จังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2553 ให้เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีการยื่นคำร้องขอให้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนนำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติการจัดตั้งให้เรียบร้อย จึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์

จังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2553 ให้เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีการยื่นคำร้องขอให้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนนำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติการจัดตั้งให้เรียบร้อย จึงเสร็จสิ้นสมบูรณ์

เหตุผลในการตั้งจังหวัดที่ 77 มีดังนี้
– จังหวัดบึงกาฬ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ในเรื่อง อำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน
– เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดหนองคาย ก่อนแยกออกมาเป็นจังหวัดบึงกาฬนั้น เป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามลำน้ำโขง มีเส้นทางคมนาคมจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 350 กิโลเมตร จึงส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนได้ง่าย
– จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ตั้งขึ้นใหม่ ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
– นอกจากนี้ จังหวัดบึงกาฬ ไม่ใช่หน่วยงานที่ดำเนินกิจการบริการสาธารณะ ซ้ำซ้อนกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงไม่กระทบต่อแนวทางการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่อย่าง ใด
– ส่วนเรื่องบุคลากร ที่มีอยู่จำนวน 439 อัตรา ก็สามารถกระจายกันภายในส่วนราชการได้ จึงไม่เป็นผลกระทบและภาระต่องบประมาณของประเทศมากนัก

ประวัติ อ.บึงกาฬ หรือ ว่าที่ จังหวัดบึงกาฬ
อำเภอบึงกาฬเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 136 กิโลเมตร มีเขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เดิมอำเภอบึงกาฬ มีชื่อเดิมว่า ไชยบุรีซึ่ง ขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ.2482
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทย ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน พรรคกิจสังคมได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อไป
ต่อมา ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ

ที่ตั้งและอาณาเขต
* ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
* ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบุ่งคล้า
* ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเซกา อำเภอศรีวิไล อำเภอพรเจริญ และอำเภอโซ่พิสัย
* ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากคาด

เขตการปกครองแบ่งเป็น 12 ตำบล 131 หมู่บ้าน
1. บึงกาฬ (Bueng Kan) 11 หมู่บ้าน
2. โนนสมบูรณ์ (Non Sombun) 13 หมู่บ้าน
3. หนองเข็ง (Nong Kheng) 11 หมู่บ้าน
4. หอคำ (Ho Kham) 14 หมู่บ้าน
5. หนองเลิง (Nong Loeng) 13 หมู่บ้าน
6. โคกก่อง (Khok Kong) 9 หมู่บ้าน
7. นาสวรรค์ (Na Sawan) 9 หมู่บ้าน
8. ไคสี (Khai Si) 10 หมู่บ้าน
9. ชัยพร (Chaiyaphon) 13 หมู่บ้าน
10. วิศิษฐ์ (Wisit) 13 หมู่บ้าน
11. คำนาดี (Kham Na Di) 8 หมู่บ้าน
12. โป่งเปือย (Pong Pueai) 7 หมู่บ้าน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC
http://article.konmun.com/77-know509.htm