การโต้เถียง (Argument หรือ Debate)

คำว่า argument เป็นคำที่ อ.จอห์น (14 ม.ค.55) ใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าท่านประสบความสำเร็จในการสอน
ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า การสอนที่ทำให้นักศึกษาโต้เถียง (ไม่ใช่โต้ตอบนั้น แบบถามไป ตอบมา) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนให้มีการโต้เถียงอย่างมีประสิทธิภาพก็มีอยู่น้อยมาก ในจำนวนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน (37 วิธี จาก CU-CAS)
เพราะการโต้เถียง (Debate) จะมีประสิทธิภาพควรอยู่ในบรรยากาศแบบ face to face of group และเป็นเวทีที่ทุกคนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนอย่างเสมอภาค โดยผ่านการอภิปรายให้เหตุผลประกอบที่ชัดเจน ซึ่งประโยชน์มิได้เกิดจากผล แต่เกิดจากกระบวนการเป็นสำคัญ
ซึ่งชัดเจนว่า e-mail หรือ webboard ไม่มีประสิทธิภาพพอกับกิจกรรมการโต้เถียงของกลุ่มได้ และสื่อใด ๆ ที่เป็นแบบ semi-offline communication ก็จะไม่ตอบเรื่องการโต้เถียงได้เช่นกัน

ปิดงานวิจัย classroom สำหรับ 5 บท รุ่น 1

ปิดงานวิจัย classroom สำหรับ 5 บท รุ่น 1 ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 :  โครงการวิจัย ในชั้นเรียนเรื่อง ศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Powerpoint ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น (COMP 100)

อภิปรายผล 1. การศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้ โปรแกรม Powerpoint ทำให้นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ คือ สมาร์ทโฟน หรือกล้องดิจิทอลในการบันทึกวีดีโอ ร่วมกับเพื่อนในการแสดงบทบาทตามที่ตนเองวางแผนโดยผ่านความเห็นชอบ และแนะแนวทางจากอาจารย์ผู้สอนในระดับหนึ่ง หลังจัดทำหนังสั้นหรือสื่อวีดิทัศน์ได้นำไปเสนอหน้าชั้นเรียน ผ่านโปรแกรม Powerpoint แล้วนำไปเผยแพร่ใน youtube.com และ facebook.com ด้วยความพยายามตั้งใจทำงาน ทำให้เป็นแรงบันดาลใจสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่ดีในการเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้หรือการรับรู้อย่างต่อเนื่องตามที่ รศ.มัณฑรา  ธรรมบุศย์ ได้นำเสนอว่ามนุษย์มีรูปแบบการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ของมนุษย์ (Learning style) 3 ทางคือ เรียนรู้ทางสายตา ทางโสตประสาท และทางร่างกายและความรู้สึก ซึ่งการมอบหมายงานครั้งนี้ทำให้เกิดการรับรู้ทั้ง 3 ทาง
2. การศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในครั้งนี้ ใช้ระบบอีเลินนิ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเป็นหลัก เพราะเปิดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการดาวน์โหลดเอกสาร หรือสื่อการสอนในชั้นเรียนทุกครั้ง และเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นในรูปของการประเมินการสอนท้ายชั่วโมง หรือเข้ามาศึกษาบทเรียนได้ในภายหลังตามอัธยาศัย ทำให้นักศึกษาสามารถกลับมาทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา จนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีระดับคะแนนที่สูง ซึ่งตรงกับทฤษฎีของ Mednick ที่ว่าการเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และความพึงพอใจในการเรียนรู้เชิงบวกย่อมส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิง บวกเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ 1. ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่าการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ ประกอบการสอนมีต่อผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน และการใช้ระบบอีเลินนิ่งทำให้นักศึกษามีเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ในวิชาการสอนใช้งานโปรแกรม Powerpoint แต่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในวิชาอื่นได้หรือไม่ ยังเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบต่อไป
2. กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้ามาเรียนในภาคเรียนที่ 1 ทำให้การปรับตัวยังไม่ดีนัก แต่สามารถทำงานที่มอบหมายได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่ม ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรับผิดชอบที่มีในนักศึกษากลุ่มนี้ แต่ถ้าการมอบหมายงานแบบด้วยโจทย์ที่เข้มกว่าเดิมจะเกิดผลอย่างไรกับนักศึกษา กลุ่มอื่น ยังเป็นคำถามที่ต้องการหาคำตอบต่อไป



อภิปรายผลการวิจัย การศึกษาการประยุกต์ไอทีสำหรับผู้บริหาร

เหตุเกิดในต่างประเทศ
เหตุเกิดในต่างประเทศ

2 ม.ค.53 มีโอกาสช่วย ยกร่างอภิปรายผลการวิจัย ของกลุ่มเพื่อนที่ศึกษาการใช้ไอทีของผู้บริหารในองค์กรหนึ่ง เมื่ออ่านรายละเอียดในรายงานแล้ว ทำให้เข้าใจว่าการดำเนินงานและผลการวิจัยเป็นอย่างไร แต่ก็เขียนได้เพียงระดับหนึ่ง เพราะไม่ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิพากษ์ว่าสิ่งที่ผมยกร่างขึ้นมานั้น  ทีมวิจัยทั้ง ๓ ท่านที่ศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเห็นตรงหรือไม่ แต่นี่เป็นเพียงการยกร่างของการอภิปรายผล ที่หวังจะให้เกิดการพัฒนา และนำไปต่อยอดต่อไป จะปรับเปลี่ยนประการใดก็สุดแล้วแต่ทีมวิจัยท่าน
     โดยมีประเด็นอภิปรายแบ่งเป็น ๔ เรื่อง ดังนี้ ๑. ผู้บริหารสามารถใช้งานโปรแกรมสำนักงานในกลุ่มของไมโครซอฟท์ เพื่อพิมพ์เอกสาร ตารางคำนวณ และงานนำเสนอมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการเรียนการสอน และงานบริหารในองค์กร แล้วยังสามารถสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และสื่อสารด้วยอีเมลได้ ๒. ผู้บริหารเห็นความสำคัญจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ซึ่งเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากโปรแกรมสำเร็จรูป และมองไปที่ภาพรวมของเทคโนโลยี แต่การระบุปัญหาส่วนใหญ่เน้นไปที่ปัญหาด้านอุปกรณ์มากกว่าปัญหาด้านสารสนเทศที่มาจากระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ซึ่งไม่พบการชี้ชัดที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานให้บรรลุสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ๓. ผู้บริหารยังใช้งานโปรแกรมประยุกต์หรือระบบฐานข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจในรูปของสถิติยังไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจตามความต้องการของผู้บริหาร และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับผู้บริหารที่จะทำความเข้าใจในประโยชน์ของระบบฐานข้อมูลแต่ละระบบ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถกำหนดความต้องการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน ๔. ผู้บริหารไม่ต้องการพัฒนาตนเองในการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไปไม่ช่วยสนับสนุนการใช้ระบบเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารที่ชัดเจน โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ให้น้ำหนักของการศึกษาวิจัยเพื่อวางแผนการจัดอบรมและจัดหลักสูตรด้านไอทีให้กับผู้บริหารโดยให้ความสำคัญกับโปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป มากกว่าการศึกษาความต้องการของผู้บริหารที่ต้องการเติมเต็ม แล้วนำไปช่วยให้การตัดสินใจที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

ยกร่าง การอภิปรายผล รายงานวิจัย sar51

sar518 ธ.ค.52 ยกร่าง การอภิปรายผล ซึ่งยังขาดผลประเมินคณะ ปีการศึกษา 2551 เพื่อใช้วิเคราะห์ความเบี่ยงเบนเปรียบเทียบปี 50 และ 51 ในขั้นตอนที่เหลือ และยังไม่เสนอให้ทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย อ.วันชาติ  นภาศรี อ.ศศิวิมล  แรงสิงห์ อ.อาภาพร ยกโต อ.อัศนีย์  ณ น่าน อ.คนึงสุข  นันทชมภู อ.สุรพงษ์  วงค์เหลือง นางเจนจิรา เชิงดี และ นางสาวเพชรี  สุวรรณเลิศ
     จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปายผล ดังนี้ 1) ผลสำรวจความพึงพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมตั้งแต่ครั้งแรกไปถึงครั้งที่สี่มีแนวโน้มค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ลดเพียงเล็กน้อยสำหรับครั้งที่สี่ คือ 3.86, 3.93 4.18 และ 4.10 โดยทั้ง 4 ครั้งมีระดับความพึงพอใจเท่ากันคือระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นตัวแทนจากคณะวิชามีความพึงพอใจ ยอมรับ และเข้าใจการใช้งานระบบนี้ 2) หน่วยงานระดับคณะวิชายังใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองเพียง 80% และมีคณะที่ส่งมอบรหัสผ่านให้กับผู้ประเมินเพียง 60% แต่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าทั้งระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง และกลไกที่สนับสนุนให้คณะวิชาใช้งานระบบยังต้องมีการปรับปรุง 3) ผู้ประเมินได้ใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองทุกคน แต่ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24 , S.D = 1.11) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าหน่วยงานระดับคณะวิชาส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองยังไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุให้ผู้ประเมินเข้าตรวจสอบหลักฐานเอกสารผ่านระบบออนไลน์แล้วไม่พบหลักฐานดังกล่าว จึงทำให้ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
     ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือ 1) ผู้บริหาร และสำนักประกันคุณภาพควรผลักดันให้หน่วยงานระดับคณะวิชาใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง และมีกลไกในการกำกับดูแลการใช้งานระบบดังกล่าวที่ชัดเจน 2) การใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรเปิดให้อาจารย์ได้เข้าไปใช้งาน และเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับคณะวิชา แล้วรวมเป็นข้อมูลของมหาวิทยาลัยในที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกลไกการประกันคุณภาพแบบบูรณาการอย่างแท้จริง
     ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ 1) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยควรรองรับการใช้งานตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับคณะวิชา และระดับมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเชื่อมโยงแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ทั้งกับระบบฐานข้อมูลภายใน และภายนอก 2) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรมีฟังก์ชันเผยแพร่รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินโดยผู้ประเมินแล้ว สู่สาธารณชนผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
+ http://www.yonok.ac.th/sar