บิลลี่บนเรื่องนักการเมือง กับละคร

billy ogan
billy ogan

ไปอ่านใน manager.co.th พบหัวข้อ “บิลลี่ จวกยกชุด ซัดนักการเมืองห่วย ส่วนละครก็เสนอแต่เรื่องต่ำทราม” แล้วก็ post ภาพที่คุณ Billy Ogan เขียนใน facebook มาวางให้ดูว่า อดีตนักร้องท่านนี้แสดงความเห็นว่าอย่างไร ผมว่าอ่านแล้วก็คุ้น ๆ นะครับ ไม่ได้ใหม่เลย คนออกมาบ่นกันได้ทุกวี่ทุกวัน ทำให้รู้สึกว่าคุณบิลลี่ก็เป็นเพียงอีกคนที่ยังมีความหวังกับมนุษย์ ว่าควรเป็นอย่างนู้น ควรเป็นอย่างนี้ มนุษย์เราร้อยพ่อพันแม่ ไม่ทุกคนหรอกครับที่ทำถูกใจเรา แล้วเราก็คงทำให้ถูกใจทุกคนไม่ได้ มีประโยคหนึ่งที่ผมชอบคือ “ทุกคนต่างไม่ผิด แต่ความคิดเราต่างกัน” .. สรุปว่าก็ดีที่เห็นความหวังในข้อเขียนของมนุษย์อีกคนหนึ่ง

http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9550000128446

การเขียน blog ของเด็ก ๆ ใน fb page

blog note
blog note

18 ต.ค.55 วันนี้ให้เด็ก ๆ เขียน blog  ซึ่งใช้บริการของ facebook page พบว่าง่ายกว่าบริการแนวเดียวกันคือ wordpress.com หรือ gotoknow.org หรือ blogger.com เพราะเป็นอะไรที่เด็ก ๆ คุ้นเคย แค่คลิ๊กคำว่า note (เป็นบริการใน fb page ซึ่งเพิ่มเด็ก ๆ เขาไปเป็น admin แล้ว และทำ favorite แต่ละคนกับ page นี้ จะได้เข้าง่าย ๆ ) แล้วก็ไหลไปตามขั้นตอน เท่านี้ก็บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้แล้ว ที่ย้ำ คือ ให้เลือกบันทึกร่าง ก่อนเผยแพร่เท่านั้นเอง  ใน blog แรกของแต่ละคนให้เขียน 1) งานบ้านของพวกเราช่วงปิดเทอม 2) ปิดเทอม 1 ม1ของมาหยา 3) วิชาเพิ่มเติมของน้องพีพีตอน ม.1 เทอม 2 หลังจากเขียนบล็อกเสร็จก็เป็นหน้าที่ของระบบในการเชื่อมเข้า twitter.com ของ @nationretweet แล้วเชื่อมไปยัง webpage ของ thainame.net ซึ่งพบลิงค์ที่เชื่อมไปยังบันทึกได้ทันที สำหรับเว็บไซต์นี้ได้เปิดเป็นระบบให้เด็ก ๆ สร้างข้อสอบกันเองผ่านแฟ้มประเภท csv ตอนนี้ก็ได้คนละเกือบ 2 ร้อยข้อกันแล้ว ทำกันว่าง ๆ ช่วงปิดเทอม 1 แล้วให้ฝึกทำกันเองโดยกำชับว่าต้องได้คะแนนเต็มนะ เพราะออกโจทย์กันเองก็ต้องเต็มสิ จากนี้ก็คงให้เขียน blog กันต่อเนื่องต่อไป

ติดตาม blog เด็ก ๆ ได้ที่ http://www.facebook.com/ajarnburin/notes

เหตุผลที่อาจเลิกเข้าเฟซกรุ๊ป

old version of yammer.com
old version of yammer.com

2 มิ.ย.55 หากมีคำถามว่า ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เวลานาน และมีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด อยู่ในเว็บไซต์ใด ก็คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมของเฟซบุ๊ค (Facebook.com) และพฤติกรรมของผู้ใช้ส่วนหนึ่ง ก็มิได้เกาะติดกับหน้าโปรไฟร์ (Profile) แต่เป็นขาประจำของกรุ๊ป (Group) หรือกลุ่มเฉพาะ อาทิ เพื่อนร่วมชั้น เพื่อนร่วมหอพัก เพื่อนร่วมองค์กร เพื่อนร่วมธุรกิจ เพื่อนร่วมชมรม เพราะมีเป้าหมาย และสนใจเรื่องเดียวกัน ซึ่งเฟซบุ๊คสามารถตอบความต้องการของกลุ่มได้อย่างลงตัว หากรวมคำว่าเฟซบุ๊ก กับคำว่ากลุ่มเพื่อน ก็อาจเรียกอีกชื่อว่า เฟซกรุ๊ป (Facegroup = Group in Facebook.com) ซึ่งผู้เขียนพบเพื่อนหลายท่านมิได้สนใจการแบ่งปันในหน้าโปรไฟร์ จะมีกิจกรรมเฉพาะในกลุ่ม เพราะคนคุ้นเคย หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียล้วนอยู่แต่ในกลุ่ม

จากการใช้บริการ yammer.com แล้วมีผู้ใหญ่ใจดีแนะนำว่าน่าจะย้ายจาก เฟซกรุ๊ป ไปอยู่ใน yammer แทนด้วยเหตุผล 5 ข้อ คือ 1) มีบริการสนับสนุนการสื่อสารที่ดีกว่า อาทิ การตอบผู้เขียนบันทึก หรือตอบผู้ที่ตอบบันทึกเฉพาะคนได้ 2) สร้างกลุ่มเฉพาะในองค์กรที่มีความเป็นส่วนตัว และข้อมูลปลอดภัยกว่า 3) ควบคุมการเข้าออกของสมาชิกได้ดีกว่า 4) สนับสนุนให้บุคลากรทั้งองค์กรใช้ระบบอีเมลเดียวกัน ทำให้การสื่อสารมีความเป็นมาตรฐาน 5) รองรับห้องเก็บแฟ้มข้อมูลของกลุ่ม และมีระบบรุ่นของเอกสารที่เข้าถึงได้ทุกรุ่น

ปัจจุบันพฤติกรรมการเข้าถึงเครือข่ายสังคมของผู้ใช้ในบางองค์กรเริ่มเปลี่ยนจากการเข้าไปพบเพื่อนร่วมงานในเฟซกรุ๊ปก็หันไปพบเพื่อนร่วมงานใน yammer เพราะส่วนใหญ่ไปใช้ชีวิตกันใน yammer หมด สาเหตุมาจากสามารถคุยเรื่องงานได้เต็มที่ ไม่มีคนนอกองค์กรเข้ากลุ่ม รองรับการเขียน Page หรือ Poll เพื่อนำเสนอเนื้อหาแบบไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลด มีบริการ Subscribe ส่งรายละเอียดแจ้งไปกับอีเมลได้ มี Apps เพิ่มเติมให้ใช้งาน และการใช้งานเหมือนกับเฟซบุ๊กก่อนเปลี่ยนเป็น timeline ทำให้ไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ แล้วเรามาดูอนาคตของเฟซบุ๊คกันต่อไป ว่า yammer จะมาแทนเฟซบุ๊คได้หรือไม่ และเป็นอย่างไรต่อไป

http://blog.duoconsulting.com/tag/yammer/

ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน

เพื่อนท่านหนึ่งพูดให้ฟังว่า “ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน” เมื่อจับความได้ ก็นำมาพิจารณาก็พบว่า ปัจจุบันผู้คนจำนวนไม่น้อยใช้งานเฟซบุ๊ค เมื่อใช้มาก ๆ เข้าก็หลงใหลถึงขั้นติดงอมแงม (คุณโน๊ต : fb เพื่อ บ่น ปฏิญาณตน อวด แอ็บแตก ทำคำคม) เหมือนที่ คุณโน๊ตอุดม พูดไว้ใน เดี่ยว 8 เรื่อง Hi5 ว่า “ถ้าบริษัทมึงเจ้งกูก็ไม่แปลกใจ” นั่นหละครับ

ความสามารถของ fb ที่เด่นและเห็นได้ชัดมี 3 บริการ
1. profile มีไว้คุยกับคนที่ยอมรับเราเป็นเพื่อน
2. page มีไว้นำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบบล็อก หรือตอบข้อซักถาม
3. group มีไว้พูดคุยเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน

สรุปประเด็น
1. profile มีประโยชน์ต่อการทำงานที่หวังเป้าหมายในระดับบุคคลถือว่าต่ำสุด แม้จะใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ก็ต้องเป็นเพื่อนเท่านั้น ถ้าเพื่อนในองค์กรไม่รับท่านเป็นเพื่อน ก็คงสื่อสารด้วยเฟซบุ๊คกันไม่ได้
2. page มักถูกใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กรในแบบบล็อกเป็นสำคัญ แต่เปรียบเทียบกับ website ไม่ได้ เพราะเว็บไซต์สามารถนำเสนอเนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพคลิ๊ป ในรูปมัลติมีเดีย และอินเทอร์แอ็คทีฟได้สมบูรณ์ สามารถควบคุม header และ footer ที่ไม่มีโฆษณาของ facebook มากวนใจ มีระบบบล็อก และเว็บบอร์ดที่ควบคุมได้ และสามารถจัดการ seo ได้อย่างสมบูรณ์
3. group มีประโยชน์ในการทำงานสูงสุด แต่มีข้อแม้เพียงข้อเดียว คือไม่เข้ามาใช้ประโยชน์ กลับเลือกใช้บริการที่ไม่ก่อประโยชน์ในการทำงานเหมือนที่คุณโน๊ตว่าไว้

ผมเชื่อว่า มีองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ facebook for working ซึ่งองค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ บุคลากรต้องไม่เป็นแบบที่โน๊ตว่าไว้ และการใช้งานต้องมีการควบคุม เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการใช้งานที่วัดได้


หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ
หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151022111276768&set=a.493024076767.276129.370539266767

เฟซบุ๊คอาจล้มบางชั่วขณะได้

facebook down
facebook down

10 ก.พ.55 เว็บไซต์ต่าง ๆ ก็มีโอกาสล้มในบางชั่วขณะ อย่างเช่น facebook.com ที่มีสมาชิกกว่า 600 ล้านคน มีคนไทยกว่า 7 ล้านคน การที่เครื่องบริการตอบสนอง 24 ชั่วโมงนั้นต้องอดทนมาก .. ในบางขณะเครื่องบริการอาจมีปัญหาและไม่ต้องสนองกับการร้องขอจากผู้ใช้ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ .. อย่างเช่นเวลานี้ผมอยู่ที่บ้านใช้ adsl of tot ซึ่งบริการ plug-in บนเว็บไซต์ไม่พบปัญหา หน้าแรกก็ตอบสนองปกติ แต่ login ไม่ผ่าน (ทดสอบต่อเนื่องมา 2 ชั่วโมงแล้ว) .. มีข้อความจาก firefox ว่า เครื่องบริการตอบรับช้าเกินไป
สิ่งที่ทำได้คือ รอคอย
http://downrightnow.com/facebook
http://wiki.answers.com/Q/Is_the_Facebook_server_down_at_the_moment

http://archive.voicetv.co.th/content/8719

ข่าวจาก voicetv เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2553
เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา ผู้ใช้บริการ Facebook จากหลายๆ ประเทศบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่สามารถ log in เข้าไปใน facebook ได้ หรือเข้าไปได้แล้วก็ช้ามาก และหลายๆ บริการบน Facebook ก็ใช้การไม่ได้ ซึ่งสำนักข่าวเอพี ได้รายงานว่า มีการรายงานปัญหาดังกล่าวจากผู้ใช้บริการในหลายเมือง ทั้งจากลอนดอน เม็กซิโกซิตี้ หรือแม้แต่กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลายคนแจ้งปัญหาดังกล่าวผ่านบริการ Twitter

แม็ต ฮิคส์ โฆษกของ Facebook ออกมาแถลงยอมรับว่ามีเซิร์ฟเวอร์ของ Facebook มีปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้สมาชิก ไม่สามารถ log in เข้าไปได้ หรืออาจจะเข้าไปดู Profile ของเพื่อนไม่ได้ชั่วขณะ ซึ่งรายงานล่าสุดจากทาง Facebook ว่าทุกอย่างได้รับการแก้ไขแล้วเมื่อเวลา 6.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ปัจจุบัน Facebook มีผู้ใช้บริการกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และพยายามอย่างเต็มที่ไม่ให้เกิดปัญหาเซิร์ฟเวอร์ล่ม ซึ่งที่ผ่านมา Facebook ยังไม่เคยล่มทั้งระบบ แตกต่างจาก Twitter ที่เคยถูกแฮ็คเกอร์โจมตีเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ทำให้ล่มทั้งระบบมาแล้ว

เล่นเฟซบุ๊คนาน อาจทำให้ผิดปกติทางจิต

สมาคมจิตวิทยาอเมริกา (American Psychological Assasociation) ได้นำเสนองานวิจัยโดยสำรวจพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการเข้าไปดูกิจกรรมต่าง ๆ บนเว็บไซต์ facebook  พบว่า วัยรุ่นเล่น facebook มีทั้งข้อดีและข้อเสีย   แต่ถ้าหากปล่อย เล่น facebook มากเกินไปอาจส่งผลกระทบทางจิตใจหลายอย่างดังนี้
– เกิดอาการติด  หลงตัวเอง มีอารมณ์ก้าวร้าว
– ไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดเรียนเพิ่มขึ้น ผลการเรียนแย่ลง
– วิตกกังวล ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า
– เสพติดอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน เช่น ติดแชต ติดเกม เป็นต้น
– ทำให้มีปัญหานอนดึกมากขึ้น พักผ่อนไม่เพียงพอ

แต่จากงานวิจัยนี้ก็ยังมีข้อดีเกี่ยวกับการใช้ facebook ด้วย คือการดูแลเอาใจใส่เพื่อน เห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แม้ว่าเราจะอยู่ในที่ต่างกันไกลแค่ไหน ก็ยังสามารถติดต่อกันได้และเป็นการเรียนรู้การเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการรวมกลุ่มทำกิจกรรมดีๆของชาว facebook บนโลกความเป็นจริงที่ รวบรวมสมาชิกทำเพื่อสังคมเป็นจำนวนมากได้ ซึ่งมีจำนวนกลุ่มมากมาย

ผู้ใหญ่ควรดูแลแนะนำเรื่องเนื้อหาที่เหมาะสมบนโลกอินเทอร์เน็ต ให้กับลูกๆ ให้รู้เนื้อหาไหนดีไม่ดี ควรและไม่ควรทำและต้องเรียนรู้ปรับเข้าหากิจกรรมทางสังคมออนไลน์กับลูกๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและชี้นำคอยตัดเตือนลูกๆด้วยไม่ให้ลูกหลงผิดจากโลกออ นไลน์ ส่วนเด็กๆวัยรุ่น ก็ควรแบ่งเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต สลับกับพบกับเพื่อนบนโลกแห่งความเป็นจริง รวมทั้งแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสือการทบทวนเนื้อหาตำราด้วย ทั้งในหนังสือและเนื้อหาบนโลกอินเทอร์เน็ต วิธีนี้จะช่วยให้ผลการศึกษาที่ดีต่อลูกได้ด้วย

http://www.it24hrs.com/2011/facebook-teens-study/
http://mashable.com/2011/08/08/facebook-teens-study/

ประโยคเด็ดในเดี่ยว 8 ของโน๊ต อุดม

ชอบประโยคนั้น .. ไม่บอกว่าประโยคไหน
เพราะคนเราเชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ แต่ดันไม่เชื่อความจริง
ดังนั้น พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
http://www.youtube.com/watch?v=d9RFO6ZVSAI

สมัครเฟซบุ๊ควันละหลายหมื่น แล้วหนังสือดาราอ้าล้นแผง

meditation of time magazine
meditation of time magazine

13 ม.ค.55 สำลักสื่อคนไทยติดเฟซบุ๊ควันละ 2.3 หมื่น

รายงานโดย ผกามาศ ใจฉลาด

ครึ่งชีวิตยามตื่นของเด็กผูกติดอยู่กับสื่อ และมีนักวิชาการฟันธง “ไม่มีวันปราบสื่อร้าย” ได้ ที่สถาบันรามจิตติ เมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดเสวนาในโครงการ “เด็กไทยในมิติวัฒนธรรม 2” โดยการสนับสนุนของสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ “สื่อและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของเด็กไทย” ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ ได้เสนอนำภาพรวมเกี่ยวกับสภาวการณ์ “สื่อและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของเด็กไทย” โดยสรุปว่า ปัจจุบันเด็กไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “สื่อครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของเด็ก” คือ 1 ใน 3 ของชีวิตใช้เวลาหมดไปกับสื่อทุกรูปแบบ

เห็นได้จากสถานการณ์สื่อสิ่งพิมพ์ได้รับความนิยมลดลง แต่หนังสือดารา “อ้า” ล้นแผง แฝงโลกีย์กลับขายดี ผลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในช่วงปี 2551 เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่อ่านหนังสือซึ่งไม่ใช่ตำราเรียนมีเพียงร้อยละ 36 ของเด็กทั้งหมด ส่วนผู้อ่านหนังสือที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป พบว่า ใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเหนือจากตำราเรียนและงานเฉลี่ยเพียง 39 นาทีต่อวัน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ จึงมีแนวโน้มของการสื่อสารที่ขาดสติและเหตุผลได้ง่าย

ส่วนสื่อโทรทัศน์และวิทยุยังได้รับความนิยม (เด็กและเยาวชนแชมป์รายการบันเทิง) พร้อมๆ กับเปิดรับสื่อใหม่ (New Media) ในยุคเว็บขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลจากการสำรวจในช่วงปี 2552 พบว่า เด็กวัยมัธยมศึกษา-อุดมศึกษา มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวใช้ถึงประมาณร้อยละ 45 และมีโทรศัพท์มือถือใช้ถึงร้อยละ 85 ใช้เวลาคุยโทรศัพท์ถึงวันละประมาณ 92 นาที เล่นอินเทอร์เน็ตประมาณ 134 นาที หากรวมสื่อโทรทัศน์ที่เด็กไทยให้เวลาอีกเกือบ 3 ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับว่าเด็กไทยใช้เวลากับสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ ไปถึง 6-7 ชั่วโมงต่อวัน

ทุกวันนี้มีคนใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์มากขึ้นทุกวัน และมีการใช้โซเชียลมีเดีย สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเองหรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Network Website) ที่ให้บริการบนออนไลน์ ดังนั้นปรากฏการณ์เด็กยุคใหม่กับสื่อและเทคโนโลยีเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลของโครงการไชลด์วอทช์ (Child Watch) พบแนวโน้มที่ชัดเจนของการที่สื่อต่างๆ เข้ามาครอบครองพื้นที่ในชีวิตเด็กไทยมากขึ้น

เด็กและเยาวชนในปัจจุบันได้รับเอาสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ ขณะที่เว็บไซต์เฟซบุ๊กมาแรงที่สุด สถิติของคนใช้ทั่วโลกพบว่า ไทยมีคนใช้งานมากเป็นอันดับที่ 21 ปี 2551 มีคนไทยใช้เฟซบุ๊ก 1.6 แสนราย ปี 2552 มีคนไทยใช้เฟซบุ๊ก 1.9 ล้านราย ในปี 2553 มีคนไทยใช้เฟซบุ๊ก 6.7 ล้านราย มีสถิติคนสมัครใช้บริการประมาณ 2.3 หมื่นต่อวัน ช่วงอายุของผู้ใช้งานสูงสุดคือ 18-24 ปี (ร้อยละ 36.3) รองลงมาคือ 25-34ปี (ร้อยละ 31.7)

สัญญาณอันตรายชีวิตยุคไฮสปีดเช่นนี้ สุ่มเสี่ยงในการเล่นพนันออนไลน์เป็นธุรกิจที่มีความเติบโตอย่างรวดเร็วมากทั่วโลก ในช่วงปี 2549 มีเว็บไซต์เกิดขึ้น 2,300-2,500 เว็บไซต์ และพบอัตราการเติบโตร้อยละ 20 ต่อปี รายได้ของธุรกิจทั่วโลกมีการประมาณไว้อยู่ระหว่างกว่า 31,750 ล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 15.8 ล้านล้านบาท ในปี 2558 เด็กติดเกม มั่วสุมร้านเกม ปี 2550-2551 เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 9-15 ปี จำนวน 2,452 คน ใน 5 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ ราชบุรี สุรินทร์ และสุราษฎร์ธานี พบว่าร้อยละ 13.3 เป็นกลุ่มที่กำลังติดเกมมีอายุเฉลี่ย 11 ปี และมีภาวะติดเกมมากขึ้น โดยเกมที่นิยมเล่นมากที่สุดคือ เกมบู๊ล้างผลาญ เกมเกี่ยวกับเพศ (Dojin) นุ่งน้อยห่มน้อย โดยเฉพาะเกม SF หรือ Special force ยังเป็นที่นิยม

ยังไม่รวมผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ค่านิยมและพฤติกรรมทางเพศ การเรียนรู้ทางเพศแบบผิดๆ ผ่านคลิปโป๊ ปัญหาเพศสัมพันธ์เสรี แม่วัยรุ่น ทำแท้งเถื่อน ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัจจุบันเด็กมัธยมระบุว่า ในชั้นเรียนของตนเฉลี่ยมีกลุ่มรักเพศเดียวกันประมาณ 3 คน และตัวเลขนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระดับอาชีวะและอุดมศึกษา เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบดารา ค่านิยมสวยไม่ผ่าน อย. “อกฟู รูฟิต, ขาวอมชมพู, ผอมเพรียวภายใน 1 สัปดาห์ สวยใสสไตล์ เกาหลี”

อย่างไรก็ตาม การที่เด็กชอบใช้ชีวิตแบบสังคมออนไลน์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก มีทั้งผลดีอยู่บ้าง เช่น การเกิดเครือข่ายจิตอาสาของเยาวชน ดังนั้นภาพรวมความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศต่างมีนโยบายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ “สื่อสร้างสรรค์” ที่หลากหลาย รวมถึงมาตรการจัดระเบียบและควบคุมสื่อบางประเภท นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนให้มีโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียในมิติดีๆ อาทิ Cyber Parents โครงการรักไอที รักษ์โลก (IT Green Project) เครือข่ายพลเมืองจิตอาสา อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย

นานาทัศนะ

พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล “การแก้ไขเร่งด่วนคือ ระบบ rating รายการโทรทัศน์ ที่ยังขาดเรื่องการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากนี้ยังเสนอให้มียุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาและผลิตสื่อ เพื่อสร้างองค์ความรู้ของการใช้สื่อเพื่อสังคม ทั้งการลงทุนกับการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสื่อ สร้างฐานงานวิชาการด้านสื่อเพื่อเด็กที่เข้มแข็ง”

อิทธิพล ปรีดีประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล “การสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในการใช้สื่อ ICT เพื่อการพัฒนาเด็ก ที่สำคัญคือการใช้ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่ให้เด็กสร้างสื่อด้วยตนเอง เช่น การสร้างและใช้ประโยชน์อี-เลิร์นนิ่ง การเข้าพัฒนาสร้างซอฟต์แวร์ ส่งเสริมการเรียนรู้กันเอง การสร้างเครือข่ายจิตอาสาและขับเคลื่อนสังคมอย่างเครือข่ายนักข่าวเยาวชน เป็นต้น ตลอดจนการเข้ามาริเริ่มธุรกิจค้าขายสินค้าทำเองของเยาวชนจำนวนมากผ่านเว็บต่างๆ ทำให้เห็นมุมบวกของสื่อไอซีที ที่น่าสนับสนุนให้ขยายตัวไปถึงเยาวชนจำนวนมากขึ้น

ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า หากบังคับการใช้สื่อกับเด็กไม่ได้การแก้ไข คือ “การสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก มุ่งขยาย Good Practice แล้วหนุนการทำงานเป็นเครือข่าย” ปัจจุบันไม่ต้องรอพื้นที่รอคนให้โอกาส ทำสื่อเองหาพื้นที่เอง หาช่องทางการนำเสนอสื่อเอง สิ่งสำคัญของมุมมองด้านสื่อ คือ การให้ความสำคัญด้านกระบวนการศึกษาของดีที่ทำมาแล้ว และมองหาโอกาสใหม่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้เกิด “สื่อทางเลือกใหม่ๆ” ให้มากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ :
ข้อมูลจากสถาบันรามจิตติและสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
http://www.komchadluek.net/detail/20110727/104052/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94FB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B02.3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99.html

ปี 2012 ปีที่ Facebook อาจถล่ม Google

ก่อนนี้ชาวออนไลน์นิยมค้นหาเว็บไซต์แปลกใหม่บนกูเกิล (Google.com) แต่วันนี้หลายคนพบเว็บไซต์ใหม่ผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook) และทวิตเตอร์ (Twitter) ทิศทางทั้งหมดชัดเจนขึ้นมากในปี 2011 และกำลังมีแนวโน้มชัดเจนขึ้นอีกในปี 2012

สำนักข่าวพีซีเวิร์ลตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ทำให้มนต์ขลังของกูเกิลเริ่มเสื่อมลงคือการแชร์หรือแบ่งปันลิงก์ เว็บไซต์บนเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ หากลิงก์เว็บไซต์ใดถูกโพสต์บนเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ แล้วเกิดโดนใจผู้ใช้รายอื่น ลิงก์เว็บไซต์เหล่านั้นก็จะถูกส่งต่อไปไม่รู้จบ ผลจึงทำให้ผู้ใช้สามารถพบเว็บไซต์ใหม่น่าสนใจบนเครือข่ายสังคมได้มากกว่าการ ค้นหาบนกูเกิล

หากมองในแง่ของสถิติการใช้งาน บริษัทวิจัย Nielsen ระบุว่าเฟซบุ๊กคือเว็บไซต์เดียวที่มีจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกต่อเดือนไล่ตามกู เกิลได้มากที่สุด ปี 2011 เฟซบุ๊กนั้นมี 137 ล้านยูนีคไอพี เทียบกับกูเกิลซึ่งมี 153 ล้านไอพี แม้จะน้อยกว่า แต่เฟซบุ๊กกลับมีระยะเวลาผูกติดกับผู้มใช้ได้มากกว่า โดยการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ชาวออนไลน์เทเวลามากกว่า 16% ให้กับเฟซบุ๊ก ซึ่งถือว่ามากกว่าเวลาที่ผู้ใช้เทเวลาให้เว็บไซต์อดีตยักษ์ใหญ่อย่างยาฮู (Yahoo), กูเกิล (Google), เอโอแอล (AOL) และยูทูบรวมกัน
เท่านี้ก็เรียกว่า เฟซบุ๊กสามารถถล่มเว็บไซต์อื่นได้ราบเรียบแล้วไม่เฉพาะกูเกิล แถมนาทีนี้ เฟซบุ๊กหรือ Facebook ยังกลายเป็นเว็บไซต์ที่ถูกค้นหาหรือเสิร์ชมากที่สุดในโลก โดยปี 2011 ถือว่าเฟซบุ๊กเป็นแชมป์ 3 สมัยติดต่อกันมาแล้ว

หากมองย้อนไปที่กูเกิลพลัส (Google Plus) เว็บเครือข่ายสังคมที่กูเกิลสร้างขึ้นเองนั้นถูกกูเกิลการันตีว่ามีการแชร์ คอนเทนต์เกินกว่า 1 พันล้านครั้งแล้ว แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ยังคิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของการแชร์คอนเทนต์บนเฟซบุ๊ก ซึ่งมีอัตราเติบโตมากกว่าเท่าตัวในแต่ละปี
อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้กูเกิลหมดมนต์ขลัง คือปัญหาเรื่องความปลอดภัย ในสายตาของชาวออนไลน์บางคน กูเกิลเริ่มเป็นสถานที่ซึ่งมีภัยเว็บไซต์ล่อลวงแฝงตัวอยู่จำนวนมาก และผู้ใช้ต้องระวังตัวในการคลิกลิงก์เว็บไซต์บนกูเกิลตลอดเวลา

ไม่แน่ว่ากูเกิลจะสามารถรู้ชะตาชีวิตตัวเองดีกว่าใคร จึงตัดสินใจเปิดตัวบริการกูเกิลพลัสซึ่งเป็นบริการที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่ กูเกิลเปิดบริการฟรีอีเมล Gmail ในปี 2004 ทั้งหมดนี้ทำให้แลร์รี่ เพจ (Larry Page) ผู้ก่อตั้งกูเกิลเบนเข็มบริษัทไปที่วงการโซเชียลมีเดีย โดยยอมตามหลังเฟซบุ๊กชนิดไม่แคร์สายตาใคร

หากรูปการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไป กูเกิลซึ่งเป็นเจ้าแห่งตลาดเสิร์ชเอนจิ้นของโลกและครองตลาดโฆษณาออนไลน์ที่ ใหญ่ที่สุด จะต้องตกที่นั่งลำบากแน่นอน เพราะมีโอกาสสูงที่กูเกิลจะตกที่นั่งเดียวกับไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าตลาดเดสก์ท็อปอยู่ต่อไป แต่กลับไม่มีใครเห็นแววผู้นำในตัวไมโครซอฟท์

แน่นอนว่าเฟซบุ๊กคือส่วนหนึ่งในหลายเรื่องเด่นที่เกิดขึ้นตลอดปี 2011 ทั้งการจากไปของสตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และการบุกตลาดของแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนที่มากขึ้น แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้คือปี 2011 คือจุดเริ่มต้นการครองตลาดโลกของเฟซบุ๊กที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งมีโอกาสที่อิทธิพลของเฟซบุ๊กจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่เฟซบุ๊กจะเริ่มขาย IPO และเข้าตลาดหุ้นอย่างเป็นทางการ

ไม่แน่ว่า ปี 2012 เราอาจจะได้พูดถึงเฟซบุ๊กในฐานะเรื่องราวบนโลกไอทีที่ใหญ่ที่สุดประจำปีก็ ได้ ใครจะรู้

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000166794

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

face auto tag of facebook

auto_tag
auto_tag

8 ต.ค.54 face auto tag ถือเป็น face capture ที่ยอดเยี่ยมของ facebook.com ทำให้สามารถระบุรูปพันธุ์ว่าหน้าตาแบบนี้คือใครในกลุ่มเพื่อน และเสนอให้ tag ตามรายชื่อเพื่อนอัตโนมัติ โดยภาพชุดนี้ใส่ใน clip ที่ทำด้วย proshow แล้วเผยแพร่ใน youtube.com ชอบเพลง Because you loved me จึงทำเป็น music video ครับ

Celine Dion – Because You Loved Me lyrics

For all those times you stood by me
For all the truth that you made me see
For all the joy you brought to my life
For all the wrong that you made right
For every dream you made come true
For all the love I found in you
I’ll be forever thankful baby
You’re the one who held me up
Never let me fall
You’re the one who saw me through through it all

You were my strength when I was weak
You were my voice when I couldn’t speak
You were my eyes when I couldn’t see
You saw the best there was in me
Lifted me up when I couldn’t reach
You gave me faith ‘coz you believed
I’m everything I am
Because you loved me

You gave me wings and made me fly
You touched my hand I could touch the sky
I lost my faith, you gave it back to me
You said no star was out of reach
You stood by me and I stood tall
I had your love I had it all
I’m grateful for each day you gave me
Maybe I don’t know that much
But I know this much is true
I was blessed because I was loved by you

You were my strength when I was weak
You were my voice when I couldn’t speak
You were my eyes when I couldn’t see
You saw the best there was in me
Lifted me up when I couldn’t reach
You gave me faith ‘coz you believed
I’m everything I am
Because you loved me

You were always there for me
The tender wind that carried me
A light in the dark shining your love into my life
You’ve been my inspiration
Through the lies you were the truth
My world is a better place because of you

You were my strength when I was weak
You were my voice when I couldn’t speak
You were my eyes when I couldn’t see
You saw the best there was in me
Lifted me up when I couldn’t reach
You gave me faith ‘coz you believed
I’m everything I am
Because you loved me

I’m everything I am
Because you loved me