ขอ ChatGPT ช่วยทำการบ้าน

คุณครูให้การบ้านการโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน มีโจทย์ว่า จงพิมพ์ 1 ถึง 10 ด้วยไพทอน ลองขอความช่วยเหลือจาก ChatGPT โดยส่งคำถามไปว่าเป็นภาษาอังกฤษว่า How can you write a loop in Python to print numbers from 1 to 10? แล้ว ChatGPT ก็ส่งคำตอบมาเป็นโค้ดให้ 2 บรรทัด ว่าต้องเขียนอย่างไร เอาคำตอบนี้ไปส่งครูได้เลย

เขียนโค้ดของ python บน pycharm

พร้อมอธิบายเป็นภาษาไทยประกอบโค้ดว่า นี่คือตัวอย่างของการเขียนลูปในไพทอนเพื่อพิมพ์ตัวเลข 1 ถึง 10: for i in range(1, 11): print(i) ในตัวอย่างนี้เราใช้ลูป for เพื่อวนลูปตามช่วงของตัวเลข 1 ถึง 10 (รวมทั้งตัวท้าย 10) โดยใช้ฟังก์ชัน range เพื่อสร้างลำดับของตัวเลข และลูป for จะวนลูปตามแต่ละตัวเลขในลำดับนั้น ๆ โดยเก็บค่าปัจจุบันไว้ในตัวแปร i และใช้ฟังก์ชัน print เพื่อแสดงค่าของ i ออกทางคอนโซล (console) ของโปรแกรม

เมื่อนำ code ไปประมวลผลบน pycharm พบว่าใช้งานได้ปกติ ผลลัพธ์คือ 1 – 10 แสดงผลบน console ตามคำอธิบายของ ChatGPT อย่างถูกต้อง ถ้าคุณครูสั่งงานด้วยโจทย์ที่ยากขึ้น สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ก็เชื่อว่า ChatGPT จะตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง พร้อมคำอธิบายโค้ดโดยละเอียด

https://thaiall.com/pycharm

https://chatgpt.openai.com/

ฝึกทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้นักเรียน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้

ปัจจุบันห้องเรียนที่ทันสมัยจะสอนการใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เน้นทักษะการใช้งาน จนสามารถนำไปแข่งขันกับเพื่อนต่างโรงเรียนได้ ซึ่ง ประเทศไทยจัดให้มี งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ในปีการศึกษา 2565 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 70 ที่ ( sillapa . net ) เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน แบ่งได้ 18 หมวดหมู่ คือ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) นักบินน้อย สพฐ. 5) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6) สุขศึกษา และพลศึกษา 7) ศิลปะ-ทัศนศิลป์ 8) ศิลปะ-ดนตรี 9) ศิลปะ-นาฏศิลป์ 10) ภาษาต่างประเทศ 11) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 12) คอมพิวเตอร์ 13) หุ่นยนต์ 14) การงานอาชีพ 15) ปฐมวัย 16) การศึกษาพิเศษ (โรงเรียนเรียนรวม) 17) การศึกษาพิเศษ (เฉพาะความพิการ) 18) การศึกษาพิเศษ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ)

พบว่า มีเกณฑ์การแข่ง ขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สรุปกิจกรรมการแข่งขันกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) พบว่า มี 13 กิจกรรม แบ่งได้ 26 รายการ ในหน้า 49 – 51 พบว่า แต่ละกิจกรรมแนะนำโปรแกรม ให้เลือกใช้มากมาย

  1. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก
    ได้บังคับให้ใช้เฉพาะโปรแกรม Paint
  2. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนเรื่องสั้น (Comic Strip) แนะนำโปรแกรม Paint, Adobe Illustrator, Adobe Flash, Adobe Photoshop, Cool Edit Pro., PhotoScape, Microsoft Office, Adobe InDesign, Paint SAI หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  3. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น (3D Animation) แนะนำโปรแกรม Adobe Audition, Adobe After Effect, Adobe Flash, Adobe Illustrator, Adobe Premiere Pro, Adobe Photoshop, Audacity, Crazy Talk Animation, Cool Edit Pro., Wondershare, Format Factory, Free RIP, Gold Wave, GSP, QuickTime, WavePad Sound Editor, MD Sound, MP Converter, Namo Free Motion, Nero Wave Editor, RPG, Soundboot, Sound Page, Sound Recorder, Swishmax, Toon Boom, Ulead Video, Vegas Pro, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  4. การแข่งขันการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม 3D Max / 3D Max Studio, Autodesk 3D Max, Blender, Cinema 4D, Google SketchUp/ SketchUp Pro, MAYA, Sweethome 3D, Pro Desktop, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  5. การแข่งขันการสร้างเกมสร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม Adobe AI, Adobe Captivate, Adobe Master, Adobe Photoshop, Adobe Flash / Flash CS, Authorware, Adobe illustrator, Game Maker, Construct, Kodu Game Lab, Jumla, Swish / Swish max, Microsoft Excel, Microsoft PowerPoint, Photot Scape, Pux Paint, Paint, RPG Maker XP, RPG VX, Scratch, Sketchup Pro., Stencyl, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  6. การแข่งขัน Motion Infographic แนะนำโปรแกรม Adobe After Effect, Adobe Illustrator, Adobe Flash, Adobe Premier, Sony Vegas Pro, Microsoft Office, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  7. การแข่งขันการใช้โปรแกรมนำเสนอ (Presentation) แนะนำโปรแกรม Adobe Photoshop, Flash, Microsoft PowerPoint, Photoscape, ProShowGold, Ulead, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  8. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Text Editor
    ได้บังคับให้ใช้เฉพาะโปรแกรม Notepad
  9. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Web Editor แนะนำโปรแกรม Adobe Flash / Flash Player, Flash Effect Maker, Adobe Dreamweaver, Webpage Maker, Adobe Photoshop, Corel VideoStudio Pro, FileZilla, Intro Banner, Swishmax, Magic Video Converter, Master collection, Microsoft FrontPage, Namo, Namo Web Editor, Picture College Maker Pro., Photo to Movie, หรือโปรแกรมอื่น ๆ,
  10. การแข่งขันการสร้าง Web Applications แนะนำโปรแกรม Notepad, Notepad++, Sublime Text, VIM, Atom, Emacs, Editplus, Adobe Dreamweaver, Front page, Kompozer, nanoWebEditor, Visual Studio.NET, Eclipse, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  11. การแข่งขันการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม C Free, Code Blocks, Dev C++, Dev Tools, PHP, Vicual Basic, Turbo C++, Visual C#, Visual C++ 2010 Express, Visual Studio Express, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  12. การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทซอฟต์แวร์ เป็นการบูรณาการทุกแอปพลิเคชัน ไม่ได้แนะนำตัวใดไว้เป็นพิเศษ
  13. การแข่งขันการตัดต่อภาพยนตร์ แนะนำโปรแกรม Adobe Audition, Adobe Flash, Adobe Photoshop, Adobe Premiere / Premiere Pro, After Effects, Converteter Pro, Corel VideoStudio, Cyberlink Powerdirector, Format Factory, Nero Wave, Power Director, Sony VegasPro, Sound Recorder, Sound Forge, Ulead/ Ulead Video Studio, Windows Movie Maker, หรือโปรแกรมอื่น ๆ

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

https://www.thaiall.com/student/

โปรแกรมที่พบในการจัดประกวด

อันดับเว็บไซต์ด้านการศึกษา ปี ค.ศ. 2003 – 2022

ว็บไซต์อันดับ 1 ด้านการศึกษา ตั้งแต่ปี 2003 ถึงปัจจุบัน มีผลการจัดอันดับในแต่ละปี ดังนี้ 1) ปี 2003 ru.ac.th มี UIP 3,228 ต่อวัน 2) ปี 2004 eduzones.com 3) ปี 2005 eduzones.com 4) ปี 2006 vcharkarn.com 5) ปี 2007 vcharkarn.com 6) ปี 2008 vcharkarn.com 7) ปี 2009 eduzones.com 8) ปี 2010 eduzones.com 9) ปี 2011 eduzones.com 10) ปี 2012 eduzones.com 11) ปี 2013 eduzones.com 12) ปี 2014 gotoknow.org 13) ปี 2015 gotoknow.org 14) ปี 2016 gotoknow.org 15) ปี 2017 gotoknow.org 16) ปี 2018 gotoknow.org 17) ปี 2019 trueplookpanya.com 18) ปี 2020 trueplookpanya.com 19) ปี 2021 trueplookpanya.com 20) ปี 2022 trueplookpanya.com มี UIP 97,965 ต่อวัน

ปัจจุบัน ทรูปลูกปัญญา คือ เว็บไซต์ด้านการศึกษา อันดับ 1 ของประเทศไทย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนไทยยุคดิจิทัล เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีเนื้อหาที่ประกอบด้วย คลังบทเรียน คลังข้อสอบ สนามสอบเสมือนจริง คลิปการเรียน ระบบอัปสกิล ระบบจัดการห้องเรียนออนไลน์ และ คอร์สเรียนออนไลน์ มีแอปพลิเคชันทรูปลูกปัญญาทั้งบน Play store และ App store หรือชมผ่านทางช่องทรูปลูกปัญญา

https://thaiall.com/truehits/

การกระตุ้นความสนใจ วิธีหนึ่งคือมีรุ่นพี่ศิษย์เก่าดีเด่นผู้เป็นแรงบันดาลใจ มาเป็นวิทยากรที่เป็นการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

พบงานวิจัยของ กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และ ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว ศึกษาเรื่อง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในผลการวิจัย พบว่า ได้เสนอกิจกรรมทั้งหมด 5 ขั้น โดย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ตามด้วย ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด ขั้นที่ 4 นำเสนอ ขั้นที่ 5 ประเมินผล ถูกนำเสนอใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และประถมศึกษา ต่างมีศิษย์เก่าเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมในแต่ละสถาบัน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีการประกาศรายชื่อ ศิษย์เก่าดีเด่น และ ศิษย์เก่าทรงคุณค่า เพื่อให้นักเรียนได้มีตัวอย่างบุคคลที่จะเป็นแรงบันดาลใจ และคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ด้วยการนำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของศิษย์เก่าดีเด่น หรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้ตั้งใจเรียน และเรียนอย่างมีเป้าหมาย

เช่น กิจกรรม “พี่เล่า น้องเรียน” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม La Providence โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับสภานักเรียน ฝ่ายกิจการนักเรียน โดยมีศิษย์เก่าทรงคุณค่า ได้แก่ 1) คุณณรงค์ ปัทมะเสวี ประธานกรรมการมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี 2) พลเอกกฤษณ์ดนัย อิทธิมณฑล ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง (กรุงเทพมหานคร) 3) คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 4) คุณนิรุฒน์ ตันอนุชิตติกุล ประธานบริษัท Major Advertising จำกัด มาเป็นผู้บอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ หนทางสู่ความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดในการทำงาน เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจอยากเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้รุ่นน้องได้เข้าถึงประสบการณ์จริงของรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพื่อให้รุ่นน้องได้นำบทเรียนไปปรับใช้เป็นแบบอย่างสำหรับวางแผนชีวิตต่อไป

พี่เล่าน้องเรียน

https://web.facebook.com/ACL2501/posts/pfbid0dJeW3FXNaWTWy28qrbFEDY4k3AszDaa9oAiqvE7sGGnYxs4JZUXNdetzSEHfnJrhl

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

หรือ ค้นจากกูเกิ้ลด้วยคำว่า “ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564” พบประวัติการทำงานของศิษย์เก่า 2 ท่าน ในสาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สะท้อนการบรรยายประวัติ Profile แบบ Who am i? แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติและการปฏิบัติตน
ที่สมควรแก่การได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ด้วยผลงานที่โด่ดเด่นเป็นประจักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม ที่มีเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างชัดเจนในแบบเอกสารแสดงผลงาน จำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1) ท่านแรก ดร.พิทยากร ลิ่มทอง มีผลงานวิจัยดีเด่นหลายเรื่องที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินถึง 3 ปี และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านปฐพีวิทยาอย่างเป็นระบบและเด่นชัด 2) ท่านที่สอง คุณรนัท ทรงเมรากฤตย์ เป็นผู้ปรับใช้องค์ความรู้ทางปฐพีวิทยามาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จนเป็นที่ยอมรับในวงการการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีและเทคนิคการเกษตรในองค์กรต่าง ๆ แล้วยังเข้ามาช่วยบรรยายให้กับนิสิตรุ่นน้อง และเข้าร่วมงานวิจัยกับคณาจารย์ในภาควิชา

ซึ่งทุกสถาบันการศึกษาย่อมมีศิษย์เก่าดีเด่น และตัวอย่างทั้งสองท่านนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สมควรที่ครูอาจารย์จะนำประวัติและผลงานไปปรับใช้เป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับการเล่าเรื่องให้นิสิตฟัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นแนวทางการใช้ชีวิตของศิษย์รุ่นพี่ หรือส่งเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นให้รุ่นน้องได้เรียนรู้ แล้วได้นำไปปรับใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือเป้าหมายชีวิตของตนต่อไป ที่สำคัญนักเรียนจะจำได้ว่าศิษย์เก่าดีเด่นที่เขาประทับใจคือใคร

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564
ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564

https://dss.agr.ku.ac.th/news/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564-30

ชวนฟัง อ.kirk เล่าประวัติ เคยอยู่วิทยาลัยโยนก ในงาน Some one หนึ่งในหลาย

For A.Kirk at YONOK College (Nation University)

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 มีโอกาสเข้า กลุ่มไลน์เพื่อนโยนก พบว่า เพื่อน ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเสมอ มีเรื่องน่าสนใจมากมาย เช่น เพื่อนบิวแชร์คลิปเมื่อหกปีก่อน ที่ อ. Kirk R. Person,Ph D. พูดเรื่อง MLE ที่ประเทศอินเดีย ส่วนเพื่อนภูเบศร์ ชวนฟัง TEDTalk ของ อ. Kirk ที่พูดในงานประชุมวิชาการวิชาการ หรืองานเปิดตัวสารคดี พบคลิปที่แชร์ผ่านเฟซบุ๊กเป็นเวลาหลายชั่วโมงถ่ายทอด Live จากแฟนเพจ “สารคดี Some one หนึ่งในหลาย” ของ มหาวิทยาลัยมหิดล

MLE = Multilingual Education

ในตอนต้นรายการ ได้ฟัง อ.Kirk เล่าประวัติ ตั้งแต่วัยเด็ก เติบโต มาพบรักที่วิทยาลัยโยนก ไปทำงานบนดอย จนแต่งงาน มีลูกที่น่ารักหลายคน มีลูกสาวได้ร้องเพลงในงานกีฬาสีที่กรุงเทพ ท่านศึกษาเรื่องภาษา พบว่า ประเทศไทยมีมากกว่า 70 ภาษา และในโลกเรามีมากถึง 7151 ภาษา และมีมากถึง 193 ประเทศในสหประชาชาติ ย้ำให้เห็นว่าประเทศไทย หรือคนไทย เราไม่ได้มีเพียงชาติเดียวในโลก

สรุปได้ว่า เราเป็นเพียงหนึ่งในหลายเชื้อชาติ หลายภาษา แตกต่างตามเส้นเขตแดน วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชน และครอบครัว

Some one หนึ่งในหลาย

ท่านนำภาพหมู่ของนักศึกษาวิทยาลัยโยนก (มหาวิทยาลัยเนชั่น)
ขึ้นสไลด์ TEDTalk ซึ่งเป็นช่วงชีวิตอีกช่วงหนึ่งที่ท่านประทับใจ

ในช่วงหนึ่งของชีวิต ของ อ.Kirk ตอนที่ได้มาอยู่ประเทศไทยใหม่ ๆ นั้น ท่านได้ฉายภาพหมู่ของนักศึกษาโยนกปี 2 (ประมาณปี พ.ศ.2532) ที่หน้าอาคารเรียนรวมหลังแรก ของ วิทยาลัยโยนก (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น ปีพ.ศ.2554 และย้ายไปวิทยาเขตใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533) ที่วิทยาเขตศรีปงชัย ต.ชมพู ลำปาง ซึ่งในภาพนั้นมีผมและเพื่อน ๆ รุ่นหนึ่ง ที่เพื่อนบิวได้ capture นำไปแชร์ในกลุ่ม เป็นภาพความทรงจำ ที่ อ.Kirk คิดถึงพวกเราเสมอ

ทฤษฎีรักนิรันดร – ดูภาพยนตร์แล้วย้อนดูตน

ปกติผมมักเล่าเรื่องภาพยนตร์ให้นิสิตฟัง
หลายคนเคยดูภาพยนตร์ก็จะเข้าใจ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 62 ที่ผมเก็บไว้บอกเล่า

ทฤษฎีรักนิรันดร (the theory of everything) – “สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวอังกฤษ มีความเชื่อว่าจักรวาลมีวิวัฒนาการตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอนชุดหนึ่ง โดยกฎเกณฑ์ที่สมบูรณ์ชุดนี้สามารถให้คำตอบกับเราได้ในคำถามที่ว่า จักรวาลถือกำเนิดขึ้นอย่างไร กำลังจะไปในทิศทางไหน และจะมีจุดจบหรือไม่

The theory of everything

https://entertainment.trueid.net/synopsis/MGvAZbDmJppB

นอกจากนี้ ในผลงานร่วมกับนักคณิตศาสตร์ เซอร์ โรเจอร์ เพนโรส เขาแสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General relativity) ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บ่งชี้ว่า กาล-อวกาศมีจุดกำเนิดจาก “การระเบิดครั้งใหญ่” หรือ บิกแบง (Big Bang) และมีจุดจบในหลุมดำ (Black hole) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เป็นการดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของ สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียง และได้เสียชีวิตไปในวัย 76 ปี เมื่อปี พ.ศ.2561 ในวัย 22 ปี เขาถูกวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม จากในภาพยนตร์ เป็นการเล่าเรื่องชีวิตรักของเขาและภรรยา และอาการหนึ่งที่ปรากฎจากโรค คือ การล้ม ซึ่งเกิดจากการสั่งให้ขาก้าวไป แต่ขาไม่ได้ก้าวออกไปอย่างที่สั่งการ แล้วอาการก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในที่สุด มีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องสะท้อนชีวิตของผู้ป่วย การเจ็บป่วยทางร่างกาย ทำให้ได้เห็นถึงปัญหาสุขภาพ ความไม่แน่นอนของชีวิต และความแน่นอนว่ามนุษย์เราต้องเจ็บป่วย และตายในสักวันหนึ่ง”

https://www.thaiall.com/handbill/getapart.php?k=top-62

ศูนย์ไลก์ Zero like กับ ล้านไลก์ Million likes

โดยปกติ เรามักสนใจผู้คนรอบตัวเรา เพราะเราเป็นสัตว์สังคม และมักใช้เครือข่ายสังคม เพื่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จัก มีอยู่วันหนึ่งเข้าไป ส่อง ดูเฟซบุ๊กของคนที่ไม่ใช่เพื่อน เพราะสถานะบนเฟซบุ๊กบอกว่าเรายังไม่ใช่เพื่อนกัน พบว่า มีหลายโพสต์ของเพื่อนคนที่ไม่ใช่เพื่อน มียอด like เป็น 0 และมีจำนวนโพสต์แบบ zero like นี้มากกว่าโพสต์ของผมอย่างชัดเจน เพื่อนคนนี้เป็นคนแรก ที่พบสถิติ zero like สูงขนาดนี้ รู้สึกว่าตัวเลขเราจะใกล้เคียงกัน คือ เข้าใกล้ 0 แต่ของผมจะยอด like สูงกว่าหน่อย

แต่สำหรับผมแล้ว การมีโพสต์ที่มี zero like ถือว่าเป็นปกติ โดยเฉพาะในแฟนเพจ รวมเพื่อนไทยออล หรือ สวนนายบู เพราะผมไม่ตั้งใจโพสต์เพื่อให้ได้ like จากกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับเพื่อนที่ผมเข้าไปพบโพสต์เหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดของคนที่มี zero like คือ
1) ไม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเฟส
2) เรื่องที่แชร์ไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนเฟส
3) มีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ของตนเอง

อยากถามว่า ท่านเคยพบคนที่มีพฤติกรรม 3 ลักษณะนี้หรือไม่

https://www.thaiall.com/socialmedia/

ในสื่อสังคม ยอดติดตาม ยอดเข้าถึงโพสต์ ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ ยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงจำนวนสมาชิกที่เกี่ยวข้องในมุมมองที่หลากหลาย จากภาพในโพสต์ของ Wiriyah Eduzones เมื่อ 12 ก.พ.2566 พบว่า เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ในระดับหลักล้าน เท่ากับมีข้อมูลเข้าจำนวนมาก เมื่อท่านได้ สรุปเอาความคิดและข้อมูล นั่นหมายถึง เสียงของประชาชนกลุ่มนี้ ว่าสรุปไปในทิศทางใด ที่จะเสนอต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา

ผมชอบติดตามเรื่องราวในเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชอบอ่านความคิดเห็นของคุณครู แล้วเก็บเรื่องราวไปเล่าให้นิสิต คุณครู เพื่อนได้รับทราบ เพราะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ บางเรื่องสื่อส่วนกลางก็นำไปแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง เช่น “จรรยาบรรณวิชาชีพครู กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ” เมื่อหันไปมองเทียบกับโพสต์ศูนย์ไลก์ ที่อยู่บนเพจของผม หรือในโปรไฟร์ของผม ก็ทำให้คิดถึง Input, Process, Output, Outcome หรือ Feedback ที่มีต่อเป้าหมายของแต่ละโพสต์ รวมถึง SEO, Promotion และ Ranking ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดไปอย่างไร

Wiriyah Eduzones

ทานข้าวกับเพื่อนที่อุดรนัว

ทานข้าวตอน กับ #เพื่อน2565
ถือเป็นเรื่องปกติของเพื่อนที่ทำงาน
ที่มักออกไปหาของอร่อยยามเที่ยงวัน
แต่ปี 2565 เป็นปีที่ไม่เหมือนเดิม
ในกลุ่มนี้นับได้ 8 คน เมื่อรวมช่างภาพ
นี่เป็นภาพแห่งความทรงจำอีกภาพหนึ่ง
เป็นภาพสุดท้ายที่ถ่ายได้ในวันนี้
เรานัดกันมา
พบกันที่ร้านอุดรนัว แม่ค้ายังคนเดิม
ย้ายจากติดถนน มาอยู่เกือบสุดซอย
ทำเลมีความพร้อมหลายด้าน
คนเข้าร้านต่อเนื่อง
ดูแล้ว น่าจะเป็นลูกค้าประจำ
มีต้นลั่นทมสองต้นอยู่ในร้านคอยให้ร่มเงา
มีหัวข้อพูดคุยระหว่างมื้อที่หลากหลาย
ก็จะเน้นเรื่องอาหารการกิน
ว่าคนไหนชอบแบบไหน
แซบมากน้อยต่างกัน
ใครกินอะไรได้ อะไรไม่ได้
จานไหนอร่อย จานไหนเผ็ด
ในกลุ่มของเรา
พูดถึงไข่ขาวที่ต้มเก็บไว้เป็นแผง
กินแล้วดีต่อสุขภาพแบบขั้นสุด
ฟังแล้วอยากวาร์ปไปต้มไข่กินตอนนั้นเลย
เพราะผมซื้อไข่ขาวสกัดให้ผู้ใหญ่บ่อย ๆ

เราคุยเรื่องงาน เรื่องสอน เรื่องเด็ก เรื่องไหว้ครู
โผล่มาเป็นหัวข้อสนทนาบ้าง
เหมือนประชุมคณะนอกสถานที่
ก็จะประมาณนั้น ผมก็นั่งฟังเพลิน ๆ
สรุปว่า ขากลับ แวะซื้อกล้วย มัน กรอย
แล้วต่อด้วยชากาแฟ ทำให้สดชื่นขึ้น
ถ้ามีโอกาสคงกลับมาทานข้าวกันอีกนะ

นัดกันทานเที่ยงที่ร้านอุดรนัว

ด้วยรักและผูกพันธ์

ทำงานกับเพื่อนมาก็หลายปี
อยู่สำนักวิชาการไม่กี่ปี
แต่เหมือนอยู่มาได้ 35 ปี
ส่วนคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
ก็เหมือนเรียนจบคณะนี้
ทำงานเป็นคุณครูคณะนี้
หัวหน้าก็มีมาหลายคนแล้ว
วันนี้ ดร.อัศนีย์ ณ น่าน ผอ.สำนักวิชาการ
เลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ขอบคุณสำหรับอาหารแซบ ๆ
ที่ #อุดรนัว 15 ธ.ค.2565

ที่ #อุดรนัว 15 ธ.ค.2565

เพื่อน2565 – ก่อนวันแม่หนึ่งวัน

เพื่อน2565 – ก่อนวันแม่หนึ่งวัน

ชีวิตคนเราก็ต้องมีเพื่อนบ้างหละครับ
เพื่อนทำงาน เพื่อนเรียน เพื่อนบ้าน
เพื่อนรุ่นพี่ เพื่อนรุ่นน้อง เพื่อนร่วมรุ่น
เพื่อนเก่า เพื่อนกัน ว่าที่เพื่อน
เพื่อนที่เราพึง ที่พึงเรา ที่พึ่งกันและกัน
มีพบ มีจาก มีสุข มีทุกข์ร่วมกัน
ตอนคุณแม่ของผมท่านจากไป
ก็จะเหงา ๆ เศร้า ๆ คิดอะไรไม่ออก
จำได้ว่า
มีเพื่อนของท่าน ที่เคยไปมาหาสู่กัน
มาร่วมส่งท่านจากทั่วสารทิศ
ท่านอยู่ในหลายสังคม
เป็นที่รักของเพื่อน ๆ
ยังนึกขอบคุณน้ำใจของทุกท่านอยู่เสมอ
ที่มาส่งคุณแม่ เมื่อต้นปี 2564
ชีวิตของคนเรา
แต่ละคนก็จะมีวิถีชีวิตที่ต่างกัน
ไม่มีใครมีเส้นทางชีวิตเหมือนกัน
อาจเดินมาบรรจบ เดินร่วมกัน เดินแยกกัน
สรุปว่า คิดถึงเพื่อน และผู้มีพระคุณทุกท่าน
ก็เพียงอยากบันทึกวันสำคัญอีกหนึ่งวัน
ก่อน #วันแม่ 1 วัน – #11สิงหาคม2565

วิ่งขึ้นดอยเนินสปิริต

ในช่วงนี้ เป็นช่วงจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม
รับขวัญ รับน้องใหม่ของทุกคณะวิชา ที่ #มหาวิทยาลัยเนชั่น
พบว่า อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ คณะนิเทศศาสตร์
ทำคลิปสรุปกิจกรรมทั้ง 5 วัน
ที่นำเสนอได้อย่างน่าตื่นตา
พบว่า มีเพื่อน ๆ นำคลิปไปแชร์ต่อหลายท่าน
มียอดไลค์ ยอดแชร์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เป็นคลิปที่ยอดเยี่ยม ภาพชัด และใช้โดรน
มีคลิปของวันที่ 3 สิงหาคม 2565
ที่นิสิตจับมือกันวิ่งขึ้นดอย ได้ดูเพียงรอบเดียว
รู้สึกชอบ และเลือกใช้คลิปนี้เลย
จึงตัดสินใจนำคลิปนั้นมาเล่าต่อ ว่า มีความน่าสนใจเพียงใด
ประกอบกับการเตรียมบทเรียนการทำคลิป
ด้วยโปรแกรม Powerpoint
ซึ่งการบันทึกคลิปด้วยโปรแกรมนี้
เราสามารถแทรกคลิปตัวผู้บรรยายในระหว่างบรรยาย
ที่มุมล่างขวาของคลิปวิดีโอก็ได้
ซึ่งถือว่าเป็นอีกทางเลือกในการทำคลิปวิดีโอ
นอกเหนือจาก kinemaster, inshot, capcut, canva, viva
ที่อยากจะแนะนำนิสิตว่า
เราทำคลิปด้วยเครื่องมือนี้ก็ได้ เป็นโปรแกรมที่ใครก็รู้จัก
ขั้นตอนนั้น เริ่มจาก
ดาวน์โหลดคลิปที่มีการแชร์ในเฟสบุ๊ค
เลือกความละเอียดที่ไม่ต่ำเกินไป และได้แฟ้ม .mp4
ประกอบกับ เครื่องที่ทำงานมี RAM ที่มากพอจะรับมือได้
โปรแกรมเป็น Office 2019 และ Win 10
นำคลิปที่ได้ไป Insert บน Slide ใน Powerpoint
ซึ่งงานนี้มีเพียง slide เดียว และมีเพียงคลิปอยู่บนสไลด์
จากนั้นบันทึก Slide show ทันที
โดยไม่ได้เตรียมข้อมูลการเล่าเรื่องไว้ก่อน
และตั้งใจบันทึกแบบม้วนเดียวจบ
จึงไม่ได้ Pause ทีละ Scene เพื่อพูดถึงรายละเอียดในภาพ
ทำให้รู้สึกว่าช่วงบันทึก เร่งตนเองระหว่างเล่าเกินไป
ถ้ามีโอกาสทำคลิปแบบนี้อีก จะต้องหยุดในซีนที่น่าสนใจ
แล้วเล่าออกไปอย่างใจเย็น
เพื่อให้การนำเสนอรายละเอียดมีความครบถ้วนยิ่งขึ้น