สื่อการเรียนรู้ (Learning Media)

ปรับปรุง : 2556-10-18 (PBL)
ข่าวการศึกษากับเทคโนโลยี
ข่าว : การสำรวจครูในสหรัฐพบว่าอินเตอร์เน็ทช่วยให้การเรียนการสอนน่าสนใจมากขึ้นแต่ขณะเดียวกันก็ทำให้นักเรียนขาดทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล http://www.voathai.com การสำรวจครูมากกว่า 2,000 ในสหรัฐโดยสถาบัน Pew พบว่าอินเตอร์เน็ทช่วยให้การเรียนการสอนน่าสนใจมากขึ้นแต่ขณะเดียวกันก็ทำให้นักเรียนขาดทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล ครูบอกวว่านักเรียนยังขาดความรู้เท่าทันของข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท และเลือกที่จะเชื่อความรู้ออนไลน์มากเกินไป - ในรายงานที่ชื่อว่า Pew Internet Project ครู 75% ที่ตอบแบบสอบถามกล่าวว่านักเรียนชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายได้รับประโยชน์จากโลกออนไลน์ด้านพฤติกรรมและทักษะในการค้นหาข้อมูล - อย่างไรก็ตาม 87% ห็นว่าเทคโนโลยีใหม่ๆทำให้สมาธินักเรียนสั้นลง และ 64% กล่าวว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ดึงความสนใจนักเรียนไปเรื่องอื่นมากกว่าเรื่องเรียนหนังสือ - บรรดาครูกังวลอีกด้วยว่าการที่นักเรียนสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วบนอินเตอร์เน็ท ทำให้นักเรียนละทิ้งความพยายามที่จะหาข้อมูลจากแหล่งอื่นที่อาจให้ความรู้ที่กว้างและลึกกว่าเช่นจากหนังสือและบรรณารักษ์ที่ห้องสมุด - Judy Buchnan รองผู้อำนวยการจากโครงการการศึกษา National Writing Project และเป็นผู้ร่วมเขียนรายงานจากการสำรวจชิ้นนี้กล่าวว่านักเรียนควรเรียนรู้การแยกแยะข้อมูลที่เชื่อถือได้ ออกจากข้อมูลที่ไม่น่าเชือถือ ซึ่งเป็นทักษะที่ครูสามารถช่วยพัฒนาได้ - รายงานโดย Christopher Cruise /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท
+ http://www.thaiall.com/blog/admin/4802/
ข่าว : โรงเรียนในอังกฤษใช้เงินหลายล้านกับอุปกรณ์ที่ไม่มีประสิทธิผล http://www.zdnet.com
ประเด็นแรก .. งบประมาณกับประสิทธิภาพ - Summary: Are school budgets being battered (ทำลาย) by teachers who buy but never use the latest(ล่าสุด) gadget(อุปกรณ์เชิงกล)?
In the last five years, UK schools have spent over ?1 billion pounds on buying the latest must-have gadgets, digital learning tools and software. [1 British pound = 49.404908 Thai baht]
But how much of this investment is actually put to good use?
According to research released by non-profit organisation Nesta, although such a vast (มหาศาล) amount has been invested to modernize the British education system, there is "little evidence of substantial success" in improving learning through newly-acquired digital tools. [อันดับระบบการศึกษา 2555 อังกฤษอยู่อันดับ 6 สหรัฐอยู่อันดับ 17 ไทย 37 จากทั้งหมด 40]
#share in my facebook page - ที่อังกฤษพึ่งรู้ว่าการใช้ไอทีในโรงเรียน ไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเท่าที่คาด เขาคิดว่าเสียเงินมากไปเมื่อเทียบกับผล แต่ผมว่ามีการหมุนเวียนของงบประมาณไปที่บริษัทไอที The English know how to do it in schools is not only powerful tools that expect him to lose much thought when compared with the results, but I have a turnover of budget to it.
+ http://www.thaiall.com/blog/admin/4660/

แนวคิด ทฤษฎี และหลักการ
สื่อการเรียนรู้ [#]
#1 สื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนำวัสดุ เครื่องมือ วิธีการ มาเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้ไปยังผู้เรียนได้ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้
#2 สื่อการเรียนรู้ (ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมวิชาการ 2544 หน้า 178) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เน้นสื่อที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง หรือนำสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวมาใข้ในการเรียนรู้
#3 สื่อการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นคน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาจกล่าวได้ว่า สื่อการเรียนรู้ ( Educational Material ) เทคโนโลยีการสอน ( Instructional Technology ) และ เทคโนโลยีการเรียนรู้ ( Learning Technology ) มีความหมายใกล้เคียงกัน
ประเด็นเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ [#]
สิ่งที่พิจารณาประกอบการจัดหา จัดเตรียม เลือกใช้สื่อการเรียนรู้ คือ จุดประสงค์ (Objective) ลักษณะผู้เรียน (Learner) รูปแบบการเรียนการสอน (Type) ธรรมชาติเนื้อหา (Content) วิธีการนำเสนอ (Method) และทรัพยากร (Resource)
เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) คือ การบูรณาการ บุคคล วิธีการ แนวคิด วัสดุ อุปกรณ์ ทฤษฎี และกระบวนการ เพื่อการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ ที่เป็นแนวทางสามารถนำไปปฏิบัติจริง
สื่อการเรียนรู้ จำแนกได้ 6 ประเภท คือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี สื่อที่เป็นกิจกรรม/กระบวนการ สื่อบุคคล/ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สื่อวัสดุอุปกรณ์ #
วิธีการจัดหาสื่อการเรียนรู้
ออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่ต้องการ ให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ การจัดหาสื่อให้ตรงกับความต้องการ มีวิธีการ และขั้นตอน ดังนี้
1. สร้าง / ผลิตขึ้นเอง 1) กำหนดวัตถุประสงค์ 2) วิเคราะห์ กำหนดคุณสมบัติ และลักษณะผู้เรียน 3) วิเคราะห์ กำหนดเนื้อหาสาระ และวิธีการเรียนรู้ 4) วิเคราะห์ กำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะ 5) กำหนดวิธีการ และแนวทางการเสนอเนื้อหาสาระ 6) กำหนดรูปแบบ และวิธีประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาคุณภาพสื่อ 7) กำหนดแหล่งข้อมูลในการจัดทำสื่อ 8) ยกร่าง / จัดทำ 9) ทดสอบ / ประเมินคุณภาพ 10) ปรับปรุง 11) นำไปใช้
2. จัดทำเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วน
3. การเลือกซื้อสื่อการเรียนรู้ที่จัดจำหน่าย
พัฒนาการของสื่อการเรียนการสอน [#]
นับตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษา และมีการกล่าวถึงนักเทคโนโลยีทางการศึกษาพวกแรก คือ กลุ่มโซฟิสต์ (The Elder sophist) ที่ใช้วิธีการสอนการเขียน เช่น การใช้มือวาด การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำได้เริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1800
ต้นทศวรรษที่ 1900 ใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์ (audio visual) และใช้สื่อการสอนหลายประเภทเพิ่มขึ้น อาทิ สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลอง เสริมการบอกเล่าด้วยคำพูด
ปี ค.ศ. 1913 Thomas A. Edison ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์
ทศวรรษที่ 1920 - 1930 เริ่มมีการใช้เครื่องฉายภาพแบบข้ามศีรษะ (overhead projector) เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์
ทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตก
ต้นทศวรรษที่ 1950 ในทวีปยุโรป เกิดวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษา โดย British Broadcasting Corporation = BBC
ปี ค.ศ. 1958 ประเทศอิตาลี มีการสอนตรงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ผ่าน Telescuola (Television School of the Air)
ต้นทศวรรษที่ 1960 ในเครือคอมมิวนิสต์ อาทิ ยูโกสลาเวีย โปแลนด์ โซเวียต ได้ออกอากาศรายการทั่วไป และรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย
ปลายทศวรรษที่ 1960 ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นครั้งแรกในปี 1977 เมื่อบริษัท APPLE ได้ประดิษฐ์เครื่อง APPLE II ใช้เพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนาให้สามารถช่วยในการเรียนการสอนในลำดับต่อมา
ยุคของมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้เริ่มขึ้นในปี 1987 เมื่อบริษัท APPLE ได้เผยแพร่โปรแกรมมัลติมีเดีย คือ โปรแกรม HyperCard และ Hyper Studio
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย แล้วมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก เป็นการเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
บทเรียนสำเร็จรูป หรือบทเรียนโปรแกรม
บทเรียนสำเร็จรูป คือ สื่อการเรียนรู้ถูกใช้สำหรับ การจัดการเนื้อหาเป็นบทเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน แล้วสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ละเนื้อหาจะมีคำถาม เพื่อประเมินความเข้าใจ และมีเฉลยให้ผู้เรียนอ่านทำความเข้าใจ แล้วตอบคำถามอีกครั้งหนึ่ง เมื่อตอบถูกก็จะเรียนต่อในหัวข้อต่อไป เช่น ถามว่าคำศัพท์ในตัวเลือกใดแปลว่าแมว ถ้าตอบผิดก็จะบอกว่า คำที่ผิดแต่ละคำแปลว่าอะไร และคำที่แปลว่าแมวคือคำใด
อีเลินนิ่ง (e-Learning = Electronic Learning) [#]
ความหมายของอีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning = Electronic Learning) ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน คือ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
#1 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
#2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ [#]
กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้อง เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง หรือรวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ
นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยสะท้อนจากการที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชา หรือเลือกทำโครงงานหรือชิ้นงานในหัวข้อที่สนใจในขอบเขตเนื้อหาของวิชานั้นๆ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาตามแนวทางเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมุ่งพัฒนาความรู้ และทักษะทางวิชาชีพ ทักษะชีวิตและทักษะสังคม มีปรากฏในวงการศึกษาไทยหลายรูปแบบตัวอย่าง เช่น 1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning : PBL) คือ การศึกษาปัญหา หาแนวคิดทางวิชาการมาสนับสนุน และเรียนรู้ที่จะดำเนินการแก้ปัญหา 2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study) คือ การจัดการเรียนการสอนเฉพาะแต่ละบุคคล 3) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism) คือ การสร้างความรู้โดยใช้ประสบการณ์ชีวิตเป็นฐานในการค้นหาความจริง 4) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study) คือ การจัดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และค้นพบด้วยตนเอง 5) การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) คือ การเรียนรู้จากการทำงานในสถานประกอบการณ์ หรือชุมชน 6) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research–based Learning) คือ การเรียนรู้ไปพร้อมกับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ 7) การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-based Approach) คือ การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง จากการรวบรวม ทำความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากการศึกษา ซึ่งเหมาะสำหรับบัณฑิตศึกษา
ทฤษฎีสรรคนิยม (Constructivist) [#]
Von Glasersfeld เสนอเกี่ยวกับการเรียนรู้ในมุมมองของ ทฤษฎีสรรคนิยม (Constructivist) ว่านักเรียนสร้างความรู้โดยกระบวนการคิดของตนเอง เมื่อนักเรียนเผชิญปัญหาซึ่งเป็นสภาวะประสบการณ์ใหม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม นักเรียนจะต้องปรับโครงสร้างทางปัญญาเป็นการเสริมความรู้ใหม่โดยปรับให้เข้ากับความรู้เดิมที่มีอยู่ และกระบวนการปรับเปลี่ยนซึ่งเป็นการปรับโครงสร้างใหม่เพื่อสร้างความรู้ใหม่เพื่อให้เข้ากับเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัญหาที่เผชิญอยู่ (เรียบเรียงโดย รัตนาภรณ์ ไตรศร)
กรวยของการเรียนรู้ (Cone of Learning) [#]
ตามที่ Edgar Dale ได้อธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ และนำเสนอด้วยแผนภาพรูปกรวยว่า การเรียนรู้ด้วยการอ่านมีประสิทธิภาพต่ำสุดในการเรียนรู้ แต่การลงมือปฏิบัติทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำให้หลักสูตรการสอนที่พัฒนาแล้วจะสอดแทรกวิชาฝึกงาน และมีพัฒนาเป็นสหกิจศึกษาในปัจจุบัน จากภาพกรวยจะเรียงลำดับวิธีการเรียนรู้จากประสิทธิภาพต่ำไปสูงได้ดังนี้ 1) การอ่าน 2) การฟัง 3) การดูภาพ 4) การดูวีดีโอ 5) การศึกษาดูงาน 6) การดูการนำเสนอ 7) การมีส่วนทดลองปฏิบัติ 8) การทำงานร่วมกัน 9) การจำลองสถานการณ์จริง และ 10) การลงมือปฏิบัติจริง
โมเดลออกแบบ CAI ของ Roblyer และ Hall
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการกำหนดเป้าหมายการสอน วิเคราะห์รูปแบบการสอน ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม กำหนดวิธีการประเมินผล และการออกแบบกลวิธีการสอน ซึ่งกำหนดอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนออกแบบบทเรียน
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการออกแบบบทเรียนโดยเขียนเป็นผังงาน สร้างกรอบแสดงเรื่องราว ( Storyboard ) ของบทเรียนว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง มีข้อความ การเสริมแรง ผลป้อนกลับ การดำเนินขั้นตอนของเนื้อหา ขั้นสุดท้ายของขั้นตอนคือ การทบทวนการออกแบบก่อนนำไปสร้างโปรแกรมบทเรียน และในขั้นนี้ควรจัดทำเอกสารหรือคู่มือประกอบสำหรับผู้เรียนและผู้สอนด้วย
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทดลองสร้างโปรแกรมบทเรียน มีการทดสอบการใช้ และแก้ไขปรับปรุงบทเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออกแบบบทเรียน
ในแต่ละขั้นตอนนั้น จะมีกระบวนการป้อนกลับ เพื่อทดสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL = Project-Based Learning)
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey, 1897) ได้นำเสนอแนวคิด "เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)" ว่า "ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิด หรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง"
    ต่อมาเกิดรูปแบบการเรียนรู้จาก แนวคิดของดิวอี้ หลายรูปแบบ ได้แก่
    - การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
    - การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning)
    - การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method)
    - การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
    - การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)
ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011) ได้อธิบายความหมายของพีบีแอล (PBL = Project-Based Learning) ว่าเป็น "การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้ แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหา และได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมา เด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสาน พีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น"
+ http://en.wikipedia.org/wiki/Project-based_learning
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/5563/
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) [#]
ความหมายของ KM : นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า "การจัดการความรู้" ไว้ว่าสำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
กระบวนการจัดการความรู้มี 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม และกรองความรู้ที่ไม่ใช้ออกจากแหล่งรวบรวม 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน มีความสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ 5) การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนที่มีฐานความรู้หรือฐานข้อมูลรองรับให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น 7) การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นวงจรความรู้ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ
กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรขั้นพื้นฐาน [#]
วิสัยทัศน์ของ สพฐ : หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
องค์ความรู้ ทักษะสำคัญ และคุณลักษณะในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 8 กลุ่มสาระ ประกอบด้วย 1) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา 6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 7) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี 8) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง [#]
ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พบหัวข้อที่ 5 มาตรฐานผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 5 ด้านคือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Morality and Ethics) 2) ด้านความรู้ (Knowledge development) 3) ด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual development) 4) ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ (Interpersonal relationship and responsibility) 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematical analytical thinking, communication skills, and information technology skills)
ซึ่งมีมาตรฐานย่อยรวมกันทั้งหมด 29 หัวข้อย่อย [รายละเอียดเพิ่มเติม]
พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย [#]
บลูม (Bloom) และคณะ ได้จำแนกพฤติกรรมทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง) - Cognitive: mental skills (Knowledge) 2) พฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ) - Affective: growth in feelings or emotional areas (Attitude) 3) พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (วัดด้านการปฏิบัติ) - Psychomotor: manual or physical skills (Skills)
behavior of education

พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แบ่งย่อยเป็น 6 ด้าน คือ 1) ความรู้ความจำ (Knowledge) 2) ความเข้าใจ (Comprehension) 3) การนำไปใช้ (Application) 4) การวิเคราะห์ (Analysis) 5) การสังเคราะห์ (Synthesis) 6) การประเมินค่า (Evaluation)
สถิติ [#]
สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ปริมาณน้ำฝน จำนวนครั้งในการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนนักเรียน จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวนพระในจังหวัดลำปาง เป็นต้น
การจำแนกข้อมูลในทางสถิติ แบ่งได้ 4 ประเภท 1) กาลเวลา (Time basis) ได้แก่ การจำแนกโดยอาศัยเวลาเป็นหลัก 2) สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical basis) ได้แก่ การจำแนกโดยอาศัยลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก 3) คุณภาพ (Qualitative basis) ได้แก่ การจำแนก โดยอาศัยคุณภาพ หรือคุณลักษณะเป็นหลัก เช่น คนขาว คนดี 4) ปริมาณ (Quantitative basis) ได้แก่ การจำแนก โดยอาศัยลักษณะที่สามารถวัดได้เป็นหลัก
การดำเนินงานทางสถิติ แบ่งได้ 4 ขั้น 1) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data) 2) การนำเสนอข้อมูล (Presentation of data) 3) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) 4) การตีความหมายข้อมูล (Interpertation of data)

กิจกรรมการเรียนการสอน
ระบบจัดการเรียนรู้ (Moodle LMS : Learning Management System [#]
แหล่งเรียนรู้
- หน้าตัวหนังสือ (Plain Text) คือ การเขียนข้อความตามปกติ
- หน้าเว็บเพจ (Webpage) คือ การเขียนตามแบบเว็บเพจ
- ลิงก์ไปไฟล์ หรือเว็บไซต์ (Link) คือ การสร้างจุดเชื่อมโยงแฟ้ม หรือเว็บไซต์ภายนอก
- แสดงไดเรคทอรี่ (Directory) คือ การแสดงรายชื่อแฟ้มในดาวน์โหลด
- ลาเบล (Label) คือ การเขียนข้อความประกาศอย่างสั้น

เอกสาร moodle
- http://lmsonline2.nrru.ac.th
- http://lms.engineer.mju.ac.th
กิจกรรม
- สกอร์ม (Scorm) คือ แหล่งข้อมูลที่รวมเนื้อหา หรือแฟ้มข้อมูลจากภายนอก ถูกยอมรับเป็นมาตรฐานหนึ่งของ Learning Object
- สารานุกรม (wiki) คือ ระบบจัดการนิยามศัพท์ หรือให้ความหมายที่ยืดหยุ่น เป็นระบบเปิดที่เข้าจัดการแต่ละความหมายร่วมกันได้
- กระดานเสวนา หรือเว็บบอร์ด (Webboard) คือ แหล่งที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการแสดงความคิดเห็น หรือถามตอบ
- การบ้าน (Assignment) คือ การมอบหมายให้ทำงานแล้วกลับมาส่ง ด้วยการอัพโหลด พิมพ์คำตอบ หรือส่งนอกเว็บไซต์ก็ได้
- บทเรียนสำเร็จรูป (Lesson) คือ เนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบเส้นทางการศึกษา ที่แต่ละเนื้อหามีคำถามประเมินความเข้าใจก่อนไปเนื้อหาต่อไป
- ห้องปฏิบัติการ (Workshop) คือ การกำหนดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ สามารถให้คะแนนทีละองค์ประกอบ หรือทีละระดับได้
- ห้องสนทนา (Chat) คือ การสนทนาระหว่างผู้เรียน กับผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันแบบออนไลน์ในเวลาจริง ผ่านแป้นพิมพ์
- อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ ให้นักเรียนได้ร่วมกันสร้างพจนานุกรมออนไลน์ โดยให้ความหมายแก่ศัพท์ทีละคำ
- แบบทดสอบ (Quiz) คือ ข้อสอบวัดผลการเรียนรู้ เพื่อประเมินก่อนเรียน หรือหลังเรียน
- แบบสอบถาม (Survey) คือ การสอบถามที่ใช้รูปแบบคำถามที่แตกต่างกัน อาจนำผลมาใช้ปรับปรุงการสอนได้
- โพลล์ (Choice) คือ การสอบถามความคิดเห็น เพื่อระดมความคิดเห็นอย่างเร็ว ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง

สื่อการเรียนการสอน
บทเรียนออนไลน์ (Courseware)
- http://courseware.rmutl.ac.th/courses/72/unit000.htm
เอกสารพาวเวอร์พอยท์ (Power Point)
- http://www.thaiall.com/office/screen.pps (แฟ้มสกุล .pps กับ .ppt ต่างกันอย่างไร)
- http://www.thaiall.com/learningmedia/media_03.ppt
กรณีศึกษา (Case Study)
- http://www.thaiall.com/mis/request_response.php
ข้อสอบออนไลน์ (Online Examination)
- http://www.trueplookpanya.com/true/examination.php
วีดีโอออนไลน์ (Online Video)
- http://www.thaiall.com/vdoteach
แผนภูมิ กราฟ (Graph)

ช่วงอายุ : 0 - 3 ปี ทารก 4 - 6 ปี วัยก่อนวัยเรียน 7 - 11 ปี วัยเด็ก 12 - 17 ปี วัยรุ่น
18 - 35 ปี วัยทำงาน 36 - 59 ปี วัยชรา
กระดาษปรู๊ฟ พีพีบอร์ด ปากกา ดินสอ สีชอล์ก
เวบบอร์ด (Webboard)
กลุ่มสนทนา (Focus Group หรือ Discussion Group)
เครือข่ายสังคม (Social Network)
รูปภาพ ฟิล์ม แผ่นใส หุ่นจำลอง แผนภูมิ
กล้วย (Bannana) เป็นสื่อจากวัสดุธรรมชาติ
1) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย .. กล้วยห่าม ผล หน่อ ปลี ใบ ต้น
2) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ .. บวก ลบ หวี เครือ ลูก
3) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ .. น้ำตาล พลังงาน
4) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม .. ถวายพระ
5) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา .. ประโยชน์ของสารอาหาร
6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ .. วิธีห่อขนม บายศรี
7) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี .. ผลิตภัณฑ์
8) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ .. ศัพท์ และการสนทนา



ไอทีในชีวิตประจำวัน
อีกก้าวที่สำคัญของแท็บเล็ตป.1 (336)
ปลายเดือนมีนาคม 2555 พบว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อแท็บเล็ตพีซีจาก บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ เป็นการทำสัญญาซื้อขาย ระหว่างบริษัทฯ กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมแนบสัญญาจัดซื้อเพิ่มเติม ซึ่งเดิมใช้คำว่า จีทูจี (G2G = Government to Government) แต่คำว่า "จีทูจี" ของแต่ละประเทศ มีรายละเอียดและความรับผิดชอบภายหลังการส่งมอบไม่ตรงกัน จึงเปลี่ยนเป็นการทำสัญญาซื้อขายแทน โดยเดือนเมษายน 2555 นี้จะจัดซื้อมาก่อน 2,000 เครื่องจากเป้าหมายที่จะซื้อทั้งหมด 560,000 เครื่องสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน และจะเร่งให้นักเรียนได้รับแท็บเล็ตทันใช้ในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2555 นี้
การเตรียมความพร้อมในการจัดซื้ออุปกรณ์ตามมาด้วยการเสนอจัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา และแบ่งงานออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มอำนวยการ 2) กลุ่มบริหารสื่อการเรียนการสอน 3) กลุ่มบริหารจัดการระบบสารสนเทศและโครงข่าย 4) กลุ่มบริการและดูแลรักษา และ 5) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนา เพราะแท็บเล็ตพีซี หรือคอมพิวเตอร์พกพาเป็นเพียงสื่อการเรียนรู้ (Learning Media) ที่จำเป็นต้องมีแผนการสอน เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอน และผู้สื่อที่มีความพร้อม
อีกประเด็นคือการทดสอบแท็บเล็ตจากจีน ที่มีแผนให้ส่งมาทดสอบว่ามีคุณภาพก่อนจำนวน 2,000 เครื่อง ถ้าผลการทดสอบพบว่าเครื่องทำงานได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกเครื่อง ก็จะมีกระบวนการจัดซื้อตามแผนต่อไป แต่ถ้าผลการทดสอบไม่ผ่านในขั้นที่รับไม่ได้ อาทิ เครื่องหยุดการประมวลผลในเปอร์เซ็นที่สูง (Hang) การแสดงผลมีข้อบกพร่องสูง ก็อาจส่งผลให้นักเรียนได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาไม่ทันเปิดภาคเรียนต่อไป ถ้าเครื่องยังไม่ได้คุณภาพก็ยังไม่จำเป็นต้องรีบร้อนซื้อหามาใช้ ดังคำว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม เป็นคำสอนที่ดีมาก

แนะนำเว็บ (Web Guide)
เว็บไซต์เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้
- thaiall.com : e-learning : km : freemind : printer : media : vdoteach
- http://www.wijai48.com/learning_stye/experince_learning/instruction_learning.htm
- ศูนย์สื่อการเรียนรู้ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
- Learn Object ของ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
- บัญชีรายชื่อสื่อการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2554 (หนังสือ)
- การออกแบบสื่อการเรียนรู้ (Material Design)
- วิชา หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา
-
บทเรียนออนไลน์
วิชาการบัญชีขั้นต้น 2 :: คลังข้อสอบ :: ศูนย์สอบออนไลน์
คำอธิบายวิชา การผลิตสื่อการเรียนรู้ งานมอบหมาย
ศึกษาความสำคัญและพัฒนาการของสื่อการสอน ระบบ และกระบวนการสื่อการเรียนรู้ ฝึกการสร้างสื่อการสอน งานกราฟิก ชุดการสอน การผลิตสื่อจากวัสดุธรรมชาติ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสารมวลชนกับการสอน ประสิทธิภาพการใช้สื่อการสอน
1. ใช้ดินสอ สีชอร์ค และวาดภาพตามที่คิด แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ถ่ายภาพผลงานกับตนเอง แล้วส่งเข้า fb ของตัวพร้อมอธิบายประกอบ
แล้วเขียนข้อความแจ้งผลว่าดำเนินการแล้วใน fb ของอาจารย์

2. เขียนแผนที่ความคิด บนกระดาษบรู๊ฟ มีเนื้อหาตามกลุ่มสาระ #1
3. เขียนภาพ ภาพถ่าย วัสดุอื่น บน pp board มีเนื้อหาตามกลุ่มสาระ #2
4. มัลติมีเดีย นำเสนอ ความเป็นมาของสื่อ ขั้นตอนการออกแบบสื่อ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ใช้สื่อ ด้วยสื่อการเรียนรู้อย่างน้อย 3 สื่อ ตอบพฤติกรรมทางการศึกษา 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย พร้อมรูปเล่ม มีเนื้อหาตามกลุ่มสาระ #3

ข้อควรระวัง (Caution)
Good teacher

Game in LAB

Daytodisconnect.com

Disconnect is rule

http://www.facebook.com

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning exchange)




ทำอย่างไรให้เขาอยากฟังสิ่งที่เราสอน
โดย j-sharp chiangmai
"ไม่ว่าจะสอนวิชาการ หรือสั่งสอนเรื่องราววิชาชีวิต มันไม่ใช่เรื่องยาก
แต่สิ่งที่ยาก คือ ทำอย่างไรให้เขาอยากฟังสิ่งที่เราสอน
"


ครูสมัยนี้ คือ ครูเป็นผู้ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง
แต่ถ้าครูคิดเพียงจะสอน สอน และสอน แสดงว่าคุณครูย่ำอยู่ในอดีต


แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223