แม่ปู กับลูกปู

teacher
teacher

3 มี.ค.55 นิทานเรื่อง แม่ปู กับลูกปู (The Mother Crab and Her son) .. ผมว่าเป็นนิทานอมตะนะครับ เพราะรู้สึกว่า เล่าเมื่อไหร่ ก็ไม่เบื่อ เพราะเราเห็นแม่ปูเดินเพ่นพ่านเต็มบ้านเต็มเมือง ลองนึกถึงคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง ศีลในศาสนา ภาษาอังกฤษของเยาวชน การใช้เทคโนโลยีในโรงเรียน หรือ Tablet PC

จากคลิ๊ป .. มนุษย์ต่างกับแม่ปูนิดหน่อย
คือ มนุษย์จะสอนนักเรียนเสมอ แม้รู้ว่าตัวเองทำไม่ได้ ก็ยังพร่ำสอน
เช่น เป็นคนดีนะ ขยัน เชื่อฟังผู้ใหญ่ อยู่ในกฎเกณฑ์ ตั้งใจเรียน เพื่ออนาคตของตน
แต่ในนิทาน แม่ปูจะหยุดสอน เพราะรู้ว่าตนเองทำไม่ได้ แล้วก็คงสอนเฉพาะสิ่งที่ทำได้

ยุคตกต่ำของอาจารย์มหาวิทยาลัย

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

ไม่มียุคใดอีกแล้วที่อาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีสถานภาพตกต่ำเช่นนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนเฉลี่ยต่ำกว่า ครูประถม มัธยมที่เคยมีเงินเดือนเท่ากันประมาณ 8%
สืบเนื่องมาจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ได้ปรับระบบบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่ง(Position classification) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าระบบซี ซึ่งแบ่งเป็น 11 ระดับ มาเป็นการจัดประเภทตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงานหรือเรียกว่าระบบแท่ง ซึ่งแบ่งเป็น 4 แท่ง
ทุกหน่วยราชการ ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.)ต่างก็ดำเนินการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบใหม่ที่ ก.พ.กำหนด
ขึ้น โดย ก.ค.ได้จัดทำแท่งบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูคู่ขนานไปกับแท่งเงินเดือนข้า ราชการพลเรือน (ก.พ.)
แต่สำนักงานและคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งควรจะเป็นผู้นำในการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบที่ ก.พ.กำหนด กลับไม่ยอมดำเนินการใดๆ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเป็นปี จึงเพิ่งตื่น โดยการตั้ง ดร.วิจิตร ศรีสอ้านเป็นประธานอนุกรรมการศึกษาเรื่องนี้มีใครทราบบ้างไหมว่าปัจจุบัน อาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่มีแท่งบัญชีเงินเดือนเป็นของตัวเอง ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีเงินเดือนตันในระบบซีได้ขยับขึ้นเงินเดือนในปี งบประมาณ 2544 นั้นเป็นเพราะไปอาศัยใบบุญของ ก.พ.โดยขออิงเงินเดือนของ ก.พ.ไปพลางๆ ก่อน
ข้าราชการพลเรือนได้ขยับเงินเดือนตามระบบแท่งไปล่วงหน้าเกือบ 2 ปีแล้ว แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยเพิ่งจะได้รับอานิสงส์นี้เมื่อเดือนตุลาคม 2553
ในขณะที่ครูประถม มัธยม ซึ่งมีลักษณะงานคล้ายกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้ปรับขึ้นเงินเดือนไปแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ได้ปรับขึ้นไป 8% และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ปรับขึ้นพร้อมกับข้าราชการอื่นๆ อีก 5%
ปัจจุบันครูประถม มัธยมจึงมีเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เคยมีเงินเดือนเท่า กันถึง 8%
หากอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องการมีเงินเดือนเท่ากับครูประถมมัธยม เห็นทีคงจะต้องไปอาศัยใบบุญของ ก.ค.เหมือนกับที่เคยแอบอิงใบบุญของ ก.พ.มาแล้ว
อย่างนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่รู้สึกอายครูประถม มัธยม บ้างหรือ แทนที่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเต็มไปด้วยนักวิชาการควรจะต้องเป็นผู้นำของสังคม แต่กลับต้องคอยไปพึ่งใบบุญคนอื่นอยู่ตลอดเวลา
ไม่ทราบว่าผู้บริหารของ ส.ก.อ.ยังสุขสบายดีหรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และหากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้โดยไม่มีการแก้ไข ต่อไปจะหาคนเก่งที่ไหนมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
หากคนเก่งไม่ยอมมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว ท่านลองหลับตานึกเอาเองก็แล้วกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพของบัณฑิตใน อนาคตทั้งนี้ เพราะถ้าผู้สอนมีความรู้น้อยแล้วจะเอาความรู้จากที่ไหนมาสอนนักศึกษา เนื่องจากไม่มีใครสอนได้มากกว่าที่รู้ประเทศในแถบตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรืออเมริกาต่างก็ให้เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ทั้งนี้ ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ที่ผ่านมาอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่เคยเรียกร้องใดๆ เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเงินเดือน แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยม
สถานภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยหากเปรียบเทียบกับข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐบาล ยิ่งไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย ทั้งนี้ เพราะเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่ำกว่าข้าราชการกลุ่มดังกล่าวชนิดมอง ไม่เห็นฝุ่น
มีใครทราบบ้างไหมว่าคนที่จบปริญญาเอกใหม่ๆ หากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเดือนเพียงหมื่นเศษๆ เงินเดือนพอๆ กับพนักงานขับรถของบริษัท แล้วอย่างนี้คนเก่งที่ไหนจะอยากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนในคณะนิสิตศาสตร์ซึ่งเรียนกฎหมาย มาเหมือนกับผู้พิพากษาและอัยการทำไมจึงได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้พิพากษา และอัยการอย่างเทียบกันไม่ได้ คุณวุฒิของอาจารย์นิติศาสตร์ก็มิได้ด้อยไปกว่าผู้พิพากษาและอัยการเลยแม้แต่ น้อย
อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จบปริญญาโทปริญญาเอกทั้งสิ้น และยังเป็นอาจารย์ที่สอนผู้พิพากษาและอัยการแต่กลับได้รับเงินเดือนต่ำกว่า ลูกศิษย์ที่ตัวเองเคยสอนมาแล้ว อย่างนี้จะไม่ให้อาจารย์รู้สึกน้อยใจได้อย่างไร
เช่นเดียวกัน อาจารย์แพทย์ และอาจารย์วิศวะ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเรียนยากกว่าสาขาอื่นๆ แต่อาจารย์แพทย์และวิศวะกลับได้รับเงินเดือนเท่ากับข้าราชการพลเรือนทั่วไป ซึ่งมีเงินเดือนต่ำกว่าผู้พิพากษาและอัยการ
ท่านทราบไหมว่าหากอาจารย์แพทย์และอาจารย์วิศวะไปทำงานในภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนมากกว่าที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าสามเท่า
แต่อาจารย์เหล่านี้กลับยอมเสียสละทำงานในมหาวิทยาลัย ยอมกัดก้อนเกลือกิน แต่ไม่เคยมีใครมองเห็นคุณงามความดีของอาจารย์มหาวิทยาลัยเหล่านี้เลย ปล่อยให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยมเหมือนเช่นทุกวันนี้
หรือจะต้องรอให้อาจารย์มหาวิทยาลัยลาออกไปขายกล้วยทอดกันให้เกือบหมด มหาวิทยาลัยเสียก่อน จึงจะมองเห็นความสำคัญของอาจารย์มหาวิทยาลัย
อนิจจาช่างน่าสงสารอาจารย์มหาวิทยาลัยเสียเหลือเกินที่อุตส่าห์เสียสละตัว เองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยโดยหวังว่าจะเห็นความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แต่ที่ไหนได้แม้กระทั่งตัวเงินเดือนก็ยังไม่อาจสู้ครูประถมได้
แล้วอย่างนี้จะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไปได้ อย่างไร อย่าปล่อยให้เรื่องเช่นนี้ดำรงอยู่อีกต่อไปเลย รีบแก้ไขโดยด่วนเถิดครับ

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24757&Key=hotnews

http://www.etesting.ru.ac.th/boss&staff2.html

โรงเรียนแห่งหนึ่งมีวิสัยทัศน์ใช้ครูมืออาชีพ

ครูมืออาชีพ โรงเรียนระดับโลก
ครูมืออาชีพ โรงเรียนระดับโลก

clear งานทดสอบอ่านเขียนแฟ้ม และดำเนินการระดับบิทกับแฟ้มข้อมูล แล้ว open source ใน http://www.thaiall.com/vbnet/stream_basic.htm จากนั้นก็ลองหยิบหนังสือใกล้มือมาอ่าน พบว่าโรงเรียนแห่งหนึ่งในลำปาง มีกลุ่มงานกลุ่มหนึ่งที่กำหนดวิสัยทัศน์ว่า จะใช้ครูมืออาชีพ และบริหารจัดการด้วยระบบที่มีคุณภาพ .. ฟังดูแล้วชื่นชมเลยครับ

พอไปดูจุดมุ่งหมายชักอ่านไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมีศัพท์เทคนิคหลายคำ ทั้ง World Citizen, World Class Standard, Hybrid Learning และ Quality Resource e-Learning แต่ทางผู้กำหนดจุดมุ่งหมายได้กรุณานิยามศัพท์คำว่า Hybrid Learning ไว้ว่า “เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน (Face-to-face) กับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุด (Best Features) ของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน” .. สรุปว่าชื่นชมวิสัยทัศน์ครับ ชอบตรงใช้ครูมืออาชีพนี่หละครับ .. แต่ก็อดตั้งคำถามในใจคนเดียวไม่ได้ว่า ครูมืออาชีพ กับครูมือสมัครเล่น .. นี่ต่างกันอย่างไร

แบบสอบคำที่มักสะกดผิด สำหรับคุณครู

misspell
misspell

24 ก.พ.54 คำที่มักสะกดผิด หมายถึง คำในภาษาไทยที่ชาวไทยมักเขียนไม่ถูกต้อง และมีการนำไปออกเป็นข้อสอบในวิชาภาษาไทยอยู่เสมอ ตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย ก็จะมีข้อสอบลักษณะนี้ สำหรับผู้ที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นประจำการสะกดผิดก็มักจะเกิดขึ้นได้

ระบบข้อสอบนี้ จึงจัดทำขึ้น เพื่อสุ่มคำที่มักสะกดผิดจากฐานข้อมูลประมาณ 300 คำ ซึ่งเป็นแฟ้มเสียง มานำเสนอครั้งละ 10 แฟ้ม หากต้องการเปิดให้นักเรียนดูเฉลยก็สามารถกดปุ่มแสดงด้านข้างนี้ได้ หรือซ่อนได้ตามต้องการ และสั่งเรียกคำใหม่ เพื่อสอบใหม่ได้ตลอดเวลา

ทดสอบได้ที่ http://www.thaiall.com/quiz/misspell

โปรแกรมแปลงชื่อแฟ้มภาษาไทยเป็น ascii number สำหรับ linux
+ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9139