคยถามว่าให้แล้วเราจะได้อะไร  เพราะการให้เป็นความสุขอยู่ในตัวเอง ดังพุทธพจน์ที่ว่า “มนาปทายี ลภเต มนาปํ” แปลว่า ให้สิ่งที่น่าพอใจแก่เขา เราก็ได้สิ่งที่น่าพอใจตอบ

เราสร้างอาคารใหญ่โตที่วังน้อยโดยไม่ได้คิดหวงไม่ให้ใครเข้ามาใช้  เราประกาศมาตลอดว่าที่นี่สร้างมาด้วยแรงศรัทธาของประชาชน  คนทั่วไปจึงเข้ามาใช้ได้ ขอให้มาใช้กันเถอะ ที่นี่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ พระสงฆ์ทุกรูปจึงมีสิทธิเข้ามาใช้   และ ไม่ใช่เฉพาะพระสงฆ์ไทยเท่านั้น พระสงฆ์ทั่วโลกก็เข้ามาใช้ได้ นี่คือสมบัติของพระศาสนาที่สร้างมาด้วยเงินบริจาคของประชาชนร้อยละ ๖๐ และด้วยงบประมาณจากรัฐบาลอีกร้อยละ ๔๐

เมื่อเราสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยขึ้นมาได้งดงามอย่างที่เห็นอยู่นี้ เราจึงทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัยให้ยิ่งใหญ่เพื่อจะประกาศให้คนทั้งหลายเข้ามา ใช้ศึกษาและปฏิบัติธรรม  ปรากฏว่าทุกวันนี้อาคารหอ พักถูกจองกันล่วงหน้าหลายเดือนโดยส่วนราชการต่างๆที่นำบุคลากรเข้ามาปฏิบัติ กรรมฐาน นี่เป็นกิจกรรมหนึ่งในการให้บริการวิชาการแก่สังคมของพวกเรา

เพราะเหตุที่พวกเราชาวมหาจุฬาฯ  มีจิตอาสาชอบเสียสละเพื่อส่วนรวมดังกล่าวมา เวลาที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) มาประเมินมหาวิทยาลัย ปรากฏว่าเราได้คะแนนประเมินสูงมากในด้านการบริการสังคม แม้ด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ เราอาจจะไม่เลิศเลอนัก   แต่ในเรื่องน้ำใจเสียสละและจิตอาสา เราไม่แพ้ใครในโลก  ผมใช้คำว่าในโลกเพราะตลอดระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมาผมได้เห็นพวกเราจัดงานระดับโลก  ตั้งแต่การจัดประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธโลก (Buddhist Summit) ในปี ๒๕๔๓ จนถึงการจัดกิจกรรมนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลกในปัจจุบัน เรา ทำงานกันอย่างทุ่มเทหามรุ่งหามค่ำ จนถึงขนาดที่ว่าชาวต่างประเทศประหลาดใจที่เห็นพระสงฆ์ไทยเสียสละทำงานกัน อย่างจริงจัง พวกเขาถามอธิการบดีว่าท่านสอนกันอย่างไรจึงได้ผลผลิตอย่างนี้ พวกเขาอยากให้เราไปผลิตบัณฑิตแบบเดียวกันนี้ให้เขาบ้างจึงมาสมัครเป็นสาขา ของมหาจุฬาฯ นี่คือที่มาของสถาบันสมทบในต่างประเทศ ในปัจจุบันมหาจุฬาฯมีสถาบันสมทบในต่างประเทศ ๕ แห่ง คือเกาหลีใต้  ไต้หวัน สิงคโปร์ ศรีลังกา และฮังการี

อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับจุดแข็งของมหาจุฬาฯที่พวกเราควรตระหนักให้ดีก็คือว่า  พระมหาเถระชาวต่างประเทศหลายรูป โดยเฉพาะพระศรีธัมมานันทะ (K. Sri Dhammananda) ซึ่ง เป็นพระสงฆ์ชาวศรีลังกาประจำอยู่มาเลเซียได้แสดงความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาจุฬาฯ ในการเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาของมหาจุฬาฯนั้น ท่านได้เห็นพระบัณฑิตหลายพันรูปเข้าแถวรับปริญญาพร้อมกับท่าน ภาพที่พระสงฆ์จำนวนนับพันรูปเข้ารับปริญญาอย่างนี้ไม่มีที่ไหนในโลก  มีแต่ที่มหาจุฬาฯเท่านั้น เมื่อจัดอันดับตามจำนวนพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบัน ปรากฏว่า มหาจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ใหญ่ที่สุดในโลก การได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจึงเป็นเรื่องที่พระมหาเถระทั่วโลกภาคภูมิใจกันมาก  เรา จึงได้ข้อสรุปว่า เอกลักษณ์หนึ่งของมหาจุฬาฯที่ทำให้เราโดดเด่นในเวทีโลกวันนี้ซึ่งพวกเราหลาย คนอาจมองข้ามก็คือการที่มหาจุฬาฯมีพระสงฆ์เข้าศึกษาอยู่มากที่สุดในโลก มหาจุฬาฯในอนาคตต้องรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้ให้ดี

ดื่มน้ำให้นึกถึงคนขุดบ่อ ทานผลไม้ให้นึกถึงคนปลูกต้นไม้

เพื่อที่จะช่วยกันถนอมรักษาจุดเด่นและ จิตวิญญาณของเราให้คงอยู่สืบไป เราถือคติเตือนใจวันนี้ว่า ดื่มน้ำให้นึกถึงคนขุดบ่อ ทานผลไม้ให้นึกถึงคนปลูกต้นไม้ น้ำในบ่อที่เราดื่มได้เพราะใครก็ไม่รู้ ได้ขุดไว้เราผ่านมาได้ดื่ม ต้องขอบคุณเขา ผลไม้ที่เขาปลูกไว้ เราได้รับประทาน มีต้นไม้ชนิดหนึ่งในประเทศจีนชื่อว่าแปะก้วย  คนปลูกไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ปลูก เพราะใช้เวลาเติบโตเกือบ ๑๐๐ ปีจึงจะออกดอกออกผล คนปลูกตายไปแล้ว คนอื่นกินผลของมันไปอีกหลายร้อยปี

ที่ มหาจุฬาฯมีวันนี้เราเป็นหนี้พระคุณขององค์ผู้สถาปนาคือพระบาทสมเด็จพระปรมิ นทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงให้ย้ายศาลาบอกหนังสือพระหรือโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจากวัด พระศรีรัตนศาสดารามมาไว้ที่วัดมหาธาตุ เรียกว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” ซึ่งเปิดเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๓๒   ต่อมาพระองค์ผู้ทรงสถาปนาทรงเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็น “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อปี ๒๔๓๙ เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์  ทรง มีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์เอง คู่กันกับ “มหามกุฏราชวิทยาลัย” ซึ่งทรงสถาปนาไว้เป็นอนุสรณ์เฉลิพระเกียรติแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  ดังพระราชหัตถเลขาลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๔๓๙ ที่ทรงมีถึงหม่อมเจ้าประภากร รองอธิบดีกรมศึกษาธิการในสมัยนั้น ความตอนหนึ่งว่า เดิม นั้นคิดว่าจะทำศาลาบอกหนังสือพระ ให้คู่กันกับศาลาบอกหนังสือที่วัดบวรนิเวศน์ที่ให้ชื่อว่ามหามกุฏราช วิทยาลัย เป็นส่วนธรรมยุติกา ที่นี่จะสร้างขึ้นสำหรับส่วนมหานิกาย จะให้ชื่อว่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่วัดมหาธาตุเป็นเวลา ๑๒๐ ปีจนกระทั่งย้ายมาตั้งอยู่ที่ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นมา หลายคนรู้สึกประหลาดใจที่พบว่า มหาจุฬาฯเปลี่ยนสภาพจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ที่บนที่ดินของ วัดมหาธาตุกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ขนาดใหญ่ที่มีที่ดินเป็นของตนเองจำนวน ๓๒๓ ไร่ที่วังน้อย มีอาคารเรียนรวมที่จุผู้เรียนได้ ๑๔,๐๐๐ รูป/คน มีหอประชุมขนาดใหญ่ที่จุคนได้ ๓,๕๐๐ คน มีอุโบสถกลางน้ำใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งจุพระสงฆ์ได้ ๔,๐๐๐ รูป ปัจจุบันมหาจุฬาฯเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกทั้งที่ส่วน กลางและส่วนภูมิภาคกว่า  ๔๐ จังหวัดทั่วประเทศ   มีนิสิตทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์จำนวน ๑๗,๐๐๐ รูป/คน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากรัฐบาลปีละกว่าหนึ่งพันล้านบาท ที่สำคัญก็คือมหาจุฬาฯยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติอีกด้วย

หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ความเจริญเติบโตของมหาจุฬาฯเป็นไปอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมานี่เอง บางคนตั้งคำถามว่าพัฒนาการเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ก็ขอตอบว่า กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันใด มหาจุฬาฯก็ฉันนั้นคือไม่ได้สร้างเสร็จภายในเวลาหนึ่งทศวรรษ หากแต่เราใช้เวลาเตรียมความพร้อมอยู่ที่วัดมหาธาตุนานหลายปีกว่าจะเป็นอย่าง วันนี้ได้ การสะสมบารมีที่ยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษเป็นปัจจัยหนุนส่งให้มหาจุฬาฯเติบโตมา จนถึงวันนี้

ในประเทศจีนมีต้นไผ่ชนิดหนึ่งที่คนจีนเรียกว่าเมาซูแต่ฝรั่งเรียกว่าโมโซ่ (Moso) ไผ่ชนิดนี้คนแก่ไม่อยากปลูก แต่คนหนุ่มสาวชอบปลูก เหตุที่คนแก่ไม่อยากปลูกก็เพราะว่าปลูก ๕ ปีแล้ว มันสูงจากพื้นนิดเดียว คนแก่บอกว่าเราคงตายเสียก่อนที่มันจะโตเต็มที่  แต่ คนหนุ่มสาวชอบปลูกไผ่ชนิดนี้เพราะหลังจากปลูกได้ ๕ ปี ไผ่จะโตอย่างรวดเร็ว คือมันโตวันละ ๒ ฟุตครึ่ง จนมันสูงเต็มที่ถึง ๗๕ ฟุต ภายใน ๖ สัปดาห์  หลัง จากนั้นมันจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นไผ่ยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลายคนคงเคยเห็นไผ่ชนิดนี้ในหนังจีนกำลังภายในที่มีฉากต่อสู้ฟันดาบกันบนยอด ไผ่โมโซ่นี่แหละ

นักพฤกษศาสตร์ศึกษาธรรมชาติของไผ่ชนิดนี้ด้วยการขุดดูรากไผ่ใต้ดินแล้วพบว่า  ในช่วง ๕ ปีแรกไผ่โตอยู่ใต้ดิน รากของมันงอกขดเป็นขนดอยู่ใต้ดิน  ถ้าดึงให้ขยายเป็นเส้นตรงจะมีความยาวเกือบหนึ่งกิโลเมตร นี่แสดงว่ามันเตรียมความพร้อมอยู่ใต้ดิน พอครบ ๕ ปี รากของมันดูดซับอาหารจนต้นไผ่โตพรวดๆ กลายเป็นไผ่ยักษ์

มหาจุฬาฯเปรียบเหมือนไผ่โมโซ่คือซุ่มเตรียมความพร้อมอยู่ที่วัดมหาธาตุตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๕ จนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ เราเตรียมความพร้อมอยู่ที่วัดมหาธาตุเป็นเวลานานก่อน ที่จะมีพระราชบัญญัติเป็นของตนเอง การเตรียมความพร้อมที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นเหตุให้มีพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็คือการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ แผนพัฒนานี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า แผนพัฒนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๙) เราจงใจใส่คำว่า ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๗ ไว้ในชื่อแผนพัฒนามหาวิทยาลัยก็เพราะเราไม่ต้องการให้คนทั่วไปรู้ว่ามหา จุฬาฯเพิ่งทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปีเป็นครั้งแรก ผมรู้เรื่องนี้ดีเพราะขณะนั้นผมเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผนซึ่งเป็น ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับนี้

การบริหารเชิงกลยุทธ์

เมื่อมองย้อนดูเหตุการณ์ที่ผ่านมา ผมถือว่าการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นำพามหา จุฬาฯให้เจริญเติบโตมาถึงจุดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทั้งนี้เพราะในการระดมสมองเพื่อจัดทำแผนของมหาวิทยาลัยนั้น เราสร้างวิสัยทัศน์ร่วม กันว่าเราต้องการเห็นมหาจุฬาฯพัฒนาไปเป็นอะไร ถ้าเราไม่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันเช่นนั้น เราก็จะไม่มีทางรู้เลยว่ามหาจุฬาฯจะพัฒนาไปในทิศทางใด

ตัวอย่างของการทำงานที่ขาดวิสัยทัศน์ก็คือการแล่นเรือไปพบทวีปอเมริกาของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เขาเป็นนักสำรวจคนแรกผู้ค้นพบทวีปอเมริกาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๕ ก่อนจะแล่นเรือออกเดินทางจากสเปนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โคลัมบัสไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าตนเองกำลังจะไปไหน (เขาเข้าใจผิดคิดว่าตนเองกำลังแล่นเรือไปทวีปเอเชีย) เมื่อเดินทางถึงทวีปอเมริกาแล้ว โคลัมบัสก็ไม่รู้ว่าเขากำลังอยู่ที่ใด (เขาเข้าใจว่าตนเองกำลังอยู่ที่ทวีปเอเชียจึงเรียกคนพื้นเมืองที่นั่นว่าคน อินเดีย) เมื่อเดินทางกลับถึงสเปน โคลัมบัสก็บอกไม่ได้ว่าเขาไปที่ใดมา (เขาบอกคนในยุโรปว่าเขาไปถึงทวีปเอเชีย) ดังนั้น แม้โคลัมบัสจะเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ค้นพบทวีปใหม่ นักประวัติศาสตร์ก็ไม่ตั้งชื่อทวีปใหม่ตามชื่อของโคลัมบัส ตรงกันข้าม นักประวัติศาสตร์กลับตั้งชื่อว่าทวีปอเมริกาตามชื่อของผู้ค้นพบคนที่สองซึ่ง มีชื่อว่า อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ทั้งนี้เพราะอเมริโกประกาศยืนยันว่าทวีปที่เขาค้นพบหลังจากโคลัมบัสนั้นไม่ใช่ทวีปเอเชียอย่างที่โคลัมบัสเข้าใจแต่เป็นทวีปใหม่ นักประวัติศาสตร์จึงตั้งชื่อทวีปใหม่แห่งนี้ว่าทวีปอเมริกา

การสร้างวิสัยทัศน์ประกอบการวางแผนนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารเชิงกลยุทธ์หรือการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Management) นั่นหมายความว่าที่มหาจุฬาฯเติบใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยอาศัยวิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์นั่นเอง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้นิยามความหมายของคำว่ากลยุทธ์ไว้ว่า การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม, วิธีการที่ต้องใช้กลอุบายต่างๆ, เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้ และได้นิยามความหมายของคำว่ายุทธศาสตร์ไว้ว่า วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยามสงบและยามสงคราม

อย่างไรก็ตาม วงการนักบริหารในปัจจุบันนิยมใช้คำว่ากลยุทธ์และยุทธศาสตร์ในความหมายเดียวกันเพราะแปลมาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันว่า “Strategy”  ซึ่งหมายถึง “วิธีการ แผนการหรือวิธีพลิกแพลงเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ (A method, plan, or stratagem to achieve some goal)” ดังนั้น ผมจึงใช้คำว่ากลยุทธ์และยุทธศาสตร์ในความหมายเดียวกันว่า “การใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้” ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา มหาจุฬาฯใช้วิธีการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ในการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย คำว่า “การบริหารเชิงกลยุทธ์” หมายถึง การทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์

ยุทธศาสตร์ ในการพัฒนามหาจุฬาฯในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมาก็คือ เราสร้างวิสัยทัศน์ว่าจะผลักดันให้มหาจุฬาฯพัฒนาไปเป็นอะไร นั่นคือ พวกเรากำหนดเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจนก่อนจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยให้ดำเนิน ไปสู่เป้าหมายนั้นตามลำดับมีขั้นมีตอนและมีการปรับเปลี่ยนแผนการตาม สถานการณ์ ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายและแผนการร่วมกันจึงเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารองค์กร องค์กรที่ขาดเป้าหมายและการวางแผนก็เหมือนเรือที่ขาดหางเสือย่อมจะแล่นสะเปะ สะปะและบางทีอาจจะแล่นวนกลับมาที่จุดตั้งต้นก็ได้

ถ้า บริหารโดยไม่มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์จะทำให้การทำงานมีความซ้ำซ้อนและกินแรง มากเพราะไม่มีการส่งไม้ต่อๆกันไปเป็นทอดๆ เวลาทำแผนเชิงกลยุทธ์เราจะตั้งเป้าหมายว่าจะไปที่ใด จากนั้นก็กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการไปสู่เป้าหมายนั้นซึ่งรียกว่าการวางแผน ในการวางแผนนั้นเราคิดหลายชั้น ไม่ใช่คิดชั้นเดียว เหมือนการเล่นหมากรุกที่ต้องคิดล่วงหน้าหลายตา จากนั้นก็เดินไปตามแผนที่วางไว้ เมื่อเจอปัญหาก็ต้องรู้จักยืดหยุ่นพลิกแพลงไปตามสถานการณ์ ไม่ใช่เดินอาหัวชนกำแพง มีการถอยตั้งหลักหรือเปลี่ยนเส้นทางเดิน แต่ไม่เคยลืมเป้าหมาย เราต้องเอาชนะปัญหาอุปสรรคให้ได้ และไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ดังคำกล่าวของประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt) ที่ว่า ตาดูดาว เท้าติดดิน (Keep your eyes on the stars and your feet on the ground)สองตามองที่ดวงดาวคือเป้าหมาย ส่วนสองเท้าก็เดินไปตามแผนเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น

เราเห็นวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการเล่นบิลเลียด ผู้เล่นต้องวางแผนตีกระทบลูกหนึ่งเพื่อให้วิ่งไปกระทบลูกไหนต่อไปลงช่องไหน หรือทำให้ตามแทงได้ง่ายขึ้น นี่คือการคิดเชิงกลยุทธ์ที่ทำอะไรอย่างมีเป้าหมายเสมอ

ถ้า ท่านดูการแข่งขันฟุตบอลให้ดูด้วยว่าแต่ละฝ่ายเขาวางแผนกันอย่างไร เป้าหมายอยู่ที่การทำประตูในเขตแดนของคู่ต่อสู้ ผู้เล่นต้องส่งลูกฟุตบอลจากกองหลังไปกองกลางจนถึงศูนย์หน้าเพื่อให้ยิงเข้า ประตูฝ่ายตรงข้าม นักเตะแต่ละคนส่งลูกต่อกันเป็นทอดๆรู้จักหลบหลีกคู่ต่อสู้ ต้องรู้จักวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ว่าอยู่ตรงไหน พยายามหลีกเลี่ยงจุดแข็งและเข้าโจมตีจุดอ่อน นั่นคือการพลิกแพลงตามสถานการณ์

ใครที่เล่นหมากรุกย่อมรู้จักคิดวางแผนล่วงหน้าว่าถ้าเราเดินไปตานี้ เขาจะเดินไปตาไหน เราจะรุกฆาตเขาได้หรือไม่ ถ้าเรายอมเสียเบี้ยให้เขาไปหนึ่งตัว เราจะกินม้าหรือโคนของเขาได้หรือไม่  นี่คือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ต้องมีการคิดวางแผนล่วงหน้าเสมอ

การบริหารเชิงกลยุทธ์นี้มีอยู่แล้วในพระพุทธศาสนาซึ่งผมเรียกว่าการบริหารตามแนวอริยสัจ ๔ ซึ่งเริ่มจากการตระหนักรู้ปัญหาหรือทุกข์ขององค์กร เราตรวจดูว่าอะไรเป็นสมุทัยคือสาเหตุของปัญหา เราคาดว่าปัญหานั้นแก้ได้หรือไม่ซึ่งเป็นการเก็งนิโรธ จากนั้นเราวางแผนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งตรงกับอริยสัจข้อที่ ๔ คือมรรค กระบวนการทั้งหมดนี้เป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์

เมื่อศึกษาพุทธประวัติ เราพบว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักวางแผนชั้นเยี่ยม  เมื่อ จะประกาศพระศาสนาในปีแรกหลังตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ แต่ก็ไม่ตรงไปเทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธในทันที  ทรง เห็นว่าพระเจ้าพิมพิสารและชาวมคธเคารพนับถือชฎิลสามพี่น้อง พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปปราบพยศของชฎิลทั้งสามพร้อมลูกศิษย์อีก ๑,๐๐๐ คนจนกระทั่งทุกคนขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จากนั้นจึงเสด็จไปพร้อมพระภิกษุเหล่านั้นเพื่อเทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสาร   เมื่อ พระเจ้าพิมพิสารและชาวมคธเห็นว่าชฎิลสามพี่น้องที่พวกตนเคารพนับถือกลายเป็น ศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว จิตใจของคนเหล่านั้นก็อ่อนลงพร้อมที่จะฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าเทศน์จบลง  พระเจ้าพิมพิสารได้ดวง ตาเห็นธรรม ชาวมคธเหล่านั้นปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นี่แสดงให้เห็นว่า แม้พระพุทธเจ้าตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะเทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสารและ ชาวมคธ แต่ก็ทรงวางแผนดึงชฎิลสามพี่น้องมาเป็นศิษย์ให้ได้ก่อนซึ่งจะช่วยให้เทศน์ โปรดพระเจ้าพิมพิสารและชาวมคธได้โดยง่าย นี่คือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของพระพุทธเจ้า

การผลักดันเพื่อให้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พวกเราลูกศิษย์พระพุทธเจ้าได้วางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นขั้นเป็นตอนส่งต่อกันเป็นทอดๆ ดังต่อไปนี้

ขั้นที่ ๑ วางแผนดำเนินการให้มหาจุฬาฯมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นของตนเอง เพื่อให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล

ขั้นที่ ๒ เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคลแล้วก็สามารถเป็นเจ้าของที่ดินและดำเนินการก่อสร้างสำนักงานใหญ่บนที่ดินนั้นได้

ขั้นที่ ๓ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัย เราจึงกำหนดวิสัยทัศน์ที่จะให้มหาจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต

การดำเนินการในขั้นแรกเพื่อให้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นของตนเองนั้น เริ่มขึ้นเป็นรูปเป็นร่างเมื่อเราทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕ ในแผนพัฒนาฉบับแรกนี้ เราเขียนเป็นนโยบายไว้ว่า “พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีสถานภาพสมบูรณ์ตามกฎหมาย” และกำหนดเป็นมาตรการรองรับไว้ว่า “ดำเนินการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”

ในการบริหารเชิงกลยุทธ์นั้น เราต้องตระหนักว่าเมื่อเรามีทรัพยากรน้อยและมีเวลาจำกัด เราต้องระดมสรรพกำลังเท่าที่มีอยู่ไปสู่เป้าหมายที่เราเห็นว่าสำคัญที่สุด และในช่วงปี ๒๕๓๕-๒๕๓๙ นั้น เราเห็นว่าการดำเนินการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับต้น ตลอดช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปี(๒๕๓๕-๒๕๓๙)นั้น เราทุ่มเทดำเนินการในเรื่องนี้เป็นหลักจนกระทั่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสำเร็จออกมาในปี ๒๕๔๐

ในช่วงเวลาห้าปีที่ว่านี้เราเกือบไม่ทำอะไรเลยนอกจากเรื่องผลักดันพระราช บัญญัติมหาวิทยาลัย เป้าหมายหลักของเราคือให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯให้จงได้ และในที่สุดเราก็ทำสำเร็จในปี ๒๕๔๐ เหตุที่เราทำได้ก็เพราะเราทำอย่างมีแผนกลยุทธ์  นี่ แหละที่ผมบอกว่าเราทำเป็นขั้นเป็นตอนกว่าจะมาถึงวันนี้ เราประสบความสำเร็จด้วยพรแสวงไม่ใช่พรสวรรค์ เราทำงานหนักมากในการไปชี้แจงเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯเพื่อ ให้ผ่านด่านแต่ละด่านตั้งแต่กรมการศาสนาในสมัยนั้นไปจนถึงวิปรัฐบาล เราเข้าไปชี้แจงในคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการวุฒิสภาและคณะกรรมาธิการร่วมของทั้งสองสภา การที่ผมเองได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้เป็นหัวหน้าคณะเข้าไปชี้แจงในทุก ด่านนั้นทำให้ในตอนนั้นผมจำพระราชบัญญัติมหาจุฬาฯได้เกือบทุกมาตรา

ในการทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๕ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเหตุให้เราต้องทำ SWOT Analysis นั่นคือการวิเคราะห์จุดเด่น(Strengths) จุดด้อย (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ของมหา จุฬาฯ การวิเคราะห์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย เราได้นำข้อมูลจากการวิเคราะห์ไปประกอบการชี้แจงให้พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯผ่านด่านทุกด่านดังกล่าวมา

อะไรคือจุดเด่นที่สุดของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คำตอบก็คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนาไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๐ ยิ่งไปกว่านั้น องค์ผู้สถาปนายังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้พระปรมาภิไธยของพระองค์เป็นชื่อสถาบันว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ เพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์เอง

ควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๙ เพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

จุดเด่นประการที่ ๒ ของมหาจุฬาฯ มาจากพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงมีถึงเจ้าพระยาปภากร ความตอนหนึ่งว่า “ที่นี่จะสร้างขึ้นสำหรับส่วนมหานิกาย จะให้ชื่อว่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เพราะ เหตุนี้ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุในขณะนั้นได้เรียกประชุม พระเถระนุเถระฝ่ายมหานิกาย ๕๗ รูปที่วัดมหาธาตุ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๙๐ ได้ข้อยุติร่วมกันให้เปิดการศึกษามหาจุฬาฯในรูปแบบมหาวิทยาลัย จึงได้ประกาศใช้ระเบียบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๙๐  ผมดีใจที่ท่านเจ้าคุณพระราชเวที (พร) เป็นต้นเสียงสวดชะยันโตตอนที่ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมประกาศเรื่องนี้จบลง

การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชประสงค์ให้มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาสำหรับพระสงฆ์มหานิกายนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยประการหนึ่ง เพราะเท่ากับว่าจำนวนประชากรสงฆ์ที่ มหาวิทยาลัยจะต้องรับภาระดูแลด้านการศึกษานั้นมีจำนวนมากกว่าสามแสนรูป ด้วยเหตุนี้เองมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเพื่อให้คงความเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเอาไว้ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้มีมติให้มหาวิทยาลัยรับพระสงฆ์ และคฤหัสถ์เข้าศึกษาในอัตราส่วน ๗๐/๓๐ นั่นคือให้รับนิสิตฝ่ายพระภิกษุสามเณรร้อยละ ๗๐ และรับนิสิตฝ่ายคฤหัสถ์ร้อยละ ๓๐

อุปสรรคในการเสนอพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยใช่ว่าจะราบรื่นเสียทีเดียว เคยมีความพยายามก่อนหน้านี้หลายครั้งแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และมีอยู่ครั้งเดียวเท่านั้นที่ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ผ่านวาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ใน สมัยที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการก็ได้มีการ ยุบสภาไปเสียก่อน  ร่างพระราชบัญญัตินี้จึงเป็นอันตกไป หลังจากนั้นรัฐบาลก็ไม่เคยเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าสภาอีกเลยจนกระทั่งเรามาเริ่มต้นผลักดันกันใหม่ในปี ๒๕๓๕

อุปสรรคสำคัญต่อการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าสภาในปี ๒๕๑๘ ก็คือมติข้อโต้แย้งจากสังคมในสมัยนั้น ๓ ประการ ดังนี้

๑.      มีข้อห่วงใยว่า ถ้าพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรับรองปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้ก็จะเป็นเหตุให้พระภิกษุสามเณรลาสิกขากันมากขึ้น

๒.    การรับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเป็นสิ่งจูงใจเพื่อให้คนบวชเพียงเพื่อต้องการเอาปริญญา ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการบวช

๓.     การรับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเป็นเหตุให้พระภิกษุสามเณรเป็นผู้เอาเปรียบสังคม

เมื่อถึงปี ๒๕๓๕ ที่เราเริ่มดำเนินการผลักดันพระ ราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้น ข้อโต้แย้งจากสังคมทั้ง ๓ ประการดูจะคลายน้ำหนักลงไปเป็นอันมาก โดยเฉพาะข้อโต้แย้งที่ ๑ ที่ว่าการรับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะทำให้พระภิกษุสามเณรลา สิกขากันมากขึ้นนั้นเป็นอันหมดความหมายไปโดยปริยายเมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่รับรองปริญญาแต่ไม่รับรองสถานภาพของมหาวิทยาลัยสงฆ์

ข้อโต้แย้งที่ ๒ ที่ว่า การ รับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเป็นสิ่งจูงใจเพื่อให้คนบวช เพียงเพื่อต้องการเอาปริญญานั้นก็ไม่มีน้ำหนักในปี ๒๕๓๕ เพราะในปีนั้นสถาบันอุดมศึกษาได้ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะสถาบันราชภัฎได้กลายเป็นสถานศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาไปแล้ว ถ้าผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาต้องการปริญญา พวกเขาคงไม่ลงทุนมาบวชเรียน เพื่อต้องการเอาปริญญาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ คนเหล่านั้นคงเลือกที่จะเข้าเรียนที่สถาบันราชภัฎมากกว่า

ดังนั้น ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงลดบทบาทในการเป็นสถานศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา เราเน้นบทบาทใหม่ในการเป็นมหาวิทยาลัยสำหรับผู้สนใจศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนา ดังที่ปรัชญามหาวิทยาลัยในปัจจุบันมีอยู่ว่า จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีพันธกิจสำคัญคือการสร้างศาสนทายาทดังที่เราได้กำหนดให้มีแผนงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ๒๕๓๕-๒๕๓๙ และมีมาตรการรองรับข้อหนึ่งว่า “จัด ฝึกอบรมบุคลากรของสถาบันสงฆ์ เช่น พระสังฆาธิการ พระธรรมทูต พระวิปัสสนาจารย์ พระจริยานิเทศก์ พระปริยัตินิเทศก์ และครูสอนพระปริยัติธรรมให้สามารถส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทะนุบำรุงศิลป วัฒนธรรม” กว่าคณะสงฆ์โดยรวมจะไว้วางใจให้มหาวิทยาลัยพัฒนาบุคลากรสงฆ์ เราต้องรอมาจนถึงปี ๒๕๕๐ จึงสามารถทำหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.)ให้เป็นที่นิยมของพระสังฆาธิการทั่วประเทศ ปัจจุบันเราเปิดหลักสูตรป.บส. สำหรับพระสังฆาธิการกระจายอยู่กว่า ๔๐ จังหวัดทั่วประเทศ และได้ทำหลักสูตรการจัดการเชิงพุทธเพื่อพัฒนาพระสังฆาธิการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงระดับปริญญาเอก

สำหรับข้อโต้แย้งที่ ๓ ที่ว่าการ รับรองสถานภาพและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเป็นเหตุให้พระภิกษุสามเณรเป็น ผู้เอาเปรียบสังคมนั้น เราสามารถชี้แจงอย่างเสียงดังฟังชัดว่า พระบัณฑิตของเราไม่ได้เป็นผู้เอาเปรียบสังคมแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะมหาวิทยาลัยมีประเพณีที่ถือปฏิบัติมากว่า ๓๐ ปีแล้วว่าผู้ เรียนจบตามหลักสูตรปริญญาตรีสี่ปีของมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถรับปริญญาได้จน กว่าจะได้ปฏิบัติศาสนกิจอีกหนึ่งปีเต็ม นั่นหมายความว่า หลังจากเรียนครบสี่ปีตามหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว นิสิตต้องออกไปปฏิบัติงานเพื่อสังคมอีก ๑ ปีโดยไม่อาจเรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ เมื่อปฏิบัติงานครบ ๑ ปีแล้วจึงมีสิทธิ์รับปริญญา ด้วยเหตุนี้พระนิสิตของเราจึงถูกฝึกหัดให้เป็นผู้มีจิตอาสาพร้อมเสียสละ เพื่อส่วนรวม

คำชี้แจงของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างจังหวัด ที่ได้เห็นผลงานของพระนิสิตปฏิบัติศาสนกิจมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อดูลาดเลาล่วงหน้าแล้ว เราเชื่อว่าร่างพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยน่าจะผ่านสภาไปได้เพราะข้อโต้แย้งจาก สังคมทั้งสามข้อลดน้ำหนักไปมาก แต่มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นนั้นคือรัฐบาลลังเลที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงฆ์เข้าสภาเพราะมีเสียงพูดกันว่าเป็นพระราชบัญญัติอาถรรพ์ที่เสนอเข้าสภาทีไรเป็นอันต้องยุบสภาทุกทีไป

การผลักดันพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยครั้งนี้เริ่มต้นในเดือนธันวาคม ๒๕๓๕ สมัยนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย การดำเนินการในช่วงต้นมีอุปสรรคมากเพราะกรมการศาสนาในสมัยนั้นไม่ยอมปล่อย ให้มหาจุฬาฯเป็นอิสระจากการกำกับดูแลของกรม ดังจะเห็นได้จากการที่กรมการศาสนาชิงเสนอให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นหลักแทนที่จะให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษาของกรมการศาสนาในสมัยนั้นได้แถลงไว้เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๓๗ ว่า “ควรจะมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนด วิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นหลัก เพราะนโยบายของท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยสงฆ์จะไม่มีสองมหาวิทยาลัยอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะขณะนี้จะมีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกเกิดขึ้นโดยตั้งงบประมาณไว้ แล้ว”

ความล้มเหลวและความสำเร็จในการผลักดันพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย

กว่าเราจะผ่านด่านกรมการศาสนามาได้เวลาก็ล่วงเลยมาจนกระทั่งถึงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ดร.รุ่ง แก้วแดง อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียนในสมัยนั้นได้เข้ามาช่วยปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ให้พร้อมที่จะเสนอกระทรวงศึกษาธิการและนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๓๘ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระ ราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้วส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ในช่วงที่รอการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่นี้ก็มีการประกาศยุบสภา

วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๙ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชามีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ต่อมา สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๙ และตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาเรื่องนี้ ผมเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยไปชี้แจงในคณะกรรมาธิการจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยก็ มีการประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๙ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงเป็นอันตกไปอีก

ต่อมา ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๙ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้วเสนอเข้า สู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในทันทีเพราะเสียงพูดว่าเป็นพระราชบัญญัติ อาถรรพ์เริ่มหนาหู จนกระทั่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการในวาระที่ ๑ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๐ และมีมติเห็นชอบในวาระที่ ๒ และที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐  จะเห็นได้ว่าขั้น ตอนการพิจารณาคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ผมเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยไปชี้แจงในคณะกรรมาธิการอีกเช่นเคย

วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ที่ประชุมวุฒิสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้ว ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณากลั่นกรองที่ผมต้องเข้าไปชี้แจงอีก

ต่อมาวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ที่ประชุมวุฒิสภาได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์โดยแก้ไขตาม ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการจึงเป็นเหตุให้ต้องส่งเรื่องกลับมาที่สภาผู้แทน ราษฎร

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐ สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของสองสภาที่ผมต้องเข้าไปชี้แจง อีกเช่นเคย จากนั้น วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ตามด้วยวุฒิสภา ที่มีมติเห็นชอบเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๐ อันมีผลให้ภารกิจของพวกเราในการผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ สำเร็จลุล่วงบริบูรณ์หลังจากที่พวกเราดำเนินการในเรื่องนี้มา ๕ ปีเต็ม เป็นช่วง ๕ ปีที่เราใจหายใจคว่ำเพราะมีการยุบสภา ๒ ครั้งและเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง  ๓ คน

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลา ๕ ปีที่เราดำเนินการผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกร ณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ จนสำเร็จนั้นเปรียบเหมือนเวลา ๕ ปีแรกแห่งการเตรียมความพร้อมอยู่ใต้ดินของไผ่โมโซ่ และหลังจาก ๕ ปีผ่านไปแล้วไผ่โมโซ่เติบโตเหนือพื้นดินอย่างรวดเร็ว นั่นก็เหมือนกับช่วงที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วที่วังน้อยแห่งนี้หลังจากมีพระราชบัญญัติเป็นของตนเอง

ก่อนหน้าที่จะมีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยไม่สามารถเป็นเจ้าของครอบครองที่ดินได้ เมื่อมีผู้บริจาคที่ดินก่อนนั้นเราโอนโฉนดให้วัดมหาธาตุและมูลนิธิมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัยถือครอบครองแทน มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ได้บัญญัติให้มหาวิทยาลัยมีสถานภาพเป็น นิติบุคคลซึ่งสามารถมีกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินได้

วิสัยทัศน์ในการสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อย

เจ้าภาพรายแรกที่บริจาคที่ดินผืนใหญ่ให้มหาวิทยาลัยหลังจากที่เรามีพระราชบัญญัติแล้วก็คือนายแพทย์รัศมี คุณหญิงสมปอง วรรณิสสรที่ ได้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน ๘๔ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา ณ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถวายมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๒ เจ้า ภาพเก็บที่ดินผืนนี้ไว้สำหรับสร้างวิทยาลัยแพทย์ของโรงพยาบาลสยาม แต่ได้เปลี่ยนใจมาถวายเป็นสถานที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ คุณหญิงสมปองได้ตั้งเงื่อนไขในการบริจาคที่ดินไว้ว่า เมื่อรับถวายที่ดินแล้ว มหาวิทยาลัยต้องเริ่มดำเนินการก่อสร้างทันที อย่าเก็บที่ดินไว้เฉย ๆ

ผมในฐานะอธิการบดีได้รับปากกับเจ้าภาพว่าจะดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัยโดย ไม่ชักช้าจึงระดมผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบเพื่อให้พร้อมที่จะก่อสร้างทันทีที่หา เจ้าภาพบริจาคเงินค่าก่อสร้างได้ เรากำหนดวงเงินค่าก่อสร้างไว้หนึ่งพันล้านบาท ในช่วงนั้นเราหาเจ้าภาพยากมากๆเพราะเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังกู้เงินจากกอง ทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) มาฟื้นฟูเศรษฐกิจฟองสบู่ที่แตกไปเพราะการลดค่าเงินบาทในปี ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นปีที่เราได้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมานั่นเอง

ยุทธศาสตร์ที่เรานำมาใช้ในการระดมทุนช่วงนั้นคือเราตั้งเป้าหมายว่าเราจะสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลกเหมือน มหาวิทยาลัยนาลันทาของอินเดียในอดีตที่คนจากทั่วโลกมาศึกษาเล่าเรียน แม้แต่พระถังซัมจั๋งจากประเทศจีนก็เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทานานถึง ๕ ปี

วิสัยทัศน์ของผมก็คือสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยให้เป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานา ชาติเหมือนมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต เพื่อจูงใจให้คนเห็นคล้อยตามวิสัยทัศน์นี้ ผมได้ขอให้พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (ปัจจุบันเป็นพระศรีคัมภีรญาณ) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเขียนหนังสือเรื่องจากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ ผมได้เขียนคำปรารภของหนังสือนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า งานก่อสร้างอาคารมหาวิทยาลัยแห่งใหม่เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้กำลังทรัพย์และกำลัง สติปัญญามาก ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย ทั้งในส่วนของผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป การจัดพิมพ์หนังสือเรื่องจากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความรู้สึกสำนึกร่วมกันในการที่จะช่วยกันส่งเสริมงานนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์

หนังสือนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

ผมได้สั่งให้จัดพิมพ์หนังสือนี้เป็นครั้งที่ ๒ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารเสด็จฯทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓

ผมใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์ในการระดมทุนสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อย ในช่วงนั้นผมหายใจเข้าออกเป็นเรื่องการก่อสร้างมหาจุฬาฯ เมื่อใดที่ผมไปพูดบรรยายธรรมทางทางวิทยุและโทรทัศน์ ผมเป็นต้องชักชวนให้คนมาบริจาคสนับสนุนการก่อสร้างมหาวิทยาลัยทุกครั้ง ดังที่ครั้งหนึ่งผมแสดงปาฐกถาธรรมเรื่อง “วันวิสาขบูชาคือวันสำคัญของโลก” ที่ท้องสนามหลวง ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่  ๗  พฤษภาคม  ๒๕๔๔  ถ่าย ทอดสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตอนหนึ่งผมได้พูดถึงการสร้างมหาจุฬาฯให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ของโลกไว้ดังต่อไปนี้

พระ สงฆ์ทั้งหลายต้องช่วยกันชักชวนญาติโยมให้ทำบุญอุปถัมภ์การศึกษาสงฆ์ ฆราวาสบางคนถามว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปสร้างอาคารเรียนที่วังน้อย ทำไม ขอบอกว่าที่วังน้อยจะให้เป็นสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัย เพราะเรามีวิทยาเขตอยู่ทั่วประเทศ ต่อไปคนทั่วโลกที่สนใจพระพุทธศาสนาจะมาเรียนพระพุทธศาสนากันที่นี่ การสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นการลงทุนเรื่องการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่สมควร ช่วยเหลือ เพราะฉะนั้น   ขอให้ท่านทั้งหลายช่วยทำบุญอุปถัมภ์การศึกษาสงฆ์ ซึ่งถือว่าเป็น วิเจยฺย ทานํ  คือ เลือกพิจารณาให้ทานในที่ที่จะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และในวันวิสาขบูชาในแต่ละปี ขอให้ทอดผ้าป่าช่วยการศึกษาสงฆ์ ช่วยมหาวิทยาลัยสงฆ์”

ในช่วงแรกของการระดมทุนนั้น แม้ผมจะพูดชักชวนมากมายขนาดไหน คนทั่วไปก็ยังไม่กล้าบริจาคเงินก้อนโต เขาคงเกรงจะเอาเงินมาจมกับโครงการพันล้านในทุ่งวังน้อย อภิมหาโครงการอย่างนี้ไม่มีใครเขาทำกันในยุคที่เศรษฐกิจบ้านเมืองกำลังตกต่ำ ผมจำได้ว่า พระเถระรูปหนึ่งแห่งวัดมหาธาตุถึงกับเตือนผมด้วยความหวังดีว่า “ถ้า ผมเป็นท่านอธิการบดี ผมจะไม่กล้าประกาศเปิดตัวโครงการก่อสร้างมหาจุฬาฯที่ต้องใช้เงินเป็นพันล้าน บาทอย่างนี้ ถ้าประกาศไปแล้วผมคงนอนไม่หลับเพราะไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาสร้างตามที่ ประกาศไว้” ถ้าท่านไม่เกรงใจท่านคงจะพูดต่อว่า ผู้ที่จะทำอภิมหาโครงการระดับนี้ต้องมีอายุพรรษามาก มีบารมีสูงหรือไม่ก็เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แล้วอธิการบดีมหาจุฬาฯเป็นใครจึงกล้าหาญชาญชัยขนาดนี้

บางทีในตอนแรกเราอาจจะดูเหมือนพวกฝันเฟื่องก็เป็นได้ เช่นตอนที่พวกเราประกาศเปิดตัวโครงการก่อสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยผ่านสื่อ ทุกประเภท โดยกำหนดให้วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๓ เป็นวันระดมทุนทอดผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กองๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท เรากะว่าจะได้เงินอย่างน้อย ๘๐๐ ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเราได้เงินจากการทอดผ้าป่าครั้งนั้นแค่  ๖  ล้านบาท มันเป็นไปไม่ได้เลยที่อภิมหาโครงการหนึ่งพันล้านบาทจะเริ่มต้นได้ด้วยเงินแค่นั้น

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ผลิดอกออกผล

อย่างไรก็ตาม พวกเราได้พยายามหาทางสร้างมหาวิทยาลัยกันต่อไปแม้ความสำเร็จดูจะไกลเกิน เอื้อม ในระยะแรกนั้นรัฐบาลยังไม่ได้เข้ามาช่วยด้านงบประมาณ เพราะยังอยู่ในช่วงพิจารณาว่าจะสนับสนุนดีหรือไม่ เนื่องจากเรายังไม่มีเงินบริจาคเป็นทุนประเดิมจากเอกชน  ดัง นั้น ผู้บริจาครายแรกจึงสำคัญที่สุด เพราะเมื่อมีผู้บริจาครายแรกก็จะมีรายอื่นๆ ตามมา ถึงตอนนั้น รัฐบาลจึงจะให้งบประมาณสนับสนุนการก่อสร้าง นี่คือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของเรา

เราถือว่า เอกชนรายแรกผู้จะเข้ามาช่วยบริจาคให้งานก่อสร้างมหาจุฬาฯเริ่มตั้งไข่และ เดินหน้าไปได้มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของพวกเรา ใครเล่าจะเป็นเทวดาเหาะลงมาโปรดพวกเรา

เราต้องจารึกไว้ตรงนี้ถึงความมีน้ำใจและความกล้าหาญชาญชัยของผู้บริจาครายแรก ที่กล้าเข้ามารับเป็นเจ้าภาพสร้างอาคารหลังแรกให้เราโดยที่ยังไม่มีความมั่น ใจว่าอภิมหาโครงการนี้จะสำเร็จหรือไม่

เหตุให้มีผู้บริจาครายแรกท่านนี้ก็เนื่องมาจากวันหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เรียกผมในฐานะอธิการบดีของมหาจุฬาฯไปพบและแจ้งให้ทราบว่าเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ มีความประสงค์จะสร้างอาคารหนึ่งหลังถวายมหาจุฬาฯที่วังน้อย

ผมรีบไปกราบพบเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าประคุณสมเด็จฯถามผมว่ามีอาคารอะไรจะให้ท่านช่วยสร้างได้บ้าง ผมนำแบบแปลนอาคาร ๒ หลังไปให้ท่านพิจารณา คือ อาคารพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎกราคา ๓๙ ล้านบาท กับอาคารหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศราคา ๗๕ ล้านบาท ท่านชี้ไปที่แบบแปลนอาคารหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วกล่าวว่าผมจะสร้าง อาคารนี้ให้หนึ่งหลัง

ดังนั้น เจ้าภาพสร้างอาคารรายแรก ก็คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้า อาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ การที่เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ประกาศว่าจะช่วยสร้างอาคารหลังใหญ่ให้หนึ่งหลัง ทำให้คนทั่วไปเชื่อมั่นว่าอภิมหาโครงการของเราไม่แท้งแน่นอน

เมื่อ ดร. ยุวรี เอื้อกาญจนวิไล ทราบข่าวว่ามีผู้เจ้าภาพสร้างประเดิมให้หนึ่งหลังแล้วก็มาแสดงความจำนงขอสร้างหอพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎก จากนั้น พระราชพิพัฒน์โกศล เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามกับพวกเราชาวมหาจุฬาฯก็ช่วยกันสร้างหลังที่สามคือ สำนักงานอธิการบดี เมื่ออาคารสามหลังนี้มีเจ้าภาพเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลจึงประกาศให้งบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนรวมและอาคารหอพัก นิสิตแก่มหาวิทยาลัย

ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น พระวิสุทธาธิบดี (ปัจจุบันเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามรับเป็นเจ้าภาพสร้างอาคารหอฉัน ๑ หลัง คุณศักดิ์ชัย คุณสุดาวรรณ เตชะไกรศรีรับเป็นเจ้าภาพสร้างอาคารมหาจุฬาบรรณาคาร ๑ หลัง

การ ก่อสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยมีสภาพไม่ต่างจากขบวนรถไฟที่วิ่งออกจากสถานี ตอนแรกที่หัวรถจักรเริ่มลากตู้โดยสารออกจากสถานีนั้น น้ำหนักตู้โดยสารจะถ่วงดึงให้ขบวนรถไฟเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่เมื่อขบวนรถไฟแล่นไปสักระยะหนึ่ง ตู้โดยสารเริ่มไหลลื่นไปตามหัวรถจักรโดยไม่ต้องมีการออกแรงดึงมากนัก ตอนนี้แหละที่ขบวนรถไฟแล่นฉิวไปเลย

บารมีธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทะ

การก่อสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยแล่นฉิวไปแบบสบายๆก็เพราะได้บารมีธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทะหรือพระพรหมมังลาจารย์แห่งวัดชลประทานรังสฤษดิ์มาสนับสนุนส่งเสริมพวกเราในช่วงนี้เอง

หลวงพ่อปัญญานันทะได้ข่าวการสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยจากสื่อมวลชนก็ให้ลูกศิษย์คือ ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคมพามาดูผลงานของพวกเราที่วังน้อย โดยที่พวกเราไม่ได้มีโอกาสต้อนรับเพราะไม่ทราบว่าท่านมาเมื่อไร

ดร.ชาติชาย ซึ่งเป็นรองอธิการบดีของมหาจุฬาฯในขณะนั้นได้รายงานภายหลังว่าหลวงพ่อ ปัญญานันทะมาเห็นการก่อสร้างมหาวิทยาลัยในช่วงนั้นแล้วก็ออกปากว่า มหาวิทยาลัยออกใหญ่โตอย่างนี้ ทำไมสร้างกันเงียบๆ ให้อธิการบดีพาคณะผู้บริหารไปพบท่านหน่อย

พวกเราฟังแล้วพากันดีใจว่าหลวงพ่อปัญญานันทะคงจะช่วยสร้างอาคารสักหลังสองหลัง เป็นแน่ จึงรีบพากันไปกราบท่านในช่วงเข้าพรรษาปี ๒๕๔๕ ท่านถามถึงการก่อสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อยและบอกว่า “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ผมจะช่วยพวกท่าน”

พวกเราก็ตั้งใจฟังว่าท่านจะช่วยเรื่องอะไร

ปัญญานันทภิกขุ
ปัญญานันทภิกขุ

หลวงพ่อปัญญานันทะ บอกว่า “ผมจะช่วยออกหัวคิดให้พวกท่านไปทำ คือให้พวกท่านจัดทอดผ้าป่าระดมทุนที่ท้องสนามหลวง จัดให้ใหญ่ มหาจุฬาฯตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุ เมื่อจัดงานทั้งทีอย่าให้อยู่ในกำแพงวัดมหาธาตุ ต้องออกไปจัดที่ท้องสนามหลวง

ฟังไอเดียหลวงพ่อแล้วพวกเราก็มึนเลย ตอนแรกนึกว่าท่านจะช่วยสร้างอาคารสักหลังหนึ่ง ที่ไหนได้ ท่านกลับวางแผนให้พวกเราทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวง เรากังวลว่าจะหาคนที่ไหนมาร่วมงานเพราะสนามหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก

เมื่อหลวงพ่อปัญญานันทะแนะนำพวกเราอย่างนี้ ด้วยความเคารพและศรัทธาในหลวงพ่อเสมอมา พวกเราก็กลับมาปรึกษาหารือกันและในที่สุดตกลงว่าจะจัดงานทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวงเนื่องในวันปิยมหาราชปี ๒๕๔๕

เราจัดทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวงตามที่หลวงพ่อปัญญานันทะแนะนำ เราได้ เงินจาการทอดผ้าป่าไม่มากนักแต่ได้ใจของหลวงพ่อปัญญานันทะมากกว่า พอทอดผ้าป่าเสร็จหลวงพ่อปัญญานันทะเรียกพวกเราไปพบอีก ท่านชอบใจที่เรากล้าทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวง ท่านบอกว่า “ผมเคยเสนอมหา จุฬาฯมาตั้งนานแล้วว่าให้จัดทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวง แต่ไม่มีใครกล้าทำ มีแต่อธิการบดีรูปนี้แหละที่ตัวเล็กแต่ใจใหญ่จึงกล้าทำ ตกลงว่า ผมจะช่วยสร้างหอพักอาคันตุกะให้มหาจุฬาฯหนึ่งหลัง”

หลวงพ่อปัญญานันทะได้แนะนำให้พวกเราซื้อที่ดินเพิ่มอีก ซึ่งเราก็ทำตามคือซื้อที่เพิ่มไปด้านหลังของโครงการอีก ๑๔๐ ไร่ ตอนแรกหลวงพ่อบอกว่าจะหาเงินมาจ่ายค่าที่ดินให้พวกเรา แต่พอหลวงพ่อหันไปสร้างอุโบสถกลางน้ำ ท่านก็ลืมเรื่องค่าที่ดินสนิท เราจึงต้องหาเงินมาจ่ายค่าที่ดินกันเอง

เหตุที่หลวงพ่อปัญญานันทะประกาศสร้างอุโบสถกลางน้ำก็เนื่องจากว่าวันหนึ่งท่าน เห็นสระขนาดใหญ่ ๑๖ ไร่ ลึก ๑๑ เมตรที่เกิดจากการที่เราขุดเอาดินไปถมที่ในโครงการ หลวงพ่อบอกว่าท่านจะสร้างอุโบสถกลางน้ำในสระนี้ จากนั้น ท่านก็มอบหมายให้คุณภิญโญ สุวรรณคีรีศิลปินแห่งชาติออกแบบอุโบสถกลางน้ำมาให้ผมดู แบบที่ผมเห็นครั้งแรกนั้นเป็นอุโบสถขนาดที่จุพระสงฆ์ได้ ๓๐๐ รูป

ผมบอกว่า มหาจุฬาฯต้องการอุโบสถขนาดใหญ่ที่จุพระสงฆ์ได้ ๓,๐๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ รูป

คุณภิญโญย้อนผมว่า ถ้าอุโบสถใหญ่ขนาดนั้นจะไม่สวย อุโบสถที่สวยจะไม่ใหญ่ อุโบสถที่ใหญ่จะไม่สวย

ผมยืนยันว่า เราอยากได้อุโบสถกลางน้ำที่ทั้งใหญ่ทั้งสวย

คุณภิญโญถามผมว่าจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร

ผมเสนอให้คุณภิญโญออกแบบอุโบสถเป็นสองชั้นโดยชั้นบนเป็นโรงอุโบสถสวยงามตามที่ คุณภิญโญออกแบบไว้แล้วนั้นแหละ ส่วนชั้นล่างให้ซ่อนรูปคือดูผิวเผินแล้วคล้ายเป็นลานอุโบสถธรรมดา แต่ที่จริงเป็นโรงอุโบสถขนาดใหญ่อยู่ชั้นล่างติดกับผิวน้ำในสระ

คุณภิญโญยอมกลับไปออกแบบใหม่ตามที่ผมเสนอ ผลที่ออกมาก็คืออุโบสถกลางน้ำที่ทั้งใหญ่ทั้งสวยงาม สามารถจุพระสงฆ์ได้  ๔,๐๐๐ รูปจึงเป็นอุโบสถใหญ่ที่สุดในโลก

แม้วันนี้หลวงพ่อปัญญานันทะจะถึงมรณภาพไปแล้ว พระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์รูปปัจจุบันได้สานต่อปณิธานของหลวงพ่อด้วยการ ก่อสร้างอุโบสถกลางน้ำต่อมาจากที่หลวงพ่อสร้างค้างไว้จนใกล้จะแล้วเสร็จ มีกำหนดยกช่อฟ้าอุโบสถในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓

สิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปหลังจากสร้างอุโบสถกลางน้ำสำเร็จแล้วก็คือการสร้างวัดมหาจุฬาลงกรณวรารามบนที่ดินจำนวน ๑๒ ไร่ติดกันกับอุโบสถกลางน้ำ ครอบครัวไม้ตราวัฒนาได้บริจาคที่ดินผืนนี้ไว้สำหรับสร้างวัดของมหาวิทยาลัย

ตรงบริเวณที่ติดกับสระน้ำใกล้อาคารเรียนรวม เราได้สร้างอาคารหอประชุม มวก. ๔๘ พรรษาแล้วเสร็จด้วยงบประมาณแผ่นดิน ขณะนี้พวกเรากำลังนั่งประชุมกันอยู่ในหอประชุมนี้ เราสามารถคุยได้ว่าอาคารหลังนี้เป็นหอประชุมพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดใน ปัจจุบันเพราะจุคนได้ถึง ๓,๕๐๐ คน

ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ

แม้เราจะได้สร้างอาคารไปมากมายหลายหลังดังกล่าวมาแล้ว เราได้แต่สร้างอาคารสำหรับคนไทยเป็นส่วนใหญ่ เรายังขาดอาคารเรียนและหอพักสำหรับชาวต่างประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มอีก ๘๐ ไร่ ซึ่งทำให้ขณะนี้มหาวิทยาลัยมีที่ดินรวมทั้งสิ้น ๓๒๓ ไร่

เราวางแผนที่จะสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (International Buddhist Studies College) ในพื้นที่ที่เราซื้อเพิ่มเติมนั้น วิทยาลัยนานาชาติแห่งนี้จะเป็นสถานศึกษาและวิจัยของคนทั่วโลก ใครจะเข้าไปศึกษาในวิทยาลัยนี้ต้องพูดภาษาอังกฤษ ภาษาจีนหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ คือพูดภาษาอะไรก็ได้ยกเว้นภาษาไทย ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งสถาบันภาษาสำหรับเตรียมคนเพื่อการนี้

เราคาดหวังไว้ว่า การก่อสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติจะแล้วเสร็จในช่วงแผนพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) เราใช้เงินก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่วังน้อยไปแล้วไม่น้อยกว่าสองพันล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินบริจาคทั่วไปร้อยละ ๖๐ เราจะต้องหาเงินก่อสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติในจำนวนไม่น้อยกว่ากัน ทั้งนี้เพราะราคาค่าก่อสร้างมหาวิทยาลัยในช่วงสิบปีที่ผ่านมาย่อมถูกกว่า ราคาค่าก่อสร้างในอนาคต ยิ่งดำเนินการช้าเท่าไร ราคาค่าก่อสร้างก็จะยิ่งแพงขึ้นเท่านั้น

เมื่อใดเราสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติแห่งนี้แล้วเสร็จ เมื่อนั้นก็ถือว่าเราได้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่เราวางไว้ว่าเราจะสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลกเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต

ผมเคยฝันที่จะเห็นประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก ดังที่ผมพูดเรื่องนี้ไว้เมื่อวันที่  ๗  พฤษภาคม  ๒๕๔๔ ในการแสดงปาฐกถาธรรมเรื่อง “วันวิสาขบูชาคือวันสำคัญของโลก” ที่ท้องสนามหลวง ถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ผมพูดไว้ตอนหนึ่งว่า

เราต้องยกระดับการศึกษาของพระสงฆ์ ปรับให้การศึกษาของพระสงฆ์สามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแผ่ในต่างประเทศ ให้มากขึ้น ให้ชาวบ้านได้เรียนพระพุทธศาสนา ให้พระสงฆ์เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นภาษาอังกฤษ สามารถสอนพระพุทธศาสนาในระดับโลก และจัดประชุมนานาชาติมากขึ้น  อาตมาจัดประชุมนานาชาติโดยเชิญผู้นำชาวพุทธทั่วโลกมาประชุมร่วมกันเรียกว่า Buddhist Summit  พระสังฆราชจาก ๑๖ ประเทศมาประชุมพร้อมกันโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเป็นองค์ประธาน  มหาจุฬาฯ จัดทำเองโดยไม่ได้เงินรัฐบาลสนับสนุนเลย  การประชุมแบบนี้จัดได้ไม่ยากถ้ามีเงินทุนประมาณ ๑๐ – ๒๐ ล้านบาท มหาจุฬาฯ จะทำให้ดูอีก ประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก แต่ว่ามหาจุฬาฯ ที่ผ่านมาเหนื่อยมาก  เงิน สนับสนุนก็ไม่มี แต่อาศัยความเชื่อมั่น อาศัยความศรัทธาจึงจัดได้ เรื่องนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าพระสงฆ์ไทยมีความสามารถจัดประชุมระดับ นานาชาติเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ถ้าจะจัดต่อไปรัฐบาลต้องมีเงินอุปถัมภ์ให้ ถ้ารัฐบาลจะจัดประชุมพระพุทธศาสนานานาชาติ มหาจุฬาฯ จะช่วยทำให้ก็ได้ ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศไทย”

ความฝันที่ผมพูดไว้เมื่อปี ๒๕๔๔ ได้กลายเป็นจริงเมื่อรัฐบาลและมหาเถรสมาคมได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นองค์กรหลักในการจัดงานวิสาขบูชาโลกในปี ๒๕๔๘  ผลที่ตามมาก็คือผู้นำชาวพุทธทั่วโลกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกตั้งแต่บัดนั้น

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยเป็นสถานที่ตั้งของสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICUNDV) ซึ่งมีอธิการบดีของมหาจุฬาฯเป็นประธานสภา และยังเป็นที่ตั้งของสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ(IABU) ซึ่งมีสมาชิก ๑๑๖ มหาวิทยาลัยทั่วโลกและมีอธิการบดีของมหาจุฬาฯเป็นนายกสมาคม

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับจนมีวันนี้ที่วังน้อยก็ด้วยอาศัยวิธีบริหารเชิงกลยุทธ์(Strategic Management) ดังกล่าวมาแล้ว

ผมขอสรุปจบด้วยบทกลอนเกี่ยวกับการบริหารที่ผมแต่งไว้เป็นคติเตือนใจว่า

เดินหมากรุกแต่ละครั้งยังต้องคิด

หมากชีวิตเดิมพันนั้นใหญ่กว่า

แม้ประมาทพลาดพลั้งพังทันตา

คิดล่วงหน้าให้ตลอดจะปลอดภัย

ขออนุโมทนาขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงานแสดงความยินดีกับพวกเราเนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วังน้อยอย่างเป็นทางการ

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญไว้ในพระศาสนาจงอำนวยพรให้ทุก รูป ทุกท่าน ทุกคนเจริญงอกงามไพบูลย์ในร่มธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดกาลนาน เทอญฯ

* เรียบเรียงจากปาฐกถาพิเศษที่แสดงเนื่องในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ หอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓

ท้าให้อ่าน

challenge to read  a book ท้าให้อ่าน
challenge to read a book ท้าให้อ่าน

รายการดีสำหรับเด็ก “ท้าให้อ่าน”
http://www.facebook.com/ReadThaiPBS
เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมแก้ปัญหาเรื่องรักการอ่านของคนไทย
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/14750
เพราะสถิติการอ่านของคนไทย 8 บรรทัดต่อปี เป็นตัวเลขเจ้าปัญหา

เมื่อ 6 มกราคม 2556 8.30 น. ผมดูรายการท้าให้อ่าน ช่อง Thai PBS
มีเพจที่ http://www.facebook.com/ReadThaiPBS
โดยค้นจากช่องค้นของ facebook ว่า “ท้าให้อ่าน”
เพจนี้เปิดตัว 15 พฤศจิกายน 2556
มี e-book แบบอ่านใน album 2 เล่มคือ
1. 100 เรื่องน่ารู้ร่างกายของเรา
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.395807353839733.94639.133643713389433
2. 100 เรื่องน่ารู้จากธรรมชาติ
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.395804967173305.94637.133643713389433


http://campus.sanook.com/1033124/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2-8-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88/

ศธ.เปิดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ พ.ศ.2555 เผยคนไทยรู้หนังสือมากขึ้น ถึงร้อยละ 97 ส่วนการอ่านหนังสือยังน้อยเฉลี่ย 8 บรรทัดต่อปี ขณะที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน มาเลเซีย เวียดนาม อ่านหนังสือ 5 เล่มต่อปี

ศ.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ พ.ศ.2555 พร้อมกล่าวว่า ปัจจุบันอัตราผู้รู้หนังสือของไทยเพิ่มขึ้น ขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จะเร่งผลักดันให้เยาวชนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่รู้หนังสือ หากต้องการเรียนก็จะมีหลักสูตรเร่งรัด เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน คาดว่าจะมีผลให้ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือ กลับมารู้หนังสือมากขึ้น

นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กล่าวว่า อัตราการอ่านหนังสือของคนไทย จากการสำรวจเมื่อปี 2553 อยู่ที่เฉลี่ยปีละ 8 บรรทัด ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม มีอัตราการอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 5 เล่ม ส่วนประเทศในแถบยุโรปอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 16 เล่ม คาดว่าการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยมาจากการมีสื่ออื่นให้ศึกษาเพิ่มขึ้น ทั้งอินเทอร์เน็ต และช่องทางอื่นๆ อย่างไรก็ตาม กศน.จะเร่งผลักดันและส่งเสริมให้คนไทยอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น ด้วยโครงการบ้านหนังสือ กระจายหนังสือดีให้ประชาชนได้อ่าน . – สำนักข่าวไทย

คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์

คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์
คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์

ได้หนังสือ คาถาชีวิต ของ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ (เกิด 2496) มา 1 เล่ม
เป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2555 จำนวน 1 ล้านเล่ม
ซื้อจาก 7-eleven ตรงข้ามตลาดน้ำโท้ง เล่มละ 20 บาท
ในเล่มระบุราคา 100 บาท แต่ขายเพียง 20 บาทครับ
ที่สนใจหนังสือเล่มนี้ เพราะผู้ใหญ่เล่าให้ฟังในวันที่ 28 ธันวาคม 2555
จากตอนหนึ่งในโอวาทที่ผู้ใหญ่ให้ไว้ในงานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่า
โดยหัวข้อที่หยิบมาขยายความคือหน้า 27

ยอมจำนนกับอดีต แต่ไม่ยอมแพ้กับอนาคต

เพราะอดีตที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
เราต้องกล้ารับผิดชอบ แต่อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
เราต้องมีความมุ่งมั่น อดทน อย่ายอมแพ้ง่าย ๆ

http://www.vikrom.net/

ซึ่งหนังสือที่ได้มาผมเข้าไปถาม 7-eleven เป็นร้านที่ 3 จึงได้มา
คาดว่าระแวกร้านของ 2 ร้านแรกมีนักเดินทางผ่านไปมาบ่อย
ทำให้หนังสือหมดเร็วมาก
เพราะพนักงานก็บอกว่าหนังสือขายดีมาก สั่งเพิ่มแล้วก็ยังไม่ได้

หนังสือเล่มนี้ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุด ‘คาถาชีวิต
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555 หนังสือว่าด้วยเรื่องราวของความคิด
อันผ่านการเพาะบ่มจากประสบการณ์และวันเวลา
บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (สี่แยกปทุมวัน)

60 วลี หรือคาถาชีวิต ที่ http://www.thaiall.com/blog/admin/4718/

ภาพประกอบในหนังสือ Operating System Concepts 62 ภาพ

ภาพประกอบในหนังสือ Operating System Concepts, Sixth editon เขียนโดย
Abraham Silberschatz, Bell Laboratories
Peter Baer Galvin, Corproate Technologies, Inc.
Greg Gagne, Westminster College

เลือกนำเสนอเพียง 62 ภาพ

1 figure 1.1 Abstract view of the components of a computer system
2 figure 1.2 Memory layout for a simple batch system
3 figure 1.3 Memory layout for a multiprogramming system
4 figure 1.4 symmetric multiprocessing architecture
5 figure 1.5 General structure of a client-server system
6 figure 2.1 A modern computer system
7 figure 2.3 Two I/O methods: (a) synchronous, and (b) asynchronous
8 figure 2.6 Storage-device hierachy
9 figure 2.7 migration of integer A from disk to register
10 figure 2.9 A base and a limit register define a logical address space
11 figure 2.10 Hardware address protection with base and limit registers
12 figure 3.3 MS-DOS execution. (a) At system startup. (b) Running a program
13 figure 3.4 UNIX running multiple programs
14 figure 3.5 Communications models. (a) Msg passing. (b) Shared memory.
15 figure 3.6 MS-DOS layer structure
16 figure 3.7 UNIX system structure
17 figure 3.11 System models. (a) Nonvirtual machine. (b) Virtual machine.
18 figure 3.12 The Java virtual machine
19 figure 4.1 Diagram of process state
20 figure 4.2 Process control block (PCB)
21 figure 4.5 Queueing-diagram representation of process scheduling
22 figure 4.12 Execution of a remote procedure call (RPC)
23 figure 5.1 Single and multithreaded processes
24 figure 5.2 Many-to-one model
25 p 157 First-Come, First-Served Scheduling
26 p 158 Shortest-Job-First Scheduling
27 p 162 Priority Scheduling
28 p 164 Round-Robin Scheduling
29 p 166 Multilevel Queue Scheduling
30 p 168 Multilevel Feedback Queue Scheduling
31 figure 7.16 The situation of the dining philosophers
32 figure 7.25 Schedule 2: A concurent Serializable schedule
33 figure 8.8 Traffic deadlock for Exercise 8.4
34 figure 9.1 Multistep processing of a user program
35 figure 9.4 Swapping of two processes using a disk as a backing store
36 figure 9.7 Paging model of logical and physical memory
37 figure 9.19 Example of segmentation
38 figure 10.1 Diagram showing virtual memory that is larger than physical memory
39 figure 10.9 FIFO page-replacement algorithm
40 figure 10.11 Optimal page-replacement algorithm
41 figure 10.12 LRU page-replacement algorithm
42 figure 10.14 Second-change (clock) page-replacement algorithm
43 figure 11.4 Example of index and relative files
44 figure 11.5 A typical file-system organization
45 figure 12.1 Layered file system
46 figure 12.5 Contiguous allocation of disk space
47 figure 12.6 Linked allocation of disk space
48 figure 13.1 A typical PC bus structure
49 figure 14.1 FCFS disk scheduling
50 figure 14.2 SSTF disk scheduling
51 figure 14.3 SCAN disk scheduling
52 figure 14.4 C-SCAN disk scheduling
53 figure 14.5 C-LOOK disk scheduling
54 figure 14.9 RAID levels
55 figure 15.1 A distributed system
56 figure 15.2 Network topology
57 figure 15.5 Two computers communicating via the ISO network model
58 figure 15.8 The TCP/IP protocol layers
59 figure 18.1 System with three protection domains
60 figure 18.4 Access matrix of figure 18.3 with domains as objects
61 figure 19.1 The Morris Internet worm
62 figure 21.1 Windows 2000 block diagram

เสื้อสตีฟ จ็อบส์ โดย วอลเตอร์ไอแซคสัน

เสื้อสตีฟ จ็อบส์
เสื้อสตีฟ จ็อบส์

30 ก.ย.55 ได้เสื้อยืดคอกลม (T-Shirt) จากกิจการน.ศ.เป็นของกำนันการเป็นวิทยากรอบรมเรื่อง office 2010  ที่เสื้อมี tag ที่มีชื่อบริษัท Nine กับ Nation Books ซึ่งจัดทำประกอบหนังสือ สตีฟ จ็อบส์ โดย วอลเตอร์ไอแซคสัน ก่อนผมเก็บเข้าตู้ ก็ลองนำมาทำภาพซ้อนสักใบ แต่เพราะกล้อง lock แสงไม่ได้ ก็เลยได้ภาพที่แสดงไม่เท่ากัน ส่วนภาพสุดท้ายมีการขยับขากล้อง ทำให้ตำแหน่งของภาพไม่เท่ากับภาพอื่น ๆ .. ปีหน้าฟ้าใหม่ ถ้ามีโอกาสคงได้ถ่ายภาพแบบนี้อีก
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=526840820663387&set=a.526840783996724.132279.506818005999002

หนังสือ Strategic Management

strategic management book
strategic management book

หนังสือ Strategic Management ร่วมกันเขียน 6 ท่าน เนื้อหาแน่นเอียดครับ โดย ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ ดร.ศิรินทร ภู่จินดา ดร.อาทิตา ชูตระกูล ดร.นันท์นภัส จินานุรักษ์ อ.พิมพ์ชนก พ่วงกระแสร์ อ.วรพจน์ นิลจู จัดพิมพ์โดย บริษัท อินเฮาส์ โนว์เลจ จำกัด
สำหรับผมชอบภาคผนวกหน้า 315 ที่มีรายการเครื่องมือทางการบริหารที่นิยมใช้ มีที่มาจาก Bain & Company : Tool included in the survey for the first time in 2007 ซึ่งมี 3 รายการแรก คือ
Strategic Planning
Customers Relationship Management (CRM)
Customer Segmentation

การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน

การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน
การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน

หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมเริ่มใช้ hashtag แล้วเริ่มเห็นความสามารถในการจัด categories ของ tweet เพราะ tweet ออกไปแล้ว ถ้าไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ก็จะมีค่าน้อยลงไปเยอะ โดยปกติผมเขียน blog ซึ่งสามารถจัด categories สามารถกำหนด tag ใส่ภาพ และคลิ๊ป แล้วแสดงทั้งหมดในบันทึกเดียว นอกจากนั้นยังคัดลอกทั้งฐานออกมา จะเก็บไว้ หรือย้าย server ก็ยังทำได้ แต่กับ tweet แล้วต่างกันเยอะ ก็คงเพราะเป้าหมายของ twitter เป็นเพียง microblog เท่านั้น
#royalwedding

บางส่วนของประเด็นที่ผมสนใจ
– กรณีศึกษา ก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง
http://www.facebook.com/JekmengNoodl
– ผู้เขียนคำนิยม คือ จักรพงษ์ คงมาลัย thumbsup.in.th และ jakrapong.com
– ปกหลัก ประชาสัมพันธ์หลักสูตรของ บัณฑิตวิทยาลัย ม.สยาม
– สี่สีทั้งเล่มแต่ราคาเพียง 179 บาท
– เล่าเรื่องคลิ๊ป โดยเฉพาะ sophie ของ google หรือน้องนิม
– ทำให้ผมหาคลิ๊ป H205 HD Camcoder ของ samsung

– สถิติ
http://www.klout.com
Klout measures your influence on your social networks

การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน
เขียนขึ้นเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของผู้เขียนที่ต้องการแนะนำแนวทางการใช้งาน ที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้อ่านหรือผู้ที่กำลังเริ่มศึกษา ผู้ที่ต้องการนำเครื่องมือต่างๆ ในโลกออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงาน หรือกิจการของตนเอง รวมถึงตัวอย่าง บทสัมภาษณ์ของผู้ที่สามารถนำเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกด้วย
ผู้เขียน รุ่งโรจน์ ศิริพรมงคล @tuirung อรนุช เลิศสุวรรณกิจ @mimee
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การสร้างเเบรนด์
บทที่ 3 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
บทที่ 4 เปิดตัวสินค้าเเละบริการ
บทที่ 5 ขายของบนโลกโซเชียลมีเดีย
บทที่ 6 กรณีศึกษาของธุรกิจไทยกับโซเชียลมีเดีย

http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9786167240206