ปี 2012 ปีที่ Facebook อาจถล่ม Google

ก่อนนี้ชาวออนไลน์นิยมค้นหาเว็บไซต์แปลกใหม่บนกูเกิล (Google.com) แต่วันนี้หลายคนพบเว็บไซต์ใหม่ผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook) และทวิตเตอร์ (Twitter) ทิศทางทั้งหมดชัดเจนขึ้นมากในปี 2011 และกำลังมีแนวโน้มชัดเจนขึ้นอีกในปี 2012

สำนักข่าวพีซีเวิร์ลตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ทำให้มนต์ขลังของกูเกิลเริ่มเสื่อมลงคือการแชร์หรือแบ่งปันลิงก์ เว็บไซต์บนเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ หากลิงก์เว็บไซต์ใดถูกโพสต์บนเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ แล้วเกิดโดนใจผู้ใช้รายอื่น ลิงก์เว็บไซต์เหล่านั้นก็จะถูกส่งต่อไปไม่รู้จบ ผลจึงทำให้ผู้ใช้สามารถพบเว็บไซต์ใหม่น่าสนใจบนเครือข่ายสังคมได้มากกว่าการ ค้นหาบนกูเกิล

หากมองในแง่ของสถิติการใช้งาน บริษัทวิจัย Nielsen ระบุว่าเฟซบุ๊กคือเว็บไซต์เดียวที่มีจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกต่อเดือนไล่ตามกู เกิลได้มากที่สุด ปี 2011 เฟซบุ๊กนั้นมี 137 ล้านยูนีคไอพี เทียบกับกูเกิลซึ่งมี 153 ล้านไอพี แม้จะน้อยกว่า แต่เฟซบุ๊กกลับมีระยะเวลาผูกติดกับผู้มใช้ได้มากกว่า โดยการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ชาวออนไลน์เทเวลามากกว่า 16% ให้กับเฟซบุ๊ก ซึ่งถือว่ามากกว่าเวลาที่ผู้ใช้เทเวลาให้เว็บไซต์อดีตยักษ์ใหญ่อย่างยาฮู (Yahoo), กูเกิล (Google), เอโอแอล (AOL) และยูทูบรวมกัน
เท่านี้ก็เรียกว่า เฟซบุ๊กสามารถถล่มเว็บไซต์อื่นได้ราบเรียบแล้วไม่เฉพาะกูเกิล แถมนาทีนี้ เฟซบุ๊กหรือ Facebook ยังกลายเป็นเว็บไซต์ที่ถูกค้นหาหรือเสิร์ชมากที่สุดในโลก โดยปี 2011 ถือว่าเฟซบุ๊กเป็นแชมป์ 3 สมัยติดต่อกันมาแล้ว

หากมองย้อนไปที่กูเกิลพลัส (Google Plus) เว็บเครือข่ายสังคมที่กูเกิลสร้างขึ้นเองนั้นถูกกูเกิลการันตีว่ามีการแชร์ คอนเทนต์เกินกว่า 1 พันล้านครั้งแล้ว แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ยังคิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของการแชร์คอนเทนต์บนเฟซบุ๊ก ซึ่งมีอัตราเติบโตมากกว่าเท่าตัวในแต่ละปี
อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้กูเกิลหมดมนต์ขลัง คือปัญหาเรื่องความปลอดภัย ในสายตาของชาวออนไลน์บางคน กูเกิลเริ่มเป็นสถานที่ซึ่งมีภัยเว็บไซต์ล่อลวงแฝงตัวอยู่จำนวนมาก และผู้ใช้ต้องระวังตัวในการคลิกลิงก์เว็บไซต์บนกูเกิลตลอดเวลา

ไม่แน่ว่ากูเกิลจะสามารถรู้ชะตาชีวิตตัวเองดีกว่าใคร จึงตัดสินใจเปิดตัวบริการกูเกิลพลัสซึ่งเป็นบริการที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่ กูเกิลเปิดบริการฟรีอีเมล Gmail ในปี 2004 ทั้งหมดนี้ทำให้แลร์รี่ เพจ (Larry Page) ผู้ก่อตั้งกูเกิลเบนเข็มบริษัทไปที่วงการโซเชียลมีเดีย โดยยอมตามหลังเฟซบุ๊กชนิดไม่แคร์สายตาใคร

หากรูปการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไป กูเกิลซึ่งเป็นเจ้าแห่งตลาดเสิร์ชเอนจิ้นของโลกและครองตลาดโฆษณาออนไลน์ที่ ใหญ่ที่สุด จะต้องตกที่นั่งลำบากแน่นอน เพราะมีโอกาสสูงที่กูเกิลจะตกที่นั่งเดียวกับไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าตลาดเดสก์ท็อปอยู่ต่อไป แต่กลับไม่มีใครเห็นแววผู้นำในตัวไมโครซอฟท์

แน่นอนว่าเฟซบุ๊กคือส่วนหนึ่งในหลายเรื่องเด่นที่เกิดขึ้นตลอดปี 2011 ทั้งการจากไปของสตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และการบุกตลาดของแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนที่มากขึ้น แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้คือปี 2011 คือจุดเริ่มต้นการครองตลาดโลกของเฟซบุ๊กที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งมีโอกาสที่อิทธิพลของเฟซบุ๊กจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่เฟซบุ๊กจะเริ่มขาย IPO และเข้าตลาดหุ้นอย่างเป็นทางการ

ไม่แน่ว่า ปี 2012 เราอาจจะได้พูดถึงเฟซบุ๊กในฐานะเรื่องราวบนโลกไอทีที่ใหญ่ที่สุดประจำปีก็ ได้ ใครจะรู้

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000166794

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ทันโลกทันเหตุการณ์

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก

26 ก.พ.54 แต่ละวันมีเหตุการณ์มากมายทั้งที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้อง ส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละล่วงเวลาอาจมีหลายกิจกรรม บางวันในเวลาเดียวกันต้องเข้าประชุมกลุ่ม เรียนหนังสือ ไปส่งคนในครอบครัว ไปหาหมอ และอยู่เฝ้ารถที่เสีย ซึ่งทุกเรื่องล้วนสำคัญ แต่มนุษย์เราแยกร่างไม่ได้ ทำให้ต้องเลือกและดำเนินทุกกิจกรรมให้บรรลุไปด้วยวิธีที่แตกต่างและมีความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด การรับรู้ข่าวสารด้วยการฟังวิทยุและดูโทรทัศน์ อาจช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของการดำเนินชีวิตให้ผ่านพ้นไปได้ อาทิ ดูข่าวพยากรณ์อากาศ ข่าวประท้วงปิดถนน ข่าวน้ำท่วม ข่าวเส้นทางอาชีพ รายการทีวีงานประดิษฐ์จากของเหลือใช้

วิทยุ และโทรทัศน์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารสาธารณะแบบทางเดียว ส่วนโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสื่อสารสองทางที่ทำให้ผู้สื่อสารมีปฏิสัมพันธ์กันได้ สามารถเปลี่ยนบทบาทได้ตลอดเวลา ในอดีตเมื่อเกิดเหตุการณ์หนึ่งขึ้น กว่าจะรู้ก็จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ เพราะสื่อที่เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ นิตยสารรายเดือน หรือหนังสือพิมพ์รายวันล้วนมีช่องว่างเรื่องเวลา ทีวีและเว็บไซต์ข่าวสารจะมีเนื้อหาที่ทันสมัยและมักเป็นการเผยแพร่แบบทางเดียว เพื่อให้ข่าวสารกระจายไปได้กว้างกว่า ส่วนเว็บไซต์เครือข่ายสังคมจะมีข่าวสารที่เปิดให้กลุ่มเพื่อนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านระบบที่เชื่อมกับหัวข้อข่าวเหล่านั้น

ครั้งหนึ่งต้องการเข้ารับฟังแถลงข่าวเหตุการณ์หนึ่ง แต่พลาดโอกาส หลังแถลงข่าวเสร็จมีเพื่อนในเครือข่ายสังคมได้ติดป้ายภาพ (Tag) จากการประชุมที่ถ่ายด้วยกล้องของ IPhone ส่งมาให้ จึงรู้ว่าในการประชุมมีบรรยากาศเป็นอย่างไร เมื่อผ่านไปอีกหนึ่งชั่วโมงก็มีเพื่อนบอกว่ามีคลิ๊ปวิดีโอสรุปจากการประชุมแถลงข่าวเผยแพร่แล้ว ดูซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ตามต้องการ ทำให้รู้สึกว่าโลกเราแคบลงมาก และเทคโนโลยีก็เสมือนทำให้เราย้อนเวลาไปยังช่วงที่เราต้องการได้ นี่เป็นอีกบทเรียนหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีของผู้คนในปัจจุบัน