ทฤษฎีรักนิรันดร – ดูภาพยนตร์แล้วย้อนดูตน

ปกติผมมักเล่าเรื่องภาพยนตร์ให้นิสิตฟัง
หลายคนเคยดูภาพยนตร์ก็จะเข้าใจ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 62 ที่ผมเก็บไว้บอกเล่า

ทฤษฎีรักนิรันดร (the theory of everything) – “สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวอังกฤษ มีความเชื่อว่าจักรวาลมีวิวัฒนาการตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอนชุดหนึ่ง โดยกฎเกณฑ์ที่สมบูรณ์ชุดนี้สามารถให้คำตอบกับเราได้ในคำถามที่ว่า จักรวาลถือกำเนิดขึ้นอย่างไร กำลังจะไปในทิศทางไหน และจะมีจุดจบหรือไม่

The theory of everything

https://entertainment.trueid.net/synopsis/MGvAZbDmJppB

นอกจากนี้ ในผลงานร่วมกับนักคณิตศาสตร์ เซอร์ โรเจอร์ เพนโรส เขาแสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General relativity) ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บ่งชี้ว่า กาล-อวกาศมีจุดกำเนิดจาก “การระเบิดครั้งใหญ่” หรือ บิกแบง (Big Bang) และมีจุดจบในหลุมดำ (Black hole) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เป็นการดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของ สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียง และได้เสียชีวิตไปในวัย 76 ปี เมื่อปี พ.ศ.2561 ในวัย 22 ปี เขาถูกวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม จากในภาพยนตร์ เป็นการเล่าเรื่องชีวิตรักของเขาและภรรยา และอาการหนึ่งที่ปรากฎจากโรค คือ การล้ม ซึ่งเกิดจากการสั่งให้ขาก้าวไป แต่ขาไม่ได้ก้าวออกไปอย่างที่สั่งการ แล้วอาการก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในที่สุด มีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องสะท้อนชีวิตของผู้ป่วย การเจ็บป่วยทางร่างกาย ทำให้ได้เห็นถึงปัญหาสุขภาพ ความไม่แน่นอนของชีวิต และความแน่นอนว่ามนุษย์เราต้องเจ็บป่วย และตายในสักวันหนึ่ง”

https://www.thaiall.com/handbill/getapart.php?k=top-62

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์

วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ หรือจิตทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มีทฤษฎีหลักอยู่ 3 ทฤษฎีที่น่าสนใจ คือ 1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism Theory) เป็นแนวความคิดของสกินเนอร์ (Burrhus Frederick Skinner หรือ B.F. Skinner) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก การตอบสนองสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงออก ซึ่งมีการเสริมแรงเป็นตัวการ โดยทฤษฎีนี้ จะไม่พูดถึงความคิดภายในของมนุษย์ ความทรงจำ ความรู้สึก  2) ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism Theory) เป็นแนวความคิดของชอมสกี้ (Noam Chomsky) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์มิใช้ผ้าขาวเมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจ และมีความรู้สึกภายในที่แตกต่างออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  3) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) เป็นแนวความคิดของ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (David Everett Rumelhart and Andrew Ortony)(1977) เชื่อว่า โครงสร้างภายในของความรู้ที่มนุษย์มีอยู่นั้น มีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มเชื่อมโยงกันอยู่ในมนุษย์ เมื่อเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่เพิ่งได้รับ นั้นจะไปเชื่อมโยงกับกลุ่มที่มีอยู่เดิม